ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ปริเฉทที่ ๒ เจตสิก ๕๒
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45776
หน้า 3 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 07 ก.ค. 2013, 14:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อัปปมัญญาเจตสิก

อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง ได้แก่ กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก

กรุณาเจตสิก

๑. กรุณาเจตสิก คือ มีความสงสาร อยากจะช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายหน้า มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ทุกฺขาปนยนาการปวตฺติลกฺขณา มีการได้เห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ ย่อมมีความสงสาร เป็นลักษณะ ปรทุกฺขาสหนรสา มีการไม่ชอบเห็นทุกข์ของผู้อื่น เป็นกิจ
อวิหึสาปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่เบียดเบียน เป็นผล
ทุกฺขาภิภูตานํ อนาถภาวทสฺสน ปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์อนาถา อันถูกทุกข์ ครอบงำ เป็นเหตุใกล้

อวิหึสา = ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
กรุณา = ยังประสงค์ช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์อีกด้วย
โสก = เราสูญเสียของที่เรารัก ก็โศกเศร้า
กรุณา = เห็นผู้อื่นสูญเสียสิ่งที่เขารัก เราก็ช่วยให้เขาพ้นทุกข์จากการเศร้าโศก

เมตตา กรุณา เป็น อพยาปาท
มุทิตา อุเบกขา เป็น อนภิชฌา (ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา)

มุทิตาเจตสิก

๒. มุทิตาเจตสิก คือ พลอยยินดีด้วยในเมื่อรู้ว่าเขามีความสุข มีความยินดีต่อสัตว์ที่ได้สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปโมทนลกฺขณา มีความยินดีด้วยในความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ
อนิสฺสายนรสา มีการไม่อิสสาริษยา เป็นกิจ
อรติวิฆาตปจฺจุปฏฺฐานา มีความปรารถนาให้ผู้อื่นเจริญ เป็นผล
สตฺตานํ สมฺปตฺติทสฺสนปทฏฺฐานา มีการได้เห็นสัตว์มีสมบัติ เป็นเหตุใกล้

ไฟล์แนป:
20090127163258_p4_02_3.gif
20090127163258_p4_02_3.gif [ 37.78 KiB | เปิดดู 8496 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 07 ก.ค. 2013, 14:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

ปัญญาเจตสิก

ปัญญาเจตสิก มีแต่ดวงเดียวไม่มีพวก มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปัญญินทรียเจตสิก
ปัญญาเจตสิก คือความรู้ในเหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมและทำลายความเห็นผิด หรือเป็นเจตสิกที่มีความรู้เป็นใหญ่ ปกครองซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา มีความรู้แจ้งซึ่งสภาวธรรม เป็นลักษณะ
โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา มีการกำจัดมืด เป็นกิจ
อสมฺโมหปจฺจุปฏฺฐานา มีความไม่หลงผิด หรือไม่เห็นผิด เป็นผล
สมาธิปทฏฺฐานา มีสมาธิ เป็นเหตุใกล้

ปัญญานี้ มีอรรถาธิบายอย่างกว้างขวาง และแจกแจงได้หลายนัย หลายกระบวน เป็นจำนวนมากมาย
แต่ในที่นี้จะกล่าวย่อ ๆ พอให้รู้เค้า จึงขอแจกแจงว่า ปัญญามีเพียง ๓ นัย เท่านั้น คือ
ก. กัมมสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่า กรรมเป็นสมบัติของตน
ข. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ขันธ์ ๕ รูปนาม เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ค. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจจ ๔ ปัญญาที่รู้เห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน อันเรียกว่า

กัมมสกตาปัญญา นี้ มี ๑๐ ประการ คือ

(๑) อตฺถิทินนํ ปัญญารู้เห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล
(๒) อตฺยิฏฐํ ปัญญารู้เห็นว่า การบูชาย่อมมีผล
(๓) อตฺถิหุตํ ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล
(๔) อตฺถิกมฺมานํ ผลํวิปาโก ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทั้งทางตรงและทางอ้อม)
(๕) อตฺถิอยํโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้จะมาเกิดนั้นมี)
(๖) อตฺถิปโรโลโก ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้จะไปเกิดนั้นมี)
(๗) อตฺถิมาตา ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล)
(๘) อตฺถิปิตา ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดาย่อมจะได้รับผล)
(๙) อตฺถิ สตฺตโอปปาติกา ปัญญารู้เห็นว่าโอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่ (สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหมนั้นมี)
(๑๐) อตฺถิ โลเกสมณพฺรหฺมณา สมฺมาปฏิปนฺนา ปัญญารู้เห็นว่าสมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยความรู้ยิ่ง เห็นจริง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้นั้นมีอยู่ในโลกนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 09 ก.ค. 2013, 21:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

สัมปโยคนัย

สัมปโยค แปลว่า ประกอบพร้อม ในที่นี้หมายความว่า เจตสิกแต่ละดวงนั้น ดวงหนึ่ง ๆ
ประกอบกับจิตได้กี่ดวง คือจิตใดบ้าง ซึ่งจะได้แสดงต่อไปนี้ ดังมีคาถาสังคหะ ( เป็นคาถาที่ ๓) ว่า

๓. เตสํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ ยถาโยคมิโต ปรํ
จิตฺตุปฺปาเทสุ ปจฺเจกํ สมฺปโยโค ปวุจฺจติ ฯ


แปลความว่า เบื้องหน้าแต่นี้จะแสดงสัมปโยคะ แห่งธรรม (คือเจตสิก) เหล่านี้ อันประกอบกับจิต
เฉพาะในจิตตุปปาทะ (จิตที่เกิดขึ้น) ดวงหนึ่ง ๆ โดยสมควรแก่ที่จะประกอบได้

สัมปโยคนัยแห่งอัญญสมานาเจตสิก

๔. สตฺต สพฺพตฺถ ยุชฺชนติ ยถาโยคํ ปกิณฺณกา
จุทฺทสากุเลเสฺวว โสภเณเสฺวว โสภณา ฯ


แปลความว่า

๑. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (๗ ดวง) ประกอบในจิตได้ทุกดวง(โดยย่อจิตมี ๘๙ ดวง)
๒. ปกิณณกเจตสิก (๖ ดวง) ประกอบกับจิตได้เฉพาะแต่ที่ควร (ประกอบ ได้ บางดวง)
๓. อกุสลเจตสิก (๑๔ ดวง) ประกอบได้เฉพาะในอกุสลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น
๔. โสภณเจตสิก (๒๕ ดวง) ประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น


--------------------------------------------------------------------------------

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 72.15 KiB | เปิดดู 7275 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 09 ก.ค. 2013, 21:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

๕. ฉสฏฺสี ปญฺจปญฺญฺาส เอกาทส จ โสฬส
สตฺตติ วีสติ เจว ปกิณฺณกวิวชฺชิตา ฯ


แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกไม่ประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้

วิตก ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
วิจาร ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
อธิโมกข ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง
วิริยะ ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
ปีติ ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง
ฉันทะ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง

๖. ปญฺจปญฺญาส ฉสฎฺฐิ ฏฐสตฺตติ ติสตฺตติ
เอกปญฺญาส เจกูน สตฺตติ สปกิณฺณกา ฯ


แปลความว่าจิตที่ปกิณณกเจตสิกย่อมเข้าประกอบ มีจำนวนตามลำดับดังนี้

วิตก ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
วิจาร ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
อธิโมกข ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๘ ดวง
วิริยะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๗๓ ดวง
ปีติ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๑ ดวง
ฉันทะ ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๖๙ ดวง

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 20.18 KiB | เปิดดู 7275 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 07:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อธิบาย

รวมความว่า อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย
คือการประกอบกับจิตต่าง ๆ ได้นั้น แบ่งออกเป็น ๗ นัย คือ

นัยที่ ๑ สัพพจิตตสาธารณ ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย และ มนสิการ นี้ประกอบกับจิตได้ทั้งหมดทุกดวง คือทั้ง ๘๙ ดวง
หรือนับอย่างพิศดาร ก็ทั้ง ๑๒๑ ดวง ไม่มีเว้นเลย
นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง แต่ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
นัยที่ ๓ วิจารเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
นัยที่ ๔ อธิโมกขเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๘ ดวง ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง
นัยที่ ๕ วิริยเจตสิก ประกอบกับจิต ๗๓ ดวง ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
นัยที่ ๖ ปีติเจตสิก ประกอบกับจิต ๕๑ ดวง ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง
นัยที่ ๗ ฉันทเจตสิก ประกอบกับจิต ๖๙ ดวง ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง

วิตกเจตสิก

ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง คือ

อกุสลจิต ๑๒ ..................ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ......ทุติยฌาน ๑๑

กามโสภณ ๒๔ ........................ตติยฌาน ๑๑

ปฐมฌานจิต ๑๑ ........................จตุตถฌาน ๑๑

.............................................ปัญจมฌาน ๒๓

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 20.18 KiB | เปิดดู 7275 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 07:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

วิจารเจตสิก

ประกอบกับจิตได้ ๖๖ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๕๕ ดวง คือ

อกุสลจิต ๑๒ .........................ทวิปัญจวิญญาน ๑๐

อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐) ..........ตติยฌาน ๑๑

กามโสภณ ๒๔ ..........................จตุตถฌาน ๑๑

ปฐมฌาน ๑๑ ...........................ปัญจมฌาน ๒๓

................................................ทุติยฌาน ๑๑

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 15:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อธิโมกขเจตสิก

ประกอบกับจิตได้ ๗๘ ดวง คือ ......ไม่ประกอบกับจิต ๑๑ ดวง คือ

อกุสลจิต ๑๑ (เว้นวิจิกิจฉาจิต)...... วิจิกิจฉาสหคตจิต ๑

อเหตุกจิต ๘ (เว้นทวิปัญจ ๑๐)......ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

กามโสภณ ๒๔

มหัคคตจิต ๒๗

โลกุตตรจิต ๘

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 15:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

วิริยเจตสิก
ประกอบกับจิต ได้ ๗๓ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๑๖ ดวง คือ

อกุสลจิต ๑๒ .......................อเหตุกจิต ๑๖ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กับหสิตุปปาทจิต ๑ )
.........................................หมายเหตุ จิต ๑๖ ดวง ที่วิริยเจตสิก
.........................................ไม่ประกอบนี้มีชื่อเรียกว่า อวีริยจิต ๑๖
มโนทวาราวัชชนจิต ๑

หสิตุปปาทจิต ๑

กามโสภณ ๒๔

มหัคคตจิต ๒๗

โลกุตตรจิต ๘

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 15:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

ปีติเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๕๑ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๗๐ ดวง คือ

โสมนัสโลภมูลจิต ๔ ............อุเบกขาโลภมูลจิต ๔

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ .....................โทสมูลจิต ๒

โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ ..................โมหมูลจิต ๒

โสมนัสกามโสภณจิต ๑๒ ......อุเบกขาอเหตุกจิต ๑๔

ปฐมฌานจิต ๑๑ ......................กายวิญญาณจิต ๒

ทุติยฌานจิต ๑๑ ..............อุเบกขากามโสภณจิต ๑๒

ตติยฌานจิต ๑๑ .......................จตุตถฌานจิต ๑๑

............................................ปัญจมฌานจิต ๒๓

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 15:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

ฉันทเจตสิก
ประกอบกับจิตได้ ๖๙ ดวง คือ ไม่ประกอบกับจิต ๒๐ ดวง คือ

โลภมูลจิต ๘ ...............................โมหมูลจิต ๒

โทสมูลจิต ๒ ...............................อเหตุกจิต ๑๘

กามโสภณจิต ๒๔

มหัคคตจิต ๒๗

โลกุตตรจิต ๘

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 16:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

สัมปโยคนัยแห่งอกุสลเจตสิก

๗. สพฺพาปุญฺเญสุ จตฺตาโร โลภมูเล ตโย คตา
โทสมูเลสุ จตฺตาโร สสงฺขาเร ทวยํ ตถา ฯ


แปลความว่า เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ อกุศลจิตทั้งหลาย
เจตสิก ๓ ดวง ย่อมประกอบกับ โลภมูลจิต
เจตสิก ๔ ดวง ย่อมประกอบกับ โทสมูลจิต
เจตสิก ๒ ดวง ย่อมประกอบกับ สสังขาริกจิต

๘. วิจิกิจฺฉา วิจิกิจฺฉา จิตฺเต จาติ จตุทฺทส
ทฺวาทสากุสเลเสฺวว สมฺปยุชฺชนฺติ ปญฺจธา ฯ


แปลความว่า วิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาจิต (เท่านั้น)
อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ย่อมประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวง โดยสัมปโยคนัย ๕ อย่าง ดังนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 16:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อธิบาย
รวมความว่า อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง
กล่าวโดยสัมปโยคนัย คือการประกอบกับอกุสลจิตนั้นแบ่งออกเป็น ๕ นัย คือ

นัยที่ ๑ เจตสิก ๔ ดวง คือ
โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก
ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โมจตุกะ หรือสัพพากุสลสาธารณเจตสิกนั้น
ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด คือทั้ง ๑๒ ดวง


นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวงคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ มานเจตสิก
ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โลติกะ นั้น
โลภเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ทั้งหมด คือ ทั้ง ๘ ดวง
ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ เฉพาะแต่ที่เป็นทิฏฐิคตสัมป ยุตตจิต ๔ ดวง
มานเจตสิก ก็ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง


นัยที่ ๓ เจตสิก ๔ ดวง คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก
ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โทจตุกะ นั้น ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวง


นัยที่ ๔ เจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและมีทธเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า ถีทุกะ นั้น
ย่อมประกอบกับสสังขาริกในอกุสลจิต อันมีจำนวน ๕ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต
ที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง


นัยที่ ๕ เจตสิก ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาสหคตจิต
ได้เฉพาะดวงเดียวเท่านั้น


ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 29.75 KiB | เปิดดู 7275 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 16:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

สัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก

๙. เอกูนวีสติธมฺมา ชายนฺเตกูนสฏฺฐิสุ
ตโย โสฬส จิตฺเตสุ อฏฺฐวีสติตํ ทฺวยํ ฯ


แปลความว่า ธรรม ๑๙ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๕๙ ดวง
ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง
ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง

๑๐. ปญฺญา ปกาสิตา สตฺต จตฺตาฬีส วิเธสุปิ
สมฺปยุตฺตา จตุเธวํ โสภเณเสสฺวว โสภณา ฯ


แปลความว่า ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง โสภณเจตสิก
ย่อมประกอบกับโสภณจิตโดยสัมปโยคนัย ๔ อย่าง ดังนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 16:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อธิบาย

โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง ย่อมประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น
และก็มิได้ประกอบพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นจึงแสดงสัมปโยคนัยแห่งโสภณเจตสิก
ไว้เป็น ๔ นัย คือ


นัยที่ ๑ ธรรม ๑๙ ดวงนั้น หมายถึงโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
ย่อมเข้าประกอบกับโสภณจิตทั้ง ๕๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็ทั้ง ๙๑ ดวง
กล่าวคือ โสภณจิตทั้ง ๕๙ หรือ ๙๑ ดวง ไม่ว่าจะเป็นจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น
โสภณสาธารณเจตสิกก็จะเข้าประกอบพร้อมกันทันทีทั้ง ๑๙ ดวง

ไม่มีเว้นเลยโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ ตัตรมัชฌัตตตา
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา


นัยที่ ๒ ธรรม ๓ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๑๖ ดวง นั้น หมายถึงวิรตีเจตสิก ๓ ดวง
คือสัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก และสัมมาอาชีวเจตสิก ย่อมประกอบได้กับจิต ๑๖ ดวง ได้แก่ มหากุสลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘


นัยที่ ๓ ธรรม ๒ ดวง ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง นั้น หมายถึงอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง คือ
กรุณาเจตสิก และมุทิตาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๒๘ ดวง ซึ่งได้แก่ มหากุสลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓)


นัยที่ ๔ ปัญญาเจตสิก ย่อมประกอบกับจิต ๔๗ ดวง ซึ่งได้แก่ กามาวจรญาณสัมปยุตตจิต ๑๒
มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘


ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 42.27 KiB | เปิดดู 7275 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 10 ก.ค. 2013, 16:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เจตสิก ๕๒

อนิยตโยคีเจตสิก

อนิยตโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบไม่แน่นอน หมายความว่าเจตสิก
นั้นบางทีก็ประกอบ บางทีก็ไม่ประกอบ

๑๑. อิสฺสมจฺฉเรกุกฺกุจฺจ วิรตี กรุณา ทโย
นานา กทาจิ มาโนจ ถีนมิทฺธํ ตถา สห ฯ


แปลความว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิรตี(๓ ดวง) กรุณา มุทิตา มานะ ถีนะ มิทธะ
ย่อมประกอบกับจิตเป็นครั้งคราวไม่พร้อมกัน (ทั้ง ๑๑ ดวงนี้ เป็น อนิยตโยคีเจตสิก)

๑๒. ยถาวุตฺตานุสาเรน เสสา นิยตโยคิโน
สงฺคหญจ ปวกฺขามิ เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ


แปลความว่า อาศัยนัยที่กล่าวมานี้ เจตสิกที่เหลือ พึงรู้ว่าเป็น นิยตโยคีเจตสิก
เจตสิกที่เหลือ (๔๑ ดวง) เป็นนิยตโยคีเจตสิก (ประกอบได้แน่นอน) ต่อไปนี้จะได้กล่าว
สังคหนัยของเจตสิก ตามสมควร

หน้า 3 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/