วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี ๒ ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๑๘
มัคคปัจจัย

ทางสู่ความสำเร็จ

ปัจจยธรรม : องค์มรรคทั้งหลายที่มีสัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น

ปัจจยุปันธรรม : การเดินถูกทางแล้วได้รับความสุข
การเดินผิดทางแล้วได้รับความทุกข์

ทาง หมายถึง เครื่องนำไปสู่ความสำเร็จอันเป็นจุดหมายหรือเป้าหมาย หากคนเราเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข เขาก็จะได้พบกับความสุขในที่สุด หากเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความทุกข์ เขาก็จะได้พบกับความทุกข์เป็นจุดหมายสุดท้าย ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งมัคคปัจจัย

ต่อไปนี้ เป็น สัจจมรรค เป็นทางดีทางถูก มี ๘ ประการดังนี้
(๑) สัมมาทิฏฐิ............รู้โดยถูกต้อง
(๒) สัมมาสังกัปปะ........คิดโดยถูกต้อง
(๓) สัมมาวาจา............พูดโดยถูกต้อง
(๔) สัมมากัมมันตะ........ทำโดยถูกต้อง
(๕) สัมมาอาชีวะ..........เลี้ยงชีพโดยถูกต้อง
(๖) สัมมาวายะมะ.........เพียรโดยถูกต้อง
(๗) สัมมาสติ.............มีสติโดยถูกต้อง
(๘) สัมมาสมาธิ..........มีสมาธิโดยถูกต้อง

ทั้ง ๘ ประการข้างต้นนี้ มิใช่เป็นเพียงทางสำหรับโลกิยสุขเท่านั้น แต่ยังเป็นซูเปอร์ไฮเวย์ไปสู่โลกุตตรสุขด้วย พระพุทธองค์ทรงเรียกทางหลวงนี้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ผู้ใดเดินตามเส้นทางนี้ ก็จะพบกับความสุขทั้งโลกิยสุขและโลกุตตรสุข ตรงกันข้ามผู้ใดก็ตามที่เดินนอกเส้นทางดังกล่าว เขาผู้นั้นก็จะพบกับความทุกข์นานัปการ ดูพระเทวทัตเป็นตัวอย่างสิ แล้วจะเห็นว่า ท่านควรเลือกเดินบนเส้นทางมิจฉามรรคหรือสัมมามรรค

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านสาธุชนจงสามารถเลือกเดินบนเส้นทางแห่งความสุขได้โดยทุกท่านทุกคนเทอญ
.........................................................................................

๑๙
สัมปยุตตปัจจัย
มีความเกี่ยวข้องกันก็ต้องช่วยเหลือกัน

ปัจจยธรรม: นามขันธ์(กลุ่มนามธรรม) ซึ่งประกอบด้วย
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น

ปัจจยุปันนธรรม : นามขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย สัญญา สังขาร วิญญาณ
และเวทนา เป็นต้น

หากเรานำวัตถุ ๔ ประการคือ เนย น้ำอ้อย น้ำมันงา และ น้ำผึ้ง มาตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้เข้ากัน เราก็จะได้เภสัชชนิดหนึ่งเรียกว่า "จตุมธุ" ซึ่งเป็นสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อเป็นจตุมธุแล้ว รสแห่งวัตถุ ๔ อย่างก็รวมกัีนเป็นเสมือนรสหนึ่งเดียวฉันใด แม้ในการรับอารมณ์ของจิตหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เราก็แทบจะแยกไม่ออกว่า
-นี่คือเวทนา(ตัวเสวยความรู้สึก)
-นี่คือสัญญา(ตัวบันทึกอารมณ์)
-นี่คือสังขาร(ตัวจัดแจงหรือปรุงแต่ง)
-หรือนี่คือวิญญาณ(ตัวรับอารมณ์)

ทั้งๆ ที่นามขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ล้วนแต่ทำงานหรือทำหน้าที่ของตน ไม่ยุ่งเกี่ยวหน้าที่ของกันและกัน แต่เนื่องจากทั้งหมดรวมตัวกันทำงานเกี่ยวกับอารมณ์เดียวกัน จึงยากที่จะแยกสัตติ(ศักยภาพ) ของธรรมแต่ละอย่างเหล่านั้นได้ ก็และการที่นามธรรมเหล่านั้นอยู่(เกิด)ร่วมกันแล้ว ต่างคนต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกว่า "การทำอุปการะแห่งสัมปยุตตปัจจัย"

ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะต้องมีผู้นำคอยเป็นผู้ให้นโยบายและจะต้องมีผู้ตรวจตราประกันคุณภาพของงานนั้นด้วย และจะต้องมีผู้คอยจดบันทึกรายละเอียดขั้นตอนของการทำงานด้วย ยิ่งถ้าหากมีคนคอยกระตุ้นเตือนอยู่ด้วยแล้ว ก็จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แม้ในเรื่องของความเป็นสัมปยุตตปัจจัยของกลุ่มนามธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีความละเอียดลึกซึ้งรู้ได้ยากนั้น ก็พึงทราบตามอุปมาข้างต้นนี้แล

ในสังคมมนุษย์นั้น เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตนๆ ซึ่งหากทุกคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนๆ แล้วไซร้ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย แต่หากไม่เอาใจใส่หน้าที่ของตน มัวแต่ไปยุ่งกับการงานของผู้อื่น ก็อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ อาจเป็นเหตุทำให้งานล่าช้าไม่เสร็จตามเวลาได้ ซึ่งทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอีกเท่าตัว

ยกตัวอย่างในการอยู่กันเป็นครอบครัวหนึ่งนั้น หากสามีภรรยาต่างช่วยกันทำงาน ผัวหาบเมียคอน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนอย่างไม่พบพร่องแล้วไซร้ ครอบครัวนั้นก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นี้แหละเป็นลักษณะแห่งอุปการะของสัมปยุตตปัจจัย

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอยู่ร่วมกันอย่างไม่เอาเปรียบกันและกัน รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนๆ เทอญ
................................................................................................

๒๐
วิปปยุตตปัจจัย
แม้ไม่ได้อยู่ร่วมกันแต่ก็ยังให้ความช่วยเหลืออุปการะกัน

ปัจจยธรรม: รูปธรรมกับนามธรรม

ปัจจยุปันนธรรม : นามธรรมกับรูปธรรม

การเกิดขึ้นแห่งนามธรรม โดยอาศัยวัตถุรูปมี จักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นที่ตั้งแห่งการรับอารมณ์รูปทั้งหลาย ก็ดี การที่รูปธรรมทั้งหลายมีความเจริญเติบโตและตั้งมั่นเพราะอำนาจแห่งนามธรรม ก็ดี พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งวิปปยุตตปัจจัย

ในโลกของสัตว์ที่มีชีวิต(หรือที่ในบางแห่งเรียกว่า "มีวิญญาณครอง") นั้นพึงทราบว่าการที่นามขันธ์การรับรู้(ญาณธาตุ) ทั้งหลาย กล่าวคือจิตและเจตสิก จะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ ซึ่งส่วนร่างกายเหล่านี้ท่านเรียกว่า วัตถุรูป เช่น ตา ก็เรียกว่า จักขุวัตถุ, หู ก็เรียกว่า โสตวัตถุ ดังนี้ เป็นต้น เมื่อได้อาศัยวัตถุรูปหล่านี้แล้ว จิตซึ่งเป็นนามธรรมจึงจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ (รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ) ซึ่งเรียกว่า "อารมณ์" ได้

ในขณะเีดียวกัน การที่รูปกายทั้งหลายเหล่านั้น สามารถดำรงตั้งมั่นอยู่ได้อย่างไม่แตกสลายง่ายๆ นั้น ก็เป็นเพราะอิทธิพลหรืออำนาจหรือได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากนามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง

แม้ว่ารูปกับนามจะเป็นสภาวะที่ไม่ได้สัมปยุตกัน(ไม่ได้เกิดร่วมกัน) ก็ตาม แต่ทั้งสองก็ยังเป็นที่พึ่งพาต่อกันและกัน ต่างคนต่างก็ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

นามก็อยู่ในส่วนนาม รูปก็อยู่ในส่วนรูป ไม่ปะปนกัน ไม่คาบเกี่ยวกัน สภาวะของนามกับรูปนั้นแตกต่างกัน แต่ถึงกระนั้นทั้งสองก็ยังต้องรับบทเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

ในการเห็นรูปด้วยตานั้น พึงทราบว่า ตา(จักขุวัตถุ) เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถมองเห็นรูปได้ตามลำพัง เป็นเพียงแค่วัตถุ(เครื่องรองรับ) เท่านั้น แต่ผู้ที่เห็นรูปารมณ์ได้จริงๆ คือจิตใจที่เป็นประเภทจักขุวิญญาณ ดังนั้นการมีตาอย่างเดียวจึงมิได้หมายความว่าจะสามารถมองเห็นรูปารมณ์ได้ ตาก็ต่างหาก รูปารมณ์ก็ต่างหาก ต่างคนต่างอยู่คนละสัดคนละส่วน ไม่ใช้ชีวิตก้าวก่ายของกันและกัน เพียงแต่ทำประโยชน์ให้กันและกันเท่านั้น คล้ายกับรส ๖ ชนิด หวาน ขม เปรี้ยว ฝาด เผ็ด และเค็ม ที่ถูกปรุงไว้ในแกงถ้วยเดียวกัน ต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ให้รสชาติของตนๆ เพื่อให้ได้รสเลิศขึ้นมาเท่านั้น รสทั้ง ๖ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้แกงกลายเป็นรสใดรสหนึ่งแต่อย่างใด เปรี้ยวก็ต่างหาก หวานก็ต่างหาก แกงถ้วยนั้นจึงจะถูกขนานนามว่า แกงเปรี้ยวหวาน ดังนี้ เป็นต้น ฉันใด

แม้ความเป็นวิปปยุตตปัจจัย ก็พึงทราบว่ามีสภาพเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คืออาศัยในบ้านเดียวกันแต่เป็นคนละคนกัน และต่างก็เป็นที่พึ่งของกันและกันได้ แม้จะเป็นธรรมคนละชนิดกันก็ตาม นี้แหละคือการทำอุปการะแห่งวิปปยุตตปัจจัยใน คัมภีร์อนันตนยสมันตมหาปัฏฐาน

สุดท้ายนี้ ขอให้เราท่านทั้งหลาย ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นคนชนชาติเดียวกัน หรือเชื้อสายวงศ์ตระกูลเดียวกัน จงมีเมตตากรุณาช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างไร้พรมแดนเถิด

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู ....เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ปัจจัย ๒๔
อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

๑๘.
มัคคปัจจัย

มคฺคปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง


มัคคะ แปลว่า หนทาง

มัคคปัจจัย มี ๒ ประเภท คือ
๑. สัมมามรรค ได้แก่
-สัมมาทิฏฐิ
-สัมมาสังกัปปะ
-สัมมาวาจา
-สัมมากัมมันตะ
-สัมมาอาชีวะ
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
-สัมมาสมาธิ

๒. มิจฉามรรค ได้แก่
-มิจฉาทิฏฐิ
-มิจฉาสังกัปปะ
-มิจฉาวาจา
-มิจฉากัมมันตะ
-มิจฉาอาชีวะ
-มิจฉาวายามะ
-มิจฉาสติ
-มิจฉาสมาธิ

องค์ธรรมของมรรคทั้ง ๒ ได้แก่ องค์มรรค ๙ คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
วิริยะ สติ เอกัคคตา ทิฏฐิ

องค์มรรค ๙ เหล่านี้เป็น มัคคปัจจัย ทำหน้าที่เป็นหนทาง
เหมือนยานพาหนะที่พาผู้โดยสารไปสู่ที่หมาย


รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ยานพาหนะที่นำผู้โดยสาร อันได้แก่ จิตและเจตสิกดวงอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน
ให้ไปถึงจุดหมายในที่ต่างๆ กัน ตามสมควรแก่ฐานะของยานนั้นๆ
เจตสิก ๙ ดวงนี้จึงนับว่าเป็น มัคคปัจจัย

มัคคปัจจัยทำหน้าที่เป็นหนทาง ๒ อย่าง คือ

๑. หน้าที่ในกิจธรรมดา
องค์มรรค ๙ เป็นหนทางนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตน เช่น
สัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้จิตเจตสิกที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการ
ออกจากกาม ออกจากความพยาบาท ออกจากความเบียดเบียน

๒. หน้าที่ในกิจพิเศษ
องค์มรรค ๙ เป็นหนทางนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่ภูมิ หรือ คติต่างๆ กล่าวคือ

:b47: องค์มรรคที่เป็นอกุศล
นำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่ทุคติภูมิ

:b47: องค์มรรคที่เป็นโลกียกุศล
นำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่สุคติภูมิ

:b47: องค์มรรคที่เป็นโลกุตตรกุศล
นำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้พ้นสังสารวัฏ ถึงพระนิพพาน

หน้าที่ในกิจพิเศษขององค์มรรคที่เป็นอกุศลและโลกียกุศล เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิเท่านั้น
และการอุปการะเป็นไปโดยปริยาย มิใช่โดยตรง เพราะการนำส่งโดยตรงเป็นเป็นหน้าที่ของ
นานักขณิกกัมมปัจจัย

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับมัคคปัจจัย
หนทางที่ประเสริฐที่สุด คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะนำไปสู่ความดับทุกข์

ดังพุทธพจน์ว่า

อุชุโก นาม โส มคฺโค .......ทางนั้น ชื่อว่า ทางตรง
อภยา นาม สา ทิสา .......ทิศนั้น ชื่อว่า ไม่มีภัย
รโถ อกูชโน นาม .......รถนั้น ชื่อว่า ไม่มีเสียงดัง
ธมฺมจกฺเกหิ สํยุโต ........ประกอบด้วยล้อ คือ ธรรม
หิรี ตสฺส อปาลมฺโพ .......มีหิริเป็นฝา
สตยสฺส ปริวารณํ .......มีสติเป็นเกราะกั้น
ธมฺมาหํ สารถึ พรูมิ สมฺมาทิฏฺฐิปุเรชวํ ........เรากล่าวธรรมมีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็น สารถี
ยสฺส เอตาทิสํ ยานํ .......ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด
อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา ......จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
ส เว เอเตน ยาเนน นิพฺพานสุเสว สนฺติเก ........ผู้นั้นย่อมถึงพระนิพพานด้วยยานนี้

(สังยุตตนิกาย สคาถวัคค์ เทวตาสังยุตต์ ว๕ อัจฉราสูตร สยามรัฐ สัง. ๑๕/๑๔๔/๔๕)
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙.
สัมปยุตตปัจจัย

สมฺปยุตฺตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ประกอบ

สัมปยุตต์ แปลว่า ร่วมกัน ประกอบกัน
จิตเจตสิกนั้น เมื่อเวลาเกิดก็เกิดพร้อมกัน เมื่อเวลาดับก็ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกัน
และมีที่อาศัยอย่างเดียวกัน เมื่อครบโดยลักษณะทั้ง ๔ นี้แล้ว จึงเรียกว่า สัมปยุตต์.

สัมปยุตตปัจจัย หมายความว่า จิตเจตสิกเกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยและปัจจยุปบันซึ่งกันและกัน การเกิดร่วมกัน
ของสัมปยุตตธรรมนี้กลมกลืนกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่สามารถแยกออกได้ว่าไหนเป็นจิต ไหนเป็นเจตสิก

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ยาชนิดหนึ่งเรียกว่า จตุมธุรส อันผสมด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด
เมื่อเอาสิ่งทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ผสมกวนให้เข้ากันแล้ว รสของยานี้จะกลมกลืนกันได้สนิท จนผู้ี่ที่บริโภคนั้น
ไม่สามารถจะบอกได้เลยว่า นี่เป็นรสของเนย หรือรสของน้ำมันงา หรือรสของน้ำผึ้ง หรือเป็นรสของน้ำตาล
โตนด ข้อนี้ฉันใด

จิตและเจตสิกก็เช่นเดียวกัน เมื่อขณะที่เกิดขึ้นนั้นก็กลมกลืนเข้ากันได้สนิท ไม่สามารถจะแยกออกได้ว่า
อันไหนเป็นจิต และอันไหนเป็นเจตสิก เหมือนกับจตุมธุรส ฉันนั้น

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับปัจจัยที่ ๑๙-๒๔
อาศัยพระพุทธญาณที่ทรงเห็นแจ้งแล้วอย่างลึกซึ้งกว้างขวางในความผันแปรของชีวิตตามเหตุตามปัจจัย
มิได้มีอำนาจใดมาดลบันดาล พระพุทธเจ้าได้ทรงนำความรู้แจ้งในปัจจัยอันวิจิตรหลากหลายนั้นมาแจกแจง
โดยอนันตนัย เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ประจักษ์ชัดว่า

ไม่มีธรรมใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้เองโดยลำพังตน
ทุกอย่างเกิด - ดับตามเหตุตามปัจจัย
และมิได้เกิด - ดับด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงปัจจัยเดียว
แต่ด้วยหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน
ฉะนั้น จึงไม่มีธรรมใดมีอัตตาตัวตนที่คงที่ถาวร
สรรพสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่เปลี่ยนผันแปร

ประกอบก็ผันแปร ไม่ประกอบก็ผันแปร
มีก็ผันแปร ไม่มีก็ผันแปร
ปราศจากไปก็ผันแปร ยังไม่ปราศจากไปก็ผันแปร ฯลฯ


สัจธรรมที่มาจากพระพุทธญาณเช่นนี้ ไม่มีในศาสนาลัทธิความเชื่อใดๆ
มีแต่ในพระศาสนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ ยากนัก การได้เกิดเป็นมนุษย์
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ ยากนัก การมีชีวิตของเหล่าสัตว์
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสวนํ ยากนัก การได้ฟังพระสัทธรรม
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปปาโท ยากนัก การอุบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(ธัมมบท คาถาที่ ๑๘๒)

เราได้สิ่งที่ได้ยากเหล่านี้แล้ว คือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้มีชีวิต ได้มีโอกาสฟังพระสัทธรรม
โดยเฉพาะได้มีโอกสศึกษาคัมภีร์มหาปัฏฐาน ซึ่งเป็นคำสอนอันลึกซึ้งกว้างขวางที่สุดของพระพุทธองค์
จึงไม่ควรทำให้สิ่งที่ได้ยากยิ่งเหล่านี้สูญไปเสียไปสิ้นไป ฟังธรรมแล้วศึกษาธรรมแล้ว ฟังน้อมนำมาปฏิบัติ
เพื่อลดละกิเลสถึงความดับทุกข์ตามลำดับ ให้สมค่าแห่งพุทธปัญญาคุณ พุทธบริสุทธิคุณ พุทธกรุณาคุณ
ที่ทรงเสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งเลือดเนื้อชีวิต สั่งสมบารมีตลอดสี่อสงเขยแสนกัปป์ จนได้ตรัสรู้ใน
วันเพ็ญวิสาขะ และทรงประกาศธรรมตลอด ๔๕ ปีที่เหลือแห่งพระชนม์ชีพ จนถึงขณะสุดท้ายแห่ง
ลมหายใจเพื่อช่วยให้ทุกชีวิตได้รู้หนทางอันประเสริฐแห่งความพ้นทุกข์ ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสแก่
พระอานนท์เมื่อคราวทรงปลงอายุสังขารก่อนปรินิพพาน ๓ เดือนว่า

ปริปกฺโก วโย มยหํ ปริตตํ มม ชีวิตํ
ปกาย โว คมิสฺสามิ กตํ เม สรณมตฺตโน
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกูขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ
โย อิมสมึ ธมฺาวินเย อปฺปมตฺโต วิหสฺสติ
ปหาย ชาติสฺสารํ ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ
(ทีฆนิกาย มหาวัคค์ มหาปรินิพพานสูตร สยามรัฐ ที่.๓๐/๑๐๘/๑๔๒)

วัยของเราหง่อมแล้ว ชีวิตเราเหลือน้อย
เรากำลังจะละเธอไป ที่พึ่งเราได้ทำแล้วแก่ตน
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีศีลงดงามเถิด ภิกษุทั้งหลาย
(อีกทั้ง)จะเป็นผู้มีความดำริตั้งมั่นดี จงตามรักษาจิตของตน
ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาท จักดำรงอยู่ในธรรมวินัยนี้
ละความเวียนว่ายแห่งการเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2013, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐.
วิปปยุตตปัจจัย

วิปฺปยุตตฺปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ

วิปยยุตต์ แปลว่า ไม่ประกอบกัน มี ๒ นัย คือ
๑. อภาววิปปยุตต์ เป็นวิปปยุตต์โดยความไม่มี เช่น ทิฏฐิคตวิปปยุตต์ คือ จิตที่ไม่มีทิฏฐิ
๒. วิสังสัฏฐวิปปยุตต์ เป็นวิปปยุตต์โดยความไม่ปนกัน ได้แก่นามและรูป

วิปปยุตตปัจจัย ได้แก่ วิสังสัฏฐวิปปยุตต์ กล่าวคือ นามและรูป แม้จะเกิดพร้อมกัน แต่ก็ประกอบกันไม่ได้

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
รส ๖ อย่าง คือ หวาน เปรี้ยว ฝาด เค็ม ขม เผ็ด เหล่านี้ เมื่อเอามาผสมรวมกันเข้าแล้ว
ไม่สามารถที่จะกลมกลืนเข้ากันได้สนิทเป็นรสเดียวกัน

การอุปการะกันระหว่างนามกับรูปด้วยอำนาจวิปปยุตตปัจจัยนั้น เป็นได้ ๓ ลักษณะ คือ
๑. นามธรรมและรูปธรรมเกิดร่วมกันและช่วยอุดหนุนกัน เรียกว่า สหชาตวิปปยุตต์
๒. รูปธรรมที่เกิดก่อนช่วยอุดหนุนนามธรรมที่เกิดที่หลัง เรียกว่า วัตถุปุเรชาตวิปปยุตต์ และ
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตต์
๓. นามธรรมที่เกิดทีหลังช่วยอุดหนุนรูปธรรมที่เกิดก่อน เรียกว่า ปัจฉาชาตวิปปยุตต์

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับปัจจัยที่ ๑๙-๒๔
เหมือนสัมปยุตตปัจจัยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

:b42: :b50: :b50: :b50:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2013, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป


:b42: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/


:b45: เชิญอ่านปัจจัยที่ ๒๑ ที่กระทู้ที่ ๘ ค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41821

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร