วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มโนทวารวิถี

(กล่าวตามนัยแห่งพระอภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์ โดยเฉพาะ)
ไม่มีอตีตภวังค เพราะอารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวารวิถีนี้ ไม่ได้กระทบ ภวังคจิตก่อน
เหมือนกับปัญจทวารวิถี หากแต่จิตเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงรับอารมณ์นั้น
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทางปัญจทวารวิถีนั้น อารมณ์เป็นปัจจัยมากระทบมากระตุ้น เตือนจิต
ให้จิตไหวตัวขึ้นรับอารมณ์ ส่วนทางมโนทวารวิถีนั้น จิตไหวตัวหน่วงเอา อารมณ์นั้น ๆ มาเอง

เนื่องจากการที่จิตไหวตัว หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเองดังกล่าวนี้ มโนทวารวิถี
จึงมีกิจการงานที่จะต้องกระทำน้อยอย่าง วิถีจิตจึงมีน้อยเพียง ๓ อย่างเท่านั้น คือ

ก. มโนทวาราวัชชนจิต ผู้ทำหน้าที่นำวิถี ได้หน่วงเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเอง
โดยตัดสินให้เป็นกุสล อกุสลเสร็จไปพร้อมกันในตัวเองทีเดียว อย่างที่ว่า ก่อเอง สานเอง
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า มโนทวาราวัชชนจิตได้คิดนึกเป็นกุสล อกุสลเอง ไม่มีจิตอื่นเป็นสื่อนำมาให้

ข. แล้วชวนจิตก็เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นโดยความเป็นกุสล หรืออกุสล
ตามที่ มโนทวาราวัชชนจิตได้กำหนดนึกนั้น

ค. และเพราะว่าอารมณ์ชัดแจ้งมาก มีกำลังมาก ตทาลัมพนะจึงต้องรับรู้
อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิตอีกทอดหนึ่งส่วนทางปัญจทวารวิถี
มีจิตอื่นทำกิจของเขามาก่อน คือ รับรู้อารมณ์มาก่อน เป็นหลายทอดหลายหน้าที่
แล้วจึงเสนอถึงโวฏฐัพพนะ ก็คือ มโนทวาราวัชชนะ นั่นเอง เป็นผู้ตัดสินกำหนดให้เป็นกุสล
หรืออกุสล ขอให้ดูภาพวิถีจิต (หน้า ๙-๑๐) ประกอบด้วย จะเห็นได้ว่า ปัญจทวารวิถี
มีกิจการงานต้องกระทำหลายอย่าง มีวิถีจิต มากถึง ๗ อย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชื่อของวาระแห่งมโนทวารกามวิถี

วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีทางใจที่มีอารมณ์ปรากฏชัดเจนแจ่มแจ้งมาก ตามปกติ
ก็มีวิถีจิตถึงตทาลัมพนะ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ตทาลัมพนวาระ
อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏชัดทางใจเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อย กว่า
อ่อนกว่า วิภูตารมณ์วิถี วิถีจิตจึงมีแค่ ชวนะ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า ชวนวาระ

ข้อสังเกตในกามวิถี

ในกามวิถีนี้ ไม่ว่าจะทางปัญจทวารวิถี หรือมโนทวารวิถี และไม่ว่าอารมณ์ นั้น
จะชัดเจนแจ่มแจ้งมากหรือน้อยก็ตาม มีข้อที่ควรสังเกต คือ

ก. กล่าวโดยอารมณ์ของแต่ละวิถี ในวิถีนั้นจะต้องมีอารมณ์แต่อย่างเดียว
ตั้งแต่เริ่มต้นวิถีจนสิ้นสุดวิถี ในวิถีเดียวจะมีอารมณ์หลายอย่างไม่ได้
เช่น ปัญจทวารา วัชชนะมีวัณณะเป็นอารมณ์ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ
สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตลอดจนตทาลัมพนะ ก็มีวัณณะเป็นอารมณ์
เช่นเดียวกัน ดังนี้เป็นต้น

ข. กล่าวโดยชวนะ ซึ่งตามปกติในวิถีหนึ่ง ย่อมมี ๗ ขณะ ชวนะทั้ง ๗ ขณะ
นี้จะต้องเป็นจิตชาติเดียวกัน กล่าวคือถ้าเป็นชาติกุสล ก็เป็นกุสลชวนะทั้ง ๗ ขณะ
เป็นชาติอกุสล ก็เป็นอกุสลชวนะทั้ง ๗ ขณะ เป็นชาติกิริยา ก็เป็นกิริยาชวนะทั้ง ๗ ขณะ

ค. ชวนะทั้ง ๗ ขณะ ต้องเป็นชาติเดียวกันดังกล่าวในข้อ ข. แล้วนั้น ชวนะ ทั้ง ๗
ก็เป็นกามชวนะแต่อย่างเดียว ไม่มีมหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ มาปะปนด้วยเลย
ทั้งนี้ผิดกับอัปปนาวิถี ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 46.53 KiB | เปิดดู 3776 ครั้ง ]
ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี

ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี คือ มโนทวารวิถี
ที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถี อันมีปรมัตถเป็นอารมณ์ เพื่อให้รู้เรื่องราวของบัญญัติ
ตามโวหารของโลก จากปรมัตถอารมณ์นั้น
ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ที่เกิดติดต่อจากปัญจ ทวารวิถีนั้น
มีอยู่ ๔ อย่าง หรือ ๔ วิถี คือ

๑. อตีตัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์ตามปัญจทวารวิถี
ซึ่งปัญจทวารวิถีได้ ประสบมา แต่ว่าอารมณ์นั้นได้หมดอายุและดับไปแล้ว
ปัญจทวารวิถีมีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วย ส่วนอตีตัค คหณวิถี
ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ ซึ่งเป็นอารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถีนั้นเอง แต่ว่า เป็นอดีตอารมณ์

จักขุทวารวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ ดังภาพนี้

ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

อตีตัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ แต่เป็นอดีตอารมณ์ ดังภาพนี้

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

การเกิดขึ้นของปัญจทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถีทั้ง ๒ วิถีนี้ เกิดสลับกันเป็น
จำนวนหลายร้อยหลายพันรอบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 40.33 KiB | เปิดดู 3776 ครั้ง ]
๒. สมูหัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์เหล่านั้นมารวมกัน เพื่อให้ได้ความ
วิถีนี้ก็เกิดหลายร้อยหลายพันรอบเหมือนกัน
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต
สมูหัคคหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นอดีตอารมณ์เช่นเดียวกับ อตีตัคคหณวิถี

๓. อัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้เนื้อความของอารมณ์นั้น เกิดได้มากมายหลาย รอบเช่นเดียวกัน
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
อัตถัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นบัญญัติ คือรู้เนื้อความของอารมณ์นั้น
ตามโวหาร ของโลก มีข้อสังเกตว่า วิถีที่มีอารมณ์เป็นบัญญัติก็ไม่มี ตทาลัมพนะ

๔. นามัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ๆ เกิดได้เป็นจำนวนมาก หลายรอบเช่นเดียวกัน
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
นามัคคหณวิถีนี้ ก็มีอารมณ์เป็นบัญญัติเหมือนกัน คือ รู้ชื่อของอารมณ์นั้น
ตามโวหารของโลกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นทางจักขุทวาร มีรูป คือสีหรือวัณณะเป็นอารมณ์
ถ้าหากว่าผู้นั้นไม่เคย เห็นรูปนั้นมาก่อน ไม่รู้ว่ารูปนั้นชื่ออะไร นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด
กล่าวคือไม่เคยเห็น " ไก่ " ก็เพียงแต่เห็นรูปร่างว่าเป็นอย่างนั้น ๆ แต่ไม่รู้ว่าเขา เรียกชื่อกันว่า " ไก่ "

ทางจักขุทวาร อันมีรูปเป็นอารมณ์ ทางฆานทวาร อันมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ทาง ชิวหาทวาร
อันมีรสเป็นอารมณ์ และทางกายทวารอันมีสิ่งที่มากระทบถูกต้องเป็น อารมณ์ทั้ง ๔ นี้
วิถีจิตเกิดดังกล่าวมานี้ เฉพาะอย่างยิ่ง อัตถัคคหณวิถีเกิดก่อน นามัคคหณวิถีเกิดทีหลัง
แต่ว่าถ้าเป็นวิถีที่เกิดทางโสตทวาร อันมีเสียง คือ สัททะเป็นอารมณ์แล้ว
นามัคคหณวิถีเกิดก่อน อัตถัคคหณวิถี เกิดทีหลัง

และถ้าเสียงนั้นมีพยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีก็ไม่เกิด
เพราะไม่ ต้องการมีการรวมอะไรแต่อย่างใด หรือถ้าไม่รู้เนื้อความของสัททารมณ์นั้น
เช่นได้ยินภาษาต่างประเทศที่ตนไม่มี ความรู้ อัตถัคคหณวิถีก็ไม่เกิด ปัญจารมณ์
ที่ไม่เกี่ยวแก่ชื่อต่าง ๆ เช่น เห็นคนกวักมือเรียก หรือร้องเรียกว่า มานี่ เป็นต้น นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 16:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 116.45 KiB | เปิดดู 3776 ครั้ง ]
อนึ่ง นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการจำแนก จัก ซอย อัตถัคคหณวิถี ให้ละเอียดออกไปอีก คือ

กายวิญญัตติคคหณวิถี เกิดต่อจากอัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ความหมายของ กายวิญญัตตินั้น
เช่น รู้ว่าผู้ที่กำลังกวักมือนั้น กำลังเรียก

วจีวิญญัตติคคหณวิถี ก็ทำนองเดียวกัน คือ รู้ความหมายของวจีวิญญัตติว่า
เสียงนั้นเป็นเสียงเรียก

อธิปายัคคหณวิถี เป็นวิถีที่เกิดต่อจากกายวิญญัตติคคหณวิถี
หรือวจีวิญญัต ติคคหณวิถี เมื่ออธิปายัคคหณวิถีเกิดแล้ว ย่อมรู้ความประสงค์ของผู้ที่กวักมือ
หรือ ออกเสียงเรียก ว่าให้เราไปหาเขา

แต่อย่างไรก็ดี วิถีทั้ง ๓ นี้คือ กายวิญญัตติคคหณวิถี วจีวิญญัตติคคหณวิถี และ อธิปายัคคหณวิถี
ก็อนุโลมเข้าใน อัตถัคคหณวิถีนั่นเอง ตัวอย่างเช่นมีผู้กวักมือเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดดังนี้

๑. จักขุทวารวิถี เป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์
ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต
๒. อตีตัคคหณวิถี รับรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณได้เห็นแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ แต่เป็นอดีตอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต
๓. สมูหัคคหณวิถี รวมรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต
๔. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า กวักมือ เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
๕. กายวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียก เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
๖. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2013, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 151.26 KiB | เปิดดู 3776 ครั้ง ]
มีผู้ร้องเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดขึ้นดังนี้
๑. โสตทวารวิถี ได้ยินเสียง คือสัททารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์
ตี น ท ป โสต สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต
๒. อตีตัคคหณวิถี รับสัททารมณ์โสตวิญญาณได้ยินแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต
๓. สมูหัคคหณวิถี รวมสัททารมณ์ รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต
แต่ถ้าเสียงที่เรียกนั้น พยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีนี้ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องรวม
๔. นามัคคหณวิถี รู้นาม รู้ชื่อ ว่าเสียงนั้นเป็นชื่อ เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
๕. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า เป็นชื่อเรา เป็นบัญญัติ อารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
๖. วจีวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียกเรา เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช
๗. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์
น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สุบินวิถี

สุบินวิถี คือ ความเป็นไปของจิตในเวลาฝัน ได้แก่ กามชวนมโนทวารวิถี
ที่เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ การฝัน ก็มีชัดมากและชัดน้อย ชัดมากก็มีถึงตทาลัมพนะได้
ชัดน้อยก็มีเพียง ชวนะเท่านั้น

เหตุที่ทำให้เกิดฝันขึ้นนั้น มี ๔ ประการ คือ

๑. บุพพนิมิต กรรมใด ๆ ที่ได้กระทำมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม
กระตุ้นเตือนจิตใจให้ใฝ่ฝันถึงกรรมนั้น ๆ
๒. จิตอารมณ์ จิตใจจดจ่อในเรื่องใดๆ เป็นพิเศษยิ่งก็ทำให้ใฝ่ฝันถึงเรื่องนั้นๆ
๓. เทพสังหรณ์ เทวดาดลใจให้ฝัน
๔. ธาตุกำเริบ เวลาที่ธาตุไม่ปกติ ก็ทำให้ฝันได้เหมือนกัน

ผู้ที่ฝัน ได้แก่ บุคคล ๖ คือ

๑. ทุคคติบุคคล (เว้นสัตว์นรก)
๒. สุคติบุคคล
๓. ทวิเหตุกบุคคล
๔. ติเหตุกบุคคล (เว้นรูปพรหม อรูปพรหม)
๕. โสดาบันบุคคล
๖. สกทาคามิบุคคล
ที่สัตว์นรกไม่ฝัน เพราะถูกทรมานตลอดเวลา จนไม่มีโอกาสที่จะใฝ่ฝัน
ที่รูปพรหม อรูปพรหม อนาคามีบุคคล และอรหัตตบุคคล ไม่ฝัน
เพราะท่าน เหล่านี้ปราศจาก กามราคะแล้ว บุคคลที่ยังฝันอยู่
ล้วนแต่เป็นผู้ที่ยังมีกามราคะ กามฉันทะอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิถีจิตของทารก

ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์มารดานั้น วิถีจิตก็เกิดได้ สำหรับมโนทวารวิถีเกิดได้
ตั้งแต่หลังจากปฏิสนธิ และภวังคจิต ๑๕ ขณะ เป็นต้นมา

ส่วนทางปัญจทวารวิถีเกิดเพียง ๓ วิถี คือ
โสตทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี และ กายทวารวิถี
สำหรับจักขุทวารวิถี และฆานทวารวิถีนั้น
เกิดได้หลังจากที่คลอดจากครรภ์ มารดา
และทารกนั้นมีความสนใจในอารมณ์แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2013, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญจทวารวิถี กับ มโนทวารกามวิถี

ปัญจทวารวิถี กับมโนทวารกามวิถี ต่างก็เป็นวิถีที่มีกามธรรม เป็นอารมณ์ เป็น กามวิถีด้วยกันทั้งคู่
แต่ว่ามีความแตกต่างกันหลายประการ คือ

ปัญจทวารวิถี ...........................................มโนทวารกามวิถี
๑. ต้องมีอตีตภวังคเสมอไป ..................................ไม่มี

๒. มีวิสยัปปวัตติ ๔ คือ..................................มีวิสยัปปวัตติเพียง ๒ คือ
ก. อติมหันตารมณ์........................................... ก. วิภูตารมณ์
ข. มหันตารมณ์................................................ข. อวิภูตารมณ์
ค. ปริตตารมณ์
ง. อติปริตตารมณ์
๓. อาศัยเกิดได้ ๕ ทวาร.........................เกิดได้เฉพาะแต่มโนทวารทางเดียว
๔. อาศัยวัตถุ ๕ เกิด ..........................................................อาศัยเฉพาะหทยวัตถุแต่อย่างเดียว
...................................................................หรือมิฉนั้นก็เกิดโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุใด ๆ เลย
๕. มีอารมณ์ ได้ ๕ อย่าง(ปัญจารมณ์) .............................................มีอารมณ์ได้ทั้ง ๖
๖. มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ ..................................มีทั้งรูปธรรม นามธรรม และบัญญัติธรรม เป็นอารมณ์
๗. มีเฉพาะปรมัตถ เป็นอารมณ์ ...................................มีทั้งปรมัตถ และบัญญัติเป็นอารมณ์
๘. มีอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันแต่อย่างเดียว ..............................มีอารมณ์ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต
...............................................................................อนาคต ตลอดจนกาลวิมุตติ
๙. เกิดได้แก่ กามบุคคล รูปบุคคล...................................เกิดได้ทั้ง กามบุคคล รูปบุคคล ตลอดจน
(เว้นอสัญญสัตตบุคคล) เฉพาะรูป............................อรูปบุคคล (เว้นเฉพาะ อสัญญสัตตบุคคลเท่านั้น)
บุคคลก็เกิดได้แต่จักขุทวารวิถี และโสตทวารวิถีเท่านั้น
๑๐. เกิดได้ในกามภูมิ รูปภูมิ (เว้น...............................เกิดได้ทั้งในกามภูมิ รูปภูมิ ตลอดจน อรูปภูมิ
อสัญญสัตตภูมิ) และในรูปภูมินั้น ก็เกิด...............................มีเว้นเฉพาะแต่อสัญญสัตตภูมิ เดียวเท่านั้น
ได้เฉพาะจักขุทวารวิถี และโสตทวารวิถีเท่านั้น
๑๑. มีวิถีจิตอย่างมากได้ถึง ๗อย่าง คือ .............................มีวิถีจิตอย่างมากได้เพียง ๓ อย่าง คือ
อาวัชชนะ ๑ ทวิปัญจวิญญาณ ๑ .......................................อาวัชชนะ ๑ ชวนะ ๑ ตทาลัมพนะ ๑
สัมปฏิจฉันนะ ๑ สันตีรณะ ๑
โวฏฐัพพนะ ๑ ชวนะ ๑ ตทาลัมพนะ ๑

๑๒. มีจิตตุปปาทะอย่างมากถึง ๑๔ ขณะ ..........................มีจิตตุปปาทะอย่างมาก ๑๐ ขณะ ถ้านับ
ถ้านับภวังคข้างหน้าด้วยก็เป็น ๑๗ ขณะ ............................ภวังคข้างหน้าด้วยก็เป็น ๑๒ขณะ

๑๓. มีจิตพิสดารถึง ๕๔ ดวง คือ...........................................มีจิตพิสดารเพียงกามจิต๔๑ ดวง
กามจิตทั้งหมด ........................................................ (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ๑๐ มโนธาตุ ๓
......................................................................อันเป็นที่เกิดทางปัญจทวารวิถีโดยเฉพาะ)
๑๔. เกิดจากภวังคจิตเพียง ๑๕ ดวง ....................................เกิดจากภวังคจิตได้ทั้ง ๑๙ ดวง คือ
คือ อุเบกขาสันตีรณะ ๒ มหาวิบาก ๘....................................อุเบกขาสันตีรณะ ๒ มหาวิบาก ๘
รูปาวจรวิบาก ๕ .........................................................รูปาวจรวิบาก ๕ อรูปาวจรวิบาก ๔
๑๕. มีเวทนาได้ทั้ง ๕ .......................................................มีเวทนาได้เพียง ๓ คือ
...................................................................โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อัปปนาวิถี

อัปปนา แปลว่า ทำลาย คือทำลายกิเลส มีนิวรณ์เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง
หมายถึง จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ
ถ้าเคยได้อัปปนาจิตในอารมณ์ใด เมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้นอีกเวลาใด หรือขณะใด
ก็จะต้องมีอารมณ์อย่างนั้นเสมอไปไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอารมณ์อย่างอื่นเลย

อัปปนาจิต คือจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๓๕ หรืออย่างพิสดาร ๖๗ ดวง คือ
มหัคคตจิต ๒๗
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

ส่วน อัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีอัปปนาจิตอยู่ในวิถีนั้น ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ อย่างพิสดาร ๕๘ ดวง คือ
มหัคคตกุสลจิต ๙
มหัคคตกิริยาจิต ๙
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

อัปปนาชวนะ คือ ชวนจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ ๕๘ เท่ากัน และเหมือนกันกับอัปปนาวิถีจิตนั่นเอง เพราะชวนะ เป็นจิตที่อยู่ในวิถี

อัปปนาวิถี หรือ อัปปนาชวนะ เกิดได้ทาง มโนทวารวิถี ทางเดียวเท่านั้น ไม่เกิดทางปัญจทวารวิถีเลย

อัปปนาวิถี เป็นมโนทวารวิถีก็จริง แต่ไม่จำแนก เป็นวิภูตารมณ์วิถี และ อวิภูตารมณ์วิถี เหมือนอย่าง
มโนทวารกามวิถี เพราะอัปปนาวิถีมีแต่วิภูตารมณ์วิถี อย่างเดียว ด้วยเหตุว่า ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาชวนะ จะเกิดไม่ได้เลย
อัปปนาวิถี จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ
๑. โลกียอัปปนาวิถี
๒. โลกุตตรอัปปนาวิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกียอัปปนาวิถี

โลกียอัปปนาจิต ได้แก่ มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง
แต่ โลกียอัปปนาวิถี หรือ โลกียอัปปนาชวนะ ได้แก่มหัคคตชวนจิต ๑๘ ดวง คือ
มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ เท่านั้น

ส่วนมหัคคตวิบากจิตอีก ๙ ดวงนั้น ไม่นับเป็นโลกียอัปปนาวิถี เพราะเป็นจิต
ที่พ้นวิถี (พ้นทวารด้วย) และไม่นับเป็นโลกียอัปปนาชวนะ เพราะไม่ได้ทำชวนกิจ

โลกียอัปปนาวิถีนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วิถีจิตที่ได้ฌาน ที่ถึงฌาน ที่ฌานจิต เกิด (ทั้งนี้หมาย
เฉพาะฌานจิตที่เป็นกุสล และกิริยาเท่านั้น ยกเว้นฌานจิตที่เป็น วิบาก เพราะเป็นจิตที่พ้นวิถี)

ผู้ที่ได้ปฐมฌาน เป็นครั้งแรก ก็ดี ได้ทุติยฌาน เป็นครั้งแรก ก็ดี ตลอดจนถึงได้
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นครั้งแรกก็ดี รวมความหมายว่า ผู้ที่แรกได้ฌาน ชั้นนั้น ๆ
วิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรก เรียกชื่อวิถีจิตนั้นว่า อาทิกัมมิกฌานวิถี มีวิถีดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2013, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 55.13 KiB | เปิดดู 3775 ครั้ง ]
อาทิกัมมิกฌานวิถี ของมันทบุคคล คือบุคคลผู้รู้ช้า

..........................กามชวนะ....................โลกียอัปปนาชวนะ..............ภวังคจิต
..................มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ .............กุสลฌานจิต
น ท มโน ...........ปริ อุป อนุ โค ...........................ฌ ..........................ภ
........................ชวนจิต ...............................ชวนจิต

--------------------------------------------------------------------------------
อาทิกัมมิกฌานวิถี ของติกขบุคคล คือบุคคลผู้รู้เร็ว

........................กามชวนะ.......................โลกียอัปปนาชวนะ .............ภวังคจิต
.................มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ...............กุสลฌานจิต
น ท มโน ..............อุป อนุ โค .............................ฌ ..........................ภ
..........................ชวนจิต ..............................ชวนจิต

--------------------------------------------------------------------------------
ความหมายของอักษรย่อ น=ภวังคจลนะ,ท=ภวังคุปัจเฉทะ,มโน=มโนทวาราวัชชนะ,
บริ=บริกรรม,อุป=อุปจาระ,อนุ=อนุโลม,โค=โคตรภู,ฌ= ฌานจิต

คำว่าโคตรภู ในโลกียอัปปนาวิถีนี้ หมายความว่า โอนโคตรหรือตัดจากโคตร กาม ไปเป็นโคตรพรหม
อาทิกัมมิกฌานวิถี คือวิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรกนี้ ฌานจิตจะ เกิดเพียงขณะเดียว หรือดวง
เดียวเท่านั้นเอง ต่อเมื่อมีวสีคือมีความชำนาญแล้ว จึงจะเกิดได้หลายขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตตรอัปปนาวิถี

โลกุตตรอัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีโลกุตตรจิตในวิถีนั้น โลกุตตรจิตเป็นจิตที่
แนบแน่นแน่วแน่ในพระนิพพาน เป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้นเอง จะมีอารมณ์
เป็นอย่างอื่นไม่ได้ โลกุตตรอัปปนาวิถี ได้แก่ โลกุตตรจิต คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔
หรืออย่าง พิสดารก็ มัคคจิต ๒๐ ผลจิต ๒๐
ติเหตุกบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนบรรลุมัคคผล วิถีจิตที่ถึงมัคคถึงผล
นั้นเรียกว่า มัคควิถี มีวิถีดังนี้

มัคควิถี ของ มันทบุคคล คือ บุคคลผู้รู้ช้า

.........................กามชวนะ.....................................อัปปนาชวนะ
...................มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ........................โลกุตตรจิต ๘
น ท มโน .............บริ อุป อนุ โค .................................มัคค ผล ผล ..........ภ
...................................................................................................
......มโน.............บริ อุป อนุ ...............................มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์
...........................................โค มัคค ผล ผล ............มีนิพพานเป็นอารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 97.09 KiB | เปิดดู 3775 ครั้ง ]
มัคควิถีของ ติกขบุคคล คือ บุคคลผู้รู้เร็ว

...................กามชวนะ .............อัปปนาชวนะ
...........มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔......โลกุตตรจิต ๘
น ท มโน .......อุป อนุ โค .. .............มัคค ผล ผล ผล.......... ภ
......มโน ......อุป อนุ ............................................มีไตรลักษณ์แห่งรูปนาม
...........................โค ...............มัคค ผล ผล ผล.......มีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นอารมณ์

ในมัคควิถี ไม่ว่าจะเป็น มันทบุคคล(ผู้รู้ช้า) หรือติกขบุคคล(ผู้รู้เร็ว) มัคคจิต ก็เกิดขณะเดียวเท่านั้น
มันทบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๓ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ
เกิด ๒ ขณะ รวมเป็นชวนะ ๗ ขณะ

...............อนุโลมญาณ ..โคตรภูญาณ ....มัคคญาณ .....ผลญาณ
น ท มโน......บริ อุป อนุ ....โค ...............มัคค ..........ผล ผล
ติกขบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๒ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ เกิด ๓ ขณะ รวมชวนะ ๗ ขณะ เหมือนกัน

...............อนุโลมญาณ ....โคตรภูญาณ ....มัคคญาณ ........ผลญาณ
น ท มโน ......อุป อนุ .........โค ..............มัคค .............ผล ผล ผล .....ภ


วิถีจิตของพระโสดาบัน ที่บรรลุ สกทาคามี มัคค - ผล ก็ดี
วิถีจิตของพระสกทาคามี ที่บรรลุ อานาคามี มัคค - ผล ก็ดี
วิถีจิตของพระอนาคามี ที่บรรลุ อรหัตต มัคค - ผล ก็ดี
มีวิถีจิต คือ มัคควิถีอย่างเดียวกับที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ส่วนโคตรภู นั้น ไม่เรียกว่า โคตรภู แต่เรียกว่า โวทาน
ในมัคควิถี คำว่า โคตรภู หมายความว่า ตัดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยะ กล่าวคือ ตัดจากโคตรชนที่หนา
แน่นไปด้วยกิเลส เป็นโคตรชนที่ห่างไกลจากกิเลส
ส่วนคำว่า โวทาน แปลว่า ธรรมขาว หมายความว่า พระสกทาคามี มีธรรม ที่ขาวกว่า สะอาดกว่า
พระโสดาบัน, พระอนาคามี ก็มีธรรมที่ขาวยิ่งกว่า สะอาด ยิ่งกว่า พระสกทาคามี, สำหรับพระอรหันต์ นั้นเป็น
ผู้ที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์หมดจด ด้วยประการทั้งปวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2013, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตในอัปปนาวิถี

ดังได้กล่าวแล้วว่า อัปปนาวิถีเป็นวิถีจิตที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งมาก เพราะถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาวิถีจะไม่ เกิดเลย นอกจากนี้มีข้อที่ควรสังเกตอีก คือ

ก. กล่าวโดยความชัดแจ้งของอารมณ์ แม้ว่าอัปปนาวิถีมีอารมณ์ชัดเจนแจ่ม แจ้งมาก แต่วิถีจิตก็มีไม่ถึง
ตทาลัมพนะ เพราะอัปปนาวิถี มีทั้งกามอารมณ์ กาม ชวนะ และนิพพานเป็นอารมณ์ได้ด้วย

ข. กล่าวโดยอารมณ์ของแต่ละวิถี ในวิถีเดียวกันนั้นเอง อัปปนาวิถีมีอารมณ์ ได้มากกว่า ๑
เช่นในมัคควิถี
วิถีจิตตอนต้น ๆ คือ มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ วิถีจิตตอนหลัง ๆ คือ โคตรภู มัคคจิต ผลจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์

ค. กล่าวโดยชวนะ ก็มีได้หลายชาติ เช่น ในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู และมัคคจิต เป็นชาติกุสล ส่วนผลจิต เป็นชาติวิบาก

ง. นอกจากชวนะมีได้หลายชาติดังกล่าวในข้อ ค. นั้นแล้ว ชวนะยังมีจิตได้ หลายประเภท เช่น
ในอาทิกัมมิกฌานวิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็น จิตประเภทกามาวจรจิต หรือ กามจิต ส่วนฌานจิตเป็นจิตประเภทมหัคคตจิต หรือ ฌานจิตไม่ใช่กามจิต และในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็นจิต ประเภทกามจิต ส่วนมัคคจิต ผลจิต เป็นจิตประเภทโลกุตตร ไม่ใช่กามจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร