วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ก. นานาพทฺธ อวิโกปน อธิษฐานว่า บริขารต่าง ๆ ตลอดจนร่างกาย ของข้าพเจ้า ขออย่าให้เป็นอันตราย
ข. สงฺฆปฏิมานน อธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน ต้องการตัวข้าพเจ้า ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มาตาม
ค. สตฺถุปกฺโกสน อธิษฐานว่า ถ้าพระพุทธองค์มีพระประสงค์ตัว ข้าพเจ้า ก็ขอให้ออกได้ โดยมิต้องให้มีผู้มาตาม
ง. อทฺธาน ปริจฺเฉท อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ว่าจะเข้าอยู่นานสัก เท่าใด รวมทั้งการพิจารณาอายุสังขารของตนด้วยว่าจะอยู่ถึง ๗ วันหรือไม่ ถ้าจะตายภายใน ๗ วัน ก็ไม่เข้า หรือเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน
(๑๗) อธิษฐานแล้วก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน วิถีนี้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เกิดขึ้น ๒ ขณะ (๒ ขณะ ไม่ใช่ ๑ ขณะ)
(๑๘) ลำดับนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปก็ดับไป ไม่มีเกิดขึ้นอีกเลย ส่วน กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ยังคงดำรงอยู่ และดำเนินไปตามปกติ หาได้ดับ ไปด้วยไม่
จิต เจตสิก และจิตตชรูป คงดับอยู่จนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้
(๑๙) เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้อธิษฐานไว้ ซึ่งเรียกว่า ออกจากนิโรธสมาบัติ นั้น
อนาคามิผล สำหรับอนาคามิบุคคล หรืออรหัตตผล สำหรับอรหัตตบุคคล
ก็เกิดขึ้น ๑ ขณะก่อน ต่อจากนั้น จิต เจตสิก และจิตตชรูปจึงจะเกิดตาม ปกติต่อไปตามเดิม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อภิญญาวิถี

อภิญญา แปลว่า รู้ยิ่ง รู้พิเศษ มีความหมายว่า เป็นจิตที่มีความรู้อันยิ่งใหญ่ เป็นพิเศษจนมีอำนาจ
สามารถที่จะบันดาลให้เกิด สิ่งที่ตนปรารถนาได้ ต้องใช้ รูปาวจรปัญจมฌานกุสล หรือ รูปาวจรปัญจม
ฌานกิริยา ที่ได้มาจากกสิณเป็นบาทให้เกิดอภิญญาจิต ดังนั้นอภิญญานี้จึงมีได้แต่ในภูมิที่มีขันธ์ ๕
เพราะต้องทำ อภิญญาด้วยรูปฌาน

อภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌานจิตเป็นบาทให้เกิดนั้น มี ๕ ประการ คือ
๑. บุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนที่เคยเกิดมาแล้วได้
๒. ทิพพจักขุ หรือ จุตูปปาตญาณ คือ ตาทิพย์เหมือนเทวดา และพรหม สามารถเห็นเหตุการณ์ไกล ๆ ที่ไปไม่ถึงได้ และ รู้จุติ ปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลาย
๓. ปรจิตตวิชชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จักจิตใจของผู้อื่นได้
๔. ทิพพโสต คือ หูทิพย์เหมือนเทวดาและพรหม สามารถฟังเสียงที่ไกล ๆ ได้
๕. อิทธิวิธ แสดงอิทธิฤทธิต่าง ๆ ได้

ผู้ทำอภิญญาได้ ต้องเป็นผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
๑. ได้สมาบัติทั้ง ๘ คือ ได้ทั้งรูปฌานสมาบัติ และอรูปฌานสมาบัติ โดย ครบถ้วน
๒. ต้องได้ทำการฝึกฝนอบรม (เป็นพิเศษอีก ๑๔ นัย) เพื่อให้ได้อภิญญา และต้องแคล่วคล่องว่องไวใน
กระบวนการอบรม (ทั้ง ๑๔ นัย) นั้นด้วย (กระบวน การอบรมเป็นพิเศษ ๑๔ นัยนั้น แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๙) เมื่อฌานลาภีบุคคลผู้มีลักษณะดังกล่าว ปรารถนาจะทำอภิญญาอย่างใดอย่าง หนึ่ง ต้องกระทำดังนี้ คือ

๑. ต้องเข้ารูปาวจรปัญจมฌานก่อน เพื่อเป็นบาทให้จิตมีกำลังกล้าแข็ง ซึ่ง เรียกชื่อว่า ปาทกฌานวิถี วิถีจิตเป็นดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ

๒. แล้วก็อธิษฐาน คือ ตั้งความปรารถนา ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่มั่นคง อย่างแรงกล้า ว่าประสงค์อภิญญาอย่างใด ซึ่งเรียกชื่อว่าอธิฏฐานวิถี เป็นกามวิถี ดังนี้
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ภ

๓. ต่อจากนั้นก็เข้ารูปาวจรปัญจมฌานอีก เรียก ปาทกฌานวิถี เหมือนกัน วิถีจิตเป็นดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ฌ ฌ ฌ ฌ ภ

๔. ลำดับสุดท้าย อภิญญาจิตก็จะเกิดขึ้นตามความปรารถนาที่ได้อธิษฐานนั้น วิถีนี้จะเกิดอภิญญาจิตขณะเดียวเท่านั้น ดังนี้
ภ น ท มโน ปริ อุป อนุ โค อภิญญา ภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะที่อภิญญากำลังเกิดอยู่นั้น มโนทวารวิถีที่เกิดต่อจากอภิญญาวิถีนั้น เป็น มหากุสลหรือมหากิริยา
ตามควรแก่บุคคลที่แสดงอภิญญา และเป็นกามชวนมโน ทวารวิถี

ถ้าหากว่า ได้กระทำดังกล่าวแล้ว แต่อภิญญายังไม่เกิด ก็ต้องตั้งต้นเริ่มทำมา ตั้งแต่ต้นใหม่อีก
จนกว่าอภิญญาจิตจะเกิด

อนึ่ง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้ว่าบุคคลที่แสดงอภิญญาได้ ก็ด้วย อำนาจแห่งการเจริญ
สมถภาวนาจนได้สมาบัติทั้ง ๘ เช่นนี้ท่านเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ซึ่งมีความหมายว่า สำเร็จ
ถึงซึ่งฌานด้วยการปฏิบัติ
ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในชาตินั้นไม่เคยเจริญสมถภาวนา เป็นแต่เจริญ วิปัสสนาภาวนา
อย่างเดียว ถึงกระนั้นก็ดี บางบุคคลพอบรรลุมัคคผล ก็ถึงพร้อมซึ่ง ฌานด้วย จนถึงแสดงอภิญญาได้
ก็มี เช่น พระจุฬปัณถก เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้ว ก็ได้แสดงปาฏิหาริย์เป็นภิกษุหลายรูปจนเต็ม
พระเชตวัน เช่นนี้ท่านเรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ซึ่งมีความหมายว่า ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 63.43 KiB | เปิดดู 4894 ครั้ง ]
มรณาสันนวิถี

มรณาสันนวิถี เป็นวิถีจิตที่ใกล้ตาย วิถีนี้ชวนจิตเกิดเพียง ๕ ขณะเท่านั้น เพราะจิตมีกำลังอ่อนมากแล้ว
เมื่อสุดวิถีของมรณาสันนวิถี จุติจิตต้องเกิดขึ้นอย่าง แน่นอน ๑ ขณะ สัตว์นั้นก็ถึงแก่ความตาย
เมื่อจุติจิตดับลงแล้ว ปฏิสนธิก็เกิดติดต่อกันในทันทีทันใด ไม่มีจิตอื่นมาเกิด คั่นระหว่างจุติกับปฏิสนธิจิต
เลย (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่มีปฏิสนธิจิตมาเกิด ต่อ)
สัตว์ที่ใกล้ตาย ก่อนที่จุติจิตเกิด ถ้ามี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกต้อง เป็น อารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้น
เรียกว่า มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร
ถ้ามีความคิดนึกในทางใจเป็นอารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้นก็เรียกว่า มรณาสันน วิถีทางมโนทวาร

มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวาร มี ๔ วิถี ดังนี้

ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ
ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 58.33 KiB | เปิดดู 4894 ครั้ง ]
มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร มี ๔ วิถี เช่นเดียวกัน
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ
ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ

ในมรณาสันนวิถี มี กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต เป็นอารมณ์แน่นอน กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิตอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถีนี่แหละ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกภพชาติที่จุติสัตว์นั้นจะไปปฏิสนธิ
กรรมอารมณ์ กับ คตินิมิตอารมณ์ ทั้ง ๒ นี้ เกิดเฉพาะทางมโนทวาร ส่วน กรรมนิมิตอารมณ์เกิดได้ทั้ง ๖ ทวาร โดยเฉพาะ มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์ ไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต อารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ แม้แต่อย่างเดียว เพราะท่านไม่ต้องปฏิสนธิอีกแล้ว
อารมณ์ในมรณาสันนวิถีทั้ง ๓ คือ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ คตินิมิต อารมณ์ นี้ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมทั้ง ๔ คือ

๑. ครุกรรม คือ กรรมที่หนัก ทางอกุสล ได้แก่ ปัญจานันตริยกรรม (อนัน ตริยกรรมทั้ง ๕) ในทางกุสลได้แก่ มหัคคตกุสล ๙ ถ้าได้ทำกรรมหนักเช่นนี้ ครุกรรมต้องให้ผลก่อน อนันตริยกรรม ๕ ได้แก่ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปปาท และ สังฆเภท

๒. อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทำเมื่อใกล้ตาย มีทั้งทางกุสล และทาง อกุสล ถ้าไม่มีครุกรรมแล้ว อาสันนกรรมนี้ต้องให้ผลเป็นอันดับแรก

๓. อาจิณณกรรม คือ กุสลกรรม และกุสลกรรมที่ทำอยู่เสมอเป็นอาจิณ ถ้าไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรมแล้ว อาจิณณกรรมนี้ก็ให้ผลก่อน

๔. กฏัตตากรรม คือ กุสลกรรม และอกุสลกรรมที่ไม่ครบองค์ของกัมมบถ จัดเป็นกรรมเล็กน้อย ถ้าไม่มีกรรมอื่น คือ ๓ อย่างข้างต้นนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ กฏัตตากรรมนี้ให้ผล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จุติ และ ปฏิสนธิ

สัตว์ที่จะจุติ(เว้นอสัญญสัตต) จะต้องมีมรณาสันนวิถีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดัง ได้แสดงภาพมาแล้วจะผิดกันก็ตรงที่ชวนะซึ่งมี ๕ ขณะนั้น ว่าจะเป็น ชวนจิตที่เป็นบาปหรือเป็นบุญเพียงใด

๑. กามบุคคลจุติ และ ปฏิสนธิในกามภูมิอีกนั้น
ก. วิถี จะจุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี หรือทางมโนทวารมรณาสันนวิถี อย่างใดวิถีใดก็ได้ทุกวิถี แล้วแต่ว่าจะประสบกับอารมณ์ใด ถ้าประสบกับปัญจารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี ถ้าประสบกับธัมมารมณ์ ก็จุติ ทางมโนทวารมรณาสันนวิถี
ข. ชวนะ ในวิถีนั้น ๆ ซึ่งมีชวนะ ๕ ขณะ ก็เป็นกามชวนะ แต่จะเป็นโลภ ชวนะ โทสชวนะ โมหชวนะ มหากุสลญาณวิปปยุตตชวนะ หรือ มหากุสลญาณ สัมปยุตตชวนะ ก็แล้วแต่อำนาจของกรรมทั้ง ๔ ที่สัตว์นั้นกระทำมา (ครุกรรม, อาสันนกรรม, อาจิณณกรรม, กฏัตตากรรม)

๒. กามบุคคลจุติ และ ปฏิสนธิในพรหมภูมิ เพราะเป็นฌานลาภีบุคคลนั้น
ก. วิถี จะไม่จุติทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี แต่จุติทางมโนทวารมรณา สันนวิถี เพราะจะต้องมีบัญญัติ หรือมีธัมมารมณ์เป็นอารมณ์เสมอ
ข. ชวนะ ในชวนะ ๕ ขณะนั้น เป็นมหัคคตชวนะ คือเป็นบริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู และฌานจิต แล้วจุติจิตจึงจะเกิด จะเป็นฌานจิตชั้นใด ก็แล้วแต่ ฌานที่ตนได้ตนถึง

๓. พรหมบุคคลจุติ และปฏิสนธิในพรหมภูมิชั้นเดิม หรือ ชั้นที่สูงขึ้นไปนั้น มรณาสันนวิถีก็จะเกิดเช่นเดียวกับกามบุคคลจุติ และปฏิสนธิในพรหมภูมิ (ข้อ ๒) คือ จุติทางมโนทวารมรณาสันนวิถี และชวนะเป็นมหัคคตชวนะ

๔. พรหมบุคคลจุติ และกลับมาปฏิสนธิในกามสุคติภูมิ เพราะสิ้นบุญบารมี นั้น มรณาสันนวิถีก็จะเกิด
เช่นเดียวกับกามบุคคลจุติ และปฏิสนธิในกามภูมิอีก (ข้อ ๑) คือ ชวนะเป็นกามชวนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปรินิพพาน ของ พระอรหันต์

พระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่ปรินิพพานทางปัญจทวารมรณาสันนวิถี แต่ ปรินิพพานทางมโนทวารมรณา
สันนวิถีทางเดียว และไม่มีกรรมอารมณ์ กรรมนิมิต อารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์เลย
มรณาสันนวิถีของพระอรหันต์นับได้ว่ามี ๕ อย่าง คือ
๑. กามชวนมรณาสันนวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากชวนะที่เป็นมหากิริยา อย่างนี้นับว่าเป็น
การปรินิพพานอย่างธรรมดาสามัญ
๒. ฌานสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากฌานสมาบัติวิถี
๓. ปัจจเวกขณสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากวิถีที่พิจารณาองค์ฌาน
๔. อภิญญาสมนันตรวิถี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากอภิญญาวิถี ที่แสดงอิทธิ ฤทธิต่าง ๆ
๕. ชีวิตสมสีสี คือ จุติจิตเกิดขึ้นต่อจากการพิจารณา มัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่ประหารสิ้นแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตทาลัมพนนิยม

ตทาลัมพนนิยม แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของตทาลัมพนะ มีความหมาย ว่า การที่ตทาลัมพนะ
จะเกิดได้นั้น มีข้อจำกัดประการใดบ้าง ตทาลัมพนะควรจะเกิด แต่มีข้อจำกัดอย่างใดบ้างที่ทำให้เกิด
ไม่ได้ และเมื่อตทาลัมพนะ
ที่ควรจะเกิดแต่เกิด ไม่ได้แล้ว มีข้อจำกัดว่ามีอะไรเกิดมาแทนหรือไม่
ข้อจำกัดในการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะนี้ มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๗ แสดงว่า

๗. กาเม ชวนสตฺตาลมฺ- พนานํ นิยเม สติ
วิภูเต ติมหนฺเต จ ตทารมฺมณมีริตํ ฯ


แปลความว่า ชวนะ สัตว์ อารมณ์ ที่เป็นกาม นั้น ตทาลัมพนะย่อมเกิดได้ในวิภูตารมณ์วิถี และ
อติมหันตารมณ์วิถี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

ตทาลัมพนะ หรือ ตทารัมมณะ มีความหมายอย่างเดียวกัน
มาจากคำว่า ตํ(นั้น) + อารมฺมณ(อารมณ์) = อารมณ์นั้น
ตามคาถาสังคหะที่ ๗ คงได้ความว่า ตทาลัมพนะจะเกิดได้ ต่อเมื่อครบองค์ ดังนี้คือ
๑. ชวนะ ต้องเป็น กามชวนะ
๒. สัตว์ ต้องเป็น กามบุคคล
๓. อารมณ์ ต้องเป็น กามอารมณ์
๔. วิถี ต้องเป็น วิภูตารมณ์ หรือ อติมหันตารมณ์วิถี

ในข้อ ๑. ที่ว่า ชวนะต้องเป็นกามชวนะนั้น จะเป็นทางปัญจทวารวิถี หรือ มโนทวารวิถีก็ได้ แต่ถ้าเป็น
อัปปนาชวนะ คือ มหัคคตชวนะ หรือโลกุตตรชวนะ แล้ว ตทาลัมพนะย่อมไม่เกิด
ในข้อ ๒. ที่ว่า สัตว์ต้องเป็นกามบุคคลนั้น หมายถึงบุคคลในกามภูมิ แต่ถ้า บุคคลนั้นเป็นพรหมในรูปภูมิก็ดี ในอรูปภูมิก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด
ในข้อ ๓ ที่ว่า อารมณ์ต้องเป็นกามอารมณ์นั้น หมายเฉพาะกามอารมณ์ที่เป็น ปรมัตถเท่านั้น แต่ถ้ากามอารมณ์นั้นเป็นบัญญัติอารมณ์ก็ดี หรือว่าเป็น มหัคคต อารมณ์ หรือเป็นโลกุตตรอารมณ์ก็ดี ตทาลัมพนะก็ไม่เกิด
ในข้อ ๔ ที่ว่า วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์วิถี หรืออติมหันตารมณ์วิถีนั้น ความชัด อยู่แล้วว่า วิถีนอกจากนี้ คือ อวิภูตารมณ์วิถี มหันตารมณ์วิถี ปริตตารมณ์วิถี อติปริตตารมณ์วิถีนั้น ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้อยู่แล้ว
เมื่อครบองค์ดังกล่าว ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้ ตทาลัมพนะที่เกิดนี้จะเป็น กุสลวิบาก หรือ อกุสลวิบาก และจะเป็นโสมนัส หรืออุเบกขา ทั้งนี้ต้องแล้วแต่ อารมณ์ ที่มาประสบนั้นเป็นสำคัญโดยมีข้อจำกัดว่า
ก. อารมณ์นั้นเป็น อติอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดีมาก ตทาลัมพนะที่เกิด ย่อมเป็นกุสลวิบาก และเป็นโสมนัสด้วย
ข. อารมณ์นั้นเป็น อิฏฐารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่ดีอย่างปานกลาง อย่างสามัญ ทั่ว ๆ ไป ตทาลัมพนะที่เกิดก็เป็นกุสลวิบากเหมือนกัน แต่เป็นอุเบกขา
ค. แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็น อนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่ดีแล้วไซร้ ตทาลัมพนะ ที่เกิดต้องเป็นอกุสลวิบาก และเป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว
ทั้งนี้ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ “กุสลวิบาก และ อกุสลวิบาก” ที่หน้า ๑๕ ขอให้ดูประกอบด้วย
นอกจากนี้แล้ว ยังมีที่กล่าวถึงในเรื่องตทาลัมพนะ ดังจะกล่าวต่อไปอีกเพียง เท่านี้ คือ
กามาวจรกิริยาชวนะ ในสันดานแห่งพระขีณาสพนั้น ถ้าประกอบด้วยโสมนัส ตทาลัมพนะที่เกิดในที่สุดชวนะนั้น ก็เป็นโสมนัส
ถ้ากามาวจรกิริยาชวนะ ประกอบด้วยอุเบกขา ตทาลัมพนะในที่สุดชวนะ ก็คงเป็นอุเบกขาไม่แปรผันเลย ด้วยสันดานแห่งพระขีณาสพปราศจากสัญญาวิปลาส
ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในตอนนี้ เป็นการแสดงการเกิดขึ้นของตทาลัมพนะ แต่ว่าในบางกรณีตทาลัมพนะควรจะต้องเกิด แต่ก็เกิดไม่ได้ จำต้องมีสิ่งอื่นมาเกิด แทน สิ่งที่มาเกิดแทนนั้นมีชื่อเรียกว่า อาคันตุกภวังค และก็มีข้อจำกัดว่าในกรณีใดบ้างที่จะต้องมี หรือไม่มี อาคันตุกภวังค ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาคันตุกภวังค

อาคันตุกภวังค แปลว่า ภวังคที่จรมา ภวังคที่แปลกหน้ามา มีความหมายว่า ไม่ใช่ภวังคเดิม
ที่เป็นองค์แห่งภพของสัตว์นั้น ๆ แต่ว่าเป็นภวังคหน้าใหม่จรมา
ที่จะต้องมีอาคันตุกภวังค ก็เพราะจิตที่เกิดก่อนเป็นโทมนัสเวทนาจิตที่เกิด ทีหลังจะต้องเป็น
โสมนัสเวทนา แต่ว่าโสมนัสเวทนาจะเกิดติดต่อกับโทมนัสเวทนา ไม่ได้ เพราะความรู้สึกนั้นตรงกัน
ข้ามทีเดียว อุปมาดุจคนร้องไห้ จะหัวเราะ
ในทันทีทันใดนั้นไม่ได้ ต้องหยุดร้องไห้เสียก่อนชั่วขณะแม้เพียงขณะน้อยนิดเดียว ต่อมาภายหลัง
จึงจะหัวเราะได้
ในวิถีจิต จิตที่เกิดก่อนเป็นโทมนัสเวทนาก็มีอยู่แห่งเดียว คือที่ชวนจิต ได้แก่ โทสชวนะ ต่อจาก
โทสชวนจิตก็เป็นตทาลัมพนะหรือภวังค ซึ่งถ้าหากว่าตามสภาวะ จะต้องเป็นโสมนัสเวทนาแล้ว
โสมนัสตทาลัมพนะ หรือโสมนัสภวังคนั้นก็จะเกิดต่อจากโทสชวนะที่เป็นโทมนัสเวทนานั้นไม่ได้
จำต้องเกิดจากอาคันตุกภวังค ซึ่ง อาคันตุกภวังคนี้เป็นอุเบกขาเวทนาแต่อย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2013, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ในอติมหันตารมณ์วิถี ตทาลัมพนะเกิดไม่ได้ จำต้องมีอาคันตุกภวังคเกิด มาแทนนั้น
ต้องพร้อมด้วยองค์ ๓ ประการ คือ
ก. ชวนะนั้นต้องเป็นโทสชวนะ
ข. อารมณ์นั้นต้องเป็นอติอิฏฐารมณ์
ค. บุคคลนั้นต้องปฏิสนธิมาด้วย โสมนัสมหาวิบาก

โสมนัสปฏิสนธิ อติอิฏฐารมณ์,โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา, ต้องมีอาคันตุกภวังค, ภวังคเดิมเป็นโสมนัส
ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ...................ช ช ช ช ช ช ช ......................อา ........................ภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 05:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. แม้ว่าชวนะนั้นจะเป็นโทสชวนะก็ดี แต่ถ้าอารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ ถึงบุคคลนั้น
จะปฏิสนธิมาด้วยโสมนัสมหาวิบากก็ตาม ตทาลัมพนะก็ เกิดได้ ไม่ต้องมีอาคันตุกภวังค
เพราะเมื่ออารมณ์นั้นเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์แล้ว ตทาลัมพนะก็เป็น อุเบกขาเวทนา จึงเกิด
ติดต่อกับโทมนัสเวทนาได้

โสมนัสปฏิสนธิ , อิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ตทาลัมพนะเกิดได้ , อุเบกขา
ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ...............................ช ช ช ช ช ช ช .......................ต ต

๓. แม้ว่าชวนะนั้นเป็นโทสชวนะก็ดี และทั้งอารมณ์ก็เป็น อติอิฏฐารมณ์ก็ดี แต่ถ้าบุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วยอุเบกขาเวทนาแล้ว ถึงตทาลัมพนะจะเกิดไม่ได้ก็จริง แต่ภวังคเดิมซึ่งต้องเป็นอุเบกขาเวทนา ก็เกิดติดต่อกับโทสชวนะ อันมีเวทนาเป็น โทมนัสได้ ไม่ต้องมีอาคันตุกภวังค

อุเบกขาปฏิสนธิ , อติอิฏฐารมณ์, โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา, ภวังคเดิมเกิดได้ , อุเบกขาเวทนา
ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ............................ช ช ช ช ช ช ช ...........................ภ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ในมหันตารมณ์วิถี ภวังคเดิมเกิดไม่ได้ จำต้องมีอาคันตุกภวังคเกิดมาแทน นั้น ต้องพร้อมด้วยองค์
เพียง ๒ ประการเท่านั้น คือ
ก. ชวนะนั้น ต้องเป็นโทสชวนะ
ข. บุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วย โสมนัสมหาวิบาก

โสมนัสปฏิสนธิ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ต้องมีอาคันตุกภวังค เป็นอุเบกขาเวทนา ภวังคเดิมเป็นโสมนัส

ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ............ช ช ช ช ช ช ช.................. อา .......................ภ

๕. แม้ว่าชวนะนั้นเป็นโทสชวนะก็ตาม แต่ถ้าบุคคลนั้นปฏิสนธิมาด้วย อุเบกขาเวทนาแล้ว ภวังคเดิม
ซึ่งเป็นอุเบกขาก็เกิดติดต่อกับโทสชวนะนั้นได้ ไม่ ต้องมีอาคันตุกภวังค

อุเบกขาปฏิสนธิ โทสชวนะ , โทมนัสเวทนา ภวังคเดิมเกิดได้ , อุเบกขาเวทนา

ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ..............ช ช ช ช ช ช ช ....................ภ

๖. ในมโนทวารวิถี วิถีใดจะต้องมีอาคันตุกภวังค หรือไม่นั้น มีสิ่งที่จะต้อง พิจารณาเช่นเดียวกันกับ
ทางปัญจทวารวิถี กล่าวคือในวิภูตารมณ์วิถี เป็นทำนองเดียวกันกับอติมหันตารมณ์วิถี
ในอวิภูตารมณ์วิถี ก็เป็นทำนองเดียวกับ มหันตารมณ์วิถี ตามที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้นนั้นทุกประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชวนนิยม

ชวนนิยม แปลว่า ข้อจำกัดอันแน่นอนของชวนะ มีความหมายในที่นี้ว่า ชวนจิตอย่างใด
มีจำกัดว่าเกิดได้กี่ขณะ ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๘ แสดงว่า

๘. สตฺตกฺขตฺตุํ ปริตฺตานิ มคฺคาภิญฺญา สกึ มตา
อวเสสานิ ลพฺภนฺติ ชวนา พหูนิปิ ฯ


แปลความว่า ท่านกล่าวว่ากามชวนะเกิดเพียง ๗ ขณะ มัคคชวนะ อภิญญาชวนะ
เกิดเพียงขณะเดียว ชวนะที่เหลือนอกจากนี้ แม้หลาย ๆ ขณะก็เกิดได้

แสดงรายละเอียด
ชวนจิตที่เกิด ๑ ขณะ ได้แก่จิต ๒๖ ดวง คือ

ก. มหัคคตกุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี
ข. มหัคคตกิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในอาทิกัมมิกฌานวิถี
ค. อภิญญาชวนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในอภิญญาวิถี
ง. มัคคชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถี
จ. อนาคามิผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ
ฉ. อรหัตตผลชวนะ ๑ ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาออกจากนิโรธสมาบัติ

ชวนจิตที่เกิด ๒ ขณะ ได้แก่จิต ๖ ดวง คือ
ก. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ๒ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้านิโรธสมาบัติ
ข. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของมันทบุคคล

ชวนจิตที่เกิด ๓ ขณะ ได้แก่จิต ๑๒ ดวง คือ
ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล
ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของติกขบุคคล
ค. ผลชวนะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมัคควิถีของติกขบุคคล

ชวนจิตที่เกิด ๔ ขณะ ได้แก่จิต ๘ ดวง คือ
ก. มหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล
ข. มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นในอัปปนาวิถีของมันทบุคคล

อนึ่งมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจเวกขณวิถี) เมื่อสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์นั้น ก็เกิดเพียง ๔ ขณะ เพราะต้อง กระทำกิจนั้นโดยเร็วที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2013, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชวนจิตที่เกิด ๕ ขณะ ได้แก่จิต ๒๘ ดวง คือ

กามชวนะ ๒๘ (เว้นหสิตุปปาทะ) ที่เกิดขึ้นในมรณาสันนวิถี คือ วิถีที่จะจุติ
อนึ่งบางแห่งกล่าวว่า ชวนจิตที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาล(ใกล้ตาย), มุจฉา กาล(ขณะหลง), วิสัญญีภูตกาล(ขณะสลบ), อติตรุณกาล(ขณะที่กัมมชรูปมีกำลัง อ่อนมาก) เหล่านี้ ชวนะก็เกิด ๕ ขณะ
และมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ ที่เกิดขึ้นใน(ปัจจ เวกขณวิถี) เมื่อพระสาวกแสดงอิทธิฤทธิซึ่งเกี่ยวกับกรณีพิเศษชวนะก็เกิด ๕ ขณะ เหมือนกัน

ชวนจิตที่เกิด ๖ ขณะ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นในเวลาสลบ
อนึ่ง บางแห่งกล่าวว่า ในเวลาร่างกายเป็นปกติ กามชวนะ ๒๙ ดวงนั้น อาจจะเกิดเพียง ๖ ขณะ ก็มีได้

ชวนจิตที่เกิด ๗ ขณะ ได้แก่จิต ๒๙ ดวง คือ
กามชวนะ ๒๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ

ชวนจิตที่เกิดมากกว่า ๗ ขณะขึ้นไป ได้แก่จิต ๒๒ ดวง คือ
ก. มหัคคต กุสล ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ
ข. มหัคคต กิริยา ชวนะ ๙ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ฌานสมาบัติ
ค. ผลจิต ๔ ที่เกิดขึ้นในเวลาเข้า ผลสมาบัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร