วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




182574_250730905056548_1688526705_n.jpg
182574_250730905056548_1688526705_n.jpg [ 150.27 KiB | เปิดดู 13324 ครั้ง ]
คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
คู่มือการศึกษา
ปกิณณกสังคหะวิภาค
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ปริจเฉทที่ ๓

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส
ความเบื้องต้น
คู่มือการศึกษาเล่มนี้ ได้รวบรวมคำสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะ
ซึ่ง พระอนุรุทธาจารย์ เป็นผู้รจนา อันเป็นปริจเฉทที่ ๓ ที่มีชื่อว่า ปกิณณกสังคหะวิภาค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณณกะ แปลว่า กระจัดกระจาย คละกัน เบ็ดเตล็ด ต่าง ๆ
สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
วิภาค แปลว่า ส่วน
เมื่อประมวลรวมกันเข้าแล้ว ปกิณณกะสังคหวิภาค ก็แปลว่า ส่วนที่รวบรวม
แสดงโดยย่อซึ่งธรรมต่าง ๆ ธรรมต่าง ๆ ในที่นี้ หมายถึงธรรม ๖ หมวด คือ

๑. หมวด เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
๒. หมวด เหตุ ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิด
๓. หมวด กิจ คือ การงานของจิต ๑๔ อย่าง
๔. หมวด ทวาร คือ ทางรับรู้อารมณ์ของจิต
๕. หมวด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้, สิ่งที่ถูกจิตรู้
๖. หมวด วัตถุ คือ ที่ตั้งที่อาศัยเกิดรับรู้อารมณ์ของจิต

ทั้ง ๖ หมวดนี้ เป็นการเรียนรู้ถึงจิตและเจตสิกโดยละเอียด สรุปได้ว่าให้เรียนรู้ว่า
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเวทนาเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนา เป็น โทมนัสเวทนา
หรือโสมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา

จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น มีเหตุประกอบหรือไม่ ถ้ามี มีเหตุประกอบเท่าไร อะไรบ้าง
เหตุมี ๖ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ
ในแต่ละเหตุนั้น ประกอบกับจิตอะไรได้บ้าง

จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น ทำกิจ(งาน)อะไรใน ๑๔ อย่าง ในกิจทั้ง ๑๔ นั้น
มีจิตอะไรทำหน้าที่ได้บ้าง

จิตและเจตสิก อาศัยทวารไหนในการรู้อารมณ์ อาศัยจักขุทวาร
หรือโสตทวาร อาศัยฆานทวารหรือชิวหาทวาร อาศัยกายทวารหรือมโนทวาร
หรือไม่ได้อาศัยทวาร ใด ๆ เลย

จิตและเจตสิก รับรู้อารมณ์อะไรได้บ้างในอารมณ์ ๖
และอารมณ์ ๖ นั้น องค์ ธรรมได้แก่อะไร
จิตและเจตสิก อาศัยวัตถุอะไรเกิด อาศัยจักขุวัตถุหรือโสตวัตถุ อาศัยฆานวัตถุ
หรือชิวหาวัตถุ อาศัยกายวัตถุหรือหทยวัตถุ หรือไม่ได้อาศัยวัตถุใดๆ เกิดขึ้นเลย

ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้
พระอนุรุทธาจารย์ได้ประพันธ์เป็นคาถาสังคหะรวม ๑๔ คาถา คาถาที่ ๑ ว่า

๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิก ธมฺมา เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ


แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ จิตและเจตสิก ทั้งลักษณะและการประกอบซึ่งกันและกัน
ตามควรแก่การที่จะ ประกอบได้นั้น ได้แสดงมาแล้ว

มีความหมายว่า ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ คือ สรุป ธรรม ๖ หมวด
อันมีจิตและเจตสิก ทำหน้าที่ต่าง ๆ จิตและเจตสิก รวมเรียกว่า สภาวธรรม ๕๓ คือ
จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒ ที่นับจิตเพียง ๑ นั้น เพราะจิตมีลักษณะ
รับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น ส่วนที่นับเจตสิกเต็มจำนวนทั้ง ๕๒
ก็เพราะว่า เจตสิกนั้นมีลักษณะ แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณณกแสดงธรรม ๖ หมวด
ปกิณณกสังคหะวิภาคนี้ แสดงธรรม ๖ หมวด ดังมีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๒ แสดงว่า

๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ ทฺวาราลมฺพน วตฺถุโต
จิตฺตุปฺปาทวเสเนว สงฺคโห นาม นียเต ฯ


แปลความว่า บัดนี้จักแสดงการระคนกันต่างๆ ของนามธรรม คือ จิตและเจตสิกด้วยอำนาจแห่ง
จิตตุปปาทะ โดย ประเภทของ เวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และ วัตถุ ตามควรต่อไป

หมายความว่า จิตตุปปาทะ คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบนั้น
ย่อมเกี่ยวข้อง ต้องระคนกับธรรมทั้ง ๖ หมวดดังกล่าวแล้วอย่างแน่นอนเสมอไปทุกขณะ ไ
ม่มีเว้น เลย ดังจะได้กล่าวต่อไปทีละหมวด

หมวดที่ ๑ เวทนาสังคหะ

เวทนาสังคหะ คือ การรวบรวมแสดงโดยย่อเรื่องเวทนา มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๓ ว่า

๓. สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส มิติ เภเทน ปญฺจธา


แปลความว่า ธรรม ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา นี้เป็นเวทนา ๓
เมื่อเอา โสมนัส โทมนัส รวมเข้าอีก ก็เป็น เวทนา ๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย
เวทนา เป็นเจตสิกธรรม ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ หรือมีความรู้สึกในอารมณ์ ที่มาปรากฏนั้น
จัดแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

ก. จัดตามลักษณะของการเสวยอารมณ์ คือ จัดตามความรู้สึก มีชื่อเรียกว่า อารัมมณานุภวนนัย
หรือ อารัมมณานุภวนลักขณนัย ตามนัยดังกล่าวนี้ จำแนก เวทนาออกเป็น ๓ คือ

๑. สุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นสุข (หมายถึงความสุขกายและสุขใจ)
๒. ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ (หมายถึง ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ)
๓. อทุกขมสุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ได้แก่เฉย ๆ
(หมายถึงไม่ทุกข์และไม่สุข ก็คือ อุเบกขานั่นเอง)

ข. จัดตามประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ มีชื่อเรียกว่าอินทริยเภทนัย
ตามนัยนี้จำแนกเวทนาออกเป็น ๕ คือ
๑. สุขเวทนา รู้สึกสบายกาย หมายเฉพาะความสุขกาย
๒. ทุกขเวทนา รู้สึกไม่สบายกาย หมายเฉพาะความทุกข์กาย
๓. โสมนัสเวทนา รู้สึกสบายใจ หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ
๔. โทมนัสเวทนา รู้สึกไม่สบายใจ หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ
๕. อุเบกขาเวทนา รู้สึกเฉย ๆ หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลาง ๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา ๓
กล่าวโดย อารัมมณานุภวนนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๓ ตามลักษณะของ การเสวย
หรือความรู้สึกในอารมณ์ ได้ดังนี้

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา คือ ทั้งสุขกายและสุขใจ ก็มีจำนวน ๖๓ ดวง ได้แก่

สุขกาย ๑ ดวง คือ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
สุขใจ ๖๒ ดวง คือ กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔
กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัส โลภมูลจิต ๔
โสมนัส สันตีรณจิต ๑
โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑
โสมนัส มหากุสล ๔
โสมนัส มหาวิบาก ๔
โสมนัส มหากิริยา ๔
ฌานโสมนัส ๔๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑
ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑
ปฐมฌาน ๑๑ คือ โลกียปฐมฌาน ๓ โลกุตตรปฐมฌาน ๘
โลกียปฐมฌาน ๓ ได้แก่ ปฐมฌานกุสลจิต ๑ ปฐมฌานวิบากจิต
๑ ปฐมฌานกิริยาจิต ๑
โลกุตตรปฐมฌาน ๘ ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปฐมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ก็แจกตามนัยที่แสดง แล้วนี้

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ มีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่
ทุกข์กาย ๑ ดวง คือทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑
ทุกข์ใจ ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ ซึ่งต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนาเสมอไป

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ อทุกขมสุขเวทนา คือไม่ทุกข์และไม่สุข
หรืออุเบกขา เวทนานั่นเอง มี ๕๕ ดวง ได้แก่
อุเบกขา โลภมูลจิต ๔
โมหมูลจิต ๒
อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔
อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒
ฌานอุเบกขา หรือ ปัญจมฌาน ๒๓
ปัญจมฌาน ๒๓ ได้แก่ โลกียปัญจมฌาน ๑๕
โลกุตตรปัญจมฌาน ๘
โลกียปัญจมฌาน ๑๕ คือ โลกียรูปาวจรปัญจมฌาน ๓
โลกียอรูปาวจร ๑๒
โลกุตตรปัญจมฌาน ๘ คือ ปัญจมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑
ปัญจมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา ๕

๔. สุขเมกตฺถ ทุกฺขญฺจ โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฺฐิสุ โสมนสฺสํ ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ


แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒,
โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕

กล่าวโดย อินทริยเภทนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๕ ตามประเภทแห่ง
ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์นั้น ได้ดังนี้

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา คือ เฉพาะสุขกายก็มีดวงเดียว ได้แก่
สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือเฉพาะทุกข์กายก็มีดวงเดียว ได้แก่
ทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา คือสุขใจ มี ๖๒ ดวง กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔

๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา คือทุกข์ใจ มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒

๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา คือเฉยๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข มี ๕๕ ดวง ได้แก่
อุเบกขา โลภมูลจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔ อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒
ฌานอุเบกขา ๒๓

อทุกขมสุขเวทนา (ในเวทนา ๓) กับ อุเบกขาเวทนา เป็นเวทนาเดียวกัน มี อัตถะ คือ
เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะ เท่านั้น

สรุป

เวทนา ๕ ....................................................เวทนา ๓
สุขเวทนา = สุขกาย ๑
โสมนัสเวทนา = สุขใจ ๖๒
...........................รวม ๖๓ เป็น สุขเวทนา
ทุกขเวทนา = ทุกข์กาย ๑
โทมนัสเวทนา = ทุกข์ใจ ๒
...........................รวม ๓ เป็น ทุกขเวทนา
อุเบกขาเวทนา = เฉย ๆ ๕๕ ...........................คง ๕๕ เป็นอทุกขมสุขเวทนา


ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงเวทนาของจิตโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ต่อไปนี้
จะแสดงเวทนาของจิตโดยย่อ ๘๙ ดวง โดยเปรียบเทียบกับ ๑๒๑ ดวง ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกโดยเวทนา ๓

จิตโดยพิสดาร ๑๒๑.........................จิตโดยย่อ ๘๙
สุขเวทนา ๖๓ .............................. สุขเวทนา ๓๑
ทุกขเวทนา ๓ ...............................ทุกขเวทนา ๓
อทุกขมสุขเวทนา ๕๕ ...............อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

ที่สุขเวทนาเหลือเพียง ๓๑ เพราะตัด
โลกุตตรปฐมฌาน ๘, โลกุตตรทุติยฌาน ๘, โลกุตตรตติยฌาน ๘, โลกุตตรจตุตถฌาน ๘
รวม ๓๒ ดวง ซึ่งเป็นจิตพิสดาร ออกเสียจาก ๖๓ จึงเหลือเพียง ๓๑
ที่เหลือเพียง ๓๑ นั้นได้แก่ สุขกายวิญญาณ ๑, กามโสมนัส ๑๘ และโลกีย ฌานโสมนัส ๑๒ คือ
โลกียปฐมฌาน ๓, โลกียทุติยฌาน ๓, โลกียตติยฌาน ๓, โลกียจตุตถฌาน ๓
ที่อทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ จิต ๕๕ เท่ากันทั้ง ๒ ข้างนั้น เป็นเพราะทางจิต พิสดารหมายถึง
ปัญจมฌานโลกุตตรจิต๘ ดวง ส่วนทางจิตโดยย่อหมายถึงโลกุตตร จิตโดยย่อ ๘ ดวง
ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน
อนึ่งโลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ในที่นี้นับเป็นอทุกขมสุขเวทนา คือ อุเบกขาเวทนาทั้ง ๘ ดวง

จำแนกโดยเวทนา ๕

จิตโดยพิสดาร ๑๒๑ .................. จิตโดยย่อ ๘๙
สุขเวทนา ๑ .................................สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑
..............................ทุกขเวทนา ๑
โสมนัสเวทนา ๖๒ .....................โสมนัสเวทนา ๓๐
โทมนัสเวทนา ๒ ........................โทมนัสเวทนา ๒
อุเบกขาเวทนา ๕๕ ...................อุเบกขาเวทนา ๕๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 47.64 KiB | เปิดดู 12287 ครั้ง ]
เวทนากับเจตสิก

เวทนาเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ
ก. แสดงว่า เวทนาใดเกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใดเกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก

สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

โสมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวงคือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนา เจตสิก)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
โสภณ เจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๒๑ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ)
อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา

๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
ปิติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




jeune-fille-au-sommet-montagne-leva-mains-ciel-bleu-femme-grimpe-au-sommet-apprecie-son-succes-vue-arriere_130265-5533-removebg-preview (1).png
jeune-fille-au-sommet-montagne-leva-mains-ciel-bleu-femme-grimpe-au-sommet-apprecie-son-succes-vue-arriere_130265-5533-removebg-preview (1).png [ 350.3 KiB | เปิดดู 2707 ครั้ง ]
๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ
โมจตุกเจตสิก ๔
ถีนมิทธเจตสิก ๒
วิตกเจตสิก ๑
วิจารเจตสิก ๑
อธิโมกขเจตสิก ๑
วิริยเจตสิก ๑
ฉันทเจตสิก ๑
เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา
โทมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาอย่างใดก็ได้

๔. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๕ มี ๖ ดวงคือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

๕. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือ เวทนาเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๒ เหตุสังคหะ

เหตุ คือ ธรรมที่เป็นรากเง่าเค้ามูลที่ให้จิตเป็นอกุสล เป็นกุสล หรือเป็น อพยากตะ เหตุสังคหะ เป็นการรวบรวมแสดงเรื่องเหตุ มีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๕ แสดงว่า

๕. โลโภ โทโส จ โมโห จ เหตู อกุสลา ตโย
อโลภาโทสาโมโห จ กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ

แปลความว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุสลเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นกุสลเหตุ และอพยากตเหตุ

อธิบาย

เหตุ มี ๖ เหตุ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และ อโมหเหตุ

โลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก
โทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โทสเจตสิก
โมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ โมหเจตสิก
อโลภเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโลภเจตสิก
อโทสเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก
อโมหเหตุ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก

โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ เป็นเจตสิก ๓ ดวง เป็น อกุสลเจตสิก เมื่อ เจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้ประกอบกับจิต ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นอกุสล อันเป็นจิตที่ชั่วที่บาป เป็นจิตที่มีโทษและจักให้ผลเป็นทุกข์ ดังนั้น โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ จึงได้ชื่อว่าเป็น อกุสลเหตุ อกุสลเหตุประกอบกับจิตใด จิตนั้นก็เป็น อกุสลจิต

อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ เป็นโสภณเจตสิกทั้ง ๓ ดวง เมื่อเจตสิกทั้ง ๓ คือเหตุทั้ง ๓ นี้ประกอบกับจิต ก็เป็นมูลฐานให้จิตเป็นโสภณ เป็นจิตที่ดีงาม เรียกว่า โสภณจิต
อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทกุสล เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด เป็นจิตที่ปราศจากโทษ และจักให้ผลเป็นสุขด้วย ดังนั้น อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ที่ประกอบกับกุสลจิตทั้งปวง จึงได้ชื่อว่าเป็น กุสลเหตุ

อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ประกอบกับโสภณจิตประเภทวิบากและกิริยา อันรวมเรียกว่า อพยากตจิต เป็นจิตที่ดี งาม ฉลาด ปราศจากโทษเหมือนกัน แต่ ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เพราะไม่สามารถให้เกิดผลอย่างใดขึ้นมาได้ ดังนั้นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ ที่ประกอบกับวิบากจิตหรือกิริยาจิตทั้งหลาย จึงได้ชื่อว่าเป็น อพยากตเหตุ
รวมได้ความว่า เมื่อกล่าวถึงจำนวนเหตุโดยประเภทที่ประกอบกับจิตก็มี ๙ เหตุ คือ

อกุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
กุสลเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
อพยากตเหตุ มี ๓ ได้แก่ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

ถ้ากล่าวถึง จำนวนเหตุโดยประเภทแห่งองค์ธรรมแล้ว ก็มี ๖ เหตุ คือ โลภ เหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2013, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 59.61 KiB | เปิดดู 12287 ครั้ง ]
เหตุ กับ จิต
เหตุที่ประกอบกับจิต จิตทั้งหมดมี ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง แบ่งเป็น ๒ ประเภท
คือ จิตที่มีเหตุประกอบ กับ จิตที่ไม่มีเหตุประกอบ

ก. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ (ไม่มีสัมปยุตตเหตุ) คือ ไม่มี เหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่เหตุเดียว
ข. สเหตุกจิต เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ คือ มีเหตุ ๖ ประกอบอย่างน้อย ที่สุด ก็ ๑ เหตุ และอย่างมากไม่เกิน ๓ เหตุ

มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๖ แสดงว่า

๖. อเหตุกาฏฺฐารเสก เหตุกา เทฺว ทฺวาวีสติ
ทฺวิเหตุกา มตา สตฺต จตฺตาฬีส ติเหตุกา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘
เอกเหตุกจิต มี ๒
ทวิเหตุกจิต มี ๒๒
ติเหตุกจิต มี ๔๗

อธิบาย

๑. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลยแม้แต่ เหตุเดียว
อเหตุกจิต มี ๑๘ ดวง ได้แก่
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐
สัมปฏิจฉันนจิต ๒
สันตีรณจิต ๓
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
หสิตุปปาทจิต ๑

๒. เอกเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็นสเหตุกจิต
เอกเหตุกจิต มี ๒ ดวง ได้แก่
โมหมูลจิต ๒ ซึ่งเป็นจิตที่มีเหตุประกอบเพียงเหตุเดียว คือ โมหเหตุ

๓. ทวิเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต
ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ดวง ได้แก่
โลภมูลจิต ๘ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
โทสมูลจิต ๒ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ
มหากุสลญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหากิริยาญาณวิปปยุตต ๔ มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

๔. ติเหตุกจิต จิตที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ เป็นจิตที่มีสัมปยุตตเหตุ เป็น สเหตุกจิต
ติเหตุกจิต มี ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่
มหากุสล ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหาวิบาก ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหากิริยา ญาณสัมปยุตตจิต ๔
มหัคคตจิต ๒๗
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ

ข้อสังเกต

อเหตุกจิต ไม่มีเหตุประกอบเลย
อกุสลจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๑ เหตุ อย่างมาก ๒ เหตุ
โสภณจิต มีเหตุประกอบอย่างน้อย ๒ เหตุ อย่างมาก ๓ เหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats__13_-removebg-preview (1).png
cats__13_-removebg-preview (1).png [ 370.49 KiB | เปิดดู 2674 ครั้ง ]
นับจำนวนเหตุ

อกุสลเหตุ ๓
โลภเหตุ ประกอบใน โลภมูลจิต ๘ เป็น ๘ เหตุ
โทสเหตุ ประกอบใน โทสมูลจิต ๒ เป็น ๒ เหตุ
โมหเหตุ ประกอบใน โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ เป็น ๑๒ เหตุ

รวมอกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ


กุสลเหตุ ๓

อโลภเหตุ

ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโลภเหตุ ๒๑ เหตุ


(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

อโทสเหตุ

ประกอบใน มหากุสล ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโทสเหตุ ๒๑ เหตุ


(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๓๗ เหตุ)

อโมหเหตุ

ประกอบในมหากุสลญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกุสล ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มัคคจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโมหเหตุ ๑๗ เหตุ

(มัคคจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๓๓เหตุ)

รวม กุสลเหตุ คืออโลภเหตุ ๒๑ อโทสเหตุ ๒๑ อโมหเหตุ ๑๗ เป็น ๕๙ เหตุ
อย่างพิสดาร คือ อโลภเหตุ ๓๗ อโทสเหตุ ๓๗ อโมหเหตุ ๓๓ เป็น ๑๐๗ เหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อพยากตเหตุ ๓

อโลภเหตุ
ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโลภเหตุ ๓๘ เหตุ


(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

อโทสเหตุ
ประกอบใน มหาวิบาก ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหากิริยา ๘ เป็น ๘ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโทสเหตุ ๓๘ เหตุ


(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๕๔ เหตุ)

อโมหเหตุ
ประกอบในมหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบในมหากิริยาญาณสัมปยุตต ๔ เป็น ๔ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตวิบาก ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน มหัคคตกิริยา ๙ เป็น ๙ เหตุ
ประกอบใน ผลจิต ๔ เป็น ๔ เหตุ
รวมอโมหเหตุ ๓๐ เหตุ


(ผลจิตอย่างพิสดาร ๒๐ ก็เป็น ๒๐ เหตุ)
(อย่างพิสดาร ๔๖ เหตุ)

รวม อพยากตเหตุ คืออโลภเหตุ ๓๘ อโทสเหตุ ๓๘ อโมหเหตุ ๓๐ เป็น ๑๐๖ เหตุ
อย่างพิสดาร อโลภเหตุ ๕๔ อโทสเหตุ ๕๔ อโมหเหตุ ๔๖ เป็น ๑๕๔ เหตุ


รวม อกุสลเหตุ ๒๒ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๒ เหตุ
กุสลเหตุ ๕๙ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๐๗ เหตุ
อพยากตเหตุ ๑๐๖ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๑๕๔ เหตุ
รวมเหตุทั้งหมดเป็น ๑๘๗ เหตุ อย่างพิสดารก็ ๒๘๓ เหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดจำนวนเหตุอย่างง่าย

โลภมูลจิต ๘ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๑๖ เหตุ
โทสมูลจิต ๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๔ เหตุ
โมหมูลจิต ๒ ดวง x ๑ เหตุ เป็น ๒ เหตุ
รวม ๒๒ เหตุ


กามโสภณ ญาณวิปปยุตต ๑๒ ดวง x ๒ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
กามโสภณ ญาณสัมปยุตต ๑๒ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๓๖ เหตุ
รวม ๖๐ เหตุ


มหัคคตจิต ๒๗ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๘๑ เหตุ
โลกุตตรจิต ๘ ดวง x ๓ เหตุ เป็น ๒๔ เหตุ
( โลกุตตรจิต อย่างพิสดาร ๔๐ x ๓ เป็น ๑๒๐ เหตุ )
รวม ๑๐๕ เหตุ


รวมเหตุใน อกุสลจิต มี ๒๒ เหตุ
รวมเหตุใน กามโสภณจิต มี ๖๐ เหตุ
รวมเหตุใน มหัคคตจิต มี ๘๑ เหตุ
รวมเหตุใน โลกุตตรจิต มี ๒๔ เหตุ หรือ ๑๒๐ เหตุ
รวมเหตุทั้งสิ้น ๑๘๗ เหตุ หรือ ๒๘๓ เหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 46.28 KiB | เปิดดู 12291 ครั้ง ]
เหตุกับเจตสิก

เหตุกับเจตสิกนี้ เป็นการแสดงว่า เจตสิกใดมีเหตุอะไรบ้าง
หรือว่า เจตสิกใด เกิดพร้อมกับเหตุอะไรได้บ้าง มีแสดงเป็น ๒ นัย
มีชื่อว่า อคหิตัคคหณนัย และ คหิตัคคหณนัย

อคหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วไม่นับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ ยกเป็นหัวข้อ
ขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวแล้ว จะไม่นำมาแสดง ไม่นำมากล่าวอ้าง ไม่นำมานับซ้ำอีก

คหิตัคคหณนัย คือ นับแล้วนับอีก หมายความว่า ธรรมใดเจตสิกใดที่ได้ยก เป็นหัวข้อ
ขึ้นแสดงแล้ว ยกมากล่าวอ้างแล้ว ก็ยังจะต้องนำมาแสดง ยกมากล่าวอ้าง นำมานับซ้ำอีก

อคหิตัคคหณนัย

๑. เจตสิกที่มี เหตุเดียว มี ๓ ดวง ได้แก่ โลภะ โทสะ วิจิกิจฉา
๒. เจตสิกที่มี ๒ เหตุ มี ๙ ดวง ได้แก่ โมหะ ทิฏฐิ มานะ อิสสา มัจฉริยะ
กุกกุจจะ อโลภะ อโทสะ ปัญญา
๓. เจตสิกที่มี ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง ได้แก่ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ถีนะ
มิทธะ และ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้น อโลภะ อโทสะ ปัญญา)
๔. เจตสิกที่มี ๕ เหตุ มี ๑ ดวง ได้แก่ ปิติ
๕. เจตสิกที่มี ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปิติ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร