วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ยามาภูมิ

ยามาภูมิ มีท้าวสุยามะเทวราชเป็นผู้ปกครอง เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นนี้ ก็ เรียกว่า ยามา
หรือ ยามะ ดังนั้นภูมินี้จึงมีชื่อว่า ยามา
เป็นภูมิที่ปราศจากความลำบาก ถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ วิมาน และทิพย์ สมบัติก็ปราณีตมาก
ภูมินี้อยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ขอกล่าวเสียตรงนี้ว่า ภูมิของเทวดาทุก ๆ ชั้น
มีระยะห่างกันชั้นละ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ เหมือนกันทุกชั้น
เทวดาที่อยู่ในยามาภูมินี้ เป็นจำพวกอากาสัฏฐเทวดาจำพวกเดียว เพราะมี วิมานลอยอยู่ในอากาศ
เป็นที่อยู่เทวดาที่อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไปกว่าชั้นนี้ ก็ล้วนแต่เป็น อากาสัฏฐเทวดาทั้งสิ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ดุสิตาภูมิ

ดุสิตาภูมิ มีท้าวสันตุสิตตะเทวราช เป็นผู้ปกครอง
เป็นภูมิของอากาสัฏฐ เทวดา ที่ชื่อว่า ดุสิตา ดังนั้นภูมินี้
จึงชื่อว่า ตุสิตาภูมิ หรือดุสิตาภูมิ หรือ ดุสิตภูมิ
เป็นภูมิที่ปราศจากความร้อนใจ มีแต่ความชุ่มชื่นอยู่เป็นนิจ
ในทิพย์สมบัติอัน เป็นศิริมงคลของตนเป็นภูมิที่ประเสริฐกว่าเทวดาภูมิชั้นอื่น ๆ
เพราะว่า พระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ก่อนที่จะมาบังเกิดในมนุษย์โลก
และได้สำเร็จอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นภพสุดท้าย ตลอดจนผู้ที่จะได้มาตรัสรู้
เป็นพระอัครสาวก ก็ย่อมบังเกิดในชั้น ดุสิตนี้ก่อนทั้งนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. นิมมานรตีภูมิ
นิมมานรตีภูมิ มีท้าวสุนิมมิตตะ
เทวราช เป็นผู้ปกครอง เป็นภูมิของอากาสัฏฐ
เทวดาที่ชื่อว่า นิมมานรตี ดังนั้นภูมินี้จึงชื่อว่า นิมมานรตีภูมิ
เทวดาในชั้นนี้ มีความสุขความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ ที่ตนเนรมิตขึ้น
ตามความพอใจของตนเองทุกประการ เมื่อได้เพลิดเพลินในกามคุณนั้นสมใจแล้ว
สิ่งที่เนรมิต คือนิมิตนั้นก็จะปลาสนาการไป

๖. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
ปรนิมมิตวสวัตติภูมิ มีท้าวปรนิมมิตตะเทวราช อีกนัยหนึ่งว่า ท้าววสวัตตี เทวราช
เป็นผู้ปกครองอากาสัฏฐเทวดาทั้งหลายในชั้นนั้น
เทพยดาในชั้นนี้ มีความสุขความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง ๕ เป็นอย่างยิ่ง
โดยที่ตนไม่ต้องเนรมิตขึ้นเอง แต่มีเทวดาองค์อื่นคอยเนรมิตให้สมตามความ ปรารถนาทุกประการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ควรคารวะเทวดา

เทวดาเป็นวัตถุอันควรเคารพบูชา
ในพระอภิธรรมแสดงว่า เทวดาเป็น ๑ ใน ๑๐ แห่งธรรมที่เป็นเครื่องระลึก
ของสติ ซึ่งมีชื่อว่า เทวตานุสฺสติ ทั้งนี้เพราะเทวดาบังเกิดขึ้นโดยอานิสงส์ของ
สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ได้แก่ สัทธา สีล จาคะ สุตะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ
เมื่อมีสติระลึกอยู่ในอารมณ์อย่างนี้ ย่อมเป็นกุสล ได้ความปิติอิ่มเอิบ จิตใจก็ไม่ แกว่งไกว
ไปในราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองและเร่าร้อน
ในอังคุตตรบาลีแสดงว่า การเคารพเทพยเจ้าที่สิงสถิตย์อยู่ในบ้าน ในเรือน ในหมู่บ้าน
ย่อมเกิดมงคลแก่ผู้แสดง
ในมหาปรินิพพานสูตรแสดงว่า การเคารพต่อเจ้าที่เจ้าทาง ย่อมได้รับการคุ้มครองผลประโยชน์ให้
ในรัตนสูตรแสดงว่า บุคคลผู้บูชาสักการะปวงเทพยดานั้น ย่อมได้รับเมตตา จิตเป็นการตอบแทน

ในมหาปรินิพพานสูตรอีกตอนหนึ่งว่า บุคคลใดขาดคารวะต่อเจ้าที่เจ้าทาง
ย่อมได้ประสบภัยที่จะมีมาโดยไม่รู้ตัว
ในเปตวัตถุพระบาลีแสดงว่า ท้าวมหาราชทั้ง ๔ องค์ เป็นผู้รักษาคุ้มครอง มนุษย์โลก
ผู้ใดทำการบูชาท่าน ย่อมไม่เสียผลในการบูชา โดยจะได้รับความสุข ความสบายเป็นเครื่องตอบแทน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ ค. รูปาวจรภูมิ

รูปาวจรภูมิ กล่าวโดยธัมมาธิฏฐาน ก็เป็นภูมิของรูปาวจรวิบากอันเป็นผล โดยตรงของรูปาวจรกุสล
กล่าวโดยบุคคลาธิฏฐานก็เป็นที่เกิด ที่อยู่อาศัยของ รูปพรหม คือ พรหมที่มีรูปพรหม คือ ผู้ที่มี
ความเจริญด้วยคุณพิเศษ มีฌาน เป็นต้น ที่มีคำ " เป็นต้น "อยู่ด้วยก็เพราะพรหมภูมิบางภูมิ
จะต้องได้มัคคผลด้วย จึงจะไปเกิดไปอยู่ในพรหมภูมิ ชั้นนั้น ๆ ได้
รูปาวจรวิบากมีเพียง ๕ ดวง แต่มีรูปาวจรภูมิถึง ๑๖ ภูมิ ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้

ปฐมฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ

๑. ปาริสัชชาภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมบริษัท คือ พรหมสามัญธรรมดา ไม่มี คุณวุฒิ
หรืออำนาจอะไรเป็นพิเศษ เป็นเพียงบริวารของมหาพรหมเท่านั้น
๒. ปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมปุโรหิต คือพรหมที่เป็นที่ปรึกษาของ มหาพรหม
๓. มหาพรหมมาภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมที่มีความยิ่งใหญ่ในปฐมฌานภูมิ คือ พรหมที่เป็นชั้นหัวหน้า
ปฐมฌานภูมิทั้ง ๓ ภูมินี้ เป็นที่ปฏิสนธิของปฐมฌานวิบาก ๑ ดวง คือ เป็นที่เกิด ที่อยู่ของพรหมที่ได้
ปฐมฌาน อันเป็นผลของปฐมฌานกุสล

ภูมิทั้ง ๓ นี้ เป็นชั้นเดียวกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง ไม่ต่ำ กว่ากัน แต่ที่ จัดเป็น ๓ ภูมิ ก็จัดไปตาม
ตำแหน่งของพรหมเหล่านั้น และก็อาศัยเรียกชื่อภูมิไป ตามตำแหน่งนั้น ๆ ด้วย อีกนัยหนึ่งแสดงว่า
ที่จัดเป็น ๓ ภูมิ ก็เพราะการเข้าถึงฌานจิตนั้นยิ่งหย่อน กว่ากันกล่าวคือ ผู้เข้าถึงปฐมฌานอย่างแก่กล้า
เรียกว่า ชั้นปณีต(อย่างประณีต) ก็ไป เกิดอยู่ในมหาพรหมมาภูมิ อย่างกลางเรียกว่าชั้นมัชฌิม
ก็ไปปุโรหิตตาภูมิอย่างอ่อน หน่อย เรียกว่า ชั้นหีนะ (อย่างต่ำ) ก็ไปปริสัชชาภูมิ

อีกประการหนึ่ง ภูมิทั้ง ๓ นี้ แม้ว่าจะเป็นชั้นเดียวกัน แต่อายุของพรหมทั้ง ๓ ภูมินี้ ก็ไม่เท่ากัน
กล่าวคือ อายุของพรหมบริษัท ๑ ใน ๓ ของมหากัปป์ อายุ ของพรหมปุโรหิต ๑ ใน ๒ ของมหากัปป์
อายุของมหาพรหม ๑ มหากัปป์ เหตุที่ อายุต่างกันดังนี้ จึงจัดเป็น ๓ ภูมิ ตามอายุ
(เรื่องอายุจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ

๔. ปริตตาภาภูมิ เป็นพรหมบริษัทในชั้นที่ ๒ นี้
๕. อัปปมาณาภาภูมิ เป็นพรหมปุโรหิตในชั้นที่ ๒ นี้
๖. อาภัสสราภูมิ เป็นท้าวมหาพรหมในชั้นที่ ๒ นี้

ทุติยฌานภูมิ ทั้ง ๓ ภูมินี้ เป็นที่ปฏิสนธิของรูปาวจรวิบาก ๒ ดวง คือ
เป็นที่ปฏิสนธิของทุติยฌานวิบาก ๑ ดวง คือ เป็นที่เกิดที่อยู่ของพรหมที่ได้
ทุติยฌาน อันเป็นผลของทุติยฌานกุสล และเป็นที่ปฏิสนธิของตติยฌานวิบาก ๑ ดวง
คือ เป็นที่เกิด ที่อยู่ของพรหมที่ได้ ตติยฌาน อันเป็นผลของตติยฌานกุสล

ที่ทุติยฌานวิบาก ๑ ดวง และตติยฌานวิบาก ๑ ดวง ไปปฏิสนธิใน
ทุติยฌานภูมิภูมิเดียวกันนี้ มีอธิบายว่า เพียงแต่ละวิตกได้ ก้าวล่วงวิตกได้ก็ปฏิสนธิ
ในทุติยฌานภูมิได้แล้ว แม้จะละวิจารได้อีก ก็ไม่เกิดอำนาจพิเศษอย่างใด ที่จะส่งผล
ให้ปฏิสนธิในตติยฌานภูมิได้ เพราะการที่จะไปปฏิสนธิในตติยฌานภูมิได้ ก็ด้วย
อำนาจแห่งความก้าวล่วงปิติได้แล้ว ถ้ายังมีปิติอยู่ยังติดอกติดใจในความอิ่มเอม
เปรมใจอยู่ เป็นไม่สามารถที่จะเข้าถึงชั้นตติยฌานภูมินั้นได้
ภูมิทั้ง ๓ นี้ เป็นชั้นเดียวกันอยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง ไม่ต่ำ กว่ากัน
และที่ จัดเป็น ๓ ภูมิ ก็มีเหตุผลอย่างเดียวกับปฐมฌานภูมินั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ

๗. ปริตตสุภาภูมิ เป็นพรหมบริษัทในชั้นที่ ๓ นี้
๘. อัปปมาณสุภาภูมิ เป็นพรหมปุโรหิตในชั้นที่ ๓ นี้
๙. สุภกิณหา หรือสุภากิณณาภูมิ เป็นมหาพรหมในชั้นที่ ๓ นี้
ภูมิทั้ง ๓ นี้ เป็นที่ปฏิสนธิจิตของจตุตถฌานวิบาก ๑ ดวง คือ เป็นที่เกิด
ที่อยู่ของพรหมที่ได้จตุตถฌาน อันเป็นผลของจตุตถฌานกุสล

ทั้ง ๓ ภูมินี้เป็นชั้นเดียวกัน อยู่ในระดับเดียวกันไม่สูงไม่ต่ำกว่ากัน และที่จัด
เป็น ๓ ภูมิ ก็มีเหตุผลอย่างเดียวกับทุติยฌานภูมินั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จตุตถฌานภูมิ มี ๗ ภูมิ

๑๐. เวหัปผลาภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่ ของพรหมที่ได้
ปัญจมฌาน อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล
๑๑. อสัญญสัตตภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่ ของพรหมที่ได้
ปัญจมฌาน อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล ที่เจริญสัญญาวิราคะ ภาวนา ต่อไปอีกโสดหนึ่งด้วย
ภูมิที่ ๑๐ และ ๑๑ รวม ๒ ภูมินี้เป็นชั้นเดียวกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง ไม่ต่ำกว่ากัน และ
อายุก็เท่ากันด้วย

๑๒. อวิหาภูมิ
๑๓. อตัปปาภูมิ
๑๔. สุทัสสาภูมิ
๑๕. สุทัสสีภูมิ
๑๖. อกนิฏฐาภูมิ

ทั้ง ๕ ภูมินี้ คือ สุทธาวาสภูมิ เป็นคนละชั้นกันทั้ง ๕ ภูมิและอยู่สูงต่ำกว่ากันตามลำดับ ทั้ง ๕ ชั้น
ผู้ที่จะไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิได้นั้น จะต้องเป็นปัญจมฌานลาภีอนาคามิผล บุคคล คือ พระอนาคามี
ที่ได้ปัญจมฌานด้วย เพราะว่าสุทธาวาสภูมินี้เป็นที่อยู่ของ ผู้ที่มีจิตใจผุดผ่อง ไม่ข้องอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ อย่างเด็ดขาด

ดังนั้นบุคคลที่จะอยู่ในสุทธาวาสภูมิได้จึงมีเพียง ๓ บุคคลเท่านั้นคือ อนาคามิ ผลบุคคล ๑,
อรหัตตมัคคบุคคล ๑ และอรหัตตผลบุคคล ๑ เท่านี้เอง (ข้อสำคัญ ๓ บุคคลนี้ต้องได้ถึงปัญจมฌานด้วย)
อนาคามิผลบุคคลเกิดขึ้นได้ในสุทธาวาสภูมิด้วยอำนาจปฏิสนธิ ส่วนอรหัตต มัคคบุคคล และอรหัตตผล
บุคคล เกิดขึ้นได้ในสุทธาวาสภูมินั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ด้วย อำนาจปฏิสนธิ แต่เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจ
วิปัสสนาภาวนาในปวัตติกาล
ที่สุทธาวาสภูมิ นั้นเอง เพราะปัญจมฌานลาภีอนาคามิผลบุคคลที่ไปปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิแล้ว
ก็ ต้องเจริญภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในสุทธาวาสนั้นแหละ
ปัญจมฌานลาภีอนาคามิผลบุคคลที่เป็นมนุษย์ หรือเทวดา หรือพรหม ก็ตาม เมื่อจุติแล้วจะปฏิสนธิ
ในสุทธาวาสชั้นใด ก็ย่อมแล้วแต่อินทรีย์ที่ได้เพียรบำเพ็ญ ภาวนามา ถ้าการที่เพียรบำเพ็ญภาวนามานั้น

มีกำลังนำด้วย สัทธา ก็ปฏิสนธิใน อวิหาภูมิ
มีกำลังนำด้วย วิริยะ ก็ปฏิสนธิใน อตัปปาภูมิ
มีกำลังนำด้วย สติ ก็ปฏิสนธิใน สุทัสสาภูมิ
มีกำลังนำด้วย สมาธิ ก็ปฏิสนธิใน สุทัสสีภูมิ
มีกำลังนำด้วย ปัญญา ก็ปฏิสนธิใน อกนิฏฐาภูมิ

ตามที่ได้แสดงมาแล้วนี้คงจะเห็นได้แล้วว่า รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง ปฏิสนธิ ได้ในรูปพรหมถึง ๑๖ ภูมิ
พรหม๑๖ ภูมินี้ แบ่งเป็นชั้นก็ได้ ๙ ชั้น แต่ละชั้น ก็อยู่สูงกว่ากันชั้นละ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เท่า ๆ กัน
ทุกชั้นตามลำดับ
ในรูปพรหมภูมิ หรือในรูปภูมินี้ มีทิพย์สมบัติเช่นเดียวกับเทวภูมิ กล่าวคือ ในเทวภูมิมี วิมาน มีอาภรณ์
พรรณ อันเป็นเครื่องทรงต่าง ๆ มีสวนไม้ใบ ไม้ดอก มีสระโบกขรณีและมีต้นกัลปพฤกษ์ ที่ให้เกิดเป็น
สุทธาโภชน์ในรูปพรหมก็มี เช่นกัน เว้นแต่ต้นกัลปพฤกษ์ที่ให้เกิดเป็นสุทธาโภชน์นั้นไม่มี
เพราะพรหมไม่ต้องกินอาหาร รูปพรหมทั้งหมดไม่ปรากฏว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย
แต่รูปพรรณสัณฐาน นั้น มีลักษณะคล้ายผู้ชาย

อนึ่ง ในพรหมโลกชั้น อกนิฏฐาภูมิ มีปูชนียสถานที่สำคัญอยู่แห่งหนึ่ง ชื่อ ทุสสะเจดีย์
เป็นที่บรรจุเครื่องฉลองพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใน ขณะที่ยังทรงเป็นพระสิทธัตถะราช
กุมารทรง ในเวลาออกจากพระนครไปทรงผนวช ท้าวฆฏิการะพรหม เสด็จลงมาจากอกนิฏฐาภูมิ
นำเครื่องบริขารทั้ง ๘ มาถวาย และรับเครื่องฉลองพระองค์ทั้งหมดนั้น ไปบรรจุไว้ในทุสสะเจดีย์ที่กล่าวนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




11155.gif
11155.gif [ 22.71 KiB | เปิดดู 4563 ครั้ง ]
สรุปรูปพรหม ๑๖ ภูมิ

๑. ปาริสัชชาภูมิ
๒. ปุโรหิตาภูมิ
๓. มหาพรหมมาภูมิ
ปฐมฌานภูมิ ๓ เป็นที่อยู่ของปฐมฌานวิบาก คือพรหมที่ได้ ปฐมฌาน อันเกิดจากปฐมฌานกุสล

๔. ปริตตาภาภูมิ
๕. อัปปมาณาภาภูมิ
๖. อาภัสสราภูมิ
ทุติยฌานภูมิ ๓ เป็นที่อยู่ของทุติยฌานวิบาก คือพรหมที่ได้ทุติยฌาน และเป็นที่อยู่
ของตติยฌานวิบาก คือ พรหมที่ได้ตติยฌาน อันเกิดจากทุติยฌานกุสล อันเกิดจากตติยฌานกุสล

๗. ปริตตาสุภาภูมิ
๘. อัปปมาณาสุภาภูมิ
๙. สุภกิณหาภูมิ
ตติยฌานภูมิ ๓ เป็นที่อยู่ของจตุตถฌานวิบาก คือพรหมที่ได้ จตุตถฌาน อันเกิดจากจตุตถฌานกุสล

๑๐. เวหัปผลาภูมิ
จตุตถฌานภูมิ เป็นที่อยู่ของปัญจมฌานวิบาก คือ พรหมที่ได้ปัญจมฌาน อันเกิดจากปัญจมฌานกุสล

๑๑. อสัญญสัตตภูมิ
จตุตถฌานภูมิ เป็นที่อยู่ของปัญจมฌานวิบาก คือพรหมที่ได้ปัญจมฌานโดย
เจริญสัญญาวิราคะด้วย อันเกิดจากปัญจมฌานกุสล

๑๒. อวิหาภูมิ
๑๓. อตัปปาภูมิ
๑๔. สุทัสสาภูมิ
๑๕. สุทัสสีภูมิ
๑๖. อกนิฏฐาภูมิ
จตุตถฌานภูมิ หรือสุทธาวาสภูมิ เป็นที่อยู่โดยเฉพาะของ อนาคามิผล ๑ อรหัตตมัคค ๑ อรหัตตผล ๑
ที่ได้ปัญจมฌาน อันเกิดจากปัญจมฌานกุสล และอนาคามิมัคค (กุสล) ด้วยทั้ง ๒ อย่าง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ ง. อรูปาวจรภูมิ

อรูปาวจรภูมิ กล่าวโดยธัมมาธิฏฐาน ก็เป็นภูมิของอรูปาวจรวิบาก อันเป็นผล
โดยตรงของอรูปาวจรกุสล กล่าวโดยบุคคลาธิฏฐานก็เป็นที่เกิดที่อยู่ที่อาศัยของอรูปพรหม คือ
พรหมที่ไม่มีรูปกายมีแต่นามเท่านั้น อรูปาวจรภูมินี้มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า อรูปภูมิ
อรูปาวจรวิบากมี ๔ ดวง และมีอรูปวจรภูมิ ๔ ภูมิเท่ากัน ชื่อของอรูปาวจร วิบาก
และชื่อของอรูปาวจรภูมิก็เหมือนกัน ตรงกันตามลำดับ คือ

๑. อากาสานัญจายตนภูมิ ๑ ภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของอากาสานัญจายตนวิบาก ๑ ดวง
อันเป็นผลของอากาสานัญจายตนกุสล คือ เป็นที่อยู่ของอรูปพรหมที่ได้ อรูปฌานชั้นต้น

๒. วิญญาณัญจายตนภูมิ ๑ ภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของวิญญาณัญจายตนวิบาก ๑ ดวง
อันเป็นผลของวิญญาณัญจายตนกุสล คือเป็นที่อยู่ของอรูปพรหมที่ได้อรูปฌาน ชั้นที่ ๒

๓. อากิญจัญญายตนภูมิ ๑ ภูมิ เป็นที่ปฏิสนธิของอากิญจัญญายตนวิบาก ๑ ดวง
อันเป็นผลของอากิญจัญญายตนกุสล คือเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม ที่ได้อรูปฌาน ชั้นที่ ๓

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ๑ ภูมิ ที่เป็นที่ปฏิสนธิของเนวสัญญานา สัญญายตนวิบาก ๑ ดวง
อันเป็นผลของเนวสัญญานาสัญญายตนกุสล คือเป็นที่อยู่ ของอรูปพรหมที่ได้อรูปฌานชั้นสูงสุด

อรูปภูมิทั้ง ๔ นี้ ถึงแม้จะเรียกว่า ภูมิ แต่ก็ไม่มีรูปร่างสัณฐานวิมานพื้นที่ อย่างใดเลย
มีแต่อากาศอันว่างเปล่า แม้แต่อรูปพรหมเอง ก็มีแต่นามอย่างเดียว ไม่มีรูปร่างสัณฐานอย่างใดเช่นกัน
ดังนั้น วิมาน สวน สระ ต้นไม้ หรือสิ่งที่เป็นรูปทั้งหลาย จึงไม่มีในอรูปภูมินี้เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 72.24 KiB | เปิดดู 4563 ครั้ง ]
สรุปภูมิทั้ง ๓๑

กามภูมิ ๑๑ ได้แก่
๑. อบายภูมิ ๔ ได้แก่ นรก , อสุรกาย , เปรต , ดิรัจฉาน

๒. กามสุคติภูมิ ๗ ได้แก่
๒.๑ มนุสสภูมิ ๑
๒.๒ ฉกามาวจรหรือเทวภูมิ ๖ ได้แก่
จาตุมมหาราชิกา , ดาวดึงสา , ยามา , ดุสิตา , นิมมานรตี , ปรนิมมิตวสวัตตี

รูปภูมิ ๑๖ ได้แก่
๑. ปฐมฌานภูมิ ๓ ได้แก่ ปาริสัชชา , ปุโรหิตา , มหาพรหมา
๒. ทุติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตตาภา , อัปปมาณาภา , อาภัสสรา
๓. ตติยฌานภูมิ ๓ ได้แก่ ปริตตสุภา , อัปปมาณสุภา , สุภกิณหา

๔. จตุตถฌานภูมิ ๗ ได้แก่
๔.๑ อสัญญสัตตา , เวหัปผลา
๔.๒ สุทธาวาส ๕ ได้แก่ อวิหา , อตัปปา , สุทัสสา , สุทัสสี , อกนิฏฐา

อรูปภูมิ ๔ ได้แก่
อากาสานัญจายตน , วิญญาณัญจายตน , อากิญจัญญายตน , เนวสัญญานาสัญญายตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2013, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลกับภูมิ

บุคคลที่ยังไม่เคยได้มัคคผลเลยเป็นผู้ที่ยังหนาด้วยกิเลสเรียกว่า ปุถุชน บุคคล
ผู้ได้เจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผลแล้ว เป็นผู้ที่ห่างไกลจากกิเลส
เรียกว่า อริยะ ปุถุชนมีอยู่ ๔ บุคคล และอริยะมีอยู่ ๘ บุคคลรวมเป็น ๑๒ บุคคล ดังนี้

ปุถุชน ๔ ได้แก่

ทุคคติบุคคล ๑
สุคติบุคคล ๑
ทวิเหตุกบุคคล ๑
ติเหตุกบุคคล ๑

อริยะ ๘ ได้แก่

มัคคบุคคล ๔
โสดาปัตติมัคคบุคคล ๑
สกทาคามิมัคคบุคคล ๑
อนาคามิมัคคบุคคล ๑
อรหัตตมัคคบุคคล ๑

ผลบุคคล ๔
โสดาปัตติผลบุคคล ๑
สกทาคามิผลบุคคล ๑
อนาคามิผลบุคคล ๑
อรหัตตผลบุคคล ๑

บุคคลใดเกิดได้ในภูมิไหน และบุคคลใดเกิดไม่ได้ในภูมิไหนนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๒ และที่ ๓ ว่า แสดงไว้ดังต่อไปนี้

๒. ปุถุชฺชนา น ลพฺภนฺติ สุทฺธาวาเสสุ สพฺพถา
โสตาปนฺนา จ สกทา คามิโนจาปิ ปุคฺคล ฯ


แปลความว่า ปุถุชน โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี(มัคค)ไม่เกิดในสุทธาวาส ด้วยประการ ทั้งปวง
มีความหมายว่าปุถุชนทั้ง ๔ บุคคล กับโสดาปัตติมัคคบุคคล ๑ โสดาปัตติผล บุคคล ๑
สกทาคามิมัคคบุคคล ๑ สกทาคามิผลบุคคล ๑ และ อนาคามิมัคคบุคคล ๑ รวมเป็น ๙ บุคคลด้วยกัน
ทั้ง ๙ บุคคลนี้ จะเกิดในสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕

แม้แต่ ภูมิใดภูมิหนึ่งไม่ได้เลยเป็นอันขาด ด้วยประการทั้งปวง
ที่ว่าด้วยประการทั้งปวงนั้น หมายความว่า ไม่ว่าการเกิดนั้นจะเป็นด้วยอำนาจ ปฏิสนธิ
หรือเกิดด้วยอำนาจแห่งภาวนา ก็เกิดไม่ได้ทั้ง ๒ ประการ
ทั้งนี้เพราะสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ เป็นที่เกิดโดยเฉพาะของอนาคามิผลบุคคล ที่ ได้ปัญจมฌานด้วยนั้น
โดยอำนาจแห่งปฏิสนธิ และเป็นที่เกิดอรหัตตมัคคบุคคล อรหัตตผลบุคคล โดยอำนาจแห่งการเจริญ
ภาวนาที่สุทธาวาสภูมินั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อริยาโนปลพฺภนฺติ อสญฺญาปายภูมิสุ
เสสฏฺฐาเนสุ ลพฺภนฺติ อริยา นริยาปิ จ ฯ


แปลความว่า พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพและอบายภูมิเลย
ส่วนภูมิที่เหลือนอกนั้นจะเป็น พระอริยะและแม้มิใช่พระอริยะก็เกิดได้
มีความหมายว่า

๑. อริยะทั้ง ๘ บุคคลไม่เกิด(โดยอำนาจภาวนา) ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ เพราะ อสัญญสัตตภูมิ๑
เป็นภูมิของบุคคลที่มีแต่รูปร่างกายอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีจิต บุคคล ผู้มีจิตใจจึงจะบำเพ็ญเพียร
ภาวนาธรรมให้แจ้งในอริยะสัจจ ๔ ได้

๒. อริยะบุคคล ๘ ไม่เกิด(โดยอำนาจปฏิสนธิ)ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ เพราะพระอริยะ
ไม่เจริญสัญญาวิราคภาวนาที่ปรารถนาจะมีแต่รูปอย่างเดียว โดยไม่ ประสงค์จะมีจิตใจอย่างนั้นไม่

๓. อริยะบุคคล ๘ ไม่เกิด (โดยอำนาจภาวนา) ในอบายภูมิ ๔ เพราะบุคคล ในอบายภูมิ ๔
เป็นบุคคลที่ไร้ปัญญา อันเป็นองค์สำคัญยิ่งในการบำเพ็ญเพียร ภาวนาธรรมให้ถึงมัคคถึงผล

๔. อริยะบุคคล ๘ ไม่เกิด (โดยอำนาจปฏิสนธิ) ในอบายภูมิ ๔ เพราะ อริยะบุคคลเป็นผู้ที่ละแล้ว
ซึ่งกิเลสอันจะส่งผลให้ไปปฏิสนธิในอบาย จึงเป็นผู้ที่ปิด อบายได้แล้ว เป็นผู้ที่พ้นจากอบาย

๕. ส่วนภูมิที่เหลือนอกนั้น อันได้แก่ มนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปภูมิ ๑๕ ภูมิ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ ๑)
และอรูปภูมิ ๔ รวม ๒๖ ภูมิ นั้นจะเป็นอริยะ บุคคลก็ดี หรือ แม้มิใช่อริยะบุคคลก็ดี ก็เกิดได้

๖. ทุคคติบุคคล ๑ เกิดได้ (โดยอำนาจปฏิสนธิอย่างเดียว) ในอบายภูมิ ๔

๗. สุคติอเหตุกบุคคล ๑ เกิดได้ (โดยอำนาจปฏิสนธิอย่างเดียว) ในมนุษย์ ๑ ภูมิ ในเทวดา
ชั้นจาตุมมหาราชิกา ๑ ภูมิ ทวิเหตุกบุคคล ๑ เกิดได้ (โดยอำนาจปฏิสนธิอย่างเดียว)
ในมนุษย์ภูมิ ๑ ภูมิ ในเทวดา ๖ ภูมิ

๘. ติเหตุกบุคคล ๑ (ที่เป็นปุถุชน) เกิดได้ (โดยอำนาจปฏิสนธิอย่างเดียว) ในมนุษย์ ๑ ภูมิ
ในเทวดา ๖ ภูมิ ถ้าเจริญสมถภาวนาได้รูปฌานก็ดี ได้อรูปฌานก็ดี ก็ไปเกิด (โดยอำนาจปฏิสนธิ)
ในรูปภูมิ ๑๑ (เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕) และอรูปภูมิ ๔ ตามชั้นฌานที่ตนได้

๙. โสดาปัตติมัคคบุคคล ๑ โสดาปัตติผลบุคคล ๑ รวมอริยะ ๒ บุคคลนี้เกิด ได้ (โดยอำนาจภาวนา) ในมนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปภูมิ ๑๐ (เว้นสุทธาวาส ภูมิ ๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑) รวม ๑๗ ภูมิ
หมายความว่า มนุษย์ เทวดาและรูปพรหมที่กล่าวนั้น สามารถเจริญวิปัสสนา ภาวนาให้บรรลุถึงโสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผลได้

ที่เว้น สุทธาวาสภูมิ ๕ เพราะเป็นที่เกิด(โดยอำนาจปฏิสนธิ) ของปัญจมฌาน อนาคามิผลบุคคล
และที่ไม่ได้กล่าวถึง อรูปพรหมในข้อนี้ด้วย เพราะในอรูปภูมิทั้ง ๔ นั้น อรูป พรหมที่เป็นปุถุชน คือยังไม่ถึงมัคคถึงผลเลยนั้น ไม่สามารถเริ่มเจริญวิปัสสนาให้ เกิดโสดาปัตติมัคค โสดาปัตติผลได้ ด้วยเหตุว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนาให้บรรลุ มัคคผลในชั้นต้นเริ่มแรกนี้ต้องอาศัยพิจารณาทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม แต่อรูปพรหม ไม่มีรูปธรรมให้อาศัยพิจารณาเลย

๑๐. อริยะบุคคลอีก ๖ คือ สกทาคามิมัคคบุคคล สกทาคามิผลบุคคล อนาคามิมัคคบุคคล อนาคามิผลบุคคล อรหัตตมัคคบุคคล และอรหัตตผลบุคคล นั้นเกิดได้ (โดยอำนาจภาวนา) ในมนุษย์ ๑ ภูมิ เทวดา ๖ ภูมิ รูปภูมิ ๑๕ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ ๑) และ อรูปภูมิ ๔ รวม ๒๖ ภูมิ
หมายความว่า มนุษย์ เทวดา รูปพรหมและอรูปพรหม สามารถเจริญ วิปัสสนาภาวนา(ต่อ) ให้บรรลุเป็น
อริยะ ๖ นี้อีกได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวอยู่ว่า สุทธาวาสภูมิ ๕ อันเป็นที่เกิด (โดยอำนาจ ปฏิสนธิ)
ของปัญจมฌานลาภี อนาคามิผลบุคคลอยู่แล้ว จึงมีการเจริญวิปัสสนา ภาวนา
เพื่อให้บรรลุถึงขั้นอรหัตตมัคค อรหัตตผล เท่านั้น

อนึ่งในข้อ ๑๐ นี้ กล่าวถึงอรูปพรหมด้วยนั้น มีอธิบายว่า มนุษย์ก็ดี เทวดา ก็ดี รูปพรหมก็ดี
เจริญสมถภาวนาจนได้อรูปฌานและเจริญวิปัสสนาภาวนาด้วย จน เป็นโสดาบันบุคคลแล้ว
เมื่อถึงแก่มรณะก็ไปเกิดเป็นอรูปพรหมที่เป็นพระโสดาบัน โสดาบันบุคคลที่เป็นอรูปพรหมนี้
เจริญวิปัสสนาภาวนา(ต่อ) เพื่อให้บรรลุเป็นพระ สกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ได้
ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อเช่นนี้ เพียงแต่พิจารณานามธรรมอย่างเดียวก็ได้
ไม่จำต้องพิจารณารูปธรรมอีกด้วย เพราะรูปธรรมนั้นได้พิจารณามาแล้ว ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น

๑๑. โสดาปัตติผลบุคคล ๑ สกทาคามิผลบุคคล ๑ รวมอริยะ ๒ บุคคลนี้
เฉพาะที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา เมื่อถึงกาลกิริยาแล้วก็อาจจะมาเกิด (โดยอำนาจ ปฏิสนธิ)
ในมนุษย์ ๑ ภูมิ ในเทวดา ๖ ภูมิ อีกได้

แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฌานด้วย ก็ไปเกิด (โดยอำนาจปฏิสนธิ) ได้ในรูปภูมิ ๑๐
(เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ อสัญญสัตตภูมิ ๑) และอรูปภูมิ ๔ ตามชั้นฌานที่ตนได้
เฉพาะโสดาปัตติผลบุคคล สกทาคามิผลบุคคล ที่เป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหม อยู่แล้ว
จะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกเลย

๑๒. อนาคามิผลบุคคล ๑ เกิดได้(โดยอำนาจปฏิสนธิ) ดังนี้ คือ
อนาคามิผลบุคคลที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา แม้ในชาติที่บำเพ็ญเพียรภาวนา
ธรรมจนบรรลุเป็นอนาคามิผลบุคคลนั้น จะไม่ได้เจริญสมถภาวนาด้วย คือไม่ได้ทำ
ฌานเลยก็ตาม แต่ก่อนที่จุติจิตจะเกิดคือในชวนมรณาสันนวิถี ฌานจิตที่ได้เคยบำเพ็ญมาแล้ว
แต่ชาติปางก่อนโน้นครั้งหลังที่สุดก็จะเกิดขึ้นก่อน แล้วจุติจิตจึงจะ เกิด เมื่อจุติแล้วก็ต้องปฏิสนธิ
เป็นพรหมชั้นนั้น ๆ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า พระอนาคามีที่เป็นมนุษย์หรือเทวดา
เมื่อตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพรหมแน่นอนไม่กลับ มาเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาอีกเลย
เพราะพระอนาคามีนั้นประหารกามราคะ และ พยาปาทะได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว
ถ้าอนาคามิผลบุคคลผู้นั้นได้ถึงปัญจมฌานด้วย ก็ไปเกิดในสุทธาวาสภูมิ
โดย อำนาจปฏิสนธิแต่อย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron