วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ภูมิกับบุคคล

๑. อบายภูมิ ทั้ง ๔ ภูมิ เป็นที่เกิดของทุคคติบุคคล บุคคลเดียวเท่านั้น

๒. มนุสสภูมิ ๑ และ จาตุมมหาราชิกาภูมิ ๑ รวม ๒ ภูมิ เป็นที่เกิดของ ๑๑ บุคคล
(เว้นทุคคติบุคคล ๑)

๓. เทวภูมิ อีก ๕ ภูมิ ได้แก่ ดาวดึงส์, ยามา, ดุสิต, นิมมานรตี และ ปรนิมมิตวสวัตตี
เป็นที่เกิดของ ๑๐ บุคคล คือ ทวิเหตุกบุคคล ๑ ติเหตุกปุถุชน ๑ และอริยบุคคล ๘
(เว้นทุคคติบุคคล และ สุคติบุคคล)

๔. รูปภูมิ ๑๐ ภูมิได้แก่ ปฐมฌานภูมิ ๓, ทุติยฌานภูมิ ๓, ตติยฌานภูมิ ๓, และเวหัปผลาภูมิ ๑,
เป็นที่เกิดของ ๙ บุคคล คือ ติเหตุกปุถุชน ๑, อริยบุคคล ๘

๕. อสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ เป็นที่เกิดของ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ คือ มีรูป ปฏิสนธิอย่างเดียว

๖. สุทธาวาสภูมิ ทั้ง ๕ ภูมิเป็นที่เกิดของ ๓ บุคคล คืออนาคามิผลบุคคล ๑ อรหัตตมัคคบุคคล ๑
อรหัตตผลบุคคล ๑

๗. อรูปภูมิ ทั้ง ๔ ภูมิเป็นที่เกิดของ ๘ บุคคลคือติเหตุกปุถุชน ๑ อริยบุคคล ๗
(เว้นโสดาปัตติมัคคบุคคล ๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคล ๒๑๔ จำพวก

บุคคล ๒๑๔ จำพวกนี้ เป็นการคิดจากบุคคล ๑๒ ว่าแต่ละภูมิมีบุคคลที่จะเกิดได้กี่บุคคลหลายภูมิ
ก็นับว่าเป็นบุคคลหลายจำพวก การคิดอาศัยภูมิเป็นหลักแล้ว เอาจำนวนบุคคลที่จะพึงเกิดได้ในภูมินั้น
คูณได้เท่าไร ก็เป็นบุคคลเท่านั้นจำพวกคิด ดัง ต่อไปนี้

อบายภูมิทั้ง ๔ ภูมิ
ทุคคติบุคคล ๑
รวม ๑ คน ๔ ภูมิ เป็น ๔ จำพวก

มนุสสภูมิ ๑
จาตุมมหาราชิกา ๑
สุคติอเหตุกบุคคล ๑
ทวิเหตุกบุคคล ๑
ติเหตุกบุคคล ๑
อริยบุคคล ๘
รวม ๑๑ คน ๒ ภูมิเป็น ๒๒ จำพวก

เทวภูมิอีก ๕ ภูมิ
ทวิเหตุกบุคคล ๑
ติเหตุกบุคคล ๑
อริยบุคคล ๘
รวม ๑๐ คน ๕ ภูมิเป็น ๕๐ จำพวก

ปฐมฌานภูมิ ๓
ทุติยฌานภูมิ ๓
ตติยฌานภูมิ ๓
เวหัปผลาภูมิ ๑
ติเหตุกบุคคล ๑
อริยบุคคล ๘
รวม ๙ คน ๑๐ ภูมิ เป็น ๙๐ จำพวก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อสัญญสัตตภูมิ ๑
สุคติอเหตุกบุคคล ๑
รวม ๑ คน ๑ ภูมิ เป็น ๑ จำพวก

สุทธาวาสภูมิ ๕
อนาคามิผลบุคคล ๑
อรหัตตมัคคบุคคล ๑
อรหัตตผลบุคคล ๑
รวม ๓ คน ๕ ภูมิ เป็น ๑๕ จำพวก

อรูปภูมิ ๔
ติเหตุกบุคคล ๑
อริยบุคคล ๗
(เว้นโสดาปัตติมัคค ๑)
รวม ๘ คน ๔ ภูมิ เป็น ๓๒ จำพวก
รวมทั้งหมด ๓๑ ภูมิ เป็นที่เกิดของบุคคล ๒๑๔ จำพวก

ข้อสังเกต มนุษย์ที่หนวก บอด บ้า ใบ้กับเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาบางพวก
ที่เรียกว่า สุคติอเหตุกบุคคลนั้น ปฏิสนธิด้วยจิตที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุเลย
ส่วน อสัญญสัตตพรหมก็เรียกว่า สุคติอเหตุกบุคคล เพราะปฏิสนธิด้วยรูปอย่างเดียว
ซึ่ง รูปทั้งหลายนั้นเป็นธรรมที่ไม่มีสัมปยุตตเหตุเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ

ปฏิสนธิ คือ การสืบต่อภพชาติ หรือการเกิดขึ้นในภพใหม่ชาติใหม่
หมายถึง ว่า เมื่อภพเก่า ชาติเก่าสิ้นสุดลงแล้ว จิต เจตสิก กัมมชรูป ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก
ในภพใดภพหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการสืบต่อภพเก่ากับภพใหม่ นั่นแหละเรียกว่า ปฏิสนธิ
ปฏิสนธินี้มี ๔ พวกด้วยกัน คือ

๑. อบายปฏิสนธิ คือการปรากฏขึ้นแห่ง จิต เจตสิก และกัมมชรูปเป็นขณะ แรกในอบายภูมิ ๔
๒. กามสุคติปฏิสนธิ คือ จิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏขึ้นในขณะแรก ในกามสุคติภูมิ ๗
๓. รูปาวจรปฏิสนธิ คือ จิต เจตสิก และกัมมชรูป ปรากฏขึ้นเป็นขณะแรก ในรูปภูมิ ๑๕ และการปรากฏขึ้นเป็นขณะแรกแห่งกัมมชรูป(อย่างเดียว) ในอสัญญ สัตตภูมิ ๑
๔. อรูปาวจรปฏิสนธิ คือจิตและเจตสิก ปรากฏขึ้นเป็นขณะแรกในอรูปภูมิ ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Y11850854-0.jpg
Y11850854-0.jpg [ 16.21 KiB | เปิดดู 4465 ครั้ง ]
หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ ก. อบายปฏิสนธิ
อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวงย่อมเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔
เป็นปฏิสนธิ จิตของสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
เมื่อได้ทำหน้าที่ปฏิสนธิในปฏิสนธิกาล คือขณะแรกเกิดแล้ว ต่อจากนั้น
ก็ทำหน้าที่ภวังค-(เว้นแต่เวลาที่จิตขึ้นวิถี)-ตลอดทั้งชาติ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งภพนั้น ชาตินั้น
จึงทำหน้าที่จุติ เป็นอันสิ้นภพนั้นชาตินั้นกันเสียที
ดังนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อได้ปฏิสนธิด้วยจิตดวงใดแล้ว จิตดวงนั้นแหละทำหน้าที่
ภวังครักษาภพชาตินั้นไว้และที่จิตดวงนั้นอีกนั่นแหละ ทำหน้าที่จุติหาใช่จิตอื่นใดไม่
ภูมิที่เกิดของสัตว์เหล่านี้เป็นทุคคติภูมิ และปฏิสนธิจิตก็เป็นพวกอเหตุกจิต
เหตุนี้จึงเรียกสัตว์เหล่านี้ว่าทุคคติอเหตุกบุคคล แต่ส่วนมากเรียกกันสั้น ๆ ว่าทุคคติ บุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Y11869693-0.jpg
Y11869693-0.jpg [ 17.09 KiB | เปิดดู 4465 ครั้ง ]
หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ ข. กามสุคติปฏิสนธิ

๑. อุเบกขาสันตีรณ กุสลวิบาก ๑ ดวงย่อมเกิดในมนุสสภูมิ ๑ และในจาตุม มหาราชิกาภูมิ ๑
มนุษย์ ผู้ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากนี้ เป็นผู้มีบุญน้อยจึงพิการ ต่าง ๆ มาแต่กำเนิด
ไม่ใช่มาพิการในภายหลัง ความพิการนี้มีถึง ๑๐ ประการ คือ
๑. ชจฺจนฺธ ตาบอด
๒. ชจฺจพธิร หูหนวก
๓. ชจฺจฆานก จมูกเสีย ไม่ได้กลิ่น เพราะไม่มีฆานปสาท
๔. ชจฺจมูค เป็นใบ้
๕. ชจฺจชฬ โง่เง่าผิดปกติ นับสิบก็ไม่ถูก
๖. ชจฺจุมฺมตฺตก เป็นบ้า
๗. ปณฺฑก พวกบัณเฑาะก์ คือ พวกวิปริตในเรื่องเพศ
๘. อุภโตพยญฺชนก ผู้ปรากฏเป็น ๒ เพศ
๙. นปุํสก ผู้ไม่ปรากฏเพศ
๑๐. มมฺม ผู้ติดอ่าง

ส่วนเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ก็ เฉพาะพวกเทวดาชั้นต่ำ
เป็นพวกภุมมัฏฐเทวดา มีวินิปาติกอสุราบางพวก และตาม อรรถกถาแสดงว่า เวมานิกเปรตบางพวก
อีกด้วยที่ว่าต้อง " บางพวก " ด้วยก็เพราะว่า เทวดาพวก วินิปาติกอสุรา และเวมานิก เปรต
ที่มีปฏิสนธิจิตเป็น
ทวิเหตุกปฏิสนธิ หรือติเหตุกปฏิสนธิก็มี ใช่แต่เท่านั้น
วินิปาติกอสุรานี้เป็นติเหตุกบุคคล ได้บรรลุมัคคผลก็มีเหมือนกัน
รวมความว่า ผู้ที่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบากนี้ กล่าวตามนัยแห่ง
พระอภิธัมมัตถสังคหะแล้ว มี ๑๑ พวก คือ มนุษย์พิกลพิการ ๑๐ และ วินิปาติก อสุรา ๑
กล่าวตามนัยแห่งอรรถกถาแล้ว มี ๑๒ จำพวก โดยนับเวมานิกเปรตเพิ่มเข้าไปอีกด้วย
ภูมิที่เกิดของมนุษย์และเทวดาทั้ง ๑๑ หรือ ๑๒ จำพวกนี้ เป็นสุคติภูมิ
แต่ ปฏิสนธิจิตเป็นอเหตุกจิต ดังนั้น จึงเรียกว่า สุคติอเหตุกบุคคล

๒. มหาวิบาก ๘ ดวง ย่อมเกิดในมนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รวมเป็น ๗ ภูมิด้วยกัน
บรรดามนุษย์ทั้งหลาย (เว้นผู้ไม่สมประกอบ ๑๐ จำพวก) และเทพยดาทั้งปวง
(เว้นเทวดาชั้นต่ำ ๒ จำพวก) ล้วนแล้วแต่ปฏิสนธิมาด้วยมหาวิบากดวงใด
ดวงหนึ่งในจำนวน ๘ ดวงนั้น และก็จำแนกได้เป็น ๒ ประเภท หรือ ๒ บุคคล
ประเภทที่เป็นญาณวิปปยุตต คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เรียกว่าเป็นทวิเหตุกบุคคล
ส่วนประเภทที่เป็นญาณสัมปยุตต คือเป็นผู้ที่มีปัญญา ก็เรียกว่าเป็นติเหตุกบุคคล

อุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก ๑ ดวง มหาวิบาก ๘ ดวง รวมจิต ๙ ดวงนี้ กล่าวในเรื่องปฏิสนธิ
ได้ชื่อว่ากามสุคติปฏิสนธิ และเมื่อรวมอุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวงเข้าอีกด้วยแล้ว
ก็ได้ชื่อว่า กามปฏิสนธิ ๑๐

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ ค. รูปาวจรปฏิสนธิ

๑. รูปาวจรปฐมฌานวิบากจิต ๑ ดวง ย่อมเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ กล่าวคือ
ปฐมฌานวิบากเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตของรูปพรหมในปฐมฌานภูมิ ๓ ภูมิ

๒. รูปาวจรทุติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง และรูปาวจรตติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง
ย่อมเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ ทุติยฌานวิบาก กับตติยฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต
ของรูป พรหม ในทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ
ที่วิบากจิต ๒ ดวงนี้ ไปเกิดในทุติยฌานภูมิร่วมกันนั้น ก็ด้วยเหตุผลดังที่ได้
กล่าวแล้วข้างต้นในรูปภูมิ

๓. รูปาวจรจตุตถฌานวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ กล่าวคือ
จตุตถฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิตของรูปพรหมในตติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ

๔. รูปาวจรปัญจมฌานวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในจตุตถฌานภูมิ ๖ (เว้น อสัญญสัตตภูมิ ๑)
ปัญจมฌานวิบาก เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ของรูปพรหมในจตุตถ ฌานภูมิ ๖ ภูมิ
(เว้นอสัญญสัตตภูมิ)

๕. รูปปฏิสนธิอย่างเดียว ย่อมเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑ กล่าวคือ อสัญญสัตตพรหม
มีการปฏิสนธิด้วยรูปเท่านั้นปฏิสนธิจิตไม่มี ทั้งนี้เป็นเพราะอำนาจของปัญจม ฌานกุสล
ที่เกี่ยวด้วยสัญญาวิราคภาวนา
รวมรูปาวจรปฏิสนธินี้ มี ปฏิสนธิ ๖ ประการ คือ ปฏิสนธิด้วยรูปาวจรวิบาก จิต ๕ ปฏิสนธิด้วย
รูปปฏิสนธิ (กัมมชรูป) ๑

หมวดที่ ๒ ปฏิสนธิจตุกะ ง. อรูปาวจรปฏิสนธิ

๑. อากาสานัญจายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ ๑
โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๒. วิญญานัญจายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในวิญญานัญจายตนภูมิ ๑
โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๓. อากิญจัญญายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในอากิญจัญญายตนภูมิ ๑
โดย ความเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ๑ ดวง ย่อมเกิดในเนวสัญญานาสัญญา ยตนภูมิ ๑
โดยความเป็น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2013, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปปฏิสนธิ

อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน อบาย ๔ ภูมิ
อุเบกขาสันตีรณ กุสลวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน มนุษย์พิการ. เทวดาชั้นต่ำ(จาตุมหาราชิกา)
มหาวิบากจิต ๘ ดวง ปฏิสนธิใน มนุษย์ ๑ ภูมิ. เทวดา ๖ ภูมิ
รูปาวจร ปฐมฌานวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน ปฐมฌานภูมิ ๓ ภูมิ
รูปาวจร ทุติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน ทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ
รูปาวจร ตติยฌานวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน ทุติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ
รูปาวจร จตุตถฌานวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน ตติยฌานภูมิ ๓ ภูมิ
รูปาวจร ปัญจมฌานวิบากจิต ๑ ดวง ปฏิสนธิใน จตุตถฌานภูมิ ๖ ภูมิ
กัมมชรูปปฏิสนธิ(รูปปฏิสนธิไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ) ปฏิสนธิใน อสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ
อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ดวง ปฏิสนธิใน อรูปภูมิ ๔ ภูมิ

รวมปฏิสนธิ ๒๐ ( จิตปฏิสนธิ ๑๙ และ รูปปฏิสนธิ ๑ ) ปฏิสนธิใน ๓๑ ภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กำเนิด ๔

ที่ที่ปฏิสนธิวิญญาณอาศัยเกิด หรือที่ที่สัตว์ทั้งหลายอาศัยเกิดนั้น เรียกว่า กำเนิด หรือ โยนิ
สัตว์ทั้งหลาย หรือปฏิสนธิวิญญาณทั้ง ๑๙ ดวงนั้น มีที่อาศัยเกิด ๔ ประการ
เรียกว่า กำเนิด ๔ หรือ โยนิ ๔ คือ

๑. ชลาพุชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดา คลอดออกมาเป็นตัวเลย แล้วค่อย ๆ เติบโตขึ้น
ตามลำดับ สัตว์ที่เป็นชลาพุชกำเนิด คือ

ก. มนุษย์
ข. เทวดาชั้นต่ำ (หมายเฉพาะเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ที่มีชื่อว่า วินิ ปาติกอสุรกายและเวมานิกเปรต
อสุรกาย ซึ่งปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุสลวิบาก เท่านั้น และในข้อใดที่ใช้ว่า เทวดาชั้นต่ำ ก็ขอให้พึงเข้าใจตามนี้ด้วย)
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต คือเปรตจำพวกที่ถูกไฟเผาอยู่เสมอ)
จ. อสุรกาย

๒. อัณฑชกำเนิด ต้องอาศัยเกิดจากท้องมารดาเหมือนกัน แต่มีฟองห่อหุ้ม คือเกิดมาเป็นไข่ก่อน แล้วจึงแตกจากไข่มาเป็นตัว และค่อย ๆ เติบโตขึ้นตามลำดับ เหมือนกัน สัตว์ที่เป็นอัณฑชกำเนิด คือ

ก. มนุษย์ (มีมาในธัมมบทว่า พระ ๒ องค์ ที่เรียกกันว่า ทเวพา ติกเถระ ซึ่งเป็นบุตรของ โกตนกินรีนั้น เมื่อเกิดมาทีแรก ออกมาเป็นฟองไข่ก่อน แล้วจึงคลอดออกมาจากฟองไข่นั้นอีกทีหนึ่ง)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสุรกาย
ชลาพุชกำเนิด และอัณฑชกำเนิด ทั้ง ๒ ประการนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยก กำเนิด เพราะต้องอาศัยเกิดในครรภ์มารดาเหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ออกมา เป็นตัวเลย หรือออกมาเป็นฟองก่อน แล้วจึงแตกเป็นตัวภายหลัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2013, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




3.jpg
3.jpg [ 47.52 KiB | เปิดดู 5104 ครั้ง ]
๓. สังเสทชกำเนิด
ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา แต่อาศัยเกิดจากต้นไม้ ดอกไม้ โลหิต หรือที่เปียกชื้นเป็นต้น เกิดมาก็เล็กเป็นทารก แล้วจึงค่อย ๆ เติบโต ขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสังเสทชกำเนิด คือ

ก. มนุษย์ (เช่นนางจิญจมาณวิกา เกิดจากต้นมะขาม, นางเวฬุวดี เกิด จากต้นไผ่, นางปทุมวดี เกิดจาก
ดอกบัว , โอรสของนางปทุมวดี รวม ๔๙๙ องค์ เกิดจากโลหิต เป็นต้น)
ข. เทวดาชั้นต่ำ
ค. สัตว์ดิรัจฉาน
ง. เปรต (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต)
จ. อสรุกาย

๔. โอปปาติกกำเนิด
ไม่ได้อาศัยเกิดจากท้องมารดา ไม่ได้อาศัยสิ่งใดเกิด แต่ เกิดโดยโผล่ขึ้นมาและโตใหญ่เต็มที่ในทันทีทันใดนั้นเลย สัตว์ที่เป็นโอปปาติกกำเนิด คือ

ก. มนุษย์ มีในสมัยต้นกัปป์
ข. เทวดาทั้ง ๖ ชั้น (เว้นเทวดาชั้นต่ำ)
ค. พรหมทั้งหมด
ง. สัตว์ดิรัจฉาน
จ. เปรต ( รวมทั้ง นิชฌามตัณหิกเปรตด้วย )
ฉ. อสุรกาย หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ

๕. มนุษย์ ๑ ภูมิ
เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ๑ ภูมิ (เว้นเทวดาชั้นต่ำ) สัตว์ดิรัจฉาน ๑ ภูมิ, เปรต ๑ ภูมิ (เว้นนิชฌามตัณหิกเปรต), อสุรกาย ๑ ภูมิ รวม ๕ ภูมิ นี้ มีกำเนิดได้ทั้ง ๔ กำเนิด

๖. เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา ๑ ภูมิ
เฉพาะเทวดาชั้นต่ำมีเพียง ๓ กำเนิด คือ ชลาพุชกำเนิด, อัณฑชกำเนิด และสังเสทชกำเนิด (เว้นโอปปาติกกำเนิด)

๗. เทวดาตั้งแต่ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไปรวม ๕ ภูมิ
รูปพรหมทั้ง ๑๖ ภูมิ และอรูปพรหมทั้ง ๔ ภูมิ
นิชฌามตัณหิกเปรต๑ ภูมิ และสัตว์นรก ๑ ภูมิ มีกำเนิดได้อย่างเดียว คือ โอปปาติกกำเนิด เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงกำเนิด ภูมิ และปฏิสนธิวิญยาณ ของบุคคล
บุคคล ..................กำเนิด (โยนิ ) .........ภูมิ .................ปฏิสนธิวิญญาณ

ทุคติบุคคล
สัตว์นรก ................โอปปาติกะ ...........นิรยภูมิ.......อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวง
นิชฌามตุณหิกเปรต ....โอปปาติกะ ...........เปตภูมิ ......อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวง
เปรต ................... กำเนิดทั้ง ๔ ..........เปตภูมิ ......อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวง
อสุรกาย ................ กำเนิดทั้ง ๔ ....... อสุรกายภูมิ ...อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวง
สัตว์ดิรัจฉาน .............กำเนิดทั้ง ๔ .......ดิรัจฉานภูมิ ....อุเบกขาสันตีรณ อกุสลวิบาก ๑ ดวง

สุคติอเหตุกบุคคล
มนุษย์ ...................กำเนิดทั้ง ๔ .........มนุสสภูมิ .....อุเบกขาสันตีรณ กุสลวิบาก ๑ ดวง
เทวดาชั้นต่ำ ... คัพภเสยยกะและสังเสทชะ.....จาตุม๑ ......อุเบกขาสันตีรณ กุสลวิบาก ๑ ดวง
อสัญญสัตตพรหม ........โอปปาติกะ .......อสัญญสัตตภูมิ .............ไม่มีปฏิสนธิจิต

ทวิเหตุกบุคคล
มนุษย์ .................กำเนิดทั้ง ๔ ...........มนุสสภูมิ .........มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง
จาตุมมหาราชิกา ......กำเนิดทั้ง ๔ .....จาตุมมหาราชิกาภูมิ ....มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง
ดาวดึงส์ ขึ้นไป ........โอปปาติกะ .........เทวภูมิ ๕ ชั้น ........มหาวิบากญาณวิปปยุตต ๔ ดวง

ติเหตุกบุคคล
มนุษย์ ................กำเนิดทั้ง ๔ ............มนุสสภูมิ ...........มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง
จาตุมมหาราชิกา .....กำเนิดทั้ง ๔ ........จาตุมมหาราชิกาภูมิ ....มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง
ดาวดึงส์ ขึ้นไป .......โอปปาติกะ ...........เทวภูมิ ๕ ชั้น .........มหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔ ดวง
รูปพรหม .......................โอปปาติกะ
ปฐมฌานภูมิ ๓......................".....................................ปฐมฌานวิบาก ๑
ทุติยฌานภูมิ ๓......................"..................ทุติยฌานวิบาก ๑ และ ตติยฌานวิบาก ๑
ตติยฌานภูมิ ๓.......................".................................จตุตถฌานวิบาก ๑
จตุตถฌานภูมิ ๖ .....................".................................ปัญจมฌานวิบาก ๑
อรูปพรหม .......................โอปปาติกะ
อากาสานัญจายตนภูมิ................."............................อากาสานัญจายตนวิบาก ๑
วิญญาณัญจายตนภูมิ..................."............................วิญญาณัญจายตนวิบาก ๑
อากิญจัญญายตนภูมิ....................".............................อากิญจัญญายตนวิบาก ๑
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ............"..........................เนวสัญญานาสัญญายตนวิบาก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตตาวาสภูมิ ๙

สัตตาวาสภูมิ หมายถึง ที่อยู่ ที่อาศัยของสัตว์ โดยจัดเป็นพวก ๆ คือ
จำพวก ที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือน ๆ กันบ้าง ต่าง-กันบ้าง จำพวกที่มีปฏิสนธิจิตเหมือนกัน บ้าง
ต่างกันบ้าง จัดได้เป็น ๙ จำพวก จึงเรียกว่า สัตตาวาสภูมิ ๙ ดังต่อไปนี้ คือ
๑. นานาตฺตกายภูมิ ภูมิเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีรูปร่างสัณฐานต่าง ๆ กัน ๑๔ ภูมิ คือ
กามภูมิ ๑๑
ปฐมฌานภูมิ ๓
(คำว่า นานาตฺต นี้บางแห่งใช้ว่า นานตฺต)

๒. เอกตฺตกายภูมิ มีรูปร่างสัณฐานเหมือน ๆ กัน มี ๑๒ ภูมิ คือ
ทุติยฌานภูมิ ๓
ตติยฌานภูมิ ๓
เวหัปผลาภูมิ ๑
สุทธาวาสภูมิ ๕

๓. นานตฺตสญฺญีภูมิ มีปฏิสนธิจิตต่างกัน มี ๑๐ ภูมิ คือ
กามสุคติภูมิ ๗
ทุติยฌานภูมิ ๓

๔. เอกตฺตสญฺญีภูมิ มีปฏิสนธิจิตอย่างเดียวกัน มี ๑๖ ภูมิ คือ
อบายภูมิ ๔
ปฐมฌานภูมิ ๓
ตติยฌานภูมิ ๓
เวหัปผลาภูมิ ๑
สุทธาวาสภูมิ ๕

๕. อสญฺญีภูมิ ภูมิเป็นที่เกิดของสัตว์ที่ไม่มีนามธรรม มี ๑ ภูมิ คือ
อสัญญ สัตตภูมิ

๖. อากาสานญฺจายตนภูมิ ๑

๗. วิญฺญาณญฺจายตนภูมิ ๑

๘. อากิญฺจญฺญายตนภูมิ ๑

๙. เนวสญฺญานาสญฺญายตนภูมิ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จัดโดยรูปร่างสัณฐานร่วมกับปฏิสนธิวิญญาณด้วย

๑. นานาตฺตกายนานาตฺตสญฺญี สัตว์ที่มีรูปร่างต่างกัน และมีปฏิสนธิวิญญาณ ก็ต่างกันด้วย มี ๗ ภูมิ คือ
กามสุคติภูมิ ๗

๒. นานาตฺตกายเอกตฺตสญฺญี มีรูปร่างต่างกัน แต่มีปฏิสนธิวิญญาณอย่าง เดียวกันมี ๗ ภูมิ คือ
อบายภูมิ ๔
ปฐมฌาน ภูมิ ๓

๓. เอกตฺตกายนานาตฺตสญฺญี มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ปฏิสนธิวิญญาณต่าง กันมี ๓ ภูมิ คือ
ทุติยฌานภูมิ ๓

๔. เอกตฺตกายเอกตฺตสญฺญี มีรูปร่างเหมือนกัน และมีปฏิสนธิวิญญาณก็ อย่างเดียวกัน มี ๙ ภูมิ คือ
ตติยฌานภูมิ ๓
เวหัปผลาภูมิ ๑
สุทธาวาสภูมิ ๕

สำหรับอสัญญสัตตภูมิ ๑ ไม่มีนามขันธ์ คือไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ และ อรูปภูมิ ๔ ก็ไม่มีรูปขันธ์ คือ ไม่มี
รูปร่างสัณฐาน รวม ๕ ภูมินี้ จึงจัดเป็น นานตฺต หรือ เอกตฺต ไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณฐีติ ๗

วิญญาณฐีติ หมายถึง ภูมิอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ
๑. นานาตฺตกายนานาตฺตสญฺญีภูมิ สัตว์ที่มีรูปร่างต่างกัน และมีปฏิสนธิ วิญญาณก็ต่างกัน
๒. นานาตฺตกายเอกตฺตสญฺญีภูมิ สัตว์ที่มีรูปร่างต่างกัน แต่มีปฏิสนธิ วิญญาณ อย่างเดียวกัน
๓. เอกตฺตกายนานาตฺตสญฺญีภูมิ สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่มีปฏิสนธิ วิญญาณต่างกัน
๔. เอกตฺตกายเอกตฺตสญฺญีภูมิ สัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนกัน และมีปฏิสนธิ วิญญาณก็อย่างเดียวกัน
๕. อากาสานัญจายตนภูมิ
๖. วิญญาณญฺจายตนภูมิ
๗. อากิญจญฺญายตนภูมิ


สำหรับอสัญญสัตตภูมิเป็นภูมิของสัตว์ที่ไม่มีปฏิสนธิวิญญาณ และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นภูมิของสัตว์ที่มีปฏิสนธิวิญญาณ คือนามขันธ์ก็จริงอยู่ แต่ว่า นามขันธ์นั้น ไม่ปรากฏชัด จะว่ามีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีก็ไม่เชิง ทั้ง ๒ ภูมินี้ จึงไม่จัด เข้าในวิญญาณฐีติ ๗ นี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2013, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกภพโดยภูมิ

๑. กามภพ ๑๑ ภูมิ = ปัญจโวการภพ ๑๑ ภูมิ = สัญญีภพ ๑๑ ภูมิ

๒. รูปภพ ๑๖ ภูมิ = ปัญจโวการภพ ๑๕ ภูมิ = เอกโวการภพ ๑ ภูมิ = สัญญีภพ ๑๕ ภูมิ อสัญญีภพ ๑ ภูมิ

๓. อรูปภพ ๔ ภูมิ = จตุโวการภพ ๔ ภูมิ = สัญญีภพ ๓ ภูมิ เนวสัญญาฯ ๑ ภูมิ

จำแนกภพโดยขันธ์

๔. ปัญจโวการภพ ๒๖ ภูมิ = กามภพ ๑๑ ภูมิ รูปภพ ๑๕ ภูมิ = สัญญีภพ ๒๖ ภูมิ

๕. เอกโวการภพ ๑ ภูมิ = รูปภพ ๑ ภูมิ = อสัญญีภพ ๑ ภูมิ

๖. จตุโวการภพ ๔ ภูมิ =อรูปภพ ๔ ภูมิ = สัญญีภพ ๓ ภูมิ เนวสัญญาฯ ๑ ภูมิ

จำแนกภพโดยสัญญา

๗. สัญญีภพ ๒๙ ภูมิ = ปัญจโวการภพ ๒๖ ภูมิ = จตุโวการภพ ๓ ภูมิ =ามภพ ๑๑ ภูมิ และ รูปภพ ๑๕ ภูมิ
อรูปภพ ๓ ภูมิ

๘. อสัญญีภพ ๑ ภูมิ = เอกโวการภพ ๑ ภูมิ = รูปภพ ๑ ภูมิ

๙. เนวสัญญานาสัญญาภพ ๑ ภูมิ = จตุโวการภพ ๑ ภูมิ = อรูปภพ ๑ ภูมิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร