ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45952
หน้า 7 จากทั้งหมด 7

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ส.ค. 2013, 19:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

กรรมอารมณ์

กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุสล คือ ตนได้ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญ ภาวนามานั้น
เคยทำอย่างไร ก็นึกก็คิดเหมือนอย่างที่ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันน ชวนะก็ถือเอาเป็นอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายอกุสล คือ ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อ ชิง เฆี่ยนตี จำจองสัตว์ อย่างไร
ก็นึกก็คิดเหมือนอย่างที่ได้ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนะก็น้อมเอามา เป็นอารมณ์

กรรมอารมณ์นี้ ปรากฏทางมโนทวารทางเดียว ไม่ปรากฏทางทวารทั้ง ๕ เพราะกรรมอารมณ์นี้
นึกถึง คิดถึง การกระทำในอดีต เป็นอดีตอารมณ์ เป็น กรรมในอดีตที่ตนได้ทำแล้วอย่างไร
ก็หน่วงโน้มนำใจให้คิด ให้นึกเหมือนดังที่ได้ทำ อยู่อย่างนั้น เป็นแต่นึก เป็นแต่คิด ไม่ถึงกับมีเป็นภาพ
เป็นนิมิตมาปรากฏเมื่อมีกรรมอารมณ์เป็นกุสล ก็จะต้องไปสู่สุคคติ ถ้าหากว่ามีกรรมอารมณ์เป็น อกุสล
ก็จะต้องไปสู่ทุคคติ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ส.ค. 2013, 19:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

กรรมนิมิตอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ตนได้ใช้ในการกระทำกรรม นั้น ๆ
ที่เป็นฝ่ายกุสลก็เห็นเครื่องที่ตนได้ทำกุสล เช่น เห็นโบสถ์ เห็นพระพุทธรูปที่ ตนสร้าง
เห็นพระที่ตนบวชให้ เห็นเครื่องสักการะที่ตนใช้บูชา เห็นผ้าผ่อนที่ตนให้ ทาน เหล่านี้เป็นต้น
มรณาสันนชวนะก็หน่วงเอามาเป็นอารมณ์
ที่เป็นฝ่ายอกุสล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ มีด ไม้ ปืน เครื่องเบียด เบียนสัตว์ ที่ตนเคยใช้
ในการทำบาป เป็นต้น มรณาสันนชวนะก็น้อมมาเป็นอารมณ์
ทั้งนี้ ถ้าเป็นแต่เพียงคิด เพียงแต่นึกถึงเครื่องมือ เครื่องใช้นั้น ๆ ก็ปรากฏ ทางมโนทวาร
เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ ด้วย ได้ยินทางหู จริง ๆ ด้วย ได้กลิ่นทางจมูกจริง ๆ
ด้วย ก็เป็นทางปัญจทวาร และเป็นปัจจุบัน อารมณ์ด้วย
เมื่อมีกรรมนิมิตอารมณ์เป็นกุสล ก็นำไปสู่สุคคติ แต่ถ้าหากว่ามีกรรมนิมิต อารมณ์เป็นอกุสล
ย่อมนำไปสู่ทุคคติ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ส.ค. 2013, 19:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

คตินิมิตอารมณ์

คตินิมิตอารมณ์ คือ นึกเห็นเครื่องหมายที่จะนำไปสู่สุคติ หรือทุคคติ
ถ้าจะไปสู่สุคคติ ก็จะปรากฏเป็นวิมาน เป็นปราสาททิพยสมบัติ เป็นนางเทพ อัปสร เป็นรั้ววัง
เป็นวัดวาอาราม เป็นภิกษุสามเณร เป็นครรภ์มารดา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี
ถ้าจะไปสู่ทุคคติ ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ เป็นเหว เป็นถ้ำอันมืดมัว เป็นนาย นิรยบาล เป็นสุนัข
แร้ง กา จะมาเบียดเบียนทำร้ายตนเป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ เลวร้าย
ทั้งนี้ปรากฏทางมโนทวารแต่ทางเดียว คือ เห็นทางใจ และจัดเป็นปัจจุบัน อารมณ์ เพราะกำลังนึก
เห็นอยู่อารมณ์ของกามาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในกามภูมินั้น มรณาสันนชวนะ จะมีกรรมอารมณ์
หรือ กรรมนิมิต
อารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ และอารมณ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นกามธรรม คือ
กามอารมณ์ทั้งสิ้น อารมณ์ของรูปาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในรูปาวจรภูมิเป็นรูปพรหมนั้น
มรณาสันนชวนะมีเฉพาะกรรมนิมิต
อารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น โดยมีบัญญัติธรรม เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ตนได้ฌานด้วยอารมณ์กัมมัฏฐาน
ใด มรณาสันนชวนะ ก็มี กัมมัฏฐานนั้นแหละเป็นอารมณ์

อารมณ์ของอรูปาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในอรูปาวจรภูมิ เป็นอรูปพรหม นั้น มรณาสันนชวนะก็มีเฉพาะ
กรรมนิมิตอารมณ์แต่อย่างเดียวเหมือนกัน โดยมี บัญญัติธรรม หรือมหัคคตธรรมเป็นอารมณ์ ตามควรแก่
อรูปฌานที่ตนได้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 04 ส.ค. 2013, 19:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

จุติ แล้ว ปฏิสนธิ

สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิ เป็นอสัญญสัตตพรหม ซึ่งมีแต่รูปไม่มีนามจิต และ นามเจตสิกด้วยเลย
เพราะเหตุนี้ อสัญญีสัตว์จึงชื่อว่า รูปปฏิสนธิ

สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม ซึ่งมีแต่นามจิต และนามเจตสิกเท่านั้น ไม่มีรูปด้วยเลย
เพราะเหตุนี้อรูปสัตว์ จึงชื่อว่า อรูปปฏิสนธิ
สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิเป็นสัตว์อย่างอื่น ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ หรืออรูปสัตว์ แล้วก็เป็นสัตว์ที่มี
ทั้งรูปทั้งนาม ดังนี้จึงชื่อว่า รูปารูปปฏิสนธิ
สัตว์ใดจุติแล้วปฏิสนธิเป็นอะไร มีคาถาสังคหะเป็นคาถาที่ ๙ และที่ ๑๐ แสดงว่า

๙. อารุปฺปจุติยา โหนฺติ เหฏฺฐิมารุปฺปวชฺชิตา
ปรมารุปฺปสนฺธิ จ ตถา กามติเหตุกา ฯ


แปลความว่า อรูปพรหมจุติ ย่อมไม่ปฏิสนธิในอรูปภูมิชั้นที่ต่ำกว่าเดิม แต่ถ้าปฏิสนธิใน กามภูมิ
ต้องเป็นไตรเหตุฯ

๑๐. รูปาวจรจุติยา อเหตุรหิตา สิยุํ
สพฺพา กามติเหตุมฺหา กาเมเสฺวว ปเนตรา ฯ


แปลความว่า รูปพรหมจุติ ถ้าปฏิสนธิในกามภูมิ ก็เป็นไตรเหตุ หรือทวิเหตุ ไม่เป็นอเหตุก สัตว์
และอบายสัตว์

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 05 ต.ค. 2013, 17:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริจเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค

อธิบาย

๑. อรูปพรหมจุติ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๘ ดวง คือ

ก. เกิดในอรูปพรหมอีก (ปฏิสนธิด้วยอรูปวิบาก ๔) ย่อมเกิดในอรูปพรหม ชั้นนั้นหรือชั้นที่สูงกว่า
ไม่ปฏิสนธิในชั้นที่ต่ำกว่า เพราะเป็นธรรมดาของอรูปพรหม ที่ย่อมเว้นหรือหน่ายจากฌานเบื้องต่ำ

ข. เกิดในกามภูมิย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ ที่เรียกว่ากามติเหตุกปฏิสนธิ (ปฏิสนธิ ด้วยมหาวิบาก
ญาณสัมปยุตต ๔) อนึ่งอรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย และ
เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมที่เป็นพระอริยนั้น ก็จะไม่ไปเกิดในภูมิอื่นเลย จะต้องสำเร็จ
เป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั่นเอง

๒. รูปพรหมจุติ แบ่งได้เป็น ๓ จำพวก คือ
จำพวกที่ ๑ เป็นพระอนาคามีที่เป็นรูปพรหมในสุทธาวาสภูมิ ๕ พระ อนาคามีในสุทธาวาสภูมินี้
ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในชั้นนั้นแล้ว เมื่อจุติก็ต้องปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นที่สูง
กว่าตามลำดับไป จนกว่าจะปรินิพพาน ไม่มีการเกิดซ้ำชั้นเลย

จำพวกที่ ๒ เป็นรูปพรหมใน ๑๐ ภูมิ คือ เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ และอสัญญ สัตตภูมิ ๑, รูปพรหม ๑๐ ภูมินี้ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๗ ดวง คือ
ก. เกิดในอรูปพรหม (ปฏิสนธิด้วย อรูปาวจรวิบาก ๔)
ข. เกิดในรูปพรหมอีก (ปฏิสนธิด้วย รูปาวจรวิบาก ๕)
ค. เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ (ปฏิสนธิด้วยมหาวิบาก ๘) ย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ บ้าง ทวิเหตุบ้าง แต่ไม่เกิด
เป็นอเหตุกสัตว์
อนึ่งรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น จะไม่มาเกิดในกามภูมิอีกเลย และไม่เกิดใน รูปพรหมชั้นที่ต่ำกว่าด้วย
สำหรับพระอริยที่เป็นรูปพรหมในชั้นเวหัปผลาภูมิ เมื่อยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ไม่เกิดย้ายไปภูมิอื่น ต้องเกิดซ้ำ
อยู่ในชั้นเวหัปผลาภูมินั้น จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในเวหัปผลาภูมินั้นเอง
จำพวกที่ ๓ เป็นอสัญญสัตตพรหม เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดแต่ในกามสุคติภูมิ ๗ เท่านั้น เป็นไตรเหตุ
บ้าง เป็นทวิเหตุบ้าง

๓. เทวดาและมนุษย์จุตินั้น ปฏิสนธิไม่เที่ยง บางทีก็ไปเกิดในอบายภูมิบ้าง ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง ในรูปพรหมบ้าง ในอรูปพรหมบ้างตามควรแก่บาป และ บุญ
เป็นอันว่า กามสุคติบุคคลจุตินั้น ย่อมได้ปฏิสนธิทั้ง ๒๐* เกิดได้ทั้ง ๓๑ ภูมิ

๔. อบายสัตว์จุติ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๐ ดวง คือ ไปเกิดในอบายอีกบ้าง ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง แต่ไม่สามารถไปเกิดในพรหมโลกชั้นหนึ่งชั้นใดเลย

คาถาสังคหะส่งท้าย

๑๑. ปฏิสนฺธิภวงฺควิถิโย จุติ เจห ตถา ภวนฺตเร
ปุน สนฺธิภวงฺคมิจฺจยํ ปริวตฺตติ จิตฺตสนฺตติ ฯ

แปลความว่า ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต วิถีจิต และจุติจิต ในภพนี้ ชาตินี้ สืบเนื่องกันฉันใด ในภพหน้า
ชาติหน้า ก็เป็นเหมือนกันฉันนั้นอีก

๑๒. ปฏิสงฺขาย ปเนตมทฺธุวํ อธิคนฺตฺวา ปทมจฺจุตมฺพุธา
สุสมุจฺฉินฺนสิเนหพนฺธนา สมเมสฺสนฺติ จิราย สุพฺพตา ฯ

แปลความว่า บัณฑิตทั้งหลาย พิจารณาเห็นสังขารนี้ว่า ไม่ยั่งยืน เพียรให้ถึงซึ่ง ธรรมอัน ไม่จุติ
ตัดขาดจากความเยื่อใยที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพ ใหม่ชาติใหม่อีก
ได้แต่เสวย วิมุตติสุข อันประเสริฐกว่าสุขทั้งปวง

* หมายเหตุ ปฏิสนธิ ๒๐ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙ และรูปปฏิสนธิ ๑

อวสานคาถา

อิจฺจานุรุทฺธรจิเต อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
ปญฺจโม ปริจฺเฉโทยํ สมาเสเนว นิฏฺฐิโต ฯ

นี้ปริจเฉทที่ ๕ ( ชื่อ วิถีมุตตสังคหวิภาค ) ในปกรณ์อันรวบรวมซึ่งอรรถแห่งพระอภิธรรม
ที่พระอนุรุทธาจารย์ รจนาไว้ จบแล้วโดยย่อ เพียงเท่านี้แล
ที่มา http://www.thepathofpurity.com

หน้า 7 จากทั้งหมด 7 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/