ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=45994
หน้า 4 จากทั้งหมด 8

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

๒๑. วจีวิญญัตติรูป

วจีวิญญัตติรูป จำแนกได้ ๒ คือ
(๑) โพธนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยจงใจให้ผู้อื่นรู้ความหมาย เช่น ตะโกนเรียก
การเรียกชื่อกัน การบอกเล่า การสนทนากัน เป็นต้น
(๒) ปวตฺตนวจีวิญฺญตฺติ ได้แก่ การกล่าววาจา โดยไม่ได้จงใจจะให้เป็น ความหมายแก่ผู้ใด
เช่น เปล่งเสียงออกมาเวลาตกใจ การไอ การจาม เป็นต้น แม้ว่าจะไม่เจาะจงให้ใครรู้
ไม่เจาะจงให้เป็นความหมาย แต่ผู้อื่นก็รู้ว่าเป็นเสียงตกใจ เสียงไอ เสียงจาม

วจีวิญญัตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิญฺญาปน ลกฺขณํ มีการแสดงให้รู้ซึ่งความหมาย เป็นลักษณะ
อธิปฺปายปกาสน รสํ มีการแสดงซึ่งความหมาย เป็นกิจ
วจีโฆสเหตุภาว ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการกล่าววาจา เป็นผล
จิตฺตสมุฏฺฐานปฐวีธาตุ ปทฏฺฐานํ มีปฐวีธาตุของจิตตสมุฏฐานเป็น เหตุใกล้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

ประเภทที่ ๑๐ วิการรูป

วิการรูป คือรูปที่แสดงอาการพิเศษของนิปผันนรูปให้ปรากฏมี ๓ รูป ได้แก่ รูปัสสลหุตา ๑
รูปัสสมุทุตา ๑ และ รูปัสสกัมมัญญตา ๑ แต่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ลหุตารูป(ความเบาของรูป),
มุทุตารูป(ความอ่อนของรูป), กัมมัญญตารูป(การควรของรูป)

วิเสสา อาการา วิการาฯ แปลว่า อาการพิเศษของรูป เรียกว่า วิการรูป
วิการรูปนี้ บางทีก็นับว่ามี ๕ รูป โดยนับกายวิญญัตติรูป และวจีวิญญัตติรูป รวมเข้าไปอีกด้วย

๒๒. ลหุตารูป

ลหุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความเบาของนิปผันนรูป หรืออาการเบาของนิปผันนรูป

ลหุตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อทนฺธตา ลกฺขณา มีความเบา เป็นลักษณะ
รูปานํ ครุภาววิโนทน รสา มีการทำลายความหนักของรูป เป็นกิจ
ลหุปริวตฺติตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทำให้ว่องไว เป็นผล
ลหุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่เบา เป็นเหตุใกล้

๒๓. มุทุตารูป

มุทุตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความอ่อนของนิปผันนรูป หรือ อาการอ่อนของ นิปผันนรูป

มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อถทฺธตา ลกฺขณา มีความอ่อน เป็นลักษณะ
รูปานํ ตทฺธวิโนทน รสา มีการทำลายความกระด้างของรูป เป็นกิจ
สพฺพกริยาสุ อวิโรธิตา ปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ขัดแย้งต่อกิจทั่วไป เป็นผล
มุทุรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่อ่อน เป็นเหตุใกล้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

๒๔. กัมมัญญตารูป

กัมมัญญตารูป ได้แก่ รูปที่เป็นความควรของนิปผันนรูป หรืออาการควร ของนิปผันนรูป

มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กมฺมญฺญภาว ลกฺขณา มีการควร เป็นลักษณะ
อกมฺมญฺญตา วิโนทน รสา มีการทำลายการไม่ควร เป็นกิจ
อทุพฺพลภาว ปจฺจุปฏฺฐานา มีการทรงไว้ซึ่งพลัง เป็นผล
กมฺมญฺญรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่ควร เป็นเหตุใกล้

วิการรูปทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้ว มีความสัมพันธ์กันกับวิญญัตติรูป ๒ ก็ได้ ไม่ สัมพันธ์กับวิญญัตติรูป ๒
ก็ได้ คือ เกิดพร้อมกันก็ได้ ไม่เกิดพร้อมกันก็ได้
ถ้าวิญญัตติรูป เกิดพร้อมกับวิการรูป วิญญัตติรูปนั้นก็จะมีความเบา ความ อ่อน ความควรแก่การงาน
ก็จะเกิดขึ้นทันที กล่าวคือ การเคลื่อนไหวทางร่างกายก็ จะรู้สึกเบา อ่อนโยน คล่องแคล่ว ควรแก่
การงาน การเคลื่อนไหวทางวาจา เช่น การพูด การบรรยาย ก็จะมีความเบา ความอ่อนโยน
ความคล่องแคล่ว ควรแก่ การงานเกิดขึ้นทันที เพราะฉะนั้น วิการรูปจึงมี ๓ หรือ ๕ คือ
๑. ลหุตารูป ๒. มุทุตารูป ๓. กัมมัญญตารูป ๔. วิการรูปที่เกิด พร้อมกับกายวิญญัตติ
๕. วิการรูปที่เกิดพร้อมกับวจีวิญญัตติ และทั้งวิญญัตติรูป ๒ กับวิการรูป ๓ ก็อาศัยนิปผันนรูป

หรือเป็นอาการ ของนิปผันนรูปนั่นเอง คือถ้าไม่มีนิปผันนรูป วิญญัตติรูป และวิการรูปก็มีไม่ได้
วิการรูป รูปที่แสดงอาการ คือ ความเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษรวม ๓ รูปนี้ ต้องเกิดมีขึ้นแก่
สิ่งมีชีวิตเท่านั้น สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิการรูป วิการรูปนี้ เมื่อเกิดก็ เกิดร่วมกันพร้อมกันทั้ง ๓ รูป
แต่อาจจะยิ่งหรือหย่อนกว่ากันได้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

ประเภทที่ ๑๑ ลักขณรูป

ลักขณรูป คือ รูปที่แสดงความเกิดขึ้นให้ปรากฏ รูปที่แสดงความเจริญให้ ปรากฏ
รูปที่แสดงความเสื่อมให้ปรากฏ รูปที่แสดงความดับไปให้ปรากฏ มี ๔ รูป คือ
(๑) รูปัสสอุปจย แปลว่า ความเกิดขึ้นของรูป
(๒) รูปัสสสันตติ แปลว่า ความเจริญของรูป
(๓) รูปัสสชรตา แปลว่า ความเสื่อมของรูป
(๔) รูปัสสอนิจจตา แปลว่า ความแตกดับของรูป
ทั้ง ๔ รูป ดังกล่าวชื่อว่า ลักขณรูป คือ รูปที่มีกาลเวลาเป็นที่กำหนดในการ ชี้ขาด
ธรรมทั้งหลายอันบัณฑิตกำหนดรู้ได้ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังขตะด้วยอาศัย รูปนี้
ฉะนั้นรูปที่เป็นเหตุแห่งการกำหนดรู้ได้นั้น ชื่อว่า ลักขณะ

สังขตธรรมมี ๓ คือ จิต เจตสิก และ รูป ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ คือ
๑. กรรม ๒. จิต ๓. อุตุ ๔. อาหาร
ในเมื่อจิต เจตสิก และรูป ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ดังนี้ ก็จะปรากฏให้รู้ ได้ว่า

๑. จิต ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
๒. เจตสิก ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
๓. รูป ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ความที่ปรากฏให้รู้ได้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่แหละ เรียกว่า ลักขณะ หรือลักษณะ
และลักขณะนี้จะมีอยู่ในจิต เจตสิก รูป เท่านั้น

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

๒๕. อุปจยรูป

อุปจยรูป คือ รูปที่เกิดครั้งแรก หรือรูปที่มีขึ้นครั้งแรก ปรากฏขึ้นครั้งแรก
ของนิปผันนรูปนั่นเอง มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อาจย ลกฺขโณ มีการแรกเกิด เป็นลักษณะ
รูปานํ อุมฺมชฺชาปน รโส มีการทำให้บรรดารูปได้เกิด เป็นกิจ
ปริปุณฺณภาว ปจฺจุปฏฺฐาโน มีสภาพที่บริบูรณ์ของรูป เป็นผล
อุปจิตรูป ปทฏฺฐาโน มีรูปที่กำลังจะเกิด เป็นเหตุใกล้

๒๖. สันตติรูป

สันตติรูป คือ รูปที่เกิดสืบต่อกันกับอุปจยรูป หรือ รูปที่มีต่อ สืบต่อจาก อุปจยรูปของนิปผันนรูป
นั่นเองความเกิดขึ้นสืบต่อกันของนิปผันนรูป ชื่อว่า สันตติ กล่าวคือ เมื่อรูปนั้น ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกแล้ว
รูปที่เกิดสืบต่อจากรูปที่เกิดครั้งแรกนั่นเอง เรียกว่า สันตติรูป

สันตติรูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ปวตฺติ ลกฺขณา มีการเจริญอยู่ เป็นลักษณะ
อนุปฺปพนฺธน รสา มีการสืบต่อ เป็นกิจ
อนุปจฺเฉท ปจฺจุปฏฺฐานา มีการไม่ขาดจากกัน เป็นผล
อนุปพนฺธกรรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่ยังให้ต่อเนื่องกัน เป็นเหตุใกล้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

๒๗. ชรตารูป

ชรตารูป คือ รูปที่เป็นความแก่ของนิปผันนรูป หรือรูปที่กำลังเสื่อมไปของ นิปผันนรูป ภาวะแห่งความแก่ของนิปผันนรูป ชื่อว่า ชรตา

ชรตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

รูปปริปาก ลกฺขณา มีการเสื่อมของรูป เป็นลักษณะ
อุปนยน รสา มีการนำไปซึ่งความเสื่อม เป็นกิจ
นวภาวาปคมน ปจฺจุปฏฺฐานา มีสภาพที่ไม่เกิดใหม่ เป็นผล
ปริปจฺจมานรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่เสื่อม เป็นเหตุใกล้

๒๘. อนิจจตารูป

อนิจจตารูป คือ รูปที่ดับไป หรือรูปที่หมดไปของนิปผันนรูป ความดับของนิปผันนรูป ชื่อว่า อนิจจตา

อนิจจตารูป มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
ปริเภท ลกฺขณา มีการเสื่อม เป็นลักษณะ
สํสีทน รสา มีการจมดิ่ง เป็นกิจ
ขยวย ปจฺจุปฏฺฐานา มีการสูญหาย เป็นผล
ปริภิชฺชมานรูป ปทฏฺฐานา มีรูปที่แตกดับ เป็นเหตุใกล้

อุปจยรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเป็นขณะแรก หรือ การสั่งสมรูปเป็นปฐมใน ปฏิสนธิกาล
สันตติรูป คือ รูปที่เจริญหรือขยายตัว เป็นการสืบต่อแห่งรูป
รูปทั้ง ๒ คือ อุปจยรูป และสันตติรูปนี้ มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่าชาติรูป หรือ อุปปาทะรูป
ชรตารูป คือ รูปที่เสื่อม ทรุดโทรม คร่ำคร่าแก่ มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่า ชรารูป หรือ ฐีติรูป
อนิจจตารูป คือ รูปที่แตกดับสูญสิ้นไป มีชื่ออีกนัยหนึ่งว่า มรณรูป หรือ ภังครูป

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

นัยที่ ๒ รูปวิภาค

รูปวิภาคนัย เป็นการแสดงรูปธรรมโดยละเอียดพิสดารกว้างขวางออกไปอีก
เพื่อให้ทราบว่ารูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนั้น จัดเป็นส่วน ๆ ก็ได้ คือ จัดว่ามีส่วนเดียว ก็ได้
หรือจัดแยกเป็น ๒ ส่วน ๒ อย่างก็ได้ ดังมีคาถาสังคหะ เป็นคาถาที่ ๕ แสดงไว้ว่า

๕. อิจฺเจวมฏสวิสติ วิธมฺปิ จ วิจกขนา
อชฺฌตฺติกาทิเภเทน วิภชฺชนติ ยถารหํ ฯ


แปลความว่า บัณฑิตผู้เห็นประจักษ์ ย่อมจำแนกรูป แม้ทั้ง ๒๘ รูป ออกไปโดยประเภท
มีอัชฌัตติกรูป เป็นต้น ตามควรอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้

อธิบาย

ในรูปวิภาคนัยนี้ แสดงเป็น ๒ มาติกา (มาติกา=แม่บท) คือ
ก. เอกมาติกา แม่บทเดียว หมายความว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ รูปนี้มี ความหมายรวมเป็นอย่างเดียวกัน
ข. ทุกมาติกา แม่บทคู่ หมายความว่า รูปธรรมทั้ง ๒๘ มีความหมาย ต่างกัน เป็นคู่ ๆ เป็น ๒ ส่วน

เอกมาติกา

คำว่า เอกมาติกา หมายความว่า รูป ๒๘ มีบทเดียว มีอย่างเดียว มีประเภทเดียว มีชื่อเดียว
เป็นประเภทเดียวกัน มีชื่อรวมเรียกได้ ดังนี้

๑. เป็น อเหตุกรูป เป็นรูปที่ไม่มีเหตุ คือ ไม่มีสัมปยุตตเหตุ หมายความว่า รูปทั้ง ๒๘ ไม่มีเหตุ ๖
มาประกอบด้วยเลย (โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ)
ส่วนรูปที่มีเหตุ ๖ คือ สเหตุกรูป นั้นไม่มี

๒. เป็น สปัจจยรูป เป็นรูปที่มีปัจจัย คือ มีสิ่งที่อุปการะเกื้อหนุน จึงทำให้ รูปเกิดได้ ปัจจัยหรือสิ่งที่
อุปการะอุดหนุนให้เกิดรูปนั้น ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนรูปที่ไม่มีปัจจัยอุปการะให้เกิด
คือ อปัจจยรูป นั้นไม่มีเลย

๓. เป็น สาสวรูป เป็นรูปที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ (คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ) ได้ทั้ง ๒๘ รูป

๔. เป็น สังขตรูป เป็นรูปที่ปรุงแต่งมาจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ส่วนรูปที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ปรุงแต่ง
มาจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร คือ อสังขต รูป นั้นไม่มี

๕. เป็น โลกียรูป เป็นรูปที่เนื่องด้วยโลกียธรรม อันจะต้องแตกดับอยู่เสมอ
ส่วนรูปที่ไม่แตกดับ พ้นจากการแตกดับ คือ โลกุตตรรูป นั้นไม่มี

๖. เป็น กามาวจร เป็นรูปที่เป็นอารมณ์ของกามจิต
ส่วนรูปที่เป็นอารมณ์ของมหัคคตจิต หรือโลกุตตรจิตนั้นไม่มี เพราะมหัคคต
จิตมีบัญญัติและมีจิตเป็นอารมณ์ โลกุตตรจิต ก็มีนิพพานเป็นอารมณ์

๗. เป็น อนารัมมณ เป็นรูปที่ไม่สามารถรู้อารมณ์ได้เหมือนจิตและเจตสิก
ส่วนรูปที่สามารถรู้อารมณ์ได้ คือสารัมมณ นั้นไม่มี

๘. เป็น อัปปหาตัพพ เป็นรูปที่ไม่พึงละ ไม่พึงประหาร เพราะรูปเป็นธรรม
ที่ปราศจากเหตุอันจะยังให้เกิดความดี หรือความชั่วส่วนรูปที่พึงละพึงประหาร คือ ปหาตัพพะ นั้นไม่มี
ตามที่กล่าวมา (ทั้ง ๘ ข้อ) แล้วนี้ จะเห็นได้ชัดแจ้งว่า รูปทั้ง ๒๘ นั้น มี ประเภทเดียว มีส่วนเดียว
มีแม่บทเดียว เพราะไม่มีประเภทที่ตรงกันข้ามเลย จึงได้ชื่อว่า เอกมาติกา แสดงรูปโดยแม่บทเดียว

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

ทุกมาติกา

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 114.87 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 19:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๒ วัตถุรูป กับ อวัตถุรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 60.47 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๓ ทวารรูป กับ อทวารรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 92.91 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๔ อินทรียรูป กับ อนินทรียรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 106.29 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๕ โอฬาริกรูป กับ สุขุมรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 101.38 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๖ สันติเกรูป กับ ทุเรรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 105.6 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

คู่ที่ ๗ สัปปฏิฆรูป กับ อัปปฏิฆรูป

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 87.32 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 31 ก.ค. 2013, 20:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค

ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๐ คือ สัททรูป ๑, วิญญัตติรูป ๒, วิการรูป ๓ และ ลักขณรูป ๔ นั้น
เรียกว่า อนุปาทินนกรูป เป็นรูปที่ไม่ได้เกิดจากกุสลกรรม หรือ อกุสลกรรม หรือรูปที่ไม่ได้เป็นผล
ของกุสลกรรม หรืออกุสลกรรม
อนึ่ง เนื่องจากว่า อุปาทินนกรูป ก็คือ กัมมชรูป เป็นรูปที่เกิดจากกรรม จึงจะขอกล่าวเสียในที่นี้ด้วยว่า จิตตชรูป เป็นรูปที่เกิดจากจิตก็ดี อุตุชรูป เป็นรูปที่เกิดจากอุตุก็ดี อาหารชรูป เป็นรุปที่เกิดจากอาหารก็ดี เรียกว่า อกัมมชรูป คือรูปที่ไม่ใชเกิดจากกรรม

ไฟล์แนป:
cats.jpg
cats.jpg [ 104.85 KiB | เปิดดู 4041 ครั้ง ]

หน้า 4 จากทั้งหมด 8 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/