วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. กัมมปัจจัย

กรรม หมายถึง การจงใจกระทำ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ดังที่ อัฏฐ สาลินีอรรถกถาแสดงไว้ว่า

เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กาเยน วาจาย มนสา

ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ภิกษุทั้งหลาย เรา(ตถาคต) กล่าวว่า เจตนานั่นแหละ เป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย ทางวาจา และทางใจ

เจตนา ที่เป็นตัวกรรมนั้น มี กิจฺจ หรือ สตฺติ อำนาจหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

๑. เจตนา คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม ที่เป็น กุสล อกุสล วิบาก กิริยา ทุก ๆ ขณะที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะให้เกิดกุสลนามขันธ์ ๔, อกุสล นามขันธ์ ๔, วิบากนามขันธ์ ๔ และ กิริยานามขันธ์ ๔ ดังนี้เรียกตาม กิจ
หรือ สัตติ คือ อำนาจหน้าที่ว่าเป็น สังวิธานกิจ หมายความว่า จงใจปรุงแต่ง จัดแจง ให้สำเร็จกิจนั้น ๆ เรียกตามปัจจัย คือตามความอุปการะช่วยเหลือก็เป็น สหชาตกัมมปัจจัย หมายถึง เจตนาที่เกิดพร้อมในขณะเดียวกันกับสัมปยุตตธรรม คือ เกิด ในกาลปัจจุบัน

๒. เจตนา คือ ความจงใจในสัมปยุตตธรรม เฉพาะที่เป็นกุสลและอกุสลเท่านั้น ที่ดับไปแล้ว แต่อำนาจแห่งเจตนานั้นเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดผลวิบาก และกัมมชรูปในอนาคตอย่างนี้เรียกตามกิจหรือสัตติ อำนาจหน้าที่ว่าเป็น พีชนิธานกิจ หมายความว่า ยังให้เกิดพืชพันธุ์ขึ้น เรียกตามปัจจัย คือ ตามความอุปการะ ช่วยเหลือ ว่าเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย หมายถึงเจตนาที่เกิดในขณะที่ต่าง ๆ กัน เกิดในกาลอนาคต ที่เป็นปฏิสนธิกาลก็ได้ ที่เป็นปวัตติกาลก็ได้

รวมได้ความว่า กัมมปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ สหชาตกัมมปัจจัย และ นานักขณิกกัมมปัจจัย แต่ละปัจจัยมีความหมายสั้น ๆ ดังนี้

ก. เจตนา ที่สัมปยุตตกับสหชาตธรรม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม คือ จิต เจตสิก และแก่รูป ที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น อย่างนี้ได้ชื่อว่า สหชาตกัมมปัจจัย

ข. เจตนาที่ต่างขณะกัน คือ เจตนานั้น หรือกรรมนั้น หรือสหชาตกัมมนั้น ได้ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและแก่รูปที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัย อำนาจแห่งกรรมที่ดับไปแล้วนั้น อย่างนี้ได้ชื่อว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สหชาตกัมมปัจจัย

๑. สหชาตกัมม หมายความว่า เจตนาที่เกิดพร้อม

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรม เกิดพร้อมกันในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน หมายความว่าทั้งปัจจัยและปัจจยุบบันน ต่างก็ยังไม่ทัน ดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙ ที่ในจิต ๘๙

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑(เว้นเจตนา) จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ เจตนาเจตสิก ๘๙ ที่ในจิต ๘๙, และพาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป,
อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตกัมมปัจจัยนี้มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาต กัมมปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา) เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ในกุสลจิต ๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตปัจจัย จิตตชรูปที่มีกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย เจตนาเจตสิก ๒๑ ที่ใน กุสลจิต ๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๗ (เว้นเจตนา) ด้วย และจิตตชรูป ซึ่งมีกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็น สหชาตกัมมปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา) เป็นสหชาตกัมม ปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย จิตตชรูป ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏ ฐานนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย เจตนาเจตสิก ๑๒ ที่ใน อกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นสหชาตกัมมปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นเจตนา) ด้วย และจิตตชรูป ซึ่งมีอกุสลนามขันธ์ ๔ เป็นสมุฏฐานนั้นด้วย เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ เจตนาเจตสิกที่ในวิบากจิต ๓๖ และ ที่ในกิริยาจิต ๒๐ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลตามสมควร เป็นสหชาตกัมมปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๗(เว้นเจตนา) วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูป ในปวัตติกาล และปฏิสนธิกัมมชรูป ในปฏิสนธิกาล เป็นสหชาตกัมมปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๐ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตกัมมปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย

๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. วิปากปัจจัย ๖. นามอาหารปัจจัย

๗. สัมปยุตตปัจจัย ๘. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๙. สหชาตัตถิปัจจัย

๑๐. สหชาตอวิคตปัจจัย

นานักขณิกกัมมปัจจัย

เมื่อขณะกระทำทุจจริตก็ดี สุจริตก็ดี เจตนาที่เกิดพร้อมกับอกุสลจิตหรือกุสล จิตนั้น เป็นสหชาตกัมมปัจจัย ครั้นอกุสลจิตหรือกุสลจิตพร้อมด้วยเจตนานั้น ๆ ดับ ไปแล้ว เจตนานั้นก็มีสภาพกลับกลายเป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย มีอำนาจหน้าที่ ให้บังคับผลแก่ผู้นั้นในอนาคตกาล ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งในปวัตติกาล และ ปฏิสนธิกาล

นานักขณิกกรรม ที่เป็นกุสล อกุสลนั้น มีอยู่ในสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อ ขณะที่จะส่งผลให้ปรากฏขึ้น ย่อมอาศัย กาล คติ อุปธิ และ ปโยคะ เป็นเครื่อง ประกอบด้วย คือ

ก. กาล หมายถึง คราว สมัย ในสมัยใดที่พระพุทธศาสนารุ่งเรือง ผู้ปกครอง ประเทศปกครองด้วยความมีสีลธรรมเป็นที่ตั้ง อย่างนี้เรียกว่า กาลสัมปัตติ ถ้าเป็น ไปอย่างตรงกันข้าม ก็เรียกว่า กาลวิปัตติ

ข. คติ หมายถึงว่า ผู้ที่เกิดอยู่ในสุคติภูมิ มีมนุษย์ เทวดา พรหม ก็เรียกว่า คติสัมปัตติ ผู้ที่เกิดในทุคคติภูมิเป็นสัตว์นรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย เหล่านี้ เรียกว่า คติวิปัตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ค. อุปธิ หมายถึง ผู้มีอวัยวะ หรือ อายตนะ มีหู ตา เป็นต้น ครบถ้วน บริบูรณ์ เรียกว่า อุปธิสัมปัตติ ถ้าขาดตกบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ ก็เรียกว่า อุปธิวิปัตติ

ง. ปโยคะ หมายถึง ความเพียร ผู้ที่เพียรชอบ ประกอบแต่กาย วาจา ใจ สุจริต เช่นนี้เรียกว่า ปโยคสัมปัตติ ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ก็เรียกว่า ปโยควิปัตติ

ในปวัตติกาล ขณะใดเป็นผู้มีสัมปัตติ ขณะนั้นนานักขณิกกรรมกุสล ย่อมได้ โอกาสที่จะส่งผลให้ผู้นั้นได้ประสบกับอารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ พร้อมทั้งได้รับกัมมช รูป อันเป็นที่น่ารักน่าปรารถนา ถ้าขณะใดมีวิปัตติ ขณะนั้นนานักขณิกกรรมที่เป็น อกุสล ย่อมได้โอกาสส่งผลให้ผู้นั้นประสบกับอนิฏฐารมณ์ พร้อมทั้งได้รับกัมมชรูป ที่ไม่น่ารักน่าปรารถนา

ส่วนในปฏิสนธิกาล สัตว์ทั้งหลายย่อมได้รับทันที ในขณะที่ปฏิสนธิ คือ อกุสลนานักขณิกกรรมก็ส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ ถ้าเป็นกุสลนานักขณิกกรรม ก็ส่งผลให้ปฏิสนธิเป็น มนุษย์ เทวดา พรหม ตามสมควรแก่กรรมของตนในอดีต

๑. นานักขณิกกรรม หมายความว่า เจตนาในขณะที่ต่างกัน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ ในปัจจัยนี้ มีถึง ๓ ชาติ คือ

ก. อนันตรูปนิสสยปกตูปชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันน ธรรมนั้นเกิดติดต่อกัน โดยไม่มีระหว่างคั่นนั้นอย่างหนึ่ง ปัจจัยธรรมนี้เป็นที่อาศัย อันมีกำลัง อย่างแรงกล้าแก่ปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง และปัจจัยธรรมอันเป็นที่ อาศัยอย่างแรงกล้าที่ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมอีก
อย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ นี้ ได้แก่ มัคคเจตนาที่เป็นปัจจัยให้เกิดผลจิต

ข. ปกตูปนิสสยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมอันเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า ที่ ได้ทำมาแล้วด้วยดีนั้น ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมให้เกิดขึ้น ได้แก่ เจตนา เจตสิกที่มีกำลังมากช่วยอุปการะให้เกิดวิบากนามขันธ์ ๔

ค. นานักขณิกกัมมชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมที่เป็นอดีต คือ ที่ดับไป แล้วนั้น มีอำนาจให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมในภายหลัง ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่มีกำลัง น้อย(ทุพละ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กามวิบากจิตให้เกิดขึ้น และเจตสิกที่มีกำลัง มาก(พลวะ) และกำลังน้อย(ทุพละ) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปให้เกิดขึ้น

๔. กาล เป็นอดีตกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ เจตนาเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒ และที่ใน กุสลจิต ๒๑ ที่เป็นอดีต คือที่ได้ดับไปแล้ว

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ปฏิสนธิกัมมช รูป อสัญญสัตตกัมมชรูปปวัตติกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ กุสลจิต ๒๑ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป พาหิรรูปอาหารชรูป อุตุชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ นานักขณิกกัมมปัจจัยนี้ มี ๒ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลเจตนา ๒๑ ในกุสลนามขันธ์ ๔ ที่เป็น อดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย
กุสลวิบากจิต ๒๙ เจตสิก ๓๘ และกัมมชรูป เป็น นานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลเจตนา ๑๒ ในอกุสลนามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย อกุสลวิบากจิต ๗ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้น วิริยะ ปิติ ฉันทะ) และกัมมชรูป เป็นนานักขณิกกัมมปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๒. อนันตรปัจจัย

๓. สมนันตรปัจจัย ๔. อนันตรูปนิสสยปัจจัย

๕. ปกตูปนิสสยปัจจัย ๖. นัตถิปัจจัย

๗. วิคตปัจจัย

๑๔. วิปากปัจจัย

๑. วิปาก หมายความว่า ผลของกุสลกรรมและผลของอกุสลกรรม

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ คือ ปัจจัยและปัจจยุบบันน เกิดในจิตดวงเดียวกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล ที่ช่วย
อุปการะซึ่งกันและกัน และที่ช่วยอุปการะแก่จิตตชรูปและ ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ขณะที่ไม่ได้ เป็นปัจจัย, จิตตชรูป ๑๓ (เว้นวิญญัติติรูป ๒) ที่เกิดขึ้นจากวิบากนามขันธ์เหล่านี้ ตามสมควร และปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ กุสลจิต ๒๑, อกุสลจิต ๑๒, กิริยาจิต ๒๐, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูปที่เกิดขึ้นจาก กุสล อกุสล กิริยา นามขันธ์เหล่านี้ตาม สมควร, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ความหมายโดยย่อ วิปากปัจจัยนี้ มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัย แก่อพยากตะ

วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ ที่เป็นปฏิสนธิกาล และปวัตติกาล แล้วแต่ว่าจะยกนามขันธ์ใดเป็นปัจจัย วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ เฉพาะนามขันธ์ที่เหลือ, วิบากจิตตชรูป ๑๓ (เว้น วิญญัติติรูป ๒), ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นวิปากปัจจยุบบันน

จะยกนามขันธ์เดียวหรือ ๒ หรือ๓ เป็นปัจจัยก็ตาม นามขันธ์ที่เหลือ ๓ หรือ ๒ หรือ ๑ (ตามลำดับ) ก็เป็นปัจจยุบบันนเสมอไป ดังที่เคยได้กล่าวแล้วข้างต้น ส่วนปฏิสนธิกัมมชรูป และจิตตชรูป ในปัจจัยนี้ เป็นปัจจยุบบันนธรรม อย่างเดียวเป็นปัจจัยธรรมไม่ได้

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วิปากปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย

๓. อัญญมัญญปัจจัย ๔. นิสสยปัจจัย

๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. วิปปยุตตปัจจัย

๗. สหชาตัตถิปัจจัย ๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

๑๕. อาหารปัจจัย

อาหารปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๒ คือ

ก. อาหารประเภท ข้าว น้ำ นม ขนม เนย เป็นต้น ที่เรียกว่า กพฬีการาหาร คือ รูปอาหารนั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะรูปกายให้เจริญเติบโตและตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า รูปอาหารปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร คือ นามอาหาร ๓ นั้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เวทนาเจตสิก ปฏิสนธิวิญญาณ และเจตสิกกับกัมมชรูป (ตามลำดับ) ให้เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้นั้น มีชื่อว่า นามอาหารปัจจัย

รูปอาหารปัจจัย

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหารนั่นเอง

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน(อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ รูปอาหารปัจจัย มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ

กพฬีการาหาร บ้างก็เรียก กวฬิงการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่ง ได้แก่ โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกเป็นรูปอาหารปัจจัย จตุสมุฏ ฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัย ธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นรูปอาหารปัจจยุบบันน

ขยายความว่า โอชาที่เป็นปัจจัยธรรมนั้น เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูป คือ อาหารชโอชานั้น เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูป ที่เหลือนอกนั้น คือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว เป็นไปโดยอำนาจ อุปถัมภกสัตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย ๒. อาหารัตถิปัจจัย ๓. อาหารอวิคตปัจจัย

นามอาหารปัจจัย

๑. นามอาหาร หมายความถึง ผัสสาหาร คือ ผัสสเจตสิก, มโนสัญเจตนา หาร คือ เจตนาเจตสิก และวิญญาณาหาร คือ จิตทั้งหมด

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมกับปัจจยุบบันนธรรมนั้น เกิดพร้อมกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามอาหาร องค์ธรรม ๓ คือ ผัสสะ เจตนา และวิญญาณ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป ที่เกิดพร้อมกับปัจจัยธรรม

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตต กัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ นามอาหารปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็น
นามอาหารปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามอาหาร ๓ ในกุสลจิต ๒๑ ใน ปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลนามอาหาร ๓ ใน กุสลจิต ๒๑ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสล จิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็น
นามอาหารปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลนามอาหาร ๓ ในอกุสลจิต ๑๒ ในปัญจโวการภูมิ เป็นนามอาหารปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อพยากตะนามอาหาร ๓ คือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ที่ในวิบากจิต ๓๖ ทั้งในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล, ที่ในกิริยา จิต ๒๐ ในปวัตติกาลอย่างเดียวเป็นนามอาหารปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐, วิบากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นนามอาหารปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๒ ปัจจัย คือ

๑. นามอาหารปัจจัย ๒. สหชาตาธิปติปัจจัย

๓. สหชาตปัจจัย ๔. อัญญมัญญปัจจัย

๕. สหชาตนิสสยปัจจัย ๖. สหชาตกัมมปัจจัย

๗. วิปากปัจจัย ๘. สหชาตินทริยปัจจัย

๙. สัมปยุตตปัจจัย ๑๐. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๑๑. สหชาตัตถิปัจจัย ๑๒. สหชาตอวิคตปัจจัย

๑๖. อินทริยปัจจัย

อินทริย คือความเป็นผู้ปกครอง ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ซึ่งมีจำนวน ๒๒ จึงเรียกว่า อินทรีย ๒๒

ในอินทรีย ๒๒ นั้นเป็นปัจจัยได้เพียง ๒๐ ส่วนอีก ๒ คือ อิตถินทรีย และปุริสินทรีย เป็นปัจจัยไม่ได้ เพราะธรรมที่จะเป็นปัจจัยได้ จะต้องมีอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง คือ ชนกสัตติ ทำให้ เกิดขึ้นและอุปถัมภกสัตติ ทำให้ตั้งอยู่ได้ อันความเป็นหญิงเป็นชายนั้น ครอง ความเป็นใหญ่แห่งเพศหญิงเพศชายของตนไว้ได้ก็จริง แต่ไม่มีความสามารถในการที่ จะอุปการะช่วยเหลือให้ธรรมอื่นใดเกิดขึ้น และไม่สามารถที่จะอุปการะช่วยเหลือให้ ธรรมอื่นใดตั้งอยู่ได้ด้วย เมื่อไม่สามารถที่จะมีชนกสัตติ หรืออุปถัมภกสัตติได้เช่นนี้แล้ว ก็เป็นปัจจัยไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทริยปัจจัย จำแนกออกได้เป็น ๓ คือ

ก. นามอินทริย องค์ธรรม ๘ (คือ ชีวิต จิต เวทนา สัทธา วิริยะ สติ เอกัคคตา ปัญญา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ โดยความเป็นใหญ่แก่ นาม รูป ที่เกิดพร้อม กันกับตนนั้น ได้ชื่อว่า สหชาตินทริยปัจจัย

ข. วัตถุ ๕ (มีจักขุวัตถุ เป็นต้น) ที่เกิดก่อน (เกิดพร้อมกับอดีตภวังคดวง แรก) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้น ได้ชื่อว่า ปุเรชาตินทริยปัจจัย บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย

ค. รูปชีวิตินทรีย (คือ ชีวิตรูป) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ อุปาทินนกรูป (คือ กัมมชรูป) ที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ได้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทริยปัจจัย

สหชาตินทริยปัจจัย

๑. สหชาตินทรีย หมายถึง นามอินทรียองค์ธรรม ๘

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามอินทรียองค์ธรรม ๘

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรม และจิตตชรูป
ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตต กัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตินทริยปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็น สหชาตินทริยปัจจัย
กุสลสัมปยุตตขันธ์ คือ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริย ปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นามอินทรีย องค์ธรรม ๘ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ในกุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็น สหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม ๕ (คือ ชีวิต จิต เวทนา วิริยะ เอกัคคตา) ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามอินทรียองค์ธรรม๕ ที่ในอกุสล จิต ๑๒ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลนามอินทรียองค์ ธรรม ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตินทรียปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสล จิตตชรูปด้วย เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ นามอินทรียองค์ธรรม ๘ ที่ในวิบาก จิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลตามสมควร เป็นสหชาติน ทริยปัจจัย วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ วิบากจิตตชรูป กิริยาจิตตชรูปในปวัตติกาล และวิบากปฏิสนธิจิต ๑๙, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นสหชาตินทริยปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๔ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตินทริยปัจจัย ๒. เหตุปัจจัย ๓. สหชาตาธิปติปัจจัย

๔. สหชาตปัจจัย ๕. อัญญมัญญปัจจัย ๖. สหชาตนิสสยปัจจัย

๗. วิปากปัจจัย ๘. นามอาหารปัจจัย ๙. ฌานปัจจัย

๑๐. มัคคปัจจัย ๑๑. สัมปยุตตปัจจัย ๑๒. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๑๓. สหชาตัตถิปัจจัย ๑๔. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปชีวิตินทริยปัจจัย

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายความถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ รูปชีวิตินทรียปัจจัยนี้ มีวาระเดียว คือ อพยากตะ เป็นปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่ ชีวิตรูปทั้งหลาย เป็นรูปชีวิตินทริยปัจจัย กัมมชรูป ที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นรูปชีวิตินทริย ปัจจยุบบันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว
อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และ ชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย

๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗. ฌานปัจจัย
๑. ฌาน มีความหมายว่า

ก. การเพ่งอารมณ์ ตามธรรมดา ตามปกติ มีรูปารมณ์เป็นต้นนั้นอย่างหนึ่ง การเพ่งอารมณ์ในการเจริญสมถภาวนา มีกสิณเป็นต้นนั้นอีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่าง นี้เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน

ข. การเพ่งอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา มีการเพ่งอารมณ์ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้นเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

ค. ฌานปัจจัยธรรม ที่ช่วยอุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมทั้งหลายนั้น ช่วย อุปการะโดยอำนาจแห่งอารัมมณูปนิชฌาน หรือโดยอำนาจแห่งลักขณูปนิชฌาน ก็แล้วแต่กรณี

ง. สรุปความว่า ฌานปัจจัยก็ได้แก่ องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา และเอกัคคตาทั้ง ๕ อย่างนี้นั่นเอง หมายความว่า วิตก ก็เรียกฌาน วิจาร ก็เรียกว่า ฌาน เป็นต้น วิตก ทำหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิจาร ทำหน้าที่ประคองจิตให้อยู่ที่ อารมณ์นั้น ปิติ ทำหน้าที่อิ่มใจในอารมณ์นั้น เวทนา ทำหน้าที่เสวยอารมณ์นั้น และเอกัคคตา ก็ทำหน้าที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในอารมณ์นั้น แม้จะทำหน้าที่กันคนละอย่าง แต่ก็ทำเพื่อให้สำเร็จในกิจการงานอันเดียวกัน คือ เพ่งอารมณ์อันเดียวกัน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ เวทนา เอกัคคตา ที่ในจิต ๗๙ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๗๙(เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เจตสิกที่ประกอบ ๗, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ความหมายโดยย่อ ฌานปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌานปัจจัย กุสลสัมปยุตตนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เป็น ฌานปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌานปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์ฌาน ๕ ที่ในกุสลจิต ๒๑ เป็นฌานปัจจัย
กุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลสัมปยุตตนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสลจิต ๑๒ เป็นฌาน ปัจจัย อกุสลจิตตชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์ฌาน ๕ ที่ในอกุสล จิต ๑๒ เป็นฌานปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นฌานปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) , ที่ในกิริยาจิต ๒๐, ในปวัตติกาลและในปฏิสนธิกาล ตามควรแก่กรณี เป็นฌานปัจจัย วิบากจิต ๒๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐), กิริยา จิต ๒๐ , วิปากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นฌานปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๑ ปัจจัย คือ

๑. ฌานปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย

๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. วิปากปัจจัย ๖. สหชาตินทริยปัจจัย

๗. มัคคปัจจัย ๘. สัมปยุตตปัจจัย ๙. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๑๐. สหชาตัตถิปัจจัย ๑๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

๑๘. มัคคปัจจัย

มัคค คือ ธรรมที่เป็นประดุจหนทางที่นำไปสู่ ทุคคติ สุคติ และนิพพาน จัดเป็น สัมปาปกเหตุ คือเหตุที่ทำให้ถึง เปรียบเหมือนยวดยานพาหนะที่สามารถ พาผู้โดยสารให้ถึงจุดหมายนั้น ๆ ได้ ตามควรแก่ฐานะของยวดยานนั้น ๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่อุปมาดังหนทางที่นำไปสู่หรือเป็นเหตุให้ถึง ทุคคติ สุคติ และนิพพาน ที่เรียกว่ามัคคนี้ มี ๑๒ ประการ แต่ว่ามีองค์ธรรมเพียง ๙ จึงเรียกว่า องค์มัคค ๙ ได้แก่ เจตสิก ๙ ดวง คือ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฏฐิ มัคค ๑๒ มีองค์มัคค ๙ นี้ได้กล่าวโดยละเอียดพอ ประมาณ ในปริจเฉทที่ ๗ ตอนมิสสกสังคหะ เพื่อเป็นการทบทวน ขอให้กลับไปดู ที่นั่นอีกด้วย

องค์มัคค ๙ นี่แหละเป็นปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุปการะ สหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนนั้น ๒ ประการ คือ

ก. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยว เนื่องกับตน ให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ อย่างนี้เรียกว่า กิจธรรมดา

ข. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่ ทุคคติ สุคติ และ นิพพานได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็น กิจพิเศษ เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิ เท่านั้น

อนึ่ง องค์มัคค ๙ นี้ ต่างก็ทำหน้าที่เป็นปัจจัยและปัจจยุบบันน ซึ่งกันและกัน เอง ก็ได้เหมือนกัน

สรุปความว่า มัคคปัจจัยนี้ คือองค์มัคค ๙ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่จิตและ เจตสิกที่เกิดพร้อมกับตน พร้อมด้วยจิตตชรูปและปฏิสนธิกัมมชรูป ให้เกิดขึ้นและ ให้ตั้งอยู่ได้ ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัยที่ทำหน้าที่ในกิจพิเศษอย่างหนึ่ง และทำหน้าที่ ในกิจธรรมดาอย่างหนึ่ง

๑. มัคค หมายถึง องค์มัคค ๙

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ องค์มัคค ๙ ที่ในสเหตุกจิต ๗๑

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ สเหตุกจิต ๗๑ เจตสิก ๕๒ สเหตุกจิตตช รูป และสเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘, อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) อเหตุกจิตตชรูป
อเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป พาหิรรูป อาหารชรูป อุตุชรูป อสัญญสัตตกัมมชรูป ปวัตติกัมมชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร