วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ความหมายโดยย่อ มัคคปัจจัยนี้ มี ๗ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคค ปัจจัย กุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่กุสลจิต ๒๑ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็น มัคคปัจจัย กุสลจิตตชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นกุสล ๘ (เว้นทิฏฐิ) เป็นมัคคปัจจัยกุสลจิต ๒๑ ด้วย กุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ คือ วิตก วิริยะ เอกัคคตา และทิฏฐิ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลสัมปยุตตขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิตตชรูปเป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย องค์มัคคที่เป็นอกุสล ๔ เป็นมัคคปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย อกุสลจิตตชรูปด้วย เป็นมัคคปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ องค์มัคค ๙ ที่เป็นอพยากตะใน สเหตุกวิบากจิต ๒๑, สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ในปวัตติกาล และในปฏิสนธิกาลเป็น มัคคปัจจัย สเหตุกวิบากจิต ๒๑ สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ สเหตุกวิบากจิตตชรูป สเหตุกกิริยาจิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป เป็นมัคคปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๑๓ ปัจจัย คือ

๑. มัคคปัจจัย ๒. เหตุปัจจัย ๓. สหชาตาธิปติปัจจัย

๔. สหชาตปัจจัย ๕. อัญญมัญญปัจจัย ๖. สหชาตนิสสยปัจจัย

๗. วิปากปัจจัย ๘. สหชาตินทริยปัจจัย ๙. ฌานปัจจัย

๑๐. สัมปยุตตปัจจัย ๑๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๑๒. สหชาตัตถิปัจจัย

๑๓. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

๑. สัมปยุตต หมายความว่าการประกอบกันที่พร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ เอกวัตถุกะ ธรรมที่ประกอบกันพร้อม ด้วยลักษณะ ๔ ประการที่กล่าวนี้ ก็มีแต่จิตกับเจตสิกเท่านั้น นอกจากนี้ไม่มีอีกเลย

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ แล้ว แต่จะยกขันธ์ใด จะเป็นขันธ์เดียว ๒ ขันธ์ หรือ ๓ ขันธ์ ก็ตาม เป็นปัจจัยขันธ์นั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจัย

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ นามขันธ์ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ เฉพาะขันธ์ที่เหลือ จะเป็น ๓ ขันธ์, ๒ ขันธ์ หรือขันธ์เดียว ตามลำดับนั้น เป็น สัมปยุตตปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ สัมปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็น สัมปยุตตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือนั้นก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๓๖ กิริยานามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ในปวัตติกาลและ ในปฏิสนธิกาลนั้น ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นสัมปยุตตปัจจัย ขันธ์ที่เหลือในจิตดวงเดียว กันนั้น ก็เป็นสัมปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. สัมปยุตตปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย

๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. วิปากปัจจัย ๖. สหชาตัตถิปัจจัย

๗. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

คำว่า วิปปยุตตในบทนี้ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า สัมปยุตตในบท ก่อน กล่าวคือ วิปปยุตต มีความหมายว่า ไม่ประกอบกันพร้อมด้วยลักษณะ ๔ ประการ อันหมายถึงนามธรรมกับรูปธรรมโดยตรง นามธรรมกับรูปธรรมอาจเกิด ร่วมกันได้ เกิดพร้อมกันก็ได้ แต่อย่างไรเสียก็ไม่ครบลักษณะ ๔ ประการนั้นได้ เมื่อไม่ครบลักษณะ ๔ ประการนั้นก็เป็นสัมปยุตตไม่ได้ จึงเป็นวิปปยุตตไป และ วิปปยุตต ก็มี ๒ นัย คือ

ก. เป็นวิปปยุตตโดยความไม่มี เช่น ทิฏฐิวิปปยุตต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วย ทิฏฐิ จิตที่ปราศจากทิฏฐิ จิตที่ไม่มีทิฏฐิ

ญาณวิปปยุตต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา จิตที่ปราศจากปัญญา จิตที่ ไม่มีปัญญา

อย่างนี้เรียกว่า อภาววิปปยุตต

ข. เป็นวิปปยุตตโดยความไม่ปนกัน ไม่ระคนกัน อย่างนี้เรียกว่า วิสังสัฏฐวิปปยุตต ได้แก่คำว่า วิปปยุตต ในวิปปยุตตปัจจัยนี้

สรุปรวมความว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ นามธรรมและรูปธรรมเกิดร่วมกันช่วย อุปการะกันตามสมควรโดยอำนาจแห่ง วิปปยุตตปัจจัย

วิปปยุตตปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๔ คือ

ก. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๒ ประการ คือ ปัจจัยธรรมเกิดร่วม พร้อมกันกับปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง แต่ว่าไม่เป็นสัมปยุตต ซึ่งกันและกันอีกอย่างหนึ่ง

ข. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๓ ประการ คือ ปัจจัยธรรมนั้น เป็นวัตถุอย่างหนึ่ง ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อนอย่างหนึ่ง และปัจจัยธรรมนั้นเป็นวิปป ยุตตอีกอย่างหนึ่ง

ค. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๔ ประการ คือ ปัจจัย ธรรมนั้นเป็นวัตถุ, ปัจจัยธรรมนั้นเป็นอารมณ์, ปัจจัยธรรมนั้นเกิดก่อน และปัจจัย ธรรมนั้นเป็นวิปปยุตต

ง. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะ ๒ ประการ คือ ปัจจัยธรรมนั้นเป็น นามธรรมที่เกิดทีหลังปัจจยุบบันนธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นวิปปยุตตอีกอย่างหนึ่ง

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า วิปปยุตตปัจจัยนี้ จำแนกออกเป็น ๓ โดยรวมข้อ ข. และข้อ ค. เข้าเป็น ๑ เรียกว่า ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ไม่แยกเป็น วัตถุปุเรชาต และวัตถารัมมณปุเรชาต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๑. สหชาตวิปปยุตต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน แต่ไม่ประกอบอย่างระคน ปนกัน

๒. ประเภท นามรูปเป็นปัจจัย นามรูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นปฏิสนธิกาลและปวัตติ กาล คือ จิต ๗๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔, ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และจุติจิตของพระ อรหันต์) เจตสิก ๕๒ ในปัญจโวการภูมิ และปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๕ เจตสิก ๓๕ และ ปฏิสนธิหทยวัตถุ (ที่อุปการะแก่กันและกันได้ เฉพาะในปฏิสนธิกาล)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิตตชรูป ปฏิสนธิกัมมชรูป และปฏิสนธิ หทยวัตถุ ที่อุปการะแก่กันและกันกับปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ , ปัญจโวการ ปฏิสนธินามขันธ์ ๔ ที่อุปการะแก่กันและกันกับปฏิสนธิหทยวัตถุ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ (เว้นปัญจโวการปฏิสนธิ นามขันธ์ ๔), พาหิรรูป,อาหารชรูป,อุตุชรูป,อสัญญสัตตกัมมชรูป,ปวัตติกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔ ขันธ์เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย กุสลจิตตช รูป ที่เกิดพร้อมกับกุสลนามขันธ์นั้น เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔ ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย อกุสลจิตตชรูปที่เกิดพร้อมกับอกุสลนามขันธ์นั้น เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ วิบากจิต ๒๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔, ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ จุติจิตของพระอรหันต์), กิริยา นามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กิริยาจิต ๒๐, เจตสิก ๓๘, ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง หรือทั้ง ๔ ขันธ์ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย วิบากจิตตชรูป, กิริยาจิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมช รูป, ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน และ

ปฏิสนธิหทยวัตถุ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจัย ปัญจโวการปฏิสนธินามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๒. สหชาตปัจจัย ๓. อัญญมัญญปัจจัย

๔. สหชาตนิสสยปัจจัย ๕. วิปากปัจจัย ๖. สหชาตัตถิปัจจัย

๗. สหชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอน ในปัญจโวการภูมิ ที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชน จิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้น โสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวม จิต ๔๖ ดวง ทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจโวการ
ปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอน วัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีกว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑) มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวงนี้ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูป กิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และรูปทั้งหมด ซึ่งเกิด ขึ้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือ จิต ๔๒ ดวงตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรม จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔),กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน เช่น วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุเป็นต้นเป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธ สมาบัตินั้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกียวิบากจิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตต ปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็น
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุ ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็น
วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็น วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้ง หมด เหมือนกับ
วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถารัมมณปุเรชาต หมายความว่า หทยวัตถุที่เกิดก่อน ซึ่งเป็นอารมณ์ ด้วยนั้นเป็นที่ตั้งที่อาศัยแก่จิตที่เกิดทีหลัง

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม ซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้นได้แก่ อารมณ์นั่นเอง

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง ฐีติขณะ ยังไม่ถึง ภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้งชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะนั้น คือ มโนทวารา วัชชนจิต ๑, กามชวนจิต ๒๙, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และอภิญญาจิต ๒ (เฉพาะอิทธิ วิธอภิญญาเท่านั้น) ขณะที่เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙ ในเวลาที่ไม่ได้เอาหทยวัตถุเป็นอารมณ์ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับ ถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นปัจจัย จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะ (เว้นกุสลชวนะ และอกุสลชวนะ) อันได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑, หสิตุปปาทจิต ๑, มหากิริยา จิต ๘, ตทาลัมพนจิต ๑๑ และ อิทธิวิธอภิญญากิริยาจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นปัจจัย มรณาสันนกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ มหากุสลจิต ๘ และอิทธิวิธอภิญญากุสลจิต ๑ เป็นปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอย หลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะเป็นปัจจัย มรณาสันนอกุสลชวนจิต ๕ ขณะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

๕. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตปัจจัย

๗. วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับปัจฉาชาตปัจจัยทุกประการ

เมื่อกล่าวมาถึงปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ ก็จะเห็นได้ว่า คำว่า ชาตะมีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ นี้ อันคำว่า ชาตะในปัจจัย ๒๔ นี้ มีความหมายถึง ๓ อย่าง คือ

สหชาตะ ได้แก่ นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ ภังคะ

ปุเรชาต ได้แก่ รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ นาม ที่เกิดอยู่ในอุปาทะ และฐีติขณะ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย อุปการะแก่ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็น อุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิ จิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ รูป ที่เป็น ฐีติปัตตะ ที่เกิดพร้อมกับขณะ ทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น (อุปาทขณะของรูป), พาหิรรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่
กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาต วิปปยุตตปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย เอกชกาย ได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป, ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

๒๑. อัตถิปัจจัย

อัตถิ แปลว่า มีอยู่ ต้องเป็นธรรมที่มีอยู่ คือยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังค ยังไม่ทันได้ดับไปทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม ความอุปการะช่วย เหลือกันด้วยความที่มีอยู่นี่แหละ เรียกว่า อัตถิปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมที่มีอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ ก็ได้แก่ จิต เจตสิก และรูป ส่วน นิพพานไม่เกี่ยว เพราะนิพพาน
ไม่มีการเกิดดับ จึงไม่มีสภาพที่เรียกว่า อุปาทะ ฐีติ ภังคะ นั้น

ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ นี้ การปรากฏแห่งอัตถิปัจจัย ย่อมปรากฏใน ฐีติขณะมากกว่าและชัดกว่าในอุปาทะขณะและภังคะขณะ

ในอำนาจหน้าที่ทั้ง ๒ คือ ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตตินั้น แม้ว่าอัตถิปัจจัย จะมีทั้ง ๒ อย่าง แต่อำนาจในการอุปการะให้ปัจจยุบบันนธรรมตั้งอยู่ได้ คือ อุป ถัมภกสัตตินั้นสำคัญมากกว่าการอุปการะให้เกิดขึ้น (ชนกสัตติ)
ฉะนั้น อุปถัมภก สัตติจึงเป็นประธานในอัตถิปัจจัยนี้

อัตถิปัจจัยนี้ จำแนกออกได้เป็น ๖ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตัตถิปัจจัย

๒. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย

๓. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย

๔. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

๕. อาหารัตถิปัจจัย

๖. อินทริยัตถิปัจจัย

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อัตถิปัจจัยนี้จำแนกออกเพียง ๕ ปัจจัย คือรวมข้อ ๒ อารัมมณปุเรชาต และข้อ ๓วัตถุปุเรชาต เข้าด้วยกันเป็นข้อเดียว เรียกว่า ปุเรชาต ไม่แยกเป็นอารมณ์ หรือวัตถุ

สหชาตัตถิปัจจัย

สหชาตัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ สหชาตปัจจัยทุกประการ

๑. สหชาต หมายความว่า เกิดพร้อมกัน

๒. ประเภท รูปนามเป็นปัจจัย รูปนามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นสหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุบ บันนธรรม และช่วยอุดหนุนปัจจยุบบันนธรรมนั้นด้วย

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังอยู่ในระหว่าง อุปาทะ ฐีติ ภังคะ คือ ยังไม่ทันดับไป

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ทั้งในปฏิสนธิกาล และในปวัตติกาล มหาภูตรูปที่เกิดด้วย
สมุฏฐานทั้ง ๔ ทั้งในปฏิสนธิกาล และใน ปวัตติกาล, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ ดวง เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒, มหาภูตรูปกับอุปา ทายรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔, หทยวัตถุกับปัญจโวการปฏิสนธิ ๑๕ เจตสิก ๓๕

องค์ธรรมของปัจจนิก ไม่มี เพราะปัจจัยนี้ไม่มีธรรมที่ไม่ใช่ผล

๗. ความหมายโดยย่อ สหชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๙ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนามขันธ์ ๔ แล้วแต่จะยก เอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตัตถิปัจจัย กุสลจิต ๒๑ คือ กุสลนาม ขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย จิตตช รูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย กุสลจิต ๒๑ เป็นสหชา ตัตถิปัจจัย กุสลจิต ๒๑ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจ ยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ แล้ว แต่จะยกเอาขันธ์ใดว่าเป็นปัจจัย ขันธ์นั้นก็เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๕) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย จิตต ชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้น ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๖) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสลด้วยแก่อพยากตะด้วย อกุสลจิต ๑๒ เป็นสห ชาตัตถิปัจจัย อกุสลจิต ๑๒ ด้วย จิตตชรูปที่เกิดด้วยอกุสลจิตนั้นด้วยเป็นสหชา ตัตถิปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ คือ วิบากนามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย วิบากจิต ๓๖ คือ วิบาก นามขันธ์ ๔, กิริยาจิต ๒๐ คือ กิริยานามขันธ์ ๔, วิบากจิตตชรูป
กิริยาจิตตชรูป ตามสมควร เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ แล้วแต่จะยกเอารูปใดว่าเป็นสหชาตัตถิ ปัจจัย รูปที่เหลือ ก็เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

มหาภูตรูปที่เกิดด้วยสมุฏฐานทั้ง ๔ เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อุปาทายรูปที่อาศัย เกิดกับมหาภูตรูปนั้น เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


(๘) กุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลจิต ๒๑ คือ กุสล นามขันธ์ ๔ ด้วย และมหาภูตรูปที่เกิดจากกุสลจิตนั้นด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจัย กุสลจิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๙) อกุสลด้วยอพยากตะด้วยเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลจิต ๑๒ คือ อกุสลนามขันธ์ ๔ ด้วย
อกุสลจิตตชมหาภูตรูปด้วย เป็นสหชาตัตถิปัจจัย อกุสล จิตตชมหาภูตรูปที่เหลือ และอกุสลจิตตชอุปาทายรูป เป็นสหชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. สหชาตปัจจัย ๒. อัญญมัญญปัจจัย ๓. สหชาตนิสสยปัจจัย

๔. วิปากปัจจัย ๕. สัมปยุตตปัจจัย ๖. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. สหชาตัตถิปัจจัย ๘. สหชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับอารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. อารัมมณปุเรชาต หมายความว่า อารมณ์เฉพาะที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น และเกิดก่อนปัจจยุบบันนธรรมด้วย

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอารัมมณชาติ หมายความว่า ปัจจัยนั้นได้แก่ อารมณ์ และในที่ นี้หมายเฉพาะอารมณ์ที่เป็นนิปผันนรูปเท่านั้น

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า แม้อารมณ์นั้นจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง คงมีอยู่ ยังไม่ทันดับไป คือยังอยู่ในฐีติขณะ จึงจะเป็นปัจจัยได้

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่เป็นนิปผันนรูป ๑๘ และยังอยู่ ในระหว่างฐีติขณะ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กามจิต ๕๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ที่เกิดจากปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๗๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓) ที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ ๖ ที่เป็นปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ และรูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
กามวิบากจิต ๒๓ กามกิริยาจิต ๑๑ กิริยา อภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรตี) เป็น
อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มโนธาตุ ๓ เป็นอารัมมณ ปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มโนทวาราวัชชนจิต ๑, กามกิริยาชวนะ ๙, ตทาลัมพนะ ๑๑ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระอรหันต์พิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มหากิริยาจิต ๘ ที่พิจารณารูปเหล่านี้ เป็น อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระอรหันต์เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วยทิพพโสต รูปและเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย กิริยาอภิญญาจิตของพระอรหันต์ ที่เห็นรูปนั้น ที่ได้ ยินเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
มหากุสล ๘, กุสลอภิญญา ๑ เจตสิก ๓๖ (เว้น อัปปมัญญา) เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลายพิจารณา จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ หทยวัตถุ โดยความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจุบันเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มหากุสลจิต ๘ ที่พิจารณารูป เหล่านี้ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

พระเสกขบุคคลและปุถุชนทั้งหลาย เห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ได้ยินเสียงด้วย ทิพพโสต รูปและเสียงนั้นเป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย กุสลอภิญญาจิตที่เห็นรูป นั้น ที่ได้ยินเสียงนั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล อารมณ์ ๖ คือ ปัจจุบันนิปผันนรูป ๑๘ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิ ปัจจยุบบันน เช่น

ยินดีเพลิดเพลินต่อ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และหทยวัตถุ เมื่อนึกถึงรูปเหล่านี้แล้วมี ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และโทมนัสเกิดขึ้น รูปเหล่านี้ที่เป็นปัจจยุบบันน เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ราคะ ทิฏฐิ เป็นต้น ที่เกิดขึ้น อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ นั้น เป็นอารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย

๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ๖. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย

วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือน วัตถุปุเรชาตปัจจัยทุกประการ

๑. วัตถุปุเรชาต หมายความว่า วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นวัตถุปุเรชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมซึ่งช่วยอุปการะแก่ ปัจจยุบบันนธรรมนั้น โดยการที่เป็นที่ตั้งด้วย และโดยการที่เกิดก่อนด้วย

๔. กาล เป็นกาลปัจจุบัน หมายความว่า แม้ปัจจัยธรรมจะเกิดก่อน แต่ก็ยัง ไม่ทันดับไป คือ ยังอยู่ในระหว่างฐีติขณะ ยังไม่ทันถึงภังคขณะ

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ วัตถุ ๖ คือ จักขุวัตถุ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ และหทยวัตถุ ที่เกิดก่อนปัจจยุบบันน

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๕ (เว้นอรูปวิบาก ๔) ทั้งที่แน่นอน และไม่แน่นอนในปัญจโวการภูมิที่เป็นปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวารา วัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑)รวมจิต ๔๖ ดวงทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอน ปัญจโวการ ปฏิสนธิจิต ๑๕ และรูปทั้งหมด

ที่ว่าทั้งที่แน่นอนและไม่แน่นอนนั้น เรื่องนี้ได้แสดงไว้ในปริจเฉทที่ ๓ ตอนวัตถุสังคหะแล้ว แต่เพื่อทบทวนความจำ จึงขอกล่าวซ้ำในที่นี้อีก ว่า

(๑) ปัจจยุบบันนธรรมที่แน่นอน ได้แก่ โทสมูลจิต ๒, อเหตุกจิต ๑๗ (เว้น มโนทวาราวัชชนจิต ๑), มหาวิบาก ๘, รูปาวจรจิต ๑๕ และโสดาปัตติมัคคจิต ๑ รวมจิต ๔๓ ดวงนี้ ต้องอาศัยวัตถุเกิดอย่างแน่นอน

(๒) ปัจจยุบบันนธรรมที่ไม่แน่นอน ได้แก่ โลภมูลจิต ๘, โมหมูลจิต ๒, มโนทวาราวัชชนจิต ๑, มหากุสลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๘, อรูปกุสลจิต ๔, อรูปกิริยาจิต ๔ และโลกุตตรจิต ๗ (เว้นโสดาปัตติมัคคจิต ๑) รวมจิต ๔๒ ดวงนี้ ถ้าเกิดในปัญจโวการภูมิ ก็ต้องอาศัยวัตถุเกิด ถ้าเกิดในจตุโวการภูมิไม่ต้องอาศัยวัตถุ ก็เกิดได้

(๓) ปัจจนิกธรรมที่แน่นอน ได้แก่ อรูปวิบากจิต ๔ และรูปทั้งหมดซึ่งเกิด ขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยวัตถุ จึงเป็นปัจจนิกธรรมที่แน่นอน

(๔) ปัจจนิกธรรมที่ไม่แน่นอน ก็คือจิต ๔๒ ดวง ตามข้อ (๒) นั่นเอง ซึ่งจิต ๔๒ ดวงนี้เกิดในปัญจโวการภูมิ ก็เป็นปัจจยุบบันนธรรม ถ้าเกิดในจตุโวการ ภูมิ ก็เป็นปัจจนิกธรรมไป จึงว่าไม่แน่นอน

๗. ความหมายโดยย่อ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ คือ

(๑) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วัตถุ ๖ ที่เกิดก่อน เป็นวัตถุปุเรชาตัต ถิปัจจัย วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔), กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังวัตถุ ๖ นั้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน เช่น

วัตถุ ๕ มีจักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย วิบากจิต ๒๒ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔) เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดอยู่ก่อนเวลาที่จะออกจากนิโรธสมาบัตินั้นเป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย อนาคามิผลจิต ๑ อรหัตตผลจิต ๑ ที่เกิดขึ้นในขณะออกจากนิโรธสมาบัติ นั้นเป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน วัตถุ ๖ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็นวัตถุ ปุเรชาตัตถิปัจจัย จิตที่เกิดพร้อมกับวัตถุ ๖ ที่เหลือ ๑๖ ขณะ อันได้แก่ โลกียวิบาก จิต ๒๘ (เว้นอรูปวิบาก ๔) กิริยาจิต ๒๐ เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย กุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ กุสลจิต ๒๑ ที่เกิดทีหลัง เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
มรณาสันนกุสลชวนะ อันได้แก่ โลกียกุสลจิต ๑๗ เป็นวัตถุ ปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ มี อาวัชชนจิต เป็นต้น เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย อกุสลนามขันธ์ ๔ อันได้แก่ อกุสล จิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเรชาตัตถิปัจจยุบบันน

หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิตไป ๑๗ ขณะ เป็น วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
มรณาสันนอกุสลชวนะ อันได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เป็นวัตถุปุเร ชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๘ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย

๓. อารัมมณาธิปติปัจจัย ๔. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

๕. วัตถุปุเรชาตปัจจัย ๖. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

๗. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๘. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัยมี คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ ปัจฉาชาตปัจจัย ทุกประการ

คำว่า ชาตะ มีอยู่ ๓ ปัจจัย คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะนี้ อัน คำว่า ชาตะในปัจจัย ๒๔นี้มีความหมายถึง ๓ อย่างคือ

สหชาตะ ได้แก่ นาม รูป ที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ ฐีติ ภังคะ

ปุเรชาตะ ได้แก่ รูป ที่เกิดอยู่ในฐีติขณะเท่านั้น

ปัจฉาชาตะ ได้แก่ นามที่เกิดอยู่ใน อุปาทะ และฐีติขณะ

๑. ปัจฉาชาตะ หมายความถึงนามที่เกิดทีหลัง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดก่อน

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นปัจฉาชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลัง แล้ว ช่วยอุปการะแก่
ปัจจยุบบันนธรรมที่เกิดก่อน

๔. กาล เป็นปัจจุบันกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นยังไม่ดับไป

๕. สัตติ มีอำนาจเป็นอุปถัมภกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๕(เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต) เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง มีปฐมภวังคจิต เป็นต้น ที่เกิดอยู่ในปัญจโวการภูมิ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ รูป ที่เป็นฐีติปัตตะ ที่เกิดพร้อมกับขณะทั้ง ๓ ของจิตที่เกิดก่อน ๆ มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, รูปขณะที่เกิดขึ้น(อุปาท ขณะของรูป), พาหิรรูป,อสัญญสัตตกัมมชรูป

๗. ความหมายโดยย่อ ปัจฉาชาตัตถิปัจจัยนี้ มี ๓ วาระ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ กุสลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลังในปัญจโวการภูมิ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย ได้แก่ กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ในรูปภูมิ, จตุชกาย ได้แก่ กัมมชรูป
จิตตชรูป อุตุชรูป อาหารชรูป ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมา พร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๒) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลนามขันธ์ ๔ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย รูป ๒๘ คือ ติชกาย จตุชกาย ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากนามขันธ์ ๔ ได้แก่ วิบากจิต ๓๒ (เว้นอรูปวิบาก ๔ และปฏิสนธิจิต), กิริยานามขันธ์ ๔ ได้แก่ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ ที่เกิดทีหลัง เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจัย เอกชกายได้แก่ ปฏิสนธิกัมมชรูป ทวิชกาย ได้แก่ กัมมชรูป อุตุชรูป, ติชกาย ในปัญจโวการ รูปภูมิ จตุชกาย ในกามภูมิ ที่กำลังถึงฐีติขณะของรูป ซึ่งเกิดมาพร้อมกับจิตดวงก่อน ๆ ในปฏิสนธิ จิต เป็นต้น เป็นปัจฉาชาตัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๔ ปัจจัย คือ

๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย ๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาหารัตถิปัจจัย

อาหารัตถิปัจจัยนี้ มีคำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมดเหมือนกับ รูปอาหารปัจจัย ทุกประการ

๑. รูปอาหาร หมายความว่า อาหารที่เป็นรูปธรรม คือ กพฬีการาหาร

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอาหารชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ อาหาร นั่นเอง

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และอุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ พหิทธโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ กัมมชโอชา จิตตชโอชา อุตุชโอชา อาหารชโอชา ที่อยู่ภายใน (อัชฌัตตสันตานะ) และอุตุชโอชาที่อยู่ภายนอก (พหิทธสันตานะ) คือโอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ

องค์ธรรมของปัจจยุบบันนได้แก่ อาหารสมุฏฐานิกรูป คือรูปที่เกิดจากอาหาร

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จตุสมุฏฐานิกรูปที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับ ปัจจัยธรรม และที่ตั้งอยู่ใน
กลาปอื่น ๆ (เว้นโอชาที่อยู่ในกลาปอันเดียวกัน)

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, ปฏิสนธิ กัมมชรูป, พาหิรรูป, อุตุชรูป, อสัญญสัตตกัมมชรูป, ปวัตติกัมมชรูป

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒ และพาหิรรูป

๗. ความหมายโดยย่อ รูปอาหารปัจจัยมีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็นปัจจัย แก่อพยากตะ กพฬีการาหาร บ้างก็เรียกกวฬิงการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ หรืออีกนัยหนึ่งได้แก่โอชาที่อยู่ทั้งภายในและภายนอก เป็นรูปอาหารปัจจัย จตุสมุฏฐานิกรูป คือ รูปที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ที่ตั้งอยู่ในกลาปอันเดียวกันกับปัจจัยธรรม และตั้งอยู่ในกลาปอื่น ๆ เป็นอาหารัตถิปัจจยุบบันน

ขยายความ โอชาที่เป็นปัจจัยธรรม เมื่อช่วยอุปการะแก่อาหารชรูปคือ อาหาร ชโอชานั้น เป็นไปโดยอำนาจชนกสัตติ แต่ถ้าเป็นการช่วยอุปการะแก่ ติชรูปที่เหลือ นอกนั้นคือ กัมมชโอชา จิตตชโอชา และอุตุชโอชาแล้ว เป็นไปโดยอำนาจอุปถัมภก สัตติ

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย ๒. อาหารัตถิปัจจัย ๓. อาหารอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อินทริยัตถิปัจจัย

อินทริยัตถิปัจจัยนี้ คำอธิบายตลอดจนองค์ธรรมต่าง ๆ ทั้งหมด เหมือนกับ รูปชีวิตินทริยปัจจัยทุกประการ

๑. รูปชีวิตินทรีย หมายถึง ชีวิตรูป

๒. ประเภท รูปเป็นปัจจัย รูปเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ ชีวิตรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรักษารูปธรรมที่เกิดขึ้นด้วยกัน

๔. กาล เป็นปัจจุบัน

๕. สัตติ มีทั้ง ชนกสัตติ และ อุปถัมภกสัตติ

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ ชีวิตรูป ทั้งในปฏิสนธิกาลและในปวัตติกาล

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูป หรือ ๘ รูป ซึ่งอยู่ ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ จิต ๘๙, เจตสิก ๕๒, จิตตชรูป, พาหิรรูป, อาหารชรูป, อุตุชรูป และชีวิตรูป (ที่เป็นปัจจัย)

๗. ความหมายโดยย่อ อินทริยัตถิปัจจัยนี้มีวาระเดียว คือ อพยากตะเป็น ปัจจัยแก่อพยากตะ ได้แก่ ชีวิตรูปทั้งหลาย เป็นอินทริยัตถิปัจจัย กัมมชรูปที่เหลือ ๙ รูปหรือ ๘ รูปซึ่งอยู่ในกลาปเดียวกับชีวิตรูปนั้น ๆ เป็นอินทริยัตถิปัจจยุบบันน เช่น

จักขุทสกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ และชีวิตรูป ๑ รวม ๑๐ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว
อวินิพโภครูป ๘ จักขุปสาทรูป ๑ รวม ๙ รูป ที่เหลือนี้ ก็เป็นปัจจยุบบันน

โดยทำนองเดียวกัน ชีวิตนวกกลาป มีอวินิพโภครูป ๘ และชีวิตรูป ๑ รวม ๙ รูป ชีวิตรูป ๑ เป็นปัจจัยเสียแล้ว อวินิพโภครูป ๘ ที่เหลือ ก็เป็นปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทริยปัจจัย ๒. รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย

๓. รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๒. นัตถิปัจจัย

นัตถิ แปลว่า ไม่มี ในที่นี้หมายความว่า ปัจจัยธรรมอันได้แก่ จิตและเจตสิก นั้นไม่มีแล้ว ดับไปแล้ว จึงจะเป็นโอกาสให้จิตเจตสิกดวงต่อมาเกิดขึ้นได้ ถ้าจิต เจตสิกดวงที่เกิดอยู่ก่อนยังไม่ดับไป จิตเจตสิกดวงต่อมาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้

ความดับไปหรือความไม่มีของจิตเจตสิกที่เกิดก่อนนี่แหละเรียกว่า นัตถิปัจจัย จิตเจตสิกดวงที่เกิดต่อมานั้นเรียกว่า นัตถิปัจจยุบบันน

นัตถิปัจจัยนี้ นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน และเหมือนกับ อนันตร ปัจจัยทุกประการ

๑. อนันตร หมายถึง ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้
ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ นัตถิปัจจัยนี้ เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึก ถึงวิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่าง ดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นนัตถิปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง(เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นนัตถิปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นนัตถิปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นนัตถิปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น มหากุสล ๘ เป็นนัตถิปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มหัคตกุสล ๙ เป็นนัตถิปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นนัตถิปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นนัตถิปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน(เว้นดวงสุดท้าย) เป็นนัตถิปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง(เว้นดวงแรก) เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นนัตถิ ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ที่เกิดก่อน ๆ เป็นนัตถิปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่ เกิดทีหลังนั้น เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นนัตถิปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นนัตถิปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นนัตถิปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย

๔. อาเสวนปัจจัย ๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๖. นัตถิปัจจัย

๗. วิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๓. วิคตปัจจัย

วิคต แปลว่า ปราศจากไป หมายถึงดับไปแล้วนั่นเอง ปัจจัยธรรมอันได้แก่ จิตเจตสิกนั้นปราศจากไปแล้ว ดับไปแล้ว ไม่มีแล้ว ปัจจยุบบันนธรรมจึงจะเกิดขึ้น ได้ หรือจะกล่าวถึงผลก่อน ก็ว่า ปัจจยุบบันนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปัจจัยธรรม นั้นปราศจากไปแล้ว ถ้าหากว่าปัจจัยธรรมยังไม่ปราศจากไป และปัจจยุบบันนธรรมก็เกิดขึ้น ดังนี้ไม่ชื่อว่า วิคต และเป็นวิคตปัจจัยไม่ได้ อุปมาเหมือน ความสว่างกับความมืด ถ้าแสงสว่างยังมีอยู่ ยังปรากฏอยู่ ความมืดก็จะมีอยู่ไม่ได้ ต่อเมื่อใดแสงสว่างปราศจากไปแล้วไม่มีแล้ว เมื่อนั้นจึง ปรากฏเกิดความมืดขึ้นมาได้ หรือว่าพระอาทิตย์ปราศจากไปแล้วพระจันทร์จึง ปรากฏได้

วิคตปัจจัยนี้ เหมือนกับนัตถิปัจจัยทุกประการ และด้วยเหตุที่นัตถิปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย ดังนั้น วิคตปัจจัยจึงเหมือนอนันตรปัจจัยนั่นเอง

๑. อนันตร หมายถึงว่า ไม่มีระหว่างคั่น

๒. ประเภท นามเป็นปัจจัย นามเป็นปัจจยุบบันน

๓. ชาติ เป็นอนันตรชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจ ยุบบันนธรรมเกิด โดยไม่มีระหว่างคั่น

๔. กาล เป็นอดีตกาล หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นต้องดับไปเสียก่อน จึง จะช่วยอุปการะให้
ปัจจยุบบันนธรรมเกิดได้

๕. สัตติ เป็นชนกสัตติ แต่อย่างเดียว

๖. องค์ธรรมของปัจจัย ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดก่อน (เว้นจุติจิต ของพระอรหันต์)

องค์ธรรมของปัจจยุบบันน ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ที่เกิดทีหลัง รวมทั้ง จุติจิตของพระอรหันต์ด้วย

องค์ธรรมของปัจจนิก ได้แก่ รูปทั้งหมด

๗. ความหมายโดยย่อ วิคตปัจจัยนี้เกี่ยวแก่วิถีจิตเป็นอย่างมาก ถ้าได้นึกถึง วิถีจิตมาพิจารณาร่วมพร้อมกับปัจจัยนี้ด้วย ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ปัจจัยนี้มี ๗ วาระ คือ

(๑) กุสลเป็นปัจจัยแก่กุสล โลกียกุสลชวนะ ๑๗ ดวงที่เกิดก่อน (เว้นชวนะ ดวงสุดท้าย) เป็นวิคตปัจจัย กุสลชวนะที่เกิดทีหลัง (เว้นชวนะดวงแรก) อันได้แก่ กุสลชวนะ ๒๑ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น

มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจัย มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นวิคตปัจจัย มัคคจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหากุสล ๔ เป็นวิคตปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจัย มหัคคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๒) กุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ กุสลชวนะ ๒๑ ดวงสุดท้ายเป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ผลจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน มีรายละเอียด เช่น มหากุสล ๘ เป็นวิคตปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑ ภวังคจิต ๑๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มหัคตกุสล ๙ เป็นวิคตปัจจัย ติเหตุกภวังคจิต ๑๓ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

มัคคจิต ๔ เป็นวิคตปัจจัย ผลจิต ๔ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

อนุโลมญาณ ๓ เป็นวิคตปัจจัย ผลสมาบัติ ๓ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

เนวสัญญาฯกุสล ๑ เป็นวิคตปัจจัย อนาคามิผล ๑ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๓) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อกุสล อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดก่อน (เว้นดวงสุด ท้าย) เป็นวิคตปัจจัย อกุสลชวนะ ๑๒ ที่เกิดทีหลัง (เว้นดวงแรก) เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๔) อกุสลเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ อกุสลชวนะ ๑๒ ดวงสุดท้าย เป็นวิคต ปัจจัย ตทาลัมพนะ ๑๑, มหัคคตวิบาก ๙, ภวังคจิต ๑๙ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๕) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อพยากตะ วิบากจิต ๓๖ (เว้นจุติจิตของพระ อรหันต์) กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดก่อน ๆ เป็นวิคตปัจจัย วิบากจิต ๓๖, กิริยาจิต ๒๐ ที่เกิดทีหลังนั้น เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๖) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่กุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของมหากุสลจิต ๘ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

(๗) อพยากตะเป็นปัจจัยแก่อกุสล มโนทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นวิคตปัจจัย ชวนะดวงที่ ๑ ของอกุสลจิต ๑๒ เป็นวิคตปัจจยุบบันน

๘. ปัจจัยที่เกิดร่วมด้วยกันได้ รวม ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย ๒. สมนันตรปัจจัย ๓. อนันตรรูปนิสสยปัจจัย

๔. อาเสวนปัจจัย ๕. นานักขณิกกัมมปัจจัย ๖. นัตถิปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2013, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔. อวิคตปัจจัย

อวิคต แปลว่า ไม่ปราศจากไป จึงมีความหมายว่า ปัจจัยธรรมซึ่งเป็นสิ่ง อุปการะช่วยเหลือแก่
ปัจจยุบบันนธรรมนั้น ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป คือ ยัง คงมีอยู่ และปัจจยุบบันนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่รับความอุปการะช่วยเหลือนั้น ก็ยังไม่ ปราศจากไป ยังคงมีอยู่เช่นเดียวกัน

ทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุบบันนธรรม ยังไม่ปราศจากไปทั้งคู่ และต่างก็ อุปการะเกื้อหนุนกัน จึงเรียกว่า อวิคตปัจจัย

อวิคตปัจจัย มีคำอธิบายและองค์ธรรมเหมือนกับอัตถิปัจจัยทุกอย่างทุกประการ ดังนั้นอวิคตปัจจัย จึงจำแนกออกได้เป็น ๖ ปัจจัย หรือ ๕ ปัจจัย นัยเดียวกับ อัตถิปัจจัย ผิดกันที่ชื่อนิดเดียว คือเปลี่ยนคำว่า อัตถิ เป็นอวิคต ดังต่อไปนี้

๑. สหชาตอวิคตปัจจัย

๒. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

๓. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

๕. อาหารอวิคตปัจจัย

๖. อินทริยอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 157 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร