วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี ๒ ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

๑๔.

วิปากปัจจัย


วิบากมีอิทธิพลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ

ปัจจยธรรม ได้แก่ วิบากนามขันธ์ทั้งหลาย

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ วิปากนามขันธ์และกัมมชรูปทั้งหลาย

จิตและเจตสิกที่เป็นผลมาจากกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า วิบากนามขันธ์ ก็และการที่เกิดวิบากขันธ์(การได้เสวยสิ่งที่ไม่ดี) นั้นแล พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะด้วยวิปากปัจจัย

จักขุวิญญาณจิต ซึ่งเป็นจิตที่เห็นรูปารมณ์นั้น เป็นประเภทวิปากจิต, ซึ่งนอกจากจิตนี้แล้ว เจตสิกธรรม ๗ ดวง ที่เกิดร่วมกับจิตนั้น ประกอบด้วย
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์และ มนสิการ
ซึ่งในบรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า
-จักขุวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์
-เืวทนา จัดเป็นเวทนาขันธ์
-สัญญา จัดเป็นสัญญาขันธ์
ส่วนเจตสิก ๕ ดวงที่เหลือ ซึ่งมีผัสสะและเจตนา เป็นต้น จัดเป็นสังขารขันธ์ ก็ทั้ง ๔ ขันธ์นี้เรียกว่า "นามขันธ์ ๔" ก็เป็นนามขันธ์ ๔ เหล่านี้และย่อมเกิดขึ้นพร้อมกัน ต่างก็ทำอุปการะโดยความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน สลับเปลี่ยนกันไป ลักษณะเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การทำอุปการะด้วยวิปากปัจจัย"

ที่คนทั้งหลายพูดกันว่า
"ดูด้วยตา" หรือ "เห็น" นั้น ก็คือการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณจิตนั่นเอง

ในการเห็นนั้น อาจเห็นทั้งสิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี หากเห็นสิ่งดี ก็พึงทราบว่าเป็นการเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณจิตที่เป็นผลหรือวิบากแห่งกรรมที่ตนเคยกระทำไว้

การที่คนเราเห็นสิ่งดีหรือไม่ดีนั้น ล้วนมาจากผลมาจากกุศลหรืออกุศลที่ตนเคยสร้างทั้งนั้น แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้ัน ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกันนี้

หากเจอสิ่งที่ดี ก็จงใช้สติพิจารณาว่า "นี่คือการเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้" และหากเจอกับสิ่งที่ไม่ดี(ไม่น่าปราถนา) ก็จงจำไว้ด้วยว่า "นี่คือการเสวยผลแห่งอกุศลกรรม(บาป) ที่ตนเคยทำไว้"

ว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว หากได้ประสบพบเจอกับอารมณ์หรือสิ่งที่ดี ก็จะเกิดความโสมนัสยินดี หากเจอกับอารมณ์หรือสิ่งที่ไมีพึงปรารถนา แ็จะเกิดความโทมนัส เสียใจ และจะส่งผลก่อให้เกิดความคิด, การใช้คำพูด, การกระทำที่เป็นเหตุใหม่ขึ้นมาอีก เรียกว่า เป็นการสร้างกรรมใหม่ขึ้นมาอีก นี่แหละคือ วัฏจักรแห่งการหมุนเวียนภพชาติ จากผลมาเป็นเหตุ จากเหตุมาเป็นผล วนไปเวียนมา ไม่มีที่สิ้นสุด

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเกิดปัญญาญาณเข้าใจเกี่ยวกับวิปากปัจจัยนี้ให้ดี เหมือนกับที่โบราณบัณฑิตท่านได้กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ถูกกระทำ คือ ผู้ชดใช้กรรมเก่า ส่วนคนที่กระทำเล่า คือ ผู้สร้างกรรมใหม่" เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ก็จงอย่าเป็นผู้มีจิตใจร้อนรน คิดทุกครั้งก่อนที่จะพูดและทำ เกิดอะไรขึ้นก็อย่ารีบไปโทษใคร เพราะมันไม่ยุติธรรม จงจำไว้ว่า "มันเป็นโทษของวัฏฏะ" นี่แหละคือชีวิตที่ถูกลิขิตมาด้วยกรรม

.................................................................................

๑๕
อาหารปัจจัย
สารอาหารที่มีอุปการะเกื้อกูลต่อร่างกายและจิตใจ



ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปอาหารหรือที่เรียกว่า ธาตุวิตามิน ซึ่งมีอยู่ในอาหารการกิน และนามอาหาร กล่าวคือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การเจริญเติบโต แข็งแรง ทั้งทางกาย และทางจิตใจ

การได้บริโภคอาหารจึงทำให้ชีิวิตของสรรพสัตว์เจริญเติบโต และมีพละกำลัง สุขภาพแข็งแรง เมื่อเจตนามีพลัง จึงทำให้พลังจิตและพลังกายแข็งแรง ก็ภาวะเช่นนี้แหละ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "การทำอุปาการะด้วยอาหารปัจจัย"

"สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่่ได้ด้วยอาหาร"
หากเราไม่ได้บริโภคอาหาร ร่างกายก็จะเหี่ยวเฉา ผอมแห้งแรงน้อย โรคภัยเบียดเบียน เป็นเหตุให้อายุสั้น

ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึ่งๆ คนเราจึงต้องพิจารณาเลือกคัดสรรอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กินอาหารที่มีสารอาหารครบ ๕ หมู่ เพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในชาติปัจจุบัน ตรงกันข้าม หากเรากินอาหารโดยไม่พินิจพิจารณา กินทุกอย่างที่ขวางหน้า แค่คำเดียวก็อาจตายได้ นี่แหละเขาเรียกว่า อาหารเป็นพิษ ผู้รู้จึงแนะนำตักเตือนในเรื่องของการกินอาหารว่า "หากเราอยากอายุสั้น ก็ให้กินอาหารที่มีอายุยาว หากอยากมีอายุยืนยาว ก็ให้กินอาหารที่มีอายุสั้น"

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราใช้ปัญญาทำการปัจจเวกขณ์(พิจารณา)ก่อนกินอาหาร ทรงแนะให้กินแต่พอประมาณ(โภชเนมัตตัญญุตา) อย่ากินมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นี่เป็นการอุปการะแห่งอาหารที่เป็นฝ่ายรูปธรรม

ส่วนในเรื่องของอาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรมนั้น เราทั้งหลายสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ในเวลาที่เราเิดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ หากบังเอิญพบเห็นแห่งน้ำหรือได้ยินได้ฟังว่ามีน้ำอยู่ตรงโน้นตรงนี้ จิตใจของเราก็จะรู้สึกสดชื่นมีพละกำลังขึ้น ราวกะว่าได้ดื่มได้กินโดยตรงฉันนั้น หรือในเวลาที่เราทำบุญให้ทานด้วยจิตที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธานั้น เวลาที่เราได้เห็นเครื่องไทยธรรม ก็ดี เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้จะมารับทาน ก็ดี จิตใจของเราย่อมเกิดความปลาบปลื้มยินดี มีน้ำมีนวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนี่แหละท่านเรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งนามาหารปัจจัย(เหตุปัจจัย กล่าวคือ อาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรม)

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเลือกสรรใช้สอยอาหารปัจจัยให้ถูกต้องพอเหมาะพอควร เลือกเฉพาะอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่าตามใจลิ้นตัวเองทั้งๆ ที่รู้ว่ากินเข้าไปแล้วมีแต่โทษ หากเอาชนะสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังนั้นได้ ชีวิตก็จะอยู่อย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยได้โดยไม่ต้องสงสัย
..............................................................................................

๑๖
อินทริยปัจจัย
ธรรมที่เป็นใหญ่ให้การอุปการะ



ปัจจยธรรม มีอยู่ ๒ ฝ่าย คือรูปอินทรีย์ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และรูปชีวิตอินทรีย์ นามอินทรีย์ ได้แก่ นามชีวิตอินทรีย์ จิต เวทนา และ ศรัทธา เป็นต้น

ปัจจยุปันนธรรม : ความตื่นตัวในการรับอารมณ์ กล่าวคือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส

ความสำเร็จแห่งการงาน อันเป็นผลมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง ความสำเร็จแห่งการทำบุญกุศล เช่น การใหทาน เป็นต้น อันเนื่องมาจากความมีศรัทธาที่แรงกล้า การทำงานอันเป็นหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า เป็นการทำอุปการะแห่งอินทริยปัจจัย ยกตัวอย่าง ในประเทศหนึ่งๆ จะมีกลไกการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐได้มอบหมายให้ โดยแบ่งเป็นภาคหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องรับผิดชอบภาระงานของตนๆ ไป เช่น กระทรวงพานิชย์ก็รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการก็รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประชาชนในประเทศ กระทรวงกลาโหมก็รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากต่างคนต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยไม่มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวก้างก่ายซึ่งกันและกันแล้วไซร้ ก็คงจะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุขทั้งกายและใจ ตรงกันข้ามหากหน่วยงานที่มีอยู่ไม่ค่อยจะเอาใจใส่ในงานของตน มัวแต่ไปเพ่งเล็ง ก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่น ผลที่จะติดตามมาก็คือความล้มเหลว ความทุกข์ยากก็จะเกิดแก่ประชาชนในประเทศนั้น

ในส่วนของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนในประเทศนั้น นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลและมีอำนาจมากที่สุด ซึ่งหากใช้อำนาจโดยพลการเข้าไปก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่นๆ ก็ย่อมจะนำมาซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติได้ ซึ่งในโลกนี้ ก็ย่อมมีประเทศที่มีสภาพดังกล่าวอยู่อีกมาก นี้ก็ถือว่าเป็นการนำเอาอินทริยปัจจัย(อำนาจบาตรใหญ่)ไปใช้อย่างผิดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่บุคคลอื่น

ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมองตนเอง เป็นเหมือนกับประเทศๆ หนึ่ง จะเห็นว่าทุกสัดส่วนในร่างกายของเรานั้นต่างก็ได้ทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตา ซึ่งเรียกว่า จักขุนทรีย์ ก็ทำหน้าที่ของตน กล่าวคือ การเห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่มีการได้ยิน เป็นต้นแต่อย่างใด ส่วนหู ซึ่งเรียกว่า โสตินทรีย์ ก็ทำหน้าที่เฉพาะการได้ยินเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่อย่างอื่นใดแม้ในส่วนของอินทรีย์อื่นๆ เช่น จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงทราบว่าต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากอินทรีย์ทั้งหลายที่ว่านี้มีการทำงานโดยบิดเบือน ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ขณะที่ตาเห็นแต่บอกว่า ไม่เห็น หรือทั้งๆ ที่ไม่เห็นแต่กลับบอกว่าเห็น ทั้งๆ ที่หูได้ยินแต่กลับบอกว่าไม่ได้ยิน หรือทั้งๆ ที่ไม่ได้ยินแต่กลับบอกว่าได้ยิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นการใช้สอยอินริยปัจจัยในทางที่ผิด ผลที่ตามมาก็คือทุกข์

อนึ่ง นอกจากการใช้สอยปัจจัยข้างต้นแล้วยังมีการใช้สอยอินทริยปัจจัยที่เกี่ยวกับนามธรรมอีก เช่นศรัทธาและปัญญา สมาธิและวิริยะ ซึ่งอินทรีย์เหล่านี้จักต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งหนึ่งอ่อนลง เช่น หากมีศรัทธา(สัทธินทรีย์)มากเกิน ก็จะทำให้บุคคลนั้นเชื่อจนงมงายอย่างไร้ความคิด ปราศจากสติปัญญา แม้ในส่วนของปัญญา(ปัญญินทรีย์) ก็เช่นเดียวกัน คือถ้าหากมีมากเกิน ก็จะทำให้คิดมาก ตรึกมาก เป็นเหตุให้ไม่ค่อยที่จะเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อก็ตาม ทำให้กลายเป็นคนมีทิฏฐิสูง เป็นคนขวางโลกคอยแต่จะขัดคอคนอื่นอยู่ร่ำไป

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้เราทั้งหลาย จงควบคุมและปรับสภาพอินทรีย์เหล่านั้นให้มีความเสมอภาคและเป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นเหตุให้นำมาซึ่งคุณูปการแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นเถิด
....................................................................................................

๑๗
ฌานปัจจัย
ฌานคือพลังแห่งความเพ่งพินิจ พิชิตความสำเร็จ



ปัจจยธรรม : ธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๕ ประการคือ
วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกัคคตา

ปัจจยุปันนธรรม : การทำหน้าที่หรือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
ใจจดใจจ่อทุ่มเททุกสัดส่วนทั้งกายและใจ

ฌาน คือ การกระทำการเพ่งด้วยใจจดจ่อในสิ้งที่ตนกระทำอยู่ บางคนคิดว่าการเหาะเหินเดินอากาศหรือดำดินเท่านั้นเป็นฌาน นั่นเป็นการเข้าใจผิด

ในการทำงานด้วยความเอาใจใส่และมีใจจดจ่อต่องานนั้น พึงทราบว่ามีสภาวธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นองค์ฌานอยู่ ๕ ประการ คือ

(๑) วิตก ทำหน้าที่ตรึกหรือวางแผนในการทำงาน

(๒) วิจาร ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับงานที่ทำ

(๓) ปีติ มีความปลาบปลื้มยินดีในงานที่ทำ

(๔) สุขเวทนา มีความสุขในงานที่ทำ

(๕) เอกกัคคตา ทำหน้าที่ควบคุมให้จิตใจ
มีความนิ่งอยู่แต่ในงานนั้นเพียงอย่างเดียว

สภาวะ ทั้ง ๕ นี้รวมเรียกว่า "ฌาน"
แต่หากแยกเรียกทีละอย่างก็จะเรียกว่า "องค์ฌาน"

ธรรมดาว่าจิตใจของคนเรานั้นควบคุมยาก จากอารมณ์นั้นสู่อารมณ์นี้เป็นธรรมชาติที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่เรียกว่า "ฌาน" นั้น มีกำลังน้อยกว่าก็จะไม่สามารถควบคุมจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้ หากจิตไม่ตั้งมั่นอยู่อารมณ์เดียว ก็จะกลายเป็นคนจับจด ยากที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงได้

ขึ้นชื่อว่าคนบ้า ย่อมไม่อาจทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้ แม้แต่กินข้าวยังกินให้หมดจานไม่ได้ เดี๋ยวทำโน่น เดี๋ยวทำนี่ ทำไปเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉกเพราะจิตไร้การควบคุมฉันใด เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ย่อมไม่อาจจะอยู่นิ่งๆ ฉันใด ลิงเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่งๆ ปีนจากต้นนี้ไปสู่ต้นโน้นฉันใด จิตใจของคนเราทั่วๆ ไปนั้นก็ไม่แตกต่างจากบุคคลเหล่านั้น ความจริงแล้วจิตของคนนั้นยิ่งกว่าจิตของลิงเสียอีก คือในเวลาหนึ่งๆ นั้น ลิงสามารถหีนป่ายได้แค่จากกิ่งไม้หนึ่งไปสู่กิ่งไม้หนึ่งเท่านั้น ส่วนจิตของคนนั้นสามารถรับอารมณ์ ๕ อย่างได้ในชั่วพริบตา

หากคนเราทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้คนๆ หนึ่งเมื่อยล้ามากเกิน อาจจะไม่สามารถที่จะเสร็จงานใดงานหนึ่งได้ เพราะความเป็นจริงแล้ว ในเวลาหนึ่งๆ คนเราควรทำงานให้เสร็จเพียงอย่างเดียว งานนั้นก็จะเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ท่านทั้งหลายจึงควรทำงานตามแนวทางของโบราณ ที่ท่านสอนฝากเราเอาไว้ว่า
"กินทีละคำ ทำทีละอย่าง"

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสามารถในการทำงานอย่างมีสมาธิจดจ่อ เพื่อความสำเร็จแห่งงานนั้นทุกท่านทุกคนเทอญ

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู ....เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

๑๔.
วิปากปัจจัย

วิปากปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก
คือ เข้าถึงความสุกและหมดกำลังลง

วิปากปัจจัย ได้แก่ วิปากจิตและเจตสิกที่เป็นผลของกุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยส่งผลแก่กัน
ในขณะจิตเดียวกัน และยังช่วยอุดหนุนแก่ปฏิสนธิกัมมชรูปและจิตตชรูปด้วย

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ความชราที่เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย
ความชรานี้เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหลายไม่พึงปรารถนาและไม่ต้องขวนขวายหรือกระทำให้เกิดขึ้น แต่ความชรานี้
ก็ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลายทั่วถึงทั้งหมด ไม่มียกเว้นเลย ทั้งนี้เพราะความชรานั้นเป็นผลธรรมที่เกิด
มาจากเหตุ คือชาตินั่นเอง ถ้ามีชาติคือความเกิดแล้ว ชราก็ต้องมีแน่นอน

และในความชรานั้นก็เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันได้ คือชราในตอนแรกนั้น เป็นเหตุอุดหนุนให้เกิด
ความชรามากขึ้นในตอนหลัง จะเห็นได้ว่าทารกที่คลอดออกจากครรภ์มารดา ความชราก็ติดตัวมากับ
ทารกนั้นแล้ว แต่ความชรานี้เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เพราะเป็นธรรมอันสงบและละเอียดสุขุม เมื่อขณะที่ทารก
ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้นนั้น ก็หมายความว่าความชราในตอนแรกนั้นเป็นกำลังช่วยอุดหนุนให้ความชรา
เกิดขึ้นในตอนหลังเป็นลำดับไป

หรืออีกอย่างหนึ่ง เช่น คนที่มีอายุมาก ผมนั้นเปลี่ยนจากสีดำมาเป็นสีขาว ในตอนแรกนั้นก็จะเป็นแต่
เพียงเริ่มขาวเล็กๆ น้อยๆ ก่อน ต่อมาสีขาวของผมก็จะปรากฏมากขึ้นทุกทีๆ จนกระทั่งขาวโพลนไปทั่ว
ทั้งศีรษะ ฉะนั้นสีขาวเพียงเล็กน้อยในตอนแรกนั่นเอง เป็นปัจจัยอุดหนุนให้เกิดสีขาวมากขึ้นในตอนหลัง
นี่ก็เป็นความชราอย่างหนึ่งเหมือนกัน

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับวิปากปัจจัย
วิปากปัจจัยมีลักษณะคือ "ความเป็นผลของกุศลและอกุศลด้วยความสงบนิ่ง ปราศจากอุตสาหะกังวล"
หมายความว่า วิปากจิตนี้ ไม่ใช่เป็นจิตที่ต้องทำให้เกิดขึ้น เพราะเป็นจิตที่เป็นผลอันเกิดมาจาก
กุศลกรรมและอกุศลกรรม ฉะนั้น กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ดี เป็นธรรมที่ต้องขวนขวายกระทำให้
เกิดขึ้น ส่วนวิบากนั้นเป็นธรรมที่ไม่ต้องขวนขวาย ถ้ามีกุศลกรรม อกุศลกรรมอันเป็นเหตุแล้ว
วิบากคือผลก็จะต้องมีแน่นอน

ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้เห็นชัดแจ่มแจ้ง เพราะคนส่วนใหญ่มักวุ่นวาย อุตสาหะ กังวล
หวังจะได้รับผล โดยไม่ทำเหตุให้สมควรแก่ผลดีที่ปรารถนา ก่อให้เกิดการทุจริต ความเห็นแก่ได้
เอาประโยชน์ตนเป็นใหญ่

ถ้ามีความชัดเจนในเรื่องกรรมและผลของกรรม รู้จักมองการกระทำและผลของการกระทำตามเหตุ
ตามปัจจัย คือ รู้ว่าทำอย่างใด ได้รับผลอย่างนั้น จักมีปัญญารู้ในสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ
เห็นว่าผลที่ตนต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการลงมือกระทำ ไม่หวังผลโดยไม่ทำ แต่จักพัฒนาตนให้มี
ความรู้ความสามารถที่จะทำในสิ่งที่พึงทำ มุ่งมั่นไม่ท้อถอย ไม่รอคอยโชคชะตา ไม่รอคอยแต่ความ
ช่วยเหลือจากผู้อื่น

อนึ่ง การเข้าใจลักษณะของวิปากปัจจัย จักช่วยให้เราสามารถเผชิญวิบากดีก็ตามชั่วก็ตาม ด้วยจิตใจ
ที่เป็นกลาง ไม่ลิงโลดเพลิดเพลินในผลดี ไม่เศร้าโศกคร่ำครวญเป็นทุกข์คับแค้นใจในผลร้าย
มีปัญญายอมรับผลของกรรมที่ตนได้ทำแล้ว และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงพัฒนาการกระทำให้เป็นไปใน
ทางกุศลอยู่เสมอ เพื่อนำมาซึ่งความสุขความเจริญโดยธรรม

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2013, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕.
อาหารปัจจัย

อาหารปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้นำ

อาหาร แปลว่า ธรรมที่นำมาซึ่งผล คือ นำมาซึ่งนามรูป ทำให้นามรูปเกิดขึ้น
แล้วยังอุปถัมภ์ให้นามรูปดำรงอยู่

อาหารปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ

๑. รูปอาหาร มี ๒ นัย คือ
:b37: นัยหนึ่ง ได้แก่ กพฬีการาหาร คือ โอชาที่อยู่ในอาหารต่างๆ ที่กลืนกินเข้าไป แล้วบำรุงเลี้ยง
ร่างกาย เป็นปัจจัยให้เกิด อาหารรูป รูปที่เกิดจากอาหาร

onion อีกนัยหนึ่ง ได้แก่ โอชาที่อยู่ในรูปกลาปต่างๆ ที่เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ (กรรม จิต อุตุ อาหาร)
เป็นปัจจัยแก่รูปที่เหลือในกลาปเดียวกันกับตนโดยชนกสัตติ และแก่รูปกลาปที่เหลือโดยอุปถัมภกสัตติ
หรือ อนุปาลกสัตติ

๒. นามอาหาร ได้แก่
:b34: ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ นำมาซึ่ง เวทนา ๓ - สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
:b1: มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ เจตนา นำมาซึ่ง ปฏิสนธิวิญญาณ(การเกิดขึ้นในภพต่างๆ)
และปวัตติวิญญาณ มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
:b30: วิญญาณหาร อาหาร คือ จิต ๘๙ นำมาซึ่ง เจตสิก จิตตชรูป และ กัมมชรูป

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
บ้านที่ตั้งอยู่ได้ก็ต้องอาศัยมีเสาเป็นเครื่องค้ำจุนอยู่ ถ้าหากว่าไม่มีเสาค้ำจุนอยู่แล้ว บ้านนั้นก็ไม่สามารถ
จะตั้งอยู่ได้ ฉันใด

รูปธรรมและนามธรรมนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีอาหารอันเปรียบเหมือนเสาเรือนค้ำจุนไว้แล้ว รูปธรรม
นามธรรมนั้นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ดุจเดียวกัน ดังมีพระพุทธสุภาษิตที่ตรัสไว้ว่า
สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา
แปลว่า สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่ไ้ด้ก็เพราะอาหาร นั่นเอง


:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอาหารปัจจัย
สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนแสวงหาอาหาร มิใช่เพียงเพื่อการดำรงอยู่และการสืบต่อของชีวิต แต่ยังเพื่อ
สนองความพอใจในรสชาติของอาหารเหล่านั้นทั้งรูปอาหารและนามอาหาร อาหารเหล่านี้จึงมีตัณหา
เป็นเหตุและอาหารก็เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ฯลฯ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ต่อเนื่องกันไปในกระแสการปรุงแต่ง จนถึงการเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส.

ความรู้เท่าทันในคุณค่าตามธรรมของอาหารและเสพอาหารด้วยใจที่พอเพียง มิใช่ด้วยราคะตัณหา
ย่อมทำให้ชีวิตที่ดำรงอยู่ด้วยอาหารหล่อเลี้ยง มีความสงบสุข และสามารถพัฒนาจิตไปจนถึงสิ้นความ
เพลิดเพลินในอาหารทั้งปวงได้

กระแสแห่งตัณหาไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง
ดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วตั้งอยู่
เธอทั้งหลายเห็นดังนี้แล้ว
จงตัดรากแห่งตัณหาเสียด้วยปัญญา
(ธัมมบท คาถาที่๓๔๐)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2013, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖.
อินทริยปัจจัย

อินทริยปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปกครอง

อินทริยปัจจัย หมายความว่า ธรรมที่เป็นปัจจัย เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า ปกครองในหน้าที่ของตน และ
ยังปกครองปัจจยุปบันธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้ตั้งอยู่และเป็นไปตามตนด้วย

อินทรีย์มีจำนวน ๒๒ - อินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นอินทริยปัจจัยได้มี ๒๐
(เว้นภาวรูป ๒ คือ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์)

อินทรีย์ที่เป็นอินทริยปัจจัย มี ๓ ประเภท คือ
:b50: ปสาทรูป ๕ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์
ที่เกิดก่อนและยังตั้งอยู่ เป็น ปุเรชาตินทริยปัจจัย ช่วยอุปการะแก่-->ปัญจวิญญาณ มีจักขุวิญญาณ
เป็นต้น ให้เกิดขึ้น

:b50: รูปชีวิตินทรีย์ เป็น รูปชีวิตินทริยปัจจัย ช่วยอุปการะแก่-->กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน

:b50: นามอินทรีย์องค์ธรรม ๘ คือ
-ชีวิตะ(ชีวิตินทรีย์)
-จิต(มนินทรีย์)
-เวทนา(สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์)
-สัทธา(สัทธินทรีย์)
-วิริยะ(วิริยินทรีย์)
-สติ(สตินทรีย์)
-เอกัคคตา(สมาธินทรีย์)
-ปัญญา(ปัญญิณทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญินทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์)
เป็น สหชาตินทริยปัจจัย ช่วยอุปการะแก่-->นามรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน

ธรรมที่เป็นอินทริยปัจจัยทั้งรูปและนามต่างเป็นใหญ่เฉพาะในหน้าที่การงานของตน ต่างฝ่ายต่างทำ
หน้าที่ของตนไม่ก้าวก่ายกัน

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ในประเทศหนึ่งๆ มีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าปกครองในหน้าที่การงานอยู่หลายคนด้วยกัน แต่ในหน้าที่
อย่างหนึ่งๆ นั้นก็มีรัฐมนตรีคนหนึ่งๆ เป็นหัวหน้าควบคุมปกครอง ไม่ก้าวก่ายในหน้าที่ซึ่งกันและกัน ฉันใด

ในอินทริยปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ หน้าที่ต่างๆ มีหน้าที่ในการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนั้น ก็มีธรรมที่
เป็นใหญ่ควบคุมหน้าที่นั้นๆ เช่น

หน้าที่ในการเห็น ก็มีจักขุปสาทเป็นใหญ่ เรียกว่า จักขุนทรีย์

หน้าที่ในการได้ยิน ก็มีโสตปสาทเป็นใหญ่ เรียกว่า โสตินทรีย์ ดังนี้

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอินทริยปัจจัย
ขอยกตัวอย่าง สัทธินทรีย์
คัมภีร์อัฏฐสาลินี - อัฏฐกถาธัมมสังคณี พระอภิธัมมปิฎก แสดงลักษณะ รส(กิจ หน้าที่)
ปัจจุปัฏฐาน(ผล) ปทัฏฐาน(เหตุใกล้) ของสัทธาว่า สัทธานั้น
-มีความเชื่อตามความเป็นจริง เป็นลักษณะ
-มีความไม่หลงงมงาย เป็นกิจ
-มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
-มีสิ่งที่น่าเลื่อมใส เป็นเหตุใกล้

"สัทธา" ในพระพุทธศาสนา มีความหมายเฉพาะถึงความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ได้แก่ เชื่อในคุณพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในกรรมและผลของกรรม เป็นต้น ตามความเป็นจริง

ส่วนความเชื่อทั่วไป รวมถึงความเชื่ออื่นนอกพระพุทธศาสนา ไม่เรียกว่า สัทธา แต่เรียกว่า อธิโมกข์
(อธิโมกข์-ธรรมชาติที่ปักใจในอารมณ์)

:b47: ในพระพุทธศาสนา ที่ตั้งแห่งสัทธา คือ พระรัตนตรัย

เมื่อหมั่นระลึกพิจารณาถึงพระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และพระบริสุทธิคุณอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า
ตามความเป็นจริง และน้อมนำคำสอนที่มีเป้าหมายเพื่อความดับทุกข์มาปฏิบัติ จักเกิดสัทธา คือ
ความเชื่อในพระพุทธเจ้า ว่า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ ตรัสแสดงธรรม
และบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี
ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ยไว้เป็นแบบอย่าง

ความเชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านี้ ย่อมรวมถึง ความเชื่อในพระธรรม ว่า เป็นธรรมตามความ
เป็นจริง เป็นธรรมที่นำให้ถึงความดับทุกข์ได้จริง และ ความเชื่อในพระสงฆ์ ว่า ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมของ
พระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องครบถ้วน ย่อมลุถึงความดับทุกข์ได้จริง

เมื่อมีการพัฒนาสัทธาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง สัทธานั้นจักเป็น สัทธินทรีย์ คือ เป็นสัทธาที่มีกำลังเป็นใหญ่
เหนือความเคลือบแคลงสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย ยังให้เกิด วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรที่เป็นใหญ่
เหนือความเกียจคร้าน สตินทรีย์ คือ สติที่เป็นใหญ่เหนือความไม่มีสติ สมาธินทรีย์ คือ เอกัคคตา
(จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว)ที่เป็นใหญ่เหนือความฟุ้งซ่าน และ ปัญญินทรีย์- ความรู้ความเห็นแจ้งที่
เป็นใหญ่เหนือความไม่รู้ เหนือความหลง สามารถเจริญกุศลแต่ละระดับจนถึงความดับทุกข์สิ้นเชิง
สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า

ยสฺส สทฺธา ตถาคเต สัทธาของผู้ใดในตถาคต
อจลา สุปฺปติฏฺฐิตา ไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นดี
สีลญฺจ ยสฺส กลยาณํ ศีลของผู้ใดงดงาม
อริยกนฺตํ ปสํสิตํ. พระอริยะพอใจและสรรเสริญ

สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสของผู้ใดมีในสงฆ์
อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ และความเห็นของผู้ใดตรง
อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ (ผู้รู้) กล่าวว่า เขานั้นเป็นผู้ไม่ยากจน
อโมฆํ ตสฺส ชีวิตํ ชีวิตของเขาไม่เปล่าประโยชน์

ตสมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ฉะนั้น สัทธา ศีล
ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม
อนุยุญฺเชถ เมธาวี ผู้มีปัญญาพึงขวนขวายเนืองๆ
สรํ พุทฺธานสาสนํ. ระลึกอยู่ซึ่งคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
(สังยุตตนิกาย มหาวัคค์ โสตาปัตติสังยุตต์ ว๒ ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร...สยามรัฐ สัง. ๑๙/๑๖๒๒/๕๑๐)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗.
ฌานปัจจัย

ฌานปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์


ฌาน ในที่นี หมายถึง การเพ่งอารมณ์

การเพ่งอารมณ์ของฌานปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ
๑. อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์มีรูปารมณ์ เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งการเพ่งอารมณ์ในการ
ทำสมถภาวนา มีกสิณ เป็นต้น

๒. ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ในการทำวิปัสสนา คือ เพ่งอารมณ์ในไตรลักษณ์ กล่าวคือ
อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ

ส่วนการเพ่งอารมณ์ที่เป็นนิพพานนั้น จัดอยู่ในจำพวกลักขณูปนิชฌานเช่นเดียวกัน
แต่ลักษณะของนิพพานนั้นเป็นตถลักขณะ หมายความว่าพระนิพพานนี้มีลักษณะที่เป็นสันติสุขโดยแท้จริง

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับฌานปัจจัย

องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา(ถ้าจำแนกเวทนาเป็น ๓ เรียกว่า องค์ฌาน ๗
คือ วิตก วิจาร ปีติ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา เอกัคคตา) ช่วยให้จิตมั่นคง ตั้งมั่นตรงตามความประสงค์
ไม่เลอะเลือน เพราะในขณะที่ทุกองค์ฌานเพ่งจับอารมณ์เดียวกัน แต่ละองค์ฌานนอกจากจะช่วยอุดหนุน
แก่จิตเจตสิกซึ่งเกิดร่วมกันกับตนแล้ว ยังทำหน้าที่เฉพาะๆ ของตนในอารมณ์นั้นๆ ด้วย กล่าวคือ

วิตก ทำหน้าที่ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
วิจาร ทำหน้าที่ ประคองอารมณ์
ปีติ ทำหน้าที่ อิ่มใจในอารมณ์
เวทนา ทำหน้าที่ เสวยอารมณ์
เอกัคคตา ทำหน้าที่ ตั้งมั่นในอารมณ์


ดังนั้น ควรพัฒนาองค์ฌาน ๕ ทั้งในชีวิตประจำวัน มีการศึกษาเล่าเรียน การทำงานต่างๆ เป็นต้น
ตลอดจนการเจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา เพื่อให้จิตมีคุณภาพในการทำหน้าที่ต่างๆ ได้อย่าง
สมบูรณ์ตามจุดมุ่งหมาย สามารถรับอารมณ์ที่ประสงค์ได้ชัดเจนมั่นคงต่อเนื่อง เกิดปัญญาความรู้-
ความเข้าใจ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว ยังสามารถนำความรู้นั้นช่วยผู้อื่นได้

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
บุคคลที่อยู่ในที่สูง สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในที่ไกลๆ ได้ เมื่อตนเองแลเห็นสิ่งเหล่านั้น
แล้วก็บอกให้พวกที่อยู่ข้างล่างรู้ด้วยว่า ในที่ตรงนั้น ตรงนี้มีอะไรบ้าง ตามที่ตนได้เห็น

:b46: อารมณ์ที่องค์ฌาน ๕ เข้าไปเพ่ง มีตั้งแต่อารมณ์ที่รับรู้ทั่วไป จนถึงอารมณ์ในการเจริญ
สมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา จึงควรพัฒนาองค์ฌาน ๕ ให้มีคุณสมบัติในการเพ่งอารมณ์ที่ละเอียด
ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับเพื่อนำสู่กุศล และความดับทุกข์อันมีพระนิพพานเป็นสันติสุขโดยแท้จริง

:b8: :b8: :b8:

:b50: :b50: :b50:
:b42: จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2013, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป


:b42: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/


:b48: เชิญอ่านปัจจัยที่ ๑๘ ที่กระทู้ที่ ๗ ค่ะ

viewtopic.php?f=66&t=41820

-----------------------------------------------

:b45: กลับไปกระทู้ที่ ๑
viewtopic.php?f=66&t=41814

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร