วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๘.
นิสสยปัจจัย

ธรรมอันเป็นที่พึ่ง



ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปวัตถุหรือรูปกายอันเป็นส่วนสำคัญและเห็นที่อาศัยของจิตวิญญาณ นั่นก็คือ วัตถุรูป ๖ ซึ่งประกอบด้วย จักขุ, โสตะ, ฆานะ, ชิวหา, กายะ และหทัยวัตถุ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การรับรู้สิ่งที่มาสัมผัส(อารมณ์) ๖ ประการ คือ การเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรู้รส, การรับรู้ทางกายสัมผัส และการเข้าใจ(การรับรู้ทางใจ)

ลักษณะการเกิดขึ้นของการรับรู้ทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมานี้ เป็นไปในลักษณะของการอาศัยอวัยวะรูปส่วนที่เป็นฐานรองรับ(วัตถุ) ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่ตั้งที่อาศัยของตนนั่นเอง

การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ เช่น การเห็น เป็นต้น โดยอาศัยวัตถุรูปของใครของมัน เช่น การเห็น(จักขุวิญญาณ) เกิดได้ เพราะอาศัยจักขุ(จักขุปสาทรูป) การได้ยิน เกิดได้เพราะอาศัยโสตปสาท ดังนี้ เป็นต้น ก็การเกิดปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรมเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของความเป็นนิสสยปัจจัย"

ประสาทตาดี จึงทำให้มองเห็นชัด ก็ตานี้แหละ แม้จะเป็นกัมมชรูปที่เป็นผลมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติ แต่ก็ยังต้องมีความเกี่ยวดองกับจิตตชรูปกล่าวคือ รูปที่เกิดขึ้นโดยเนื่องมาจากจิตใจอยู่ เช่น หากคนเราเกิดความโกรธ จิตใจก็จะขุ่นมัว ส่งผลให้วัตถุรูป เช่น จักขุปสาท มีลักษณะขุ่นมัว แดงก่ำ ไม่ใสสะอาด ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เรามองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัด ตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง อำนาจแห่งเมตตาธาตุอันเป็นธาตุแห่งความเย็นนี้ ก็จะแผ่กระจายไปสู่รูปธาตุทั้งปวง เป็นเหตุให้ธาตุคือ จักขุปสาทเย็นและใสสะอาดปราศจากมลทินธุลีในดวงตา เป็นเหตุนำมาซึ่งการเห็นรูปารมณ์ชัดเจน และส่งพลังความสงบร่มเย็นนั้นไปสู่วิถีจิตอื่นๆ อันเป็นเหตุแห่งความสงบสุขร่มเย็นทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้น ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในส่วนของหทัยวัตถุนั้น พึงทราบว่า ในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านอธิบายว่า คือ เลือดจากส่วนในของหัวใจ แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาบอกว่า หทัยวัตถุ ก็คือสมอง

จะอย่างไรก็ตาม ในเวลาที่คนเราเกิดอาการเหนื่อยใจ อ่อนเพลียทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าทั้งการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจและอาการปวดสมอง ต่างก็พากันแสดงออกมาให้เห็นเมื่อเลือดหัวใจผ่องใสหรือสมองปลอดโปร่ง ก็จะส่งผลให้เกิดความนึกคิดที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเช่นกัน

เนื่องจากว่าจักขุปสาทรูป เป็นต้น ล้วนเป็นรูปที่มีความบอบบางละเอียดมาก จึงทำให้ได้รับการกระทบกระเทือนง่าย ชำรุดเสียหายง่าย เหมือนกับคำพังเพยที่เผยให้เห็นถึงความสำคัญของดวงตาและหูไว้ว่า "ตาคือดวงใจ ความปราชัยคือการเสียหู"

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของอวัยวะเหล่านี้มิให้ได้รับกระทบกระเทือนเกิดความชำรุดเสียหายอย่างเด็ดขาด แม้ในปสาทรูปที่เหลือ ก็พึงทราบว่า มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติบกพร่องทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่สมประกอบ อาจกลายเป็นคนที่ไม่ได้มาตราฐานของความเป็นมนุษย์ได้

หากเราทั้งหลายสูญเสียเลือดในหัวใจนั้นไซร้ ก็จะกลายเป็นคนบ้า แต่ถ้าหากสมองไม่ทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรจากคนตาย

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุรูปอันเป็นนิสสยปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น โดยการให้ความรักความทะนุถนอมบำรุงรักษาอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย

.......................................................................


อุปนิสสยปัจจัย
ธรรมอันเป็นที่พึ่งหลัก



ปัจจยธรรม ได้แก่ ทั้งสิ่งมีชีวิต เช่น มารดา, บิดา, ครู, อาจารย์ เป็นต้น
เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้, ภูผา, หิน, ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ เป็นต้น

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ความเจริญ , ความสำเร็จ, ความพินาศ, ความล้มเหลวทั้งหลายทั้งปวง

ขึ้นชื่อว่ามนุษยชาตินั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ไม่ชอบพึ่งพาตนเอง แต่ชอบพึ่งสิ่งอื่นมากกว่า เช่น ชอบพึ่งพาสิ่งไม่มีชีวิต มีต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น หรือไม่ก็ชอบพึ่งพาผู้อื่นมีมารดา บิดา เป็นต้น ซึ่งหากพึ่งพาโดยถูกทาง พวกเขาก็จะพบกับความเจริญรุ่งเรือง แต่ตรงกันข้าม หากพึ่งพาโดยผิดทาง ก็จะพบกับความเสื่อม ความวิบัติ หรือความพ่ายแพ้ ก็แล การที่มนุษย์ได้ประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวเพราะการอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งอื่นนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "การได้ความอุปการะจากอุปนิสสยปัจจัย" หรือ "การได้หลักที่พึ่งพิง" หรือ "การได้สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งพิงหลัก"

ธรรมดาว่า เมื่อฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล ธัญพืชทั้งหลายรวมถึง พฤกษาชาตินานาพันธุ์ ย่อมเจริญงอกงามเติบโตผลิดอกออกผลให้ผู้คนได้ใช้สอยเสวยสุข นี้เป็นลักษณะของการอุปนิสสยปัจจัยเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ เป็นบุคคลผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมของใช้อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติทั้งผอง ทำให้ชาวโลกได้รับความสะดวกสบาย ในขณะเดียวกัน สิ่งของแปลกใหม่เหล่านั้นก็กลายเป็นดาบสองคม คือ ให้ทั้งความสบายและความทุกข์ยากลำบาก ซึ่งข้อนี้แสดงให้เห็นว่า มีทั้งอุปนิสสยปัจจัยฝ่ายดี และอุปนิสสยปัจจัยฝ่ายชั่ว จึงควรที่ท่านทั้งหลายจงใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะให้ออก แล้วเลือกบริโภค, ใช้สอย, เสพ แต่เฉพาะอุปนิสสยปัจจัยที่ดีมีคุณประโยชน์ ในขณะเดียวกัน ก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงงดเว้นอุปนิสสยปัจจัยที่ให้โทษ ตัวอย่างเช่น ด้วยอำนาจของความโลภ ทำให้มนุษย์ใช้สอยอุปนิสสยปัจจัยในทางที่ผิด โดยการตัดไม้ทำลายป่า ระเบิดภูเขา สัมปทานขุดหน้าดิน ฯลฯ ในที่สุด ก็ทำให้โลกหมดทรัพยากร เกิดความไม่สมดุลทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนระหว่างธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ จนเกิดเภทภัยใหญ่ไปทั่วโลก เช่น เกิดภัยสึนามิ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย เป็นต้น นี่แหละคือผลของการใช้สอยอุปนิสสยปัจจัยในทางที่ผิด ที่ส่งผลกระทบเป็นมหันตภัยต่อโอกาสโลกในอนาคตอย่างร้ายแรง

แม้ในทางที่เกี่ยวกับอุปนิสสยที่มีจิตวิญญาณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ก็เช่นเดียวกัน คือ ในยุคสมัยนี้ น้อยนักที่จะมีบุตรธิดาลูกศิษย์ ผู้ให้ความสนใจในการทำวัตรปฏิบัติต่อุปนิสสยปัจจัยของตน ส่วนใหญ่แล้วขาดการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อมารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีแต่ความเดือดเนื้อร้อนใจ มีชีวิตอยู่อย่างสับสน ไร้ความสงบสุข

อนึ่ง ในบรรดาปัจจัยทั้ง ๒๔ นั้น พึงทราบว่า อุปนิสสยปัจจัยนี้มีขอบเขตกว้างกว่าปัจจัยอื่นๆ นั่นหมายความว่า เป็นการรวมสรรพสิ่งในสากลโลกทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตลงในความเป็นอุปนิสสยปัจจัยนี้ทั้งสิ้น สรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะปราศจากอุปนิสสยปัจจัยนี้ไปได้เลย

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาใช้สอยอุปนิสสยปัจจัยให้ถูกทาง และจงช่วยกันทำนุบำรุงรักษาสภาวะแวดล้อม อย่าได้พากันทำลาย จงให้เกียรติและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเถิด

.......................................................................

๑๐
ปุเรชาตปัจจัย
ธรรมเป็นอุปการะในฐานะผู้เกิดมาก่อน



ปัจจยธรรม ได้แก่ วัตถุรูป ๖ ประกอบด้วย ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และ หทัยวัตถุ(หัวใจ)และ
อารมณ์ ๖ ประการ ประกอบด้วย รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์(ความคิด)

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ วิญญาณ ๖ ประกอบด้วย
- จักขุวิญญาณ(ผู้เห็น),
- โสตวิญญาณ(ผู้ได้ยิน),
- ฆานวิญญาณ(ผู้ได้กลิ่น),
- ชิวหาวิญญาณ(ผู้รู้รส),
- กายวิญญาณ(ผู้รู้สัมผัส),
- มโนวิญญาณ(ผู้รู้สึกนึกคิด)

ธรรมดาว่า มนุษย์นั้น เห็นสิ่งต่างๆ(รูปารมณ์) ด้วยตา(จักขุวิญญาณจิต),
ได้ยินเสียง(สัททารมณ์)ด้วยหู(โสตวิณณาณจิต),
รู้กลิ่น(คันธารมณ์) ด้วยจมูก(ฆานวิญญาณจิต),
รู้รส(รสารมณ์) ด้วยลิ้น(ชิวหาวิญญาณจิต),
รู้สัมผัส(โผสฐัพพารมณ์) ด้วยกาย(กายวิญญาณจิต),
รู้ความนึกคิด(ธัมมารมณ์) ด้วยมโน(มโนวิญญาณจิต)

คำว่า "ตา" หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูปกล่าวคือ จักขุ
แม้ในกรณีของ หู จมูก เป็นต้น ก็พึงทราบโดยอาศัยแนวเดียวกันนี้

ก็ ตา เป็นต้นเหล่านี้ บางครั้ง เรียกว่า จิตเห็น, จิตได้ยิน, จิตดม, จิตกิน, จิตกระทบ, จิตคิด

จิตเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูปที่เกี่ยวข้องกับตนกับอารมณ์ที่มาปรากฏ ก็วัตถุรูปและอารมณ์เหล่านั้นจะต้องเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นก่อนจิตเท่านั้น จึงจะมีศักยภาพในการทำอุปการะโดยการเป็นที่ตั้งและที่ยึคเหนี่ยวของจิตวิญญาณได้กรณีการเกิดก่อนแล้วบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อจิตวิญญาณผู้เกิดภายหลังนี้แล พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า "การทำประโยชน์ในฐานะผู้เกิดก่อน"(ปุเรชาตปัจจัย)

คนทั้งหลายไม่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานระหว่างอารมณ์ที่เป็นฝ่ายปัจจัย(เหตุ) กล่าวคือ วัตถุรูปกับอารมณ์ กับธรรมที่เป็นฝ่ายปัจจยุปันนะ(ผล)กล่าวคือจิตใจ คือไม่เข้าใจถึงความจริงว่า เมื่อเสร็จธุระแล้ว ธรรมเหล่านั้นก็จะดับไปโดยธรรมชาติ จึงได้พากันหลงผิดยึคมั่นถือมั่นว่า

"นั่นเป็นเราเป็นเขา นั่นเป็นของเราเป็นของเขา"

แต่หารู้ไม่ว่า "นั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรม"

ในยุคโลกาภิวัฒน์เฉกเช่นปัจจุบันนี้ วิทยาการทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปมาก ยากที่มนุษย์ธรรมดาจะไล่ตามทัน วิทยาศาสตร์นำสิ่งแปลกใหม่มาให้โลกมากมายนับไม่ถ้วน จึงทำให้โลกนี้คลาคล่ำไปด้วยขยะอารมณ์ คนที่วิ่งไล่ไปตามอารมณ์เหล่านี้มีเกือบทั้งโลก พวกเขาย่อมกระหยิ่มย่องอยากลองของใหม่ไปเรื่อยๆ(ปตฺถยนฺติ นวํ นวํ นิสัยมนุษย์ปรารถนาอยากได้ของใหม่ๆ อยู่ร่ำไป) ยิ่งวิ่งไล่ตามก็ยิ่งทุกข์ เพราะไม่มีทางที่จะตามอารมณ์ใหม่ๆ เหล่านั้นได้ทัน

บางคนสัปดนมาก เลยเจอของดีที่สังคมรังเกียจ นั่นก็คือ AIDS(อ่านว่า เอ-ไอ-ดี-เอส ก็ได้ หรือ "เอดส์" ก็ได้) นี่คือโรคอันตรายสุดๆ ที่กำลังคุกคามโลกอยู่ในตอนนี้ นี่ก็เป็นผลที่ใช้สอยปุเรชาตปัจจัยในทางที่ผิด ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของมนุษย์โดยตรง

จะอย่างไรก็ตาม สำหรับสัตบุรุษแล้ว ย่อมจะไม่วิ่งไล่ตามอารมณ์บ้าๆบอๆ เหล่านั้นอย่างเด็ดขาด ขึ้นชื่อว่าบัณฑิต ย่อมเอาจิตของตนอยู่ บัณฑิตย่อมไม่ปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามกระแสแห่งอารมณ์ที่หลากหลาย สายตาของผู้มีปัญญานั้นแตกต่างจากอันธพาลปุถุชนอย่างมาก แม้แต่ใบไม้ร่วงยังมองเห็นสภาวธรรมที่เป็นอนิจจัง ทำให้บังเกิดวิปัสสนาญาณเป็นขั้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป

จึงควรอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายจะต้องยึคเป็นแบบอย่างทิฏฐานุคติน้อมนำมาปฏิบัติ
ให้บังเกิดขึ้นภายในขันธสันดานของตน
[เห็นดอกไม้ที่สวยงามอย่าพยายามนึกถึงแต่คนรัก ให้นึกถึงการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างก็แล้วกัน]

.......................................................................

:b8: :b8: :b8:

จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู...เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2013, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

๘.
นิสสยปัจจัย

นิสฺสยปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัย


นิสสยปัจจัยมี ๓ ประเภท


๑. สหชาตนิสสยปัจจัย หมายความว่า ปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกับปัจจยุปบันธรรมด้วย เป็นที่อาศัยของ
ปัจจยุปบันธรรมด้วย เช่น
จิต เจตสิก เกิดพร้อมกันด้วย เป็นที่อาศัยแก่กันและกันด้วย
จิตเป็นที่อาศัยให้จิตตชรูปเกิดพร้อมกันกับตน
ปฏิสนธิจิตกับปฏิสนธิหทัยวัตถุเกิดพร้อมกัน และเป็นที่อาศัยแก่กันและกัน

๒. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย หมายความว่า วัตถุรูปที่เกิดก่อนและยังตั้งอยู่ เป็นที่อาศัยของวิญญาณธาตุ๗
และเจตสิกที่เกิดที่หลัง เช่น

จักขุปสาทที่เกิดก่อนและยังตั้งอยู่ เป็นที่อาศัยช่วยอุปการะให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นภายหลังได้

๓. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย หมายความว่า หทัยวัตถุที่เกิดในมรณาสันนกาล เป็นวัตถุที่เกิดด้วย
เป็นอารมณ์ด้วย เกิดก่อนด้วยและเป็นที่อาศัยด้วยของจิตและเจตสิกในมรณาสันนวิถี

มรณาสันนหทัยวัตถุที่เป็นปัจจัยนี้ ได้แก่ หทัยวัตถุที่เกิดพร้อมกับอุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับ
ถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไปรูปเดียวเท่านั้น เพราะต่อแต่นั้นกัมมชรูปรวมทั้งหทัยวัตถุไม่เกิดอีก จึงมีแต่
หทัยวัตถุดังกล่าวนี้รูปเดียวเท่านั้นที่สามารถเป็นได้ทั้งวัตถุที่เกิดก่อนและเป็นที่อาศัยเกิดของจิตเจตสิก
ในมรณาสันนวิถี รวมทั้งยังสามารถเป็นอารมณ์ให้แก่จิตเจตสิกเหล่านี้ได้ด้วย

ท่านอุปมาการช่วยอุปการะโดยเป็นที่อาศัยของนิสสยปัจจัยไว้ ๒ อย่างคือ

๑. เป็นที่อาศัยโดยอาการอิงอาศัย เรียกว่า นิสฺสยาการ หมายความว่า ปัจจัยธรรมช่วยอุดหนุนเป็นที่
อาศัยแก่ปัจจยุปบันธรรมโดยอาการอิงอาศัย
อุปมาเหมือน ผืนผ้าเป็นที่อาศัยของภาพวาดเขียน

๒. เป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า อธิฏฺฐานาการ หมายความว่า ปัจจัยธรรมช่วยอุดหนุนให้
ปัจจยุปบันธรรมเข้าไปอาศัยเกิดขึ้น เพื่อกระทำหน้าที่ของตนๆ ได้

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน พึ้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้ทั้งปวงให้เกิดขึ้น

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับนิสสยปัจจัย

สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต อาศัยกันและกันเกิดขึ้นและดำรงอยู่ ทั้งสิ่งอาศัยและสิ่งที่เป็นที่อาศัย
ต่างอยู่ในสภาพไม่เที่ยง ผันแปรเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ความอาศัยกันและกันจึง
ไม่เที่ยง ผันแปร เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยด้วย

ปัญญาในเรื่องความผันแปรของสิ่งอาศัยและสิ่งที่เป็นที่อาศัย นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านปล่อย
วางไม่ยึคมั่นแล้ว ยังทำให้ไม่ประมาทและรู้จักทำหน้าที่ในความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งอาศัยและ
สิ่งที่เป็นที่อาศัยได้อย่างถูกต้อง

ชีวิตคือความสัมพันธ์ ไม่มีชีวิตใดสิ่งใดอยู่ได้ลำพังตนโดยไม่อิงอาศัยสิ่งอื่น

เราควรตระหนักว่า เราอิงอาศัยอะไร และอะไรอิงอาศัยเรา แล้วพัฒนาการอิงอาศัยของสิ่งต่างๆ ที่
เกี่ยวกับเรา เพื่อเราจักได้มีชีวิตที่สมดุลมีคุณภาพทั้งทางกายและทางใจ

นอกจากนี้ ยังควรพัฒนาตัวเราให้เป็นที่อาศัยที่ดีของผู้อื่นสิ่งอื่นและดูแลความอิงอาศัยของตัวเรา
กับผู้อื่นสิ่งอื่นให้เหมาะสม เกิดความผาสุกและคุณประโยชน์ในการอยู่ร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ต้อง
ไม่ทำลายสิ่งที่เป็นที่อาศัยและความอิงอาศัยกันและกันของผู้อื่นสิ่งอื่นด้วย

ปัจจุบัน โลกทั้งโลกสอบตกในเรื่องความสัมพันธ์ ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
มนุษย์กับสังคม และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม


ความแจ้งชัดในเรื่องนิสสยปัจจัยอย่างลึกซึ้ง จักช่วยให้มนุษย์สามารถจัดความสัมพันธ์ุทุกด้านของชีวิต
สังคม และธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ก่อเกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ปลอดภัย
จากความทุกข์ความเบียดเบียน

มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน
เหมือนภมรไม่ทำกลีบ สี และกลิ่น
ของดอกไม้ให้ชอกช้ำ
ถือเอาแต่รสแล้วละไป

(ธัมมบท คาถาที่ ๔๙)


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๙.
อุปนิสสยปัจจัย

อุปนิสฺสยปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก


อุปนิสสยปัจจัย หมายถึง ที่อาศัยที่มีกำลังมาก แตกต่างจากนิสสยปัจจัย คือ
:b49: นิสสยปัจจัยมีกำลังน้อยกว่า เป็นที่อาศัยทั่วไปของปัจจยุปปันธรรม
และเป็นที่อาศัยได้เฉพาะในปัจจุบันกาล
:b49: อุปนิสสยปัจจัยมีกำลังมากกว่า เป็นที่อาศัยที่เป็นหลักสำคัญต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของ
ปัจจยุปปันธรรม และเป็นที่อาศัยได้ทั้ง ๓ กาล คือ อดีตกาล ปัจจยุบันกาล อนาคตกาล

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
น้ำฝนย่อมเป็นที่อาศัยอย่างสำคัญของมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนพืชพันธุ์ต่างๆ ฉันใด
อุปนิสสยปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ ปัจจัยธรรมของอุปนิสสยปัจจัยเปรียบเหมือนน้ำฝนและปัจจยุปบันธรรม
เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งหลายและพืชพันธุ์ต่างๆ ฉันนั้น

อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ ปัจจัย
๑. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย ปัจจัยเป็นอารมณ์ด้วย เป็นที่อาศัยที่มีกำลังมากด้วยแก่จิตเจตสิก เช่น
พระนิพพานเป็นอารมณ์ที่มีกำลังแรงกล้าให้เกิดโลกุตตรจิตได้
๒. อนันตรูปนิสสยปัจจัย ปัจจัยนี้ตรงกับอนันตรปัจจัย แตกต่างกันที่
อนันตรปัจจัย หมายเอาจิตดวงเก่าที่ดับไปเป็นปัจจัยให้จิตดวงใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันตามลำดับของจิตตนิยาม
โดยไม่มีระหว่างคั่นได้
๓. ปกตูปนิสสยปัจจัย หมายถึง เหตุธรรมที่ได้ทำมาแล้วด้วยดี คือ ทำบ่อยๆ ทำอย่างเต็มที่ ทำจนเคยชิน
ที่มีกำลังแรงกล้า ทำให้เกิดการคิดนึก การตัดสินใจ การกระทำต่างๆ ตามความคุ้นเคยที่ได้สั่งสมนั้น เช่น
คนที่หมั่นทำทานช่วยเหลือผู้อื่นเสมอๆ ก็จะมีอุปนิสัยในการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น หรือ

"ตัวอย่างองคุลีมาล อำนาจอุปนิสสยปัจจัยฝ่ายกุศลที่สั่งสมไว้ดี
ทำให้พระพุทธเจ้ามาช่วยตัดความต่อเนื่องของปาณาติบาต
องคุลีมากฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว รับข้อพระธรรมนั้น หยุดปาณาติบาตได้ ก็เพราะอุปนิสสยปัจจัย
เพราะฉะนั้น กุศลที่เราทำไว้ ก็อาจมาช่วยเราได้ในยามที่เราพลาดตกไปในอกุศล"
(พระครูธรรมธรสุมนต์ นนทิโก)

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐.
ปุเรชาตปัจจัย

ปุเรชาตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดก่อน

ปุเรชาตปัจจัย หมายความว่า รูปซึ่งเกิดขึ้นก่อนและยังไม่ดับไป เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้ปัจจยุปบันธรรม
คือ จิตเจตสิกเกิดขึ้น เช่น จักขุวัตถุเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดจักขุวิญญาณ

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
พระอาิทิตย์และพระจันทร์ ซึ่งเกิดมีขึ้นก่อนสัตว์ทั้งหลายในโลก และสัตว์โลกทั้งหลายนั้น
ก็ได้อาศัยพระอาทิตย์และพระจันทร์เป็นอยู่ตลอดมา โดยที่พระอาทิตย์และพระจันทร์นั้นก็ยังคงมีอยู่ ฉันใด
พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจัย สัตว์โลกทั้งหลายก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจยุปบัน
ฉันนั้น

:b8: :b8: :b8:
:b42: :b50: :b50: :b50:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2013, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป


:b42: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/

-----------------------------------------------

:b45: กลับไปกระทู้ที่ ๑
viewtopic.php?f=66&t=41814

:b44: เชิญอ่านต่อ ปัจจัยที่ ๑๑ กระทู้ที่ ๕ ค่ะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41818

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร