วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
จขกท.ลุงหมานคงตั้งหัวข้อให้ดูน่าสนใจขึ้น
มรรคคือหนทางที่ถูกต้องที่พระพุทธเจ้าตรัส
เพื่อให้ทราบทั้งหนทางที่ถูกและหนทางที่ผิด
เพื่อไม่ให้ไปคิดต่อกันไปแล้วขัดแย้งกันด้วย
เพราะทุกคำในพระไตรปิฎกสอดคล้องกันหมด
ไม่ว่าตรัสคำใดก็คือเมื่อวาจาใดตรัสแล้ว1ไม่มี2
ทรงพระมหากรุณามีคำกำกับไว้อย่างลึกซึ้งที่สุด
อย่าง8ทางที่หลงผิดยังแสดงเป็นมิจฉามรรคด้วยค่ะ
กุศลเป็นกุศล/อกุศลเป็นอกุศล/ไม่มี2มาตรฐานชัวร์ๆ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 02:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
จขกท.ลุงหมานคงตั้งหัวข้อให้ดูน่าสนใจขึ้น
มรรคคือหนทางที่ถูกต้องที่พระพุทธเจ้าตรัส
เพื่อให้ทราบทั้งหนทางที่ถูกและหนทางที่ผิด
เพื่อไม่ให้ไปคิดต่อกันไปแล้วขัดแย้งกันด้วย
เพราะทุกคำในพระไตรปิฎกสอดคล้องกันหมด
ไม่ว่าตรัสคำใดก็คือเมื่อวาจาใดตรัสแล้ว1ไม่มี2
ทรงพระมหากรุณามีคำกำกับไว้อย่างลึกซึ้งที่สุด
อย่าง8ทางที่หลงผิดยังแสดงเป็นมิจฉามรรคด้วยค่ะ
กุศลเป็นกุศล/อกุศลเป็นอกุศล/ไม่มี2มาตรฐานชัวร์ๆ
:b4: :b4:


คุณRosarin
ก็ใช้คำ มิจฉามรรค

เวลากล่าว
ต้องกล่าวเต็มครับ

มิจฉาทิฎฐิ ก็กล่าวเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือทางแห่งความเสื่อม ไม่เป็นไปเพื่อมรรค

นึกออกไหมครับ


ชอบอ้างธรรม เข้าข้างตัวเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 02:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
จขกท.ลุงหมานคงตั้งหัวข้อให้ดูน่าสนใจขึ้น
มรรคคือหนทางที่ถูกต้องที่พระพุทธเจ้าตรัส
เพื่อให้ทราบทั้งหนทางที่ถูกและหนทางที่ผิด
เพื่อไม่ให้ไปคิดต่อกันไปแล้วขัดแย้งกันด้วย
เพราะทุกคำในพระไตรปิฎกสอดคล้องกันหมด
ไม่ว่าตรัสคำใดก็คือเมื่อวาจาใดตรัสแล้ว1ไม่มี2
ทรงพระมหากรุณามีคำกำกับไว้อย่างลึกซึ้งที่สุด
อย่าง8ทางที่หลงผิดยังแสดงเป็นมิจฉามรรคด้วยค่ะ
กุศลเป็นกุศล/อกุศลเป็นอกุศล/ไม่มี2มาตรฐานชัวร์ๆ
:b4: :b4:


คุณRosarin
ก็ใช้คำ มิจฉามรรค

เวลากล่าว
ต้องกล่าวเต็มครับ

มิจฉาทิฎฐิ ก็กล่าวเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือทางแห่งความเสื่อม ไม่เป็นไปเพื่อมรรค

นึกออกไหมครับ


ชอบอ้างธรรม เข้าข้างตัวเอง

Kiss
ลุงหมานอธิบายมีคำว่าอริยมรรคมีองค์8ไว้ในหน้าแรกด้วยค่ะ
คำเปรียบเทียบธัมมะ2ฝ่ายดีกับไม่ดี
:b1:
กุศล/อกุศล
อหิริกะ/หิริกะ
อโนตัปปะ/โอตัปปะ
สัมมา/มิจฉา
ก็เติมมรรคตามหลังไม่ถูกหรือคะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 02:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
student เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
จขกท.ลุงหมานคงตั้งหัวข้อให้ดูน่าสนใจขึ้น
มรรคคือหนทางที่ถูกต้องที่พระพุทธเจ้าตรัส
เพื่อให้ทราบทั้งหนทางที่ถูกและหนทางที่ผิด
เพื่อไม่ให้ไปคิดต่อกันไปแล้วขัดแย้งกันด้วย
เพราะทุกคำในพระไตรปิฎกสอดคล้องกันหมด
ไม่ว่าตรัสคำใดก็คือเมื่อวาจาใดตรัสแล้ว1ไม่มี2
ทรงพระมหากรุณามีคำกำกับไว้อย่างลึกซึ้งที่สุด
อย่าง8ทางที่หลงผิดยังแสดงเป็นมิจฉามรรคด้วยค่ะ
กุศลเป็นกุศล/อกุศลเป็นอกุศล/ไม่มี2มาตรฐานชัวร์ๆ
:b4: :b4:


คุณRosarin
ก็ใช้คำ มิจฉามรรค

เวลากล่าว
ต้องกล่าวเต็มครับ

มิจฉาทิฎฐิ ก็กล่าวเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือทางแห่งความเสื่อม ไม่เป็นไปเพื่อมรรค

นึกออกไหมครับ


ชอบอ้างธรรม เข้าข้างตัวเอง

Kiss
ลุงหมานอธิบายมีคำว่าอริยมรรคมีองค์8ไว้ในหน้าแรกด้วยค่ะ
คำเปรียบเทียบธัมมะ2ฝ่ายดีกับไม่ดี
:b1:
กุศล/อกุศล
อหิริกะ/หิริกะ
อโนตัปปะ/โอตัปปะ
สัมมา/มิจฉา
ก็เติมมรรคตามหลังไม่ถูกหรือคะ
:b4: :b4:




สัมมาทิฎฐิ (มรรค)/ มิจฉาทิฎฐิ (ทางแห่งความเสื่อม)


ทางแห่งความเสื่อม ย่อมไม่เข้าถึงความเป็นมรรค

นึกออกไหมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 03:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ้างคำพูด:
สัมมาทิฎฐิ (มรรค)/ มิจฉาทิฎฐิ (ทางแห่งความเสื่อม)

ทางแห่งความเสื่อม ย่อมไม่เข้าถึงความเป็นมรรค

นึกออกไหมครับ

คุณstudentตีความสับสนน๊า
ไม่งงหรือคะทำไม
มรรคคือหนทาง
อริยะคือเจริญ
อริยมรรคคือทางแห่งความเจริญ
สัมมาคือถูก/มิจฉาคือผิด
สัมมามรรคคือทางถูก
มิจฉามรรคคือทางผิด
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นถูกต้อง/มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด
แล้วทำไมมรรคมีแค่สัมมาทิฏฐิล่ะคะอีก7มรรคหายไปไหน
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
อ้างคำพูด:
สัมมาทิฎฐิ (มรรค)/ มิจฉาทิฎฐิ (ทางแห่งความเสื่อม)

ทางแห่งความเสื่อม ย่อมไม่เข้าถึงความเป็นมรรค

นึกออกไหมครับ

คุณstudentตีความสับสนน๊า
ไม่งงหรือคะทำไม
มรรคคือหนทาง
อริยะคือเจริญ
อริยมรรคคือทางแห่งความเจริญ
สัมมาคือถูก/มิจฉาคือผิด
สัมมามรรคคือทางถูก
มิจฉามรรคคือทางผิด
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นถูกต้อง/มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด
แล้วทำไมมรรคมีแค่สัมมาทิฏฐิล่ะคะอีก7มรรคหายไปไหน
:b12:


คุณพระ!

ขอความเห็นจากนักเรียนประถมหน่อยครับ

มาอธิบายความแตกต่างระหว่าง มรรค กับ หนทางแห่งความเสื่อมหน่อยครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์แสดง คู่ตรงข้ามของ สัมมัตตะ 10 กับมิจฉัตะ 10
Quote Tipitaka:
สคารวสูตร
[๑๑๗] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง
กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ มิจฉาทิฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฐิเป็นฝั่งโน้น มิจฉา-
*สังกัปปะเป็นฝั่งนี้ สัมมาสังกัปปะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาวาจาเป็นฝั่งนี้ สัมมาวาจา
เป็นฝั่งโน้น มิจฉากัมมันตะเป็นฝั่งนี้ สัมมากัมมันตะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาอาชีวะ
เป็นฝั่งนี้ สัมมาอาชีวะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาวายามะเป็นฝั่งนี้ สัมมาวายามะเป็น
ฝั่งโน้น มิจฉาสติเป็นฝั่งนี้ สัมมาสติเป็นฝั่งโน้น มิจฉาสมาธิเป็นฝั่งนี้ สัมมา-
*สมาธิเป็นฝั่งโน้น มิจฉาญาณะเป็นฝั่งนี้ สัมมาญาณะเป็นฝั่งโน้น มิจฉาวิมุติเป็น
ฝั่งนี้ สัมมาวิมุติเป็นฝั่งโน้น ดูกรพราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้เป็นฝั่งโน้น ฯ
ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนผู้ไปถึงฝั่งโน้นมีประมาณน้อย ส่วน
หมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดประ
พฤติตามธรรมในธรรม อันพระตถาคตตรัสแล้วโดยชอบ
ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามพ้นได้แสน
ยาก แล้วจักถึงฝั่งโน้น คือ นิพพาน บัณฑิตละธรรมดำ
เสียแล้ว พึงยังธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิตละกามทั้งหลาย
แล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย อาศัยธรรม
ที่ไม่มีความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก ๑- ที่ยินดี
ได้แสนยาก บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จากเครื่อง
เศร้าหมองจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใด อบรมโดยชอบใน
องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นแล้ว ยินดีใน
นิพพาน เป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะ
มีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก ฯ

พระอานนท์ กล่าวว่า มิจฉามรรค คือ อพรหมจรรย์
Quote Tipitaka:
[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้นครปาฏลีบุตร
ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่าน
พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉน
หนอ? ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม
ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ?
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ นี้แล
เป็นอพรหมจรรย์.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

กระจ่างไป1เปาะแล้ว

มิจฉามรรคใช้พูดได้แทนหนทางแห่งความเสื่อม

อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2016, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจต้องใช้คำง่ายๆ คำว่า "มรรค" ซึ่งแปลว่าหนทาง นะครับ
มรรคนั้นจึงเป็นหนทางที่นำไปสู่ สุคติ และ ทุคติ ได้ทั้งสองทาง

ถ้าเป็นหนทางไปสู่สุคติ มรรคจะเกิดได้ เพียง ๕ - ๖ มรรคเท่านั้น(คงไม่ต้องอธิบาย)
เพราะไม่ใช่เป้าหมายที่อยากรู้

ถ้าเป็นมรรคที่นำไปสูอบายภูมิ จะมีมรรคเกิด ๔ มรรค จะมี มิจฉาทิฏฐิมรรค ๑ เป็นประธาน
ตามด้วย มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ รวมเป็น ๔ มรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2016, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15327450_1042548919208072_4674952769716994618_n.jpg
15327450_1042548919208072_4674952769716994618_n.jpg [ 133.86 KiB | เปิดดู 2484 ครั้ง ]
............

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2021, 04:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์มหาปัฏฐานอย่างย่อ (ตอนที่ ๓๖.ก) (มัคคปัจจัย)

มัคคปัจจัย

มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยที่ ๑๘ ในปัจจัย ๒๔ หรือเป็นปัจจัยที่ ๓๑ ในปัจจัย ๕๒

อุทเทส มคฺคปจฺจโย เพราะมีองค์มัคเป็นปัจจัย

คำว่า มัคค แปลว่าหนทาง หมายถึงเป็นทางเดินของจิตใจที่นำผู้เดินทางไปสู่สุคติ ทุคติ และอคติ หรือ มัคค แปลว่า ไป หรือแปลว่า แสวงหาก็ได้ เพราะธรรมดาหนทางนั้น ย่อมนำผู้เดินทางให้ไปสู่จุดหมายปลายทาง มัคคปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือย่อมนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตนให้ทำกิจไปตามหน้าที่ของตน ๆ ในปวัตติกาลเท่านั้น อันเป็นกิจธรรมดาที่เป็นปกติของมัคคปัจจัยอย่างหนึ่ง เช่นองค์มัคที่เกิดกับวิบาก และกิริยาก็เกิดขึ้นเพื่อรับอารมณ์ และทำกิจในหน้าที่ของตน ๆ โดยอาศัยเจตสิกที่เป็นองค์มัคคปัจจัยนี้ ทำหน้าที่นำจิตเจตสิกที่เหลือให้ไปสู่อารมณ์เหล่านี้ได้ และมัคคปัจจัยยังมีกิจพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ มีอำนาจช่วยอุดหนุนนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่สุคติ ทุคติ และอคติคือพระนิพพานได้อีก

องค์มัคนี้จะต้องเกิดกับกุศลหรืออกุศลเท่านั้น เพราะให้ผลเกี่ยวกับปฏิสนธิ เช่น องค์มัคที่เกิดในโลกิยกุศล ก็นำไปสู่สุคติ ถ้าเกิดในโลกุตตรกุศลก็นำไปสู่อคติ คือ พระนิพพาน แต่ถ้าเกิดกับอกุศลก็นำไปสู่ทุคติ

มัคคปัจจัยจึงคล้ายกับนานักขณิกกัมมปัจจัย ต่างกันแต่ว่า นานักขณิกกัมมปัจจัยนั้น เป็นเหตุให้เกิดขึ้นโดยตรง ส่วนมัคคปัจจัยนั้น เป็นเหตุให้ถึง เพราะว่าเป็นหนทางหรือเป็นยานพาหนะที่จะพาผู้โดยสารไปให้ถึงที่หมาย มัคคปัจจัยจึงได้ชื่อว่า สัมปาปกเหตุ คือเหตุที่ทำให้ถึงที่หมาย ไม่ใช่เป็นเหตุให้เกิด เพราะไม่ได้ไปสร้างสถานที่นั้นให้เกิดขึ้น

มัคคปัจจัยเป็นประเภทนาม > นามรูป โดยการเกิดพร้อมกัน จึงเป็นปัจจุบันกาล เป็นประเภทสหชาตชาติ ทำได้ ๒ กิจ คือ ชนกกิจ และอุปถัมภกกิจ

มัคคปัจจัยต้องเกิดกับจิตที่มีเหตุเท่านั้น เพราะการจะไปสู่สุคติ ทุคติ และอคติได้ จะต้องเป็นจิตที่มีกำลัง คือต้องประกอบด้วยเหตุ มัคคปัจจัยจึงชื่อว่า มีเหตุเป็นที่สุด

พระบาลีนิทเทสมัคคปัจจัย

มคฺคงฺคานิ มคฺคสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฺฐานานญฺจ รูปานํ มคฺคปจฺจเยน ปจฺจโย

(องค์มัค ๙ เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เกิดพร้อมกับองค์มัค และแก่รูปทั้งหลายที่มีองค์มัค และธรรมที่ประกอบกับองค์มัคนั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจมัคคปัจจัย)

วจนัตถะของมัคคปัจจัย

มคฺโค วิยาติ = มคฺโค (ธรรมที่เป็นประดุจหนทางชื่อว่า มัคคะ)

สุคติทุคฺคตีนํ นิพฺพานสฺส จ อภิมุขํ ปาปนโต = มคฺโค (ธรรมที่ชื่อว่ามัคคะ ก็เพราะเหตุว่าเป็นธรรมที่นำไปสู่สุคติ ทุคติ และพระนิพพาน)

มคฺคภาเวน อุปการโก ธมฺโม = มคฺคปจฺจโย (ธรรมที่เป็นผู้อุปการะโดยความเป็นมัค คือนำไปสู่สุคติ ทุคติ และพระนิพพานชื่อว่า มัคคปัจจัย)

องค์ธรรมมัคคปัจจัย

ปัจจัย : องค์มัค ๙ คือ ปัญญา วิตก วีรติ ๓ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฏฐิ
ปัจจยุบบัน : สเหตุกจิต ๗๑ เจ.๕๒ สเหตุกจิตตช. ๑๗ สเหตุกปฏิ.กํ. ๒๐
ปัจจนิก : อเหตุกจิต ๑๘ เจ.๑๒ (เว้นฉันทะ) อเหตุกจิตตช. ๑๗ อเหตุกปฏิ.กํ. ๒๐ และรูป ๕ หมวดที่เหลือ คือ อุตุชรูป อาหารชรูป ปวัตติ.กํ. อสัญญ.กํ. พาหิรรูป

จำแนกองค์มัค ๙ คือ

๑.) สัมมาทิฏฐิ การเห็นชอบ ได้แก่ปัญญาเจ. ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ (ติเหตุกจิต ๔๗ คือ กาม.โสภณ.สํ. ๑๒ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตระ ๘)

๒.) มิจฉาทิฏฐิ การเห็นผิด ได้แก่ ทิฏฐิเจ. ในโลภทิฏฐิคตสํ. ๔

๓.) สัมมาสังกัปปะ การดำริชอบ ได้แก่ วิตกเจ. ในจิต ๓๕ (จิต ๓๕ คือ กามโสภณะ ๒๔ ปฐมฌาน ๑๑)

มิจฉาสังกัปปะ การดำริผิด ได้แก่ วิตกเจ. ในอกุ. ๑๒

๔.) สัมมาวาจา วาจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ อย่าง คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ สัมมาวาจาเจ. ในจิต ๑๖ (จิต ๑๖ คือ กุ. ๘ โลกุตตระ ๘)

มิจฉาวาจา วาจาผิด ได้แก่ วจีทุจริต ๔ อย่าง คือ พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ที่ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒

๕.) สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ได้แก่ การงานสุจริต ๓ อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงกาม ได้แก่ สัมมากัมมันตะ เจ. ในจิต ๑๖ (จิต ๑๖ คือ กุ. ๘ โลกุตตระ ๘)

มิจฉากัมมันตะ การงานผิด ได้แก่การงานทุจริต ๓ อย่าง คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ล่วงกาม ที่ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒

๖.) สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ ได้แก่กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ คือ สัมมาอาชีวะ ในจิต ๑๖ (จิต ๑๖ คือ กุ. ๘ โลกุตตระ ๘)

มิจฉาอาชีวะ อาชีพผิด ได้แก่ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ที่ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒

๗.) สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ได้แก่วิริยะเจ. ที่ในโสภณจิต ๕๙ (จิต ๕๙ คือ กามโสภณะ ๒๔ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตระ ๘)

มิจฉาวายามะ ความเพียรผิด ได้แก่ วิริยะเจ. ที่ในอกุ. ๑๒

๘.) สัมมาสติ การระลึกชอบ ได้แก่ สติเจ. ที่ในโสภณจิต ๕๙

มิจฉาสติ การระลึกผิด ได้แก่ จิตที่ขาดสติที่ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒

๙.) สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ เอกัคคตาเจ. ที่ในโสภณจิต ๕๙

มิจฉาสมาธิ การตั้งใจมั่นผิด ได้แก่ เอกัคคตาเจ. ทีในอกุ. ๑๑ (เว้นเอกัคคตาเจ. ในโมหวิจิกิจฉา)

องค์มัค ๙ นี้ กล่าวตามองค์ธรรมที่ไม่ซ้ำกัน แต่ถ้านับองค์ธรรมที่ซ้ำกันเป็นสัมมามัค ๘ กับมิจฉามัค ๘ ถ้าเป็นองค์มัค ๑๒ ตามนัยอภิธรรม ได้แก่ สัมมามัค ๘ มิจฉามัค ๔

มิจฉามัค ๔ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ เมื่อว่าโดยองค์ธรรมที่ไม่ซ้ำกัน ก็คงได้องค์มัค ๙ นั่นเอง ถ้านับตามนัยพระสูตร นับมัค ๑๖ คือ สัมมามัค ๘ กับมิจฉามัค ๘ แต่องค์ธรรมคงได้ องค์มัค ๙ เท่ากัน

สำหรับมิจฉามัค ๘ ที่เป็นมิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ และมิจฉาสติ ธรรมเหล่านี้ไม่มีองค์ธรรม ก็ให้เอาจิตตุปบาทที่เป็นอกุศลนั่นเองเป็นมิจฉามัค

ส่วนมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ มีองค์ธรรม

อธิบายสัมมามัค ๘

สัมมามัค ๘ มี ๒ อย่าง คือ

สัมมามัคไปสู่สุคติ กับ
สัมมามัคไปสู่อคติ คือ พระนิพพาน

สัมมามัคไปสู่สุคติ ต้องมีปัญญาเชื่อกรรม เป็นกัมมสกตาสัมมาทิฏฐิ เจริญกุศลกรรมบถ ๑๐ ไปสู่มนุษย์ เทวดา เจริญมหัคคตกุศลไปสู่รูปพรหม อรูปพรหม เจริญศีล สมาธิ ปัญญาทีละอย่าง ละได้แต่กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง

สัมมามัคไปสู่อคติ ต้องมีปัญญารู้เหตุผลความจริง เป็นวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เจริญสติปัฏฐานเป็น บุพพภาคมัค เป็นมัคเบื้องต้นก่อน เป็นปัญจังคิกมัค มัคมีองค์ ๕ มีปรมัตถ์หรือนามรูปเป็นอารมณ์ปัจจุบัน มีศีล สมาธิ ปัญญา เกิดร่วมในอารมณ์เดียวกัน เป็นโลกิยมัค ละอนุสัยกิเลส เป็นตทังคปหาน เจริญวิปัสสนาต่อไปจนถึงมัคจิต เป็นมัคเบื้องปลาย เป็น อัฏฐังคิกมัค มัคมีองค์ ๘ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีศีล สมาธิ ปัญญา เกิดร่วมในอารมณ์เดียวกัน เป็นโลกุตตรมัค ละอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน

๑.) สัมมาทิฏฐิ การเห็นชอบ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญา เจตสิก ที่รู้แจ้งอริยสัจจ์ครบทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ เจริญมัค มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นสัมมาทิฏฐิในมัคสัจจ์ เป็นโลกุตตรมัค

ถ้าเป็นโลกิยมัค คือเจริญสติปัฏฐาน มีนามรูปเป็นอารมณ์ เห็นนาม รูปไม่เที่ยง เป็นต้น

สัมมาทิฏฐิไปสู่สุคติ เจริญกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นต้น

๒.) สัมมาสังกัปปะ การดำริชอบ องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ดำริในธรรม ๓ อย่าง คือ

๒.๑) เนกขัมมสังกัปปะ ดำริออกจากกาม ได้แก่ วิตกที่ประกอบกับกุศลทั้งหลาย ชื่อว่าเนกขัมมะ เพราะออกจากกาม เมื่อกุศลเกิด กามทั้งหลายก็เกิดไม่ได้
๒.๒) อพยาปาทสังกัปปะ ดำริออกจากความพยาบาท ได้แก่ วิตกที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท
๒.๓) อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริออกจากการเบียดเบียน ได้แก่วิตกที่ประกอบด้วยกรุณา เป็นปฏิปักษ์ต่อการเบียดเบียน

วิตกดำริชอบ ทำให้พ้นจากความยินดียินร้าย เพราะมีนามรูปเป็นอารมณ์ปัจจุบัน จึงทำลายอภิชฌา โทมนัสให้พินาศ ก็ละวิตกในกาม ในการพยาบาท ในการเบียดเบียนได้ทั้ง ๓ เป็นตทังคะ เป็นโลกิยมัค ถ้าเป็นโลกุตตรมัคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ละวิตกทั้ง ๓ เป็นสมุจเฉท ถ้าเป็นสัมมามัคไปสู่สุคติ ก็ละวิตกได้ทีละอย่าง

๓.) สัมมาวาจา วาจาชอบ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก งดเว้นจากวีทุจริต ๔ อย่าง คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ

ด้วยสัมมาวาจา ๓ อย่าง คือ

๓.๑) กถาสัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ เช่น การแสดงธรรม หรือสั่งสอนศิลปวิชาต่าง ๆ จำเป็นต้องกล่าวเพราะมีประโยชน์
๓.๒) เจตนาสัมมาวาจา การตั้งใจเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ไว้ก่อน
๓.๓) วิรตีสัมมาวาจา การงดเว้นวจีทุจริตทั้ง ๔ เฉพาะหน้าเพื่อไม่ให้เสียศีล

สัมมาวาจาในองค์มัค หมายเอาวิรตีสัมมาวาจา งดเว้นไม่พูดทั้ง ๔ อย่าง ถ้าในอริยมัค งดเว้นวจีทุจริตทั้ง ๔ เป็นสมุจเฉท ขณะกำลังเจริญสติปัฏฐานก็เว้นวจีทุจริต ๔ เป็นตทังคะเพราะมีนาม รูป เป็นอารมณ์ปัจจุบัน ถ้าเกิดกับกุศลธรรมดาก็เว้นวจีทุจริตได้ทีละอย่าง

๔.) สัมมากัมมันตะ การงานชอบ องค์ธรรมได้แก่สัมมากัมมันตเจตสิก การงดเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่าง คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงกาม

ด้วยสัมมากัมมันตะ ๓ อย่าง คือ

๔.๑) ยถาพลสัมมากัมมันตะ ได้แก่ ทำการงานชอบตามกำลังของตน
๔.๒) เจตนาสัมมากัมมันตะ เจตนาตั้งใจเว้นจากกายทุจริต ๓
๔.๓) วิรตีสัมมากัมมันตะ งดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ เฉพาะหน้า คือ ไม่ยอมทำสิ่งที่ไม่ควรทำ

สัมมากัมมันตะในองค์มัค หมายเอาวิรตีสัมมากัมมันตะ ถ้าในอริยมัคงดเว้นกายทุจริต ๓ เป็นสมุจเฉท ขณะกำลังเจริญสติปัฏฐานก็เว้นกายทุจริต ๓ เป็นตทังคะ ถ้าเกิดกับกุศลธรรมดา ก็เว้นกายทุจริตได้ทีละอย่าง

๕.) สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวะเจตสิก ต้องเว้นกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ จึงจะเป็นอาชีพสุจริต

ด้วยสัมมาอาชีวะ ๓ อย่าง คือ

๕.๑) วิริยสัมมาอาชีวะ ได้แก่แสวงหาอาชีพสุจริตด้วยความเพียรของตนเอง เช่น ทำนา ทำสวน เป็นต้น
๕.๒) เจตนาสัมมาอาชีวะ มีเจตนาตั้งใจประกอบอาชีพสุจริต หรือได้แก่เจตนาของผู้สมาทานอาชีวัฏฐมกศีล คือเว้นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ล่วงกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่ประกอบมิจฉาชีพ ชื่อว่าศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ เป็นศีลเบื้องต้นให้ถึงพรหมจรรย์
๕.๓) วิรตีสัมมาอาชีวะ เมื่อมีวัตถุจะให้ล่วงกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ก็เว้นได้ไม่ยอมให้เสียศีล

สัมมาอาชีวะในองค์มัค หมายเอาวิรตีสัมมาอาชีวะ ต้องเจริญสติปัฏฐานมีนาม รูปเป็นอารมณ์ปัจจุบัน จึงจะมีอาชีพบริสุทธิ์ โดยงดเว้นได้เป็นตทังคะ ถ้าถึงมัคคจิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็เว้นมิจฉาอาชีวะได้ เป็นสมุจเฉท ส่วนการประกอบอาชีพธรรมดา ย่อมเว้นกายทุจริต วจีทุจริตได้ทีละอย่าง

๖.) สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ องค์ธรรมได้แก่วิริยะเจตสิก คือความเพียรที่เรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ เป็นความเพียรที่เผาผลาญกิเลสด้วยกิจ ๔ อย่าง คือ

ก.) เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ข.) เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หมดไป
ค.) เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ง.) เพียรเจริญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ต้องเป็นความเพียรที่เจริญสติปัฏฐานมีนาม รูป เป็นอารมณ์ปัจจุบัน เป็นกิจของสมาธิ จึงละกิเลสนิวรณ์ได้เป็นตทังคะ โดยเพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น กิจของความเพียรทั้ง ๔ ก็เข้าร่วมไปพร้อมกัน เมื่อถึงมัคคจิตก็ปหานอนุสัยกิเลสขาดเป็นสมุจเฉท ถ้าเพียรเจริญกุศลธรรมดาทำให้อกุศลเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น แต่ไม่มีการละกิเลสนิวรณ์ เพราะไม่ใช่ความเพียรที่เผาผลาญกิเลส

๗.) สัมมาสติ การระลึกชอบ องค์ธรรมได้แก่สติเจตสิก ต้องระลึกในอารมณ์สติปัฏฐาน มีกาย เวทนา จิต ธรรม หรือ นามรูป ที่สำรวมอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน เป็นสัมมาสติก็ทำลายวิปลาสความเห็นผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนได้ เป็นตทังคะ ถ้าถึงมัคคจิตก็ละวิปลาสขาดเป็นสมุจเฉทตามมัคที่ปหานกิเลสได้ แต่ถ้าระลึกในกุศลธรรมดา ก็ละวิปลาสไม่ได้

จบ คัมภีร์มหาปัฏฐานอย่างย่อ (ตอนที่ ๓๖.ก) (มัคคปัจจัย)

ขอให้ การอ่าน การศึกษา ของทุกท่านตามกุศลเจตนา ได้เป็นพลวปัจจัย เพิ่มพูลกำลังสติ กำลังปัญญา ให้สามารถนำตนให้พ้นจากวัฏฏทุกข์ด้วยครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2021, 13:10 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร