วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Transparent-PNG.png
Gautama-Buddha-Transparent-PNG.png [ 242.57 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สังคหวัตถุ

สังคหวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน,
ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หมายถึง หลักการครองใจคน,
หลักยึดเหนี่ยวใจกันไว้, วิธีทำให้คนรัก, หลักสังคมสงเคราะห์
ซึ่งเป็นเครื่องประสานใจและเหนี่ยวรั้งใจคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
และทำให้อยู่กันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน

สังคหวัตถุ เกิดขึ้นได้เพราะมีพรหมวิหารธรรมอยู่ในใจ (ดูเรื่องพรหมวิหาร ๔)

สังคหวัตถุมี ๔ ประการ คือ

๑. ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น
๒. ปิยะวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์
๓. อัตถจริยา ช่วยเหลือกัน ทำประโยชน์ให้กัน
๔. สมานัตตา การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ มีความเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวดีต่อกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




png_buddha_42201.png
png_buddha_42201.png [ 414.91 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน,
การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง,
การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน
ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส

ในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

สติปัฏฐานมี ๔ ได้แก่

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-PNG-Images-HD.png
Gautama-Buddha-PNG-Images-HD.png [ 414.49 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สติสัมโพชฌงค์

สติสัมโพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งความรู้พร้อม
สติในข้อนี้พึงทำความสำคัญว่าคือสติเพื่อความรู้พร้อม
อันเรียกว่าสัมโพชฌงค์ หรือโพชฌงค์
และเมื่อให้ประกอบด้วยสติปัฏฐานทั้ง ๔
ก็คือสติที่กำหนดดู กาย เวทนา จิต และธรรม ในจิตนั้นเอง
เพราะฉะนั้นทั้ง ๔ นี้จึงเป็นที่ตั้งของสติ

สติ ที่เป็นสัมโพชฌงค์ หมายถึง การระลึกรู้ถึงอดีต
คือเรื่องที่เคยได้รู้ได้เห็นมาแล้วในอดีต
การระลึกนึกถึงปัจจุบัน คือเรื่องที่ประสบอยู่เฉพาะหน้า
ที่กำลัง กำลังพูด กำลังคิดอยู่ ก็ระลึกรู้ทัน
การระลึกรู้ถึงอนาคต คือเรื่องที่จะเกิดมีในการข้างหน้า
เช่น ความแก่ ความตาย ก็ระลึกรู้เท่าทัน นึกป้องกันไว้แต่แรก

สติยังเป็นองค์ธรรมที่สนับสนุนประคับประคอง โพชฌงค์ข้ออื่นๆ
ให้ดำรงค์มั่นคงอยู่ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย
สติสัมโพชฌงค์ จะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยโยนิโสมนสิการ
คือการใส่ใจเรื่องนั้นๆเสมอ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Statue-PNG-HQ-Pic.png
Gautama-Buddha-Statue-PNG-HQ-Pic.png [ 1.27 MiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สมถกรรมฐาน

สมถะ คือ ตัวสมาธิ สมถกรรมฐาน คือกรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ
ได้แก่การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สมาธิเป็นหลัก
ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญาและ มุ่งให้จิตสงบ ระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิต
ไม่ให้บรรลุความดีเป็นสำคัญ

สมถกรรมฐาน เป็นอุบายวิธีที่หยุดความฟุ้งซ่านแห่งจิตซึ่งมักจะฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
กล่าวคือ หยุดความคิดของจิตไว้ โดยใช้สมาธิยึดดึงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในกรรมฐาน ๔๐ กองมาบริกรรมจนกระทั่งจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้น และสงบระงับไม่ฟุ้งซ่านต่อไป

สมถกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งบริหารจิตเป็นหลัก คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน
ที่มุ่งการอบรมปัญญาเป็นหลัก สมถะ มีประสิทธิภาพ ในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง
ด้วยอำนาจของวิกขัมภนปหาน สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้
เพราะแม้ในฌานสมาบัติเอง ก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2014, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




png_buddha_42201.png
png_buddha_42201.png [ 414.91 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สันโดษ

สันโดษ แปลว่า ความยินดี ความพอใจ หมายถึง ความยินดีพอใจในตนที่ได้มา
หรือผลงานที่ตนกระทำได้ผลสำเร็จมาด้วยน้ำพักน้ำแรงโดยชอบธรรม

สันโดษ มี ๓ ลักษณะ คือ

๑. ยินดีตามได้ คือยินดีพอใจในสิ่งเท่าที่มี เท่าที่ได้ด้วยกำลังของตน
ไม่ดิ้นรนอยากได้จนเกิดการทุจริตจนทำให้เดือดร้อน

๒. ยินดีตามกำลัง คือยินดีพอใจกำลังของตน ใช้กำลังที่มีอยู่
เช่น ความรู้ความสามารถ ให้เกิดผลเต็มที่เต็มกำลังไม่ย่อหย่อนบกพร่อง

๓. ยินดีตามสมควร คือยินดีพอใจแต่พอดี ไม่เกินเลย คือรู้จักพอให้เป็น อิ่มเป็น
แบ่งปันในส่วนที่เกินเลยไป เอื้อเฟื้อผู้อื่นพอสมควร

สันโดษ เป็นทรัพย์ภายในที่ทำให้เกิดความสุขได้มากกว่าทรัพย์ภายนอก
ดังคำกล่าวที่ว่า รู้จักพอ ก่อสุขทุกสถาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2014, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha-6622721_1280.png
buddha-6622721_1280.png [ 299.28 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สมาธิสัมโภชฌงค์

สมาธิสัมโภชฌงค์ แปลว่า ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้พร้อมคือ สมาธิ
หรือ สมาธิเป็นองค์ประกอบแห่งการตรัสรู้พร้อม

สมาธิสัมโพชฌงค์ หรือโพชฌงค์คือสมาธิ คือจิตใจก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ตั้งมั้นอยู่ในอารมณ์ของสมาธิที่ตั้งปฏิบัติ จะเป็นอารมณ์ของสมาธิข้อใดก็ตามที่ตั้งปฏิบัติมา
เช่นว่าตั้งใจปฏิบัติทำอานาปานสติมา หรือข้อใดข้อหนึ่งอื่นก็ตาม เมื่อมีโพชฌงค์มาประกอบ
ถึงขั้นนี้แล้ว ก็จะได้สมาธิดีขึ้น

เพราะว่าอาการที่กายใจสงบมีสุขนี้เป็นที่ตั้งของสมาธิ ถ้าไม่มีสุขประกอบ
กับความสงบกายใจ สมาธิก็ยากที่จะตั้งได้ เหมือนอย่างบุคคลนั่งอยู่ในที่ร้อนก็นั่งไม่ติด
จะต้องรีบลุกออกไป หรือต้องขยุกขยิกไม่ผาสุก แต่ว่านั่งอยู่ในที่สบาย
กายใจเองก็สบายไม่เมื่อยไม่ขบ มีสุข ก็นั่งอยู่ได้นาน จิตก็เช่นเดียวกัน เมื่อจิตมีสุข
มีความสงบจิตก็ตั้งอยู่ได้ดี ได้ดีในสมาธิที่ๆ ตั้งปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น จะเป็นข้อใดก็ได้ทั้งนั้น

และหากว่าไม่ได้ตั้งปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น เอาเป็นปัจจุบันธรรม โดยที่เริ่มปฏิบัติโพชฌงค์
มาจากอายตนะ ดังที่ได้แสดงในวันนี้ ก็ยกเอาปัจจุบันธรรมคือฟังธรรมบรรยายนี่มาเป็นเริ่มต้น
ก็แปลว่าไม่ได้ไปตั้งสมาธิไว้ในข้อไหนมาตั้งแต่ต้น ถ้าหากว่าไม่ได้ตั้งสมาธิข้อใดมาตั้งแต่ต้นดั่งนี้
ปฏิบัติทางโพชฌงค์เรื่อยมาจากปัจจุบันธรรมจริงๆ ดั่งนี้แล้ว

เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วจิตก็จะสงบอยู่ภายใน ไม่ฟุ้งออกไป รวมเข้ามาเอง
สงบอยู่ในภายใน และเมื่อสงบอยู่ในภายในนี้ อะไรผ่านเข้ามาทางอายตนะก็รู้
เสียงที่แสดงธรรมะนี้ก็เป็นเสียงที่ผ่านเข้ามาทางหู ก็รู้ รู้ทุกถ้อยคำของเสียงที่แสดง
แต่ว่าจิตไม่ฟุ้งออกไปไหน ไม่ฟุ้งออกไปในเรื่องนั้นเรื่องนี้อะไรที่กล่าวมาข้างต้น

ดั่งนี้แหละคือตัวสมาธิสัมโพชฌงค์ สงบอยู่ภายใน รู้ แต่ไม่ออก
อะไรเข้ามาทางหูก็รู้ อะไรเข้ามาทางตาก็รู้ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็รู้
แต่จิตไม่ออกสงบอยู่ในภายใน และสิ่งที่เข้ามานั้นก็เหมือนอย่างว่าตกอยู่ข้างนอก
ไม่เข้ามาสู่ใจ เหมือนอย่างว่าฝนตกลงมา บุคคลอยู่ในบ้านที่หลังคาไม่รั่ว
ก็รู้ว่าฝนตกมากระทบหลังคา แต่ว่าก็ไม่ตกเข้ามาเปียกบุคคลที่อยู่ในห้องในบ้าน

เพราะหลังคาไม่รั่ว แต่ก็รู้ว่าฝนตก เพราะฉะนั้นสมาธิในสัมโพชฌงค์นี้ก็เช่นเดียวกัน
สงบอยู่ภายใน ตั้งมั่นอยู่ในภายใน ตาก็มองเห็น หูก็ได้ยิน จมูกลิ้นกายก็ทราบ ใจก็รู้
แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่รั่วเข้ามา จิตสงบอยู่ในภายใน ตั้งอยู่ในภายใน
ดั่งนี้ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ หรือสมาธิโพชฌงค์อันเป็นข้อที่ ๖

สมาธิสัมโภชฌงค์ เกิดจากโยนิโสมนสิการ คือฝึกฝนใส่ใจอยู่กับสมาธินิมิตนั้นเนืองไ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




vesak-6622705__480.png
vesak-6622705__480.png [ 163.6 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สังฆาฏิ

สังฆาฏิ แปลว่า ผ้าซ้อนนอก, ผ้าทาบ
เป็นชื่อเรียกผ้าผืนหนึ่งในจำนวน ๓ ผืน หรือไตรจีวรของพระคือ จีวร สบง สังฆาฏิ

สังฆาฏิ คือผ้าที่ซ้อนทับจีวรอีกชั้นหนึ่งทำนองเป็นผ้าคลุม
สำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เมื่อห่มทาบจีวรก็จะเป็นผ้าสองชั้น
ทำให้อบอุ่นขึ้นเมื่อห่ม จึงเรียกว่า ผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อน, ผ้าทาบ)

สังฆาฏิแท้จริงแล้วเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ เป็นต้น

สังฆาฏิ ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อน
ด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไป แต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่า
เพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง จนกลายเป็นผ้าพาดบ่าตามปกติไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




6249999_orig.gif
6249999_orig.gif [ 74.87 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สังฆานุสสติ

สังฆานุสสติ แปลว่า การระลึกถึงพระคุณของพระอริยะสงฆ์เนืองๆ
เป็นวิวิธีบำเพ็ญกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ (ดูเรื่ออนุสสติ ๑๐)

สังฆานุสสติ คือ การสำรวมจิตน้อมระลึกนึกถึงคุณของพระอริยะสงฆ์ ๙ ประการ
คือบทสังฆคุณ ที่ว่า "สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ฯลฯ ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ
ทั้งหมดหรือบทใดบทหนึ่ง นึกภาวนาไปจนจิตสงบนิ่งแน่วแน่อยู่กับอารมณ์คือคำภาวนา

สังฆานุสสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนืองๆ ในทุกอิริยาบถทุกเวลา
ย่อมส่งผลให้จิตสงบระงับจาก ราคะ โทสะ โมหะ มีความยำเกรงในพระสงฆ์
ได้ศรัทธา สติ ปัญญา บุญบารมีเพิ่มไพบูลย์ขึ้น เกิดปิติปราโมทย์ยิ่งขึ้น
สามารถข่มภัยและความกลัวได้ บรรเทาทุกข์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2014, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d57tihj-c19ce105-c382-4b2e-976c-22658f2a7614.png
d57tihj-c19ce105-c382-4b2e-976c-22658f2a7614.png [ 396.46 KiB | เปิดดู 905 ครั้ง ]
เรื่อง สังโยชน์

สังโยชน์ แปลว่า กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์
หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ เปรียบเหมือนโซ่ตรวนมัดสัตว์ มิให้บรรลุ มี ๑๐ ประการ

สังโยชน์ ๑๐ แบ่งออกเป็น ๒ หมวด

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
๒. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
๔. กามราคะ - มีความยินพอใจ ติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งจิตในใจความหงุดหงิดไม่พอใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่

๖. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
๗. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในอรูปฌานของตน
๘. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน หรือคุณสมบัติของตน
๙. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน ไปในอารมณ์ต่างๆ
๑๐. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง ไม่รู้แจ้ง ความเขลา ความหลง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Gautama-Buddha-Free-PNG-HQ-Image.png
Gautama-Buddha-Free-PNG-HQ-Image.png [ 223.54 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สัปปุริสธรรม

สัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ
หมายถึง คุณสมบัติของคนดี ธรรมของผู้ดี อันคนดีประพฤติต่อกันเป็นปกติ
สัปปุริสธรรม มีบรรยายไว้หลายลักษณะ ดังนี้

สัปปุริสธรรม ๗ ประกอบด้วย

๑. ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผล
๓. อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน
๔. มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล
๖. ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักบริษัท
๗.ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล

สัปปุริสธรรม ๗ นี้ มีบรรยายอยู่ในสังคีติสูตรในพระไตรปิฎก
สังคีติสูตรนี้เป็นพระสูตรที่รวบรวมธรรมะมากมาย เป็นการบรรยายแจกธรรมเป็นหมวดๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha_PNG23.png
buddha_PNG23.png [ 256.28 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สามัญลักษณะ

สามัญลักษณะ แปลว่า ลักษณะที่มีเสมอกันในสังขารทั้งปวง
หมายถึงภาวะที่เกิดขึ้น ภาวะที่มีที่เป็นแก่สังขารทั้งปวงอย่างเสมอภาคกัน ไม่มียกเว้น

สามัญลักษณะ มี ๓ ประการ คือ

๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตนความมิใช่อัตตา

สามัญญลักษณะ ยังมีชื่อเรียกอีกว่า ธรรมนิยาม
คือกฎแห่งธรรม หรือ ข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร และบางอย่าง
คือ อนัตตลักษณะยังเป็นข้อกำหนดของวิสังขาร (พระนิพพาน) เป็นต้นอีกด้วย.

และ ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ ๓ ประการ
หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่
อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา
ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติ
ทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ
อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น
ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2014, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Buddha-Face-PNG-Image.png
Buddha-Face-PNG-Image.png [ 232.91 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สาธุ

สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว
เช่น ฟังพระท่านเทศน์แล้วถึงอกถึงใจเหลือเกิน ก็อาจร้องว่า "สาธุ"
แปลว่าธรรมที่ท่านพูดนี่ชอบแล้ว น่าชื่นใจ จึงพูดออกมา
หรือใช้ในกรณีอยากแสดงความยินดีกับบุญที่เขาทำไว้ชอบแล้ว
ก็พูดว่า "สาธุ" ในที่นี่เป็นการแสดงออกว่าใจเรายินดีในบุญนี้
ก็คือ พูดสาธุเพื่ออนุโมทนาครับ

ในบางกรณี"สาธุ"จะใช้ควบคู่ไปกับ"อนุโมทนา" ก็อยู่ในความหมายอันเดียวกัน
อนุโมทนา แปลว่า ยินดีตาม พลอยยินดีตาม เป็นอาการจิตแสดงมุทิตากับคนอื่น
เมื่อเห็นเขาได้ทำบุญ รู้ว่าเขาจะได้รับสิ่งดีๆกลับมาก็ยินดีไปกับเขาด้วย
ใจก็เลยพลิกจากเฉยๆเป็นกุศลตาม ได้บุญจากการร่วมอนุโมทนานี้ด้วย
สาธุ จะใช้กับส่วนที่เป็นบุญกุศล

แต่ถ้าดีใจหรือพลอยยินดีกับที่เห็นคนอื่นทำบาป ก็ได้บาปไปด้วย
เช่นเห็นคนตกปลา แล้วพลอยยินดี ชอบใจ ชื่นชมว่าเป็นคนเก่งมีความสามารถมาก
ก็จะได้รับผลของกรรมดำอันนั้นด้วย หรือในขณะที่คนเลวได้รับผลของกรรม
เช่น ถูกรถชนตาย ถูกยิงตาย บางคนจะร้องว่า "สาธุ" ก็เป็นการยินดีกับการตาย
ตายเสียได้ก็ดี อยู่ไปก็จะสร้างบาปอีก หรืออาจเป็นการสมน้ำหน้า เหล่านี้ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




nak-768x658.png
nak-768x658.png [ 208.44 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่อง สัมมาทิฏฐิ

สัมมาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นที่ถูกต้อง หมายถึง ความเห็นที่ถูกคลองธรรม
ตามความเป็นจริง เป็นความเห็นที่เกิดจากโยสิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา

สัมมาทิฎฐิ ที่เป็นอริยมรรค ๘ หมายถึง ความเห็นในอริยสัจจ์ ๔ คือ เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

สัมมาทิฏฐิที่เป็นมโมสุจริต (ดูเรื่องสุจริต) ความเห็นถูกต้อง ๑๐ อย่าง

๑. ทานที่ให้แล้วมีผลจริง
๒. การเคารพบูชามีผลจริง
๓. การเซ่นสรวงหรือการบูชามีผลจริง
๔. วิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีผลจริง
๕. โลกนี้มีจริง
๖. โลกหน้ามีจริง
๗. มารดามีคุณจริง
๘. บิดามีคุณจริง
๙. สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นมีจริง
๑๐. พระอรหันต์ผู้ สามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้ามีอยู่จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2014, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddhist-monks-discussing.png
buddhist-monks-discussing.png [ 68.48 KiB | เปิดดู 906 ครั้ง ]
เรื่องสีลวิบัติ

สีลวิบัติ แปลว่า ความวิบัติแห่งศีล ความเสียศีล
สีลวิบัติ หมายถึง การไม่สำรวมระวังจนล่วงละเมิดศีลที่ตัวเองรักษา
รวมถึงการไม่รักษาศีล การไม่มีศีล การประพฤติเสียศีล เช่นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น

คนที่มีสีลวิบัติ เรียกได้ว่า คนเสียศีล คือเป็นคนเสียเพราะไม่มีศีล
หรือเพราะละเมิดศีลย่อมมีพฤติกรรมที่เป็นโทษที่ผิดปกติจากคนทั่วไป
เช่น ชอบก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นเป็นนิจ
กล่าว คือเป็นคนโหดร้าย ขาดเมตตากรุณา หากินโดยทุจริต
ชอบละเมิดคู่ครองของผู้อื่น ชอบพูดโกหกมดเท็จ ชอบดื่มสุราเมรัย เป็นต้น

คนที่มีศีลวิบัตินั้นชื่อว่าเป็นคนเสีย คือเป็นคนเสียคน เป็นคนอาภัพ
ไม่เหมาะสมที่จะบรรลุถึงความสำเร็จหรือความเจริญก้าวหน้า เป็นเอาดียาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2014, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




976f538e56f3c54d60b4ea27b7314554.png
976f538e56f3c54d60b4ea27b7314554.png [ 348.08 KiB | เปิดดู 905 ครั้ง ]
เรื่อง สหชาติ

สหชาติ แปลว่า ผู้เกิดร่วม วัน เดือน ปี เดียวกัน (เหมือน สหชาต).

ในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูตินั้นมีผู้ที่เป็นสหชาติ
คือ เกิดในวัน เดือน ปีเดียวกัน กับเจ้าชายสิทธัตถะ มี ๗ ประการ ดังนี้

๑. พระนางพิมพา ต่อมาได้เป็นอัครมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะและให้กำเนิดพระราหุลกุมาร
๒. พระกุมารอานนท์ ต่อมาตามเสด็จออกบรรพชาจนสำเร็จอรหันต์และเป็นพระมหาพุทธอุปัฏฐาก
๓. กาฬุทายี บุตรของอำมาตย์ ต่อมาได้ตามเสด็จออกบรรพชาและสำเร็จอรหันต์
๔. นายฉันนะกุมาร บุตรมหาดเล็ก ซึ่งเป็นผู้ตามเสด็จในวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก
บรรพชาและต่อมาตามเสด็จออกบวชจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
๕. ม้ากัณฐกอัศวาร เป็นม้าทรงที่เจ้าชายสิทธัตถะใช้เสด็จออกจากพระนครเพื่อบรรพชา
๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์งอก ต่อมาเป็นมหาโพธิบัลลังก์ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับในวันตรัสรู้
๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ อันมีนาม สังขนิธี เอลนิธี อุบลนิธี บุณฑริกนิธี ซึ่งหากพระองคดำรงเพศ
ฆราวาสจะมีพระราชทรัพย์ในพระคลังมากมายมหาศาล

เมื่อทราบข่าวการประสูติของพระราชกุมาร บรรดาเหล่ากษัตริย์ทั้งสองพระนคร
คือ ฝ่ายราชวงศ์ศากยะแห่งกบิลพัสดุ์ และราชวงศ์โกลิยะแห่งเทวทหะ
ต่างมีความปีติโสมนัส พระเจ้าสุทโธทนะได้จัดขบวนแห่งแหนอันประกอบด้วยดุริยางศ์
ดนตรีประโคม แวดล้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร เชิญเสด็จพระราชเทวีและพระราชกุมาร
เข้าสู่พระนคร แล้วจัดพิธีเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร