วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2013, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




miranda_cosgrove_png_by_littleblackrusher_d5zv9yr-fullview.png
miranda_cosgrove_png_by_littleblackrusher_d5zv9yr-fullview.png [ 372.72 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง กาม

กาม แปลว่า ความใคร่ ความรัก ความชอบ ความต้องการ ความปรารถนา
คำว่า กาม ส่วนใหญ่จะใช้ความหมายไปในเรื่อง เพศสัมพันธ์
กามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้ชอบใจ รักใคร่ ใหลหลง ยินดีกับสิ่งนั้นๆ มี ๕ อย่าง
ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
กามฉันท ความยินดีพอใจในกาม
กามภพ ภพของสัตว์ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม
กามตัณหา ความอยากในกามคุณ ความอยากในกามภพ
กามวิตก ความตรึกนึกถึงกาม
กามาสวะ สิ่งที่หมักดองอยู่ในจิต คือ กาม
กาโมฆะ ห้วงน้ำคือกาม
กามุปาทาน ยึดมั่นในกาม
กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกาม

กตัตตากรรม คือ อกุศลกรรมและกุศลกรรมที่แต่ละคนได้กระทำมาแล้วทั้งในอดีตชาติ
และในปัจจุบันชาติ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นเป็นครุุกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรม เป็นเพียงกรรมที่
ผู้กระทำไม่มีเจตนาเพราะไม่รู้ว่านั่นเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว
กตัตตากรรม เป็นกรรมที่ให้ผลเป็นอันดับที่ ๔ เป็นการที่ผู้กระทำไม่ได้มีเจตนา
ไม่ได้มีความตั้งใจกระทำ เช่น การกระทำของเด็กทารกไร้เดียงสาที่มีบิดามารดา
ที่ชอบทำบุญให้ทาน จึงปรารถนาจะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับลูก เวลาที่จะทำบุญตักบาตร
ก็จับมือเด็กทารกที่ยังไม่รู้อะไรเลย ให้ถวายทานแก่พระสงฆ์ หรือเวลาที่พระผ่านมา
ก็สอนให้พนมมือไหว้ด้วยความเคารพ ทั้งๆที่ ใจของลูกนั้นยังไม่รู้อะไรเลย
แต่ว่ากุศลกรรมที่ได้ทำลงไปนั้น ย่อมให้ผล แม้จะทำแบบไม่รู้เรื่องก็ตาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d57tilu-6791217f-6700-4ada-b723-7038fdf9b28c.png
d57tilu-6791217f-6700-4ada-b723-7038fdf9b28c.png [ 657.94 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง กายานุปัสสนา

กายานุปัสสนา แปลว่า การตามดูร่างกาย เป็นกรรมฐานข้อหนึ่งในหมวดสติปัฎฐาน (ดูสติปัฏฐาน)
เรียกเต็มๆ ว่า กายานุปัสสนากรรมฐาน คือ สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์

คำว่า กาย มีความหมายหลายประการ
กายปสาท
กายปสาทรูป เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับโผฏฐัพพารมณ์ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึง ได้
คำว่ากายนี้ มีความหมายหลายประการ คือ หมายถึงรูปอันเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ
มี ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
บางที่ก็ใช้ความหมายของร่างกายทั้งหมด และบางทีก็ใช้ในความหมายของนามธรรม เช่น จิตและเจตสิก
และบางทีก็ใช้ความหมายของความเป็นกลุ่ม เป็นกอง เมื่อรวมความแล้ว อาจจำแนกความหมายของคำว่า กาย ได้เป็น ๔ ประการ
๑. ปสาทกาย หมายถึง กายปสาทรูป
๒. รูปกาย หมายถึง รูปธรรมทั้งปวง
๓. นามกาย หมายถึง นาม จิตและเจตสิก
๔. บัญญัติกาย หมายถึง สมูหบัญญัติ คือ บัญญัติหมวดหมู่ กลุ่ม กองต่างๆ มีกองช้างเรียกว่าหัตถกาย กองม้าเรียกว่า อัสสกาย เป็นต้น มีวจนัตถะว่า กุจฺฉิตานํเกสาทีนํปาปธมฺมานญฺจ อาโยติ = กาโย แปลความว่า รูปใดเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่างๆ มีผม ขน เล็บ เป็นต้น และเป็น ที่ประชุมแห่งอกุศลธรรม รูปนั้น ชื่อว่ากาย หมายถึงร่างกายทั้งหมด
สำหรับกายปสาทที่เรียกว่ากายนั้น เป็นการแสดงโดยอ้อม คือยกเอาคำว่ากาย อันเป็นชื่อของร่างกายทั้งหมดนั้นมาตั้งในกายปสาทที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายนั้น

อีกนัยหนึ่ง กายปสาทที่ชื่อ กายะ นั้นนับเป็นการแสดงโดยอ้อม คือยกเอาคำว่า กายะ ที่เป็นชื่อของร่างกาย อันเป็นที่เกิดแห่งกายปสาทมาตั้งในกายปสาทที่เป็นผู้อาศัยเกิด
กายปสาทนี้เป็นรูปธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน มีสภาพเป็นความใส และเป็นเครื่องรับสิ่งสัมผัสต่างๆ มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึงได้ กายปสาทนี้เกิดอยู่ทั่วร่างกาย เว้นไว้ที่ปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ หนังที่หนา และที่รวมแห่งอาหารใหม่ใต้ลำใส้ใหญ่อันเป็นสถานที่ของปาจกเตโช

มีหน้าที่ให้สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ
เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณประการหนึ่ง
และเป็นทวารอันเป็นที่เกิดแห่งกายทวารวิถีอีกประการหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 04:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d72oz49-bb8906fc-f109-4c51-9f54-8751c92f595b.png
d72oz49-bb8906fc-f109-4c51-9f54-8751c92f595b.png [ 204.42 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง ขันธ์ - เบ็ญจขันธ์

ขันธ์ แปลว่า กอง หมวด หมู่ มัด
ชีวิตสัตว์ทั้งหลายในปัญจโวการภูมิ จึงประกอบไปด้วย ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เรียกว่าเบญจขันธ์ มี
๑. รูป ได้แก่ร่างกายทั้งหมด ส่วนในพระอภิธรรม ได้แก่ รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น
๒. เวทนา ได้แก่ การเสวยอารมณ์ ที่เป็น สุข ทุกข์ เฉยๆ ทางทวารทั้ง ๖
๓. สัญญา ได้แก่ ความจำ จำได้ในสิ่งต่าง มีสีเขียว สีแดง นายมี นางมา เป็นต้น
๔. สังขาร ได้แก่ ความปรุงแต่ง ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เหล่านี้เป็นต้น
๕. วิญญาณ ได้แก่ ตัวสภาพธรรมที่รู้ สิ่งต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ในปรมัตถธรรม
รูป ได้แก่ รูป ๒๘
เวทนา สัญญา สังขาร ได้แก่ เจตสิก ๕๒
วิญญาณ ได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d57tihj-c19ce105-c382-4b2e-976c-22658f2a7614.png
d57tihj-c19ce105-c382-4b2e-976c-22658f2a7614.png [ 396.46 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง ขันติ

ขันติ แปลว่า อดทน อดกลั้น ความอดทนอดกลั้นนี้มี ๔ อย่าง คือ
๑. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ เป็นการอดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ความหนาว ความร้อน
๒. อดทนต่อทุกขเวทนา เป็นการอดทนต่อการเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกายของเราเอง ความปวด ความเมื่อย
๓. อดทนต่อความเจ็บใจ เป็นการอดทนต่อความโกรธ ความไม่พอใจ ความขัดใจ อันเกิดจากคำพูดที่ไม่ชอบใจ
๔. อดทนต่ออำนาจกิเลส เป็นการอดทนต่ออารมณ์อันน่าใคร่น่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่เราอยากทำ แต่ไม่สมควรทำในที่นี้มุ่งหมายถึง การไม่เอาแต่ใจตัว ไม่ยอมปล่อยตัวตามกระแสโลก ความเพลิดเพลิน เช่น ความสนุกสนาน การเที่ยวเตร่ ความฟุ้งเฟ้อต่าง ๆ หรือการได้ผลประโยชน์ในทางที่ไม่ควร เป็นต้น

ขันติ เป็นธรรมคู่กับ โสรัจจะ คือความ สงบเสงี่ยม (ดูหมวดโสรัจจะ)

ขันติ จัดเป็น โสภณธรรม คือเป็นธรรมที่สวยงาม ทำให้ผู้มีขันติ ดูงาม มีสง่า
น่าเกรงขาม น่าเคารพนับถือ และเป็นธรรมข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรม (ดูในทศพิธราชธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Selling-accounting-practice-ball-chain.jpg
Selling-accounting-practice-ball-chain.jpg [ 62.94 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง คันถธุระ
ธุระ คือหน้าที่กิจที่ควรพึงกระทำ

คันถธุระ หมายถึง งานด้านคันถะ, งานด้านการเล่าเรียน, งานเกี่ยวกับคัมภีร์หรือตำรา
โดยรวมคืองานเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์อันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
โดยการเล่าเรียนพระพุทธพจน์บทใดบทหนึ่งหรือพระไตรปิฎกทั้งหมดตามความสามารถแห่ง
สติปัญญาของตน แล้วท่องบ่น ทรงจำ สอนกันบอกกันต่อ ๆ ไป เพื่อรักษาพระพุทธพจน์ไว้
รวมถึงการแนะนำสั่งสอน เผยแพร่พระพุทธพจน์แก่บุคคลทั่วไป
ตลอดทั้งการจัดทำและการรักษาตำราและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย

คันถธุระ เป็นงานที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้ภิกษุปฏิบัติอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง
คือ คันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็ได้แก่ ปริยัติ และ ปฏิบัติ นั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Meesu village women kniting berra bihar 001.png
Meesu village women kniting berra bihar 001.png [ 581.42 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง ฆาราวาสธรรม

ฆาราวาสธรรม เป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือน เป็นหลักปฏิบัติของคฤหัสถ์ ผู้เป็นสามีภรรยากัน
มี ๔ ประการ
๑. ขันติ ความอดทน ต่อการประพฤติ ศีล
๒. จาคะ ความเสียสละ (โดยไม่หวัง ลาภ สักการะ ชื่อเสียง สรรเสริญ )
๓. ทมะ รู้จักข่มใจ ในการที่จะหลงใน คำชม และ โกรธนินทา
๔. สัจจะ สู้กับทุกข์ซึ่งๆหน้า มีความจริงใจต่อกันไม่หนี ไม่ปิดบังความจริง

ฆาราวาสธรรมเป็นธรรมที่นำความสุขความเจริญ ความร่มเย็นแก่ผู้ปฏิบัติตามได้
เป็นธรรมที่จะนำพาครอบครัวให้อยู่เป็นสุข นำพาชีวิตการครองเรือนเป็นไปด้วยความราบรื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Child-Girl-PNG-Pic.png
Child-Girl-PNG-Pic.png [ 147.14 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง จักรธรรม

จักธรรม แปลว่า ธรรมประดุจล้อรถ คือธรรมที่เป็นเสมือนล้อที่นำรถไปถึงจุดหมาย
จักธรรมมี ๔ ประการ คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ใประเทศอันสมควร
๒. สัปปุริสูปัสสยะ ได้คบหากับสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดี คือกุศลไว้ในชาติปางก่อน

ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นธรรมที่นำพาไปสู่ความเจริญ พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
จักร ๔ ประการนี้ ถ้าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกอบพร้อมแล้วในจักรทั้ง ๔ ย่อมเป็นเหตุให้เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายถึงความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ทั้งหลายได้โดยไม่นานเลย
และทรงสรุปเป็นว่า...

“ นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ พึงทำอารยชนให้เป็นมิตร ถึงพร้อมด้วยความตั้งตนไว้ชอบ
มีความดีอันได้ทำไว้ก่อน ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ เกียรติ และความสุข ย่อมพรั่งพรูมาสู่นรชนนั้น “

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1660551966693.jpg
1660551966693.jpg [ 53.12 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง จักขายตนะ

จักขุ คือ ตา, อายตนะ คือการเชื่อมต่อ
จักขุ (ลบ สระอุ ออก) อายตนะ (ลบ อ. ออก)=จักขายตนะ
อายตนะจัดเป็นคู่ๆ ได้แก่อายตนะ ๑๒ คือ
จักขายตนะ คู่กับ รูปายตนะ
โสตายตนะ คู่กับ สัททายตนะ
ฆานายตนะ คู่กับ คันทายตนะ
ชิวหายตนะ คู่กับ รสายตนะ
กายายตนะ คู่กับ โผฏฐัพพายตนะ
มนายตนะ คู่กับ ธัมมายตนะ

จักขุเป็นอาตนะภายใน เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูปต่างๆ ได้แก่ รูปายตนะ
ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เพื่อรับรู้ รูปารมณ์ การรับรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อวิญญาณเกิดขึ้น
ซึ่งโดยปกติวิญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการกระทบกันระหว่างอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน
ฉะนั้น อายตนะอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1657489765022.jpg
1657489765022.jpg [ 58.97 KiB | เปิดดู 978 ครั้ง ]
เรื่อง จาคะ

จาคะ แปลว่า ความเสียสละ หมายถึง การสละสิ่งของและความสุขส่วนตัว
เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น มีความหมายเดียวกับทานและปริจาคะ (ดูเรื่องทานและปริจาคะ)

จาคะ ยังหมายรวมไปถึง การสละทิ้งกิเลส ละความโลภ ความเห็นแก่ตัว
ความตระหนี่ ความใจแคบการเลิกละนิสัยและความประพฤติไม่ดี ที่ทำให้เกิดเสียหาย
ก่อความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้ง เป็นต้น

ลักษณะของผู้มีจาคะ คือ ยอมรับและเอื้ออาทรต่อความทุกข์ยากและความต้องการของผู้อื่น
ใจคอไม่คับแคบ ไม่เห็นแก่ตัวแล้วให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยความเห็นอกเห็นใจ
เป็นคนชอบให้ ชอบแบ่งปัน คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

จาคะ เป็นหลักปฏิบัติสำหรับคู่สามีภรรยากันข้อหนึ่ง (ดูเรื่องฆาราวาสธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2013, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Black-Ox-Animal-Transparent-Images.png
Black-Ox-Animal-Transparent-Images.png [ 242.29 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง จักขุปสาท

๑. จักขุปสาท จักขุ หมายถึง ลูกนัยตา ปสาท หมายถึง ความใสที่อยู่ในตาดำ
จักขุปสาทรูป เป็นรูปชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากกรรม มีความใสดุจกระจกเงา และสามารถรับรูปารมณ์ คือสีต่างๆได้ ตั้งอยู่ในระหว่างกลางตาดำ
มีเยื่อตา ๗ ชั้น มีสัณฐานโตประมาณเท่าหัวเหา มีหน้าที่สำเร็จกิจ ๒ ประการ คือ เป็นวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณจิตประเภทหนึ่ง
และเป็นทวารอันประตูเกิดแห่งจักขุทวารวิถีอีกประเภทหนึ่ง

จักขุปสาทรูปนี้ มีคุณลักษณะพิเศษอยู่ ๔ ประการ
๑. มีความใสของมหาภูตรูป ที่กระทบรูปารมณ์ เป็นลักษณะ
๒. มีการชักนำมาซึ่งรูปารมณ์ เป็นกิจ
๓. มีการเป็นที่ตั้งรองรับ จักขุวิญญาณจิต เป็นผล
๔. มีมหาภูตรูปอันเกิดจากกรรม อันประสงค์ที่จะเห็น เป็นเหตุใกล้

จักขุปสาทรูปนี้จึงไม่ได้หมายถึงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่มุ่งหมายเอาเฉพาะจักขุปสาทรูปที่ตั้งอยู่กลางตาดำโดยเฉาะเท่านั้น
ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงความหมายของจักขุไว้เป็น ๒ ประการ คือ มังสจักขุ และ ปัญญาจักขุ

มังสจักขุ ได้แก่ นัยน์ตาเนื้อที่ใช้มองสิ่งต่างๆได้ เช่นนัยน์ตาของสัตว์ ทั้งหลาย ว่าโดยสภาวธรรมแล้วก็ได้แก่ จักขุปสาทรูปนั่นเอง
ปัญญาจักขุ ได้แก่ ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญาคือ เป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่รู้ได้ด้วยตาเนื้อ
ปัญญาจักขุนี้พระพุทธองค์ยังแสดงไว้เป็น ๕ ชนิด คือ

๑. พุทธจักขุ หมายถึง ญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ
และญาณปัญญาที่สามารถรู้นามอินทรีย์(สัทธินทรีย์. วิริยินทรีย์. สตินทรีย์. สมาธินทรีย์.ปัญญินทรีย์.) ของสัตว์ทั้งหลายว่า
ยิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่าอินทริยปโรปริยัติญาณ องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
๒. สมันตจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่า
สัพพัญญุตญาณ องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิตดวงที่ ๑
๓. ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวะกิเลสที่เรียก อรหันตมัคคญาณ หรืออาสวักขยญาณ องค์ธรรม ได้แก่
ปัญญาเจตสิกในอรหันตตมัคคจิต
๔. ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยะบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม คือ พระโสดาบัน. พระสกทาคามี. พระอนาคามี.
องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่มัคจิตเบื้องต่ำ ๓
๕. ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลแสนไกลได้อย่างละเอียดด้วยอำนาจสมาธิ ที่เรียกว่า
อภิญญาสมาธิ องค์ธรรม ได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ดวง

ปัญญาจักขุทั้ง ๕ ประการนี้ พุทธจักขุ และ สมันตจักขุ ย่อมมีได้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ส่วนปัญญาที่เหลือ ๓ ย่อมเกิดแก่พระอริยะบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคลที่ได้ทิพพจักขุญาณตามสมควรแก่ญาณและบุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cow-with-calf-png-3.png
cow-with-calf-png-3.png [ 20.36 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่องจาคานุสสติ

จาคานุสสติ แปลว่า การระลึกถึงความเสียสละเนืองๆ
เป็นวิธีบำเพ็ญกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ (ดูเรื่องอนุสสติ ๑๐)

จาคานุสสติ คือ การกำหนดนึกถึงเสมอๆ ถึงจาคะคือความเสียสละของตน
นึกถึงทานที่ตนเคยให้ นึกถึงการบำเพ็ญประโยชน์ที่ตนเคยทำ
เคยให้อะไรที่เป็นประโยชน์ไว้บ้างก็ระลึกนึกถึงเสมอ
เมื่อระลึกได้ก็ปิติยินดี อิ่มใจ สบายใจ ปรารถนาจะให้อีก

จาคานุสสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนืองๆ ย่อมส่งผลให้ยินดีในการเสียสละยิ่งขึ้น
เป็นผู้มีอัธยาสัยไม่โลภ ประกอบด้วยความเมตตา กรุณา มีความกล้าหาญ ได้ ศรัททา
สติ ปัญญา บุญบารมีเพิ่มไพบูลย์ยิ่งขึ้น เกิดปิติปราโมทย์ยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sunrise-503924_960_720.jpg
sunrise-503924_960_720.jpg [ 92.68 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่องจิตตะ

จิตตะ แปลว่า ใส่ใจ สนใจ ผูกใจ คือเอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ ไม่วางธุระ

จิตตะ เป็นอิทธิบาท คือธรรมที่เป็นแนวทางให้ไปสู่ความสำเร็จ (เรื่องอิทธิบาท ๔)

จิตตะเป็นเรื่องของจิตใจในขณะที่ประกอบการงานที่ทำ ทำงานด้วยสติที่มั่นคง จิตใจไม่เลื่อนลอย
ไม่พลั้งเผลอ ไม่ทำแบบทำๆหยุดๆ ทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ

จิตตะเป็นเหตุให้งานไม่สะดุด ไม่ขาดตอนจนกระทั่งสำเร็จตามความประสงค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




9d1016c6e846c4298518515c768336d7.jpg
9d1016c6e846c4298518515c768336d7.jpg [ 82.12 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง จิตตานุปัสสนา

จิตตานุปัสสนา แปลว่า การตามดูจิต เป็นกรรมฐานข้อหนึ่งในหมวดสติปัฏฐาน
เรียกเต็มๆ ว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ สติกำหนดพิจารณาจิตเป็นอารมณ์

คำว่า จิต ในข้อนี้หมายถึงเข้าไปรู้ความนึกคิดอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิต
มี โลภ โกรธ หลง ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นต้น

วิธีปฏิบัติคือ กำหนดพิจารณาตามดูให้รู้จิตหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
เช่น กำลังรัก ก็รู้ว่ากำลังรัก กำลังโกรธ ก็รู้ว่ากำลังโกรธ เป็นต้น
จนจิตสงบเป็นสมาธิ ตามดูจนจิตเกิดปัญญา เห็นทั้งจิตภายในและจิตภายนอก
ทั้งที่กำลังเกิดและกำลังดับ จนถอนอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ในจิตได้
มีสติปรากฎที่จิตเห็นความจริงว่า จิตนี้สักแต่ว่าจิต มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2013, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




image.jpg
image.jpg [ 90.02 KiB | เปิดดู 4651 ครั้ง ]
เรื่อง เจตสิก

เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต
บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการคือ

เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต
เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต
เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต
เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า
เอกุปฺปาทนิโรธา จ เอกาลมฺพณ วตฺถุกา
เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส ธมฺมา เจตสิกา มตา
แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต
และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง

เตรสญฺญสมานา จ จุทฺทสากุสลา ตถา
โสภณา ปญฺจวีสาติ ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ

แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๓ ประเภท คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2013, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




665x448_nh-4144142868-135333.jpg
665x448_nh-4144142868-135333.jpg [ 157.07 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
เรื่อง ฉันทะ

ฉันทะ แปลว่า ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน(เป็นคำกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓,)

ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ
ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ(ให้ดี)
ฉันทะ เป็นอิทธิบาท คือธรรมที่เป็นแนวทางให้ไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ (ดูข้ออิทธิบาท)
ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล


ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะ คือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้

กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ
ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร