วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 12:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2014, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1651803449139.jpg
FB_IMG_1651803449139.jpg [ 24.01 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ทุจริต

ทุจริต แปลว่า การประพฤติชั่ว หมายถึง การทำผิด การกระทำในสิ่งที่ไม่ดี

ทุจริต มี ๓ อย่าง คือ

๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วทางกาย คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วทางวาจา คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วทางใจ คือ โลภ อยากได้ของเขา พยาบาท ปองร้ายเขา มิจฉาทิฎฐิ

มโนทุจริต เป็นมูลเป็นรากเง่าของ วจีทุจริต และกายทุจริต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2014, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1655611082351.jpg
FB_IMG_1655611082351.jpg [ 21.95 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง เทวตานุสสติ

เทวตานุสสติ แปลว่า การระลึกถึงคุณที่ทำให้เป็นเทวดาเนืองๆ
เป็นวิธีบำเพ็ญกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติกรรมฐาน ๑๐ (ดูเรื่องอนุสสติ ๑๐)

เทวตานุสสติ คือ การกำหนดนึกถึงคุณธรรมที่เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติเกิดเป็นเทวดา
ได้เสวยสุขเป็นทิพย์ คือ นึกถึงทาน ศีล ภาวนา ศรัทธา วิริยะ หิริ โอตตัปปะ ปัญญา เป็นต้น
เมื่อนึกถึงก็จะเกิดแรงบันดาลใจให้ประพฤติปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อให้ตนรับผลอย่างนั้นบ้าง

เทวตานุสสติ เมื่อระลึกถึงอยู่เนืองๆ ย่อมส่งผลให้เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเหล่าเทวดา
เทวดารักษาคุ้มครอง ได้ศรัทธา สติ ปัญญา บุญญาบารมีเพิ่มไพบูลย์ยิ่งขึ้น เกิดปิติปราโมทย์ยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1652318068192.jpg
FB_IMG_1652318068192.jpg [ 39.39 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่องโทสะ

โทสะ แปล่ว่า ความโกรธ ความขัดเคือง ความไม่พอใจ ความน้อยใจ
เป็นกิเลสอย่างหนึ่งในบรรดากิเลส ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ

โทสะ เป็นอกุศลมูล คือเป็นต้นเหตุของความชั่ว
ที่มีความ อิสสา ริษยา ปองร้าย เพ่งโทษ
มัจฉริยะ มีความตระหนี่ กุกกุจจะ มีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
ที่เรียกว่าโทสะเหตุ เป็นเหตุให้เกิดทะเลาะวิวาทกัน กลั่นแกล้ง ทำร้ายกัน ฆ่ากัน
ทำให้จิตใจเร่าร้อนกระวนกระวาย หวาดระแวงซึ่งกันและกัน จะไม่ยินดีกับสิ่งที่เคยปรารถนาไว้

อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ มาจากโทสะเหตุทั้งสิ้น จึงเรียกว่าโทสะเหตุ เช่น
เมื่อมีความอิสสาเกิดขึ้นก็อาศัยโทสะเป็นเหตุ (อิสสาไม่ใช่ตัวเหตุ)
เมื่อมีความมัจฉริยะเกิดขึ้นก็อาศัยโทสะเป็นเหตุ (มัจฉริยะไม่ใช่เหตุ)
เมื่อมื่ความกุกกุจจะเกิดขึ้นก็อาศัยโทสะเหตุ (กุกกุจจะไม่ใช่เหตุ)

โทสะที่เป็นเหตุนั้นสามารถกำจัดด้วยความ "เมตตา"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1656627095694.jpg
FB_IMG_1656627095694.jpg [ 55.19 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่องโทสจริต

จริต แปลว่า ความประพฤติ เป็นพฤติกรรมที่ปกติ
หมายถึง ความประพฤติที่ติดต่อสืบเนื่องจนเป็นเรื่องปกติของผู้นั้น ใช้คำว่าจริยาก็ได้

โทสจริต หมายถึงพฤติกรรมของคนที่มีโทสะเป็นปกติ คือ
จิตขุ่นเคืองโกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด
พูดตรงไปตรงมา ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์
แต่งตัวปราณีต สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว

มีจุดแข็ง
อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน มีระเบียบวินัยสูง ตรงต่อเวลา วิเคราะห์เก่ง
มองอะไรตรงไปตรงมา มีความจริงใจต่อผู้อื่น สามารถพึ่งพาได้
พูดคำไหนคำนั้น ไม่ค่อยโลภ

มีจุดอ่อน
ไม่มีความเมตตา ไม่เป็นที่คบค้าสมาคมของคนอื่น และไม่มีบารมี ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
สร้างวจีกรรมเป็นประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บง่าย

วิธีแก้ไข
สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มาก ๆ คิดก่อนพูดนาน ๆ และพูดที่ละคำ
ฟังทีละเสียง อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ
พิจรณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของของร่างกาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2014, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




jinpeng.png
jinpeng.png [ 565.36 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่องโทสาคติ

โทสาคติ แปลว่า ความลำเอียงเพราะไม่ชอบใจ เพราะโกรธกัน เกลียดกัน ชังกัน
เช่นการตัดสินคดีด้วยอำนาจความโกรธ เกลียดชัง โดยให้ผู้ที่โกรธกันนั้น เป็นผู้แพ้
ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรแพ้ ให้ของ ที่เลวแก่ผู้ที่ตนเกลียดชังทั้ง ๆ ที่เขาควรจะได้ของดี
ไม่ให้ยศหรือรางวัลแก่ผู้ที่ไม่ชอบกันทั้ง ๆ ที่เขาควรได้

แม้จะบริจาคสิ่งของก็ให้สิ่งที่ดีกับคนที่ชอบใจ สิ่งที่ไม่ดีก็ให้คนที่ไม่ชอบใจ
ซึ่งเป็นการไม่ยุติธรรมประการหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำลายความเชื่อถือจากบุคคลทั่วๆไป

โทสาคติ เป็นการเอียงข้าง ขาดความเป็นกลาง ทำอะไรก็ถือเอาความชอบใจ
และความไม่พอใจของตนเองเป็นเกณฑ์ ถือว่าไม่ใช่พวก ไม่ใช่เพื่อน
ใครมีความเห็นไม่ตรงกับความคิดของตนถือว่าไม่ถูกกัน ไม่ใช่สีเดียวกับตน เป็นต้น

โทสาคติ เป็นเหตุให้ถือเราถือเขา เลือกที่รักมักที่ชัง สร้างความร้าวลึก ทิ้งหลักเกณฑ์
ขาดความสามัคคี ให้ความร่วมมือ ไม่เจริญไม่ก้าวหน้า และอาจทำให้ถึงความล่มสลาย
ไปจนถึงหมู่คณะและครอบครัว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2014, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1659663702961.jpg
FB_IMG_1659663702961.jpg [ 136.36 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธรรมทาน

ธรรมทาน หมายถึง การให้อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ
เช่น การให้ความรู้ ให้อภัย ให้สติ ให้ข้อคิด ให้ข้อแนะนำ เป็นต้น

การให้คนอื่นได้ความรู้ ได้ความคิดเห็นที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ
ชักนำให้ให้ผู้อื่นละเว้นความชั่ว ให้ประพฤติแต่ความดี
ประกอบไปด้วยคุณธรรมจัดเป็นธรรมทานทั้งสิ้น

การให้ความรู้ ให้อภัย ให้สติ ให้ข้อคิด ให้ข้อแนะนำ ให้ความยุติธรรม
ให้ความรัก ให้ความอบอุุน ให้ความเป็นกันเอง ให้กำลังใจ ให้คำปลอบใจ เป็นต้น
อนุโลมเข้าเป็นธรรมทานได้

การให้ธรรมทาน ท่านว่าชนะการให้ทั้งปวง ดีกว่าการให้วัตถุสิ่งของ หรืออามิสทาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2014, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1656246394023.jpg
1656246394023.jpg [ 35.13 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธัมมเทสนามัย

ธัมมเทสนา หรือ ธรรมเทศนา แปลว่า การแสดงธรรม หมายถึงการเทศน์
การสอน การแนะนำ การชี้แจงธรรมให้ผู้อื่นได้เกิดปัญญาความรู้ที่ถูกต้องในทางธรรม
ได้สติได้ความคิดสะกิดใจ ได้แนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องคลองธรรม เป็นต้น
รวมถึงการชี้แจง การแนะนำ การสอนศิลปวิทยาต่างๆ ที่ทำให้เขาได้สติปัญญาความรู้
สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ด้วย เป็นการให้ดวงตา และแสงสว่างทางปัญญาแก่ผู้อื่น

ธัมมเทสนา เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า ธัมมเทสนามัย แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
(ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
ธัมมเทสนามัย เป็นเหตุให้เกิดความสุข สบายใจที่ได้ถ่ายทอดความรู้
ทางธรรมแก่ผู้อื่น เป็นเหตุให้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในทางที่ถูกต้องได้รับความนิยมยกย่อง
นับถือจากบุคคลทั่วๆไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fenghuang.png
fenghuang.png [ 497.47 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่องธัมมเทสนามัย

ธัมมเทสนา หรือ ธรรมเทศนา
แปลว่า การแสดงธรรม การสอนธรรม การแนะนำธรรม
การชี้แจงธรรมให้ผู้อื่นเกิดปัญญาความรู้ที่ถูกต้องในทางธรรม
ได้สติได้ข้อคิดสะกิดใจได้แนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องคลองธรรม เป็นต้น

รวมถึงการชี้แจง การแนะนำ การสอนศิลปวิทยาต่างๆ ที่ทำให้เขาได้สติปัญญาความรู้
สามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ด้วย
เป็นการให้ดวงตา และแสงสว่างทางปัญญาแก่ผู้อื่น

ธัมมเทสนา เป็นกุศลอย่างหนึ่ง เรียกว่าธัมมเทสนามัย
แปลว่า บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ธัมมเทสนามัยเป็นเหตุ และเป็นผลให้เกิดความสุขสบายใจ
ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางธรรมหรือทางโลกของตนให้แก่ผ้อื่น เป็นเหตุให้เกิดปัญญา
ฉลาดในทางที่ถูกต้อง ได้รับความนิยมยกย่องนับถือจากบุคคลทั่วไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2014, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1657358477972.jpg
FB_IMG_1657358477972.jpg [ 59.92 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธัมมัสสวนมัย

ธัมมัสสวนมัย แปลว่าการฟังธรรม หมายถึง การฟังเทศน์ ฟังบรรยาย
ฟังคำแนะนำสั่งสอนธรรมหรือการศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆ จากพระสงฆ์
จากครูบาอาจารย์ หรือจากผู้รู้ ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ด้วยความเคารพ
ไม่ง่วงเหงาเศร้าซึม หรือแสดงความไม่สนใจออกมา

ธัมมัสสวนะ เป็นบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย
แปลว่า บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม (ดูเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ธัมมัสสวนมัย เป็นให้เกิดปัญญาความรู้ เช่น ได้ฟังในสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยฟัง
สิ่งไม่ชัดเจนก็ชัดเจนขึ้น ทำให้หายสงสัยคลายจากความคิดที่ผิดๆ
และจิตก็ผ่องใสชื่นบานเพราะได้ความรู้เพิ่มขึ้น เหมือนได้ดวงตาภายใน
เกิดความแสงสว่างทางใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 เม.ย. 2014, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




taotie.png
taotie.png [ 455.43 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ แปลว่า ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
หรือ ธัมมวิจยเป็นองค์ประกอบพร้อมแห่งการการตรัสรู้

ธัมมวิจยะ หรือ ธรรมวิจัย แปลว่า ความสอดส่องธรรม ความเลือกเฟ้นธรรม
การวิจัยธรรม หมายถึงความฉลาดรู้จักคัดสรรแยกแยะ ธรรมคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
และธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ ให้รู้เห็นว่าเป็นธรรมที่เป็นฝ่ายดีมีประโยชน์ เป็นธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
ควรที่ทำให้เกิดมากๆ ที่เป็นฝ่ายที่ไม่ดีไม่มีประโยชน์ ไม่ควรรู้ควรเห็น ไม่ควรทำก็มี
แยกแยะให้เห็นตามความจริงแล้วถือแต่ธรรมฝ่ายดี ทิ้งธรรมที่เป็นฝ่ายที่ไม่ดี

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็คือ ปัญญา และ สัมมาทิฎฐิ นั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดขึ้น
โดยอาศัยโยนิโสมนสิการ ฝึกฝนใส่ใจในการเลือกเฟ้นธรรมเนืองๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2014, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




qiongqi.png
qiongqi.png [ 503.96 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่องธัมมัญญุตา

ธัมมัญญุตา แปลว่า ความเป็นผู้จักเหตุ
ธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักสาเหตุต้นตอของผลที่เกิดขึ้น
รู้จักหลักความจริง รู้จักหลักการที่จะทำให้เกิดผลดีผลเสีย

เช่นรู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งความสุขความทุกข์
อะไรเป็นเหตุแห่งความเสื่อมความเจริญ ทำอย่างไรจึงจะมั่งคั่ง
ทำอย่างไรจึงจะพ้นจากความลำบาก เป็นต้น

ธัมมัญญุตา ก็คือรู้จักธรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
เพราะธรรมทุกอย่างล้วนเป็นสาเหตุ ต้นตอให้เกิดผลทั้งสิ้น
ผู้ประกอบด้วยธัมมัญญุตาจัดว่าเป็น สัตบุรุษ คือคนดี คนฉลาด
น่ายกย่องนับถือและเหมาะที่จะคบหาสามคมด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1650768644958.jpg
FB_IMG_1650768644958.jpg [ 104.11 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธัมมานุปัสสนา

ธัมมานุปัสสนา แปลว่า การตามดูตามรู้ธรรม
เป็นกรรมฐานข้อหนึ่งในสติปัฏฐาน ๔ เรียกให้เต็มๆ ว่า
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ มีสติกำหนดพิจารณาธรรมเป็นอารมณ์

คำว่า ธรรม ในข้อนี้หมายถึง ธรรมที่สามารถกำหนดรู้ด้วยจิตได้ เช่น
ขันธ์ ๕ สัจจะ ๔ นิวรณ์ ๕ ธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น

การปฏิบัติคือ กำหนดพิจารณาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตสงบเป็นสมาธิ
ตามดูจนเกิดปัญญาเห็นธรรม ที่เป็นทั้งภายนอกและภายใน ทั้งที่กำลังเกิดและกำลังดับ
จนถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นจากตัวตนทั้งหลายได้

มีสติระลึกรู้กำหนดชัดเห็นธรรมว่า ธรรมนี้ก็สักแต่ว่าธรรม มิใช่สัตว์ ตัวตน เรา เขา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




fuxi.png
fuxi.png [ 496.8 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธัมมานุสสติ

ธัมมานุสสติ แปลว่า การระลึกถึงคุณของพระธรรมเนืองๆ
เป็นวิธีปฏิบัติกรรมฐานอย่างหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ (ดูเรื่องอนุสสติ)

ธัมมานุสสติ คือ เป็นการสำรวมจิตน้อมนึกถึงคุณของพระธรรม ๖ ประการ
คือบทพระธรรม คุณที่ว่า "สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ฯลฯ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ"
ทั้งหมดคือบทใดบทหนึ่ง ภาวนาไปจนจิตสงบแน่วอยู่ในอารมณ์ในคำภาวนานั้น

ธัมมานุสสติ เมื่อระลึกถึงคุณอยู่เนืองๆ ในทุกอริยาบถทุกเวลา
ย่อมส่งผลให้จิตสงบระงับ นิวรณ์ธรรม ที่มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
มีความเคารพยำเกรงธรรม มีศรัทธา สติ ปัญญา บุญบารมี เพิมไพบูลย์ขึ้น

เกิดปีติปราโมทย์ สามารถข่มภัยและความกลัวได้ บรรเทาความทุกข์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2014, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1653171146061.jpg
FB_IMG_1653171146061.jpg [ 66.96 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธาตุ

ธาตุ แปลว่า สิ่งที่ทรงสภาพของตนไว้ ไม่เปลี่ยนสภาพต่อไป
ปกติใช้หมายถึงองค์ประกอบของมนุษย์ ๔ อย่าง คือ

ในพระอภิธรรม

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) มีสภาพที่ทรงไว้ซึ่งความแข็ง และ อ่อน
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) มีสถาพที่ทรงไว้ซึ่งความ เอิบอาบ ไหล เกาะกุม
๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) มีสภาพที่ทรงไว้ซึ่งความร้อน และเย็น
๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม) มีสภาพที่ไว้ซึ่งความไหว และเคร่งตึง

ในพระสูตร

๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) สิ่งที่มีสถานะเป็นของแข็งในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตา จมูก ปาก ลำไส้ ตับ ฯลฯ
๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) สิ่งที่มีสถานะเป็นของเหลวในร่างกาย เช่น โลหิต น้ำปัสสาวะ เหงื่อ ฯลฯ
๓.วาโยธาตุ (ธาตุลม) สิ่งที่มีสถานะเป็นแก๊สหรือก๊าซในร่างกาย เช่น ลมหายใจ แก๊สในกระเพาะอาหาร ฯลฯ
๔. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) อุณหภูมิของร่างกาย พลังงานในการเผาผลาญอาหาร ให้เราร้อนในกายและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

ทั้งนี้ไม่ได้เจาะลึกในรายละเอียดมากนัก :b1: :b1:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2014, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




huodou.png
huodou.png [ 441.56 KiB | เปิดดู 1044 ครั้ง ]
เรื่อง ธุดงค์

ธุดงค์ แปลว่า องค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส
องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส เป็นวัตรของผู้ปฏิบัติที่ไม่มีใครบังคับ
แล้วแต่ผู้ปฏิบัติจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส
ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น

ธุดงค์ มี ๑๓ วิธี คือ
ที่เกี่ยวกับจีวร มี ๒ วิธี
๑. ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นกีจวัตร
๒. ใช้ผ้าไตรจีวรเป็นกิจวัตร

ที่เกี่ยวกับบาตร มี ๕ คือ
๑. เที่ยวบิณบาตเป็นวัตร
๒. เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นกิจวัตร
๓. นั่งฉันที่ในอาสนะเดียว(ฉันมื้อเดียว)เป็นกิจวัตร
๔. ฉันเฉพาะในบาตรเป็นกิจวัตร
๕. ไม่ฉันอาหารที่ถวายทีหลังเป็นกิจวัตร

ที่เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๕ คือ
๑. อยู่ป่าเป็นกิจวัตร
๒. อยู่โคนไม้เป็นกิจวัตร
๓. อยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นกิจวัตร
๔. อยู่ในป่าช้าเป็นกิจวัตร
๕. อยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร

ที่เกี่ยวกับความเพียรมี ๑ คือ
๑. นั่งเป็นกิจวัตร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร