วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2014, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220605_090208.jpg
20220605_090208.jpg [ 98.82 KiB | เปิดดู 884 ครั้ง ]
เรื่อง นิพพาน

นิพพาน แปลว่า ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด
ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ โดยไม่เกิดขึ้นมาอีก
เหมือนไฟที่สี้นเชื้อแล้ว นิยมเรียกกันว่าพระนิพพาน
เรียกผู้ถึงภาวะหรือผู้บรรลุธรรมนี้ว่า พระอรหันต์

นิพพานอีกความหมายหนึ่งก็คือการตายของ"พระอรหันต์" ใช้สำหรับพระสาวก
สำหรับพระพุทธเจ้าใช้คำว่า"ปรินิพพาน" เช่น พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

มีคำที่ใช้แทนคำว่า นิพพาน มีมากนับเป็นร้อยชื่อ เช่นว่า นิโรธ วิราคะ วิมุตติ วิโมกข์
วิสังขาร สันติวรบท อมตบท โมกขธรรม อสังขตธรรม อมตธรรม เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2014, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




yinglong.png
yinglong.png [ 592.33 KiB | เปิดดู 899 ครั้ง ]
เรื่องนิพพิทา

นิพพิทา แปลว่า ความเบื่อหน่าย
นิพพิทา คือความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ เบื่อหน่ายคลายกำหนัดยินดีในสังขาร
ด้วยความรู้แจ้งในสังขารว่าเป็นของน่าเบื่อ เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นความเบื่อหน่ายด้วยป้ญญา เบื่อหน่ายแบบถาวร

ความเบื่อหน่ายธรรมดา จะเป็นความเบื่อหน่ายในสิ่งที่ไม่ชอบ
เช่น คนป่วยเบื่อหน่ายอาหาร เบื่อหน่ายในสิ่งจำเจอยู่บ่อยๆ ภรรยาเบื่อสามีเจ้าชู้
ครูเบื่อหน่ายนักเรียนเกเร ไม่จัดเป็นนิพพิทา เพราะไม่เบื่อหน่ายถาวร ประเภทเดี๋ยวเบื่อเดี๋ยวชอบ

นิพพิทาจัดเป็นนิพพิทาญาณ คือความหยั่งรู้ตามความเป็นจริงในสังขาร
ด้วยความเบื่อหน่าย เป็นหนทางให้เกิดวิสุทธิและบรรลุมรรคผลนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2014, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Ancient-Gold-Dragon-PNG-Clipart-Background.png
Ancient-Gold-Dragon-PNG-Clipart-Background.png [ 161.19 KiB | เปิดดู 899 ครั้ง ]
เรื่อง นิวรณ์

นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น
ใช้หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องกั้นหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี
ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี เป็นเครื่องกันความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิต
อุปมาเหมือนตัวสันเขื่อนที่คอยกั้นน้ำไว้ไม่ให้ไหลไป

นิวรณ์ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมไม่ได้หรือเลิกล้มการปฏิบัติไป
นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
๑. กามฉันทะนิวรณ์ คือความพอใจติดใจในความสุข
๒. พยาปาทะนิวรณ์ คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ โกรธ อาฆาต แค้น
๓. ถีนะมิทธะนิวรณ์ คือความ หดหู่ ท้อถอย ง่วงเหงาหาวนอน
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ คือความฟุ้งซ่าน รำคาญ กลัดกลุ้ม วิตกกังวล อึดอัด
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ คือความลังเลสงสัย ตัดสินใจไม่ได้ สงสัยในธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2014, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




171_4_148_224u26id100003589221105.gif
171_4_148_224u26id100003589221105.gif [ 33.59 KiB | เปิดดู 4193 ครั้ง ]
เรื่อง บัณฑิต

บัณฑิต แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา
หมายถึง ผู้ฉลาดผู้รู้ธรรมและใช้ชีวิตไปตามหลักธรรม
แต่ก็มิได้หมายถึงผู้ที่ศึกษาจบปริญญาแบบภาษาทางโลก

ลักษณะที่ทำให้ได้ชื่อว่า บัณฑิต คือ
ชอบกระทำในสิ่งที่ดี พูดในสิ่งที่ดี คิดแต่ในสิ่งที่ดี
กล่าวคือบัณฑิตจะมีลักษณะ

นิสัยประจำ ๕ ประการ คือ

๑. ไม่แนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ
๒. ไม่ชอบทำเรื่องที่มิใช่หน้าที่
๓. จะทำในสี่งที่ดีงามมีประโยขน์
๔. จะไม่โกรธเมื่อถูกแนะนำดีๆ
๕. รู้และชอบระเบียบวินัย

การได้คบกับบัณฑิตเป็นมงคลกับชีวิตอย่างสูงสุด
การที่ได้คบกับบัณฑิตย่อมมีโอกาสเป็นบัณฑิตอย่างแน่แท้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2014, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220429_091251.jpg
20220429_091251.jpg [ 94.22 KiB | เปิดดู 884 ครั้ง ]
เรื่อง บุญกิริยาวัตถุ

บุญกิริยาวัตถุ คือ วิธีทำบุญ เหตุเกิดบุญ
หมายถึงวิธีที่เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าทำบุญและจะได้รับผลบุญเป็นความสุข

การทำบุญมีด้วยกัน ๑๐ วิธี
๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ทาน
๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการอบรมจิต
๔. อปจายนมัย ทำบุญด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน
๕. เวยยาวัจมัย การช่วยเหลือผู้อื่น
๖. ปัตติทานมัย การแผ่ส่วนกุศล
๗. ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การทำความเห็นให้ตรง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2014, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ways-of-the-qilin_3.png
ways-of-the-qilin_3.png [ 100.04 KiB | เปิดดู 899 ครั้ง ]
เรื่อง บุพการี

บุพการี แปลว่า ผู้ที่ได้การอุปการพมาก่อน
หมายถึง ผู้ที่มีพระคุณ ผู้ที่เคยทำอุปการะแก่ตนมา เช่น เคยเลี้ยงดู เคยให้
หรือเคยช่วยเหลือเกื้อกูลตนมาโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง
โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่ทำด้วยจิตเมตตากรุณา โดยหวังที่จะอนุเคราะห์เป็นที่ตั้ง

บุพการี ที่สำคัญ คือ บิดามารดา ครูอาจารย์
พระเจ้าแผ่นดิน และพระพุทธเจ้า

บุพการี จัดเป็น ทุลลภบุคคล คือบุคคลที่หาได้ยาก
เช่นเดียวกับกตัญญูกตเวที เพราะคนเราเห็นแก่ตัว ไม่ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลใคร
มุ่งแต่จะเป็นผู้รับจากผู้อิ่นฝ่ายเดียว ผู้ที่ช่วยเหลือเอื้ออาทรด้วยเมตตากรุณาจึงชื่อว่าหาได้ยาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 เม.ย. 2014, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220731_085107.gif
20220731_085107.gif [ 3 MiB | เปิดดู 884 ครั้ง ]
เรื่อง บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

บุพเพนิวาสามุสสติญาณ แปลว่า ความรู้ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในอดีตได้ ญาณนี้เป็นญาณที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ (ดูเรื่องญาณ)

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ โดยความหมายก็คือการระลึกชาติได้นั่นเอง
การที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ญาณนี้ก็เป็นเหตุให้พระองค์ทรงระลึกได้ว่าในชาติก่อนๆ
พระองค์เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์
แม้กระทั้งเคยเกิดเป็นช้าง เป็นม้า เป็นกวาง เป็นต้น

เรื่องทศชาติหรือพระเจ้าสิบชาติ เช่นเรื่องพระเวสสันดร ก็ดี ชาดกต่างๆ ก็ดี
ซึ่งเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงนำมาเล่านั้น
ก็ทรงรู้ด้วยอำนาจบุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2014, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20220609_110659.gif
20220609_110659.gif [ 2.03 MiB | เปิดดู 884 ครั้ง ]
เรื่อง บูชา

บูชา คือ การแสดงความเคารพ ยกย่องนับถือ บุคคลที่ควรเคารพนับถือ
เช่น พระพุทธรูป พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ ผู้ที่ให้อุปการะ เป็นต้น

บูชา ทำได้ ๒ อย่าง คือ

๑. บูชาด้วยสิ่งของ คือ ปรนนิบัติดูแล ให้ข้าว ให้น้ำ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ค่าใช่จ่าย และบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน อย่างนี้เรียกว่า อามิสบูชา

๒. บูชาด้วยการปฏิบัติ คือ ปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำ ปฏิบัติตามที่ทานสอน
ได้แก่ท่านปฏิบัติอย่างก็ปฏิบัติตาม ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไร
ก็ทำตามด้วยความเต็มใจ อย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติบูชา

บูชา เป็นมงคลอันสูงสุดอย่างหนึ่งในมงคล ๓๘ คือเป็นเหตุที่นำความสุข
ความเจริญและความก้าวหน้าในชีวิตแก่ผู้ได้กระทำ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2014, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานจัดทำ.jpg
ลุงหมานจัดทำ.jpg [ 57.9 KiB | เปิดดู 4104 ครั้ง ]
เรื่อง เบญจธรรม

เบญจธรรม แปลว่า ธรรม ๕ ประการ เป็นธรรมที่เป็นคู่กันกับเบญจศีลหรือศีล ๕
เป็นข้อปฏิบัติที่สนับสนุน ให้การรักษาเบญจศีลสมบูรณ์ขึ้น

เบญจธรรม ๕ อย่างคือ

๑. เมตตากรุณา ความปรารถนาให้มีความสุข และต้องการให้พ้นทุกข์
คู่กับ ศีลข้อที่ ๑

๒. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพโดยถูกต้องสุจริต
คู่กับ ศีลข้อที่ ๒

๓. กามสังวร ความสำรวมในกาม ความรู้จักความยับยั้งใจในเรื่องกามรมณ์
คู่กับ ศีลข้อที่ ๓

๔. สัจจะ ความจริงใจ รักษาคำสัตย์
คู่กับ ศีลข้อที่ ๔

๕. สติสัมปชัญญะ ความระลึกได้และความรู้ตัว
คู่กับ ศีลข้อที่ ๕

ธรรม ๕ ประการนี้พึงปฏิบัติควบคู่กันไปกับการรักษาศีล ๕ ย่อมได้ประโยชน์มาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2014, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Untitled-229.jpeg
Untitled-229.jpeg [ 45.47 KiB | เปิดดู 4118 ครั้ง ]
เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท แปลว่า สิ่งที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
คือสิ่งนี้เกิดมาก็มีสิงนี้เกิดตามมาด้วย หรือเมื่อสิ่งนี้ดับไปสิ่งนี้ก็ดับ
เกี่ยวโยงกันเป็นเหมือนลูกโซ่
หรือเรียกอีกอย่างว่า ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน

ปฏิจจสมุปบาท มี ๑๒ อย่าง คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ
ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ
ส่วน โสก ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เกิดได้เพราะมี ชาติ ชรา-มรณะ

ปฏิจจสมุปบาท

สายเกิด คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัยจึงนามรูป
โยงไปจนถึงเพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงชรา ฯลฯ

สายดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
เพราะสังขารดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา ฯลฯ จึงดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2014, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ลุงหมานจัดทำ.jpeg
ลุงหมานจัดทำ.jpeg [ 56.64 KiB | เปิดดู 4105 ครั้ง ]
เรื่อง ปฏิรูปเทสวาสะ

ปฏิรูปเทสวาสะ แปลว่า การได้อยู่ในประเทศอันสมควร
หมายถึง การได้อยู่ในประเทศอันสมควร เป็นทำเลที่ดี
รวมไปถึงในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดี

กล่าวคือ ในถิ่นที่
- เหมาะสมแก่การศึกษาหาความรู้ อยู่ใกล้ผู้รู้
- เหมาะแก่การทำมาหากิน การประกอบอาชีพ เช่น ทำเลดี การคมนาคมสะดวก
- เหมาะแก่การดำรงชีพ เช่น มีสิ่งแวดล้อมดี มีความอุดมสมบูรณ์
- เหมาะแก่การหาความดีงาม เช่น อยู่ใกล้ผู้ทรงศีล ทรงธรรม เป็นผู้ปฏิบัติธรรม
- เหมาะแก่การงาน เช่น มีงานสุจริตทำ มีผู้บังคับบัญชามีเพื่อนร่วมงานที่ดี

ปฏิรูปเทสวาสะ เป็น จักรธรรม คือเป็นธรรมนำพาไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
นำไปสู่ความมั่งคั่ง ดุจล้อรถนำไปสู่ที่หมาย (ดูเรื่องจักรธรรม)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2014, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAGOJDXM.jpg
imagesCAGOJDXM.jpg [ 40.14 KiB | เปิดดู 4071 ครั้ง ]
เรื่อง ปฏิสัมภิทา

ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาอันแตกฉาน ความแตกฉานมี ๔ อย่าง

๑. อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ คือเข้าใจแตกฉานในการอธิบาย
ความลึกซึ้ง และคาดการณ์ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำที่แม่นยำ
มีความแตกฉานในเนื้อหา ในความหมาย รู้จริง เข้าใจจริง หัดตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบตัวเอง

๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในธรรม คือแตกฉานในหลักหัวข้อธรรม
จดจำได้แม่นยำ และสาเหตุทุกเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น จับประเด็นได้ จับจุดของเรื่องได้
แตกฉานในตัวหลักตัวประเด็น

๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในนิรุตติ คือเข้าใจในภาษาและคำพูด รู้หลายภาษา
สื่อสารได้หลายภาษา พูดโน้มน้าวใจคนให้ทำตามได้

๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณ คือหลักแหลม มีไหวพริบ
สามารถแก้ไขสถานะการณ์ฉุกเฉินได้ถูกต้องรวดเร็ว เอาข้อมูลทั้งหลายมาเชื่อมโยงกันได้
สร้างเป็นความรู้ใหม่ ใช้แก้ปัญหาได้ตรงตามสถานการณ์ คิดสร้างสรรสิ่งใหม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAY0CHGA.jpg
imagesCAY0CHGA.jpg [ 20.46 KiB | เปิดดู 4064 ครั้ง ]
เรื่อง ปปัญจธรรม

ปปัญจธรรมแปลว่า เครื่องเนิ่นช้า กิเลสเครื่องเนิ่นช้า กิเลสที่เป็นตัวการ
ทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่าย ๆ เปิดเผย
ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง ทำให้กิจการต่างๆ สำเร็จได้ยาก

ปปัญจธรรมมี ๓ ประการ

๑. ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก ความยึดติดในกามภพ และอรูปภพ
ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน ความอยากได้อยากมี

๒. ทิฏฐิ ได้แก่ ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ
ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น
ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา
หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน
ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง

๓. มานะ ได้แก่ ความถือตัว ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2014, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




qilin.png
qilin.png [ 614.63 KiB | เปิดดู 899 ครั้ง ]
เรื่อปรโตโฆสะ

ปรโตโฆสะ แปลว่า เสียงจากผู้อื่น หมายรวมถึงคำพูด,
คำแนะนำ, คำชี้แจง, คำโฆษณา,กระแสข่าว
ข้อเขียน บทความจากบุคคลหรือแหล่งข่าวต่างๆ

ปรโตโฆสะ มี 2 ประเภท คือ

ที่เป็นจริง มีเหตุผล เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยความหวังดี
ที่เป็นเท็จ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นประโยชน์ มุ่งทำลาย

ปรโตโฆสะ เป็นวิถีทางเบื้องต้นแห่งปัญญาและสัมมาทิฐิ
แต่ต้องมีโยนิโสมนสิการคอยกำกับ จึงจะสามารถรู้แยกแยะและคัดสรร
เฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดีได้ ปรโตโฆสะที่ปราศจากโยนิโสมนสิการ
จะนำให้เกิดความงมงาย หูเบา เชื่อง่าย ไร้เหตุผลและมิจฉาทิฐิได้ง่าย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2014, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1010861_498854873577482_8475886406836902125_n.jpg
1010861_498854873577482_8475886406836902125_n.jpg [ 18.69 KiB | เปิดดู 4006 ครั้ง ]
เรื่อง ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุและผลได้ชัดเจน
รู้ในบาปบุญคุณโทษ รู้ในสิ่งที่ควรทำควรเว้น ซึ่งเป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา
ซึ่งจะทำให้ไม่หลงเชื่อในสิ่งที่งมงาย อย่างไร้เหตุผล

ปัญญา สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ๓ ทางคือ

๑. สุตมยปัญญา เกิดจากการสดับรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน
๒. จินตามยปัญญา เกิดจากคิดค้น การตรึกตรองตาม
๓. ภาวนามยปัญญา เกิดจากการอบรมจิต การเจริญภาวนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร