วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 11:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2014, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




ciel-bleu-et-orange-de-coucher-du-soleil-67636320.jpg
ciel-bleu-et-orange-de-coucher-du-soleil-67636320.jpg [ 71.24 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิญญาณ

วิญญาณ แปลว่า ความรู้แจ้งอารมณ์ หมายถึงธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ)
พระไตรปิฎกระบุว่าพระพุทธเจ้าทรงจำแนกวิญญาณออกเป็น ๖ ประเภท ได้แก่
๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น
๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน
๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น
๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส
๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส
๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด

วิญญาณ ในภาษาธรรมมิได้หมายถึง ภูตผีปีศาจ หรือสิ่งที่ล่องลอยออกจากร่างกาย
ของคนที่ตายตามความหมายแบบภาษาโลก

นอกจากนี้วิญญาณยังปรากฏในหลักธรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ ๕
วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท

คำว่าวิญญาณยังถือเป็นคำไวพจน์ของคำว่าจิต มีความหมายเหมือนกัน ใช้แทนกันได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2014, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




depositphotos_109444784-stock-photo-abused-boy-with-chain-on.jpg
depositphotos_109444784-stock-photo-abused-boy-with-chain-on.jpg [ 64.37 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิตกเจตสิก

วิตกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ความคิดนึก
หรือตรึกไปในเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วบ้าง
เรื่องราวที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เช่น ไปดูภาพยนตร์ เรื่องที่สนุกสนานแล้ว
นำมาเล่าสู่กันฟัง ผู้เล่าก็ยกจิตเล่าไปตาม เรื่องราว ผู้ฟังก็ยกจิต
ฟังตามเรื่องราวที่เล่า ทำให้เกิดความสนุก สนานไปด้วยไม่ง่วงเหงาหาวนอน

อุปมาเหมือนกับบุรุษไปรษณีย์ ที่นำจดหมายเรื่องโน้นเรื่องนี้ มาส่งทำให้จิต
ได้นึกคิดต่อ วิตกเจตสิก นี้เมื่อยกจิต ขึ้นสู่เรื่องราวบ่อย ๆ
จะไม่เกิดอาการง่วง คนที่นอนไม่หลับก็คือคนที่หยุดคิดไม่ได้
จิตจึงไม่ง่วงไม่หลับ ถ้าจะให้หลับ ก็คือเลิกคิด หยุดคิดให้เป็นแล้ว จะหลับง่ายตามตั้งใจ

วิตกเจตสิก เป็นองค์ฌาน ๑ ใน ๕ ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อนิวรณธรรม ๕ ดังนี้ (ดูเรื่องฌาน ๕)
วิตกเจตสิก เป็นปฎิปักษ์ต่อถีนมิทธนิวรณ์ เพราะเมื่อวิตกเจตสิกตรึกถึงแต่อารมณ์
ของสมถภาวนามากขึ้นเรื่อยๆ ความท้อถอย หดหู่ และความง่วงเหงาก็ย่อมเกิดไม่ได้

วิตกจริต หมายถึงพฤติกรรมของคนที่มีวิตกเป็นปกติคิดมาก
คิดอยากแต่จะได้แต่ไม่อยากเสีย ยืน เดิน นั่ง นอน เชื่องช้าเหมือนคนโมหะจริต
ทำงานจับจด พูดมากกว่าทำ พูดเก่งแต่งานไม่เดิน ไม่เลือกอาหาร อย่างไรก็ได้
ชอบเห็นคล้อยตามคนหมู่มาก เป็นคนฟุ้งซ่าน โลเล รักง่ายหน่ายเร็ว ชอบอยู่เป็นหมู่คณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2014, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




7278511552_6d10806815_z.jpg
7278511552_6d10806815_z.jpg [ 90.53 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิจารเจตสิก

วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ประคับประคองจิต ไว้ในเรื่องราวหรืออารมณ์ต่างๆ
ตามที่ต้องการมิให้ไปที่อื่น การทำงานของวิตกเจตสิก และวิจารเจตสิกนี้
ใกล้ชิดกันมาก เหมือนกับนกที่บินถลาอยู่กลางอากาศ เมื่อกระพือปีกแล้ว
จะร่อนถลาไป วิตกเจตสิกเหมือนกับ การกระพือปีกของนก

วิจารเจตสิกเหมือนกับการร่อนถลาไปของนก
ซึ่งจะเห็นว่าการร่อนถลาไปของนก คือวิจารเจตสิกนั้น
มีความสุขุมกว่าการกระพือปีก คือวิตกเจตสิก ทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันเสมอ
สำหรับบุคคลที่ยังไม่ถึงฌาน ถ้าเป็นจิตของผู้ถึงฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ แล้ว

เจตสิกทั้งสองนี้ จะแยกออกจากกัน นอกจากนี้ วิจารเจตสิก
ยังเป็นปรปักษธรรมกับวิจิกิจฉาเจตสิกที่อยู่ ในนิวรณธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2014, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




image004.png
image004.png [ 39.14 KiB | เปิดดู 4645 ครั้ง ]
เรื่อง วิบาก

วิบาก แปลว่า ผล, ผลที่เกิดขึ้น, ผลที่มาจากเหตุ, ผลจากการกระทำ,
หมายถึงว่า การกระทำสิ่งใดก็แล้วแต่ย่อมมีวิบาก คือผล ย่อมเกิดขึ้นทั้งสิ้น

วิบาก ในทางธรรม หมายถึง ผลกรรม, ผลที่เกิดจากกรรมที่ทำไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นกรรมดี
หรือกรรมชั่ว ล้วนมีวิบากคือผลทั้งสิ้น โดยกรรมดีมีวิบากเป็นสุข กรรมชั่วมีวิบากเป็นทุกข์
ใช้ซ้ำกันเป็น ผลวิบาก หรือ วิบากผล ก็มี

วิบาก โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าหมายถึงผลทางชั่วคือทุกข์อย่างเดียว
ส่วนวิบากทางดีไม่นิยมใช้พูดกัน เช่นพูดว่า

"วิบากกรรมตามทันแล้ว จึงทำให้เขาตกยากลงอย่างทันตา"
"กรรมวิบากเป็นเหตุให้ต้องตกนรก"

วิบาก ในคำไทยใช้หมายความว่าลำบาก, ทุรกันดาร เช่น หนทางวิบาก, ประสบความวิบาก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2014, 06:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




sunrise-503924_960_720.jpg
sunrise-503924_960_720.jpg [ 92.68 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
วิปากสัทธา

สัทธา หรือ ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายถึงเชื่อด้วยปัญญา เชื่อด้วยเหตุผล

วิปากสัทธา แปลว่า ความเชื่อผลของกรรม คือเชื่อว่าผลของกรรมมีจริง
เชื่อว่าผลดีเกิดจากรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทำดีเป็นเหตุให้ได้รับความสุข ทำชั่วเป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์

วิปากสัทธา เป็นเหตุให้คนเราไม่ทำความชั่ว
เพราะกลัวจะได้รับผลที่เป็นความทุกข์ความลำบาก
เป็นเหตุให้อยากทำความดี เพราะต้องการผลที่เป็นความสุขความเจริญ
เป็นเหตุให้คนเราทำบุญและทำความดีต่างๆ ได้

คนที่ไม่มีวิปากสัทธาย่อมปฏิเสธกรรมและผลของกรรม
เชื่อว่าทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว จึงสามารถทำชั่วได้โดยไม่เกรงกลัวอะไร
และไม่ทำความดีใดๆ เพราะเชื่อว่าทำไปก็ไม่มีผลดีอะไร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2014, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5e6ab4aa6d90030caf95c58d_800x0xcover_5jedV40A.jpg
5e6ab4aa6d90030caf95c58d_800x0xcover_5jedV40A.jpg [ 84.14 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิบัติ
วิบัติ แปลว่า การถึงความพินาศ ความเสียหาย
หมายถึง เหตุให้ถึงความพินาศ ทางเสียหายของคน
ในเมื่อสิ่งนั้นวิบัติแล้ว คนก็เสียถึงความวิบัติไปด้วย
วิบัติมี ๔ ประการ คือ

๑. สีลวิบัติ ศีลเสีย
๒. อาจารย์วิบัติ ความประพฤติเสีย
๓. ทิฏฐิวิบัติ ความเห็นเสีย
๔. อาชีววิบัติ อาชีเสีย
วิบัติทั้ง ๔ ประการนี้แม้ประการเดียวมีในบุคคลใดบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นคนเสีย
คือเป็นคนเสียคน และเป็นคนอาภัพ คือไม่เหมาะที่จะบรรลุความสำเร็จ
หรือความก้าวหน้าเป็นคนเอาดีได้ยาก

และอีกในความหมายหนึ่ง วิบัติ ๔

วิบัติ แปลว่า ข้อเสีย หมายถึง ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ
ซึ่งไม่อำนวยให้ปรากฏกรรมดี

๑.คติวิบัติ คือ สถานที่หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เกื้อกูล
๒.อุปธิวิบัติ คือการบุคลิกภาพบกพร่อง เช่น ร่างกายพิการ อ่อนแอ
๓.กาลวิบัติ คือการทำอะไรไม่ถูกเวลา ไม่ถูกจังหวะ
๔.ปโยควิบติ คือ เรื่องที่ทำบกพร่อง เช่นทำเรื่องที่เข้าไม่ต้องการ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1006010597-fototapet-368-x-254sm-palms_552x552_pad_478b24840a.jpg
1006010597-fototapet-368-x-254sm-palms_552x552_pad_478b24840a.jpg [ 66.98 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิรัติ

วิรัติ แปลว่า เจตนาเครื่องงดเว้น
ผู้งดเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบท ๕ ประการ นั้นได้
ชื่อว่า ผู้มีศีล หมายถึง ผู้มีกายวาจาสะอาดปราศจากโทษ
กิริยาคืออาการละเว้นที่เรียกว่า วิรัตินั้นมี ๓ ประการคือ

๑. สมาทานวิรัติ
๒. สัมปัตตวิรัติ
๓. สมุจเฉทวิรัติ

๑. สมาทานวิรัติ คือการตั้งจิตตั้งใจไว้ล่วงหน้าก่อนว่าวันนี้เป็นวันพระ
จะรักษาศีล จะละเว้นจากการประพฤติผิด ละเว้นจากการทำบาป
จะกี่ข้อก็สุดแท้แต่ความตั้งใจของแต่ละบุคคล หรือจะละเว้นกี่วันโดยมีกำหนด
คืออาจเข้ากรรมฐาน ๓ วัน ๙ วัน หรือ ๑ เดือน ๓ เดือนเป็นต้น

๒. สัมปัตตวิรัติ คือการละเว้นในเหตุการณ์เฉพาะหน้า
คือไม่ได้เป็นวันพระและก็ไม่ได้ตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าจะรักษาศีล
แต่พอดีมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่นมีคนมาชวนไปกินเหล้าเมายา
หรือเดินไปพบของที่ถูกลืมไว้ ใจเกิดความอยากจะได้ของนั้นขึ้นมา
แต่มีสติระลึกได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เป็นบาปก็ตัดสินใจไม่กระทำ
คือไม่ไปเสพสุรากับเพื่อนฝูงที่มาชักชวน หรือไม่หยิบเอาของที่ถูกลืมไว้
ทั้งๆที่ไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็นถ้าจะหยิบไป

๓. สมุจเฉทวิรัติ เป็นการละเว้นโดยเด็ดขาด คือไม่ประพฤติผิดศีลเลยตลอดชีวิต
ทุกขณะ ทุกเวลา เป็นศีลของพระอริยบุคคลทั้งหลายตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป
พระอริยบุคคลจะไม่ละเมิดศีลโดยเด็ดขาด เพราะละได้อย่างเด็ดขาด
ถ้าสามารถละได้อย่างพระอริยบุคคลแล้ว อานิสงส์ของการรักษาศีลก็จะได้รับครบ ๑๐๐
พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปจะไม่ละเมิดศีลตั้งแต่ศีลห้าขึ้นไปอย่างเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม อานิสงส์แห่งศีลคือ สีเลน สุคติง ยันติ ผู้มีศีลย่อมไปสู่สุคติ
ย่อมสมบูรณ์ครบ ๑๐๐ คือจะไม่ไปเกิดในอบายอย่างแน่นอน

เพราะได้ปิดประตูอบายแล้วด้วยสมุจเฉทวิรัติ เมื่อตายไปแล้วจะไม่ไปเกิดในอบาย
ไม่ต้องไปเกิดเป็นเดรัจฉาน เปรต อสุรกาย หรือ สัตว์นรก แต่จะไปสู่สุคติ
ไปเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม อริยบุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FY259-S30x40-min.jpg
FY259-S30x40-min.jpg [ 187.25 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่่อง วิกาล

วิกาล หมายถึง ผิดเวลา มิใช่เวลาที่เหมาะ ผู้คนออกมาเที่ยวเตร่
กินอาหารยามวิกาล, ยามค่ำคืน, เวลากลางคืน,
ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เกินกว่าเที่ยงคืนขึ้นไป เช่น ขโมยเข้า บ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา

วิกาล ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระ วินัยกำหนด "วิกาลโภชนา" นับตั้งแต่เที่ยงวันแล้วไป
จนถึงอรุณขึ้น เช่น กินอาหาร ในเวลาวิกาล.

วิกาล ในคำวัดมีกำหนดระยะเวลาไว้ต่างกันเช่นในคำว่า
“งดเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาล”
หมายถึงเวลาช่วงบ่ายตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงอรุณของวันใหม่ขึ้นมา

แต่ในคำว่า “เว้นจากการเที่ยวไปในเวลาวิกาล”
หมายถึงเวลาช่วงกลางคืนคือตั้งแต่พระอาทิตย์ตกไปจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2014, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




kerosene-lamp-5558649_960_720 (1).png
kerosene-lamp-5558649_960_720 (1).png [ 231.25 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิปัสสนากรรมฐาน

วิปัสสนากรรมฐาน คือ การบำเพ็ญกรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา
การปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาเป็นหลัก

วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้โดยพิจารณาสภาวธรรม
คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ ให้เห็นความเป็นจริง
ต้องเห็นด้วยปัญญาว่า สภาวธรรมเหล่านี้ตกอยู่ในสามัญญลักษณะ
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของธาตุ ๔
มี ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

การใช้ปัญญาพิจารณาสภาวธรรมเหล่านั้น จนกระทั่งรู้เห็นตามความเป็นจริง
จนสามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดีในสภาธรรมเหล่านั้น
นั่นแหละ คือการเจริญวิปัสสนา

ดูคำอธิบายรายละเอียดด้านล่างครับ
V
http://www.youtube.com/watch?v=zWdo2zw_pTo

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1257151496.gif
1257151496.gif [ 25.23 KiB | เปิดดู 4608 ครั้ง ]
เรื่อง วิเสสลักษณะ

วิเสสลักษณะ หมายถึง ลักษณะของตนๆ
คือเครื่องหมายรู้ที่พิเศษแตกต่างกัน หมายถึง ลักษณะพิเศษของสภาพธรรมแต่ละอย่าง
ซึ่งทำให้สภาพธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน และเป็นเหตุให้ พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติชื่อให้แตกต่างกันได้ เช่น จิตและเจตสิกต่างก็เป็นนามธรรมเหมือนกัน
แต่ก็มีลักษณะที่พิเศษต่างกัน

จิตมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์
ส่วนเจตสิกก็มีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไปอีก เช่น
วิตกมีลักษณะพิเศษ คือ ตรึกหรือก้าวไปสู่อารมณ์
วิจารมีลักษณะพิเศษ คือ เคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะพิเศษ
คือเอิบอิ่มในอารมณ์ เป็นต้น

ของสภาพธรรมที่แตกต่างกัน อย่างเช่น
จิตที่เกิดทางตาก็จะรู้เห็น จะไปรู้เสียง รู้กลิ่น รส รู้สัมผัสก็ก็ไม่ได้ หรือ
จิตที่เกิดทางหูก็จะรู้เสียง จะไปรู้ เห็น รู้ร้อน รู้หนาว อะไรก็ไม่ได้
จิตที่เกิดทางกายก็จะรู้ร้อน และเย็น อ่อนและแข็ง ก็จะไปรู้อย่างอื่นก็ไม่ได้
เป็นต้นเหล่านี้


วิเสสลักษณะนี้มี ๔ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และ ปทัฏฐาน
เรียกว่า ลักขณาทิตจุกะ คือ ธรรมที่มีองค์ ๔ อันมีลักษณะ
ลักษณะ (เครื่องแสดง)
รสะ (กิจหน้าที่ของธรรม)
ปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ)
ปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด)

คลิกดูรายละเอียดวิเสสลักษณะเพิ่มเติมด้านล่างนี้ครับ
V
http://www.youtube.com/watch?v=doecGXKB1qA

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Doraemon-PNG-Image-Background.png
Doraemon-PNG-Image-Background.png [ 200.99 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิมังสา

วิมังสา แปลว่า ความพิจารณาไตร่ตรองเป็นเรื่องของปัญญาในการทำงาน

วิมังสา เป็น อิทธิบาท คือธรรมที่เป็นแนวทางให้ไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ลำดับที่ ๔
ควรให้เกิดขึ้นต่อจากจิตตะ

วิมังสา คือการใช้ปัญญาพิจารณา ไตร่ตรองกลั่นกรองถึงสิ่งที่ทำว่าดีว่าควรหรือไม่
การใช้ปัญญาตรวจสอบถึงงานที่ทำมิให้ผิด ตรวจตราวิธีการทำงานให้ถูกต้องรวดเร็ว
รวมไปถึงการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนแผนงาน
เพื่อให้งานเดินได้สะดวก ไม่สะดุด เป็นต้น

วิมังสา เปรียบเสมือนผู้ตรวจงาน เป็นเหตุให้งานที่
ที่สำเร็จออกมาดี เรียบร้อย เป็นระเบียบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha018(1).jpg
buddha018(1).jpg [ 93.62 KiB | เปิดดู 4594 ครั้ง ]
เรื่อง วิมุตติสุข

วิมุตติสุข แปลว่า สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะและปวงทุกข์;
พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ

สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร
ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์
เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพ
แห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์

สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุหุกชาติ
แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์
กล่าวว่าธิดามาร ๓ คนได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้
สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้อง
พระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขที่แท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อราชาตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะและภัลลิกะ
เข้ามาถวายสัตตุผงสัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒

เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่เจ็ด ณ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก
ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน
แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา
และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕
อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย

พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา
ความนอกนั้นมาในมหาวรรคแห่งพระวินัยปิฎก (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




yoga-sur-la-plage-11024096.jpg
yoga-sur-la-plage-11024096.jpg [ 86.77 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิมุตติ ๒

วิมุตติ แปลว่า ความพ้นอย่างวิเศษ ความหลุดพ้นคือ การหลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะ
คือ ราคะ โทสะ โมหะ ได้โดยสิ้นเชิง

วิมุตติ ใช้คำว่า วิโมกข์ ก็มี
วิมุตติ มี ๒ อย่าง คือ

๑. เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต
ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ คือ วิมุตติของพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา
อันมีสมถกรรมฐานเป็นพื้นฐานมาก่อน

๒. ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา คือ วิมุตติของพระอรหันต์ผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนาล้วน ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา
ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง แล้วละกิเลสทั้งปวงได้

ผู้ได้เจโตวิมุตติจะชำนาญในการเข้าฌาน และไม่เหนื่อยมากในการบำเพ็ญกรรมฐาน
ส่วนผู้ได้ปัญญาวิมุตติจะไม่ชำนาญในการเข้าฌาณ และต้องเหนื่อยมากในการบำเพ็ญกรรมฐาน

นอกจากนี้ยังมี วิมุตติ ๕ มีความหมายเดียวกับ นิโรธ ๕

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1081845106-612x612.jpg
istockphoto-1081845106-612x612.jpg [ 61.92 KiB | เปิดดู 1073 ครั้ง ]
เรื่อง วิมุตติ ๕

วิมุตติ แปลว่า ความพ้นพิเศษ ความหลุดพ้นวิมุตติ ว่าโดยการบรรลุตามลำดับ มี ๕ คือ

๑. ตทังควิมุตติ คือ การพ้นพ้นชั่วคราว คือระงับกิเลสได้ชั่วครู่ เช่น เวลามหากุศลเกิด กิเลสก็ไม่เกิด
๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง เป็นการพ้นด้วยการข่มไว้ ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติ
หรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามแบบของการทำสมาธิ คือ มหัคคตเกิด นิวรณ์ ๕ ก็ไม่เกิด
๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยเด็ดขาด คือพ้นด้วยอำนาจอริยมรรค ซึ่งกิเลสถูกตัดขาดแล้ว
ด้วยอำนาจของมรรคนั้นๆ โดยกิเลสนั้นจะไม่กลับมาเกิดอีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยความสงบ คือพ้นได้ต่อจากอริยมรรคจนถึงอริยผล
ซึ่งกิเลสสงบระงับไปแล้ว ได้แก่ อริยะผล
๕. นิสสรณวิมุตติ พ้นออกไป คือพ้นจากกิเลสได้ยั่งยืนจนถึงสิ้นชีพ ได้แก่ พระนิพพาน

วิมุตติ ๒ อย่างข้างต้น เป็นโลกียวิมุตติ ที่เหลืออีก ๓ อย่าง เป็นโลกุตรวิมุตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2014, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




mahachanoke.jpg
mahachanoke.jpg [ 63.22 KiB | เปิดดู 4580 ครั้ง ]
เรื่อง วิริยะ

วิริยะ แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ
ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์

วิริยะ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม
ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น
หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ
ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ

"วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆ ขณะทำงาน
ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร"

วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว
วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร