ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=46862
หน้า 7 จากทั้งหมด 17

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 พ.ค. 2014, 02:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง พหุสัจจะ

พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก
หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก
เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่าพหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก
ผู้คงแก่เรียน นักปราชญ์ หนังสือบางฉบับเรียกว่า "หัวใจนักปราชญ์"

พาหุสัจจะ เกิดจากการศึกษา และการศึกษาที่ดีเกิดจากการศึกษา ๔ แบบ คือ
ศึกษาด้วยการฟัง ด้วยการคิด ด้วยการสอบถาม และด้วยการจดจำบันทึก

มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็น
หัวใจนักปราชญ์ คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถัง โส ปณฺฑิโต ภเว"
แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร

สุ ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า ฟัง
จิ ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า คิด
ปุ ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า ถาม
ลิ ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า จด

ไฟล์แนป:
3-35225_transparent-people-sleeping-sleeping-png.png
3-35225_transparent-people-sleeping-sleeping-png.png [ 176.77 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 พ.ค. 2014, 03:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง พุทธกิจ

พุทธกิจ หมายถึง พระภารกิจของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำตลอดพระชนมายุหลังจากตรัสรู้
ระยะเวลา ๔๕ ปี ซึ่งมีทั้งหมด ๕ ประการ ได้แก่

๑. ตอนเช้า เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์และทรงแสดงธรรมโปรดสัตว์โลกเหล่านั้น
เพื่อให้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ประพฤติผิดมัวเมาอยู่ในความชั่ว

๒. ตอนบ่าย ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธศาสนิกชนที่มาเข้าเฝ้า
ณ สถานที่ประทับ และน่าอัศจรรย์ก็คือ ไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ในสถานที่ใด
ก็จะมีพุทธศาสนิกชนมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก

๓. ตอนเย็น ทรงแสดงโอวาทโปรดพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในสถานที่ที่พระองค์ประทับ

4. ตอนเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาธรรมให้แก่เทพเทวดา ทั้งหลายที่มาเข้าเฝ้า

๕. ตอนเช้ามืดจนสว่าง ทรงพิจารณาความเป็นไปของสัตว์โลกว่า
ใครเป็นผุ้ที่พระองค์สมควรเสด็จไปโปรด จากนั้นในตอนเช้าก็จะเสด็จไปโปรด
โดยการบิณฑบาต และแสดงธรรมเทศนาโปรดสัตว์เหล่านั้น

ไฟล์แนป:
81.jpg
81.jpg [ 98.56 KiB | เปิดดู 5175 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 พ.ค. 2014, 05:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง พุทธจริยา

พุทธจริยา แปลว่า พระจริยาวัตรปกติของพระพุทธเจ้า
หมายถึงการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นซึ่งทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

พุทธจริยา โดยสรุปมี ๓ อย่าง คือ

๑. โลกัตถจริยา พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก เช่นการเสด็จจาริกไปประกาศธรรมในที่ต่างๆ
ทรงชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานติ์ ชี้ทางพระนฤพาน ให้พ้นโศกวิโยคภัย

๒. ญาตัตถจริยา คือ พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่พระประยูรญาติ คือการเอื้ออาทรต่อพระประยูรญาติ
ด้วยการเสด็จไปโปรดแล้วทรงแนะนำให้ได้พบทางสว่าง ได้ออกบวช ได้บรรลุธรรม

๓. พุทธัตถจริยา คือ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ตามหน้าที่เป็นพระพุทธเจ้า เช่น ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ
ประจำวัน ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อเป็นหลักปกครองสงฆ์ เป็นต้น

ไฟล์แนป:
91Gd+tEAbnL.png
91Gd+tEAbnL.png [ 322.26 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 พ.ค. 2014, 05:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง พุทธานุสสติ

พุทธานุสติ แปลว่า การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่เนืองๆ
เป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ โดยการน้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา เพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง คือคิดถึงเรื่องคุณของพระพุทธเจ้า
เพียงอย่างเดียว ไม่คิดวอกแวกถึงเรื่องอื่น จิตจึงเป็นสมาธิขึ้นมาได้

ผลจากการระลึกฯ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะเป็นการปรับสภาพจิตให้ประณีตขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยจะทำให้จิตเข้าสู่ระดับมหากุศลขั้นพื้นฐาน อันเนื่องมาจากความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธานั่นเอง
อันจะส่งผลให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น

การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้านั้นเช่น การระลึกตามบทสวดมนต์ภาษาบาลีที่ว่า

" อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ "


หรือจะระลึกตามคำแปลของบท"อิติปิโส"นี้ ที่แปลว่า

" เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ* เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ "

หรืออาจจะระลึกเพียงสั้นๆ ว่า "พุทโธ" ซ้ำไปเรื่อยๆ ก็ได้
การจะระลึกว่าอะไรนั้นไม่สำคัญนัก ที่สำคัญคือ จะต้องระลึกพร้อมด้วยความรู้สึกเลื่อมใส
ศรัทธาในพระพุทธเจ้าเป็นหลัก

ในทางกลับกัน ถึงแม้จะระลึกด้วยบทที่กล่าวมาแล้ว หรือด้วยบทใดๆ ก็ตาม แต่ไม่ได้ประกอบด้วย
ความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก็จะไม่จัดว่าเป็นพุทธานุสติเลย

ไฟล์แนป:
BuddhaWallpaper1364.jpg
BuddhaWallpaper1364.jpg [ 42.62 KiB | เปิดดู 5167 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 12 พ.ค. 2014, 16:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง พุทธิจริต

จริต แปลว่า ความประพฤติ พฤติกรรมปกติ
หมายถึง ความประพฤติที่ติดต่อสืบเนื่องมานาน จนเป็นปกติของผู้นั้น ใช้ว่า จริยาก็ได้

พุทธิจริต หมายถึง พฤติกรรมของผู้มีปัญญาเป็นปกติ
คือมีสติสัมปชัญญะ มีเหตุผล ชอบคบหาคนดี ยืน เดิน นั่ง นอน ว่องไว
เรียบร้อย ชอบทำงานที่เป็นประโยชน์ ชอบรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด
ขมกลมกล่อมปานกลางไม่จัดนัก ดูอะไรด้วยความพินิจวิเคราะห์ เป็นคนสอนง่าย
ไม่ดื้อ มีความเพียร ทำอะไรเร็ว เข้าใจง่าย ไม่ชอบติดใจสงสัย

พุทธิจริต มักเป็นคู่กับ โทสจริต
พุทธิจริต แก้ด้วย มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน

ไฟล์แนป:
1378436109-2JPG-o.jpg
1378436109-2JPG-o.jpg [ 60.62 KiB | เปิดดู 5155 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 13 พ.ค. 2014, 04:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง โพชฌงค์

โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ ๗ คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มี ๗ อย่างคือ

๑. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
๒. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
๓. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
๔. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
๖. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
๗. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ

โพชฌงค์ ๗ เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37

ไฟล์แนป:
qwb_image304255202028.jpg
qwb_image304255202028.jpg [ 82.59 KiB | เปิดดู 5149 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 13 พ.ค. 2014, 05:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่องโพธิปักขิยธรรม

โพธิปักขิยธรรม แปลว่า เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ
เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ
๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔
๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕
๖. โพชฌงค์ ๗
๗. มรรคมีองค์ ๘
(ดูรายละเอียดในเรื่องนั้นๆ)

โพธิปักขิยธรรม เรียกอีอย่างหนึ่งว่า อริยัปปเวทิตาธรรม
คือธรรมที่พระอริยะประกาศไว้แล้ว

ไฟล์แนป:
tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png
tumblr_ozu6yr1Qmm1wtg8hyo1_500.png [ 254.69 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 14 พ.ค. 2014, 06:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง ภยาคติ

ภยคติ แปลว่า ความลำเอียงเพราะกลัว
การไปในแนวทางที่ไม่ควรคือความกลัว เป็นข้อที่ผู้ใหญ่ควรเว้น
เพราะจะทำให้เสียความยุติธรรม ทำให้เกิดความเสื่อม

ภยาคติ หมายถึง ความเอียงเข้าข้าง ทำอะไรด้วยความกลัวหรือเกรงใจกัน
ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง รวมไปถึงไม่กล้าทำที่ดีงามเพื่อหมู่คณะเพราะกลัวจะผิด
กลัวจะไม่สำเร็จ กลัวตัวเองจะเดือดร้อน กลัวจะไม่ถูกใจคนนั้นคนนี้ หรือเกรงใจคนนั้นคนนี้
เข้าข้างเพราะถูกข่มขู่ กลัวจะได้รับอันตรายทั้งตนเองและญาติพี่น้องครอบครัว เป็นต้น

ภยาคติ เป็นเหตุให้ไม่กล้าทำอะไรที่เป็นไป เพื่อความเจริญ เพื่อความอยู่รอด
ของหมู่คณะหรือกิจการ แม้จะเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำเพื่อรักษาไว้ด้วยความเที่ยงธรรม
ในหมู่คณะ เป็นการแตกแยกในสังคม การปกครอง ระบบงานดำเนินก้วหน้าไปได้ยาก
ขาดการร่วมมือ และอาจถึงกับล่มสลายไปไม่รอดไปในที่สุด

ไฟล์แนป:
40-400490_woman-dogs-people-cutout-cut-out-people-architecture.png
40-400490_woman-dogs-people-cutout-cut-out-people-architecture.png [ 518.1 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 15 พ.ค. 2014, 06:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง ภาวนา - ภาวนามัย

ภาวนา หมายถึง การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ
การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ

๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,

อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ

๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม
มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ

๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์

ไฟล์แนป:
sunrise-503924_960_720.jpg
sunrise-503924_960_720.jpg [ 92.68 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 15 พ.ค. 2014, 07:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง โภชเน มัตตัญญุตา

โภชเนมัตตัญญุตา แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย ให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก
ไม่หิวจนเป็นทุกข์ มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา

โภชเน มัตตัญญุตา หมายถึง รับทานอาหารแต่พอดี เพียงเพื่อร่างกายอยู่รอด
ให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ไม่ให้ต้องมากจนต้องอึดอัด
ไม่ให้น้อยจนเกิดการหิวโหย รวมจนถึงรู้จักเลือกอาหาร
รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์และเวลา ไม่พร่ำเพรื่อ กล่าวคือไม่เป็นคนเห็นแก่กิน

วิธีที่รับประทานอาหารแต่พอดี คือ กะว่าอีก ๔-๕ คำอิ่ม ให้หยุดแล้วดื่มน้ำเข้าไป
ก็จะอิ่มพอดี อย่างนี้เรียกว่า โภชเนมัญตัญญุตา

โภชเน มัญตัญญุตา เป็นเหตุให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เบาสบาย คล่องตัว แข็งแรง
ไม่อ้วนเกินไป ผอมเกินไป ทำให้การปฏิบัติธรรม และการงานต่างๆได้สะดวก

ไฟล์แนป:
zheng.png
zheng.png [ 575.63 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 05 มิ.ย. 2014, 06:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่องมโนกรรม

มโนกรรม หมายถึง การกระทำทางใจ คือ ทำกรรมด้วยการคิด
ไม่ว่าจะทำกรรมชั่วหรือกรรมดี จัดเป็นมโนกรรมเหมือนกัน

มโนกรรมทางชั่ว มี 3 อย่าง คือ โลภ อยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม
เรียกอีกอย่างว่า มโนทุจริต (แปลว่า ประพฤติชั่วด้วยใจ)

มโนกรรมทางดี มี 3 อย่าง คือ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบตามคลองธรรม
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มโนสุจริต (แปลว่า ประพฤติชอบด้วยใจ)

ไฟล์แนป:
spd_20121029172744_b.jpg
spd_20121029172744_b.jpg [ 54.91 KiB | เปิดดู 4855 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 06 มิ.ย. 2014, 07:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่องมัตตัญญุตา

มัตตัญญุตา แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

มัตตัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักความพอดี ความพอเหมาะ ไม่มากเกินไป
ไม่น้อยเกินไปในทุกๆเรื่อง เช่น รู้จักความพอดีในการพูด ในการทำงาน ในการหาทรัพย์
ในการจ่ายทรัพย์ ในการกินการอยู่ เป็นต้น โดยรู้จักประมาณกำลังตนเอง ประมาณทรัพย์ที่มีอยู่

มัตตัญญุตา เป็นเหตุให้เป็นคนมีความพอดี รู้จักพอ ไม่ทำอะไรหักโหมเกินกำลังกายหรือกำลังทรัพย์

ไม่เป็นคนสุรุ่ยสุร่ายฟุ้งเฟ้อ มีความเป็นอยู่สบายตามสมควรแก่ฐานะ ไม่เดือดร้อนหรืออัตคัตฝืดเคือง
รู้จักประหยัดอดออมและจะมีฐานะมั่งคั่งมั่นคงได้ในที่สุด

ผู้ประกอบด้วยมัตตัญญุตาจัดว่าเป็น สัตบุรุษ คือเป็นคนดี คนฉลาด
น่ายกย่องนับถือและเหมาะที่จะคบหาสมาคมด้วย

ไฟล์แนป:
segment_regular_X25ADfi5qB8.png
segment_regular_X25ADfi5qB8.png [ 55.92 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 06 มิ.ย. 2014, 07:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง มัจฉริยะ
มัจฉริยะ แปลว่า ความตระหนี่ ความเสียดาย ความหวงแหน

มัจฉริยะ เป็นกิเลสภายใน เป็นเหตุให้เป็นคนใจแคบ เห็นแก่ตัว ขาดความกรุณา
มัจฉริยะ มี ๕ ประการ คือ

๑. ตระหนี่ที่อยู่ คือ หวงแหนที่อยู่ ไม่ต้องการให้คนพวกอื่นเข้ามาปะปนอยู่ด้วย
๒. ตระหนี่ตระกูล คือหวงแหนตระกูลของตนหรือตระกูลที่ตนสนิทสนมคุ้นเคย
ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
๓. ตระหนี่ลาภ คือหวงแหนลาภผลทรัพย์สิ่งของของตน ไม่อยากแบ่งให้คนอื่น
๔. ตระหนี่วรรณะ คือหวงแหนความดีไม่อยากให้คนอื่นมีเทียมตนหรือได้ดีเท่าตน
๕. ตระหนี่ธรรม คือหวงแหนวิชาความรู้ ไม่อยากให้คนอื่นรู้จากตนหรือรู้เท่าตน

ไฟล์แนป:
buddha-png-wallpaper-hd.png
buddha-png-wallpaper-hd.png [ 371.6 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 08 มิ.ย. 2014, 07:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง มัทวะ

มัททวะ หมายถึง ความอ่อนโยน คือ ความเป็นผู้มีอัธยาศัยอ่อนโยน
ไม่ดื้อดึง ถือตนด้วยอำนาจ มีความโอนอ่อนไปตามเหตุผล เป็นไปตามเหตุที่ควร
และมีสัมมาคารวะต่อท่านผู้ใหญ่ ผู้เจริญ

ลักษณะนิสัยของผู้มีมัทวะ คือ เป็นอ่อนโยน อ่อนหวาน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย
งดงามน่ารักเป็นคนถ่อมตน ไม่ถือตัวต่อบุคคลผู้เสมอกันและต่ำกว่า วางตนสม่ำเสมอ
ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยอำนาจมานะ เพราะชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติ
เป็นคนที่ยอมรับในความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลของผู้รู้ และปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
ไม่ห้ามไม่คัดค้านความคิดเห็นของผู้อื่นที่ถูกต้องเป็นธรรม

มัทวะ เป็นธรรมข้อหนึ่งในทศพิราชธรรม(ดูเรื่องทศพิธราชธรรม)

ไฟล์แนป:
unnamed_2.jpg
unnamed_2.jpg [ 96.53 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 09 มิ.ย. 2014, 07:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ภาษาธรรม จัดเป็นหมวดๆ

เรื่อง มงคล

มงคล แปลว่า เหตุนำความสุขความเจริญมาให้
คือสิ่งที่นำความโชคดี ความสวัสดี และความสุขมาให้ตามที่ปรารถนา
มงคลมี 2 อย่างคือ มงคลทางโลก กับ มงคลทางธรรม

มงคลทางโลก คือสิ่งที่เป็นวัตถุซึ่งชาวโลกถือว่าเป็นมงคล ได้แก่สิ่งของ
สัตว์ และต้นไม้บางชนิด เช่นมงคลแฝด ของขลัง ช้างเผือก ใบเงินใบทอง
รวมถึงชื่อ อักษร กาลเวลาหรือฤกษ์ยามเป็นต้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มงคลนอก

มงคลทางธรรม คือมงคลที่เป็นข้อปฏิบัติ ต้องทำต้องปฏิบัติให้ได้จริง
จึงจะเป็นมงคล มี 38 ประการ เช่นไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต การให้ทาน
การประพฤติธรรม ความกตัญญู เป็นต้น เรียกอีกอย่างว่า มงคลใน
หรือ มงคล 38 หรือ มงคลชีวิต ก็เรียก

ไฟล์แนป:
EpOVzHLU8AA07V3.jpg
EpOVzHLU8AA07V3.jpg [ 88.56 KiB | เปิดดู 971 ครั้ง ]

หน้า 7 จากทั้งหมด 17 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/