วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
:b44: :b44: :b44:

วิสุทธิมรรค
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วิสุทธิมรรค (บาลี: วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7

ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม 8 ประโยค และเปรียญธรรม 9 ประโยค[1]

การแบ่งเนื้อหา

คัมภีร์วิสุทธิมรรค มีการแบ่งเนื้อหาสาระทั้งหมดเป็น 23 ปริจเฉท ได้แก่[2]

1. ศีลนิเทศ แสดงถึงการรักษาศีล
2. ธุตังคนิเทศ แสดงถึงวิธีการบำเพ็ญธุดงควัตร
3. กัมมัฏฐานคหณนิเทศ แสดงถึงบุพกิจเบื้องต้นก่อนการเจริญสมถกรรมฐาน
4. ปฐวีกสิณนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญปฐวีกสิณ โดยละเอียด
5. เสสกสิณนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญกสิณ ที่เหลืออีก 9 ประการ
6. อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอสุภกรรมฐาน 10 ประการ
7. ฉอนุสสตินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอนุสสติกรรมฐาน 6 ประการแรก ตั้งแต่พุทธานุสสติ ถึงเทวตานุสสติ
8. อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอนุสสติกรรมฐาน ที่เหลืออีก 4 ประการ
9. พรหมวิหารนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารกรรมฐาน 4 ประการ
10. อารุปปนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอรูปกรรมฐาน 4 ประการ
11. สมาธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน
12. อิทธิวิธนิเทศ แสดงถึงวิธีการแสดงฤทธิ์ต่างๆ 10 ประการ อันเป็นผลมาจากการเจริญสมถกรรมฐาน
13. อภิญญานิเทศ แสดงถึงอภิญญา 6 ประการ อันเป็นผลจากการเจริญสมถกรรมฐาน
14. ขันธนิเทศ แสดงถึงขันธ์ 5 อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
15. อายตนธาตุนิเทศ แสดงถึงอายตนะ 12 และ ธาตุ 18 อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
16. อินทริยสัจจนิเทศ แสดงถึงอินทรีย์ 22 และอริยสัจ 4 อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
17. ขันธนิเทศ แสดงถึงขันธ์ 5 อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน
18. ทิฏฐิวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเห็นรูปนามตามความเป็นจริง
19. กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสิ้นความสงสัยในสภาวธรรม เพราะเห็นรูปนามพร้อมเหตุปัจจัย
20. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนข้ามพ้นวิปัสสนูปกิเลส
21. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนดำเนินไปตามวิถีของวิปัสสนาญาณ 9
22. ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุอริยมรรค เป็นพระอริยบุคคล
23. ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ แสดงถึงอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

อ้างอิง

หลักสูตรการศึกษาบาลีปัจจุบัน | บาลีดิค.com. เรียกข้อมูลวันที่ 10 ก.พ. 2554.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ), 2548 น. [18]-[21]

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) (แปลและเรียบเรียง). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548. ISBN 974-91641-5-6

แหล่งข้อมูลอื่น

ความเป็นมาและโครงสร้างของคัมภีร์วิสุทธิมรรค
คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลโดย มหามกุฏราชวิทยาลัย
คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลโดย มหาวงศ์ ชาญบาลี
:b8: :b8: :b8:

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7% ... 3%E0%B8%84

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: เชิญคลิ๊กอ่านได้ที่นี่ค่ะ
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 3%E0%B8%84

วิสุทธิมรรค ฉบับแปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) และคณะ

วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคศีล และภาคสมาธิ

นิทานกถา
:b42: วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคศีล
ปริเฉทที่ ๑ สีลนิเทศ
ปริเฉทที่ ๒ ธุตังคนิเทศ
:b42: วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ
ปริเฉทที่ ๓ กัมมัฏฐานคหณนิเทศ
ปริเฉทที่ ๔ ปถวีกสิณนิเทศ
ปริเฉทที่ ๕ เสสกสิณนิเทศ
ปริเฉทที่ ๖ อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ
ปริเฉทที่ ๗ ฉอนุสสตินิเทศ

:b42: วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ
ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ
ปริเฉทที่ ๙ พรหมวิหารนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๐ อารูปปนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๑ สมาธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๒ อิทธิวิธนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๓ อภิญญานิเทศ

:b42: วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา
ปริเฉทที่ ๑๔ ขันธนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๕ อายตนธาตุนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๖ อินทริยสัจจนิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๗ ปัญญาภูมินิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๘ ทิฎฐิวิสุทธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๑๙ กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๒๐ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๒๑ ปฏิปทาญาณวิสุทธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๒๒ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
ปริเฉทที่ ๒๓ ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร