วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 146.82 KiB | เปิดดู 4237 ครั้ง ]
๑๕. อาหารปัจจัย

อุปมาเหมือน บ้านที่เราตั้งอยู่ได้ต้องอาศัยเสาเป็นเครื่องค้ำจุนอยู่
ถ้าหากว่าไม่มีเสาค้ำจุนอยู่แล้ว บ้านนั้นก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ฉันใด
รูปธรรมและนามธรรมนี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีอาหารอันเปรียบเหมือนเสาเรือน
ค้ำจุนแล้ว รูปธรรมนามธรรมนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ดุจเดียวกัน
ดังมีพระพุทธสุภาษิตที่ตรัสไว้ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติตา แปลว่า สัตว์ทั้งหลาย
ตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาหารนั่นเอง


อาหารปัจจัย
สารอาหารที่มีอุปการะเกื้อกูลต่อร่างกายและจิตใจ

ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปอาหารหรือที่เรียกว่า ธาตุวิตามิน ซึ่งมีอยู่ในอาหารการกิน และนามอาหาร กล่าวคือ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การเจริญเติบโต แข็งแรง ทั้งทางกาย และทางจิตใจ

การได้บริโภคอาหารจึงทำให้ชีิวิตของสรรพสัตว์เจริญเติบโต และมีพละกำลัง สุขภาพแข็งแรง เมื่อเจตนามีพลัง จึงทำให้พลังจิตและพลังกายแข็งแรง ก็ภาวะเช่นนี้แหละ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "การทำอุปาการะด้วยอาหารปัจจัย"

"สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงดำรงอยู่่ได้ด้วยอาหาร"
หากเราไม่ได้บริโภคอาหาร ร่างกายก็จะเหี่ยวเฉา ผอมแห้งแรงน้อย โรคภัยเบียดเบียน เป็นเหตุให้อายุสั้น

ด้วยเหตุนี้ ในวันหนึ่งๆ คนเราจึงต้องพิจารณาเลือกคัดสรรอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กินอาหารที่มีสารอาหารครบ ๕ หมู่ เพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขในชาติปัจจุบัน ตรงกันข้าม หากเรากินอาหารโดยไม่พินิจพิจารณา กินทุกอย่างที่ขวางหน้า แค่คำเดียวก็อาจตายได้ นี่แหละเขาเรียกว่า อาหารเป็นพิษ ผู้รู้จึงแนะนำตักเตือนในเรื่องของการกินอาหารว่า "หากเราอยากอายุสั้น ก็ให้กินอาหารที่มีอายุยาว หากอยากมีอายุยืนยาว ก็ให้กินอาหารที่มีอายุสั้น"

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เราใช้ปัญญาทำการปัจจเวกขณ์(พิจารณา)ก่อนกินอาหาร ทรงแนะให้กินแต่พอประมาณ(โภชเนมัตตัญญุตา) อย่ากินมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย นี่เป็นการอุปการะแห่งอาหารที่เป็นฝ่ายรูปธรรม

ส่วนในเรื่องของอาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรมนั้น เราทั้งหลายสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ในเวลาที่เราเิดินทางไกลในถิ่นทุรกันดาร เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอยู่ หากบังเอิญพบเห็นแห่งน้ำหรือได้ยินได้ฟังว่ามีน้ำอยู่ตรงโน้นตรงนี้ จิตใจของเราก็จะรู้สึกสดชื่นมีพละกำลังขึ้น ราวกะว่าได้ดื่มได้กินโดยตรงฉันนั้น หรือในเวลาที่เราทำบุญให้ทานด้วยจิตที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธานั้น เวลาที่เราได้เห็นเครื่องไทยธรรม ก็ดี เห็นพระภิกษุสงฆ์ผู้จะมารับทาน ก็ดี จิตใจของเราย่อมเกิดความปลาบปลื้มยินดี มีน้ำมีนวลขึ้นอย่างเห็นได้ชัดนี่แหละท่านเรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งนามาหารปัจจัย(เหตุปัจจัย กล่าวคือ อาหารที่เป็นฝ่ายนามธรรม)

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเลือกสรรใช้สอยอาหารปัจจัยให้ถูกต้องพอเหมาะพอควร เลือกเฉพาะอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่าตามใจลิ้นตัวเองทั้งๆ ที่รู้ว่ากินเข้าไปแล้วมีแต่โทษ หากเอาชนะสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังนั้นได้ ชีวิตก็จะอยู่อย่างมีความสุข ปราศจากโรคภัยได้โดยไม่ต้องสงสัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 161.97 KiB | เปิดดู 4232 ครั้ง ]
๑๖. อินทริยปัจจัย

อุปมาเหมือน ในประเทศหนึ่งๆ มีรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าปกครอง
ในหน้าที่การงานอยู่หลายคนด้วยกัน แต่ในหน้าที่อย่างหนึ่งๆ นั้น
ก็รัฐมนตรีคนหนึ่งๆ เป็นหัวหน้าควบคุมปกครองไม่ก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน
ฉันใดในอินทริยปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ หน้าที่ต่างๆ มีหน้าที่ในการเห็น การได้ยิน เป็นต้นนั้น
ก็มีธรรมที่เป็นใหญ่ควบคุมหน้าที่นั้นๆ เช่นหน้าที่ในการเห็นก็มีจักขุปสาทเป็นใหญ่
เรียกว่า จักขุนทรีย์ และหน้าที่ในการได้ยินก็มีโสตปสาทเป็นใหญ่ เรียกว่า โสตินทรีย์ ดังนี้


อินทริยปัจจัย
ธรรมที่เป็นใหญ่ให้การอุปการะ

ปัจจยธรรม มีอยู่ ๒ ฝ่าย คือรูปอินทรีย์ ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และรูปชีวิตอินทรีย์ นามอินทรีย์ ได้แก่ นามชีวิตอินทรีย์ จิต เวทนา และ ศรัทธา เป็นต้น

ปัจจยุปันนธรรม : ความตื่นตัวในการรับอารมณ์ กล่าวคือ การได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส

ความสำเร็จแห่งการงาน อันเป็นผลมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง ความสำเร็จแห่งการทำบุญกุศล เช่น การใหทาน เป็นต้น อันเนื่องมาจากความมีศรัทธาที่แรงกล้า การทำงานอันเป็นหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า เป็นการทำอุปการะแห่งอินทริยปัจจัย ยกตัวอย่าง ในประเทศหนึ่งๆ จะมีกลไกการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐได้มอบหมายให้ โดยแบ่งเป็นภาคหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม ฯลฯ ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องรับผิดชอบภาระงานของตนๆ ไป เช่น กระทรวงพานิชย์ก็รับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงศึกษาธิการก็รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประชาชนในประเทศ กระทรวงกลาโหมก็รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากต่างคนต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยไม่มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวก้างก่ายซึ่งกันและกันแล้วไซร้ ก็คงจะทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง เป็นเหตุให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุขทั้งกายและใจ ตรงกันข้ามหากหน่วยงานที่มีอยู่ไม่ค่อยจะเอาใจใส่ในงานของตน มัวแต่ไปเพ่งเล็ง ก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่น ผลที่จะติดตามมาก็คือความล้มเหลว ความทุกข์ยากก็จะเกิดแก่ประชาชนในประเทศนั้น

ในส่วนของหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบสุขของประชาชนในประเทศนั้น นับว่าเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลและมีอำนาจมากที่สุด ซึ่งหากใช้อำนาจโดยพลการเข้าไปก้าวก่ายกิจการของหน่วยงานอื่นๆ ก็ย่อมจะนำมาซึ่งความหายนะแก่ประเทศชาติได้ ซึ่งในโลกนี้ ก็ย่อมมีประเทศที่มีสภาพดังกล่าวอยู่อีกมาก นี้ก็ถือว่าเป็นการนำเอาอินทริยปัจจัย(อำนาจบาตรใหญ่)ไปใช้อย่างผิดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แก่บุคคลอื่น

ขอให้เราท่านทั้งหลายจงมองตนเอง เป็นเหมือนกับประเทศๆ หนึ่ง จะเห็นว่าทุกสัดส่วนในร่างกายของเรานั้นต่างก็ได้ทำหน้าที่ของตนๆ เช่น ตา ซึ่งเรียกว่า จักขุนทรีย์ ก็ทำหน้าที่ของตน กล่าวคือ การเห็นเท่านั้น ไม่ได้ทำหน้าที่มีการได้ยิน เป็นต้นแต่อย่างใด ส่วนหู ซึ่งเรียกว่า โสตินทรีย์ ก็ทำหน้าที่เฉพาะการได้ยินเท่านั้น มิได้ทำหน้าที่อย่างอื่นใดแม้ในส่วนของอินทรีย์อื่นๆ เช่น จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็พึงทราบว่าต่างก็ทำหน้าที่ของตนๆ เท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม หากอินทรีย์ทั้งหลายที่ว่านี้มีการทำงานโดยบิดเบือน ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ เช่น ขณะที่ตาเห็นแต่บอกว่า ไม่เห็น หรือทั้งๆ ที่ไม่เห็นแต่กลับบอกว่าเห็น ทั้งๆ ที่หูได้ยินแต่กลับบอกว่าไม่ได้ยิน หรือทั้งๆ ที่ไม่ได้ยินแต่กลับบอกว่าได้ยิน ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นการใช้สอยอินริยปัจจัยในทางที่ผิด ผลที่ตามมาก็คือทุกข์

อนึ่ง นอกจากการใช้สอยปัจจัยข้างต้นแล้วยังมีการใช้สอยอินทริยปัจจัยที่เกี่ยวกับนามธรรมอีก เช่นศรัทธาและปัญญา สมาธิและวิริยะ ซึ่งอินทรีย์เหล่านี้จักต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง หากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งหนึ่งอ่อนลง เช่น หากมีศรัทธา(สัทธินทรีย์)มากเกิน ก็จะทำให้บุคคลนั้นเชื่อจนงมงายอย่างไร้ความคิด ปราศจากสติปัญญา แม้ในส่วนของปัญญา(ปัญญินทรีย์) ก็เช่นเดียวกัน คือถ้าหากมีมากเกิน ก็จะทำให้คิดมาก ตรึกมาก เป็นเหตุให้ไม่ค่อยที่จะเชื่อสิ่งใดง่ายๆ แม้สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อก็ตาม ทำให้กลายเป็นคนมีทิฏฐิสูง เป็นคนขวางโลกคอยแต่จะขัดคอคนอื่นอยู่ร่ำไป

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้เราทั้งหลาย จงควบคุมและปรับสภาพอินทรีย์เหล่านั้นให้มีความเสมอภาคและเป็นไปในทิศทางที่ดี เป็นเหตุให้นำมาซึ่งคุณูปการแก่ทั้งตนเองและผู้อื่นเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 161.58 KiB | เปิดดู 4232 ครั้ง ]
๑๗. ฌานปัจจัย

อุปมาเหมือน บุคคลที่อยู่ในที่สูงสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ
ในที่ไกลๆ ได้ เมื่อตนเองแลเห็นสิ่งเหล่านั้นแล้ว ก็บอกให้พวกที่อยู่ข้างล่างรู้
ด้วยว่าในที่ตรงนั้นตรงนี้มีอะไรบ้างตามที่ตนได้เห็น


ฌานปัจจัย
ฌานคือพลังแห่งความเพ่งพินิจ พิชิตความสำเร็จ

ปัจจยธรรม : ธรรมที่เป็นองค์ฌาน ๕ ประการคือ
วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และเอกัคคตา

ปัจจยุปันนธรรม : การทำหน้าที่หรือการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
ใจจดใจจ่อทุ่มเททุกสัดส่วนทั้งกายและใจ

ฌาน คือ การกระทำการเพ่งด้วยใจจดจ่อในสิ้งที่ตนกระทำอยู่ บางคนคิดว่าการเหาะเหินเดินอากาศหรือดำดินเท่านั้นเป็นฌาน นั่นเป็นการเข้าใจผิด

ในการทำงานด้วยความเอาใจใส่และมีใจจดจ่อต่องานนั้น พึงทราบว่ามีสภาวธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นองค์ฌานอยู่ ๕ ประการ คือ

(๑) วิตก ทำหน้าที่ตรึกหรือวางแผนในการทำงาน

(๒) วิจาร ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับงานที่ทำ

(๓) ปีติ มีความปลาบปลื้มยินดีในงานที่ทำ

(๔) สุขเวทนา มีความสุขในงานที่ทำ

(๕) เอกกัคคตา ทำหน้าที่ควบคุมให้จิตใจ
มีความนิ่งอยู่แต่ในงานนั้นเพียงอย่างเดียว

สภาวะ ทั้ง ๕ นี้รวมเรียกว่า "ฌาน"
แต่หากแยกเรียกทีละอย่างก็จะเรียกว่า "องค์ฌาน"

ธรรมดาว่าจิตใจของคนเรานั้นควบคุมยาก จากอารมณ์นั้นสู่อารมณ์นี้เป็นธรรมชาติที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่แล่นไปสู่อารมณ์ต่างๆ แทบจะไม่มีการหยุดนิ่ง ซึ่งหากสภาวธรรมที่เรียกว่า "ฌาน" นั้น มีกำลังน้อยกว่าก็จะไม่สามารถควบคุมจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้ หากจิตไม่ตั้งมั่นอยู่อารมณ์เดียว ก็จะกลายเป็นคนจับจด ยากที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงได้

ขึ้นชื่อว่าคนบ้า ย่อมไม่อาจทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จได้ แม้แต่กินข้าวยังกินให้หมดจานไม่ได้ เดี๋ยวทำโน่น เดี๋ยวทำนี่ ทำไปเรื่อยเปื่อยเฉื่อยแฉกเพราะจิตไร้การควบคุมฉันใด เด็กที่เป็นโรคออทิสติก ย่อมไม่อาจจะอยู่นิ่งๆ ฉันใด ลิงเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยชอบอยู่นิ่งๆ ปีนจากต้นนี้ไปสู่ต้นโน้นฉันใด จิตใจของคนเราทั่วๆ ไปนั้นก็ไม่แตกต่างจากบุคคลเหล่านั้น ความจริงแล้วจิตของคนนั้นยิ่งกว่าจิตของลิงเสียอีก คือในเวลาหนึ่งๆ นั้น ลิงสามารถหีนป่ายได้แค่จากกิ่งไม้หนึ่งไปสู่กิ่งไม้หนึ่งเท่านั้น ส่วนจิตของคนนั้นสามารถรับอารมณ์ ๕ อย่างได้ในชั่วพริบตา

หากคนเราทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ก็จะทำให้คนๆ หนึ่งเมื่อยล้ามากเกิน อาจจะไม่สามารถที่จะเสร็จงานใดงานหนึ่งได้ เพราะความเป็นจริงแล้ว ในเวลาหนึ่งๆ คนเราควรทำงานให้เสร็จเพียงอย่างเดียว งานนั้นก็จะเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ท่านทั้งหลายจึงควรทำงานตามแนวทางของโบราณ ที่ท่านสอนฝากเราเอาไว้ว่า
"กินทีละคำ ทำทีละอย่าง"

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสามารถในการทำงานอย่างมีสมาธิจดจ่อ เพื่อความสำเร็จแห่งงานนั้นทุกท่านทุกคนเทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 142.92 KiB | เปิดดู 4232 ครั้ง ]
๑๘. มัคคปัจจัย

อุปมาเหมือน ยานพาหนะที่นำผู้โดยสารอันได้แก่
จิตและเจตสิกดวงอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน
ให้ไปถึงที่หมายในที่ต่างๆกัน ตามสมควรของยานนั้นๆ
เจตสิก ๘ ดวงนี้ จึงนับว่าเป็นมัคคปัจจัย


มัคคปัจจัย
มคฺคปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นหนทาง

มัคคะ แปลว่า หนทาง

มัคคปัจจัย มี ๒ ประเภท คือ
๑. สัมมามรรค ได้แก่
-สัมมาทิฏฐิ
-สัมมาสังกัปปะ
-สัมมาวาจา
-สัมมากัมมันตะ
-สัมมาอาชีวะ
-สัมมาวายามะ
-สัมมาสติ
-สัมมาสมาธิ

๒. มิจฉามรรค ได้แก่
-มิจฉาทิฏฐิ
-มิจฉาสังกัปปะ
-มิจฉาวาจา
-มิจฉากัมมันตะ
-มิจฉาอาชีวะ
-มิจฉาวายามะ
-มิจฉาสติ
-มิจฉาสมาธิ

มัคคปัจจัย
ทางสู่ความสำเร็จ

ปัจจยธรรม : องค์มรรคทั้งหลายที่มีสัมมาทิฏฐิ และ มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น

ปัจจยุปันธรรม : การเดินถูกทางแล้วได้รับความสุข
การเดินผิดทางแล้วได้รับความทุกข์

ทาง หมายถึง เครื่องนำไปสู่ความสำเร็จอันเป็นจุดหมายหรือเป้าหมาย หากคนเราเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข เขาก็จะได้พบกับความสุขในที่สุด หากเดินอยู่บนเส้นทางแห่งความทุกข์ เขาก็จะได้พบกับความทุกข์เป็นจุดหมายสุดท้าย ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าเป็นการทำอุปการะแห่งมัคคปัจจัย

ต่อไปนี้ เป็น สัจจมรรค เป็นทางดีทางถูก มี ๘ ประการดังนี้
(๑) สัมมาทิฏฐิ............รู้โดยถูกต้อง
(๒) สัมมาสังกัปปะ........คิดโดยถูกต้อง
(๓) สัมมาวาจา............พูดโดยถูกต้อง
(๔) สัมมากัมมันตะ........ทำโดยถูกต้อง
(๕) สัมมาอาชีวะ..........เลี้ยงชีพโดยถูกต้อง
(๖) สัมมาวายะมะ.........เพียรโดยถูกต้อง
(๗) สัมมาสติ.............มีสติโดยถูกต้อง
(๘) สัมมาสมาธิ..........มีสมาธิโดยถูกต้อง

ทั้ง ๘ ประการข้างต้นนี้ มิใช่เป็นเพียงทางสำหรับโลกิยสุขเท่านั้น แต่ยังเป็นซูเปอร์ไฮเวย์ไปสู่โลกุตตรสุขด้วย พระพุทธองค์ทรงเรียกทางหลวงนี้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ผู้ใดเดินตามเส้นทางนี้ ก็จะพบกับความสุขทั้งโลกิยสุขและโลกุตตรสุข ตรงกันข้ามผู้ใดก็ตามที่เดินนอกเส้นทางดังกล่าว เขาผู้นั้นก็จะพบกับความทุกข์นานัปการ ดูพระเทวทัตเป็นตัวอย่างสิ แล้วจะเห็นว่า ท่านควรเลือกเดินบนเส้นทางมิจฉามรรคหรือสัมมามรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2014, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 155.29 KiB | เปิดดู 4232 ครั้ง ]
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

อุปมาเหมือน ยาชนิดหนึ่งเรียกว่า จตุมธุรส
อันผสมด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด
เมื่อเอาสิ่งทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ผสมกวนกันแล้วรสของยานี้กลมกลืนกันได้สนิท
จนผู้ที่บริโภคนั้นไม่สามารถจะบอกได้เลยว่านี่เป็นรสของเนย
หรือรสของน้ำมันงา หรือรสของน้ำผึ้ง หรือรสของน้ำตาลโตนด
ข้อนี้ฉันใด จิตและเจตสิกก็เช่นเดียวกัน เมื่อขณะที่เกิดขึ้นนั้น
ก็กลมกลืนเข้ากันได้สนิท ไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าอันไหนเป็นจิต
และอันไหนเป็นเจตสิก เหมือนกับมธุรสฉะนั้น


สัมปยุตตปัจจัย
มีความเกี่ยวข้องกันก็ต้องช่วยเหลือกัน

ปัจจยธรรม: นามขันธ์(กลุ่มนามธรรม) ซึ่งประกอบด้วย
เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นต้น

ปัจจยุปันนธรรม : นามขันธ์ ซึ่งประกอบด้วย สัญญา สังขาร วิญญาณ
และเวทนา เป็นต้น

หากเรานำวัตถุ ๔ ประการคือ เนย น้ำอ้อย น้ำมันงา และ น้ำผึ้ง มาตั้งไฟอ่อนๆ กวนให้เข้ากัน เราก็จะได้เภสัชชนิดหนึ่งเรียกว่า "จตุมธุ" ซึ่งเป็นสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อเป็นจตุมธุแล้ว รสแห่งวัตถุ ๔ อย่างก็รวมกัีนเป็นเสมือนรสหนึ่งเดียวฉันใด แม้ในการรับอารมณ์ของจิตหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เราก็แทบจะแยกไม่ออกว่า
-นี่คือเวทนา(ตัวเสวยความรู้สึก)
-นี่คือสัญญา(ตัวบันทึกอารมณ์)
-นี่คือสังขาร(ตัวจัดแจงหรือปรุงแต่ง)
-หรือนี่คือวิญญาณ(ตัวรับอารมณ์)

ทั้งๆ ที่นามขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ล้วนแต่ทำงานหรือทำหน้าที่ของตน ไม่ยุ่งเกี่ยวหน้าที่ของกันและกัน แต่เนื่องจากทั้งหมดรวมตัวกันทำงานเกี่ยวกับอารมณ์เดียวกัน จึงยากที่จะแยกสัตติ(ศักยภาพ) ของธรรมแต่ละอย่างเหล่านั้นได้ ก็และการที่นามธรรมเหล่านั้นอยู่(เกิด)ร่วมกันแล้ว ต่างคนต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงเรียกว่า "การทำอุปการะแห่งสัมปยุตตปัจจัย"

ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น จะต้องมีผู้นำคอยเป็นผู้ให้นโยบายและจะต้องมีผู้ตรวจตราประกันคุณภาพของงานนั้นด้วย และจะต้องมีผู้คอยจดบันทึกรายละเอียดขั้นตอนของการทำงานด้วย ยิ่งถ้าหากมีคนคอยกระตุ้นเตือนอยู่ด้วยแล้ว ก็จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน แม้ในเรื่องของความเป็นสัมปยุตตปัจจัยของกลุ่มนามธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีความละเอียดลึกซึ้งรู้ได้ยากนั้น ก็พึงทราบตามอุปมาข้างต้นนี้แล

ในสังคมมนุษย์นั้น เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตนๆ ซึ่งหากทุกคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนๆ แล้วไซร้ ก็จะได้ชื่อว่าเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย แต่หากไม่เอาใจใส่หน้าที่ของตน มัวแต่ไปยุ่งกับการงานของผู้อื่น ก็อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ อาจเป็นเหตุทำให้งานล่าช้าไม่เสร็จตามเวลาได้ ซึ่งทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอีกเท่าตัว

ยกตัวอย่างในการอยู่กันเป็นครอบครัวหนึ่งนั้น หากสามีภรรยาต่างช่วยกันทำงาน ผัวหาบเมียคอน ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนอย่างไม่พบพร่องแล้วไซร้ ครอบครัวนั้นก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นี้แหละเป็นลักษณะแห่งอุปการะของสัมปยุตตปัจจัย

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลาย จงอยู่ร่วมกันอย่างไม่เอาเปรียบกันและกัน รู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตนๆ เทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 145.42 KiB | เปิดดู 4232 ครั้ง ]
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

อุปมาเหมือน คน ๒ คนอยู่ในบ้านเดียวกัน แต่ว่าไม่ใช่เป็นญาติพี่น้องกัน
และการกินการอยู่หลับนอนตลอดจนเงินทองก็ไม่ได้ใช้ร่วมกัน
เป็นแต่อยู่บ้านเดียวกันเท่านั้น ถ้าหากจะมีผู้ถามว่า ๒ คนนี้เป็นอะไรกันหรือเปล่า
ก็ต้องตอบว่าไม่ได้เป็นอะไรกัน เป็นแต่อาศัยบ้านเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในกิจการงานเท่านั้น

อุปมาเหมือนรส ๖ อย่าง คือหวาน, เปรี้ยว, ฝาด, เค็ม, ขม, เผ็ด, เหล่านี้
เมื่อเอามาผสมรวมกันเข้าแล้ว ไม่สามารถที่จะกลมกลืนเข้ากันได้สนิทเป็นรสเดียวกัน
เช่นในหม้อแกงหม้อหนึ่งประกอบด้วยรสต่างๆมี หวาน, เปรี้ยว, ฝาด, เค็ม, ขม, เผ็ด, เป็นต้น
เหล่านี้รวมกันอยู่ ผู้บริโภคสามารถบอกทันทีได้ว่านี่รสเปรี้ยว นี่รสเค็ม นี่รสหวาน
ซึ่งผิดกับจตุมธุรสที่แสดงมาแล้วในสัมปยุตปัจัย

วิปปยุตตปัจจัย
แม้ไม่ได้อยู่ร่วมกันแต่ก็ยังให้ความช่วยเหลืออุปการะกัน

ปัจจยธรรม: รูปธรรมกับนามธรรม

ปัจจยุปันนธรรม : นามธรรมกับรูปธรรม

การเกิดขึ้นแห่งนามธรรม โดยอาศัยวัตถุรูปมี จักขุวัตถุ เป็นต้น เป็นที่ตั้งแห่งการรับอารมณ์รูปทั้งหลาย ก็ดี การที่รูปธรรมทั้งหลายมีความเจริญเติบโตและตั้งมั่นเพราะอำนาจแห่งนามธรรม ก็ดี พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งวิปปยุตตปัจจัย

ในโลกของสัตว์ที่มีชีวิต(หรือที่ในบางแห่งเรียกว่า "มีวิญญาณครอง") นั้นพึงทราบว่าการที่นามขันธ์การรับรู้(ญาณธาตุ) ทั้งหลาย กล่าวคือจิตและเจตสิก จะเกิดขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย และหทัยวัตถุ ซึ่งส่วนร่างกายเหล่านี้ท่านเรียกว่า วัตถุรูป เช่น ตา ก็เรียกว่า จักขุวัตถุ, หู ก็เรียกว่า โสตวัตถุ ดังนี้ เป็นต้น เมื่อได้อาศัยวัตถุรูปหล่านี้แล้ว จิตซึ่งเป็นนามธรรมจึงจะสามารถรับรู้สิ่งต่างๆ (รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ) ซึ่งเรียกว่า "อารมณ์" ได้

ในขณะเีดียวกัน การที่รูปกายทั้งหลายเหล่านั้น สามารถดำรงตั้งมั่นอยู่ได้อย่างไม่แตกสลายง่ายๆ นั้น ก็เป็นเพราะอิทธิพลหรืออำนาจหรือได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากนามธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นเอง

แม้ว่ารูปกับนามจะเป็นสภาวะที่ไม่ได้สัมปยุตกัน(ไม่ได้เกิดร่วมกัน) ก็ตาม แต่ทั้งสองก็ยังเป็นที่พึ่งพาต่อกันและกัน ต่างคนต่างก็ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

นามก็อยู่ในส่วนนาม รูปก็อยู่ในส่วนรูป ไม่ปะปนกัน ไม่คาบเกี่ยวกัน สภาวะของนามกับรูปนั้นแตกต่างกัน แต่ถึงกระนั้นทั้งสองก็ยังต้องรับบทเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

ในการเห็นรูปด้วยตานั้น พึงทราบว่า ตา(จักขุวัตถุ) เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถมองเห็นรูปได้ตามลำพัง เป็นเพียงแค่วัตถุ(เครื่องรองรับ) เท่านั้น แต่ผู้ที่เห็นรูปารมณ์ได้จริงๆ คือจิตใจที่เป็นประเภทจักขุวิญญาณ ดังนั้นการมีตาอย่างเดียวจึงมิได้หมายความว่าจะสามารถมองเห็นรูปารมณ์ได้ ตาก็ต่างหาก รูปารมณ์ก็ต่างหาก ต่างคนต่างอยู่คนละสัดคนละส่วน ไม่ใช้ชีวิตก้าวก่ายของกันและกัน เพียงแต่ทำประโยชน์ให้กันและกันเท่านั้น คล้ายกับรส ๖ ชนิด หวาน ขม เปรี้ยว ฝาด เผ็ด และเค็ม ที่ถูกปรุงไว้ในแกงถ้วยเดียวกัน ต่างก็ช่วยกันทำหน้าที่ให้รสชาติของตนๆ เพื่อให้ได้รสเลิศขึ้นมาเท่านั้น รสทั้ง ๖ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้แกงกลายเป็นรสใดรสหนึ่งแต่อย่างใด เปรี้ยวก็ต่างหาก หวานก็ต่างหาก แกงถ้วยนั้นจึงจะถูกขนานนามว่า แกงเปรี้ยวหวาน ดังนี้ เป็นต้น ฉันใด

แม้ความเป็นวิปปยุตตปัจจัย ก็พึงทราบว่ามีสภาพเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน คืออาศัยในบ้านเดียวกันแต่เป็นคนละคนกัน และต่างก็เป็นที่พึ่งของกันและกันได้ แม้จะเป็นธรรมคนละชนิดกันก็ตาม นี้แหละคือการทำอุปการะแห่งวิปปยุตตปัจจัยใน คัมภีร์อนันตนยสมันตมหาปัฏฐาน

สุดท้ายนี้ ขอให้เราท่านทั้งหลาย ซึ่งแม้จะไม่ได้เป็นคนชนชาติเดียวกัน หรือเชื้อสายวงศ์ตระกูลเดียวกัน จงมีเมตตากรุณาช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างไร้พรมแดนเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 145.04 KiB | เปิดดู 4230 ครั้ง ]
๒๑. อัตถิปัจจัย

อุปมาเหมือน พื้นดินที่ช่วยอุดหนุนอุปการะแก่ต้นไม้ทั้งปวง
ให้งอกงามเจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้ ในการช่วยอุดหนุนนี้เป็นการช่วยอุดหนุน
โดยอาการที่ปรากฏอยู่ คือพื้นดินที่เป็นฝ่ายอุดหนุนก็มีอยู่
ต้นไม้ที่เป็นฝ่ายรับการอุดหนุนก็มีอยู่
ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มี ก็ช่วยอุดหนุนไม่ได้
ข้อนี้ฉันใด ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยก็เช่นเดียวกัน คือ ปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรม
ต้องปรากฎมีด้วยกัน จึงจะอุดหนุนกันได้


อัตถิปัจจัย

ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

ปัจจยธรรม: รูปธรรมและนามธรรมที่มีปรากฏอยู่

ปัจจยุปันนธรรม: นามธรรมกับรูปธรรมที่มีปรากฏอยู่

"มีเหตุ จึงมีผล" คำกล่าวนี้มิได้หมายความว่า ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเหตุนั้นได้จบไปแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วขณะที่เหตุยังมีหรือยังปรากฏอยู่ หรือยังไม่อันตรธานไปนั่นเอง ผลก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

คนที่มีเครื่องประดับเช่น สร้อย แหวน กำไล เป็นต้น หากได้ทำการประดับสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้น ก็ย่อมชื่อว่ามีทั้ง ๒ ปัจจัย คือมีทั้งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ย่อมได้รับอานิสงค์ประโยชน์ กล่าวคือการไม่ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากบุคคลอื่น แต่ถ้ามีอยู่เฉยๆ ไม่ยอมนำมาสวมใส่ก็เท่ากับว่ามีแต่อัตถิปัจจัย แต่ไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะมีอยู่ในการครอบครองแต่ไม่ได้โชว์ให้คนอื่นได้ยล ก็อุปมาที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพแห่งความเป็นอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเท่านั้น

เพราะตามความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเกิดสภาวธรรมฝ่ายนามขันธ์ ๔ กล่าวคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยความเป็นสหชาต(เหตุเกิดร่วมกับผล)นั้น ถึงทราบว่าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ คือ เพราะเหตุกล่าวคือเวทนา ซึ่งเป็นเหตุที่กำลังเกิดหรือกำลังปรากฏอยู่โดยยังไม่อันตรธานหายไปไหนนั่นเอง จึงทำให้ผลกล่าวคือ สัญญา สังขาร และวิญญาณเกิดขึ้น นี้ต่างหากที่เป็นลักษณะของความเป็นอัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย

โดยทำนองเดียวกัน ในการเกิดผลกล่าวคือ จักขุวิญญาณ(การเห็นรูปสีต่างๆ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในตอนนิสสยปัจจัยและอารัมมณปัจจัย) นั้นพึงทราบว่าสาเหตุมาจากการที่ตาและรูปารมณ์เผชิญหน้ากัน

ก็แล ผลธรรมกล่าวคือ จักขุวิญญาณที่ว่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในขณะที่เหตุธรรมกล่าวคือ ตาและรูปารมณ์ยังมีปรากฏอยู่และยังไม่เลือนหายหรืออัตรธานไปนั่นเอง เพราะถ้ารูปารมณ์เลือนหายไป จักขุวิญญาณกล่าวคือ การเห็นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

อนึ่ง หากจะพูดในแง่ของบัีญญัติแล้ว ก็อาจจะต้องพูดพาดพิงไปถึงกลุ่มหรือคณะของบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบัน องค์กร สมาคม ชมรม เป็นต้น ซึ่งในสถาบัน องค์กร เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมประกอบด้วยคณะบุคคลเป็นรายๆ ไป ซึ่งเรียกว่า กรรมการ บ้าง สมาชิก บ้าง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยยิืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จับมือประสานสามัคคีปฏิบัติหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นำความเจริญรุ่งเรือมาสู่องค์กรของตน นี่แหละท่านเรียกว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย มีแต่ก่อให้เกิดผลสุขทุกถ้วนหน้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 138.49 KiB | เปิดดู 4230 ครั้ง ]
๒๒. นัตถิปัจจัย

อุปมาเหมือน แสงสว่างกับความมืด ธรรมดาของความมืด
จะมีไม่ได้ในแสงสว่างยังปรากฏอยู่ ต่อเมื่อแสงสว่างไม่มีแล้วความมืด
จึงปรากฏขึ้นได้ ดังนั้น ความมืดจึงเป็นผลของแสงสว่างที่ดับไปแล้ว

ข้อนี้ฉันใด ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือปัจจยุบันธรรมที่ปรากฏขึ้น
นั้นต้องให้ปัจจัยธรรมดับไปเสียก่อนจึงจะเกิดขึ้นได้
ฉะนั้น ความดับไปหรือความไม่มีของปัจจัยธรรมนี้ จึงทำคุณอุปการะให้แก่ปัจจยุบันธรรม
คือ ให้ปัจจยุบันธรรมเกิดขึ้นได้


นัตถิปัจจัย

แม้ไม่มีหรือไม่อยู่แล้วแต่ก็ยังให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่

ปัจจยธรรม : จิตที่เกิดขึ้นดวงก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม :จิตที่เกิดขึ้นดวงหลังๆ

หลังจากที่จิตดวงก่อนๆ ไม่มีปรากฏอยู่และดับหายไปแล้ว จึงทำให้จิตดวงหลังๆ สามารถเกิดขึ้นได้นั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าการทำอุปการะแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย (ปัจจัยที่ ๒๑-๒๒)

ในการเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตา (หรือตามที่สำนวนอภิธรรมเรียกว่า การเห็นรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ) นั้น พึงทราบว่า เมื่อรูปารมณ์(สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา) มากระทบกับจักขุปสาท ก็จะทำให้วิถีจิต(กลุ่มจิตที่เกิดตามลำดับ) ก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยเริ่มที่
-อาวัชชนจิต เกิดขึ้นเพื่อพิจารณารูปารมณ์นั้น เมื่ออาวิชชนจิตดับ ก็จะเป็นโอกาสของ
-สันตีรณจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่ตรวจตราไต่ตรองอารมณ์นั้น เสร็จแล้วจิตดังกล่าวก็ดับ เมื่อจิตดังกล่าวดับไปแล้ว จึงเกิด
-จักขุวิญญาณจิต ที่เป็นดังสภาวะรู้รูปารมณ์(หรือที่ทางโลกเขาเรียกกันว่า ("เห็น")เป็นลำดับถัดไป

ภาพแห่งการดับของจิตดวงก่อนๆ และการเกิดขึ้นแห่งจิตดวงหลังๆ ดังที่ยกมานี้แลเป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยแลวิคตปัจจัย

[ก็ถ้าหากจิตดวงก่อนเกิดขึ้นและไม่ดับไปไซร้ โอกาสที่จิตดวงหลังๆ จะเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ การดับหายไปจากจิตดวงก่อนๆ นั้น ได้ชื่อว่าเป็นโอกาสสำหรับจิตดวงหลังๆ อุปมาเหมือนกับเมื่อไม่มีแสงไฟ ความมืดก็จะคืบคลานเข้ามาแทนที่ นี่เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัย ส่วนลักษณะของวิคตปัจจัยนั้นเปรียบเสมือนกับการเกิดขึ้นแห่งแสงจันทร์ภายหลังการดับไปแห่งแสงอาทิตย์]

เราลองมาสรุปภาพความเป็น อัตถิ-อวิคต-นัตถิ และวิคตปัจจัย แบบง่ายๆ ดู จะเห็นได้ว่า สมมุติว่า คนๆ หนึ่งเป็นผู้มีอำนาจและก็ใช้อำนาจนั้นอยู่(ซึ่งหากใช้โดยความเป็นธรรม ก็จะทำให้เกิดความรุ่งเรืองทั้งตนเองและบุคคลอื่นๆ)

แต่ถ้าใช้โดยไม่เป็นธรรม มุ่งเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ก็จะทำให้ผู้คนทั้งหลายพบกับความทุกข์ยากลำบาก นี่เป็นลักษณะของการเกิดผลดีผลเสียแห่งอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวได้สละอำนาจแก่บุคคลอื่นผู้คู่ควรแก่การได้รับ จนตัวเองไม่มีอำนาจหลงเหลืออยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาแทนที่ตนซึ่งบุคคลผู้ได้รับการถ่ายโอนอำนาจ ก็ย่อมมีโอกาสและมีอำนาจในการทำงานอย่างเต็มที่

ก็และการเกิดขึ้นแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยนั้น ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการเปิดโอกาสโดยการสละอำนาจให้บุคคลผู้เหมาะสมตาที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล

ในโลกนี้ ยังมีกลุ่มคนผู้มีอำนาจบางกลุ่มที่ต่อหน้าประชาชีแล้วทำเป็นเหมือนได้ทำการมอบอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ความจริงแล้วพวกเขาคือกลุ่มอำนาจในที่ลับสายตาของชาวโลก นี้ก็เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงสามารถผสานวัฒนธรรมอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการผสานทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 147.52 KiB | เปิดดู 4230 ครั้ง ]
๒๓. วิคตปัจจัย

อุปมาเหมือน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ตามธรรมดาพระจันทร์
จะไม่ปรากฏแสงในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ปราศจากไป ต่อเมื่อพระอาทิตย์ปราศจากไป
แล้วนั่นแหละแสงสว่างของพระจันทร์จึงจะปรากฏขึ้นได้ พระอาทิตย์จึงช่วยอุปการะ
ช่วยอุดหนุนแก่แสงสว่างของพระจันทร์ โดยอาการปราศจากไป


วิคตปัจจัย

แม้ไม่มีหรือไม่อยู่แล้วแต่ก็ยังให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่

ปัจจยธรรม : จิตที่เกิดขึ้นดวงก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม :จิตที่เกิดขึ้นดวงหลังๆ

หลังจากที่จิตดวงก่อนๆ ไม่มีปรากฏอยู่และดับหายไปแล้ว จึงทำให้จิตดวงหลังๆ สามารถเกิดขึ้นได้นั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าการทำอุปการะแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย (ปัจจัยที่ ๒๑-๒๒)

ในการเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตา (หรือตามที่สำนวนอภิธรรมเรียกว่า การเห็นรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ) นั้น พึงทราบว่า เมื่อรูปารมณ์(สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา) มากระทบกับจักขุปสาท ก็จะทำให้วิถีจิต(กลุ่มจิตที่เกิดตามลำดับ) ก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยเริ่มที่
-อาวัชชนจิต เกิดขึ้นเพื่อพิจารณารูปารมณ์นั้น เมื่ออาวิชชนจิตดับ ก็จะเป็นโอกาสของ
-สันตีรณจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่ตรวจตราไต่ตรองอารมณ์นั้น เสร็จแล้วจิตดังกล่าวก็ดับ เมื่อจิตดังกล่าวดับไปแล้ว จึงเกิด
-จักขุวิญญาณจิต ที่เป็นดังสภาวะรู้รูปารมณ์(หรือที่ทางโลกเขาเรียกกันว่า ("เห็น")เป็นลำดับถัดไป

ภาพแห่งการดับของจิตดวงก่อนๆ และการเกิดขึ้นแห่งจิตดวงหลังๆ ดังที่ยกมานี้แลเป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยแลวิคตปัจจัย

[ก็ถ้าหากจิตดวงก่อนเกิดขึ้นและไม่ดับไปไซร้ โอกาสที่จิตดวงหลังๆ จะเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ การดับหายไปจากจิตดวงก่อนๆ นั้น ได้ชื่อว่าเป็นโอกาสสำหรับจิตดวงหลังๆ อุปมาเหมือนกับเมื่อไม่มีแสงไฟ ความมืดก็จะคืบคลานเข้ามาแทนที่ นี่เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัย ส่วนลักษณะของวิคตปัจจัยนั้นเปรียบเสมือนกับการเกิดขึ้นแห่งแสงจันทร์ภายหลังการดับไปแห่งแสงอาทิตย์]

เราลองมาสรุปภาพความเป็น อัตถิ-อวิคต-นัตถิ และวิคตปัจจัย แบบง่ายๆ ดู จะเห็นได้ว่า สมมุติว่า คนๆ หนึ่งเป็นผู้มีอำนาจและก็ใช้อำนาจนั้นอยู่(ซึ่งหากใช้โดยความเป็นธรรม ก็จะทำให้เกิดความรุ่งเรืองทั้งตนเองและบุคคลอื่นๆ)

แต่ถ้าใช้โดยไม่เป็นธรรม มุ่งเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ก็จะทำให้ผู้คนทั้งหลายพบกับความทุกข์ยากลำบาก นี่เป็นลักษณะของการเกิดผลดีผลเสียแห่งอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวได้สละอำนาจแก่บุคคลอื่นผู้คู่ควรแก่การได้รับ จนตัวเองไม่มีอำนาจหลงเหลืออยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาแทนที่ตนซึ่งบุคคลผู้ได้รับการถ่ายโอนอำนาจ ก็ย่อมมีโอกาสและมีอำนาจในการทำงานอย่างเต็มที่

ก็และการเกิดขึ้นแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยนั้น ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการเปิดโอกาสโดยการสละอำนาจให้บุคคลผู้เหมาะสมตาที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล

ในโลกนี้ ยังมีกลุ่มคนผู้มีอำนาจบางกลุ่มที่ต่อหน้าประชาชีแล้วทำเป็นเหมือนได้ทำการมอบอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ความจริงแล้วพวกเขาคือกลุ่มอำนาจในที่ลับสายตาของชาวโลก นี้ก็เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงสามารถผสานวัฒนธรรมอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการผสานทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 167.83 KiB | เปิดดู 4230 ครั้ง ]
๒๔. อวิคตปัจจัย

อุปมาเหมือน น้ำในมหาสมุทร ย่อมเป็นที่อาศัยแก่ฝูงปลาและเต่าเป็นต้น
ให้ได้รับความสนุกสบายร่าเริง และเจริญเติบโตขึ้นได้นั้น น้ำในมหาสมุทรต้องมีอยู่
จึงจะอุปการะอุดหนุนแก่ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายได้ ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายนั้น
ก็ต้องมีอยู่เช่นเดียวกัน จึงจะรับอุปการะจากน้ำในมหาสมุทรนั้นได้
ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีแล้ว ก็ไม่สามารถจะอุดหนุนหรือรับอุดหนุนกันได้


อวิคตปัจจัย

ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

ปัจจยธรรม: รูปธรรมและนามธรรมที่มีปรากฏอยู่

ปัจจยุปันนธรรม: นามธรรมกับรูปธรรมที่มีปรากฏอยู่

"มีเหตุ จึงมีผล" คำกล่าวนี้มิได้หมายความว่า ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเหตุนั้นได้จบไปแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วขณะที่เหตุยังมีหรือยังปรากฏอยู่ หรือยังไม่อันตรธานไปนั่นเอง ผลก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

คนที่มีเครื่องประดับเช่น สร้อย แหวน กำไล เป็นต้น หากได้ทำการประดับสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้น ก็ย่อมชื่อว่ามีทั้ง ๒ ปัจจัย คือมีทั้งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ย่อมได้รับอานิสงค์ประโยชน์ กล่าวคือการไม่ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากบุคคลอื่น แต่ถ้ามีอยู่เฉยๆ ไม่ยอมนำมาสวมใส่ก็เท่ากับว่ามีแต่อัตถิปัจจัย แต่ไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะมีอยู่ในการครอบครองแต่ไม่ได้โชว์ให้คนอื่นได้ยล ก็อุปมาที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพแห่งความเป็นอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเท่านั้น

เพราะตามความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเกิดสภาวธรรมฝ่ายนามขันธ์ ๔ กล่าวคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยความเป็นสหชาต(เหตุเกิดร่วมกับผล)นั้น ถึงทราบว่าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ คือ เพราะเหตุกล่าวคือเวทนา ซึ่งเป็นเหตุที่กำลังเกิดหรือกำลังปรากฏอยู่โดยยังไม่อันตรธานหายไปไหนนั่นเอง จึงทำให้ผลกล่าวคือ สัญญา สังขาร และวิญญาณเกิดขึ้น นี้ต่างหากที่เป็นลักษณะของความเป็นอัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย

โดยทำนองเดียวกัน ในการเกิดผลกล่าวคือ จักขุวิญญาณ(การเห็นรูปสีต่างๆ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในตอนนิสสยปัจจัยและอารัมมณปัจจัย) นั้นพึงทราบว่าสาเหตุมาจากการที่ตาและรูปารมณ์เผชิญหน้ากัน

ก็แล ผลธรรมกล่าวคือ จักขุวิญญาณที่ว่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในขณะที่เหตุธรรมกล่าวคือ ตาและรูปารมณ์ยังมีปรากฏอยู่และยังไม่เลือนหายหรืออัตรธานไปนั่นเอง เพราะถ้ารูปารมณ์เลือนหายไป จักขุวิญญาณกล่าวคือ การเห็นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

อนึ่ง หากจะพูดในแง่ของบัีญญัติแล้ว ก็อาจจะต้องพูดพาดพิงไปถึงกลุ่มหรือคณะของบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบัน องค์กร สมาคม ชมรม เป็นต้น ซึ่งในสถาบัน องค์กร เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมประกอบด้วยคณะบุคคลเป็นรายๆ ไป ซึ่งเรียกว่า กรรมการ บ้าง สมาชิก บ้าง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยยิืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จับมือประสานสามัคคีปฏิบัติหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นำความเจริญรุ่งเรือมาสู่องค์กรของตน นี่แหละท่านเรียกว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย มีแต่ก่อให้เกิดผลสุขทุกถ้วนหน้า

https://keep.line.me/s/zUW4hT8SA3fIRmRa ... wuDigCmYcI

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าเหตุและปัจจัยในปัฏฐาน

เหตุ มีความหมายแคบกว่า เพราะหมายเอาเฉพาะเหตุ 6 ที่ในเหตุปัจจัยเท่านั้น
มีโลภเหตุเป็นต้น

ปัจจัย มีความหมายกว้างกว่า เพราะหมายเอาธรรมที่อุปการะเป็นได้ทั้ง 24 ปัจจัย

แต่ถ้ากล่าวโดยทั่วไป คำว่า เหตุ และ ปัจจัย ก็แปลว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผล
หรืออุปการะให้ผลเกิดขึ้นนั่นเอง
ความหมายของ เหตุและผล ในปัจจัย 24 นี้ หมายถึงธรรมที่เป็นปัจจัยเนื่องกัน
หรืออิงอาศัยกันในธรรมอันเดียวกัน

ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นเหตุธรรมที่เป็นผล และธรรมที่นอกจากผลดังนั้น
เหตุและผลดังนี้จึงไม่จำเป็นต้องได้รับผลตรงกันเสมอไป
เหมือนการหว่านข้าวเปลือกเป็นเหตุ ผลก็ต้องเป็นข้าวเปลือกเหมือนกัน
ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกันโดยตรง แต่เหตุและผลตามปัจจัย 24 นี้

หมายเอาเป็นเหตุเป็นผลเพราะอิงอาศัยกัน หรือ อุปการะกันให้ผลอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
เช่นหว่านข้าวเปลือกเป็นเหตุ ทำให้เกิดต้นข้าวเป็นผลก็ได้
หรือวิบากจิตเป็นปัจจัยให้เกิดวิบากจิตก็ได้ เช่น สัมปฏิจฉนจิตเป็นปัจจัยให้เกิดสัณตีรณจิตก็ได้
โดยอนันตรปัจจัย เป็นต้น
แต่ถ้ากล่าวถึงเหตุผลโดยตรง วิบากซึ่งเป็นผลแล้วจะเป็นปัจจัยให้เกิดผลอีกไม่ได้

ในการเรียนมหาปัฏฐานนี้ จะต้องเข้าใจสังคหะพอสมควร เพราะจะเกี่ยวด้วยจิตตุปบาทแต่ละดวง
คือจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น
จะต้องรู้ว่ามีเจตสิกประกอบได้เท่าไร เรียกว่าสังคหะ ที่ต้องรู้สังคหะ เพราะปัจจัยบางปัจจัยเป็นเหตุเป็นผลกันในจิตดวงเดียวกันก็มี

เช่นโลภเหตุ โมหเหตุเป็นปัจจัยแก่โลภจิต 1 เจตสิก 17 (เว้นเหตุ 2 ที่เป็นปัจจัยออกไป) เป็นต้น
และข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง
จะต้องเข้าใจวิถีจิตด้วย เพราะการเป็นปัจจัยของธรรมย่อมเป็นปัจจัยกันที่วิถีจิต
จะต้องเกี่ยวเนื่องด้วยการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของนามรูป
จึงจะสามารถรู้ว่าปัจจัยนั้นเกิดในกาลไหน เป็นปัจจัยกันในขณะไหน ในทวารไหน
และวิถีจิตอะไรได้บ้าง เพราะเมื่อยกวิถีจิตขึ้นแสดงแล้ว
ก็สามารถรู้การเป็นปัจจัยของธรรมนั้นได้ชัดเจนทั้ง 24 ปัจจัย


ได้กล่าวแล้วว่าการเรียนปัฏฐานนั้น ก็คือการเรียนธรรมในมาติกา ซึ่งเป็นแม่บทของธรรมทั้งปวง
เพราะไม่มีธรรมอะไรที่นอกไปจากธรรมทั้งปวง
เพราะไม่มีอะไรที่นอกไปจากธรรมในมาติกา เพราะฉะนั้นจึงได้เอาธรรมในมาติกามาแจกให้รู้ว่าเป็นปัจจัยกันอย่างไร หรือทำเหล่านั้นเกิดขึ้นจากอะไร
เช่นกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล กุศลเป็นปัจจัยแก่อัพยากตะ และกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล
และกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลและอัพยากตะเป็นต้น
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย จนครบ 24 ปัจจัย


เหตุนี้การเรียนปัฏฐาน คือการเรียนปัจจัย 24 เพราะปัฏฐาน แปลว่าผลธรรมที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ
คือเกิดจากปัจจัย 24 ได้แก่ สังขารธรรม
คือธรรมที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่งย่อมมีการเกิดดับ เว้นพระนิพพานอันเป็น วิสังขารธรรม
คือธรรมที่พ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง ไม่มีการเกิดดับ

เพราะพระนิพพานนั้นมีอยู่แล้ว พระนิพพานไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัย พระนิพพานจึงเป็นผลไม่ได้
แต่พระนิพพานเป็นปัจจัยได้ คือเป็นอารัมมณปัจจัยได้
แม้แต่บัญญัติธรรมก็เป็นธรรมที่พ้นจากปัจจัยปรุงแต่ง บัญญัติธรรมก็เป็นผลไม่ได้ แต่เป็นปัจจัยได้
คือเป็นอารัมมณปัจจัยก็ได้ เป็นอุปนิสสยปัจจัยก็ได้
เพราะฉะนั้น ธรรมในปัจจัย 24 ย่อมได้ทั้งปรมัตถธรรม และบัญญัติธรรม

เหตุที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปัจจัย 24 ก็เพื่อให้เวไนยสัตว์ ได้รู้ธรรมที่เป็นเหตุและเป็นผล
ของปรมัตถธรรม โดยแบ่งปรมัตถธรรมออกเป็น 3 อย่าง คือ
1. ธรรมที่เป็นเหตุ เรียกว่า ปัจจัยธรรม
2. ธรรมที่เป็นผล เรียกว่า ปัจจยุบบันธรรม
3. ธรรมทีนอกจากผล หรือธรรมที่เหลือจากผล เรียกว่าปัจจนิก
สรุปแล้วการเรียนปัฏฐาน เพื่อให้รู้เหตุ และผลของธรรมที่เป็นสังขตธรรม
และทางที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพาน อันเป็นอสังขตธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 03:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิษฐานบารมี

ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ข้าพเจ้าฯ ได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหาปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระมหาบริสุทธิคุณ
ซึ่งได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลก ณ แท่นวัชรอาสน์
ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิแห่งนี้ และพุทธสถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ

ณ กาลครั้งนี้ จงอานุภาพ มีพลานุภาพ มีบุญฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ จงอำนวยพรบันดาลส่งผล
ให้ข้าพเจ้า จงตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิตลอดชีวิต และกาลในที่ข้าพเจ้ายังต้องเกิดอยู่ขอให้ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ตลอดไปและขอให้ได้พบพระพุทธเจ้า ในชาติที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงอุบัติขึ้น
และได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์โดยตรง
เมื่อบุญบารมีส่งผลมาพร้อมขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าถึงพระนิพพานในชาตินั้นด้วยเถิด

บุญที่ข้าพเจ้าได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้วในครั้งนี้ ขอให้ มารดา บิดา ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติมิตร
สหายทั้งหลาย
เพื่อนร่วมเว็บลานธรรมจักร เพื่อนที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตายทั้งสิ้น ตลอดจนผู้ที่กำลังอ่าน และกำลังจะมาอ่าน
และยังไม่มาอ่านทั้งหลาย และผู้ที่ได้อ่านแล้ว ตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิ
ขอให้พบกับกัลยานิมิตรที่ดีงามปราศจากซึ่งคนพาลทั้งหลาย ตลอดทั้งชีวิตและครอบครัว

ธุระกิจการงานจงชนะ ปลอดภัย ร่ำรวย โชคดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิต
ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง มีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่ง

ได้ดวงตาเห็นธรรม รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ประการ ขอปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔
จงบังเกิดขึ้นในดวงจิตของข้าพเจ้า คือ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา
ปฏิภาณสัมภิทา บังเกิดขึ้นในดวงจิตของข้าพเจ้า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสธรรมไว้อย่างไร ขอให้ข้าพเจ้า จงรู้แจ้งตามธรรมอย่างนั้นด้วยเทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 10:26 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร