วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-4799.jpg
Image-4799.jpg [ 139.18 KiB | เปิดดู 6150 ครั้ง ]
ปจฺจยุทฺเทส
เหตุปจฺจโย... อารมฺมณปจฺจโย... อธิปติปจฺจโย... อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย... สหชาตปจฺจโย... อญฺญมญฺญปจฺจโย... นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย... ปุเรชาตปจฺจโย... ปจฺฉาชาตปจฺจโย... อาเสวนปจฺจโย
กมฺมปจฺจโย... วิปากปจฺจโย... อาหารปจฺจโย... อินฺทฺริยปจฺจโย
ฌานปจฺจโย... มคฺคปจฺจโย... สมฺปยุตฺตปจฺจโย... วิปฺปยุตฺตปจฺจโย
อตฺถิปจฺจโย... นตฺถิปจฺจโย... วิคตปจฺจโย... อวิคตปจฺจโย ติ.
ปจฺจยุทฺเทโส นิฏฐิโยติ

http://www.hmongbuy.com/MDg2SFlhTkpTVFEz

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 132.14 KiB | เปิดดู 6223 ครั้ง ]
๑. เหตุปัจจัย

อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยมีรากแก้วยึดไว้
ให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะมีลมพายุพัดมาทางทิศใดก็ตาม
ก็ไม่ทำให้ต้นไม้นั้นล้มไปได้ และการที่ต้นไม้เจริญงอกงามขึ้น
แตกกิ่งก้านสาขาออกดอกออกผลได้ ก็อาศัยรากแก้วนั้นเอง
มีหน้าที่ช่วยอุดหนุนให้เจริญงอกงามขึ้น


ปัจจยธรรม คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายมูลเหตุ ผู้ให้อุปการะหรือการเกื้อกูล
ในที่นี้ได้แก่ เหตุ ๖ มี โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

ปัจจยุปันธรรม คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายผล ผู้อุปการะหรือรับการเกื้อกูล
ในที่นี้ ได้แก่ (๑) ส่วนที่เป็นนามธรรมกล่าวคือจิตใจที่เป็น ส่วนที่โลภะ
โทสะ โมหะเข้าครอบงำ ซึ่งเรียกว่าอกุศลจิต (๒)ส่วนที่เป็นรูปธรรมที่
เกิดขึ้นโดยอาศัยจิตใจนั้น

ธรรมดาว่า ต้นไม้ทั้งหลายจะเจริญงอกงามผลิตดอกออกผลได้ ก็ต้อง
อยู่ที่มูลรากฉันนั้น บาปอกุศลและผลอันเป็นทุกข์ ย่อมกำเนิดเกิดขึ้น
ธรรมที่เป็นมูลเหตุ ซึ่งเปรียบเหมือนรากเง่า ๓ ประการ คือ โลภะ โทสะ
และ โมหะ บุญกุศลและผลอันเป็นสุข ย่อมถือกำเนิดเกิดขึ้นเพราะธรรมที่
เป็นมูลเหตุซึ่งเปรียบเสมือนรากเหง้า ๓ ประการ คือ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะ ฉันนั้น นี่คือพระธรรมเทสนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ใน
นามของความเป็นเหตุปัจจัยในคัมภีร์ปัฏฐาน

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โลภะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดี มีพิษ
กล่าวคือ อทินนาทานคือการทำทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมย การ
ฉ้อโกง การต้มตุ๋นสารพัด ทั้งโดยมโนกรรม(คิดวางแผนทุจริต ลักขโมย ฯลฯ)
กายกรรมและวจีกรรม (การพูดจากหลอกลวง เป็นต้น)

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โทสะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดีมีพิษ
กล่าวคือการเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน การกล่าววาจาหยาบช้ารด
ราดใส่กัน, ความเครียด, ความเขม่นกันและกัน, ความไม่สบายใจ, การลัก
ขโมย, การหลอกลวงต้มตุ๋นกันและกัน, การพูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โมหะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดีมีพิษ
มากมายหลากหลายชนิด กล่าวคือบาปอกุศลกรรมทั้งหมดทั้งปวง

มด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สาธุชนทั้งหลายจงมีความเพียรพยายามกำจัดถอน
รากเหง้ากล่าวคือ โลภะ โทสะ และโมหะ ๓ ประการนี้ให้จงได้ แล้วจงหมั่น
ปลูกรากงาม ๓ ประการ กล่าวคือ อโลภะ อโทสะ และ อโมหะ ให้เจริญ
งอกงามไพบูลย์ไว้ในขันธสันดานของตนๆ เถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-138.jpg
Image-138.jpg [ 92.79 KiB | เปิดดู 6195 ครั้ง ]
๒. อารัมมณปัจจัย

อุปมาเหมือน บุคคลที่ชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้า
หรือเชือกเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวพอให้ทรงตัวลุกขึ้น หรือเดินไป
ฉันใดจิตเจตสิกทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัย
ยึดเพื่อเกิดขึ้นฉันนั้น อีกประการหนึ่ง

อุปมาเหมือน สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี เช่น สวนดอกไม้ เป็นต้น
คนทั้งหลายย่อมเข้าไปเที่ยว สนุกสนานรื่นเริงกัน ณ ที่นั้นฉันใด
อารมณ์ทั้งหลายก็เปรียบเหมือนสถานที่รื่นรมย์ต่างๆ จิตและเจตสิก
เปรียบเหมือนบุคคลที่เข้าไปสนุกสนานที่นั้นๆ ฉันใด

อุปมาเหมือนโรงมหรสพต่างๆ เมื่อเวลาจะมีการแสดงนั้น
เขาย่อมมีการประกาศโฆษณาชักจูกให้คนเข้าไปดู หรือเมื่อก่อนจะลงมือแสดง
เขาย่อมตีกลองโหมโรงชักชวนให้คนเข้าไป เมื่อคนทั้งหลายที่เดินผ่านไป
ที่โรงมหรสพนั้นได้ประกาศโฆษณา หรือได้ยินกลองโหมโรงก็พากันเข้าไปดู

ข้อนี้ฉันใด อารมณ์ทั้งหลายอันเปรียบได้กับโรงมหรสพนั้น
ก็มีอำนาจที่จะเหนี่ยวจิตและเจตสิกอันเปรียบเหมือนคนเข้าไปดูมหรสพนั้น
เข้าไปจับยึดอยู่ในอารมณ์ต่างๆได้ฉันนั้น


อารัมมณปัจจัย
ธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตใจ

ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้โดยจิตใจ) นั่นก็คืออารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส(โผฎฐัพพะ) และธรรมารมณ์

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ธรรมที่เป็นฝ่ายอารัมมณิกะ(จิตใจตัวที่รับรู้อารมณ์) นั่นก็คือ จิตที่เห็น, จิตที่ได้ยิน, จิตที่รู้กลิ่น, จิตที่รู้รส, จิตที่สัมผัส และจิตที่รู้ธัมมารมณ์

พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นอารัมมณปัจจัยไว้ดังนี้ว่า "เพราะการปรากฎเกิดขึ้นแห่งอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น จึงทำให้เกิดจิตวิญญาณตัวรับรู้ เช่น เพราะการปรากฎแห่งรูป จึงทำให้เกิดการเห็น เพราะมีเสียงจึงทำให้ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

ทุกครั้งที่เกิดการบรรจบหรือกระทบกับอารมณ์ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ก็ให้เราฝึกฝนใช้สติพิจารณา(มองดู)อารมณ์นั้นด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักของการมองโลกในแง่ดี หากเรามองโลก(อารมณ์ที่มากระทบ)ในแง่ดีจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบุญ เป็นกุศล หรือเป็นจิตที่งดงาม แต่ตรงข้าม หากเรามองโลกด้วยอโยสิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักการมองโลกในแง่ร้าย จิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบาป เป็นอกุศล เป็นจิตมาร หรือกลายเป็นจิตเน่า

ยกตัวอย่าง ในเวลาที่เห็นพระพุทธปฎิมาหรือพระพุทธรูปซึ่งงดงามเหลืองอร่ามไปด้วยสีแห่งทองคำ นำมาซึ่งความน่าเสื่อมใสยิ่ง บางคนอาจเกิดจิตศรัทธาเลื่อมใส แต่บางคนอาจเกิดจิตทรามอยากจะไปลักขโมยขูดเอาทองคำไปขายก็ได้

บางคนอาจชื่นชมผู้ที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แต่บางคนอาจมองในแง่ร้ายไม่พึงพอใจต่อบุคคลนั้น ก็ได้

ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า ความจริงแล้ว อารมณ์ก็อยู่ตามธรรมชาติของเขา ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อความงามและความต่ำทรามให้กับจิตใจของเราได้ แต่เราเองไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นจิตงามหรือไม่ก็จิตทราม ด้วยเหตุนี้การภาวะจิตไวม่ว่าจะดีหรือชั่ว จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเราทั้งหลายเป็นสำคัญ (คือ หากเรามองอารมณ์นั้นในแง่ดี จิตเราก็จะดี หากมองในแง่ร้าย จิตใจก็จะร้าย)

ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะไปโทษอารมณ์ภายนอกใดๆ เพราะแม้จะมีรูปารมณ์อยู่ แต่หากเราไม่ดู เราก็ไม่เห็น แม้จะมีเสียง หากเราไม่เอาใจใส่ เราก็จะไม่ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

สรุปว่า หากเราไม่เอาใจใส่ต่ออารมณ์ใดๆ แล้วไซร้ อารมณ์นั้นๆ ก็จะไม่มีบทบาทสำคัญหรือมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเราได้ จึงควรที่จะโทษตัวเองเสียดีกว่าในฐานะที่ไม่สำรวมระวังด้วยสติสัมปชัญญะในการรับอารมณ์นั้นๆ

ด้วยเหตุนี้ เราท่านทั้งหลาย จงตระหนักให้ดีว่า อารมณ์มิได้เป็นผู้เนรมิตให้จิตเราดีหรือไม่ดี แต่โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการต่างหากที่มันปรุงแต่งจิตใจของเรา เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราท่านทั้งหลาย จึงควรเลือกโยนิโสมนสิการมาใช้ในทุกครั้งทุกขณะที่จิตรับรู้อารมณ์ (ทั้งนี้ยกเว้นเวลานอน) เพื่อให้จิตมีสภาวะปกติไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 149.06 KiB | เปิดดู 6220 ครั้ง ]
๓. อธิปติปัจจัย

อุปมาเหมือน ประเทศหนึ่งๆ ต้องมีพระราชาเป็นผู้ปกครองประเทศ
เพียงพระองค์เดียว บุคคลที่เหลือเหล่านั้น ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพระราชาทั้งสิ้น
ข้อนี้ฉันใด องค์ธรรมที่เป็นอธิบดี ก็ฉันนั้น


อธิปติปัจจัย
ธรรมที่เป็นอธิบดีเกื้อหนุน


ปัจจยธรรม ได้แก่ อธิบดีธรรม ซึ่งประกอบด้วย อารมณ์ทั้งดีและไม่ดี ฉันทะที่รุนแรง และวิริยะอันยิ่งยวด จิตใจที่มุ่งมั่นและปัญญาที่เฉียบคม

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ สิ่งที่เป็นผลอันเนื่องมาจากอธิบดีธรรมนั้น เช่น การวางจิตไว้อย่างลุ่มลึกและความสำเร็จประการต่างๆ

อารมณ์ประเภทดีและประเภทที่ไม่ดีนั้น ท่านเรียกว่า "อารัมมณาธิปติ" อธิบดีอารมณ์(อารมณ์ผู้เป็นใหญ่) พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "การเกิดจิตดีหรือจิตเลวนั้น อาศัยอธิบดีอารมณ์เกิดขึ้น"

ในอธิบติปัจจัยนี้ ก็พึงทราบว่า มีลักษณะคล้ายกันกับในอารัมมณปัจจัยนั่นก็คือ เมื่อประสบกับอารมณ์ชนิดใดๆ ก็ตาม การที่เราเกิดอกุศลจิตนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ขึ้นอยู่กับกายและจิตของตนเท่านั้น ดังนั้น หากเราทั้งหลายได้ทำการสำรวมด้วยความระมัดระวัง (สติ+สัมปชัญญะ) แล้วไซร้่ ไม่ว่าจะประสบพบกับอารมณ์ชนิดใดก็ตาม ก็จะไม่มีจิตผูกโกรธ มีแต่จิตงามเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การได้หรือการประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีฉันทะแรงกล้า มีวิริยะอย่างยิ่งยวด มีจิตใจมุ่งมั่นเต็มร้อย มีปัญญาแหลมคมนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "สหชาตาธิบดี" [ธรรมที่เกิดร่วมกับธรรมอื่นและทำหน้าที่เป็นหัวหน้านำทางธรรมอื่นๆ]

สำหรับผู้ที่มีฉันทะ วีระยะ จิต และปัญญา(หรือวีมังสา) ที่ย่อหย่อนนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้ หากท่านทั้งหลายต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรม ๔ ประการดังกล่าว ให้เจริญงอกงามในขันธสันดานของตนให้มากๆ

ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อเราได้เห็นพระพุทธรูปที่ถึงพร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ และได้มีโอกาสสวดสาธยายพระพุทธคุณแล้ว น้อมจิตเจริญรอยบำเพ็ญบารมีตามพระบรมศาสดาผู้ทรงเป็นพระจอมไตรในภพทั้ง ๓ ผู้ทรงผ่านการบำเพ็ญพระบารมีมาแล้วอย่างโชกโชน แต่ก็ไม่เคยทรงย่อท้อ ตรงข้ามกลับทรงมีพระฉันทะ พระวิริยะ อันแรงกล้า ทรงมีพระหทัยมุ่งมั่นเกินร้อย ทรงมีพระปรีชาญาณอันแหลมคม

นี่คือตัวอย่างการใช้อธิบติปัจจัยธรรมสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง โดยยึคพระพุทธองค์เป็นต้นแบบ ในส่วนของศาสนิกชนอื่นๆ ก็พึงสร้างอธิบดีธรรมอันนำความซึ่งความสำเร็จโดยยึคการบำเพ็ญประโยชน์ การเสียสละของศาสดาของตนๆ เป็นแบบอย่างได้เช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถในการเอาชนะอารมณ์ร้ายทั้งปวง สามารถแปลงให้เป็นอารมณ์อันงดงามเท่านั้นเถิด

ขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นเพาะปลูกดูแลประคบประหงมต้นไม้น้อย ๔ ต้น คือ ต้นฉันทะ ต้นวิริยะ ต้นจิต และต้นวีมังสา ให้เจริญเติบโตงอกงามไพบูลย์ มั่นคงสถาพรอยู่ในขันธสันดานของตนๆ เถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1483958877723.JPEG
1483958877723.JPEG [ 239.08 KiB | เปิดดู 6197 ครั้ง ]
๔. อนันตรปัจจัย

อุปมาเหมือน พระเจ้าจักรพรรดิที่สวรรคตไปแล้ว
พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ต้องสืบราชสมบัติพระราชบิดาต่อไปอย่างแน่นอน
บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเข้ามาคั่นตำแหน่งนี้ได้เลย


อนันตรปัจจัย

อนนฺตรปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น

อนัตตระ แปลว่า ไม่ช่องว่างในระหว่าง ไม่มีอะไรมาคั่น

อนันตรปัจจัย หมายความว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นก่อน เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกที่เกิดหลังๆ เกิดขึ้น
สืบต่อกับจิตดวงก่อนโดยไม่มีอะไรมาคั่น และจิตเจตสิกที่เกิดหลังนี้ ก็กลับเป็นปัจจัยให้เกิด
จิตเจตสิกดวงใหม่โดยไม่มีอะไรมาคั่น

เมื่อจิตดวงที่ ๑ ดับไป จิตดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้น
เมื่อจิตดวงที่ ๒ ดับไป จิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้น

ดับ - เกิด - ดับ - เกิด ......ติดต่อกันไปไม่ขาดสายในสังสารวัฏอันยาวนานหาประมาณไม่ได้
เมื่อจุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นทันที ยกเว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่มีปฏิสนธิจิตต่อ
เพราะพระอรหันต์ไม่เกิดอีก สังสารวัฏของท่านสิ้นสุดแล้ว

การดับ - เกิดติดต่อกันไปของจิตโดยไม่มีระหว่างคั่นนี้ เป็นไปตามจิตตนิยาม คือ เป็นไปในลำดับ
ของตนๆ ไม่สับสนกัน เช่น ในจักขุทวารวิถี
เมื่อ อตีตภวังค์.................ดับลง ภวังคจลนะ.................ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ภวังคจลนะ................ดับลง ภวังคุปัจเฉทะ..............ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ภวังคุปัจเฉทะ..............ดับลง ปัญจทวาราวัชชนะ.........ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ปัญจทวาราวัชชนะ.........ดับลง จักขุวิญญาณ...............ก็เกิดขึ้น
เมื่อ จักขุวิญญาณ...............ดับลง สัมปฏิจฉนะ................ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ

จิตจะดับ - เกิดตามลำดับของตนๆ โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นมาเปลี่ยนลำดับได้เลย
ท่านจึงอุปมาอันนตรปัจจัยว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1483958889160.JPEG
1483958889160.JPEG [ 248.56 KiB | เปิดดู 6197 ครั้ง ]
๕. สมนันตรปัจจัย

อุปมาเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ
ที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ
ไม่ได้อยู่ครองราชย์สมบัติแล้ว โอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ก็ครองราชย์สมบัติแทนทันที และการสืบต่อราชสมบัตินี้ ก็ต้องได้แก่
โอรสองค์ที่ ๑ ก่อน จะข้ามไปให้แก่โอรสองค์ที่ ๒ หรือองค์ที่ ๓
นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่อเมื่อโอรสองค์ที่ ๑ ไม่ได้ครองแล้ว
องค์ที่ ๒ จึงจะรับสืบต่อได้ตามลำดับกันไป ดังนี้

๔-๕
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
ธรรมที่เพิ่งดับไปก็มีพลังส่งให้ธรรมกลุ่มเดียวกันเกิดขึ้นได้

ปัจจยธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดก่อนแล้วเพิ่งดับไปโดยไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นเกิดมาคั่นในระหว่าง

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายหลังจากปัจจยธรรมนั้น โดยที่ยังไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นมาคั่นในระหว่าง

พระพุทธองค์ทรงแสดงกฏแห่งธรรมข้อนี้ไว้ว่า "เมื่อจิตดวงก่อนๆ ดับย่อมเห็นปัจจัยให้จิตดวงหลังๆ ที่เป็นประเภทเดียวกันเกิดขึ้นต่อๆ กันไป อย่างชนิดที่ไม่มีจิตประเภทอื่นใดมาคั่น ทำให้มองเห็นราวกะว่า กลุ่มจิตเหล่านั้นเป็นดวงเดียวกันฉันนั้น นี้แล คือ กฏแห่งอนันตรปัจจัย"

ธรรมดาว่าจิตใจของมนุษย์ ย่อมหลุกหลิก ไม่นิ่ง ไม่สงบ เหมือนกับลิงจากต้นโน้นไปสู่ต้นนี้ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จากอารมณ์นี้ไปหาอารมณ์โน้น จากอารมณ์โน้นมาหาอารมณ์นี้ วอกแวกอยู่ตลอดเวลา

เดี๋ยวเป็นบุญ เดี๋ยวก็เป็นบาป เดี๋ยวคิดดี ประเดี๋ยวคิดชั่ว แม้แต่ในเวลาบริจาคทาน ก็อาจแวบเกิดความตระหนี่ขึ้นเอาดื้อๆ นี้แลคือธรรมชาติของจิตนั่นก็คือ "ลหุปริวตฺติตํ เปลี่ยนแปลงง่าย" เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย

บางท่าน พยายามหักดิบบาปแล้วปลูกสร้างจิตสำนึกที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลให้เจริญงอกงามไพบูลย์ในขันธสันดานของตน

แม้ในการทำบุญกุศล ก็อาจทำให้เราทั้งหลายเกิดความท้อใจได้ เช่น เราพยายามทำดี แต่ไม่ได้ดี ข้อนี้อาจทำให้เราท้อได้เช่นกัน เมื่อดีไม่ดีก็อาจทำให้เกิดแนวคิดที่ผิดขึ้นมา เช่น อาจคิดว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" ดังนี้เป็นต้น ในที่สุด จิตที่คิดจะทำดี ก็อาจมลายสูญสิ้นไปจากขันธสันดานของบุคคลนั้นเลยก็ได้

ด้วย เหตุนี้ ท่านทั้งหลายจึงควรมีโยนิโนสมนสิการ มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลก ตั้งจิตอุทิศและหมั่นบำเพ็ญสาธารณกุศลให้มั่นคงอย่าได้ไหวหวั่นต่อลมปากคำ พูดถากถางของคนอื่น มุ่งมั่นทำความดีตามที่ตนเห็นว่าดีและมีประโยชน์ เพราะนี่คือการทำดีที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง

เมื่อเห็นประโยชน์เช่นนี้แล้ว ก็จงกล้าที่จะเผชิญกับความทุกข์ยากและอุปสรรคนานัปการ สมดังที่พระพุทธองค์ท่านทรงแสดงไว้ว่า"อตฺถวสิเกน ภิกฺขเว อลํ อุปคนฺตํุ ดู ก่อนภิิิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้มีประโยชน์จริง ก็จงอย่าท้อ จงกล้าที่จะเผชิญและกล้าที่จะยอมรับกับความทุกข์ยากอันอาจเกิดขึ้นได้เพราะ การบำเพ็ญประโยชน์นั้นเถิด"

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถขจัดปัดเป่าทั้งจิตเก่าจิตใหม่ที่ไม่ดี ให้กลับกลายสภาพเป็นจิตดีมีพลังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดุจกระแสสายธารแห่งคงคาที่ไหลบ่าอยู่อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหยุดเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 128.38 KiB | เปิดดู 6206 ครั้ง ]
๖.สหชาตปัจจัย

อุปมาเหมือน ดวงไฟกับแสงไฟ ซึ่งเมื่อมีดวงไฟเกิดขึ้นแล้ว
แสงไฟก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟเกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่
เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัย
ช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟซึ่งเกิดพร้อมกับดวงไฟนั้น

อุปมาเหมือน พ่อ แม่ และลูกที่กำลังเล็กอยู่ เดินไปด้วยกัน
ในที่นี้ พ่อและแม่จะช่วยอุดหนุนซึ่งกันและกันได้ และต่างก็อุดหนุนลูกได้ด้วย
ส่วนลูกนั้นจะไปด้วยกันก็จริง แต่ว่าไม่สามารถจะช่วยอุดหนุนพ่อและแม่ได้
ฉะนั้น พ่อและแม่จึงเป็นได้ทั้งปัจจัยและปัจจยุปบัน
ส่วนลูกนั้นเป็นปัจจัยไม่ได้ เป็นได้แต่ปัจจยุปบันอย่างเดียว


สหชาตปัจจัย
ธรรมที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ธรรมที่เกิดร่วม

ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่ให้การอุปการะแก่ผลซึ่งเกิดพร้อมกับตน

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ธรรมที่รับการอุปการะจากสหชาตของตน

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จนั้น การทำหน้าที่ของตนๆ ตามทีู่ถูกมอบหมายด้วยความรับผิดชอบอยู่นั่นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย

พูดตรงๆ ตามหลักอภิธรรม ก็คือ ในการทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น การเข้าร่วมทำงานกับธรรมทั้งหลาย เช่น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ดี การขับเคลื่อนของรูปขันธ์ไปตามกิจนั้นๆ ก็ดี ได้ชื่อว่าเป็นลักษณะของการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย แม้ในการทำบาป ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในร่างกายหรือรูปขันธ์ ซึ่งเกิดจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นพึงทราบว่า การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงกันของธาตุทั้ง ๔ จนทำให้ร่างกายนั้น มีพละกำลังแข็งแรงมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ก็เป็นผลของการเกื้อกูลกัน

ในฐานะผู้เกิดร่วมกันที่มีการร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งหากธาตุทั้งสี่ ไม่สม่ำเสมอกัน อาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยอาพาธได้ ซึ่งนั่นก็เป็นผลที่มาจากสหชาตปัจจัย เช่นกัน

ดังนั้น ท่านทั้งหลายจึงควรใช้ชีวิตเป็นอยู่โดยพยายามปรับสภาพธาตุทั้งสี่ให้มีความสมดุลย์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ความเป็นสหชาตปัจจัยนั้น สามารถอุปมาเหมือนกับการก่อตั้งองค์กรหรือสมาคม ซึ่งโครงสร้างที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็การร่วมด้วยช่วยกันแบบทำงานเป็นทีมนั้นแลชื่อว่า เป็นลักษณะของการทำงานตามระบบของสหชาตปัจจัย

ท่านทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงระบบการทำงานของสหชาตปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการทำกองกุศลให้บังเกิดขึ้น ก็ดี การใช้ชีวิตให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปอย่างสมดุลย์ ก็ดี หรือการร่วมด้วยช่วยกันทำคุณประโยชน์อย่างพร้อมเพรียงกัน ก็ดี ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จงทำีดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย จงร่วมกายร่วมใจช่วยกันขยันทำความดี หลบลี้หนีความชั่ว และมีจิตมั่นคง ตั้งมั่นในกุศลทั้งปวงเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 124 KiB | เปิดดู 6188 ครั้ง ]
๗. อัญญมัญญปัจจัย

อุปมาเหมือน หนึ่งโต๊ะ ๓ ขา หรือขาหยั่งซึ่งอาศัยไม้ ๓ อัน
ค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี
ถ้าขาดไปขาใดขาหนึ่งแล้วโต๊ะและขาหย่างนั้นไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้
การที่โต๊ะและไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ ก็ต้องพร้อมเพรียงด้วยขาทั้ง ๓
ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่


อัญญมัญญปัจจัย
ธรรมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ปัจจยธรรม+ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ กลุ่มธรรมที่เป็นทั้งเหตุและผล สลับกันไปมา ให้กับกันและกัน

การเกิดโดยความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน ระหว่างเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณทั้งหลาย ซึ่งได้แสดงไปแล้วในสหชาตปัจจัยนั้น พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของอัญญมัญญปัจจัย"

เมื่อเกิดสัมผัส ก็เกิดเวทนาความรู้สึก สัญญาทำหน้าที่บันทึกข้อมูลนั้นไว้ ยิ่งเจ็บ ยิ่งจำ ยิ่งจำ ก็ยิ่งเจ็บ นี้แหละคือตัวอย่างของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยระหว่าเวทนากับสัญญา

ในการทำงานของคนเรา ก็เช่นเดียวกัน คือ ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ความมีเหตุผล จนสามารถแยกแยะว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ความสามารถในการตัดสินวินิจฉัย การมีเจตนามุ่งมั่นในการทำงานให้มีประสิทธิภาพจนก่อให้เกิดประสิทธิผล กล่าวคือ ความสำเร็จในการงานต่างๆ นั้น ก็พึงทราบว่าเป็นลักษณะความถึงพร้อมแห่งอัญญมัญญปัจจัยนั่นเอง

คนเราเกิดมาต้องพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่ก็เป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัย ซึ่งหากเป็นไปในทางที่ดีเป็นบุญเป็นกุศล ก็กล่าวได้ว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัยในทางที่ดี (กุศลอัญญมัญญปัจจัย) แต่ถ้าหากเป็นไปในทางที่ไม่ดี ร่วมกันทำความชั่ว ก็จะเป็นลักษณะของอกุศลอัญญมัญญปัจจัย

สรุปว่า ในสังคมโลกปัจจุบันนั้น การร่วมด้วยช่วยกัน การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่การงาน หรือความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือสังคม ช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น โดยไม่เห็นแ่ก่ความเหน็ดเหนื่อยใดๆ กิจกรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

อย่างน้อยๆ การช่วยเหลือกันระหว่างบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อช่วยแม่ แม่ช่วยพ่อทำงาน ลูกช่วยพ่อแม่ พ่อแม่ช่วยเหลือลูก สามีช่วยภรรยา ภรรยาช่วยสามี ทำหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบโดยไม่ขาดตกบกพร่อง เหล่านี้ก็ล้วนเป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงเข้าใจและซาบซึ้งในการเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยว่า บนโลกใบนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใคร อย่าลืมว่าธรรมชาติสร้างพวกเรามาก็เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราจึงมีความถนัดและเก่งกล้าสามารถไม่เหมือนกัน

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำพาโลกให้อยู่อย่างสงบร่มเย็นเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 156.75 KiB | เปิดดู 6188 ครั้ง ]
๘. นิสสยปัจจัย

การช่วยอุดหนุนโดยเป็นที่อาศัยนี้ มีอยู่ ๒ อย่างคือ

๑. เป็นที่อาศัยโดยอาการตั้งมั่น เรียกว่า อธิฏฺฐานาการ อย่างหนึ่ง หมายความว่า
ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้ปัจจยุปบันธรรมเข้าไปอาศัยเกิดขึ้นเพื่อกระทำหน้าที่ของตนๆได้
อุปมาเหมือน พื้นแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้ทั้งปวงให้เกิดขึ้น

๒. เป็นที่อาศัยโดยอาการอิงอาศัย เรียกว่า นิสฺสยาการ อย่างหนึ่ง
หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้น ช่วยอุดหนุนให้เป็นที่อาศัยปัจจยุปบันธรรมโดยอาการอิงอาศัย
อุปมาเหมือน ผืนผ้าเป็นที่อาศัยของภาพวาดเขียนฉันใด ธรรมที่เป็นนิสสยการนี้ ได้แก่
นามขันธ์ ๔ และอาโป. เตโช. วาโย. คือนามขันธ์ทั้ง ๔ นั้น ต่างก็ที่อาศัยซึ่งกันและกัน
เช่นนามขันธ์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งเป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๓ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย
หรือเมื่อนามขันธ์ ๓ เป็นที่อาศัย นามขันธ์ ๑ ที่เหลือก็เป็นผู้อาศัย ดังนี้เป็นต้น
ผลัดกันเป็นที่อาศัยและผู้อาศัยซึ่งกันและกันเช่นนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นที่อาศัยโดยการอิงอาศัยกัน
เรียกว่า นิสสยาการ


นิสสยปัจจัย
ธรรมอันเป็นที่พึ่ง


ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปวัตถุหรือรูปกายอันเป็นส่วนสำคัญและเห็นที่อาศัยของจิตวิญญาณ นั่นก็คือ วัตถุรูป ๖ ซึ่งประกอบด้วย จักขุ, โสตะ, ฆานะ, ชิวหา, กายะ และหทัยวัตถุ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การรับรู้สิ่งที่มาสัมผัส(อารมณ์) ๖ ประการ คือ การเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรู้รส, การรับรู้ทางกายสัมผัส และการเข้าใจ(การรับรู้ทางใจ)

ลักษณะการเกิดขึ้นของการรับรู้ทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมานี้ เป็นไปในลักษณะของการอาศัยอวัยวะรูปส่วนที่เป็นฐานรองรับ(วัตถุ) ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่ตั้งที่อาศัยของตนนั่นเอง

การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ เช่น การเห็น เป็นต้น โดยอาศัยวัตถุรูปของใครของมัน เช่น การเห็น(จักขุวิญญาณ) เกิดได้ เพราะอาศัยจักขุ(จักขุปสาทรูป) การได้ยิน เกิดได้เพราะอาศัยโสตปสาท ดังนี้ เป็นต้น ก็การเกิดปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรมเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของความเป็นนิสสยปัจจัย"

ประสาทตาดี จึงทำให้มองเห็นชัด ก็ตานี้แหละ แม้จะเป็นกัมมชรูปที่เป็นผลมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติ แต่ก็ยังต้องมีความเกี่ยวดองกับจิตตชรูปกล่าวคือ รูปที่เกิดขึ้นโดยเนื่องมาจากจิตใจอยู่ เช่น หากคนเราเกิดความโกรธ จิตใจก็จะขุ่นมัว ส่งผลให้วัตถุรูป เช่น จักขุปสาท มีลักษณะขุ่นมัว แดงก่ำ ไม่ใสสะอาด ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เรามองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัด ตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง อำนาจแห่งเมตตาธาตุอันเป็นธาตุแห่งความเย็นนี้ ก็จะแผ่กระจายไปสู่รูปธาตุทั้งปวง เป็นเหตุให้ธาตุคือ จักขุปสาทเย็นและใสสะอาดปราศจากมลทินธุลีในดวงตา เป็นเหตุนำมาซึ่งการเห็นรูปารมณ์ชัดเจน และส่งพลังความสงบร่มเย็นนั้นไปสู่วิถีจิตอื่นๆ อันเป็นเหตุแห่งความสงบสุขร่มเย็นทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้น ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในส่วนของหทัยวัตถุนั้น พึงทราบว่า ในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านอธิบายว่า คือ เลือดจากส่วนในของหัวใจ แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาบอกว่า หทัยวัตถุ ก็คือสมอง

จะอย่างไรก็ตาม ในเวลาที่คนเราเกิดอาการเหนื่อยใจ อ่อนเพลียทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าทั้งการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจและอาการปวดสมอง ต่างก็พากันแสดงออกมาให้เห็นเมื่อเลือดหัวใจผ่องใสหรือสมองปลอดโปร่ง ก็จะส่งผลให้เกิดความนึกคิดที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเช่นกัน

เนื่องจากว่าจักขุปสาทรูป เป็นต้น ล้วนเป็นรูปที่มีความบอบบางละเอียดมาก จึงทำให้ได้รับการกระทบกระเทือนง่าย ชำรุดเสียหายง่าย เหมือนกับคำพังเพยที่เผยให้เห็นถึงความสำคัญของดวงตาและหูไว้ว่า "ตาคือดวงใจ ความปราชัยคือการเสียหู"

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของอวัยวะเหล่านี้มิให้ได้รับกระทบกระเทือนเกิดความชำรุดเสียหายอย่างเด็ดขาด แม้ในปสาทรูปที่เหลือ ก็พึงทราบว่า มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติบกพร่องทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่สมประกอบ อาจกลายเป็นคนที่ไม่ได้มาตราฐานของความเป็นมนุษย์ได้

หากเราทั้งหลายสูญเสียเลือดในหัวใจนั้นไซร้ ก็จะกลายเป็นคนบ้า แต่ถ้าหากสมองไม่ทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรจากคนตาย

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุรูปอันเป็นนิสสยปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น โดยการให้ความรักความทะนุถนอมบำรุงรักษาอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 145.32 KiB | เปิดดู 6184 ครั้ง ]
๙. อุปนิสสยปัจจัย

อุปมาเหมือน ข้าวสุกที่เราได้อาศัยกินอยู่ทุกวันนี้
ต้องอาศัยประกอบด้วยเหตุ ๗ อย่าง คือ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน,
พ่อครัว, หม้อข้าว, ฟืน, ไฟ, ทั้ง ๗ อย่างนี้ เป็นที่อาศัย(นิสสย)
ให้เกิดเป็นข้าวสุกขึ้นได้ แต่ในบรรดาที่อาศัยทั้ง ๗ อย่างนี้ที่อาศัยอันเป็นที่สำคัญนั้น
ได้แก่ เมล็ดข้าว, ที่นา, น้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าอุปนิสสยะ คือที่อาศัยที่มีกำลังมาก
เพราะถ้าไม่มี เมล็ดข้าว, ที่นา, และน้ำฝน, ทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว พ่อครัว,
หม้อข้าว, ฟืน, และไฟ, เหล่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดข้าวสุกขึ้นได้ ฉะนั้น
จึงได้ชื่อว่าเป็นเพียงนิสสยะ คือเป็นที่อาศัยธรรมดาเท่านั้น


นิสสยปัจจัย
ธรรมอันเป็นที่พึ่ง


ปัจจยธรรม ได้แก่ รูปวัตถุหรือรูปกายอันเป็นส่วนสำคัญและเห็นที่อาศัยของจิตวิญญาณ นั่นก็คือ วัตถุรูป ๖ ซึ่งประกอบด้วย จักขุ, โสตะ, ฆานะ, ชิวหา, กายะ และหทัยวัตถุ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ การรับรู้สิ่งที่มาสัมผัส(อารมณ์) ๖ ประการ คือ การเห็น, การได้ยิน, การได้กลิ่น, การรู้รส, การรับรู้ทางกายสัมผัส และการเข้าใจ(การรับรู้ทางใจ)

ลักษณะการเกิดขึ้นของการรับรู้ทั้ง ๖ ประการที่ได้กล่าวมานี้ เป็นไปในลักษณะของการอาศัยอวัยวะรูปส่วนที่เป็นฐานรองรับ(วัตถุ) ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่ตั้งที่อาศัยของตนนั่นเอง

การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ เช่น การเห็น เป็นต้น โดยอาศัยวัตถุรูปของใครของมัน เช่น การเห็น(จักขุวิญญาณ) เกิดได้ เพราะอาศัยจักขุ(จักขุปสาทรูป) การได้ยิน เกิดได้เพราะอาศัยโสตปสาท ดังนี้ เป็นต้น ก็การเกิดปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรมเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของความเป็นนิสสยปัจจัย"

ประสาทตาดี จึงทำให้มองเห็นชัด ก็ตานี้แหละ แม้จะเป็นกัมมชรูปที่เป็นผลมาจากกรรมเก่าในอดีตชาติ แต่ก็ยังต้องมีความเกี่ยวดองกับจิตตชรูปกล่าวคือ รูปที่เกิดขึ้นโดยเนื่องมาจากจิตใจอยู่ เช่น หากคนเราเกิดความโกรธ จิตใจก็จะขุ่นมัว ส่งผลให้วัตถุรูป เช่น จักขุปสาท มีลักษณะขุ่นมัว แดงก่ำ ไม่ใสสะอาด ซึ่งสามารถเป็นเหตุให้เรามองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัด ตรงกันข้าม หากจิตใจเรามีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง อำนาจแห่งเมตตาธาตุอันเป็นธาตุแห่งความเย็นนี้ ก็จะแผ่กระจายไปสู่รูปธาตุทั้งปวง เป็นเหตุให้ธาตุคือ จักขุปสาทเย็นและใสสะอาดปราศจากมลทินธุลีในดวงตา เป็นเหตุนำมาซึ่งการเห็นรูปารมณ์ชัดเจน และส่งพลังความสงบร่มเย็นนั้นไปสู่วิถีจิตอื่นๆ อันเป็นเหตุแห่งความสงบสุขร่มเย็นทั้งตนเองและผู้อื่นได้ในที่สุด

แม้ในกรณีของการได้ยินเสียง เป็นต้น ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในส่วนของหทัยวัตถุนั้น พึงทราบว่า ในพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ท่านอธิบายว่า คือ เลือดจากส่วนในของหัวใจ แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เขาบอกว่า หทัยวัตถุ ก็คือสมอง

จะอย่างไรก็ตาม ในเวลาที่คนเราเกิดอาการเหนื่อยใจ อ่อนเพลียทางจิตใจ จะเห็นได้ว่าทั้งการไหลเวียนของเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจและอาการปวดสมอง ต่างก็พากันแสดงออกมาให้เห็นเมื่อเลือดหัวใจผ่องใสหรือสมองปลอดโปร่ง ก็จะส่งผลให้เกิดความนึกคิดที่ปลอดโปร่งโล่งสบายเช่นกัน

เนื่องจากว่าจักขุปสาทรูป เป็นต้น ล้วนเป็นรูปที่มีความบอบบางละเอียดมาก จึงทำให้ได้รับการกระทบกระเทือนง่าย ชำรุดเสียหายง่าย เหมือนกับคำพังเพยที่เผยให้เห็นถึงความสำคัญของดวงตาและหูไว้ว่า "ตาคือดวงใจ ความปราชัยคือการเสียหู"

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของอวัยวะเหล่านี้มิให้ได้รับกระทบกระเทือนเกิดความชำรุดเสียหายอย่างเด็ดขาด แม้ในปสาทรูปที่เหลือ ก็พึงทราบว่า มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะถ้าหากเกิดความผิดปกติบกพร่องทางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนไม่สมประกอบ อาจกลายเป็นคนที่ไม่ได้มาตราฐานของความเป็นมนุษย์ได้

หากเราทั้งหลายสูญเสียเลือดในหัวใจนั้นไซร้ ก็จะกลายเป็นคนบ้า แต่ถ้าหากสมองไม่ทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรจากคนตาย

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตระหนักถึงความสำคัญของวัตถุรูปอันเป็นนิสสยปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น โดยการให้ความรักความทะนุถนอมบำรุงรักษาอย่าให้เจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บใดๆ เลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 145.67 KiB | เปิดดู 6181 ครั้ง ]
๑๐. ปุเรชาตปัจจัย

อุปมาเหมือน พระอาทิตย์และพระจันทร์
ซึ่งเกิดขึ้นก่อนสัตว์ทั้งหลายในโลก และสัตว์ในโลกทั้งหลายนั้น
ก็ได้อาศัยพระอาทิตย์และพระจันทร์ตลอดมา โดยที่พระอาทิตย์และพระจันทร์
ก็คงยังมีอยู่ฉันใด พระอาทิตย์และพระจันทร์ก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจัย
สัตว์โลกทั้งหลายก็เปรียบได้กับปุเรชาตปัจจยุปบัน


ปุเรชาตปัจจัย
ธรรมเป็นอุปการะในฐานะผู้เกิดมาก่อน


ปัจจยธรรม ได้แก่ วัตถุรูป ๖ ประกอบด้วย ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย และ หทัยวัตถุ(หัวใจ)และ
อารมณ์ ๖ ประการ ประกอบด้วย รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์(ความคิด)

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ วิญญาณ ๖ ประกอบด้วย
- จักขุวิญญาณ(ผู้เห็น),
- โสตวิญญาณ(ผู้ได้ยิน),
- ฆานวิญญาณ(ผู้ได้กลิ่น),
- ชิวหาวิญญาณ(ผู้รู้รส),
- กายวิญญาณ(ผู้รู้สัมผัส),
- มโนวิญญาณ(ผู้รู้สึกนึกคิด)

ธรรมดาว่า มนุษย์นั้น เห็นสิ่งต่างๆ(รูปารมณ์) ด้วยตา(จักขุวิญญาณจิต),
ได้ยินเสียง(สัททารมณ์)ด้วยหู(โสตวิณณาณจิต),
รู้กลิ่น(คันธารมณ์) ด้วยจมูก(ฆานวิญญาณจิต),
รู้รส(รสารมณ์) ด้วยลิ้น(ชิวหาวิญญาณจิต),
รู้สัมผัส(โผสฐัพพารมณ์) ด้วยกาย(กายวิญญาณจิต),
รู้ความนึกคิด(ธัมมารมณ์) ด้วยมโน(มโนวิญญาณจิต)

คำว่า "ตา" หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูปกล่าวคือ จักขุ
แม้ในกรณีของ หู จมูก เป็นต้น ก็พึงทราบโดยอาศัยแนวเดียวกันนี้

ก็ ตา เป็นต้นเหล่านี้ บางครั้ง เรียกว่า จิตเห็น, จิตได้ยิน, จิตดม, จิตกิน, จิตกระทบ, จิตคิด

จิตเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุรูปที่เกี่ยวข้องกับตนกับอารมณ์ที่มาปรากฏ ก็วัตถุรูปและอารมณ์เหล่านั้นจะต้องเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นก่อนจิตเท่านั้น จึงจะมีศักยภาพในการทำอุปการะโดยการเป็นที่ตั้งและที่ยึคเหนี่ยวของจิตวิญญาณได้กรณีการเกิดก่อนแล้วบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อจิตวิญญาณผู้เกิดภายหลังนี้แล พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า "การทำประโยชน์ในฐานะผู้เกิดก่อน"(ปุเรชาตปัจจัย)

คนทั้งหลายไม่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานระหว่างอารมณ์ที่เป็นฝ่ายปัจจัย(เหตุ) กล่าวคือ วัตถุรูปกับอารมณ์ กับธรรมที่เป็นฝ่ายปัจจยุปันนะ(ผล)กล่าวคือจิตใจ คือไม่เข้าใจถึงความจริงว่า เมื่อเสร็จธุระแล้ว ธรรมเหล่านั้นก็จะดับไปโดยธรรมชาติ จึงได้พากันหลงผิดยึคมั่นถือมั่นว่า

"นั่นเป็นเราเป็นเขา นั่นเป็นของเราเป็นของเขา"

แต่หารู้ไม่ว่า "นั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งสภาวธรรม"

ในยุคโลกาภิวัฒน์เฉกเช่นปัจจุบันนี้ วิทยาการทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปมาก ยากที่มนุษย์ธรรมดาจะไล่ตามทัน วิทยาศาสตร์นำสิ่งแปลกใหม่มาให้โลกมากมายนับไม่ถ้วน จึงทำให้โลกนี้คลาคล่ำไปด้วยขยะอารมณ์ คนที่วิ่งไล่ไปตามอารมณ์เหล่านี้มีเกือบทั้งโลก พวกเขาย่อมกระหยิ่มย่องอยากลองของใหม่ไปเรื่อยๆ(ปตฺถยนฺติ นวํ นวํ นิสัยมนุษย์ปรารถนาอยากได้ของใหม่ๆ อยู่ร่ำไป) ยิ่งวิ่งไล่ตามก็ยิ่งทุกข์ เพราะไม่มีทางที่จะตามอารมณ์ใหม่ๆ เหล่านั้นได้ทัน

บางคนสัปดนมาก เลยเจอของดีที่สังคมรังเกียจ นั่นก็คือ AIDS(อ่านว่า เอ-ไอ-ดี-เอส ก็ได้ หรือ "เอดส์" ก็ได้) นี่คือโรคอันตรายสุดๆ ที่กำลังคุกคามโลกอยู่ในตอนนี้ นี่ก็เป็นผลที่ใช้สอยปุเรชาตปัจจัยในทางที่ผิด ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของมนุษย์โดยตรง

จะอย่างไรก็ตาม สำหรับสัตบุรุษแล้ว ย่อมจะไม่วิ่งไล่ตามอารมณ์บ้าๆบอๆ เหล่านั้นอย่างเด็ดขาด ขึ้นชื่อว่าบัณฑิต ย่อมเอาจิตของตนอยู่ บัณฑิตย่อมไม่ปล่อยจิตใจให้ไหลไปตามกระแสแห่งอารมณ์ที่หลากหลาย สายตาของผู้มีปัญญานั้นแตกต่างจากอันธพาลปุถุชนอย่างมาก แม้แต่ใบไม้ร่วงยังมองเห็นสภาวธรรมที่เป็นอนิจจัง ทำให้บังเกิดวิปัสสนาญาณเป็นขั้นๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป

จึงควรอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายจะต้องยึคเป็นแบบอย่างทิฏฐานุคติน้อมนำมาปฏิบัติ
ให้บังเกิดขึ้นภายในขันธสันดานของตน
[เห็นดอกไม้ที่สวยงามอย่าพยายามนึกถึงแต่คนรัก ให้นึกถึงการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างก็แล้วกัน]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 157.35 KiB | เปิดดู 6165 ครั้ง ]
๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย

อุปมาเหมือน ต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วย่อมจะตั้งอยู่ได้และเจริญขึ้นได้
ก็โดยอาศัยน้ำฝนที่ตกลงมาภายหลัง หรือเอาน้ำรดภายหลัง
ฉันใดต้นไม้จึงเปรียบได้เหมือน รูปที่เกิดก่อน น้ำฝนหรือน้ำที่รดนั้น
เปรียบเหมือนนามธรรมที่เกิดทีหลัง แล้วอุดหนุนแก่รูปที่เกิดก่อน ฉันนั้น

อุปมาเหมือนลูกนกแร้งที่ยังเล็กอยู่ ยังบินไปหาอาหารเลี้ยงตนเองไม่ได้
เมื่อแม่นกออกไปหาอาหาร เมื่อแม่นกออกไปหาอาหาร ลูกนกที่อยู่ในรังก็ตั้งตาตั้งใจคอย
โดยหวังว่าเมื่อแม่นกกลับมาแล้วคงจะนำอาหารมาเผื่อตนเป็นแน่
ครั้นแม่นกกลับมาแล้วก็ไม่ได้นำอาหารมาให้ลูกของตน วันรุ่งขึ้น

เมื่อถึงเวลาที่แม่นกออกไปหาอาหารลูกนกก็คอยหวังว่าเมื่อแม่กลับมา
คงจะเอาอาหารมาฝากตนอีก แต่เมื่อถึงเวลากลับมา ลูกนกก็คงไม่ได้รับอาหารจากแม่เช่นเคย
ทั้งนี้เพราะธรรมดาของนกแร้งนั้น แม่นกย่อมไม่นำอาหารมาเลี้ยงลูกของตนเลย
จนกว่าลูกนกจะโตพอที่จะไปหาอาหารกินของตัวเองได้ ฉะนั้นลูกนกในขณะที่ยังเล็กอยู่นั้น
จึงเป็นเพียงมีเจตนาเกิดขึ้นที่จะคอยรับอาหารอยู่เท่านั้น ไม่ได้กินอาหารจริงๆเลย
มีแต่อาหาราสาเจตนาเท่านั้น


ปัจฉาชาตปัจจัย
ธรรมที่อุปการะแม้เกิดภายหลัง

ปัจจยธรรม ได้แก่ จิตดวงที่เกิดขึ้นภายหลังๆ

ปัจจยุปันธรรม ได้แก่ รูปที่เกิดขึ้นก่อนจิตนั้นๆ

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า การเกื้อกูลด้วยปัจฉาชาตปัจจัย หมายถึง การอุปถัมภ์ค้ำจุนให้รูปธรรมที่เกิดขึ้นก่อนมีความแข็งแกร่งและแข็งแรงด้วยพลังจิตที่เกิดขึ้นภายหลัง ครุวนาดุจการเอาไม้ที่แข็งแรงค้ำจุนบ้านเก่าแก่ที่กำลังจะทรุดตัวลงฉันนั้น

อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า ปัจจัย นั้น มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
๑) มีลักษณะของการให้การเกื้อกูลโดยกระทำสิ่งที่ยังไม่ีมีให้มีขึ้น และ
๒) มีลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ำจุนสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วซึ่งกำลังจะทรุดโทรมให้มีความแข็งแรงมีอายุยืนยาวต่อไป
ซึ่งในบรรดาลักษณะ ๒ ประการนี้ พึงทราบว่า ปัจฉาชาตปัจจัยมีลักษณะเป็นอย่างที่ ๒

มีคำพังเพยกล่าวไว้ว่า "จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง", "จิตหนุ่ม กายก็หนุ่ม"
หมายความว่า หากจิตของคนเรานั้นมีความสดไม่เหี่ยวเฉา ก็จะทำให้ร่างกายดูอ่อนกว่าวัย แม้อายุจะมากแต่ก็ทำให้ดูเหมือนยังอยู่ในวัยหนุ่ม-สาว ดูกรณีของนักกีฬา แม้ว่าร่างกายของพวกเขาจะอ่อนเพลียเพราะการออกแรง แต่เนื่องจากสภาพจิตของพวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะคู่ต่อสู้ จึงทำให้สามารถเล่นกีฬาได้จนกระทั่งจบเกม แม้เมื่อเล่นจบเกมแล้ว แต่ด้วยอำนาจของพลังจิต พวกเขาก็จะมีรูปร่างหน้าตาที่สดใสกระปรี้กระเปร่า

ยังมีคำกล่าวในทางลบประโยคหนึ่งว่า "จิตท้อ กายยับ" เช่น คนป่วยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคมะเร็ง ก็มักจะไม่ค่อยเป็นอะไรมาก แต่เมื่อรู้ว่าเป็นจึงทำให้สภาพจิตตก กลายเป็นคนไข้หนักภายในชั่วข้ามคืน เมื่อไม่นานมานี้ มีการทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการตัดคอนักโทษประหารผู้หนึ่ง โดยการปิดหน้านักโทษดังกล่าว แล้วแกล้งทำเป็นตัดคอ เลือดไหลหยดติ๋งๆ เหมือนกับของจริง จนนักโทษผู้นั้นนึกว่าตนถูกตัดคอจริง กระทั่งช๊อกตายไปในที่สุด ทั้งที่ความจริงแล้วเขายังไม่ได้ถูกตัดคอเลย นี่เป็นผลมาจากกระบวนความคิดทางจิตใจล้วน

คนเรานั้น หากจิตใจฮึกเหิม ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีพลังฮึกเหิมไปด้วย ในขณะเดียวกัน หากจิตตกรูปร่างกายจะกลายเป็นสิ่งไร้สมรรถภาพไปในบัดดล ก็เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของจิตที่มีอิทธิพลต่อรูปร่างกายอย่างนี้แล้ว ก็จงใช้สอยปัจฉาชาตปัจจัยนี้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น จงอย่าใช้ในทางที่ผิด

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุขสดชื่นทั้งใจและกายเทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 151.02 KiB | เปิดดู 6146 ครั้ง ]
๑๒. อาเสวนปัจจัย

อุปมาเหมือน บุคคลที่เคยผ่านการศึกษาในวิชาอย่างหนึ่งมาแล้ว
เมื่อต้องการศึกษาในวิชาอย่างเดียวกันต่อไป ก็ย่อมจะเรียนได้ง่าย
และเข้าใจได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะอาศัยความรู้ที่ตนได้เคยผ่านมาแล้ว
ในวิชานั้นเป็นเครื่องอุดหนุนส่งเสริมให้เรียนได้ง่ายขึ้นและรู้เร็วขึ้น
จนกระทั่งสำเร็จการเรียนในวิชานั้นๆ


อาเสวนปัจจัย
สิ่งที่ทำอยู่บ่อยๆ จนกลายเป็นอุปนิสัยใจคอ

ปัจจยธรรมได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ชวนจิตที่เรียงรายกันเกิดขึ้นหลังๆ

อนึ่ง ตามธรรมชาติของวิถีจิตแล้ว พึงทราบว่า หากกุศลจิตเกิด กุศลจิตนั้น ก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง ๗ ครั้ง(๗ ดวง) แม้ในอกุศลจิตก็เช่นเดียวกัน

ก็แล ในการเกิดขึ้นโดยเสมอภาคกันแห่งจิตทั้งหลายเหล่านั้น พึงทราบว่า พลังอำนาจของจิตดวงที่เกิดขึ้นก่อนจะช่วยเกื้อกูลให้จิตดวงหลังๆ มีพลังลักษณะการเกื้อกูลเช่นนี้เอง พระบรมศาสดาท่านทรงเรียกว่า "ความเป็นอาเสวนปัจจัย"

อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน ตัวอย่างในทางที่ไม่ดี ก็เช่น คนติดเหล้า ติดบุหรี่ หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ตอนแรกๆ ก็เป็นเพียงแค่การอยากลอง แต่พอได้ลองแล้วก็เกิดติดอกติดใจจนต้องลองเป็นครั้งที่ ๒-๓-๔-๕ จนกระทั่งถึงขั้นอเตกิจโฉ คือเยียวยาไม่ได้ นี่แหละเป็นผลของการเสพคุ้นที่ทางพระอภิธรรมท่านเรียกว่า อาเสวนปัจจัย

ในเรื่องของการกินก็เช่นกัน คนตะกละชอบกินเนื้อ หากมื้อไหนไม่มีเนื้อก็กินไม่ลง นอนไม่หลับ ในที่สุดก็ถูกลกามเทพลวงกิน กล่าวคือ ทำให้ไม่สามารถแยกจิตกินกับจิตนอนออกจากกันได้(กินก็จิตนั้น นอนก็จิตนั้น) นี่แหละืคือผลของการเป็นอุปการะแห่งอาเสวนปัจจัยในทางที่ไม่ดี

ผู้ที่ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าให้คนทั้งโลกได้ใช้มาถึงปัจจุบันก็คือ โธมัส แอลวา เอดิสัน เขาผู้นี้คืออัจฉริยะ กว่าที่เขาจะประสบผลสำเร็จได้นั้น เขาต้องทำการทดลองเป็นพันๆ ครั้ง นั่นก็คือ เป็นการทำอาเสวนปัจจัยดีๆ นั่นเอง

แม้ในการประดิษฐ์โืีทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน กว่าจะสำเร็จได้ ผู้ประดิษฐ์ต้องทำอาเสวนปัจจัยมากกว่า ๔๐ ปีทีเดียว

การที่จะได้ยาดีมีประโยชน์ สามารถรักษาโรคร้ายให้หายได้นั้น จะต้องทำอาเสวนปัจจัย กล่าวคือการวิจัยแล้ววิจัยอีกนับครั้งไม่ถ้วน จึงจะประสบผลสำเร็จได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนั้น ก่อนที่จะทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้นั้น ต้องบำเพ็ญอาเสวนปัจจัยถึง ๖ ปี

พระมหาเถระนามว่า โปฎฐิละ ผู้เชี่ยวชาญปริยัติ ทำอาเสวนปัจจัยอยู่ ๓๐ ปี จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การอบรมบ่มเพาะจนเป็นนิสัยความเคยชินหรือความชำนาญนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ในภาษาบาลีท่านเรียกว่า วาสนา ซึ่งวาสนานี้ก็คืออุปนิสัยสันดาน จะเป็นเงาติดตามตัวเราไปในทุกภพชาติเลยทีเดียว จนต้องมีคำพังเพยที่ว่า "ดัดอะไรนั้นดัดง่าย แต่ดัดนิสัยนั้นดัดยาก"

ธรรมดาว่า จิตใจของมนุษย์ทั่วไปนั้น ย่อมไหลไปตามกระแสแห่งกิเลสตัณหาความสนุกเพลิดเพลิน จากความสนุกเพลิดเพลินเป็นความเคยชินหรือวาสนา หรืออุปนิสัยใจคอ จนไม่สามารถตัดวงจรอุบาทว์นี้ได้ จนต้องพบกับความหายนะวิบัติแห่งชีวิตในที่สุด นี่แหละเป็นผลแห่งอาเสวนปัจจัย

จึงขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นตรึกตรองเลือกใช้สอยแต่อาเสวนปัจจัยในทางที่ดีมีคุณประโยชน์ อะไรที่ไม่ดี ก็ให้ลด ละ เลิก ส่วนที่ดีก็ขอให้หมั่นบ่มเพาะให้เป็นวาสนาภาคี จนสามารถตามเราไปทุกภพชาติเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 166.52 KiB | เปิดดู 6146 ครั้ง ]
๑๓. กัมมปัจจัย

อุปมาเหมือน กองทหารกองหนึ่งๆ ต้องมีนายทหารเป็นหัวหน้า
เป็นผู้บังคับบัญชาคอยออกคำสั่งแก่พวกเหล่าทหาร ให้ทำหน้าที่
ไปตามคำสั่งของตนฉันใด เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวธรรมแล้ว
นายทหารก็เปรียบเจตนาเจตสิก เหล่าทหารก็เปรียบเหมือนสหชาตธรรม
คือ จิต เจตสิก กัมมชรูป และจิตตชรูป ที่เกิดร่วมกับเจตนาเจตสิก ฉันนั้น


กัมมปัจจัย
กรรมเป็นปัจจัยช่วยเกื้อกูล

ปัจจยธรรม ได้แก่ กรรมในชาติปัจจุบันกับกรรมในอดีตชาติ

ปัจจุปันนธรรม ได้แก่ ผลดี ผลชั่ว คุณโทษต่างๆ

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
-การกระทำทางกายโดยมีเจตนา เรียกว่า "กายกรรม"
-การพูดโดยมีเจตนา เรียกว่า "วจีกรรม"
-การมีเจตนานึกคิด เรียกว่า "มโนกรรม"
เพราะกรรมเจตนานั้น จึงก่อให้เกิดการเสวยผลทั้งทางที่ดีและไม่ดีต่างๆ นานา นี้แหละที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งกัมมปัจจัย

กรรมที่ว่านี้มี ๒ ประเภท คือ
๑) สหชาตกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลในขณะที่กำลังทำกรรมนั้น
๒) นานักขณิกกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลภายหลังจากที่ทำกรรมนั้นแล้ว

ยกตัวอย่าง ในกรณีของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย จะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมกล่าวคือจิตใจ และภาครูปธรรมกล่าวคือร่างกายของบุคคลผู้จะฆ่านั้นเกิดภาวะแข็งกระด้าง, หยาบ, เหี้ยม, โหด

ในกรณีของบุคคลผู้ทำการช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตาย พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตรายจะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมและรูปธรรมของผู้นั้นเกิดภาวะสุภาพอ่อนโยน

เจตนาที่หยาบ ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายหยาบไปด้วย เจตนาที่อ่อนโยน ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายอ่อนโยนไปด้วย ก็ลักษณะเช่นนี้และท่านเรียกว่า เป็นการทำอุปการะด้วยสหชาตกัมมปัจจัย

ในอดีตกาล ครั้งหนึ่งผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้หนึ่ง พอถึงปัจจุบัน เมื่อตนเองต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้นั้นก็จะได้รับการช่วยเหลือตอบ ก็ดี การได้รับเบี้ยบำเหน็จ บำนาญ เมื่อตอนเกษียณอายุงาน ก็ดี... ในกาลครั้งหนึ่งเคยทำผิดกฏหมาย แม้ว่าจะสามารถหลบซ่อน หรือหลบหลีกกฏหมายได้อย่างไร แต่เมื่อความจริงปรากฏ เขาก็จะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ได้กระทำหว้อย่างแน่นอน นี้แล คือตัวอย่างของการได้รับผลดี ผลชั่ว เพราะอำนาจของนานักขณิกกัมมปัจจัยเป็นเหตุ

การที่บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรมและเชื่อกรรมและผลของกรรม พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ด้วยพระองค์เองว่า เพราะบารมีกรรมที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไขย์กับอีก ๑ แสนกัปป์ จึงทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอให้ท่านทั้งหลาย นึกถึงความแตกต่างแห่งกรรมและผลของกรรมระหว่างพี่น้องฝาแฝดผู้ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในทางกายภาพ แต่จิตธาตุ(สภาพจิต) รวมถึงการได้รับผลแห่งกรรมนั้น แตกต่างกันราวกับฟ้ากะดิน ที่เป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความวิจิตรพิสดารแห่งกรรมนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งจงเอาใจใส่ตระหนักในเรื่องของกรรมให้ดี และจงมีศรัทธาสถาปนาจารึกไว้แต่กรรมดีเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2014, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 138.96 KiB | เปิดดู 6162 ครั้ง ]
๑๔. วิปากปัจจัย

อุปมาเหมือน ความชราที่เกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลาย
ความชรานี้เป็นสิ่งที่บุคคลทั้งหมายไม่พึงปรารถนาและไม่ต้องขวนขวาย
หรือกระทำให้เกิดขึ้น แต่ความชรานี้ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลทั้งหลายทั่วถึงกันหมด
ไม่มียกเว้นเลย ทั้งนี้เพราะว่าความชรานั้นเป็นผลธรรมที่เกิดมาจากเหตุ

คือชาตินั่นเอง ถ้ามีชาติเกิดขึ้นแล้ว ชราต้องมีแน่นอน และในความชรานั้น
ก็เป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกันได้ คือชราตอนแรกๆนั้น เป็นเหตุอุดหนุน
ให้เกิดความชรามากขึ้นในตอนหลังๆ จะเห็นได้ว่าทารกที่คลอดออกจากครรภ์มารดา
ความชราก็ติดตัวมากับทารกนั้นแล้ว แต่ความชรานี้เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก

เพราะเป็นธรรมอันสงบและละเอียดสุขุม เมื่อขณะ ที่ทารกค่อยๆเจริญเติบโตขึ้น
หมายความว่า ความชราในตอนแรกๆนั้น เป็นกำลังช่วยอุดหนุนให้ความชราเกิดขึ้น
ในตอนหลังๆตามลำดับไป หรืออีกอย่างหนึ่ง เช่น คนที่มีอายุมาก
ผมนั้นเปลี่ยนจากสีดำมาเป็นสีขาว ในตอนแรกนั้นก็จะเป็นสีขาวเล็กๆ น้อยๆ
ก่อน ต่อมาสีขาวของก็ย่อมปรากฏขึ้นมากทุกทีๆ จนกว่าจะขาวโพลนไปทั่วทั้งศีรษะ


กัมมปัจจัย
กรรมเป็นปัจจัยช่วยเกื้อกูล

ปัจจยธรรม ได้แก่ กรรมในชาติปัจจุบันกับกรรมในอดีตชาติ

ปัจจุปันนธรรม ได้แก่ ผลดี ผลชั่ว คุณโทษต่างๆ

พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
-การกระทำทางกายโดยมีเจตนา เรียกว่า "กายกรรม"
-การพูดโดยมีเจตนา เรียกว่า "วจีกรรม"
-การมีเจตนานึกคิด เรียกว่า "มโนกรรม"
เพราะกรรมเจตนานั้น จึงก่อให้เกิดการเสวยผลทั้งทางที่ดีและไม่ดีต่างๆ นานา นี้แหละที่พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งกัมมปัจจัย

กรรมที่ว่านี้มี ๒ ประเภท คือ
๑) สหชาตกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลในขณะที่กำลังทำกรรมนั้น
๒) นานักขณิกกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลภายหลังจากที่ทำกรรมนั้นแล้ว

ยกตัวอย่าง ในกรณีของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย จะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมกล่าวคือจิตใจ และภาครูปธรรมกล่าวคือร่างกายของบุคคลผู้จะฆ่านั้นเกิดภาวะแข็งกระด้าง, หยาบ, เหี้ยม, โหด

ในกรณีของบุคคลผู้ทำการช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตาย พึงทราบว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากอันตรายจะก่อให้ทั้งภาคนามธรรมและรูปธรรมของผู้นั้นเกิดภาวะสุภาพอ่อนโยน

เจตนาที่หยาบ ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายหยาบไปด้วย เจตนาที่อ่อนโยน ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายอ่อนโยนไปด้วย ก็ลักษณะเช่นนี้และท่านเรียกว่า เป็นการทำอุปการะด้วยสหชาตกัมมปัจจัย

ในอดีตกาล ครั้งหนึ่งผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้หนึ่ง พอถึงปัจจุบัน เมื่อตนเองต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้นั้นก็จะได้รับการช่วยเหลือตอบ ก็ดี การได้รับเบี้ยบำเหน็จ บำนาญ เมื่อตอนเกษียณอายุงาน ก็ดี... ในกาลครั้งหนึ่งเคยทำผิดกฏหมาย แม้ว่าจะสามารถหลบซ่อน หรือหลบหลีกกฏหมายได้อย่างไร แต่เมื่อความจริงปรากฏ เขาก็จะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ได้กระทำหว้อย่างแน่นอน นี้แล คือตัวอย่างของการได้รับผลดี ผลชั่ว เพราะอำนาจของนานักขณิกกัมมปัจจัยเป็นเหตุ

การที่บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องกรรมและเชื่อกรรมและผลของกรรม พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ด้วยพระองค์เองว่า เพราะบารมีกรรมที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไขย์กับอีก ๑ แสนกัปป์ จึงทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขอให้ท่านทั้งหลาย นึกถึงความแตกต่างแห่งกรรมและผลของกรรมระหว่างพี่น้องฝาแฝดผู้ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในทางกายภาพ แต่จิตธาตุ(สภาพจิต) รวมถึงการได้รับผลแห่งกรรมนั้น แตกต่างกันราวกับฟ้ากะดิน ที่เป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความวิจิตรพิสดารแห่งกรรมนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งจงเอาใจใส่ตระหนักในเรื่องของกรรมให้ดี และจงมีศรัทธาสถาปนาจารึกไว้แต่กรรมดีเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร