วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2022, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




5e6fbab18b0e6408b6ee6c4e_800x0xcover_TdqTe7EK.jpg
5e6fbab18b0e6408b6ee6c4e_800x0xcover_TdqTe7EK.jpg [ 72.66 KiB | เปิดดู 630 ครั้ง ]
โพธิปักขิยสังคหะกองที่ ๓ อิทธิบาท ๔

อิทฺธิยา ปาโทติ อิทฺธิปาโทฯ ธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น
อิทธิบาท
คำว่า สัมฤทธิผล ในที่นี้หมายถึง ความสำเร็จ ถือ บรรลุถึงกุศล ฌานจิตและ
มัคคจิต

ฉนฺโท เอว อิทฺธิปาโทติ ฉนฺทิทฺธิปาโท ฯ ฉันทะเป็นเหตุให้ถึงสัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า
ฉันทิทธิบาท
วิริโย เอว อิทฺธิปาโทติ วิริยิทฺธิปาโท ฯ วิริยะเป็นเหตุให้ถึงสัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า
วิริยิทธิบาท
จิตฺตญฺเญว อิทฺธิปาโทติ จิตฺติทฺธิปาโท ฯ จิตตะ เป็นเหตุให้ถึงสัมฤทธิผล ได้ชื่อว่า
จิตติทธิบาท
วิมํสา เอว อิทฺธิทปาโทติ วิมํสิทฺธิปาโท ฯ วิงสา คือ ปัญญา เป็นเหตุให้ถึงสัม-
ฤทธิผลได้ชื่อว่า วิมังสิทธิบาท

ดังนี้จะเห็นได้ว่า องค์ธรรมของอิทธิบาทนี้ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ ปัญญา
ซึ่งเหมือนกับองค์ธรรมของอธิบดี และมีความหมายว่า เป็นไปเพื่อให้กิจการงานนั้น ๆ
เป็นผลสำเร็จเหมือนกัน ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ กล่าวคือ

อธิบดีนั้นเป็นไปเพื่อดวามสำเร็จในกิจการงาน อันเป็น กุศล อกุศล และ อพยากตะ
ได้ทั้งนั้น

ส่วนอิทธิบาทนี้ เป็นไปเพื่อความสำเร็จในกิจการงานอันเป็นกุศล แต่ฝ่ายเดียว
และเป็นกุศลที่จะให้บรรลุถึงมหัคคตกุศล และโลกุตตรกุศลด้วย

ดังนั้น ฉันทะ วิริยะ จิดตะ (กิริยาจิต) และ ปัญญา ของพระอรหันต์ จึงไม่ซื่อว่า
อิทธิบาท เพราะพระรหันต์เป็นผู้ที่สัมฤทธิผลจนสุดยอดแล้ว ไม่ต้องทำให้สัมฤทธิผล
อย่างใด ๆ อีก
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และ ปัญญา ที่อยู่ในโถกุตตรวิบากจิต คือผลจิตนั้น ก็ไม่ชื่อว่า
อิทธิบาท เพราะผลจิตเป็นจิตที่ถึงแล้วซึ่งความสัมฤทธิผล

อิทธิบาท มี ๔ ประการ คือ

๑. ฉันทิทธิบาท ความเต็มใจความปลงใจกระทำ เป็นเหตุให้สัมฤทธิ์ผล องค์-
ธรรมได้แก่ ฉันทเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

๒. วิริยิทธิบาท ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์ธรรม
ได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

๓. จิตติทธิบาท ความที่มีจิตจดจ่อปักใจอย่างมั่นคง เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล องค์-
ธรรมได้แก่ จิต คือ กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

๔. วิมังสิทธิบาท ปัญญา เป็นเหตุให้สัมฤทธิผล งค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก
ที่ใน กุสลญาณสัมปยุตตจิต ๑๗

กิจการงานอันเป็นกุศลที่ถึงซึ่งความสัมฤทธิผลนั้น ย่อมไม่ปราศจากธรรมทั้ง ๘
ที่เป็นองค์ธรรมของอิทธิบาทนี้เลย แต่ว่าความเกิดขึ้นนั้นไม่กล้าเสมอกัน บางทีฉันทะกล้า
บางทีวิริยะกล้า บางทีจิตตะกล้า บางทีก็ปัญญากล้า ถ้าธรรมใดกล้าแล้ว ก็เรียกธรรมที่
กล้านั่นแต่องค์เดียวว่าเป็น อิทธิบาท

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron