วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 26.44 KiB | เปิดดู 2228 ครั้ง ]
(คำอธิบายจาก คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๔)
รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตฺตรสายุกรูป
รูปธรรมทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตฺตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพียง ๒๒ รูป เท่านั้น
ส่วนอีก ๖ รูป คือ วิญญัติรูป ๒ และ ลักขณะรูป ๔ มีอายุไม่ถึง ๑๗ ขณะจิต

เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่า กับอายุของจิตดวงเดียว คือ ๓ อนุขณะ เท่านั้น

ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูป กับ สันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้น ไม่ถึง ๕๑ ขณะ
ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้ง อยู่คือ ฐีติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ
และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือ ภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ
เป็นอันว่าลักขณะ รูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปมีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะ แม้แต่สักรูปหนึ่ง
ก็ไม่มีอายุถึง ๕๑ อนุขณะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2015, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 25.85 KiB | เปิดดู 2212 ครั้ง ]
ภาพแสดงอายุของรูป ลักขณะรูป ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2015, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปริจเฉทรูป
ปริจเฉทรูป เป็นช่องว่างที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป ไม่มีสภาวะของตนเองโดยเฉพาะ มีแต่ความว่างเหมือนดังอากาศ มีวจนัตถะว่า น กสฺสตีติ อกาโส (วา) อกาโส เยว อากาโส แปลความว่า ที่ใดขีดเขียนไม่ได้ ฉะนั้นที่นั้นชื่อว่าอากาศ หรือที่ที่ขีดเขียนไม่ได้ นั่นแหละชื่อว่า อากาศ ได้แก่ อากาศในท้องฟ้า เป็นต้น
อากาศมีที่ใช้ในความหมายต่าง ๆ ๔ อย่าง คือ
๑. อชฺฏากาส ได้แก่ อากาศที่ว่างเปล่า เบื้องล่างนับแต่พื้นแผ่นดินและน้าที่รองรับพื้น
แผ่นดินอยู่ เบื้องบนถึงอรูปภูมิขึ้นไป
๒. ปริจฺฉินฺนากาส ได้แก่ ช่องว่างที่มีขอบเขตกาหนดไว้ เช่น ท้องฟ้า, ช่องประตู,
ช่องหน้าต่าง, ช่องปาก, คอ, หู, จมูก เป็นต้น
๓. กสิณุคฺฆาฏิมากาส ได้แก่ อากาศที่เพิกจากกสิณ
๔. ปริจฺเฉทากาส ได้แก่ ช่องว่างที่คั่นระหว่างรูปกลาปต่อรูปกลาป คือ ปริจเฉทรูป
อนึ่งบางตาราแสดงการจาแนกความหมายของอากาศเป็น ๕ อย่าง โดยแยก ปริจฺฉินฺนากาส ออกเป็น
วิวรากาส ได้แก่ อากาศในช่องโปร่ง เช่น ช่องหู, ช่องจมูก, ขวด, โอ่ง, ไห เป็นต้น
สุสิรากาส ได้แก่ อากาศในโพรงทึบ เช่น ช่องว่างในปล้องไม้ไผ่, ในตู้ทึบ, ในหีบไม้, ในกาปั่น เป็นต้น
ทั้งสองอย่างนี้รวมเรียกว่า ปริจฺฉินฺนากาส คืออากาศในช่องว่างที่มีขอบเขตกาหนดไว้ไม่แยกไปเป็นโปร่ง หรือทึบนั่นเอง
ปริจเฉทรูปนี้ มีคุณลักษณะพิเศษแสดงว่า
รูปปริจฺเฉท ลกฺขณํ มีการคั่นไว้ซึ่งรูปกลาป เป็นลักษณะ
รูปปริยนฺตปฺปกาสน รสํ มีการแสดงส่วนของรูป เป็นกิจ
รูปมาริยาท ปจฺจุปฏฐานํ มีการจาแนกซึ่งรูป เป็นผล
ปริจฺฉินฺนรูป ปทฏฐานํ มีรูปที่คั่นไว้ เป็นเหตุใกล้
ปริจเฉทรูปนี้ มีความสาคัญที่สามารถทาให้รู้ถึงรูปร่างสัณฐานและจานวนได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในบรรดาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายนั้น ถ้าไม่มีช่องว่าง คือ ปริจฺเฉทากาสแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ไม่สามารถทาให้รู้ถึงรูปพรรณสัณฐานและจานวนได้เลย การที่เรารู้รูปพรรณสัณฐานและจานวนของรูปได้นั้น ก็เพราะปริจเฉทากาสนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ถ้าไม่มีปริจเฉทรูปแล้ว จานวนรูปกลาปก็มีไม่ได้ เขตแดนของรูปก็มีไม่ได้ และที่สุดของรูปก็มีไม่ได้ บรรดารูปเหล่านั้นจะติดเป็นพืดกันไปหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ อุพยัพพญาณ และภังคญาณ
ที่เกี่ยวด้วยรูปธรรมก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะไม่สามารถจะแลเห็นความเกิดดับของรูปได้
อนึ่ง มีวจนัตถะว่า “เทฺวเม ภิกฺขเว ธมฺมา นิจฺจ ธุวา สสฺสตา อวิปริณาม ธมฺมา ยตเม เทว อากาโส จ นิพฺพานญฺจ” แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เที่ยงมั่นคงยั่งยืนไม่แปรผันนั้น มีอยู่ ๒ ประการ ธรรมนั้นคือ อากาศ และพระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2015, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 43.92 KiB | เปิดดู 2164 ครั้ง ]
โผฏฐัพพารมณ์ หมายถึง รูปที่เป็นอารมณ์ของกายวิญญาณจิต ได้แก่ ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความหย่อน ความตึง ที่มากระทบ กับกายปสาท ซึ่งคำวิเคราะห์ศัพท์ว่า " ผุสิตพฺพนฺติ-โผฏฐพฺพํ" แปลว่า รูปที่
กายปสาทพึงถูกต้องได้ รูปนั้นชื่อว่า " โผฏฐัพพะ " โผฏฐัพพารมณ์ ๓ อย่าง คือ
๑. ปฐวีโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ ปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง หรืออ่อน
๒. เตโชโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ เตโชธาตุที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
๓. วาโยโผฏฐัพพารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ วาโยธาตุที่มีลักษณะหย่อนหรือตึง

โผฏฐัพพารมณ์ คือ มหาภูตรูป ๓ ได้แก่ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ส่วนอาโปธาตุนั้นถูกต้องด้วยกายปสาทไม่ได้ จึงเป็นโผฏฐัพพารมณ์ไม่ได้ เพราะ อาโปธาตุนั้นเป็นธาตุที่รู้ได้ด้วยใจ จะรู้ด้วยประสาทอื่น ๆ ไม่ได้ จึงจัดอาโปธาตุนั้น เป็นธัมมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่รู้ได้ด้วยการคิดนึกเข้าถึงเหตุผลเท่านั้น
รูปารมณ์ ๑ สัททารมณ์ ๑ คันธารมณ์ ๑ รสารมณ์ ๑ และโผฏฐัพพารมณ์ ๓ รวม ๗ รูปนี้มีชื่อเรียกว่าวิสยรูป เพราะเป็นรูปที่เป็นที่อาศัยการรู้ของปัญจวิญญาณ จิตที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และ ทางกาย บางทีก็เรียกว่า โคจรรูป ที่เรียกว่าโคจรรูป ก็เพราะว่าเป็นรูปที่โคจรของจิตและเจตสิกนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร