ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ญาณ ๑๖
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=51757
หน้า 2 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 ก.พ. 2016, 16:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

ในญาณ ๑๖ นั้นพระโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อจะตรัสรู้เป็นพนะพุทธเจ้า
เขาจะบำเพ็ญบารมีมาแค่ญาณที่ ๑๑ คือสังขารุเบกขาญาณ ไม่เกินไปถึงญานที่ ๑๒ คืออนุโลมญาน
เพราะจะทำให้โคตรภูญาณเกิดขึ้น ซึ่งจะทำสำเร็จมรรคผล ซึ่งเป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์
ที่จะไม่พึงกระทำ

ไฟล์แนป:
istockphoto-821486230-612x612.jpg
istockphoto-821486230-612x612.jpg [ 60.68 KiB | เปิดดู 1470 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 16 ก.พ. 2018, 08:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

.

๑. นามรูปปริเฉทญาณ

นามรูปปริเฉทญาณ ปัญญาที่กำหนดรู้เห็นรูปนามตามสภาวะที่แท้จริง
ของสมถยานิกบุคคลสำหรับบุคคลผู้ปรารถนาถึงขั้นความเห็นบริสุทธิ์
(ทิฏฐิวิสุทธิ)ถ้าเคยปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อนเมื่อออกจากรูปาวจรฌานจิต ๕
หรืออรูปาวจรฌานจิต ๓ (เว้นเนวสัญญา)ฌานใดฌานหนึ่งมาแล้ว
ต้องกำหนดองค์ฌานมี วิตก วิจาร เป็นต้น หรือกำหนดสภาวธรรมทั้งหลาย
ที่ประกอบกับองค์ฌานมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น

ไฟล์แนป:
1518743861151 (3).jpg
1518743861151 (3).jpg [ 103.62 KiB | เปิดดู 3924 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 18 ก.พ. 2018, 06:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

การกำหนดองค์ฌาน หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ฌานนั้น
ก่อนอื่นต้องกำหนดสภาวธรรมนั้นโดยสภาวลักษณะ (ลักษณะ) หน้าทื่ หรือกิจ (รส)
อาการที่ปรากฏ (ปัจจุปัฏฐาน)ต่อไปจึงจะกำหนดสภาวธรรม ทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นธรรมชาติที่น้อมไป
(นาม)มุ่งหน้าไปสู่อารมณ์ เมื่อพิจารณาดูนามธรรมเหล่านั้นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จึงติดตามนาธรรมเหล่านั้น
อาศัยอะไรก็ทราบว่าอาศัยหทยวัตถุรูป เปรียบเหมือนบุรุษที่เห็นงูภายในเรือนแล้ว
จึงติดตามมันไปก็พบที่อาศัยของมัน

เมื่อทราบว่าหทยวัตถุรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมเหล่านั้นแล้วก็พิจารณาต่อไปว่า
แม้หทยวัตถุก็ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ คือ ปถวี อาโป เตโช วาโย เกิดขึ้น
และอุปาทายรูปทั้ง ๒๓ (เว้นหทยวัตถุรูป) ก็คืออาศัยมหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
สำหรับสมถยานิกบุคคล ครั้นออกจากฌานจิตแล้ว จะพิจารณากำหนดนามธรรมว่า
มีอาการน้อมไปสู่อารมณ์เป็นลักษณะ หรือกำหนดรูปธรรมว่า มีอาการเสื่อมสิ้นสลายไปเป็นลักษณะก็ได้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 19 ก.พ. 2018, 06:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑

การกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕

สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อกำหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ ก็กำหนดดังนี้
ในสรีระร่างกายนั้นนิปผันนรูป ๑๘ มีมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น และ
อนิปผันนรูป ๑๐ มีปริเฉทรูป เป็นต้น กำหนดเป็นรูปขันธ์ เวทนาเจตสิกที่
ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่
ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ (เว้นเวทนา สัญญา)
ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็นสังขารขันธ์ โลกียจิต ๘๑ กำหนดเป็น วิญญาณขันธ์
ในลำดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ที่เหลือว่า
เป็นนามธรรม การกำหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 ก.พ. 2018, 06:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

การกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘


สำหรับผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางธาตุ ๑๘ พึงพิจารณาดังนี้ว่า
ในอัตภาพนี้มี จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ เป็นต้น แล้วก็ไม่เห็นว่าเป็นก้อนเนื้อที่สายเอ็นยึดไว้ในเบ้าตา
ที่มีลักษณะยาวและกว้าง วิจิตรด้วยวง สีขาว สีดำ และสีดำมากนั้นที่ชาวโลกที่เเข้าใจว่าจักษุ
แต่แท้ที่จริงแล้วที่จักษุที่ชาวโลกเข้าใจกันก็คือ กลุ่มของรูป ๕๔ รูปคือ จักขุทสกลาป ๑๐ กายทสกกลาป ๑๐
ภาวทสกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดกับจิต ๘ เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘

ในจำนวนรูปทั้ง ๕๔ รูปนี้จักขุปสาทเท่านั้นที่ชื่อว่า จักขุ หรือจักขุธาตุ ส่วนรูปอีก ๕๓ นั้นมิใช่จักขุ
เมื่อพิจารณาจยทราบว่าจักขุปสาทรูปเป็นสภาวธรรมที่ชื่อว่า จักษุ แล้วก็จะทราบว่าลักษณะของจักขุปสาท
นั้นคือ อาการเสื่อมสิ้นสลายไปซึ่งเป็นอาการเสื่อมสิ้นสลายไปนั่นเอง

ถึงแม้ในโสตธาตุจนถึงชิวหาธาตุ ก็เป็นไปเหมือนกันกับจักขุธาตุ ส่วนกายธาตุนั้นประกอบด้วยรูป ๔๓ รูปคือ
กายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปสาท) ภาวทสกกลาป ๑๐ สัททนวกกลาป ๑๐ สุทธัฏฐกกลาปที่เกิดจากจิต ๘
เกิดจากอุตุ ๘ และเกิดจากอาหาร ๘ แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่าประกอบด้วย ๔๕ รูป
คือกายทสกกลาป ๙ (เว้นกายปสาทรูป) ภาวทสกกลาป ๑๐ สัททนวกกลาปที่เกิดจากจิต ๙
และเกิดจากอุตุ ๙ (อวินิพโภครูป ๘ และสัททรูป ๑) และเกิดจากอาร ๘

รูป ๑๒ รูปคือ ปสาทรูป ๕ เป็นจักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ และวิสยรูป ๗ เป็นรูปธาตุ
สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ โผฏฐัพพธาตุ ส่วนรูปที่เหลือ คือ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมธาตุบางส่วน

สำหรับนามธรรมที่เป็นจิตคือ ทวิปัญญจวิญญาณจิต ๑๐ เป้นทวิปัญญจวิญญาธาตุ ๕ มีจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น
ปัญจทวารวัชชนจิต ๑ กับสัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ ส่วนโลกียจิตที่เหลือ ๖๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ
ส่วนนามธรรมที่เป็นเจตสิก คือ เจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ นั้น เป็นธรรมธาตุบางส่วน
ฉะนั้น ในธาตุ ๑๘ ยี้ ธาตุ ๑๐ กับธัมมธาตุบางส่วน(สุขุมรูป ๑๖) เป็นรูปธรรม และธาตุ ๗
กับธัมมธาตุอีกบางส่วน(เจตสิก ๕๒) เป็นนามธรรม การกำหนดรูปธรรมและนามธรรมทางธาตุ ๑๘
เป็นหลักก็มีด้วยประการดังกล่าว

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 20 ก.พ. 2018, 16:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

การกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒

สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อจะกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒
ก็กำหนดทำนองเดียวกันกับธาตุ ๑๘ นั่นเอง ต่างกันตรงโลกียจิต ๘๑
หรือวิญญาณธาตุ ๗ นั้น เป็นมนายตนะ ๑๒ อายตนะ ๑๐ กับธัมมธาตุบางส่วน
คือสุขุมรูป ๑๖ เป็นรูปธรรมและอายตนะ ๑ กับธัมมธาตุบางส่วน
เจตสิก ๕๒ เป็นนามธรรม การกำหนดรูปนามทางอายตนะ ๑๒ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 ก.พ. 2018, 07:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

การกำหนดรูป ให้นามปรากฏ

เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรูปธรรมแล้ว ก็ย้อนมากำหนดนามธรรม แต่นามธรรมนั้นยังมิได้ปรากฎ
ก็อย่าท้อถอยเลิกละกำหนดความเพียรเสีย ควรใส่ใจใคร่ครวญในรูปธรรม เหล่านั้น
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะว่ารูปธรรมเหล่านั้นที่พิจารณาดีแล้ว สะสางชำระออกแล้วบริสุทธิแล้ว
เห็นจนชัดแจ้งดีแล้ว นามธรรมซึ่งมีรูปธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นเอง

มีอุปมาดังนี้
๑. บุรุษมองดูเงาในหน้ากระจกมัว เงาหน้าไม่ปรากฎ แต่บุรุษนั้นไม่ทิ้งกระจกไป
กลับเช็ดถูกระจกนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนใสสะอาดบริสุทธิ์ เงาหน้าของบุรุษนั้นก็จะปรากฏขึ้นมาเอง
๒. บุรุษต้องการทำน้ำให้ใสก็หยิบเอาเมล็ดกตกะ(หรือสารส้ม) หย่อนลงในน้ำแกว่งไป
แกว่งมา ๒ หรือ ๓ ครั้ง น้ำก็ยังไม่ใสบุรุษก็ยังไม่่ทิ้งเมล็ดกตกะ กลับเอาเมล็ดกตกะแกว่งไปมาซ้ำอีก
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนโคลนตมจมลง น้ำก็ใสสะอาดขึ้นมาเอง

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 ก.พ. 2018, 11:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้น
แก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ
รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า
อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า
รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็น
ปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนว
กฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น

๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูป
โดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณา
โดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน

๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อ
แห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จ
ภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จ
ของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน
คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน
เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง

(ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง)
ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิม
โดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา
โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา

ไฟล์แนป:
istockphoto-1219644614-612x612.jpg
istockphoto-1219644614-612x612.jpg [ 46.41 KiB | เปิดดู 1469 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 26 ก.พ. 2023, 03:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

.....?.

ไฟล์แนป:
FB_IMG_1674939282608.jpg
FB_IMG_1674939282608.jpg [ 152.44 KiB | เปิดดู 1099 ครั้ง ]

เจ้าของ:  sirinpho [ 23 ต.ค. 2023, 15:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ญาณ ๑๖

:b8: :b8: :b8:

หน้า 2 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/