วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 17:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2016, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 23.49 KiB | เปิดดู 3767 ครั้ง ]
ชีวิตินทรีย์ :- อินทรีย์ คือ สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย)
ดุจน้ำในแจกันที่หล่อเลี้ยงดอกบัว ให้อยู่ได้นานๆ เป็นต้น
ชีวิตินทร์มี ๒ อย่างคือ ฝ่าย ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็น อุปาทาย
เป็นเจ้าการในการ รักษาหล่อเลี้ยงเหล่าสหชาตกรรม (รูปที่เกิดแต่กรรม)
บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์

๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิก ที่เกิดกับจิตทุกดวง)
อย่างหนึ่ง เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือ จิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก
อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์ ได้แก่ ชีวิตที่กำลังอธิบายอยู่นี้เอง
รวมความว่า ชีวิตมี ๒ อย่าง คือ ชีวิตรูป กับ ชีวิตนาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2016, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 29.65 KiB | เปิดดู 3753 ครั้ง ]
"มนสิการ" หมายถึง การทำไว้ในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา
ในอารมณ์ที่มาปรากฎในขณะนั้นๆ มนสิการ ยังมีความหมายคล้ายกับปัญญาที่มีคำว่า โยสิโสมนสิการ
แต่ต้องมาสังเกตดูว่า คำว่า มสิการเกิดขึ้นกับจิตทุกดวงไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต ฉะนั้นมสิการเจตสิกจึงไม่ใช่ปัญญา แต่เกิดร่วมกับปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 36.69 KiB | เปิดดู 3741 ครั้ง ]
วิตกเจตสิก
ธรรมชาติที่ชื่อว่า วิตกเจตสิก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นการตรึกนึกคิดในอารมณ์
กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อภินิโรปนกฺขโณ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
อาหนปริยาหนรโส มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ
อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยนปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล
เสสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์)
เป็นเหตุใกล้

วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก
ความตั้งใจในอารมณ์ และมนสิการเจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน
จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้ อันหมายถึง
ความสำเร็จ คือชัยชนะ มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธง
อันเป็นหลักชัย วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว

วิตกเจตสิกเป็นองค์มรรค ๘ ที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มีการเปรียบเทียบวิตกเป็นองค์ธรรมของปัญญา
และยังใช้เป็นคำพูดวิตกโดยทั่วไปมีความว่า เป็นการ กังวล ร้อนใจ เป็นห่วง กลัว และอาจไปสมหวังเป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 38.17 KiB | เปิดดู 3726 ครั้ง ]
วิจารเจตสิก
วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่น มีการเคล้าคลึงอารมณ์เป็นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง
เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่งหรือไปในอารมณ์อื่นๆ
ไม่ไห้มีการลังเลใจว่า การเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น ก็จะหน่ายในการประคองจิต
จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง ความลังเลใจเช่นนี้ ก็คือ วิจิกิจฉา เมื่อประคองจิตไม่ตกไปจากอารมณ์
ที่เพ่งโดยปราศจากความลังเลใจ ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์ เผาหรือข่มวิจิกิจฉาได้แล้ว

อุปมา วิตกเจตสิก กับ วิจารเจตสิก ลักษณะ สภาพของวิตกวิจารนี้ ใกล้ชิดติดกัน อุปมาเหมือนนกเมื่อกระพือปีกบินครั้งแรกเป็นวิตก เมื่อบินติดลมแล้วกางปีกร่อนเป็นวิจาร วิตกและวิจารแม้จะเกิดขึ้นมาพร้อมกัน วิจารก็ปฏิบัติหน้าที่ตามหลังวิตก แต่รับอารมณ์ได้สุขุมกว่าวิตก
จริงอยู่วิตกเจตสิกกับวิจารเจตสิกจะสภาพที่คล้ายกัน แต่เมื่อจิตที่เกิดฌานนับตั้งแต่ทุติยฌาน
วิตกเจตสิกก็ต้องพลัดพรากจากกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 42.97 KiB | เปิดดู 3715 ครั้ง ]
อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจในอารมณ์
เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดำเนินไปตามที่ตัดสินใจ
ท่านอุปมาอธิโมกข์เหมือน คนที่เดินทางถึงทางสองแพร่งแล้วตัดสินใจที่จะเดินไปในทางที่ตนต้องการ
การตัดสินใจของอธิโมกข์นั้นใช่ว่าจะเป็นทางที่ถูกต้องเสมอไป อาจตัดสินใจเดินไปในทางที่ผิดก็ได้
ที่เป็นเช่นนี้นั้นเพราะอธิโมกย์ประกอบกับจิตที่เป็นกุศลหรือจิตที่เป็นอกุศลก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 39.06 KiB | เปิดดู 3703 ครั้ง ]
วิริยะ แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า
เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบ
ที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก
ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป
โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ ตรงกันข้าม
หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร"

ในทางอภิธรรม มีการกล่าวถึงวิริยะ ในลักษณะของเจตสิก
วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่อดทนต่อสู้กับความยากลำบาก ที่เกี่ยวกับการงานต่างๆ
ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี

มีความอดทนต่อสู้กับความลำบาก เป็นลักษณะ
มีความอุดหนุนธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ไม่ให้ถอยหลัง เป็นกิจ
มีการไม่ท้อถอย เป็นผลปรากฏ
มีความสลด คือสังเวควัตถุ ๘ เป็นเหตุใกล้ หรือมีวิริยารัมภวัตถุ ๘ เป็นเหตุใกล้

วิริยะรวมอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้หลายหมวด เช่น
อิทธิบาท ๔ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) อันเป็น คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ
แห่งผลที่มุ่งหมาย
พละ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) คือ ธรรมอันเป็นกำลัง
อินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน
โพชฌงค์ ๗ (สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) อันเป็น ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
บารมี ๑๐ (ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา) อันเป็น ปฏิปทาอันยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูงสุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2016, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 35.9 KiB | เปิดดู 3694 ครั้ง ]
คัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค แบ่งปีติเป็น ๕ ประเภท คือ
๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆเป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ ทำให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง
๔. อุพเพคาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา เหมือนลอยขึ้นไปในอากาศ
๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้
ขุททกาปีติและขณิกาปีติสามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา โอกกันติกาปีตินั้นถ้ามีมาก
ย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้น อุพเพคาปีติที่ยึดติดกับดวงกสิณ ทำให้ทั้งกุศลและอกุศลเกิดขึ้น
และขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ผรณาปีติบุคคลทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่ง อัปปนาสมาธิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 41.26 KiB | เปิดดู 3686 ครั้ง ]
ฉันทะ คือ ความยินดีพอใจในอารมณ์ ย่อมไม่เกินเลยไปถึงความอยากได้ จะทำให้กลายเป็นโลภะไป
หมายความว่า พอใจในอารมณ์ที่ตนได้ ที่ตนมี หรือการพอใจให้สำเร็จตามความประสงค์
(ดูคำอธิบายในอิทธิบาท ๔) ซึ่งจะเป็นลักษณะของฉันทะเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2016, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 58.38 KiB | เปิดดู 3683 ครั้ง ]
......................................................................

อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ย่อมประกอบกับจิตที่เป็นอกุศลจิตเท่านั้นจะไม่ไปเกิดร่วมกับกุศลจิต
คือว่าจะไม่ปะปนกัน เพราะเป็นประเภทเดียวกัน อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวงนี้ เป็นสังขารขันธ์
จะปรุงแต่งจิตให้เป็นอกุศลจิต เพื่อให้เกิดผลของตน ขณะใดที่อกุศลเตสิกเกิด โสภณเจตสิกก็เกิดไม่ได้

ในกลุ่มของโมหจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ

๑.โมหะ เป็นธรรมชาติที่ปิดบังความจริง คือ ความหลงในอารมณ์ ลักษณะประจำตัว
ของโมหะ คือ ความมืดบอด บางครั้งเรียกโมหะ ว่า อวิชชา โมหะเป็นธรรมชาติที่ตรงข้ามกับ
ปัญญา ไม่ได้หมายความว่า ไม่รู้อะไรเลย แต่การไม่รู้ เป็นอวิชชานี้ หมายถึง ไม่รู้สภาวะตาม
ความเป็นจริง อันเป็นสิ่งควรรู้ แต่กลับไปรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง อันเป็นสิ่งไม่ควรรู้

๒. อหิริกะ เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อบาป ตรงข้ามกับหิริ คือ ละอายต่อบาปอกุศล
๓. อโนตตัปปะ เป็นธรรมชาติที่ไม่เกรงกลัวต่อบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อความชั่ว ตรงข้าม
กับโอตตัปปะ คือ กลัวบาป
๔. อุทธัจจะ เป็นธรรมชาติที่ฟุ้งซ่าน ทำให้จิตพลุ่งพล่าน ฟุ้งซ่านไป ทำให้จิตไม่สงบ
เหมือนน้ำกระเพื่อมเมื่อถูกลมพัด เป็นอาการที่จิตไม่อยู่นิ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2016, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 47.36 KiB | เปิดดู 3669 ครั้ง ]
อกุศลเจตสิก ๑๔ กับอกุศลจิต ๑๒ จัดอยู่ในประเภท อกุศลเหมือนกัน
อกุศลเจตสิก กับ อกุศลจิต เมื่อเกิดขึ้นก็จะเกิดพร้อมกัน ดับก็จะดับพร้อมกัน และมีอารมณ์เดียวกัน
มีความเป็นไปพร้อมกันจะไม่ขัดแย้งกันเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 07:16 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gandhiji-walking-png-.png
gandhiji-walking-png-.png [ 127.21 KiB | เปิดดู 1234 ครั้ง ]
:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 15:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร