วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




00010.gif
00010.gif [ 45.7 KiB | เปิดดู 2423 ครั้ง ]
อินทรีย์ ๒๒ ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ
๑. จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม

๒. โสตินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม

๓. ฆานินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับกลิ่น ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรม

๔. ชิวหินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของลิ้น มีหน้าที่รับรสต่างๆ เอาไว้ ได้แก่ ชิวหาปสาทรูป เป็นรูปธรรม

๕. กายินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในกาย มีหน้าที่รับความสัมผัสต่างๆ ที่พบเจออยู่ปัจจุบัน ได้แก่ กายปสาทรูป เป็นรูปธรรม

๖. อิตถินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของหญิง มีหน้าที่ แสดงลักษณะกิริยาอาการต่างๆ ของหญิง ได้แก่ อิตถีภาวรูป เป็นรูปธรรม

๗. .ปุริสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชาย มีหน้าที่ แสดงลักษณะอาการของผู้ชาย ได้แก่ ปุริสภาวรูป เป็นรูปธรรม

๘. ชีวิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของชีวิต มีหน้าที่ รักษารูปและนาม ได้แก่ ชีวิตรูป ชีวิตนาม เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม (ชีวิตรูป ๑ และ ชีวิตินทรีย์เจตสิก)

๙. มนินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของใจ มีหน้าที่ รู้อารมณ์ ได้แก่ จิตทั้งหมด เป็นนามธรรม

๑๐. สุขินทรีย์ ความเป็นใหญ่เรื่องสุขเวทนา มีหน้าที่ สบาย ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในสุขกายวิญญาณจิต ๑ เป็นนามธรรม

๑๑. ทุกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางทุกขเวทนา มีหน้าที่คือ ไม่สบาย ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในทุกขกายวิญญาณจิต ๑ เป็นนามธรรม

๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโสมนัสเวทนา มีหน้าที่ ดีใจ ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เป็นนามธรรม

๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโทมนัสเวทนา มีหน้าที่ เสียใจ ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒ เป็นนามธรรม

๑๔. อุเปกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางอุเบกขาเวทนา มีหน้าที่ วางเฉย ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่ในอุเปกขาสหคตจิต ๕๕ (ไม่สุข ไม่ทุกข์ อุเบกขาเวทนา เป็นนามธรรม)

๑๕. สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของศรัทธา มีหน้าที่ เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม

๑๖. วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่ เพียรพยายามในสิ่งที่ควร ได้แก่วิริยเจตสิก เป็นนามธรรม

๑๗. สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ได้แก่ สติเจตสิก เป็นนามธรรม

๑๘. สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของสมาธิ มีหน้าที่ คือ ความแน่วแน่ตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นนามธรรม

๑๙. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) เป็นนามธรรม

๒๐. อัญญัตตัญญัสสามิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของโสตาปัตติมรรคญาณ มีหน้าที่เพื่อรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 5 ชนิด ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
(ปัญญาเจตสิก ที่ในโสดาปัตติมรรคจิต ๑)

๒๑. อัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมรรคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ตัดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
(ปัญญาเจตสิก ที่ในมรรคเบื้องบน ๓ , ผลเบื้องต่ำ ๓)

๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของอรหัตตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและตัดอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
(ปัญญาเจตสิก ที่ในอรหัตตผลจิต ๑)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 132.96 KiB | เปิดดู 3275 ครั้ง ]
อินทรีย์ ๒๒ ที่เป็นรูปธรรม ได้ ๘ อินทรีย์ คือ

๑. จักขุนรีย์
๒. โสตินทรีย์
๓. ฆานินทรีย์
๔. ชิวหินทรีย์
๕. กายินทรีย์
๖. อิตถิตทรีย์
๗. ปุริสินทรีย์
๘. ชีวิตินทรีย์ (มีทั้งที่เป็นรูปและเป็นนาม) ส่วนที่เป็นนามได้แก่ ชีวิตตินทรีย์เจตสิก

ธรรมเหล่าใดเป็นผู้ปกครองย่อมกระทำตนให้เป็นอิสระอย่างยิ่ง ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าอินทรีย์
อินทรีย์หมายความว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นผู้ปกครองในสภาวธรรมที่เกิดร่วมกับตน
หรือเป็นใหญ่ในการที่จะให้สำเร็จกิจการในหน้าที่ของตนๆ คือ เป็นใหญ่ในกิจการนั้นๆ

อธิบายด้วยการยกตัวอย่าง เช่น จักขุนทรีย์ องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาทรูป
เป็นอันว่าจักขุปสาทรูปนี้ มีธรรมที่เกิดร่วมกับตน ๙ รูป มี ปฐวี อาโป เตโช วาโย
วัณโณ คันโธ รโส โอชา และ ชีวิตรูป และรวมทั้งตัวเอง คือ จักขุปสาทรูปด้วย
ก็เป็น ๑๐ รูปด้วยกัน ในจำนวน ๑๐ รูปนี้ถ้าจะกล่าวถึงหน้าที่การงานในหน้าที่จะทำให้สำเร็จ
กิจในด้านรับรูปารมณ์แล้ว จักขุปสาทรูปนี้แหละเป็นใหญ่ในการนี้แต่ผู้เดียว รูปอื่นๆอีก ๙ รูป
ที่เกิดร่วมกับจักขุปสาทนั้นไม่สามารถจะกระทำหน้าที่รับรูปารมณ์ได้เลย
ดังนั้น จักขุปสาทรูปจึงเป็นใหญ่ในการรับรูปารมณ์ เรียกความเป็นใหญ่นั้นว่าอินทรีย์
และด้วยเหตุที่เป็นใหญ่ทางจักขุ จึงมีชื่อว่าจักขุนทรีย์

ตามที่กล่าวมานี้ถ้าจะกล่าวถึงการงานที่จะให้สำเร็จกิจในการรักษารูปให้ดำรงค์อยู่ ให้ตั้งอยู่
หรือให้เป็นไปได้แล้ว ชีวิตรูปแต่ผู้เดียวนี่แหละเป็นใหญ่ในการที่จะทำให้รูปทั้ง ๙ นั้น มีชีวิตชีวา
ตั้งอยู่ได้จนถึงภังคขณะรูปอื่นๆ ทั้ง ๙ นั้น ไม่สามารถที่จะกระทำหน้าที่ให้สำเร็จกิจ
ในด้านการดำรงอยู่ดังกล่าวนี้นได้เลย ดังนั้นชีวิตรูปจึงเป็นใหญ่ในการรักษารูปเหล่านั้น
ให้ตั้งออยู่ถึงภังคขณะ เรียกความเป็นใหญ่นั้นว่า อินทรีย์ และโดยที่เป็นใหญ่ในทางรักษาชีวิตจึงชิ่อว่า ชีวิตินทรีย์
เท่าที่กล่าวมานี้ คงจะพอให้เข้าใจความหมายของอินทรีย์พอสมควร แล้วดังนั้น อินทรีย์อื่นๆก็จะคล้ายๆกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 39.99 KiB | เปิดดู 3266 ครั้ง ]
องค์ธรรมของมนินทรีย์
ได้แก่ จิตทั้งหมด ส่วนนี้เป็นองค์ธรรมที่เป็น นามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 49.25 KiB | เปิดดู 3266 ครั้ง ]
เวทนาเจตสิก หรือเรียกว่า "เวทนินทรีย์" จำแนกได้ ๕ อินทรีย์

๑๐. สุขินทรีย์ ความเป็นใหญ่เรื่องสุขเวทนา มีหน้าที่ สบาย ได้แก่ สุขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๑. ทุกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางทุกขเวทนา มีหน้าที่คือ ไม่สบาย ได้แก่ทุกขเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๒. โสมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโสมนัสเวทนา มีหน้าที่ ดีใจ ได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๓. โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางโทมนัสเวทนา มีหน้าที่ เสียใจ ได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๔. อุเปกขินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางอุเบกขาเวทนา มีหน้าที่ วางเฉย ได้แก่ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อุเบกขาเจตสิก เป็นนามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 37.02 KiB | เปิดดู 3244 ครั้ง ]
๑๕. สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของศรัทธา มีหน้าที่ เชื่อ เลื่อมใสในสิ่งที่ควร ได้แก่ ศรัทธาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๖. วีริยินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของวิริยะ มีหน้าที่ เพียรพยายามในสิ่งที่ควร ได้แก่วิริยเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๗. สตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสติ มีหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันหรือระลึกในสิ่งที่ควร ได้แก่ สติเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๘. สมาธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของสมาธิ มีหน้าที่ คือ ความแน่วแน่ตั้งมั่น ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เป็นนามธรรม
๑๙. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) เป็นนามธรรม

(ชีวิตินทรีย์ได้แสดงไปแล้วพร้อมกับรูปธรรมและนามธรรม เวทนาก็ได้แสดงไปแล้ว เป็นเวทนา ๕)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2016, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 52.36 KiB | เปิดดู 2960 ครั้ง ]
๑๙. ปัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ทางปัญญา มีหน้าที่รู้ไตรลักษณ์ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกียะ) เป็นนามธรรม
๒๐. อัญญัตตัญญัสสามิตินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของโสตาปัตติมรรคญาณ มีหน้าที่เพื่อรู้พระนิพพาน ตัดอกุศลได้ 5 ชนิด ได้แก่ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
๒๑. อัญญินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของโสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมรรคญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพาน ตัดอกุศลไปตามลำดับญาณ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม
๒๒. อัญญาตาวินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของอรหัตตตผลญาณ มีหน้าที่รู้พระนิพพานและตัดอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ชนิดทิ้งโดยสิ้นเชิง ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกุตตระ) เป็นนามธรรม

(ทั้ง ๔ ข้อนี้เป็นองค์ธรรมของปัญญาเจตสิก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร