วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 10:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2016, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187710714.jpg
1484187710714.jpg [ 63.83 KiB | เปิดดู 4509 ครั้ง ]
๑๘. มัคคปัจจัย

มคฺคปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นมรรค
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ เป็นหนทางที่นำไปสู่
ทุคติภูมิ สุคติภูมิ และ นิพพาน หรือเป็นหนทางที่ทำให้สัมปยุตตธรรมและสหชาตธรรม
ที่เกิดพร้อมกันกับตนให้เข้าถึง อารมณ์ และการงานที่ต้องกระท า (มคฺค)

มัคคปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่มปัจจัย
ธรรมสหชาตชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน
มัคคปัจจัยนี้ เป็นสัมปาปกเหตุ คือ เหตุที่ทำให้ถึง หมายความว่า เป็นยวดยานพาหนะ
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ที่สามารถพาผู้โดยสารให้ไปถึงจุดหมายนั้นๆ ได้

ฉะนั้น ยานพาหนะนี้จึง ชื่อว่า เป็นเหตุที่ทำให้ถึงหรือเป็นมัคคปัจจัย
ข้อนี้ฉันใด มัคคปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ เจตสิกที่เป็น องค์มรรคเกิดขึ้นพร้อมกับจิต
ได้แก่ ปัญญา, วิตก, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, วิริยะ,
สติ, เอกัคคตา, ทิฏฐิรวมเจตสิก ๙ ดวงนี้เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ไปถึงจุดหมายในที่ต่างๆ
กันตาม สมควรแก่ฐานะของยานนั้นๆ เจตสิกทั้ง ๙ ดวงนี้จึงนับว่า เป็นมัคคปัจจัย องค์มัคค์ ๙ นี้เอง
เป็น ปัจจัย จึงเรียกมัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุปการะสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตนนั้น ๒ ประการ คือ

๑. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตน
ให้ทำกิจ ไปตามหน้าที่ของตนๆ อันเรียกว่า กิจธรรมดา และ

๒. ช่วยอุปการะนำสหชาตธรรมที่เกิดพร้อม กับตน ให้ไปสู่ ทุคติ สุคติและนิพพานได้กล่าวคือ
สัมมามัคค์ เป็นทางนำไปสู่สุคติและนิพพาน มิจฉามัคค์ เป็นทางนำไปสู่ทุคติ อย่างนี้เรียกว่า
เป็นกิจพิเศษ เพราะเป็นกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ปฏิสนธิ มัคคปัจจัย มีอำนาจช่วยอุดหนุนนำ
สหชาตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนให้ไปสู่ทุคติ สุคติ และนิพพานได้นั้น
ข้อนี้เป็นกิจพิเศษแห่งอำนาจของมัคคปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิเท่านั้น

ส่วนกิจธรรมดาที่เป็นอยู่ตามปกติของมัคคปัจจัย ก็คือ ช่วยอุดหนุนแก่สหชาตธรรม
ที่เกิดพร้อมกับตนให้ไปสู่อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตนอย่างหนึ่ง และช่วยอุดหนุนแก่สหชาตธรรม
ที่เกิดพร้อมกับตน ให้กระทำกิจไปตามหน้าที่ของตนๆ อย่างหนึ่ง

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ มัคคปัจจัย มีลักษณะเป็นหนทางที่ทำให้สภาวธรรมที่เกิด
พร้อมกันกับตนให้เข้าถึงอารมณ์ และการงานที่ต้องกระทำ ดังแสดงในมัคคปัจจยนิทเทสว่า
“องค์มรรคเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและรูปซึ่งมีสภาวธรรมนั้นเป็นสมุฏฐาน
โดย มัคคปัจจัย”อยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมสหชาตชาติ

(ข้อสังเกตุที่ว่าองค์มรรค ๙ นั้น มี มิจฉาทิฎฐิมรรค กับ สัมมาทิฎฐิมรรค ซ้อนกันอยู่)

มีข้ออุปมาในมัคคปัจจัยไว้ดังนี้
มัคคปัจจัย
อุปมาเหมือน ยานพาหนะที่นำผู้โดยสารอันได้แก่
จิตและเจตสิกดวงอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดพร้อมกันกับตน
ให้ไปถึงที่หมายในที่ต่างๆกัน ตามสมควรของยานนั้นๆ
เจตสิก ๘ ดวงนี้ จึงนับว่าเป็นมัคคปัจจัยบ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2016, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187627426.jpg
1484187627426.jpg [ 69.84 KiB | เปิดดู 4509 ครั้ง ]
๑๙. สัมปยุตตปัจจัย

สมฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการประกอบ
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ประกอบกันอย่างสนิทสนมกลมกลืน
คล้ายๆ กับว่า เป็นอย่างเดียว กล่าวคือ ในขณะที่จิต เจตสิก เกิดขึ้นนั้น ไมสามารถที่จะรู้ได้ว่า
อย่างไหนเป็นจิต อย่างไหนเป็นเจตสิก (สมฺปยุตฺต)

สัมปยุตตปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมสหชาตชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน

สัมปยุตตปัจจัยนี้ ได้แก่ จิตและเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกันนั้น เป็นปัจจัยและ
ปัจจยุปบันซึ่งกันและกัน และคำว่า สัมปยุตต์นั้น หมายความว่า ธรรม ๒ อย่าง
เมื่อเวลาเกิดก็เกิด ร่วมกัน เมื่อเวลาดับก็ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน
และมีที่อาศัยอันเดียวกัน เมื่อครบ ลักษณะทั้ง ๔ นี้แล้ว จึงเรียกว่า สัมปยุตต์ธรรมทั้ง ๒
ที่เกิดร่วมกันเป็นสัมปยุตตธรรมนั้น ก็ได้แก่ จิตและเจตสิกนั่นเอง

และการเกิดร่วมกันของสัมปยุตตธรรมนี้ ก็เข้ากลมกลืนกันได้สนิทเป็นเนื้อ เดียวกัน
โดยไม่สามารถจะแยกออกได้ว่า อะไรเป็นอะไร ซึ่งอุปมาเหมือนยาชนิดหนึ่งเรียกว่า “จตุมธุรส”
อันผสมด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย , น้ำมันงา, น้ำผึ้ง, น้ำตาลโตนด
เมื่อเอาสิ่งทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ผสมกวนให้เข้ากันแล้ว รสของยานี้จะกลมกลืนกันได้สนิท

จนผู้ที่บริโภคนั้นไม่ สามารถที่จะบอกได้เลยว่า นี่เป็นรสของเนย หรือ รสของน้ำมันงา
หรือ รสของน้ำผึ้ง หรือ เป็นรสของน้ำตาลโตนด ข้อนี้ ฉันใด จิตและเจตสิกก็เช่นเดียวกัน
เมื่อขณะที่เกิดขึ้นนั้นก็กลมกลืนเข้ากัน ได้สนิท ไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าอันไหนเป็นจิต
และอันไหนเป็นเจตสิก เหมือนกับจตุมธุรส ฉะนั้น๑๔๘ เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว
สัมปยุตตปัจจัย มีลักษณะประกอบกันของนามขันธ์อย่าง กลมกลืนจัดอยู่ในกลุ่มสหชาตชาติ

มีข้ออุปมาสัมปยุตปัจจัยไว้ดังนี้
สัมปยุตตปัจจัย
อุปมาเหมือน ยาชนิดหนึ่งเรียกว่า จตุมธุรส
อันผสมด้วยของ ๔ อย่าง คือ น้ำมันเนย น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำตาลโตนด
เมื่อเอาสิ่งทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ผสมกวนกันแล้วรสของยานี้กลมกลืนกันได้สนิท
จนผู้ที่บริโภคนั้นไม่สามารถจะบอกได้เลยว่านี่เป็นรสของเนย
หรือรสของน้ำมันงา หรือรสของน้ำผึ้ง หรือรสของน้ำตาลโตนด
ข้อนี้ฉันใด จิตและเจตสิกก็เช่นเดียวกัน เมื่อขณะที่เกิดขึ้นนั้น
ก็กลมกลืนเข้ากันได้สนิท ไม่สามารถจะแยกออกได้ว่าอันไหนเป็นจิต
และอันไหนเป็นเจตสิก เหมือนกับมธุรสฉะนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2016, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187435240.jpg
1484187435240.jpg [ 65.11 KiB | เปิดดู 4509 ครั้ง ]
๒๐. วิปปยุตตปัจจัย

วิปฺปยุตฺตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นการไม่ประกอบ
คำว่า วิปปยุตตะ นี้ มี ๒ อย่าง คือ

๑. อภาววิปปยุตฺต คือ หมายความว่า เป็นวิปปยุตตะโดยความไม่มี ได้แก่
ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ หรือจิตที่ปราศจากทิฏฐิ หรือ
จิตที่ไม่มีทิฏฐิ ญาณวิปฺปยุตฺต คือ จิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
หรือ จิตที่ปราศจากปัญญา หรือ จิตที่ไม่มีปัญญา

๒. วิสสฏฺวิปฺปยุตฺต หมายความว่า เป็นวิปปยุตตะโดยความไม่ปนกัน ได้แก่
คำว่า วิปปยุตตะในวิปปยุตตปัจจัยนี้เอง

วิปปยุตตปัจจัยนี้ มีความหมายตรงกันข้ามกับสัมปยุตตปัจจัย คือ ไม่ประกอบด้วย
ลักษณะ ๔ อย่าง เมื่อไม่พร้อมด้วยลักษณะทั้ง ๔ นี้แล้ว จึงได้ชื่อว่า วิปปยุตตะ
อุปมาเหมือนคน ๒ คนอยู่ในบ้านเดียวกัน แต่ว่าไม่ใช่เป็นญาติพี่น้องกัน
และการกินอยู่หลับนอนตลอดจนเงินทองก็ ไม่ได้ใช้ร่วมกัน เป็นแต่อยู่บ้านเดียวกันเท่านั้น

ข้อนี้ฉันใด ในบรรดาสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลายนั้น นามธรรมกับรูปธรรมที่เกิดร่วมกันก็ดี
หรืออาศัยอยู่ด้วยกันก็ดี หรือรูปที่เกิดก่อนนามก็ดี เหล่านี้ก็มี หน้าที่เพียงอุดหนุนเกื้อกูลต่อกัน
โดยความเป็นวิปปยุตตปัจจัยเท่านั้น อีกนัยหนึ่ง โบราณาจารย์

อุปมาวิปปยุตตปัจจัยนี้เหมือนกับรส ๖ อย่าง คือ หวาน, เปรี้ยว, ฝาด, เค็ม,
ขม, เผ็ด เหล่านี้ เมื่อเอา มาผสมรวมกันเข้าแล้ว ไม่สามารถจะกลมกลืนเข้ากันได้
สนิทเป็นรสเดียวกัน

วิปปยุตตปัจจัยนี้จำแนกได้เป็น ๔ ปัจจัยย่อย คือ
๑. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย ๒. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย ๓. วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตวิปปยุตต

ปัจจัยอีกนัยหนึ่ง วิปปยุตตปัจจัยนี้จำแนกออกเป็น ๓ โดยรวมข้อ (๒) และข้อ (๓) เข้าเป็น ๑
เรียกว่า ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

มีข้ออุปมาวิปปยุตตปัจจัยไว้ดังนี้
วิปปยุตตปัจจัย
อุปมาเหมือน คน ๒ คนอยู่ในบ้านเดียวกัน แต่ว่าไม่ใช่เป็นญาติพี่น้องกัน
และการกินการอยู่หลับนอนตลอดจนเงินทองก็ไม่ได้ใช้ร่วมกัน
เป็นแต่อยู่บ้านเดียวกันเท่านั้น ถ้าหากจะมีผู้ถามว่า ๒ คนนี้เป็นอะไรกันหรือเปล่า
ก็ต้องตอบว่าไม่ได้เป็นอะไรกัน เป็นแต่อาศัยบ้านเดียวกัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในกิจการงานเท่านั้น

อุปมาเหมือนรส ๖ อย่าง คือหวาน, เปรี้ยว, ฝาด, เค็ม, ขม, เผ็ด, เหล่านี้
เมื่อเอามาผสมรวมกันเข้าแล้ว ไม่สามารถที่จะกลมกลืนเข้ากันได้สนิทเป็นรสเดียวกัน
เช่นในหม้อแกงหม้อหนึ่งประกอบด้วยรสต่างๆมี หวาน, เปรี้ยว, ฝาด, เค็ม, ขม, เผ็ด, เป็นต้น
เหล่านี้รวมกันอยู่ ผู้บริโภคสามารถบอกทันทีได้ว่านี่รสเปรี้ยว นี่รสเค็ม นี่รสหวาน
ซึ่งผิดกับจตุมธุรสที่แสดงมาแล้วในสัมปยุตปัจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2016, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐.๑ สหชาตวิปปยุตตปัจจัย

สหชาตวิปปยุตตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน
แต่ไม่ประกอบกัน เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
เกิดพร้อมกันกับปัจจยุปบันนธรรมด้วย (สหชาต) แม้จะเป็นที่อาศัยเกิดแห่งปัจจยุปบันธรรม
เสมือนหนึ่งว่ามีอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็มิได้ ประกอบเป็นเนื้อเดียวกันด้วย (วิปฺปยุตฺต)

สหชาตวิปปยุตตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติเพราะปัจจัยธรรมและ
ปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว
สหชาตวิปยุตตปัจจัย มีลักษณะเกิดพร้อมกันแต่ ประกอบกันไม่ได้

เพราะสภาวะของนามขันธ์และรูปขันธ์ย่อมไม่เหมือนกัน เช่น นามขันธ์ย่อมน้อมไป
ในการรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ แต่รูปขันธ์ไม่สามารถรับรู้อารมณ์อะไรได้เลย เป็นต้น
ฉะนั้น จึงจัด เข้าในกลุ่มปัจจัยธรรมสหชาตชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2016, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐.๒ วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวัตถุ
ที่เกิดก่อนแต่ไม่ประกอบกัน เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ
เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) ไม่ประกอบด้วย (วิปฺปยุตฺต)

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม วัตถุปุเรชาตชาติเพราะปัจจัย
ธรรมเป็นวัตถุรูปที่เกิดก่อนช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมเมื่อพิจารณาโดยลักษณะ

วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยมีลักษณะที่เกิดก่อนแต่ไม่ ประกอบกับนามขันธ์ที่เกิดภายหลัง
แม้จะอุปการะได้ขณะอยู่เฉพาะหน้ากันก็ตาม จัดอยู่ในกลุ่มของ วัตถุปุเรชาตชาติ
โดยความเป็นวัตถุรูปที่อาศัยเกิดของนามขันธ์ ในปัญจโวการภูมินั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2016, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะนามขันธ์
โดยความเป็นวัตถุซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนและไม่ประกอบกัน
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) ไม่ประกอบด้วย (วิปฺปยุตฺต)

วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเพราะปัจจัย
ธรรมนั้นทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว
วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะที่เป็น วัตถุรูปเกิดก่อน

เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรมด้วยแต่ไม่ประกอบกัน จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัย
ธรรมอารัมมณชาติ เพราะการท าหน้าที่ของปัจจัยนี้ที่ชัดเจนส าคัญที่สุด คือ
การเป็นอารมณ์ให้กับ นามขันธ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2016, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐.๔ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

ปัจฉาชาตวิปปยุตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นนามเกิดทีหลัง
และไม่ประกอบกัน เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
เกิดทีหลังด้วย (ปจฺฉาชาต) ไม่ประกอบด้วย (วิปฺปยุตฺต)

จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม ปัจฉาชาตชาติ เพราะปัจจัยธรรมนั้นเกิดทีหลังแล้วช่วย
อุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดก่อน เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ
ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย มีลักษณะเป็นนามขันธ์ที่เกิดทีหลัง และไม่ประกอบกับรูปขันธ์

ที่เกิดก่อนที่ยังตั้งอยู่ในปัญจโวการภูมิ ถึงแม้จะอยู่ในปัจจุบันกาล แต่ก็ไม่มีการผสมกลมกลืน
ประกอบกันได้ จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมปัจฉาชาตชาติวิปปยุตตปัจจัย
แบ่งเป็น ๔ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างในการจัดกลุ่มชาติปัจจัยธรรม มี ความเสมอภาค
ในส่วนที่ต้องมีการอุปการะในปัจจุบันกาล และปัญจโวการภูมิเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2016, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187326602.jpg
1484187326602.jpg [ 65.51 KiB | เปิดดู 4509 ครั้ง ]
๒๑. อัตถิปัจจัย

อตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
คำว่า อัตถิปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ยังมีอยู่
หมายถึง สภาวธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะปัจจุบัน และสามารถเป็นปัจจัยแก่ธรรมอื่นๆ
ท่านโบราณาจารย์อุปมาธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยนี้ เหมือนหนึ่งพื้นดินที่ช่วยอุดหนุนอุปการะแก่ต้นไม้
ทั้งปวงให้งอกงามเจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้ เป็นการช่วยอุดหนุนโดยอาการที่ปรากฏมีอยู่ คือ

พื้นดินที่เป็นฝ่ายอุดหนุนก็มีอยู่ ต้นไม้ที่เป็นฝ่ายรับการอุดหนุนก็มีอยู่ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มี ก็ช่วยอุดหนุน
ไม่ได้ ข้อนี้ฉันใด ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยก็เช่นเดียวกัน คือ ปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันธรรมต้อง
ปรากฏมีอยู่ด้วยกัน จึงจะช่วยอุดหนุนกันได้

อัตถิปัจจัย จำแนกได้เป็น ๗ ปัจจัยย่อย คือ
๑. สหชาตัตถิปัจจัย ๒. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๓. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ๕. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๖. อาหารัตถิปัจจัย ๗. อินทริยัตถิปัจจัย

มีข้ออุปมาอัตถิปัจจัยไว้ดังนี้
อัตถิปัจจัย
อุปมาเหมือน พื้นดินที่ช่วยอุดหนุนอุปการะแก่ต้นไม้ทั้งปวง
ให้งอกงามเจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้ ในการช่วยอุดหนุนนี้เป็นการช่วยอุดหนุน
โดยอาการที่ปรากฏอยู่ คือพื้นดินที่เป็นฝ่ายอุดหนุนก็มีอยู่
ต้นไม้ที่เป็นฝ่ายรับการอุดหนุนก็มีอยู่
ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มี ก็ช่วยอุดหนุนไม่ได้
ข้อนี้ฉันใด ธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยก็เช่นเดียวกัน คือ ปัจจัยธรรมและปัจจยุบันธรรม

ต้องปรากฎมีด้วยกัน จึงจะอุดหนุนกันได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๑ สหชาตัตถิปัจจัย

สหชาตัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่นามรูปโดยความเกิดพร้อม
กันและยังมีอยู่ด้วยเมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกันด้วย (สหชาต)
เป็นสภาพที่มีอยู่ คือ มีการที่ก าลังเกิดอยู่เฉพาะหน้าด้วย (อตฺถิ)
สหชาตัตถิปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติเพราะทั้งปัจจัยธรรม
และ ปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ สหชาตัตถิปัจจัย มีลักษณะที่เกิดพร้อมกันและ
กำลังอยู่เฉพาะ หน้าต่อปัจจยุปบันนธรรม มีสภาพทั่วไปเหมือนสหชาตปัจจัย
ทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มสหชาตชาติ เพียงมีการเน้นหนักในความยังมีอยู่
ทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรมในขณะอุปการะกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๒ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย

วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะนามขันธ์
โดยความเป็นวัตถุ ที่เกิดก่อนและยังมีอยู่

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นสภาพที่มีอยู่ด้วย (อตฺถิ)
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมวัตถุปุเรชาตชาติเพราะปัจจัยธรรมเป็นวัตถุรูปที่
เกิดก่อนช่วย อุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย มีลักษณะเป็นวัตถุ
เกิดก่อนและ ตั้งอยู่จนสามารถอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดทีหลังได้
มีสภาพทั่วไปเหมือนวัตถุปุเรชาต ปัจจัยทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มของ
วัตถุปุเรชาตชาติเพียงเน้นการตั้งอยู่ หรือ ยังมีอยู่ของปัจจัยธรรม เป็นสำคัญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๓ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะนามขันธ์
โดยความเป็น อารมณ์ที่เกิดก่อนและยังมีอยู่

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นสภาพที่มีอยู่ด้วย (อตฺถิ)

อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเพราะปัจจัย
ธรรมนั้น ทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มีลักษณะเป็นรูป
อารมณ์ที่เกิด ก่อนและยังตั้งอยู่ด้วย การท าหน้าที่เป็นอารมณ์อยู่เฉพาะหน้า
ต่อนามขันธ์ซึ่งเป็นปัจจยุปบันนธรรม มีสภาพทั่วไปเหมือนอารัมมณปุเรชาต
ปัจจัยทุกอย่าง จึงอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติ เหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๔ วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะนามขันธ์โดย
ความเป็นวัตถุซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนและยังมีอยู่

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นสภาพที่มีอยู่ด้วย (อตฺถิ)

วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเพราะปัจจัยธรรม นั้น
ทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย มีลักษณะที่เป็นหทยวัตถุ
รูปเกิดก่อนเป็นอารมณ์และยังมีอยู่เฉพาะหน้าต่อปัจจยุปบันนธรรมด้วย

มีสภาพทั่วไปเหมือนกับ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกอย่าง
จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๕ ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะรูปขันธ์โดยความเป็นนามเกิด
ภายหลังและยังมีอยู่

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่างคือ เกิดทีหลังด้วย (ปจฺฉาชาต)
เป็นสภาพที่มีอยู่ด้วย (อตฺถิ)

ปัจฉาชาตัตถิปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม ปัจฉาชาตชาติเพราะปัจจัยธรรมนั้นเกิด
ทีหลังแล้วช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดก่อน

เมื่อกล่าวโดยลักษณะปัจฉาชาตัตถิปัจจัย มีลักษณะเป็นนามขันธ์ที่เกิดทีหลังและมีอยู่
พร้อมหน้ากับรูปธรรมที่เกิดก่อน อยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมปัจฉาชาตชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๖ อาหารัตถิปัจจัยหรือ รูปอาหารัตถิปัจจัย

อาหารัตถิปัจจัย หรือ รูปอาหารัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะรูปอื่นๆ
โดยความเป็นรูปอาหารและยังมีอยู่ด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ น าอาหารชรูปให้เกิดขึ้นด้วย (อาหาร)
เป็น สภาพที่มีอยู่ด้วย (อตฺถิ)

อาหารัตถิปัจจัย หรือ รูปอาหารัตถิปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมรูปอาหารชาติ
ปัจจัย ธรรมนั้นได้แก่ รูปอาหารช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมอาหารัตถิปัจจัย หรือ
รูปอาหารัตถิปัจจัยหมายถึงโอชารูปในกพฬีการาหารเป็นปัจจัย ให้เกิดอาหารชรูป

หรือโอชารูปในรูปสมุฎฐานทั้ง ๔ที่ช่วยอุปถัมภ์รูปที่เหลือในกลาปเดียวกันกับ
ตนและรูปในกลาปอื่นๆเพิ่มความหมายว่า รูปอาหารที่เป็นปัจจัยและธรรมที่เป็นปัจจยุปบันต่างก็
ยังมีอยู่ด้วยกัน เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ อาหารัตถิปัจจัย หรือ รูปอาหารัตถิปัจจัยย่อมนำมาซึ่ง
อาหารชรูปให้เกิดขึ้นและยังมีอยู่ด้วยกัน มีสภาพทั่วไปเหมือนรูปอาหารปัจจัยทุกอย่าง
จัดอยู่ใน กลุ่มปัจจัยธรรมอาหารชาติหรือรูปอาหารชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ย. 2016, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๑.๗ อินทริยัตถิปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย

อินทริยัตถิปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะ
กัมมชรูปโดยความเป็นชีวิตรูปที่เป็นใหญ่และยังมีอยู่ด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่างคือ มีอิสระเป็นใหญ่ด้วย (อินฺทฺริย)
เป็นสภาพที่มี อยู่ด้วย (อตฺถิ) อินทริยัตถิปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัย
จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม รูปชีวิตินทริย ชาติเพราะปัจจัยธรรมคือ ชีวิตรูปที่เป็นใหญ่
ในการรักษาปัจจยุปบันนธรรม คือ กัมมชรูปที่เกิด ร่วมกัน

อินทริยัตถิปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยัตถิปัจจัยหมายถึงรูปชีวิตินทรีย์ที่อนุบาลรักษารูป
ที่เกิดจากกรรมในกลาปเดียวกันกับตนให้ตั้งอยู่ได้ ทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรม
ต่างยังมีอยู่ ด้วยกันเมื่อพิจารณาโดยลักษณะ อินทริยัตถิ หรือ รูปชีวิตินทริยปัจจัย มีสภาพเป็นรูป
คือ ชีวิตรูป มี ความเป็นใหญ่ในการเป็นผู้รักษารูปที่เกิดจากกรรมอื่นๆ

ซึ่งเกิดพร้อมกันกับตนและยังมีอยู่ด้วย มี สภาพทั่วไปเหมือนรูปอินทริยปัจจัยทุกอย่าง
จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมที่เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ อัตถิปัจจัย แบ่งเป็น ๗ ปัจจัยย่อย
มีความแตกต่างโดยการจัดกลุ่มชาติปัจจัยธรรม แต่มี ความเสมอกันที่เป็นปัจจุบันกาลเหมือนกัน

เพราะไม่ว่าจะเกิดก่อน เกิดพร้อมกัน หรือเกิดทีหลัง เมื่อเป็นอัตถิปัจจัย
จะต้องแสดงความยังมีอยู่พร้อมหน้าทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรม
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่อุปถัมภกสัตติด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร