วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 17:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484187125500.jpg
1484187125500.jpg [ 61.07 KiB | เปิดดู 4960 ครั้ง ]
๒๒. นัตถิปัจจัย
นตฺถิปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มีอยู่
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ความดับไปโดยไม่มีเหลือ
เสมือนหนึ่งดวง ไฟที่ดับไปแล้ว กลับเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ความมืดให้
ปรากฏขึ้น (นตฺถิ)

นัตถิปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าใน
กลุ่มปัจจัย ธรรมอนันตรชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรมนั้นช่วยท าให้ปัจจยุป
บันนธรรมเกิดต่อทันทีโดยไม่มี ระหว่างคั่น
คำว่า นัตถิปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นภาวะที่ไม่มี
อยู่ หมายถึง นามธรรมที่ดับไปแล้ว เพราะสามารถเปิดโอกาสให้ธรรมอื่นเข้า
มาแทนที่ได้ ๑๖๔ ตาม ธรรมดา สภาพของนามธรรม คือ จิตและเจตสิกนี้

เมื่อขณะที่ดวงแรกเกิดขึ้นและยังไม่ดับไปนั้น จิต ดวงที่ ๒ และเจตสิกย่อมไม่
สามารถเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อจิตดวงแรกและเจตสิกดับไปเสียก่อนแล้ว จึง เป็น
โอกาสให้จิตดวงที่ ๒ และเจตสิกเกิดขึ้นต่อไปได้ ดังนี้เป็นล าดับไป

นัตถิปัจจัยมีลักษณะ คล้ายกับอนันตรปัจจัยและองค์ธรรมก็เหมือนกัน แต่
อนันตรปัจจัย หมายถึง การเกิดขึ้นของจิตดวง ก่อนๆเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวง
หลังๆโดยไม่มีระหว่างคั่นส่วนนัตถิปัจจัยหมายถึงความไม่มีของจิต ดวง
ก่อนๆเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงหลัง

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว นัตถิปัจจัย คือ จิต เจตสิกดวงก่อนมีลักษณะที่
ต้องดับไป เพื่อให้ปัจจยุปบันนธรรมคือ จิต เจตสิกดวงหลังเกิดขึ้นได้ดังแสดง
ในนัตถิปัจจยนิทเทสไว้ว่า “สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่ดับไปไม่มี
ระหว่างคั่นด้วยดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและ เจตสิกที่เป็นปัจจุบัน
โดยนัตถิปัจจัย”อยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอนันตรชาติ เพราะเป็นเรื่องนามขันธ์
ดวงเก่าที่ดับไปแล้วมีดวงใหม่เกิดติดต่อกันทันที

มีข้ออุปมานัตถิปัจจัยไว้ดังนี้
นัตถิปัจจัย
อุปมาเหมือน แสงสว่างกับความมืด ธรรมดาของความมืด
จะมีไม่ได้ในแสงสว่างยังปรากฏอยู่ ต่อเมื่อแสงสว่างไม่มีแล้วความมืด
จึงปรากฏขึ้นได้ ดังนั้น ความมืดจึงเป็นผลของแสงสว่างที่ดับไปแล้ว

ข้อนี้ฉันใด ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือปัจจยุบันธรรมที่ปรากฏขึ้น
นั้นต้องให้ปัจจัยธรรมดับไปเสียก่อนจึงจะเกิดขึ้นได้
ฉะนั้น ความดับไปหรือความไม่มีของปัจจัยธรรมนี้ จึงทำคุณอุปการะให้แก่ปัจจยุบันธรรม
คือ ให้ปัจจยุบันธรรมเกิดขึ้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484186994388.jpg
1484186994388.jpg [ 65.65 KiB | เปิดดู 4960 ครั้ง ]
๒๓. วิคตปัจจัย

วิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ปราศจากไปเสมือนหนึ่งแสงสว่างของ
ดวง อาทิตย์ที่อัศดงคตไปแล้วเป็นปัจจัย คือ ช่วยอุปการะแก่แสงสว่างของดวงจันทร์ให้ปรากฏขึ้น (วิคต)

วิคตปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัย ธรรมอนันตรชาติเท่านั้น เพราะปัจจัยธรรมนั้นช่วยท าให้ปัจจยุปบันน
ธรรมเกิดต่อทันทีโดยไม่มี ระหว่างคั่น

คำว่า วิคตปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความปราศจากไป
หมายถึง นามธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนั่นเอง เพราะเป็นปัจจัยที่เปิดโอกาสให้
สภาวธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ภายหลังที่ตนดับลง

หรือจะกล่าวถึงผลก่อนว่า ปัจจยุปบันนธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อปัจจัย ธรรม
นั้นปราศจากไปแล้วถ้าหากว่าปัจจัยธรรมยังไม่ปราศจากไปปัจจยุปบันนธรรม
ก็เกิดขึ้นไม่ได้ อุปมาเหมือน ความสว่างกับความมืด ถ้าแสงสว่างยังมีอยู่ยังปรากฏอยู่

ความมืดก็จะมีอยู่ไม่ได้ ต่อ เมื่อใดแสงสว่างปราศจากไปแล้ว ไม่มีแล้ว เมื่อ
นั้นจึงปรากฏเกิดความมืดขึ้นมาได้ วิคตปัจจัยนี้เป็น เหมือนกับนัตถิปัจจัยทุกประการ
และด้วยเหตุที่นัตถิปัจจัยเหมือนกับอนันตรปัจจัย ดังนั้น วิคตปัจจัยจึง
เหมือนกับอนันตรปัจจัยด้วย ขอให้ดูเทียบกับอนันตรปัจจัยนั้นด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว วิคตปัจจัยมีลักษณะปราศจาก คือ ดับไปแล้ว จึง
อุปการะแก่ ปัจจยุปบันนธรรมได้ ดังแสดงในวิคตปัจจยนิทเทสว่า “สภาวธรรม
ที่เป็นจิตและเจตสิกที่ปราศจาก ไปไม่มีระหว่างคั่นด้วยดี เป็นปัจจัยแก่สภาว
ธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกที่เป็นปัจจุบันโดยวิคต ปัจจัย” อยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม
อนันตรชาติเช่นเดียวกับนัตถิปัจจัย

มีข้ออุปมาวิคคติปัจจัยไว้ดังนี้
วิคตปัจจัย
อุปมาเหมือน พระอาทิตย์และพระจันทร์ ตามธรรมดาพระจันทร์
จะไม่ปรากฏแสงในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ปราศจากไป ต่อเมื่อพระอาทิตย์ปราศจากไป
แล้วนั่นแหละแสงสว่างของพระจันทร์จึงจะปรากฏขึ้นได้ พระอาทิตย์จึงช่วยอุปการะ
ช่วยอุดหนุนแก่แสงสว่างของพระจันทร์ โดยอาการปราศจากไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2016, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1484183346251.jpg
1484183346251.jpg [ 75.63 KiB | เปิดดู 4961 ครั้ง ]
๒๔ อวิคตปัจจัย

อวิคตปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป
คำว่า อวิคตปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความไม่ปราศจากไป
หมายถึง สภาวธรรมที่เป็นอัตถิปัจจัยนั่นเอง เพราะเป็นปัจจัยที่มีปรากฏอยู่ในขณะปัจจุบัน
ดุจความมีอยู่ของน้ำในมหาสมุทร ซึ่งมีประโยชน์เกื้อกูลให้สัตว์น้ำได้มีชีวิตอยู่ฉันนั้น
ส่วนองค์ธรรมต่าง ๆ เหมือนกับอัตถิปัจจัยทุกประการ

อวิคตปัจจัยนี้ ก็เหมือนกับอัตถิปัจจัยที่ได้แสดงมาแล้วนั้น แต่เหตุไร เมื่อพระพุทธองค์
ทรงแสดงอัตถิปัจจัยแล้ว ยังทรงแสดงอวิคตปัจจัยซ้าขึ้นอีก ข้อนี้เป็นเพราะพระองค์ทรงแสดงโดย
เทศนาวิลาส คือ ทรงแสดงโดยต้องการให้เทศนานั้นวิจิตรพิสดารยิ่งขึ้น และอีกประการหนึ่ง
เพื่อให้เหมาะสมแก่อัธยาศัยของเหล่าเวไนยสัตว์ทั้งหลาย โดยที่บางเหล่าก็เข้าใจการแสดงโดย
โวหารอย่างหนึ่ง บางเหล่าก็เข้าใจในโวหารอีกอย่างหนึ่ง ดังนี้ พระองค์จึงได้ทรงแสดงอวิคตปัจจัย
ซ้าอีก โดยมีข้อความเหมือนกับอัตถิปัจจัย แตกต่างกันแต่โดยโวหารการแสดงเท่านั้น

อวิคตปัจจัย จำแนกได้เป็น ๗ ปัจจัยย่อยคือ
๑. สหชาตอวิคตปัจจัย ๒. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย ๓. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ๕. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย ๖. อาหารอวิคตปัจจัย ๗. อินทริยอวิคตปัจจัย

มีข้ออุปมาอวิคตปัจจัยไว้ดังนี้
อวิคตปัจจัย
อุปมาเหมือน น้ำในมหาสมุทร ย่อมเป็นที่อาศัยแก่ฝูงปลาและเต่าเป็นต้น
ให้ได้รับความสนุกสบายร่าเริง และเจริญเติบโตขึ้นได้นั้น น้ำในมหาสมุทรต้องมีอยู่
จึงจะอุปการะอุดหนุนแก่ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายได้ ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายนั้น
ก็ต้องมีอยู่เช่นเดียวกัน จึงจะรับอุปการะจากน้ำในมหาสมุทรนั้นได้
ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีแล้ว ก็ไม่สามารถจะอุดหนุนหรือรับอุดหนุนกันได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2016, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๑ สหชาตอวิคตปัจจัย

สหชาตอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อม
และยังไม่ ปราศจากไปด้วยเมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ เกิดพร้อมกันด้วย (สหชาต)
เป็นสภาพที่ยังไม่ ปราศจากไปด้วย (อวิคต)

สหชาตอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติเพราะทั้งปัจจัยธรรม
และ ปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว สหชาตอวิคตปัจจัย
มีลักษณะเกิดพร้อมกันและยังไม่ ปราศจากไป คือ ยังไม่ดับ
ไป มีสภาพทั่วไปเหมือนสหชาตปัจจัยทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มสหชาต ชาติ
เหมือนกัน เพียงแต่มีการเน้นหนักในความยังไม่ดับไปของปัจจัยธรรมและ
ปัจจยุปบันนธรรม ในขณะอุปการะกันเป็นหลัก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2016, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๒ วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น
วัตถุที่เกิด ก่อนและยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต)
เป็นสภาพที่ยังไม่ปราศจากไปด้วย (อวิคต)
วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมวัตถุปุเรชาตชาติเพราะปัจจัย
ธรรม เป็นวัตถุรูปที่เกิดก่อนช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย มีลักษณะเป็นวัตถุที่เกิดก่อน และยังมีอยู่ด้วย
มีสภาพทั่วไปเหมือนวัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัยทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มของ วัตถุปุเรชาตชาติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2016, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๓ อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความ
เป็น อารมณ์ที่เกิดก่อนและยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ) เกิด
ก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นสภาพที่ยังไม่ปราศจากไปด้วย (อวิคต)

อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติเพราะ
ปัจจัยธรรม นั้นท าหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มีลักษณะเป็นรูป
อารมณ์ที่เกิดก่อน และยังไม่ปราศจากไป การท าหน้าที่เป็นอารมณ์ที่ยังไม่
ดับไปนั้นเป็นส าคัญ มีสภาพทั่วไปเหมือน อารัมมณปุเรชาตปัจจัยทุกอย่าง
จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2016, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๔ วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย หมายถึงสภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวัตถุ
ซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนและยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๔ อย่าง คือ เป็นที่เกิดด้วย (วตฺถุ) เป็นอารมณ์ด้วย (อารมฺมณ)
เกิดก่อนด้วย (ปุเรชาต) เป็นสภาพที่ยังไม่ปราศจากไปด้วย (อวิคต)

วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติเพราะปัจจัย
ธรรมนั้นทฎหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้ว วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย มีลักษณะที่เป็นหทยวัตถุรูป
เกิดก่อนเป็นอารมณ์และยังไม่ดับหายไปด้วย มีสภาพทั่วไปเหมือนวัตถารัมมณชาตนิสสยปัจจัยทุกอย่าง
จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2016, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๕ ปัจฉาชาตอวิคต

ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นนามเกิด
ภายหลังและยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่างคือ เกิดทีหลังด้วย (ปจฺฉาชาต)
เป็นสภาพที่ยังไม่ ปราศจากไปด้วย (อวิคต)

ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม ปัจฉาชาตชาติ เพราะปัจจัยธรรมนั้น
เกิดทีหลังแล้วช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดก่อน

เมื่อกล่าวโดยลักษณะปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย มีลักษณะเป็นนามขันธ์ที่เกิดทีหลังและ
ยังไม่ปราศจากไป มีสภาพทั่วไปเหมือนปัจฉาชาตปัจจัยทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม
ปัจฉาชาตชาติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2016, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๖ อาหารอวิคตปัจจัย หรือ รูปอาหารอวิคตปัจจัย

อาหารอวิคตปัจจัย หรือ รูปอาหารอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะ
โดยความเป็นรูปอาหารและยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ น าอาหารชรูปให้เกิดขึ้นด้วย (อาหาร)
เป็น สภาพที่ยังไม่ปราศจากไปด้วย (อวิคต)อาหารอวิคตปัจจัย หรือ รูปอาหารอวิคตปัจจัยจัดอยู่
ในกลุ่มปัจจัยธรรม อาหารชาติ ปัจจัยธรรมนั้นได้แก่ รูปอาหารช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรม

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ อาหารอวิคตปัจจัย หรือ รูปอาหารอวิคตปัจจัยย่อมนำมา
ซึ่ง อาหารชรูปให้เกิดขึ้นและยังไม่ปราศจากดับไป มีสภาพทั่วไปเหมือนรูปอาหารปัจจัยทุกอย่าง
จึง จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมอาหารชาติหรือรูปอาหารชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2016, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒๔.๗ อินทริยอวิคตปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย

อินทริยอวิคตปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะ
โดยความเป็นชีวิตรูปที่เป็นใหญ่และยังไม่ปราศจากไปด้วย

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ มีอิสระเป็นใหญ่ด้วย (อินฺทฺริย) เป็นสภาพที่
ยังไม่ปราศจากไปด้วย (อวิคต)

อินทริยอวิคตปัจจัยหรือรูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัยจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรมรูปชีวิตินทริย ชาติ
เพราะปัจจัยธรรมคือ ชีวิตรูปที่เป็นใหญ่ในการรักษาปัจจยุปบันนธรรม คือ กัมมชรูปที่เกิด ร่วมกัน

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ อินทริยอวิคตปัจจัย หรือ รูปชีวิตินทริยอวิคตปัจจัย มีสภาพ เป็นรูป
คือ ชีวิตรูป มีความเป็นใหญ่ในการเป็นผู้รักษารูปที่เกิดจากกรรมอื่นๆ ที่เกิดพร้อมกับตน
และไม่ปราศจากกัน มีสภาพทั่วไปเหมือนรูปชีวิตินทริยปัจจัยทุกอย่าง จึงจัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม
ที่เป็นรูปชีวิตินทริยชาติ

อวิคตปัจจัย คล้ายกับอัตถิปัจจัย คือ มีการแบ่งเป็น ๗ ปัจจัยย่อย มีความแตกต่างโดย
การจัดกลุ่มชาติปัจจัยธรรม แต่มีความเสมอกันที่เป็นปัจจุบันกาลเหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะเกิดก่อน
เกิดพร้อมกัน หรือเกิดทีหลัง เมื่อเป็นอวิคตปัจจัย จะต้องแสดงความยังไม่ปราศจากไป
หรือ ดับ หายไปทั้งปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรม นอกจากนี้ยังต้องมีหน้าที่อุปถัมภกสัตติด้วย

ปัจจัยเหตุที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอัตถิปัจจัยแล้ว ยังทรงแสดงอวิคตปัจจัยซ้ำอีก
ก็ เพราะต้องการให้มีความวิจิตรพิสดารยิ่งขึ้นและอีกประการหนึ่งก็เพื่อให้เหมาะสมแก่อัธยาศัย
ของ เวไนยสัตว์ทั้งหลายดังนั้นจึงได้ทรงแสดงอวิคตปัจจัยซ้ำอีกโดยมีเนื้อความเหมือนกับอัตถิปัจจัย
ทุกประการจะแตกต่างกันก็แต่โวหารในการแสดงเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2016, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวธรรมของกลุ่มปัจจัยธรรม
คำว่า “ชาติ” มีหลายความหมาย เช่น การเกิด, พวก, กลุ่ม, หมู่, ชนิด, ตระกูล, ภพ ฯลฯ
แต่ชาติในที่นี้จะหมายถึง กลุ่ม, ชนิด, หรือตระกูล ปัจจัยที่มีลักษณะใกล้เคียงกันจะถูกจัดไว้เป็นกลุ่ม
หรือชนิด หรือ ตระกูลเดียวกันเรียกว่า “ชาติเดียวกัน” เช่น สหชาตชาติ คือ ชาติ หรือ กลุ่มของปัจจัย
ที่ปัจจัยธรรมกับปัจจยุปบันธรรมเกิดขึ้นพร้อมกัน อารัมมณชาติคือชาติหรือกลุ่มของปัจจัยที่มีปัจจัย
ธรรมเป็นอารมณ์และปัจจยุปบันนธรรมเป็นผู้รู้อารมณ์เป็นต้น

การจำแนกปัจจัยออกเป็น ๙ ชาติก็เพื่อประโยชน์ในการหาอำนาจ ปัจจัยสงเคราะห์
เพราะปัจจัยที่อยู่ในชาติเดียวกันส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมกันเป็นกลุ่ม ๆ ดังนั้น ในการวิเคราะห์หา
อำนาจปัจจัยจึงต้องเริ่มด้วยการพิจารณาว่า จะมีชาติใดเกิดขึ้นได้บ้าง (ปกติจะมีได้มากกว่า ๑ ชาติ)

โดยใช้ลักษณะเฉพาะของแต่ละชาติดังที่กล่าวมาแล้วเป็นตัวตัดสิน เมื่อรู้ชาติของปัจจัยแล้วจึงค่อย
พิจารณาต่อไปว่าในแต่ละชาตินั้นจะมีปัจจัยใดบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยใช้สภาวธรรม หรือ
องค์ธรรมของปัจจัยและปัจจยุบบันของแต่ละปัจจัยเป็นตัวตัดสิน ปัจจัยธรรมหลัก ๒๔ ปัจจัย เมื่อ
แสดงโดยพิสดาร ๕๒ ปัจจัย สงเคราะห์เข้าในกลุ่มปัจจัยธรรม ๙ ชาติได้ดังนี้

๑) สหชาตชาติ มี ๑๕ ปัจจัย คือ

๑.เหตุปัจจัย
๒. สหชาตาธิปติปัจจัย
๓. สหชาตปัจจัย
๔. อัญญมัญญปัจจัย
๕. สหชาตนิสสยปัจจัย
๖. สหชาตกัมมปัจจัย
๗.วิปากปัจจัย
๘.นามอาหารปัจจัย
๙. สหชาตินทรียปัจจัย
๑๐.ฌานปัจจัย
๑๑. มัคคปัจจัย
๑๒. สัมปยุตตปัจจัย
๑๓. สหชาตวิปปยุตตปัจจัย
๑๔. สหชาตัตถิปัจจัย
๑๕. สหชาตอวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2016, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อารัมมณชาติมี ๑๒ ปัจจัย คือ

๑. อารัมมณปัจจัย
๒. อารัมมณาธิปติปัจจัย
๓. วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย
๔. วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๕. อารัมมณูปนิสสยปัจจัย
๖. อารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๗. วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย
๘.วัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๙. อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๐.วัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
๑๑. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๑๒. วัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย

๓. อนันตรชาติ มี ๗ ปัจจัย คือ

๑. อนันตรปัจจัย
๒.สมนันตรปัจจัย
๓. อนันตรูปนิสสยปัจจัย
๔. อาเสวนปัจจัย
๕. อนันตรกัมมปัจจัย
๖. นัตถิปัจจัย
๗. วิคตปัจจัย

๔. วัตถุปุเรชาตชาติมี ๖ ปัจจัย คือ

๑. วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตปัจจัย
๓. วัตถุปุเรชาตินทริยปัจจัย
๔. วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย
๕. วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย
๖. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย

๕. ปัจฉาชาตชาติมี ๔ ปัจจัย คือ


๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
๒. ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย
๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย

๖. อาหารชาติมี ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปอาหารปัจจัย
๒. อาหารัตถิปัจจัย
๓. อาหารอวิคตปัจจัย

๗.รูปชีวิตินทรียชาติ มี ๓ ปัจจัย คือ

๑. รูปชีวิตินทรียปัจจัย
๒. อินทรียัตถิปัจจัย
๓. อินทรียอวิคตปัจจัย

๘. ปกตูปนิสสยชาติมี ๑ ปัจจัย คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย

๙.นานักขณิกกัมมชาติมี ๑ ปัจจัย คือ
นานักขณิกกัมมปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 07:18 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 15:07 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร