วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20191025_150511.jpg
20191025_150511.jpg [ 221.25 KiB | เปิดดู 2777 ครั้ง ]
อุโภ ตณฺหาจริตา สมถปุพฺพงฺคมา วิปสฺสนา นิยฺยนฺติ
ราควิราคาย เจโตวิมุตฺติยา อุโภ ทิฏฺฐิจริตา
วิปสฺสนาปุพฺพงฺคเมสมเถน นืยฺยนฺติ อวิชฺชาวิราคาย ปญฺญาวิมุตฺติยา.

อุโภ ตณฺหาจริยา ตัณหาจริตบุคคลทั้งสอง คือ เนยย บุคคล
และวิปัญจิตัญญูบุคคล เฉพาะตัณหาจริต
นิยฺยนฺติ ย่อมออกจากวัฏฏทุกข์ วิปสฺสนาย ด้วยวิปัสสนา

สมถปุพฺพงฺคมาย ที่มีสมถะเป็นใหญ่หรือนำหน้า
ราควิราคคาย อันมีการละราคะ
เจโตวิมุตฺติยา อันเป็นเจโตวิมุต (เจโตวิมุต หมายถึง สมาธิที่หลุดพ้น
หรือสมาธิที่พ้นจากปฏิปักษ์ธรรม เรียกว่า เจโตวิมุต)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาจริตบุคคล ๒ ประเภทนี้ ตัณหาจริตนี้ออกจากวัฏฏทุกข์
ด้วยการเจริญสมถะแล้วนำสมถะนั้นขึ้นพิจารณา ให้เห็นไตรลักษณ์
อนึ่ง ในย่อหน้าที่ผ่านมาได้พูดถึงสมถะโดยตรง
ตอนนี้ต้องพูดถึงวิปัสสนาบ้าง

อาจมีคนถามว่า ก็ถ้าเจริญวิปัสสนาบุคคลประเภทใด
ควรเจริญและจะเจริญอย่างไร ตอบว่า
ตัณหาจริตบุคคลที่เป็นมันทะก็ดี ที่เป็นอุทัตตะก็ดี
บุคคลเหล่านี้เมื่อจะเจริญวิปัสสนาก็ต้องให้เจริญสมถะเป็นเบื้องหน้าก่อน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สมถปุพฺพงฺคมาย วิปสฺสนาย
คำนี้แสดงว่าวิปัสสนามีสมถะเป็นบาท
คือเจริญสมถะแล้วจึงเจริญวิปัสสนา
แสดงให้เห็นว่าคนประเภทตัณหาจริต

ไม่สามารถเจริญปัญญาโดยได้ คือ
จะต้องเจริญสมถะเพื่อให้สมาธิเกิดก่อน
เราคงเคยได้ยินว่า สมาหิโต ภิกฺขเว ยถา ภูตํ ปชนาติ
เมื่อจิตมีสมาธิแล้วก็จะทำให้เกิดวิปัสสนาง่าย
เพราะฉะนั้น บุคคลที่เป็นตัณหาจริตก็ต้องเจริญสมถะ

เพราะสมถะเป็นปฏิปักษ์กับตัณหาโดยตรง
คือต้องดับตัณหาก่อน แล้วจึงดับอวิชชาด้วยวิปัสสนา
ส่วนสมถะทำหน้าที่ดับตัณหา แล้วใช้วิปัสสนาดับอวิชชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตฺติยา, เจโต โดยทั่วไปแปลว่า จิต
แต่ในที่นี้หมายเอาสมาธิ ดังนั้น
เจโต วิมุตฺติยา จึงได้แก่สมาธิที่หลุดพ้นจากปฏิปักษ์ธรรม
เช่น สมาธิหลุดพ้นจากนิวรณ์ นิวรณ์ถือเป็นปฏิปักษ์

เพราะฉะนั้น สมาธิหลุดพ้นจากปฏิปักษ์ มีนิวรณ์เป็นต้น
เหล่านั้นท่านเรียกว่า เจโตวิมุติ(องค์ธรรมก็คือจิตเตกัคคตา เจตสิก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคำว่า "ราควิราคาย" พึงทราบว่า ราค ก็คือราคะ ตัณหา
แปลว่า สำรอก หรือ ละ ราควิราคาย ในที่นี้แปลว่า
" สำรอกราคะหรือละราคะ "วิราคาย" านแก้เป็น ราคปฺปหายิกา

ประหารหรือหรือละราคะ คำว่าราคะในที่นี้
ถ้าเป็นอริยะมรรคท่านจะนับเอาตั้งแต่อนาคามี
แต่โดยทั่วไปแล้วถ้าพูดถึงราควิราคาย

ท่านจะหมายเอาอรหันตผลสมาธิ ส่วนในที่นี้หมายเอา
อนาคามิผลท่านไม่ได้หมายเอาอรหันตผล เพร่ะว่าอนาคามีนี้ก็ละราคะได้แล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2020, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น ในที่นี้จึงหมายเอา อนาคามิผลสมาธิ เพราะฉะนั้น
ราควิราคาย เจโตวิมุตฺติยา องค์ธรรมก็คือสมาธิที่เกิด
ในอนาคามิผล หรือเรียกอีดอย่างหนึ่งว่า อนาคามิผลสมาธิ
(เจโตวิมุตฺติ ระบุสมาธิ, ราควิราค ระบุอนาคามิผล)

การที่จะกำจัดตัณหาได้จะต้องเป็นพระอนาคามี
อนาคามีนั้น เรียกว่า เจโตวิมุตฺติ อนาคามิผลสมาธิ
เราจะต้องเชื่อมโยงกับบุคคลบัญญัติ ซึ่งมีการจำแนกว่า
ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตตินั้น คำว่า เจโตวิมุตฺติ

ในบุคคลบัญญัติก็หมายเอาบุคคลประเภทนี้
เป็นผู้เจริญวิปัสสนาที่มีสมถะเป็นบาท
และก็เป็นบุคคลประเภทตัณหาจริตด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2020, 04:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อุโต ทิฏฺฐิจริตา วิปสฺสนาปุพฺพงฺคเมน สเมถน นิยฺยนฺติ
ออวิชฺชาวิราคย ปญฺญาวิมุตฺยา.


อุโภ ทิฏฺฐิจริตา บุคคลประเภททิฎฐิจริตสองจำพวก
(วิปัญจิตัญญู และอุคติตัญญู)
นิยฺยนฺติ ย่อมออกจากวัฏฏทุกข์
สมเถน ด้วยสมถะ
วิปสฺสนาปุพฺพงฺคเมน ที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(ทิฏฐิจริตบุคคลต้องเจริญวิปัสสนาก่อนจึงจะได้สมาธิ หมายความว่า
เอาวิปัสสนานี้เป็นบาทจนได้ฌานได้อภิญญา)

อนึ่ง บุคคลแบ่งออกเป็นสองพวก
พวกแรกหมายถึง คนที่ได้อภิญญาแล้ว
ไปเจริญอรหันตผล บุคคลประเภทนี้เป็นเจโตวิมุตติ

ส่วนอีกพวกหนึ่งหมายถึง ผู้ที่เจริญวิปัสสนาแล้ว
ได้ฌานได้อภิญญาทีหลัง บุคคลประเภทนี้เรียกว่าปัญญาวิมุตติ
อวิชฺชาวิราคาย ด้วยปัญญาวิมุตฺติที่สำรอกอวิชชา
หมายถีง ปัญญาที่สามารถละอวิชชาหมายถึงปัญญาของพระอรหันต์
ดังนั้น ปัญญาวิมุตติ ก็คือ ปัญญาที่หลุดพ้นด้วยวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2020, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


นัยที่แสดงการดับตัณหา ด้วยสมถะ ดับอวิชชา ด้วยวิปัสสนา
ละอวิชชาด้วยวิปัสสนา "สจฺเจหิ โยชยิตฺวา" นำตัณหา
และอวิชชาเหล่านั้นมาสังเคราะห์เป็นอริยสัจ โดยนัยเป็นต้น
ว่าในบรรดาอริยสัจสี่นี้สามารถจะจัด ตัณหา อวิชชา
สมถะ วิปัสสนาประเภทไหน เข้าในอริยสัจ ประเภทไหน

คือนัยที่วนเวียนไป อันนี้เขาเรียกว่า นันทิยาวัฏฏนัย
หมายความว่า ถ้าจะสอนให้คนละตัณหา ก็ต้องนำสมถะมาสอน
เพราะสมถะนี้เป็นข้าศึกของตัณหาโดยตรง ส่วนอวิชชานั้น
จะละได้ด้วยวิปัสสนา วิปัสสนาคือปัญญา การที่จะละอวิชชา
จะใช้สมถะละไม่ได้ แต่ต้องละด้วยปัญญา

การสั่งสอนแบบนี้เรียกว่า นันทิยาวัฏฏนัย สรุปง่ายๆ ก็คือ
ถ้าเป็นกรณีบุคคลที่เป็นเนยย และวิปัญจิตัญญู (ทุกฺขา ปฏิปทา)
ให้จับคู่กับนันทิยาวัฏฏนัย ถ้าเป็นอุคฆฏิตัญญู และวิปัญจิตัญญู(สุขา ปฏิปทา)
ให้จับคู่กับสีหวิกกีฬิตนัย ในอรรถกถาบอกว่า การที่ต้องจับคู่แบบนี้

ก็เพราะว่ามันสามารถที่จะแสดงได้สะดวกกว่านัยอื่น
อันนี้คือเหตุผลที่ท่านจับคู่กันให้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2021, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1614934731174.jpg
1614934731174.jpg [ 61.95 KiB | เปิดดู 2072 ครั้ง ]
:b9: :b9: :b9:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 15:06 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร