วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 13:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15135895_1013712845425013_1957089301206507759_n.jpg
15135895_1013712845425013_1957089301206507759_n.jpg [ 120.42 KiB | เปิดดู 7827 ครั้ง ]
คำว่า “ปัจจัย” ในคัมภีร์ปัฏฐาน จึงหมายถึง ธรรมที่สามารถช่วยอุปการะ
เกื้อหนุนแก่ ธรรมอื่น โดยช่วยทำให้ผลธรรมนั้นที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น หรือ
เกิดขึ้นมาแล้วช่วยอุปการะเกื้อหนุน ให้ดำรงอยู่และเจริญขึ้นได้
ได้แก่ ปัจจัยธรรมทั้งหมดในคัมภีร์ปัฏฐาน

อนึ่ง คำว่า “ปัจจัย” กับคำว่า “เหตุ” มักจะมีการนำไปใช้ด้วยกันก็มี
หรือใช้แทนกันก็มี ในคัมภีร์ปัฏฐานความหมายของคำทั้ง สองมีขอบเขตการใช้
ที่แตกต่างกัน สอดคล้องกับที่พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะได้อธิบายความ
แตกต่างของทั้งสองค านั้นดังนี้

ใน เหตุปจฺจโย คำงว่า “เหตุ”และคำว่า “ปัจจัย” มีความหมายไม่เหมือนกัน เหตุเป็นมูล
รากอย่างสำคัญ ปัจจัย เป็นเหตุช่วยเหลือ ข้อนี้อุปมาประหนึ่ง เหตุเหมือนเมล็ด
ปัจจัยเหมือนดินกับ น้ำ ปจฺจโย อุปการโก แปลว่า เป็นเหตุช่วยอุปการะ
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงใช้ เหตุปจฺจ โย อีกประการหนึ่ง
คำว่า “ปจฺจโย” เป็นนามกิริยาบทนั้น เป็นนามภาษาที่เป็นไปตามหลัก ไวยากรณ์

มิใช่เป็นนามปรมัตถ์ เพราะกิริยาบทนี้มีหลายอย่าง เช่น คำว่า โหติ ก็เป็นอาขยาตกิริยา
บท คำว่า กโต ก็เป็นกิตกิริยาบท คำว่า “ปจฺจโย” ก็เป็นนามกิริยาบท ดังนั้น
ในปัจจัย ๒๔ ปัจจัยนี้ ปัจจัยจะเป็นรูปหรือนามก็ตาม คำว่า “ปจฺจโย” นี้ต้องใช้คำ
ว่านามกิริยาบททั้งหมด เพราะมุ่ง หมายถึงนามตามภาษาหลักไวยากรณ์
มิได้มุ่งหมายถึงนามปรมัตถ์แต่ประการใด
ปจฺจโย เป็นนามกิริยาบท แสดงการช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันธรรมโดยความปราศจาก ตัวตน
(ปจฺจโย = อุปการโก โหติ) หมายความว่า การเกิดขึ้น และตั้งอยู่ เจริญขึ้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




0_b7223_4780a03_L.png
0_b7223_4780a03_L.png [ 154.75 KiB | เปิดดู 7463 ครั้ง ]
ของปัจจยุปบันนธรรมนั้น เนื่องด้วยได้รับอุปการะจากปัจจยุปบันธรรมเท่านั้น
มิใช่ปัจจัยธรรมนั้นๆ เป็นตัวตน บุคคล สามารถบังคับบัญชาให้ปัจจยุปบัน
ธรรมเหล่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เจริญขึ้นได้ ดังนี้

หามิได้ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแสดงว่า “เหตุปจฺจโย” หรือ “เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย” มิได้ทรง
แสดงว่า “เหตุชนโก” หรือ “เหตุปจฺจเยนชนโก”

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า “ปัจจัย” มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึง ปัจจัยธร รมหลักทั้ง ๒๔
ในคัมภีร์ปัฏฐาน ส่วน “เหตุ” ใน เหตุปัจจัยนั้นมีความหมายเพียงมูลเหตุ ๖
คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ที่ช่วยอุปการะเกื้อกูลแก่
รูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดพร้อมกับตนเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




venado.png
venado.png [ 61.8 KiB | เปิดดู 7463 ครั้ง ]
องค์ประกอบของปัจจัยธรรม
องค์ธรรมของพระอภิธรรม ๕ อย่าง ๔ คือ (๑) จิต (๒) เจตสิก (๓) รูป (๔) นิพพาน
(๕) บัญญัติ ๕ สามารถนำมาสงเคราะห์เข้าเป็นหมวดธรรมองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆ ได้ ๓ ประการได้แก่

๑. ปัจจัยธรรม คือ สภาวธรรม ๖ ที่เป็นส่วนปัจจัย หรือเหตุธรรม มีวจนัตถะว่า “ปฏิจฺจ
ผล อยติ เอตสฺมาติ ปจฺจโย = ผลธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้ เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ฉะนั้น
ธรรมที่เป็นเหตุนี้ จึงชื่อว่า ปัจจัย” และ “ปฏิจฺจ ผล เอติ คจฺฉติ ปวตฺติ เอตสฺมาติ ปจฺจโย = ผล
ธรรมย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ได้ เพราะอาศัยธรรมที่เป็นเหตุนี้ ฉะนั้น ธรรมที่เป็นเหตุนี้ ชื่อว่า ปัจจัย”

ได้แก่ ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต ๘๙ /๑๒๑, เจตสิก ๕๒, รูป ๒๘, นิพพาน และ บัญญัติธรรม
ทั้งหมด(องค์ประกอบนี้ใช้คำสั้นๆ ว่า “ปัจจัย”)

๒. ปัจจยุบันนธรรม คือ สภาวธรรมที่เป็นส่วน ผลธรรม มีวจนัตถะว่า “ปจฺจยโต
อุปฺปนฺน ปจฺจยุปฺปนฺน = ผลธรรมที่เกิดจากปัจจัย ชื่อว่า ปัจจยุปบัน ”
ได้แก่ สังขตธรรม คือ จิต ๘๙ / ๑๒๑ เจตสิก ๕๒ และรูป ๒๘ เท่านั้น (องค์ประกอบนี้ใช้ค าสั้นๆ ว่า ปัจจยุปบัน)

๓. ปัจจนีกธรรม คือ สภาวธรรมส่วนที่ไม่เป็นปัจจยุบันนธรรม ซึ่งแสดงไว้ด้วยปัจจัย
นั้นๆ มีวจนัตถะว่า ปจฺจยุปฺปนฺสฺส ปติวิรุทฺธ อนีก ปจฺจนิก = หมวดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ
ปัจจยุปบันนธรรม เรียกว่า ปัจจนิก และ “ปจจยุปปนฺเนน ปจฺจติ วิรุชฺฌตีติ ปจฺจนิโก = ธรรมใด
เป็นปฏิปักษ์กันกับปัจจยุปบันนธรรม ฉะนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า ปัจจนิก”ได้แก่ สังขตธรรม คือ
จิต เจตสิก และรูปที่เหลือจากผลธรรมในปัจจัยนั้นๆ (องค์ประกอบนี้ใช้คำสั้นๆ ว่า ปัจจนิก)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




197.png
197.png [ 365.29 KiB | เปิดดู 7463 ครั้ง ]
ในปัฏฐานทั้ง ๒๔ สภาวธรรมที่ไม่สามารถเป็นปัจจยุปบันของปัจจัยใด ๆ ได้ คือ
นิพพานและบัญญัติ ซึ่งเรียกว่า อัปปัจจยธรรม แปลว่า ธรรมที่ไร้ปัจจัย เพราะฉะนั้น ในการเก็บ
เกี่ยวองค์ธรรมของฝ่ายปัจจนีกะก็ไม่มีธรรมดังกล่าว เพราะถือว่าถึงอย่างไรนิพพานและบัญญัตินั้น
ก็เป็น เอกันตอัปปัจจยธรรม คือ ธรรมที่ไร้ปัจจัยโดยสิ้นเชิง จึงไม่จำเป็นต้องน ามากล่าวปฏิเสธในปัจจนีกะอีก๒

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ควรน ามาศึกษาร่วมด้วย และสร้างความเข้าใจ อันจะท า ให้เกิด
ความเข้าใจในสภาพธรรมของแต่ละปัจจัยได้ดีขึ้นได้แก่

๑. อาการ ได้แก่ อาการของปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันนธรรมนั้นเป็นนามธรรมหรือ
รูปธรรมที่อุปการะแก่กัน ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปัจจัย ส่วนที่เป็นปัจจัยธรรม อาจจะมี
ทั้ง รูป นาม หรือ บัญญัติ ส่วนที่เป็นปัจจยุปบันธรรมมีได้เพียงนาม หรือ รูป เท่านั้น

๒. กาลเวลา ในพระอภิธรรม ได้มีการแบ่งช่วงระยะเวลาของชีวิตออกเป็น ๒ ช่วง
คือ (๑) ปฏิสนธิกาล ได้แก่ ช่วงระยะเวลาที่จิตถือปฏิสนธิ หรือ อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต
(๒) ปวัตติกาล ได้แก่ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้น จนถึงฐีติขณะของจุติจิต
และถ้าเป็นภังคักขณะของจิต เรียกว่า จุติกาล (ดูภาพข้างล่าง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2016, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15109519_1011970985599199_7878820833033369718_n.jpg
15109519_1011970985599199_7878820833033369718_n.jpg [ 33.37 KiB | เปิดดู 7870 ครั้ง ]
.
นอกจากนี้ยังแบ่งช่วงระยะเวลาของชีวิตเป็น ๓ กาล คือ อดีตกาล ปัจจุบันกาล และ
อนาคตกาล ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่มีการเกิด ดับได้จึงนับเข้าในกาลเวลาดังกล่าวได้ ธรรม
บางอย่างก็พ้นจากการนับเข้าในกาลเวลา เรียกว่า กาลวิมุติ ได้แก่ นิพพาน และบัญญัติ

๓. สัตติอำนาจหน้าที่ ได้แก่ ชนกสัตติ คือ ทำหน้าที่ช่วยอุปการะทำให้ ปัจจยุปบัน
ธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น อุปถัมภกสัตติ คือ ทำหน้าที่อุปการะให้ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดแล้ว
เจริญขึ้นและตั้งมั่นอยู่ได้ และอนุปาลกสัตติ ทำหน้าที่รักษาปัจจยุปบันไว้โดยสม่ำเสมอ ในแต่ละ
ปัจจัยธรรม บางปัจจัยทำหน้าที่หรือมีสัตติเดียว บางปัจจัยมี ๒ สัตติก็มี

๔. ภูมิที่อยู่ของสรรพสัตว์ ได้แก่ ปัญจโวการภูมิ ๒๖ จตุโวการภูมิ ๔ และเอกโวการภูมิ ๑
๕. ชาติได้แก่ กลุ่มปัจจัยธรรม ๙ กลุ่มชาติ ซึ่งมีส่วนสำคัญทำให้ต้องมีการจำแนก
ปัจจัยธรรมโดยพิสดาร มีข้อกำหนดแตกต่างกัน ท่านโบราณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ปัฏฐานได้
จำแนกปัจจัยธรรมออกเป็น ๙ ชาติ แต่ละชาติมีข้อกำหนดเฉพาะดังนี้

๕.๑ สหชาตชาติ คือ ปัจจัยธรรมกับปัจจยุปบันธรรม เกิดพร้อมกัน
๕.๒ อารัมมณชาติ คือ ปัจจัยธรรมเป็นอารมณ์ให้ปัจจยุปบันธรรม ซึ่งเป็นผู้อารมณ์
๕.๓ อนันตรชาติคือ ปัจจัยธรรมกับปัจจยุปบันธรรม คือ จิต เจตสิก ที่เกิดติดต่อกัน
โดยไม่มีระหว่างคั่น

๕.๔ วัตถุปุเรชาตชาติ คือ ปัจจัยธรรมเป็นวัตถุรูป ๖ ที่เกิดก่อนและกำลังตั้งอยู่
อุปการะแก่ปัจจยุปบันธรรม คือ วิญญาณธาตุ ๗ พร้อมเจตสิกที่ประกอบในปัญจโวการภูมิ
๕.๕ ปัจฉาชาตชาติ คือ ปัจจัยธรรม เป็นนาม คือ จิต เจตสิก ที่เกิดภายหลัง ช่วย
อุปถัมภ์ปัจจยุปบันธรรม คือ รูป ที่เกิดก่อน และกำลังตั้งอยู่ ที่ในปัญจโวการภูมิ

๕.๖ อาหารชาติ คือ ปัจจัยธรรม คือ โอชารูป ที่อุปการะแก่อาหารชรูป และรูปอื่นๆ
๕.๗ รูปชีวิตินทริยชาติ คือ ปัจจัยธรรม คือ ชีวิตรูปช่วยอุปการะแก่กัมมชรูปในกลุ่ม กัมมชกลาปมเดียวกัน
๕.๘ ปกตูปนิสสยชาติ คือ ปัจจยธรรม คือ เหตุธรรมต่างๆ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป ที่มี
กำลังมาก ที่เกิดก่อนๆ และ บัญญัติ เกื้อหนุนปัจจยุปบันธรรม คือ จิต เจตสิก ที่เกิดทีหลัง

๕.๙ นานักขณิกกัมมชาติ คือ ปัจจัยธรรม คือ กุศล อกุศลเจตนาที่สำเร็จแล้วในอดีต
ทำให้เกิดปัจจยุปบันธรรม คือ วิบาก และกัมมชรูป ในต่างขณะกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




www.tvn.hu_b11754a19707a6e6fc4158d382a3d151.png
www.tvn.hu_b11754a19707a6e6fc4158d382a3d151.png [ 187.99 KiB | เปิดดู 7463 ครั้ง ]
๒.๓ วิธีการจำแนกปัจจัยธรรมโดยพิสดาร
คัมภีร์ปัฎฐานได้แบ่งปัจจัยธรรมตามลักษณะหน้าที่ออกเป็น ๒๔ ปัจจัย ซึ่งสามารถ
จำแนกโดยพิสดาร (โดยโบราณาจารย์) ได้เป็น ๔๗ ปัจจัยบ้าง ๔๘ ปัจจัยบ้าง ๕๐ ปัจจัยบ้าง ๕๒
ปัจจัยบ้างหรือ ๕๖ ปัจจัยบ้าง ๒๖ ที่มีจำนวนปัจจัยโดยพิสดารแตกต่างกันเช่นนี้ ก็เนื่องมาจาก

โบราณาจารย์แต่ละท่านมุ่งแสดงรายละเอียดของบางปัจจัยมากน้อยต่างกัน บางท่านต้องการแสดง
ปัจจัยสงเคราะห์ที่มีได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตามลักษณะขององค์ธรรม จึงทำให้มีปัจจัยโดย
พิสดารเป็นจำนวนมากแต่บางท่านได้พยายามรวมปัจจัยที่มีอำนาจเหมือนกันเข้าด้วยกัน จึงทำให้มี
จำนวนปัจจัยโดยพิสดารที่น้อยกว่าอย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระยังคงอยู่ใน ๒๔ ปัจจัยหลักเหมือนกัน
ทั้งหมดและมิได้มีข้อขัดแย้งกันแต่ประการใดเลย

ปัจจัยหลัก ๒๔ ปัจจัยที่ปรากฏในคัมภีร์ปัฏฐาน (บาลีปัจจยุทเทส) สามารถจำแนกเป็น
ปัจจัยย่อยโดยนำหลักจากพระบาลีนิทเทส พระบาลีฆฏนา และพระบาลีปัญหาวาระมาประกอบ
กัน๒๗ ปัจจัยที่สามารถจำแนกได้จึงถูกจำแนกออกตามสมควรแก่สภาวะของปัจจัยนั้นๆ ทำให้เกิด
เป็นปัจจัยโดยพิสดารจำนวนมาก และปัจจัยทั้ง ๒๔ นี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ปัจจัยที่จำแนก
ไม่ได้และปัจจัยที่จำแนกได้

ปัจจัยที่จำแนกไม่ได้มี๑๔ ปัจจัยคือเหตุปัจจัยอารัมมณปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตร
ปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย
มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย

ส่วนปัจจัยที่จำแนกได้มี๑๐ ปัจจัยคือ อธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัยอุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาต
ปัจจัยกัมมปัจจัยอาหารปัจจัยอินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัยอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ดังตาราง
ที่ ๒.๑ แสดงปัจจัยหลัก ๒๔ จ าแนกเป็นปัจจัยพิสดาร ๕๒ ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15036171_1011940735602224_522324957351235050_n.jpg
15036171_1011940735602224_522324957351235050_n.jpg [ 172.9 KiB | เปิดดู 7876 ครั้ง ]
................

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dog run-3.gif
dog run-3.gif [ 75.07 KiB | เปิดดู 7463 ครั้ง ]
การจำแนกปัจจัย ๒๔ เป็นแบบพิสดารนั้นมีการแจกหลายประเภทอาจจำแนกเป็น ๕๐ ก็ได้
โดยนับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย อย่างละ ๖ ปัจจัยย่อย คือ เว้นวัตถารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย
และวัตถารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ออกไป

บางแห่งอาจนับเพียง ๔๗ ปัจจัย
ก็โดยเอาปัจจัย ๕๐ เอาออกอีก ๓ ปัจจัย คือ
(วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย, วัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัย, อนันตรกัมม ปัจจัย)

การที่เอาวัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัยออกไป เพราะถือว่า มีการแสดงธรรมอยู่ใน
อารัมมณาธิปติปัจจัยแล้ว กับเอาวัตถารัมมณปุเรชาตปัจจัยออกไป เพราะถือว่า
แสดงธรรมอยู่ใน อารัมมณปุเรชาตปัจจัยแล้ว และเอาอนันตรกัมมปัจจัยออกไป
เพราะถือว่ามีการแสดงธรรมที่อยู่ใน นานักขณิกกัมมปัจจัยเรียบร้อยแล้ว
ผู้ศึกษาควรพิจารณาเปรียบเทียบเพื่อจะได้มีความเข้าใจ ตรงกัน ไม่เกิดข้อขัดแย้งในภายหลัง

สำหรับงานวิจัยนี้ผู้วิจัยจะใช้ปัจจัยโดยพิสดาร ๕๒ ปัจจัยในการวิเคราะห์ในแต่ละ
ปัจจัยจะประกอบด้วยธรรม๓ ส่วนคือปัจจัยธรรม (หรือเรียกว่าสั้นๆ ว่า ปัจจัย) ปัจจยุปบันนธรรม
(หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปัจจยุปบัน)และปัจจนีกธรรม (หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปัจจนิก)

๒.๔ ลักษณะของปัจจัยธรรมโดยพิสดาร
ปัจจัยธรรมโดยพิสดาร ๕๒ ปัจจัย มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไปการศึกษาให้เกิด
ความเข้าใจจึงต้องพิจารณาจากหลายอย่างได้แก่ ความหมาย และลักษณะอาการรวมทั้งอุปมาอุปมัย
ให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ซึ่งลักษณะของปัจจัยธรรมนี้จะมีความเกี่ยวโยงไปสู่กลุ่มปัจจัยธรรม ๙ ชาติที่
จะได้แสดงสภาวธรรมพร้อมทั้งกาลเวลา สัตติ ภูมิที่เกิดได้ ในลำดัลบต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15326520_1031030573693240_4480768690039213365_n.jpg
15326520_1031030573693240_4480768690039213365_n.jpg [ 108.79 KiB | เปิดดู 7781 ครั้ง ]
๑. เหตุปัจจัย
เหตุปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ เป็นที่ตั้งและเป็นรากแก้วแห่งปัจจยุปบันนธรรม

เหตุปัจจัย เป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่มปัจจัย
ธรรมสหชาตชาติเท่านั้น สหชาตชาติ หมายความว่า ปัจจัยธรรม และปัจจยุปบันนธรรม
นั้นเกิดขึ้น พร้อมกัน

คำว่า “เหตุปัจจัย หรือ เหตุปจฺจโย” หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็น เหตุ
หรือรากเหง้าแห่งสภาวธรรมทั้งหลาย หมายถึง เหตุ ๖ คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
เป็นปัจจัยแก่นามและแก่รูป อันเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งมีหน้าที่หรือสัตติ คือ
ความสามารถในการช่วยเหลือให้สภาวธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้ ดังแสดงในพระบาลี
เหตุปัจจัยนิทเทส ว่า “เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยเหตุและรูปที่มี
ธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐานโดยเหตุปัจจัย”

คำว่า “เหตุ”หมายถึง เหตุพิเศษ หรือ เหตุเฉพาะกิจที่ทำหน้าที่เป็นรากเหง้าแห่ง สภาวธรรมอื่น ๆ
ส่วนคำว่า “ปัจจัย” หมายถึง เหตุทั่วไปหรือเหตุสามัญ แต่เมื่อนำคำ ๒ คำนี้มา เข้าสมาส
เป็นคำเดียวกันเป็น “เหตุปัจจัย” มีความหมายเฉพาะว่า ปัจจัยที่เป็นเหตุ คือ ปัจจัยที่ทำหน้าที่
เกื้อกูลอุดหนุนด้วยการเป็นเหตุหรือเป็นรากเหง้าแห่งสภาวธรรมอื่น ๆ

พระพุทธโฆสะ แสดงอุปมาไว้ว่า ธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุปัจจัยแล้ว ย่อมเป็นธรรมมั่นคงตั้งลงด้วยดี
ดุจต้นไม้ ทั้งหลายที่มีรากงอกงามแล้วก็ตั้งอยู่ด้วยดี ฉะนั้น ส่วนอเหตุกธรรมทั้งหลายเป็นธรรมไม่ตั้งมั่น
ด้วยดี ดุจสาหร่ายทั้งหลาย มีสาหร่ายชนิดติลพีชกะ (สาหร่ายเมล็ดงา) เป็นต้น

มีข้ออุปมาเหตุปัจจัย ดังนี้
เหตุปัจจัย
อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยมีรากแก้วยึดไว้
ให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะมีลมพายุพัดมาทางทิศใดก็ตาม
ก็ไม่ทำให้ต้นไม้นั้นล้มไปได้ และการที่ต้นไม้เจริญงอกงามขึ้น
แตกกิ่งก้านสาขาออกดอกออกผลได้ ก็อาศัยรากแก้วนั้นเอง
มีหน้าที่ช่วยอุดหนุนให้เจริญงอกงามขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15181550_1031051647024466_1432600439052395960_n.jpg
15181550_1031051647024466_1432600439052395960_n.jpg [ 108.42 KiB | เปิดดู 7779 ครั้ง ]
๒ อารัมมณปัจจัย

อารมฺมณปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ เป็นที่ยินดีและยึดหน่วง (อารมฺมณ)
แห่ง ปัจจยุปบันนธรรม

อารัมมณปัจจัยเป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอารัมมณชาติเท่านั้นหมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นทำหน้าที่เป็นอารมณ์
ให้กับจิต เจตสิก ซึ่งเป็นปัจจยุปบันนธรรม

คำว่า “อารัมมณปัจจัย” แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ หมายถึง
อารมณ์ที่เป็นปัจจัยให้การช่วยเหลือเพื่อให้จิต เจตสิก เกิดขึ้นได้ เมื่อว่าโดยลักษณะ
แล้วอารัมมณปัจจัยมีลักษณะเป็นที่ยินดีและยึดหน่วงแห่งปัจจยุปบันนธรรม

คือ จิต เจตสิก อารมณ์ เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นหากไม่มีอารมณ์๖อย่างใดอย่างหนึ่ง
ให้จิตยึดเหนี่ยวแล้วจิตและเจตสิกก็ไม่ อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อจิตขึ้นสู่วิถีก็ต้องเสพอารมณ์
ทำให้เกิดกุศลกรรม อกุศลกรรม เมื่อทำกรรมแล้วก็ ต้องรับผลของกรรมต่อไปชีวิต

ของสัตว์โลกทั้งหลายจึงต้องท่องเที่ยวหมุนเวียนอยู่ในวัฏฏะไม่มีที่ สิ้นสุดก็ด้วยอารมณ์วิถีจิต
และกรรม เหมือนอย่างว่า บุรุษทุรพลจับยึดไม้เท้า หรือว่า เชือกแล้วจึง ลุกขึ้นยืนได้ ฉันใด
ธรรมคือจิตและเจตสิก ก็ฉันนั้น ต้องปรารภอารมณ์มีรูปเป็นต้นจึงเกิดขึ้นและ ตั้งอยู่ได้
เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิกแม้ทั้งหมด

อารัมมณปัจจัยมีขอบเขตสภาวะที่ครอบคลุมไปทั้งปรมัตถธรรมและบัญญัติธรรม
เพราะไม่มีอะไรที่เป็นอารมณ์ไม่ได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในอารัมมณปัจจยนิทเทสสรุป
ตอนท้ายว่า “สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใดๆ ปรารภสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น สภาวธรรมนั้นๆ
เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้นๆ โดยอารัมมณปัจจัย”

ย่อมหมายความถึง จิต เจตสิกไปยึดเอาสิ่งใดเป็นอารมณ์ สิ่งนั้นๆ ย่อมเป็นอารัมมณปัจจัยแก่จิต
เจตสิกได้ทั้งนั้น เมื่อว่า โดยการจัดกลุ่มปัจจัยธรรมก็จะจัดเข้าในอารัมมณชาติตามชื่อปัจจัยนั่นเอง

มีข้ออุปมาอารัมมณปัจจัยไว้ดังนี้
อารัมมณปัจจัย
อุปมาเหมือน บุคคลที่ชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้า
หรือเชือกเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวพอให้ทรงตัวลุกขึ้น หรือเดินไป
ฉันใดจิตเจตสิกทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัย
ยึดเพื่อเกิดขึ้นฉันนั้น อีกประการหนึ่ง

อุปมาเหมือน สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยินดี เช่น สวนดอกไม้ เป็นต้น
คนทั้งหลายย่อมเข้าไปเที่ยว สนุกสนานรื่นเริงกัน ณ ที่นั้นฉันใด
อารมณ์ทั้งหลายก็เปรียบเหมือนสถานที่รื่นรมย์ต่างๆ จิตและเจตสิก
เปรียบเหมือนบุคคลที่เข้าไปสนุกสนานที่นั้นๆ ฉันใด

อุปมาเหมือนโรงมหรสพต่างๆ เมื่อเวลาจะมีการแสดงนั้น
เขาย่อมมีการประกาศโฆษณาชักจูกให้คนเข้าไปดู หรือเมื่อก่อนจะลงมือแสดง
เขาย่อมตีกลองโหมโรงชักชวนให้คนเข้าไป เมื่อคนทั้งหลายที่เดินผ่านไป
ที่โรงมหรสพนั้นได้ประกาศโฆษณา หรือได้ยินกลองโหมโรงก็พากันเข้าไปดู

ข้อนี้ฉันใด อารมณ์ทั้งหลายอันเปรียบได้กับโรงมหรสพนั้น
ก็มีอำนาจที่จะเหนี่ยวจิตและเจตสิกอันเปรียบเหมือนคนเข้าไปดูมหรสพนั้น
เข้าไปจับยึดอยู่ในอารมณ์ต่างๆได้ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




13501879_1031059370357027_6771310674447406624_n.jpg
13501879_1031059370357027_6771310674447406624_n.jpg [ 121.92 KiB | เปิดดู 7778 ครั้ง ]
๓. อธิปติปัจจัย

อธิปติปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี
ความเป็นอธิบดีของปัจจัยธรรม คือ ความเป็นใหญ่ยิ่งเป็นหัวหน้าที่มีอำนาจมากกว่า
ธรรมที่เกิดร่วมกับตนอย่างหนึ่งและเป็นใหญ่ในฐานะอารมณ์ที่ดีที่น่าพอใจเป็นพิเศษ
อย่างหนึ่งในที่นี้อธิปติปัจจัย จำแนกได้เป็น ๓ ปัจจัยย่อย คือ

๑. สหชาตาธิปติปัจจัย ๒. อารัมมณาธิปติ ปัจจัย และ ๓. วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย

(ถ้านับปัจจัย ๒๔ จะเว้น วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย)

มีข้ออุปมาอธิปติปัจจัยไว้ด้งนี้
อธิปติปัจจัย
อุปมาเหมือน ประเทศหนึ่งๆ ต้องมีพระราชาเป็นผู้ปกครองประเทศ
เพียงพระองค์เดียว บุคคลที่เหลือเหล่านั้น ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพระราชาทั้งสิ้น
ข้อนี้ฉันใด องค์ธรรมที่เป็นอธิบดี ก็ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓.๑ สหชาตาธิปติปัจจัย

สหชาตาธิปติปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะนามรูปโดยความเกิดพร้อมกัน
และเป็นใหญ่ยิ่งด้วยเมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
เกิดพร้อมกันด้วย (สหชาต) เป็นใหญ่เป็น อธิบดีด้วย (อธิปติ)

สหชาตาธิปติปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม สหชาตชาติเพราะทั้งปัจจัยธรรม
และปัจจยุปบันนธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน

คำว่า อธิปติปัจจัย แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี หมายถึง
สภาวธรรมที่เป็นใหญ่ในการคุ้มครองสภาวธรรมอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับตน
สภาวธรรมที่ ทำหน้าที่อุปการะแก่ธรรมเหล่าอื่น โดยการเป็นใหญ่ในธรรมเหล่านั้นดุจพระเจ้าจักรพรรดิ
ผู้เป็น หนึ่งในปฐพี บุคคลที่เหลือเหล่านั้นต้องอยู่ภายใต้อำฝนาจของพระองค์ทั้งสิ้น

เมื่อพิจารณาโดยลักษณะแล้วจะเห็นได้ว่า ปัจจัยธรรมคือ อธิบดีทั้ง ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดพร้อมกันด้วย เป็นอธิบดีด้วย นั่นคือ สามารถชักนำธรรมที่เกิดร่วมกับตนให้น้อมนำไปตาม
อำนาจของตนได้ จึงเรียกว่า สหชาตาธิปติ อธิบดีทั้ง ๔ จะเกิดพร้อมกันไม่ได้
จะเกิดได้ทีละอย่าง เท่านั้น ดังนั้นในบาลีอธิปติปัจจยนิทเทสจึงแสดงเป็น ๔ ข้อ คือ

(๑) ฉันทาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยฉันทะและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยฉันทะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
(๒) วิริยาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยะและรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุต ด้วยวิริยะนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย

(๓) จิตตาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปที่มีธรรมอันสัมปยุต
ด้วยจิตนั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย
(๔) วิมังสาธิบดีเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปที่มีธรรมอัน
สัมปยุตด้วยวิมังสานั้นเป็นสมุฏฐานโดยอธิปติปัจจัย

เมื่อพิจารณาโดยชาติแล้วก็จัดเข้าในสหชาตชาติ เนื่องด้วย อธิบดี ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง
จะช่วยอุปการะแก่ปัจจยุปบันนธรรมที่เกิดพร้อมกันเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓.๒ อารัมมณาธิปติปัจจัย

อารัมมณาธิปติปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์โดยความเป็น
อารมณ์ที่เป็นใหญ่น่าใฝ่ใจยิ่ง เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ
เป็นที่ยินดี และยึดหน่วงด้วย (อารมฺมณ) เป็นใหญ่เป็นอธิบดีด้วย (อธิปติ)

อารัมมณาธิปติปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติ
เพราะปัจจัยธรรมนั้นทำ หน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

อารมณ์ ๖ มีอยู่๒ ประเภท คือ อารมณ์ธรรมดาสามัญอย่างหนึ่ง กับอารมณ์ที่เป็น
อธิบดีซึ่งเป็นอารมณ์ที่ดียิ่ง มีอำนาจทำให้นามธรรม คือ จิตและเจตสิกน้อมไปสู่อารมณ์นั้น
และยึดอารมณ์นั้นไว้อย่างหนักหน่วงเช่น เห็นรูปสวยๆทำให้เกิดความพอใจอย่างยิ่ง

ในรูปนั้นจึงนึกถึงรูป นั้นอย่างหนักหน่วงคือ นึกถึงบ่อยๆเป็นพิเศษ
ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยหรือ พระนิพพาน ซึ่งเป็น อารมณ์ที่ดียิ่งและเป็นปัจจัย
แก่มรรคจิต ผลจิต ก็เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัย

ในอารัมมณาธิปติปัจจัย มุ่งหมายเอาเฉพาะ แต่อารมณ์ที่เป็นอธิบดี ซึ่งเป็นอารมณ์ชนิดพิเศษ
มีอำนาจแรงมาก สามารถทำให้ นามธรรม คือ จิตและเจตสิกน้อมไปสู่อารมณ์นั้นๆ
และเข้ายึดอารมณ์นั้นๆ ไว้อย่างหนักหน่วง เรียกว่า อารัมมณาธิปติ และอารมณ์ที่เป็นอารัมมณาธิปติได้นี้
ก็ต้องเป็นอารมณ์ชนิด อิฏฐารมณ์ คือ เป็นอารมณ์ที่น่ายินดีน่าปรารถนาอิฏฐารมณ์นี้ก็ยังแบ่งออก
เป็น ๒ ประเภทอีก คือ สภาวอิฏฐารมณ์ และปริกัปปอิฏฐารมณ์

(๑) สภาวอิฏฐารมณ์ หมายถึง อารมณ์ที่น่ายินดีโดยธรรมชาติ หรือโดยสภาวะ ได้แก่
รูป เสียง กลิ่น รส ที่ดีเหล่านี้เป็นต้น
(๒) ปริกัปปอิฏฐารมณ์ หมายถึง อารมณ์อันเป็นที่ยินดีที่ชอบใจเฉพาะส่วนตัว ไม่ใช่ทั่วไป หรือ
อารมณ์ชนิดนี้ไม่ใช่อารมณ์ที่น่ายินดีโดยธรรมชาติ ซึ่งบุคคลส่วนมากไม่ ปรารถนา แต่ว่าเป็นอารมณ์
ที่เป็นที่น่ารักน่ายินดีของบุคคลหรือสัตว์บางพวกเท่านั้นอารมณ์ทั้ง ๒ คือ

สภาวอิฏฐารมณ์ก็ดี หรือปริกัปปอิฏฐารมณ์ก็ดี เมื่อสามารถยัง นามธรรมให้เกิดได้โดยอาการยึดหน่วง
เป็นพิเศษดังกล่าวมาแล้วนั้น ก็ได้ชื่อว่า เป็นอารัมมณาธิปติ ปัจจัยเมื่อพิจารณาโดยลักษณะก็จะพบว่า
เป็นอารมณ์ คือ ความเป็นที่ยินดีและยึดหน่วงของ จิตเจตสิก และเป็นอธิบดี คือ
มีความเป็นอิฏฐารมณ์สิ่งที่น่าใฝ่ใจอย่างหนักแน่นยิ่งนัก

ดังแสดงใน อธิปติปัจจยนิทเทสว่า “สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใดๆ ทำสภาวธรรมใดๆ
ให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นเกิดขึ้น สภาวธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกนั้นๆ
โดยอธิปติ ปัจจัย” จัดเข้าในกลุ่มอารัมมณชาติเนื่องจากเป็นอารมณ์ให้จิต เจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2016, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๓.๓ วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย

วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย หมายถึง สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะแก่นามขันธ์โดย
ความเป็นวัตถุซึ่งเป็นอารมณ์ที่เกิดก่อนที่เป็นใหญ่น่าใฝ่ใจยิ่ง

เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะ ๓ อย่าง คือ เป็นวัตถุที่อาศัยของจิต (วตฺถุ) เป็นที่ยินดี
และยึดหน่วงด้วย (อารมฺมณ) เป็นใหญ่เป็นอธิบดีด้วย (อธิปติ)

วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย จัดอยู่ในกลุ่มปัจจัยธรรม อารัมมณชาติเพราะปัจจัย
ธรรมนั้นทำหน้าที่เป็นอารมณ์ให้กับปัจจยุปบันนธรรม

วัตถารัมมณปุเรชาตาธิปติปัจจัย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในอธิปติปัจจัย ปัจจัยนี้บางอาจารย์
ก็กล่าวรวมไปกับอารัมมณาธิปติปัจจัย เพราะเป็นประเภทอารมณ์ดียิ่งด้วยกัน

แต่ที่ยกมาแสดงก็ เพราะองค์ธรรมยังมีส่วนเหลือที่แสดงได้
และเพื่อให้การแสดงปัญหาวาระนั้นสมบูรณ์ พระพุทธองค์ จึงทรงนำมาแสดง
การเอาหทยวัตถุที่เกิดก่อนเป็นอารมณ์อย่างแรงกล้า ท่านเปรียบ
ว่าเหมือนกับคนที่อาศัย คือ บ้านของตนที่รักมาก เป็นอารมณ์อย่างแรงกล้า ทำให้เกิดโลภจิต

ในเวลาใกล้จะตาย เพราะความรักความห่วงใยในบ้านตายแล้ว
จึงไปเกิดในอบายด้วยอำนาจของ โลภมูลจิต

อธิปติปัจจัยทั้ง ๓ ปัจจัยย่อย แม้จะมีลักษณะหรืออยู่ในกลุ่มชาติแตกต่างกัน
แต่ก็มี ความเสมอกันในเรื่องการท าหน้าที่ กล่าวคือ ทำหน้าที่ได้ทั้ง ๒ สัตติ คือ
ชนกสัตติและอุปถัมภก สัตติเหมือนกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2016, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1480635124396.jpg
1480635124396.jpg [ 122.46 KiB | เปิดดู 7784 ครั้ง ]
๔. อนันตรปัจจัย

อนนฺตรปจฺจโย สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
เมื่อว่าโดยลักษณะ มีลักษณะอย่างเดียว คือ ให้เกิดติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น
เสมือนหนึ่งเป็นจิตดวงเดียวกัน (อนนฺตร)

อนันตรปัจจัย เป็นปัจจัยธรรมที่ไม่มีการแบ่งแยกเป็นปัจจัยย่อย เพราะจัดเข้าในกลุ่ม
ปัจจัยธรรมอนันตรชาติเท่านั้น หมายความว่า ปัจจัยธรรมนั้นช่วยอุปการะให้ปัจจยุปบันนธรรมเกิด
ต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น

คำว่า “อนันตรปัจจัย ” แปลว่า สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มี
ระหว่างคั่น หมายถึง สภาวธรรมที่มีความสามารถทำให้ธรรมอื่นที่เป็น เช่นเดียวกันกับตนเกิดขึ้น
ในระยะถัดจากตน ได้แก่ นามขันธ์ที่กำลังดับ กล่าวคือเมื่อนามขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งดับลง ก็จะ
เปิดโอกาส ให้นามขันธ์ดวงใหม่เกิดขึ้นแทน ท่านอุปมาเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช

เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้อยู่ครองราชสมบัติแล้ว โอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ
นั้นก็ครองราชสมบัติสืบต่อแทนทันที และการสืบต่อนี้ ก็ต้องได้แก่ ราชโอรสองค์ที่ ๑ ก่อน จะข้าม
ไปได้แก่ โอรสองค์ที่ ๒ หรือองค์ที่ ๓ นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่อเมื่อโอรสองค์ที่ ๑ ไม่ได้ครองแล้ว
องค์ที่ ๒ จึงจะรับสืบต่อได้ตามลำดับกันไปดังนี้

ข้ออุปมานี้ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิซึ่งสละ ราชสมบัตินั้นก็เปรียบได้แก่ จิตดวงแรกที่เกิดขึ้นนั่นเอง
เมื่อตอนสละราชสมบัตินั้นก็เปรียบเหมือนจิตดวงแรกที่ดับไป พระราชโอรสที่รับราชสมบัติเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิแทนนั้นก็เปรียบได้แก่ จิตดวงที่ ๒ ที่เกิดขึ้นสืบต่อจากจิตดวงแรกที่ดับไปแล้ว
และการที่พระราชโอรสต้องรับสืบราชสมบัติกันตามลำดับนั้น

ก็เปรียบได้แก่ จิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันตามลำดับของตนๆ
อนันตรปัจจัย เมื่อพิจารณาโดยลักษณะ เป็นนามขันธ์ คือ จิตเจตสิกที่เกิดติดต่อกันทันที
จิตและเจตสิกที่เกิดก่อนเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่นามธรรม คือ จิตและเจตสิกที่เกิดทีหลัง
ให้เกิดขึ้นสืบต่อกันโดยไม่ว่างเว้น คือ ไม่มีระหว่างคั่นเลย หมายความว่า จิตตุปบาท คือ จิตและเจตสิก

อันมีสภาพเกิดดับอยู่ทุกขณะนั้น เมื่อดวงแรกเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป และในการดับไปนี้ ก็ยังมีอำนาจที่
ช่วยอุดหนุนให้แก่ธรรมที่เป็นพวกเดียวกันกับตน อันได้แก่ จิต ตุปบาท คือ จิต ดวงหลังพร้อมด้วย
เจตสิกให้เกิดขึ้นแทนสืบต่อกันไปอีก เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไปโดยหาระหว่างคั่นมิได้

ดังในอนันตรปัจจยนิทเทสสรุปตอนท้ายว่า “สภาวธรรมที่เป็นจิตและเจตสิกใดๆ
เกิดขึ้นในลำดับแห่งสภาวธรรมใดๆ สภาวธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็น จิต
และเจตสิกนั้นๆ โดยอนันตรปัจจัย”จัดเข้าในอนันตรชาติตามลักษณะของชื่อปัจจัยนั่นเอง

มีข้ออุปมาอนันตรชาติไว้ดังนี้
อนันตรปัจจัย

อุปมาเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ
ที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ
ไม่ได้อยู่ครองราชย์สมบัติแล้ว โอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น
ก็ครองราชย์สมบัติแทนทันที และการสืบต่อราชสมบัตินี้ ก็ต้องได้แก่
โอรสองค์ที่ ๑ ก่อน จะข้ามไปให้แก่โอรสองค์ที่ ๒ หรือองค์ที่ ๓
นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่อเมื่อโอรสองค์ที่ ๑ ไม่ได้ครองแล้ว
องค์ที่ ๒ จึงจะรับสืบต่อได้ตามลำดับกันไป ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร