วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2018, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats (1).jpg
cats (1).jpg [ 36.37 KiB | เปิดดู 2596 ครั้ง ]
องค์ธรรมของทุกขอริยสัจจ์

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ได้แก่ โลกียจิต ๘๑, เจตสิก ๕๑(เว้นโลภเจตสิก ๑)
รูป ๒๘ รวมเป็นธรรม ๑๖๐

ตามนัยพระสูตร ทุกขอริยสัจได้แก่

๑) ชาติทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะมีความเกิดในภพใหม่นั้นเป็นลักษณะ
๒) ชราทุกข์ ความแก่ชราเป็นทุกข์ เพราะความเสื่อมหรือความหง่อมคร่ำคร่าเป็นลักษณะ
๓) มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ เพราะมีการจุติหรือเคลื่อนไปเป็นลักษณะ
๔) โสกทุกข์ ความโศกเศร้าเป็นทุกข์ เพราะมีการแผดเผาจิตให้เร่าร้อนด้วยกิเลสเป็นลักษณะ
๕) ปริเทวทุกข์ การบ่นพร่ำรำพันเป็นทุกข์ เพราะมีการร่ำไรพร่ำบ่นเป็นละกษณะ
๖) ทุกขทุกข์ ความไม่สบายกายเป็นทุกข์ เพราะมีการไม่แข็งแรงหนือไม่สะดวกไม่แคล่วคลาองเป็นลักษณะ
ทุกข์นี้ได้แก่ทุกขเวทนา อันมีชื่อเรียกว่าทุกขทุกข์ ที่มีชื่อเรียกว่าทุกขทุกข์นี้เมื่อกล่าวโดยสภาพแล้ว ก็เป็นสภาพทุกข์ เมื่อกล่าวโดยชื่อก็เป็นทุกข์
๗)โทมนัสทุกข์ ความเสียใจเป็นทุกข์ มีการน้อยใจกลุ้มใจ เป็นลักษณะ
๘) อุปายาสทุกข์ ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เพราะมีคับแค้นแน่นอกเป็นลักษณะ

เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันในระหว่าง โสก ปริเทวะ อุปายาสะ จึงมีข้ออุปมาดังนี้ว่า
น้ำมันที่อยู่ในกะทะซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟที่ร้อนจัดจนน้ำมันเดือดความเดือดของน้ำมันนั้น อุปมาเหมือนโสกะ
เดือดพล่านจนน้ำมันล้นกระทะออกมา อุปมาดัง ปริเทวะ คือความเศร้าโศกนั้นเพิ่มพูนมากขึ้น จนล้นออกมาทางปากถึงกับบ่นเพ้อรำพันไปพลาง ร้องให้ไปพลาง
น้ำมันที่เดือดพล่านจนล้นปากกระทะออกมานั้นกลับไม่ล้น เพราะงวดแห้งลงไป จนไม่ล้นออกมาอีกเลย อุปมาดัง อุปายาสะ

๙) อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข การสูญเสียสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ เพราะมีการประสบกับอารมณ์ที่ไม่ต้องการ เป็นลักษณะ
๑๐) ปิเยหิ วิปปโยโค ทุกโข การสูญเสียสิ่งที่รักเป็นทุกข์ เพราะมีการพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นลักษณะ
๑๑) ยัมปิจฉัง นลภติ ตัมปิ ทุกขัง ความไม่สมหวังดังมี่ปรารถนาเป็นทุกข์ เพราะมีการอบากได้วัตถุที่ควรได้เป็นลักษณะ
๑๒) สังขิตเตน ปัญจุปสทานักขันธา ทุกขา รวมยอดสรุปว่า อุปสทานขันธ์ ๕ นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ เป็นเหตุให้ทุกข์ทั้ง ๑๑ ประการดังที่กล่าวแล้วนั้นอาศัยเกิด ถ้าไม่มีขันธ์เลย ทุกข์ก็ไม่รู้ว่าจะอาศัยเกิดที่ไหนได้
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2018, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เมืีออุปาทานขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณที่เป็นทุกข์
ดังนั้นผู้ที่ยินดีใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ชื่อว่ายินดีในทุกข์
ชอบก็ชื่อว่าชอบทุกข์ รักก็รักทุกข์ แสวงหาก็แสวงหาในทุกข์
เพราะว่าเป็นไปเสียเช่นนี้ จึงไม่พ้นทุกข์ไปได้เลย

สมคำที่ว่า ผู้ใดชอบทุกข์ ผู้นั่นไม่พ้นทุกข์ ผู้ใดไม่ชอบทุกข์ ผู้นั้นไม่พ้นทุกข์

และเพราะเหตุว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จึงจัดเข้าขันธ์ ๕ เป็นมาร ๑ ในจำนวนมารทั้ง ๕
เลยขอถือโอกาสกล่าวถึงมาร ๕ ซะเลย

มารมีความหมายว่า เป็นผู้ทำให้ตาย มี ๕ จำพวก

๑) ขันธมาร ขันธ์นั้นเป็นทุกข์ ทุกข์นั้นทำให้ตายจากความสุข ตายจากความสำราญ
๒) กิเลสมาร กิเลสนั่นเป็นเครื่องหมายเร่าร้อน ความเศร้าหมองทำให้ตายจากความผ่องใส
๓) อภิสังขารมาร สภาพผู้ตกแต่งยิ่ง คือเกินพอดี ตกแต่งเกินไปก็ทำให้ตายจากอมตธรรม
๔) มัจจุมาร ตายในขณะที่จะกระทำหนิอกำลังกระทำความดี ถ้าตายจากกระทำดีแล้วไม่นับ
๕) เทวบุตรมาร เทวดามีความริษยา กีดขวาง เหนี่ยวร้ัง ให้คงอยู่ในโลกโลกียะทำให้ตายจากโลกุตระ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในทุกขอริยสัจ บางท่านก็เรียกว่า ทุกขสัจจะ
คำว่า ทุกข์ ตามพยัญชนะคือตามศัพท์ แปลว่า ทนได้ยาก ความลำบาก
ความชั่วร้าย ความเดือดร้อน ความวิบัติ ในทางธรรมที่มีใช้และมีอรรถ
มีความหมายเป็นหลายนัย เช่น ทุกขเวทนา ทุกสภาวะ ทุกขขลักษณะ
และทุกขสัจ นี้เป็นต้น

ทุกขเวทนา มีความหมายว่าทนได้ยาก ลำบาก เดือดร้อน เพราะได้
ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ชอบ เป็นทุกข์จากการที่เสวยอารมณ์ทางกาย
หรือทางใจ ทุกขเวทนานี้บุคคลใดๆ ก็รู้สึกได้ เพราะต้องพบเห็นอยู่เนืองๆ
อันเป็นรู้ด้วยประสบการณ์ รู้ได้โดยไม่ต้องมีความรู้อะไรพิเศษแต่ประการใด

ทุกขสภาวะ และ ทุกลักษณะ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกันว่าเป็นสภาพ
ที่ทนอยู่ไม่ได้ต้องวิบัติเสื่อมสลายไป อาการที่ทนอยู่ไม่ได้นี้ เรียกว่า
ทุกขัง อันว่าสิ่งที่ทนอยู่ไม่ได้ ต้องแตกดับไปสิ่งนี้นก็ไม่เที่ยงเพราะไม่ยั่งยืน
อยู่ตลอดกาลอากาลที่ไม่เที่ยงนี้จึงเรียกว่าเป็นนิจจัง ก็สิ่งที่ไม่เที่ยงนี้
แม้จะขอร้องอ้อนวอน หรือกระทำอย่างใด ๆ ให้เที่ยง ให้ตั้งอยู่ตลอดไป
ไม่ให้แตกดับ ก็ไม่ได้เลย เรียกว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะบังคับบัญชาว่ากล่าวได้
จึงได้ชื่อว่าเป็นอนัตตา รวมความว่า ทุกขสภาวะ ทุกขลักษณะ นี้
จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยการเจริญภาวนาถึงขั้นวิปัสสนาปัญญา

ส่วนทุกขอริยสัจ หรือ ทุกขสัจ เป็นทุกข์ที่พระอริยะได้เห็นแจ้งในปริวัฏ ๓
ได้แก่ สัจจญาณ รู้ว่าทุกขนี้มีจริง กิจจญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เป็นสิ่งที่ควรรู้
กตญาณ รู้ว่าทุกข์นี้เราควรได้กำหนดจนรู้แล้ว อันเป็นการรู้แจ้งเห็นจริง
ด้วยการเจริญภาวนาจนถึงขั้นโลกุตรปัญญา
(ปริวัฏ ๓ และอาการ ๑๒)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขอริยสัจตามนัยของพระอภิธรรมก็ได้แก่ธรรม ๑๖๐ คือ

ก. โลกียจิต ๘๑ ส่วนโลกุตตรจิต ๘ ดวงนี้นไม่ใช่ทุกขอริยสัจ เพราะกล่าวโดยจิตโดยโลกุตตรจิต อันเป็นจิตที่เหมาะสมแก่บุคคลที่ยังข้องอยู่
ในโลกทั้ง ๓ กล่าวโดยอารมณ์โลกุตตรจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์ที่เป็นโลกียอีกด้วย

ข. เจตสิก ๕๑ หมายเอาเฉพาะเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิตเท่านั้น
ส่วนโลภเจตสิกอีก ๑ ดวง ไม่ใช่ทุกขสัจ เพราะเป็นสัจจะอย่างอื่น คือเป็นสมุทยสัจ

ค. รูป ๒๘ คือรูปทั้งหมด แต่ก็หมายเอาโดยเฉพาะรูปที่เกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งมีชีวิต
สิ่งที่มีวิญญาณ อันมีชื่อว่า อินทร่ยพีทธรูป แปลตามศัพท์ว่ารูปที่เนื่องด้วยอินทรีย์

ทุกขอริยสัจ ตามนัยพระสูตร ได้แก่อาการทุกข์ ๑๑ ประการ

ถ้านับข้อสรุปที่ว่า ขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์นั้นด้วย ก็เป็นทุกข์ ๑๒ ประการ
ทุกข์เหล่านี้เป็นอาการของ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง เช่น ความเกิดเป็นทุกข์
ความเกิดก็คือการปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่แห่งปฏิสนธิจิต
เจตสิกที่ประกอบและกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกัน ส่วนทุกข์อย่างอื่นมี ชรา
มรณะ เป็นต้น ก็เป็นอาการของ จิต เจตสิก รูป หรือเป็นอาการของขันธ์ ๕
ทำนองเดียวกันนัันเอง

อนึ่งทุกขอริยสัจนี้กล่าวถึงปรมัตถธรรมเพียง ๓ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น
ปรมัตถธรรมอีกประการหนึ่งคือพระนิพพาน หาได้กล่าวถึงไม่ เพราะนิพพาน
ไม่ใช่ทุกขสัจ แต่เป็นสัจจะ คือ นิโรธสัจจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร