วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2018, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (3).png
unnamed (3).png [ 140.07 KiB | เปิดดู 2246 ครั้ง ]
นิโรธอริยสัจ เป็นสัจจะที่ ๓ บางทีก็เรียกว่า นิโรธสัจ หรือ ทุกขนิโรธอริยสัจจะ
ซึ่งมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน

นิโรธ แปลว่า ดับ ดังนั้นคำว่า ทุกขนิโรธ ก็คือ ทุกขดับ และในที่นี้ความหมายต่อไปอีกว่า
ทุกข์ที่ดับนั้น ดับเลย ดับสนิท ดับสิ้น จนไม่มีเศษเหลือยู่อีกแม่แต่เล็กน้อย
เมื่อดับสนิทจนไม่มีเหลือแล้ว เชื่อที่จะก่อให้ทุกข์เกิดขึ้นได้อีกก็ไม่มี
ทุกข์นั้นจึงไม่โอกาสที่จะเกิดขึีนมาอีกได้เลย เังนัีนนิโรธสัจจึงหมายถึงนิพพาน
พระนิพพานเป็นที่เับสิ่นแห่งตัณหาืตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์
เมื่อดับตัณหาอันเป็นเหตุลงได้แล้ว ผลคือทุกข์อันเป็นปลายเหตุก็มีไม่ได้อยู่เอง
เพราะผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อสิ้นทุกข์ ก็ถึงซึ่งความสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อีกนัยหนึ่งแสดงว่า นิโรธ หมายถึง พระนิพพาน
ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่งที่ดับอย่างสนืทสนม ดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับ
ไม่กลับมาก่อเกิดอีก ดับแบบนี้แหละ เรียกว่าพระนิพพาน

ดับกิเลส เรียกว่ากิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกว่าขันธ์นิพพาน
ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้วเป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคารเรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง
น่าสบายใจ เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพพานํ ปรมํ สูญญํ
พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลส
ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จึงเป็นปัญหาต่อไปอีกว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน
เพราะนิพพานไม่มีการเสวยอารมณ์

ใน พระสุตตันตไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวยอารมณ์นั้นแหละ
เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือทุกข์ทุกข์นั่นเอง



เดี๋ยวมาต่อ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร