ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

นิโรธอริยสัจจ์
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=55194
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 ม.ค. 2018, 05:06 ]
หัวข้อกระทู้:  นิโรธอริยสัจจ์

นิโรธอริยสัจ เป็นสัจจะที่ ๓ บางทีก็เรียกว่า นิโรธสัจ หรือ ทุกขนิโรธอริยสัจจะ
ซึ่งมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน

นิโรธ แปลว่า ดับ ดังนั้นคำว่า ทุกขนิโรธ ก็คือ ทุกขดับ และในที่นี้ความหมายต่อไปอีกว่า
ทุกข์ที่ดับนั้น ดับเลย ดับสนิท ดับสิ้น จนไม่มีเศษเหลือยู่อีกแม่แต่เล็กน้อย
เมื่อดับสนิทจนไม่มีเหลือแล้ว เชื่อที่จะก่อให้ทุกข์เกิดขึ้นได้อีกก็ไม่มี
ทุกข์นั้นจึงไม่โอกาสที่จะเกิดขึีนมาอีกได้เลย เังนัีนนิโรธสัจจึงหมายถึงนิพพาน
พระนิพพานเป็นที่เับสิ่นแห่งตัณหาืตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์
เมื่อดับตัณหาอันเป็นเหตุลงได้แล้ว ผลคือทุกข์อันเป็นปลายเหตุก็มีไม่ได้อยู่เอง
เพราะผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อเหตุดับผลก็ดับ เมื่อสิ้นทุกข์ ก็ถึงซึ่งความสุข

ไฟล์แนป:
unnamed (3).png
unnamed (3).png [ 140.07 KiB | เปิดดู 2242 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 ม.ค. 2018, 07:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: นิโรธอริยสัจจ์

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า นิโรธ หมายถึง พระนิพพาน
ซึ่งเป็นความดับอย่างหนึ่งที่ดับอย่างสนืทสนม ดับจริงดับจัง ดับแล้วเป็นดับ
ไม่กลับมาก่อเกิดอีก ดับแบบนี้แหละ เรียกว่าพระนิพพาน

ดับกิเลส เรียกว่ากิเลสนิพพาน ดับขันธ์ เรียกว่าขันธ์นิพพาน
ขันธ์ที่หมดกิเลสแล้วเป็นขันธ์เปล่า ดุจดังสูญญาคารเรือนเปล่า ไม่มีอะไรรกรุงรัง
น่าสบายใจ เพราะเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า นิพพานํ ปรมํ สูญญํ
พระนิพพานเปล่าอย่างยิ่ง หมายถึงความว่างเปล่าจากกิเลส เมื่อขันธ์เปล่าจากกิเลส
ไม่มีกิเลสแล้ว ก็เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสุขพิเศษนอกจากสุขเวทนา
เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

จึงเป็นปัญหาต่อไปอีกว่า สุขจะมีได้อย่างไรในพระนิพพาน
เพราะนิพพานไม่มีการเสวยอารมณ์

ใน พระสุตตันตไตรปิฎก เล่ม ๒๓ ข้อ ๒๒๕ แก้ไว้ว่า ความที่ไม่เสวยอารมณ์นั้นแหละ
เป็นความสุขที่แท้จริง เป็นสุขอย่างยิ่ง เพราะสุขที่เสวยอารมณ์นั้น เป็นสุขที่ไม่เที่ยง ก็คือทุกข์ทุกข์นั่นเอง



เดี๋ยวมาต่อ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/