วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Image-8060.jpg
Image-8060.jpg [ 299.6 KiB | เปิดดู 2127 ครั้ง ]
กรรม คือ การกระทำ ดังมีวจนัตถะว่า
กรณํ=กมฺมํ แปลว่า การกระทำ ชื่อว่า กรรม
อีกนัยหนึ่ง กโรยติ เอเตนาติ = กมฺมํ
แปลความว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสำเร็จการกระทำโดยอาศัยธรรมชาติใด
ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้สำเร็จการกระทำนั้น ชื่อว่า"กรรม" ได้แก่เจตนาเจตสิก
ที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ และโลกียกุศลจิต ๑๗ ดังอรรถกถาอัฏฐสาลินีแสดงว่า
เจตนาหํ ภิกขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา
แปลความว่า ดูก่อนถิกษุทั้งหลายเรา(ตถาคต)กล่าวว่า เจตนานั่นแหละ
เป็นกรรม เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมทำกรรมทางกาย, ทางวาจา,ทางใจ
หมายความว่า การกระทำที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ ในทางไม่ดีแล้ว เมื่อ
กล่าวโดยสภาวธรรม ย่อมได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบด้วยอกุศลจิต ๑๒ ชื่อว่า
เป็นผู้กระทำ"อกุศลกรรม" และการกระทำที่เกี่ยวด้วยกาย วาจา ใจ ในทางดี
คือเจตนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียกุศลจิต ๑๗ ชื่อว่า เป็นการกระทำ "กุศลกรรม"

ส่วนเจตนาเจตนาเจตสิก ในวิบาก ๓๖ ก็ไม่ชื่อว่ากรรม เพราะเป็นผลของกรรม
เจตนาเจตสิกที่ประกอบในกิริยาจิต ๒๐ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นตัวกรรม เพราะกิริยาจิตนั้น
เป็นจิตที่สักแต่ว่า กระทำไม่เป็นบุญเป็นบาป อันก่อให้เกิดผลขึ้นมาได้
ฉะนั้น เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ และโลกียกุศลจิต ๑๗ ดวงนั้น ที่ชื่อว่ากรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2018, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20180904_110900.jpg
20180904_110900.jpg [ 162.81 KiB | เปิดดู 2107 ครั้ง ]
กรรมที่ทำให้รูปเกิดได้ ได้แก่ กรรม ๒๕ คือ
เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รวมเป็น ๒๕
จิตที่ทำให้รูปเกิดขึ้นได้ ได้แก่จิต ๗๕ (เว้นทวิปัญญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูปวิบากจิต ๔ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย และจุติของพระอรหันต์) เจตสิก ๕๒ ที่ในปัจจุบันภพ นับตั้งแต่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์ที่ต่อจากปฏิสนธิจิต
อุตุที่ทำให้รูปเกิดได้ ได้แก่ สีตเตโช อุณหเตโช ที่อยู่ภายในสัตว์และภายนอกสัตว์
อาหารที่ทำให้รูปเกิดขึ้นได้ ได้แก่ โอชา ที่อยู่ในอาหารต่างๆ

ส่วนกรรมที่ไม่สามารถทำให้รูปเกิดได้นั้น ได้แก่ อรูปกุศลกรรม ๔ โลกุตตรกุศลกรรม ๔
เพราะว่าอรูปกุศลกรรม ๔ เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญกรรมฐานชนิดรูป วิราคภาวนา คือการปราศจากความยินดีในรูป ฉะนั้น ด้วยอำนาจแห่งรูปวิราคภาวนานี้ จึงไม่ทำให้เกิดกรรมชรูปเกิด

สำหรับโลกุตตรกุศลกรรม ๔ นั้น เป็นกรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยการเจริญกรรมฐานชนิดเห็นไตรลักษณ์ใน
รูปนามขันธ์ ๕ เป็นธรรมที่ทำลายภพชาติ และกรรมชรูปนั้นเป็นการทำลายภพชาติอยู่แล้ว ฉะนั้น โลกุตตร ๔
จึงไม่ทำให้กัมมชรูปเกิด จิตที่ไม่สามารถทำให้รูปเกิดขึ้นได้นั้นมี ๑๔ ดวง คือ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูปวิปากจิต ๔ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลาย จุติของพระอรหันต์ ในการยกเว้น ๑๔ ดวงออกเสีย ก็เพราะว่าทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงนั้นมีกำลังอ่อน ไม่สามารถทำให้เกิดจิตตชรูปเกิดขึ้นได้ อรูปวิปากจิต ๔ ดวงนั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากอรูปกุศล และเป็นอรูปภพอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

ส่วนปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งลาย และจุติจิตของพระอรหันต์นั้น ไม่มีจำนวนจิตที่จะยกเว้นโดยเฉพาะ มุ่งหมายเอาขณะที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิจิต และจุติเท่านั้นหมายความว่า จิตที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ ๑๙ ดวง คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิปากจิต ๘ รูปาวจรวิปากจิต ๕ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ สำหรับอรูปาวจรวิปากจิต ๔ ได้อธิบายแล้ว ส่วนปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวงนั้นในขณะที่เกิดขึ้นครั้งแรกในภพใหม่นั้นยังมีกำลังอ่อนอยู่มาก จึงไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้ และจุติจิตของพระอรหันต์ ๑๓ ดวง คือ มหาวิปากญาณสัมปยุตจิต ๔ รูปาวจรวิปากจิต ๕ อรูปาวจรวิปากจิต ๔ สำหรับอรูปวจรวิปากจิต ๔ ได้อธิบายไปแล้ว จุติจิตที่เหลือ ๙ ดวง เป็นจุติจิตของพระอรหันต์ ซึ่งปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงอยู่แล้ว ฉะนั้น จึงไม่ทำให้จิตตชรูปเกิด แต่จิต ๙ ดวงนี้ ถ้าทำหน้าที่จุติจิตของบุคคลอื่นแล้วสามารถทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร