วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐบทนําว่าด้วย เรี่องที่ควรทราบก่อนเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท
สังคีติกาจารย์เล่าเรื่อง
การทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท หลังการตรัสรู้
สมัย นั้น พระพุท ธเจ้า ผู็มีพระภาค ตรัส รู้แล้วใหม่ ๆ ยังประทับอยู่ที่โคนแห่งไม้โพธิ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
เนรัญ ชรา ในเขตตําบลอุรุเวลา. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ นั่งด้วยบัลลังค์อันเดียว
ตลอดเจ็ด วันที่โคนแห่งไม้โพธิ์เสวยวิมุตติสุข. ลําดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทํา
มนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท
โดยอนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรีดังนี้ว่า:-

มหา.วิ.๔/๑/๑; ยังมีที่มาในที่อื่นอีกเช่นในโพธิสูตรที่
๑,๒,๓, แห่งโพธิวรรค อุ.ขุ. ๒๕/๗๓/๓๘.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 07:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
อวิชชา 4 (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง)
1. ทุกฺเข อญฺญาณํ (ไม่รู้ทุกข์ )
2. ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขสมุทัย)
3. ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธ)
4. ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา )
กล่าวสั้นๆ คือ ไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4

อวิชชา 8 (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง) 4 ข้อแรกตรงกับอวิชชา 4; ข้อ 5 - 8 ดังนี้
5. ปุพฺพนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ในส่วนอดีต)
6. อปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ส่วนอนาคต )
7. ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต)
8. อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา )

เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งการกระทำ, สัญเจตนา หรือเจตนาที่แต่งกรรม)
1. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา คือ ความจงใจทางกาย )
2. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วจีสัญเจตนา คือ ความจงใจทางวาจา )
3. จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ )

สังขาร 3 ในหมวดนี้ ได้ในความหมายของคำว่าสังขารในปฏิจจสมุปบาท.
อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)
1. ปุญญาภิสังขาร 13 (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร )
2. อปุญญาภิสังขาร 12 (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย )
3. อาเนญชาภิสังขาร 4 (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน )

อภิสังขาร 3 นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร 3 สังขาร 3

เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
วิญญาณ 6 (ความรู้แจ้งอารมณ์ )
1. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น )
2. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน )
3. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น )
4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส )
5. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส )
6. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด )

เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;

ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต )
1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ )
2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉย )
3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น )
4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 )

ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม. อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5

เรื่องขันธ์ 5 พึงดูประกอบในหมวดธรรมอื่นๆ เช่น
1. รูปขันธ์ ดู รูป 28. มหาภูต 4; อุปาทายรูป 24.
2. เวทนาขันธ์ ดู เวทนา 2; เวทนา 3; เวทนา 5; เวทนา 6.
3. สัญญาขันธ์ ดู สัญญา 6.
4. สังขารขันธ์ ดู สังขาร 3; สังขาร 3; อภิสังขาร 3; เจตนา 6.
5. วิญญาณขันธ์ ดู วิญญาณ 6.

เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
อายตนะภายใน 6 (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน ) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
1. จักขุ (จักษุ, ตา)
2. โสตะ (หู)
3. ฆานะ (จมูก )
4. ชิวหา (ลิ้น )
5. กาย (กาย )
6. มโน (ใจ)

ทั้ง 6 นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ 6 เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
สัมผัส หรือ ผัสสะ 6 (ความกระทบ, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ )
1. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา คือ ตา + รูป + จักขุวิญญาณ)
2. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู คือ หู + เสียง + โสตวิญญาณt)
3. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก คือ จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ )
4. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ )
5. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย คือ กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณt)
6. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ คือ ใจ + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ )


เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เวทนา 6 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา )
2. โสต ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู )
3. ฆาน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
4. ชิวหา ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
5. กาย ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
6. มโน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)

เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก )
1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า)
2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ )
3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ)

เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
อุปาทาน 4 (ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส, ความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง)
1. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ)
2. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือความเห็น ลัทธิ หรือหลักคำสอนต่างๆ)
3. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่ากระทำสืบๆ กันมา หรือปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล)
4. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวงอันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ)

เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;


ภพ 3 (ภาวะชีวิตของสัตว์, โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์)
1. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร, ภพของสัตว์ผู้ยังเสวยกามคุณคืออารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง 5 ได้แก่ อบาย 4 มนุษยโลก และกามาวจรสวรรค์ทั้ง 6)
2. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหมทั้ง 16)
3. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่ อรูปพรหม 4 )

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส - อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิด ขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.


แสดงตามลำดับ จากต้นไปหาปลายอย่างนี้ เรียกว่า อนุโลมเทศนา
ถ้าแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น ว่า ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขาร มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้ง 12 ข้อ เป็นปัจจัยต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนเป็นวงจร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เรียกว่า ภวจักร (วงล้อหรือวงจรแห่งภพ) และมีข้อควรทราบเกี่ยวกับภวจักรอีกดังนี้
ก. อัทธา คือ กาล 3 ได้แก่
1) อดีต = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบัน = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ
3) อนาคต = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

ข. สังเขป หรือ สังคหะ 4 ( คือ ช่วง หมวด หรือ กลุ่ม 4 ได้แก่
1) อดีตเหตุ = อวิชชา สังขาร
2) ปัจจุบันผล = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ = ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล = ชาติ ชรา มรณะ (+ โสกะ ฯลฯ)

ค. สนธิ 3 คือ ขั้วต่อ ระหว่างสังเขปหรือช่วงทั้ง 4 ได้แก่
1) ระหว่าง อดีตเหตุ กับ ปัจจุบันผล
2) ระหว่าง ปัจจุบันผล กับ ปัจจุบันเหตุ
3) ระหว่าง ปัจจุบันเหตุ กับ อนาคตผล

ง. วัฏฏะ 3 ดู วัฏฏะ 3
วัฏฏะ 3 หรือ ไตรวัฏฏ์ (วน, วงเวียน, องค์ประกอบที่หมุนเวียน ต่อเนื่องกันของภวจักร หรือสังสารจักร
1. กิเลสวัฏฏ์ (วงจรกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา และอุปาทาน )
2. กรรมวัฏฏ์ (วงจรกรรม ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ )
3. วิปากวัฏฏ์ (วงจรวิบาก ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น )

สามอย่างนี้ ประกอบเข้าเป็นวงจรใหญ่แห่งปัจจยาการ เรียกว่า ภวจักร หรือ สังสารจักร ตามหลักปฏิจจสมุปบาท

จ. อาการ 20 คือองค์ประกอบแต่ละอย่าง อันเป็นดุจกำของล้อ จำแนกตามส่วนเหตุ และส่วนผล ได้แก่
1) อดีตเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
2) ปัจจุบันผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
3) ปัจจุบันเหตุ 5 = อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน ภพ
4) อนาคตผล 5 = วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา
อาการ 20 นี้ ก็คือ หัวข้อที่กระจายให้เต็ม ในทุกช่วงของสังเขป 4 นั่นเอง

ฉ. มูล 2 คือ กิเลสที่เป็นตัวมูลเหตุ ซึ่งกำหนดเป็นจุดเริ่มต้นในวงจรแต่ละช่วง ได้แก่
1) อวิชชา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงอดีต ส่งผลถึงเวทนาในช่วงปัจจุบัน
2) ตัณหา เป็นจุดเริ่มต้นในช่วงปัจจุบัน ส่งผลถึงชรามรณะในช่วงอนาคต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท ให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวาร คือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบายอริยสัจข้อที่ 2 (สมุทัยสัจ) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแบบนี้ เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท
การแสดงในทางตรงข้ามกับข้างต้นนี้ เป็น นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้อธิบายอริยสัจข้อที่ 3 (นิโรธสัจ) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลายสืบทอดกันไป ตัวบทของปฏิจจสมุปบาทแบบปฏิโลมนี้ พึงเทียบจากแบบอนุโลมนั่นเอง เช่น
1/2. อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ

3. สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

ฯลฯ
12. ชาตินิโรธา ชรามรณํ เพราะชาติดับ ชรามรณะ (จึงดับ)

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา นิรุชฺฌนฺติ
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ

เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ.
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้


นี้เป็นอนุโลมเทศนาของปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ส่วนปฏิโลมเทศนา ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะ เป็นต้น ดับ เพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ อย่างเดียวกับในอนุโลมปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย) ธรรมนิยาม (ความเป็นไปอันแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ ) และ ปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน ) เฉพาะชื่อหลังนี้เป็นคำที่นิยมใช้ในคัมภีร์อภิธรรม และคัมภีร์รุ่นอรรถกถา.

ลําดับนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว
ได้ทรงเปล่งอุทานนี้ขึ้น ในขณะนั้น ว่า :-
“เมื่อใด เวยธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง
แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่;
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมหายไป
เพราะพราหมณ์นั้น รู้ทั่วถึงธรรม พร้อมทั้งเหตุ”, ดังนี้.ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทํามนสิการซึ่งปฏิจจสมุปบาท

ว่าโดยอนุโลมและปฏิโลม ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า :-

“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นป็จจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม

เพราะความจางคลายดับไปไม่เหลือ แห่งอวิชชานั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ ;
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา;
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา;
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ;
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ;
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้” , ดังนี้.

ลําดับนั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีความรู้สึกอย่างนี้แล้ว ได้ทรง

เปล่งอุทานนี้ขึ้น ในขณะนั้น ว่า :-

“เมื่อใดเวย ธรรมทั้งหลาย เป็นของแจ่มแจ้ง
แก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียร เพ่งพินิจอยู่;
เมื่อนั้นพราหมณ่นั้นย่อมแผดเผามารและเสนาให้สิ้นไปอยู่
เหมือนพระอาทิตย์ (ขจัดมืด) ยังอากาศให้สว่างอยู่ ฉะนั้น”, ดังนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ิสิ่งที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทครั้งหนึ่ง ที่พระเชตวัน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังแล้ว
ได้ตรัสข้อความเหล่านี้ว่า :-
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ปฏิจจสมุปบาท แก่พวกเธอทั้งหลาย,
พวกเธอทั้งหลายจงฟัง ปฏิจจสมุปบาท นั้น, จงทําในใจให้สําเร็จประโยชน์, เราจักกล่าว
บัดนี้”.ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดํารัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
ถ้อยคําเหล่านี้ว่า :-
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อะไรเล่า ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! : เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย.
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเวทะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 06:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;
เพราะมีความดับ แห่งสังขาร จึงมีความดับ แห่งวิญญาณ;
เพราะมีความดับ แห่งวิญญาณ จึงมีความดับ แห่งนามรูป;
เพราะมีความดับ แห่งนามรูป จึงมีความดับ แห่งสฬายตนะ;
เพราะมีความดับ แห่งสฬายตนะ จึงมีความดับ แห่งผัสสะ;
เพราะมีความดับ แห่งผัสสะ จึงมีความดับ แห่งเวทนา;
เพราะมีความดับ แห่งเวทนา จึงมีความดับ แห่งตัณหา;
เพราะมีความดับ แห่งตัณหา จึงมีความดับ แห่งอุปาทาน;
เพราะมีความดับ แห่งอุปาทาน จึงมีความดับ แห่งภพ;
เพราะมีความดับ แห่งภพ จึงมีความดับ แห่งชาติ;
เพราะมีความดับ แห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”, ดังนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร