วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๓ วิญญาณ

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือนามรูปจะปรากฏขึ้นได้ ก็เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย ลักขณาทิจตุกะของวิญญาณ คือ

วิชานน ลกฺขณํ -> มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ -> เป็นประธานแก่เจตสิกและกัมมชรูป เป็นกิจ
ปฏิสนฺธิ ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นผล
สงฺขาร ปทฏฺฐานํ -> มีสังขาร (๓) เป็นเหตุใกล้
(วา)วตฺถารมฺมณ ปทฏฺฐานํ -> (หรือ)มีวัตถุ(๖) กับอารมณ์(๖) เป็นเหตุใกล้

ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณอันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของสังขารนั้น จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ

ก. ปฏิสนธิวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙

ข. ปวัตติวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒

ในบทนี้ก็กล่าวได้ว่า วิญญาณอันเป็นปัจจัยธรรม คือเป็นสิ่งอุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดนามรูปนั้น ก็จำแนกได้เป็น ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ

ก. วิปากวิญญาณ ได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ดวง วิปากวิญญาณนี้ เป็นเหตุใกล้ (อาสนฺนการณํ)

ข. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๒ และโลกียกุสลจิต ๑๗ ที่สหรคตกับ อกุสลเจตนากรรมและโลกียกุสลเจตนากรรมในอดีตภพ กล่าวสั้น ๆ ก็ว่า กัมม วิญญาณก็คือกรรม ๒๙ นั่นเอง กัมมวิญญาณนี้เป็นเหตุไกล (ทูรการณํ)

ส่วนนามรูป อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของวิญญาณ นั้นมีความหมายดังนี้

นาม ในบทนี้หมายถึง เจตสิก เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ก. ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อนว่า วิญญาณได้แก่ จิต ทั้งหมด ดังนั้นในบทนี้ นามคือเจตสิก ก็ได้แก่ เจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง ซึ่งประกอบ กับจิตทั้งหมดนั้นตามควรแก่ที่จะประกอบได้

ข. ตามนัยแห่งพระสูตร ซึ่งในบทก่อนว่า วิญญาณ ได้แก่โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ ดังนั้นในบทนี้ นามคือเจตสิก ก็ได้แก่ เจตสิกเพียง ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ เท่านั้น

นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ ก็เรียกว่า ปฏิสนธินาม (ปฏิสนธิเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพ และ ปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย

นาม คือ เจตสิก ที่ประกอบกับปวัตติวิญญาณ ๓๒ ก็เรียกว่า ปวัตตินาม (ปวัตติเจตสิก) เจตสิกที่เกิดในปวัตติกาลนี้ อาศัยปวัตติวิปากวิญญาณแต่อย่างเดียว เป็นปัจจัย

ส่วน รูป ในบทนี้ หมายถึงรูปภายในสัตว์ทั้ง ๒๘ รูป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หมายเฉพาะกัมมชรูปโดยตรง และจิตตชรูปโดยอ้อมเท่านั้น

กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ (เว้นอรูปปฏิสนธิวิญญาณ ๔) นั้นเรียกว่า ปฏิสนธิรูป กัมมชรูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลนี้ อาศัยกัมมวิญญาณใน อดีตภพ และปฏิสนธิวิญญาณในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัย

ปวัตติกัมมชรูป ที่เกิดจากกัมมวิญญาณ ๒๕ (เว้นอรูปกัมมวิญญาณ ๔) นั้น อย่างหนึ่ง กับจิตตชรูปที่เกิดจากปวัตติวิญญาณ ๑๘ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และอรูปวิปากวิญญาณ ๔) อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๒ อย่างนี้เรียกว่า ปวัตติรูป กัมมช รูป ที่เกิดในปวัตติกาลนี้อาศัยกัมมวิญญาณในอดีตภพแต่อย่างเดียวเป็นปัจจัย ส่วน จิตตชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาลนั้นไม่มี มีแต่เกิดขึ้นในปวัตติกาล โดยอาศัยปวัตติ วิปากวิญญาณเป็นปัจจัย

รวมความว่า รูปในปฏิสนธิกาล มีแต่กัมมชรูปอย่างเดียว รูปในปวัตติกาล มีได้ทั้งกัมมชรูป และจิตตชรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ จำแนกความเป็นปัจจัยได้เป็น ๓ ประการ คือ วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป และวิญญาณเป็นปัจจัยแก่ นามรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่เจตสิก แต่ อย่างเดียว ไม่เกี่ยวแก่รูปด้วย

๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวงที่สหรคตด้วยรูปวิราค เจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับ ปฏิสนธิวิญญาณในจตุโวการภูมิ ๔ ในปฏิสนธิกาล

๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรปฏิสนธิวิญญาณ ๔ ดวง ในปัจจุบันภพ เป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวง ที่ประกอบกับปฏิสนธิจิตใน จตุโวการภูมิ ๔ ในปฏิสนธิกาล

๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ อรูปาวจรวิปากวิญญาณ ๔ ดวง คือ ภวังคจิตเป็น ปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ เจตสิก ๓๐ ดวงที่ประกอบกับภวังคจิตในจตุโวการภูมิ ๔ ในปวัตติกาล

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป หมายเฉพาะว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูปแต่อย่าง เดียว ไม่เกี่ยวแก่นามด้วย

วิญญาณในที่นี้หมายถึง กัมมวิญญาณ อันได้แก่ รูปาวจรปัญจมฌานกุสลจิต ที่สหรคตด้วยเจตนาในสัญญาวิราคภาวนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยแก่กัมมชรูปในเอก โวการภูมิ คือ อสัญญสัตตภูมิ ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2019, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป

วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป หมายความว่า วิญญาณนั้นอุปการะช่วยเหลือ ให้เกิดทั้งนาม คือ เจตสิก ทั้งรูปคือกัมมชรูปและจิตตชรูปด้วย

๑. กัมมวิญญาณ ได้แก่ อกุสลจิต ๑๑ มหากุสลจิต ๘ และ รูปาวจรกุสล จิต ๕ รวมเป็น ๒๔ ดวง
ที่สหรคตด้วยเจตนาในอดีตภพ เป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ นาม และปฏิสนธิรูปในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล

ปฏิสนธินาม คือ เจตสิก ๓๕ ดวง ที่ประกอบกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวง

ปฏิสนธิรูป คือ กัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิต ๑๕ ดวงนั้น

๒. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ปฏิสนธิวิญญาณ ๑๕ ดวง ในปัจจุบันภพ เป็น ปัจจัยแก่ปฏิสนธินาม
คือเจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เกิดพร้อมกับปฏิสนธิจิตนั้น ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปฏิสนธิกาล

๓. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ภวังคจิต ๑๕ ดวง เป็นปัจจัยแก่ปวัตตินาม คือ เจตสิก ๓๕ และปวัตติรูป
คือ จิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๔. วิปากวิญญาณ ได้แก่ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม
คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ และปวัตติรูป คือจิตตชรูป ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

๕. วิปากวิญญาณ ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เป็นปัจจัยแก่ ปวัตตินาม คือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ในปัญจโวการภูมิ ๒๖ ในปวัตติกาล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่วิญญาณ

ในบทวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูปนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

ก. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม คือ เจตสิกแต่อย่างเดียว (ในจตุโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๙ ปัจจัย คือ ๑)สหชาตปัจจัย ๒)อัญญมัญญปัจจัย ๓)นิสสยปัจจัย ๔)วิปากปัจจัย ๕)อาหารปัจจัย ๖)อินทรียปัจจัย ๗)สัมปยุตตปัจจัย ๘)อัตถิปัจจัย ๙)อวิคตปัจจัย

ข. วิญญาณเป็นปัจจัยแก่รูป คือ กัมมชรูปแต่อย่างเดียว(ในเอกโวการภูมิ) นั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว คือ ปกตูปนิสสยปัจจัย ซึ่งในพระบาลีพระไตรปิฎกเล่ม ๔๐ แสดงไว้ในบทกุสล เป็นปัจจัยแก่อัพพยากตะว่า กุสลํ กมฺมํ วิปากสฺส อุปนิสฺสย ปจฺจเย น ปจฺจโย

ค. วิญญาณเป็นปัจจัยทั้งนามทั้งรูป (ในปัญจโวการภูมิ) ก็ด้วยอำนาจแห่ง ปัจจัย ๙ ปัจจัย ซึ่งเหมือนกับข้อ ก. เว้นแต่หมายเลข ๗ สัมปยุตตปัจจัย เปลี่ยน เป็นวิปปยุตตปัจจัย ปัจจัยเดียวเท่านั้น ส่วนอีก ๘ ปัจจัยนั้นเหมือนกันทุกปัจจัย

ความหมายแห่งปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ซ้ำในบทก่อนที่ได้แสดงความหมายมา แล้วก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

๑. วิปากปัจจัย กล่าวถึงวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กัน และกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นด้วย ในที่นี้ก็ได้แก่ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปากปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับวิญญาณนั้น เป็นวิปากปัจจยุบบันน

๒. อาหารปัจจัย กล่าวถึง อาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดพร้อมกันนั้น ในที่นี้ได้แก่วิญญาณ(คือจิต) เป็นอาหารปัจจัย นาม(คือเจตสิก) และรูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้นเป็นอาหารปัจจยุบบันน

๓. อินทรียปัจจัย กล่าวถึง ปสาทรูป ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ปัญจ วิญญาณอย่างหนึ่ง รูปชีวิตินทรียเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่อุปาทินนกรูปอย่างหนึ่ง และนามอินทรียเป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับตนนั้นอีกอย่าง หนึ่ง ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ(คือจิต) จึงเป็นอินทรียปัจจัย นามรูปเป็นอินทรีย ปัจจยุบบันน

๔. วิปปยุตตปัจจัย หมายถึงธรรมที่ไม่ได้ประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ อย่าง คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ ดังนั้นในที่นี้ วิญญาณ (คือจิต) เป็นวิปปยุตตปัจจัย รูปที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น (หรือแม้แต่เกิดก่อน) ก็เป็น วิปปยุตตปัจจยุบบันน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2019, 07:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมองไปถึงการปรุงงต่อ็อกซิเจนเป็นวิญญาณไปรู้อารมณ์ตามอายตนะ พร้อมกันนั้นก็นำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้นด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ กวฬิงการาหาร และ วิญญาณาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยแก่การมีขึ้น การดำรงอยู่และเจริญเติบโตของสฬายตนะ (ผมเข้าใจว่าสฬายตนะคือตัวคน สัตว์ )

เมื่อมีสฬายตนะก็เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ การกระทบอารมณ์ที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดเป็นเวทนาความรู้สึกสุข ทุกข์ มีการจำได้หมายรู้ปรุงแต่งเจตนาด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ ผัสสาหาร และ มโนสัญเจตนาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อความมีขึ้นของ ตัณหา อุปาทาน

อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ (ผมเข้าใจว่าสัตว์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ )


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
ผมมองไปถึงการปรุงงต่อ็อกซิเจนเป็นวิญญาณไปรู้อารมณ์ตามอายตนะ พร้อมกันนั้นก็นำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้นด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ กวฬิงการาหาร และ วิญญาณาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยแก่การมีขึ้น การดำรงอยู่และเจริญเติบโตของสฬายตนะ (ผมเข้าใจว่าสฬายตนะคือตัวคน สัตว์ )

เมื่อมีสฬายตนะก็เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ การกระทบอารมณ์ที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดเป็นเวทนาความรู้สึกสุข ทุกข์ มีการจำได้หมายรู้ปรุงแต่งเจตนาด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ ผัสสาหาร และ มโนสัญเจตนาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อความมีขึ้นของ ตัณหา อุปาทาน

อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ (ผมเข้าใจว่าสัตว์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ )

เอาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าดีกว่ามั้ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2019, 07:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
Love J. เขียน:
ผมมองไปถึงการปรุงงต่อ็อกซิเจนเป็นวิญญาณไปรู้อารมณ์ตามอายตนะ พร้อมกันนั้นก็นำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้นด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ กวฬิงการาหาร และ วิญญาณาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยแก่การมีขึ้น การดำรงอยู่และเจริญเติบโตของสฬายตนะ (ผมเข้าใจว่าสฬายตนะคือตัวคน สัตว์ )

เมื่อมีสฬายตนะก็เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ การกระทบอารมณ์ที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดเป็นเวทนาความรู้สึกสุข ทุกข์ มีการจำได้หมายรู้ปรุงแต่งเจตนาด้วย เป็นอาหาร 2 อย่าง คือ ผัสสาหาร และ มโนสัญเจตนาหาร อาหารสองอย่างนี้ย่อมมีเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อความมีขึ้นของ ตัณหา อุปาทาน

อาหาร ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดมาแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ฯ (ผมเข้าใจว่าสัตว์ คืออุปาทานขันธ์ ๕ )

เอาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าดีกว่ามั้ง


ครับเอาตามพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอน ดีกว่าแน่นอน

อันนี้ผมพยายามมองตามพระพุทธเจ้า แต่ก็เห็นตามได้มากน้อยตามกำลังยังอาจมีผิด ๆ ถูก ๆ ผมไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น แต่ถ้าให้อ่านแล้วก็จำเอา มองไม่เห็นภาพ เทียบเคียงไม่ได้เลยว่าธรรมนั้นคือสิ่งใดในกาย ในใจเรา ผมจะไม่มีฉันทะอ่าครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร