วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๔ นามรูป

นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ จะปรากฏขึ้นได้ก็ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย

นามในบทนี้ คือ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

นมน ลกฺขณํ -> มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปโยค รสํ -> มีการประกอบกับวิญญาณ และประกอบกันเอง โดยอาการที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น เป็นกิจ
อวินิพฺโภค ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีการไม่แยกกันกับจิต เป็นผล
วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ -> มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

รูปในที่นี้ คือ กัมมชรูป(โดยตรง) จิตตชรูป(โดยอ้อม) ลักขณาทิจตุกะ ของ รูปมีดังนี้

รุปฺปน ลกฺขณํ -> มีการสลาย แตกดับ เป็นลักษณะ แตกดับไปด้วย อำนาจปัจจัย
วิกิรณ รสํ -> มีการแยกออกจากกัน(กับจิต)ได้ เป็นกิจ
อพฺยากตา ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีความเป็นอพยากตธรรม (ในที่นี้หมายถึงความ ไม่รู้อารมณ์) เป็นผล
วิญฺญาณ ปทฏฺฐานํ -> มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

นาม คือ เจตสิก ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ได้แก่ เจตสิก ๓๕ ที่ประกอบ กับโลกียวิปากจิต ๓๒ เท่านั้น

รูป ที่เป็นปัจจัยแก่อายตนะนั้น ก็ได้แก่ กัมมชรูป เท่านั้น

อายตนะที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของนามรูปนั้นได้แก่ สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน ๖ ที่มีชื่อว่า อัชฌัตติกายตนะ มีจักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ

อายตนะ มีความหมายว่า เป็นเครื่องต่อ เป็นบ่อเกิดแห่งจิตและเจตสิก เป็นเครื่องต่อเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต

นามรูปเป็นปัจจัยแก่สฬายตนะ ดังนี้

๑. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ จักขุปสาท จึงปรากฏ จักขวายตนะ
๒. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ โสตปสาท จึงปรากฏ โสตายตนะ
๓. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ฆานปสาท จึงปรากฏ ฆานายตนะ
๔. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ ชิวหาปสาท จึงปรากฏ ชิวหายตนะ
๕. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป คือ กายปสาท จึงปรากฏ กายายตนะ
๖. เพราะเหตุว่ามี กัมมชรูป เจตสิก ๓๕ (ที่ประกอบกับโลกียวิปากวิญญาณ ๓๒) จึงปรากฏ มนายตนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2019, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเฉพาะ มนายตนะนี้ มีวาทะ เป็น ๒ นัย คือ

ก. อรรถกถาจารย์ และฎีกาจารย์บางท่าน กล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ โลกีย วิปากจิต ๓๒

ข. ภาสาฎีกาจารย์บางท่านกล่าวว่า มนายตนะนี้ได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ เท่านั้น โดยอ้างว่า ภวังคจิต เป็นตัวมโนทวาร ช่วยอุปการะให้ ผัสสะ และเวทนาเกิดขึ้น ซึ่งตรงกับพุทธภาษิตที่ว่า มนญฺจ ปฏิจฺจ ธมฺเม จ อุปฺปชฺชติ มโนวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส ผสฺสปจฺจยา เวทนา ฯลฯ ซึ่งแปลความว่า มโนวิญญาณ ย่อมปรากฏขึ้นได้เพราะอาศัย มโนทวาร กับ ธัมมารมณ์ เมื่อธรรมทั้ง ๓ นี้ ประชุมร่วมกันแล้วเรียกว่า ผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ฯลฯ

อนึ่ง มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในบทก่อนกล่าวว่า วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นามรูป คือ โลกียวิปากวิญญาณทำให้เกิดเจตสิก และกัมมชรูป

ในบทนี้กล่าวว่า นามรูปเป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะ คือ นามอันได้แก่เจตสิก ทำให้เกิดมนายตนะ อันได้แก่ โลกียวิปากวิญญาณ ๓๒ และ กัมมชรูปทำให้เกิด ปัญจายตนะ (อายตนะ ๕) นี่ก็คือ ปสาทรูป ๕ นั่นเอง

รวมกล่าวอย่างสั้น ๆ ก็ได้ความว่า บทก่อนกล่าวว่า จิตทำให้เกิดเจตสิก แต่ บทนี้กลับกล่าวว่า เจตสิกทำให้เกิดจิต จึงทำให้เป็นที่น่าสงสัยอยู่

ข้อนี้มีอธิบายว่า การที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย คือ ความเกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกันของธรรมเหล่านั้นประการหนึ่ง และด้วยอาศัยอำนาจแห่ง อัญญมัญญปัจจัย คือ ความอาศัยซึ่งกันและกันของ ธรรมเหล่านั้นอีกประการหนึ่ง

กล่าวคือ นาม คือเจตสิกกับมนายตนะ คือโลกียวิปากวิญญาณนั้นเกิดพร้อม กันเกิดร่วมกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิกเกิดพร้อมกับจิตเกิดร่วมกับจิต หรือจะว่าจิตเกิด พร้อมกับเจตสิกเกิดร่วมกับเจตสิก ก็ได้ทั้ง ๒ อย่าง นี่กล่าวโดยอำนาจแห่ง สหชาต ปัจจัย

กล่าวโดยอำนาจแห่งอัญญมัญญปัจจัย จิตกับเจตสิกที่เกิดพร้อมกันเกิดร่วมกัน นั้นต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน อุปการะหรืออุดหนุนซึ่งกันและกัน ดังนั้นจะว่าเจตสิก อุดหนุนอุปการะจิต หรือว่าจิตอุปการะอุดหนุนเจตสิกก็ได้ทั้ง ๒ อย่างอีกเหมือนกัน

ส่วนรูปนั้น ปสาทรูป ๕ และปัญจายตนะ คือ อายตนะทั้ง ๕ ก็เป็นรูปอัน เดียวกันนั่นเอง แต่เมื่อกล่าวโดยสมุฏฐาน ก็เรียกว่า กัมมชรูป และเมื่อกล่าวโดย ความเป็นเครื่องต่ออันเป็นบ่อเกิดแห่งวิถีจิต ก็เรียกว่า อายตนะ เมื่อมีปสาทรูปจึง จะเป็นเครื่องต่อก่อให้เกิดจิต เจตสิก และวิถีจิตได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2019, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่นามรูป

ในบท นามรูป เป็นปัจจัยแก่ สฬายตนะนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็มี รายละเอียดที่จะกล่าวได้เป็นหลายรายการด้วยกัน จึงขอกล่าวรวบยอดเป็นส่วนรวม ทั้งหมดว่า นามรูปที่อุปการะช่วยเหลือแก่ สฬายตนะนั้นด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๑๖ ปัจจัย คือ

๑.เหตุปัจจัย
๒.สหชาตปัจจัย
๓.อัญญมัญญปัจจัย
๔.นิสสยปัจจัย
๕.ปุเรชาตปัจจัย
๖.ปัจฉาชาตปัจจัย
๗.กัมมปัจจัย
๘.วิปากปัจจัย
๙.อาหารปัจจัย
๑๐.อินทรียปัจจัย
๑๑.ฌานปัจจัย
๑๒.มัคคปัจจัย
๑๓.สัมปยุตตปัจจัย
๑๔.วิปปยุตตปัจจัย
๑๕.อัตถิปัจจัย
๑๖.อวิคตปัจจัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2019, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ในจำนวน ๑๖ ปัจจัยนี้ ปัจจัยใดที่ได้เคยแสดงความหมายแล้วในบทก่อน ก็จะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก จะกล่าวถึงความหมายเฉพาะปัจจัยที่ไม่ซ้ำกับบทก่อน คือ

๑. ปุเรชาตปัจจัย กล่าวถึงรูปธรรมที่เกิดก่อน อุปการะช่วยเหลือให้เกิดนาม ธรรมอันมีความหมายว่า วัตถุ ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๗ ใน ปวัตติกาล(วัตถุปุเรชาตปัจจัย) นั้นอย่างหนึ่ง

อารมณ์ ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ปัญจวิญญาณวิถี (อารัมมณปุเรชาต ปัจจัย) อีกหนึ่ง

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง ปุเรชาตปัจจัย

๒. ปัจฉาชาตปัจจัย กล่าวถึง นามธรรม คือ จิตเจตสิกที่เกิดภายหลังเป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปธรรมที่เกิดก่อน

ตัวอย่างในบทนี้เช่น จักขุวิญญาณ และเจตสิก ๗ ดวง อันเป็นนามที่เกิด ภายหลังนี่แหละ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ จักขุปสาทรูป(จักขวายตนะ) ที่เกิดก่อน ให้ตั้งอยู่ได้ด้วยดีตลอดไป

๓. กัมมปัจจัย กล่าวถึง ก. เจตนาที่เกิดร่วมพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกับเจตนานั้น ซึ่งเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัยอย่างหนึ่ง กล่าว โดยหน้าที่การงานเรียกสังวิธานกิจ

ข. เจตนาที่เกิดต่างขณะกัน (คือดับไปแล้วนั้น) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ นามรูป ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม(คือเจตนาที่ดับไปแล้ว)นั้น ซึ่งเรียกว่า นานักขณิก กัมมปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโดยหน้าที่การงานเรียกพีชนิธานกิจ

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่งกัมมปัจจัย

๔. ฌานปัจจัย กล่าวถึงองค์ฌาน ๕ (คือ เจตสิก ๕ ดวง อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน

ตัวอย่างในบทนี้ก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในปฏิสนธิจิตเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ ปฏิสนธิจิต เจตสิก และกัมมชรูป นี่กล่าวถึงในปฏิสนธิกาล ส่วนใน ปวัตติกาลก็หมายถึง องค์ฌาน ๕ ที่ในวิบากจิตเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบากจิต เจตสิก และจิตตชรูป

๕. มัคคปัจจัย กล่าวถึง องค์มัคค ๙ (คือเจตสิก ๙ ดวง อันได้แก่ ปัญญา วิตก สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ วิริยะ สติ เอกัคคตา และทิฐิ) เป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูปที่เกิดพร้อมกับตน

ตัวอย่างในบทนี้ ก็หมายถึง องค์มัคคที่ในสเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ ที่ใน ปฏิสนธิกาล เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่สเหตุกปฏิสนธิจิต ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และกัมมชรูป

ส่วนในปวัตติกาล องค์มัคคที่ในสเหตุกวิบากจิต ๑๗ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่สเหตุกวิบากจิต ๑๗ เจตสิกที่ประกอบ และจิตตชรูป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร