ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ผัสสะที่เจือด้วยอาสวะกิเลส http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=58854 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 เม.ย. 2020, 07:58 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ผัสสะที่เจือด้วยอาสวะกิเลส | ||
. . ผัสสะที่มีการเข้าถึงสิ่งนั้น ที่มีอาสวะเป็นอารมณ์ สำคัญผิดคิดว่าเป็นสุข กล่าวคือ การได้สัมผัสที่มีอาสวะอยู่ ก็ในปัจจุบันนั้นมีเยอะมาก ผัสสะที่มีอาสวะทำให้เกิดสุขสัญญา ได้สัมผัสสิ่งดี ๆ นุ่ม ๆ สวยๆ หอม ๆ ก็อันนี้แหละเรียกว่า "สาสวผสฺสอุปคมน" ทำให้เกิดลักษณะสุขสัญญา คือเกิดการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสุขจริง ๆ มีลักษณะเข้าถึงอารมณ์ได้ด้วยผัสสะ ที่บอกว่ามีอาสวะเป็นอารมณ์ก็คือ การได้ลิ้มสัมผัสกับอารมณ์เป็นอาสวะ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอก ถึงลักษณะของสุขสัญญา ซึ่งมันก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นลักษณะเดียว ตัวเดียวกันตลอดไปเท่านั้น เพราะว่าการเข้าถึงมันก็ได้แก่การสัมผัสอารมณ์ ดี ๆ ซึ่งยังเป็นอารมณ์ทางโลกีย์อยู่ จะเรียกว่าเป็นเหตุของสุขสัญญาก็ว่าได้ ตสฺสา อสฺสาโท ปทฎฺฐานํ อสฺสาโท ตัณหาที่ทำให้เกิดความยินดี หรือยินดี ปทฎฺฐาน เป็นปทัฏฐาน ตสฺสา สุขสญฺญาย ของสุขสัญญานั้น หมายความว่าแม้เราจะได้สัมผัสอะไรที่ดี ถ้าเราไม่เกิดความยินดีแล้ว มันก็ไม่เกิดวิปลาสประเภทสุขสัญญา อย่างเช่น พระอรหันต์ ท่านใช้สอยอะไรก็แล้วแต่ท่านไม่มีอัสสาทะ ท่านจึงไม่เกิดสัญญาวิปัลลาส คือท่านจะไม่คิดว่ามันเป็นสุข แต่จะรู้ตามความเป็นจริงว่านี้คืออะไร แต่ในกรณีของปุถุชน ถ้าได้สัมผัสสิ่งที่ดี ๆ ก็จะเกิดอัสสาทะ กล่าวคือยินดี อัสสาทะนี้จะทำให้เกิดสัญญวิปัลลาส
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 30 เม.ย. 2020, 10:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ผัสสะที่เจือด้วยอาสวะกิเลส |
นิจฺจสญฺญา-ความสำคัญว่าเป็นของยั่งยืน คือ ความสำคัญผิด อสมนุปสฺสนลกฺขณา-มีการไม่พยายามตามพิจารณา สงฺขตลกฺขณานํ ธมฺมานํ-ในธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตธรรม (ธรรมชาติที่มีลักษณะถูกปัจจัยสร้างขึ้น ท่านเรียกว่าสังขตลักษณะ) ไม่พิจารณาธรรมที่เป็นสังขตลักษณะ หมายความว่า ยกเว้น พระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นสังขตลักษณะ นอกนั้นเป็นสังขตลักษณะทั้งสิ้น สงฺขตา ธมฺมา อสงฺตา ธมฺมา-ในที่นี้ก็เหมือน สงฺขตา ธมฺมา นั่นเอง การไม่พิจารณาสังขตธรรมตามที่เป็นจริงเป็นลักษณะของนิจจสัญญา เป็นเครื่องบ่งบอกให้ทราบว่าเกิดนิจจสัญญา เป็นความสำคัญผิดคิดว่าเป็นของเที่ยง ลืมนึกไปว่าสังขตธรนมนั้นเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงได้ สังขตลักษณะ นั่นคือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อันนี้แลท่านเรียก สังขต ลักษณะ ถ้าไม่พิจารณาโดยถ้วนถี่ก็จะมองไม่เห็นลักษณะ ๓ อย่างนี้ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |