วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 02:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2020, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว




troll-3328570_960_720.png
troll-3328570_960_720.png [ 371.66 KiB | เปิดดู 4142 ครั้ง ]
ข้อสอบเขียน [เทคโฮม] ชั้นจูฬอาภิธรรมิกตรี [วันแรก]
ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓
อภิธรรมมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
สอบวัน เสาร์ ที่ ๑๙ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
วิชา : จิตปรมัตถ์ และ เจตสิกปรมัตถ์ จำนวน ๗ ข้อ ๆ ละ ๑๐ คะแนน


***หมายเหตุ*** ม่อนเป็นคนตอบ

จงแสดงความหมายและอธิบายรายละเอียดของข้อปัญหาดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที่๑. พระอนุรุทธาจารย์แสดงประณามคาถาและคำปฏิญญาแยกได้เป็นกี่บท และแต่ละบทหมายความว่าอย่างไร?

ตอบ แยกเป็น ๖ บท ดังนี้
๑ สมฺมาสมฺพุทฺธํ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เญยธรรม โดยชอบด้วยพระองค์เอง
๒. อตุลํ แปลว่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้
๓. สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ แปลว่า ผู้เป็นไปกับด้วยพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสังฆเจ้า ผู้อุดมแล้วทั้งหลาย.
๔. อภิวาทิย แปลว่า ขอถวายอภิวาท
๕. ภาสิสฺสํ แปลว่า จักแต่งคัมภีร์ที่ชื่อว่า
๖. อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ แปลว่า อภิธัมมัตถสังคหะต่อไป.

เสริมคำตอบเพิ่มเติม คาถาแบ่งเป็น ๒ ประโยค
๑. ประณาม (การนอบน้อมพระรัตนตรัย)
สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ อภิวาทิย.
(แปล) ข้าพเจ้า (พระอนุรุทธาจารย์) ขอถวายอภิวาทแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เญยธรรม โดยพระองค์เองอย่างถูกถ้วน หาผู้เสมอเหมือนมิได้ พร้อมทั้งพระสัทธรรมและหมู่แห่งพระอริยสังฆเจ้า ผู้อุดมแล้วทั้งหลาย.

๒. ปฏิญญา (การรับปากว่าจะรจนาคัมภีร์โดยจะตั้งชื่อว่าอภิธัมมัตถสังคหะ)
ภาสิสฺสํ อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ
จักแต่งคัมภีร์ที่ชื่อว่า อภิธัมมัตถสังคหะต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2020, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว




5486398-ovni-png-transparente-stickpng-ovni-png-400_400_preview.png
5486398-ovni-png-transparente-stickpng-ovni-png-400_400_preview.png [ 21.4 KiB | เปิดดู 4142 ครั้ง ]
ถามข้อที่๒. บุคคลใดที่ได้ชื่อว่า คณุตฺตมบุคคล เพราะเหตุใด ?

ตอบ ได้ชื่อว่า คณุตฺตมบุคคล เพราะเป็น คณะของพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ คือพระอริยสงฆ์ ๘ จำพวก
พระอนุรุทธาจารย์ ท่านใช้เรียกพระอริยสงฆ์ตั้งแต่โสดาบัน-พระอรหันต์ ๘ จำพวก
ว่า คณุตฺตมบุคคล คือ คณะผู้ประเสริฐ

ถามข้อที่๓. ปริยัติธรรม หมายความว่าอย่างไร มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ปริยัติธรรม หมายถึงธรรมที่พึงศึกษา ได้แก่พระไตรปิฎกและอรรถกถา
ปริยัติแบ่งตามเป้าหมายของการศึกษา ๓ อย่าง คือ
๑.อลคัททูปมาปริยัติ
๒.นิสสรณัตถปริยัติ
๓.ภัณฑาคาริกปริยัติ

ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น

๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หาง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อ ลาภ สักการะ สรรเสริญ หรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่น ย่อมเป็นโทษกับตนเอง เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้

๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์ คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่ออบรมปัญญา เป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยของกิเลส เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ปรารถนาจะออกไปจากวัฏฏทุกข์

๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือ ศึกษาพุทธพจน์เพื่อทรงพระศาสนาไว้ ไม่ให้เสื่อมสูญ เป็นการศึกษาของพระอรหันต์ซึ่งหมดกิจในการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสแล้ว แต่มีฉันทะและเห็นประโยชน์ในการศึกษา เพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที่๔. คำว่า อภิธัมมัตถะ หมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร คืออะไรบ้าง ?


ตอบ อภิธัมมัตถะ หมายความว่า
อภิ+ธมฺม อภิ แปลว่า เยี่อมยอด,ประเสริฐ ,หรือยิ่งกว่า
ธมฺม แปลว่า สภาวะที่ไร้ตัวตนบุคคลเราเขา
อตฺถ แปลว่า เนื้อหา
รวมความว่า เนื้อหาแห่งสภาวธรรมที่ประเสริฐ

สภาวะที่มีอยู่จริง คือความจริง ๔ ประการ
จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน

หรืออีกนัยหนึ่ง
อภิธัมมัตถะ หมายถึง เนื้อความแห่งพระอภิธรรม 7 คัมภีร์
มี 5 อย่าง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพานและบัญญัติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๕. คำว่า ปรมัตถธรรม หมายความว่าอย่างไร มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ปรมัตถธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นองค์ธรรมอันประเสริฐ
คือเป็นธรรมที่ไม่มีการผิดแผกผันแปรเปลี่ยนแปลงสภาวะไปเป็นอย่างอื่น และเป็นธรรมที่เป็นประธานในอัตถบัญญัติและสัททบัญญัติ
มี 4 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน


ถามข้อที๕. คำว่า ปรมัตถธรรม หมายความว่าอย่างไร มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ มี 2 อย่างเรียกว่า สัจจะ 2 คือ

1. สมมติสัจจะ คือความจริงโดยสมมติ ได้แก่ พระสูตร พระวินัยและ พระปุคคลบัญญัติ พระพุทธองค์ทรงแสดงเพื่อให้เป็นไปตามความเป็นจริงของชาวโลก เรียกว่า สมมุติโวหาร

2. ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงแท้ ได้แก่ พระอภิธรรมที่เหลืออีก 6 คำภีร์ (เว้น ปุคคลบัญญัติ)พระองค์ทรงแสดงเพื่อให้เป็นไปตามความเป็นจริงของสภาวะธรรมนั้นๆ ไม่เกี่ยวด้วย บัญญัติ สัตว์ บุคคลเรียกว่า ปรมัตถโวหาร

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที๗. การแสดงความจริงของพระพุทธเจ้านั้น มีประโยชน์ต่อเวไนยสัตว์อย่างไรบ้าง ?

ตอบ มีประโยชน์ต่อเวไนยสัตว์ทั้งหลาย กล่าวคือ
เวไนยสัตว์บางจำพวกนั้น ไม่เคยศึกษาเล่าเรียนและไม่เคยสดับรับฟังพระอภิธรรม ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ที่ได้ล่วงไปแล้วเลยเพราะฉะนั้นเวไนยสัตว์เหล่านั้น จึงไม่สามารถที่จะรับฟังพระปรมัตถธรรมให้เข้าใจได้ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกสมมุติสัจจะ คือ เรื่องราวต่างๆที่เวไนยสัตว์เหล่านั้นจะพึงรู้ได้โดยง่าย ขึ้นแสดงเป็นประธาน แล้วทรงยกพระปรมัตถสัจจะมาประกอบในภายหลัง (สรุปท้าย)

ส่วนเวไนยสัตว์เหล่าใด ที่ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระธรรมมาแล้ว ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เวไนยสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีสติปัญญาบารมี ที่ได้เคยสั่งสมมาในเรื่องปรมัตถสัจจะเพียงพอ สามารถรับฟังปรมัตถธรรมได้ให้เข้าใจได้โดยง่าย พระพุทธองค์จึงทรงยกปรมัตถสัจจะล้วนๆ ขึ้นแสดงแก่บรรดาเวไนยสัตว์เหล่านั้น

อย่างไรก็ตามการแสดงธรรมที่เป็นความจริงทั้ง 2 อย่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมเป็นประโยชน์แก่เวไนยสัตว์ทั้งสิ้น

ถามข้อที๘. คำว่า วิจิตร นั้น มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ? จงยกหลักฐานประกอบด้วย

ตอบ ชื่อว่าจิต เพราะมีสภาพวิจิตร
มี ๖ อย่าง คือ
๑. วิจิตรโดยการกระทำ
๒. วิจิตรด้วยตนเอง
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรม และ กิเลส
๔. วิจิตรในการรักษาวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานตนเอง
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ

เช่น
๑. วิจิตรโดยการกระทำ หมายความว่า วัตถุสิ่งของทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลก และความประพฤติเป็นไปของสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมมีทั้งงดงามแปลกประหลาดน่าพิศวง และน่าสยดสยองนั้น ล้วนสำเร็จได้ด้วยจิต.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๙. ปรมัตถธรรมมีลักษณะกี่อย่าง แต่ละอย่างแบ่งเป็นเท่าไร คืออะไรบ้าง ?

ตอบ: ปรมัตถธรรมมีลักษณะ 2 อย่างคือ สามัญลักษณะ อย่างหนึ่ง วิเสสลักษณะ อย่างหนึ่ง

1. สามัญลักษณะ หมายถึง ลักษณะที่ทั่วไปแก่สังขารทั้งปวง เป็นลักษณะตามธรรมดาธรรมชาติ ที่ปรมัตถธรรมทั้งหลายจะต้องมี จะต้องเป็นเหมือนๆกันมี 3 ประการ (เว้นพระนิพพานที่มีไม่ครบ) คือ
๑) อนิจจตา ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดขึ้นแล้วย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย
๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือ ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมของตนไม่ได้ ต้องแตกดับสลายไป หรือกลายสภาพไปเป็นอย่างอื่น
๓) อนัตตตา ความเป็นสภาพไม่ใช่ตัวตน คือ บังคับบัญชาให้อยู่ในอำนาจของใครไม่ได้ ย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสิ่งนั้นๆ

2. วิเสสลักษณะ หมายถึง ลักษณะพิเศษเฉพาะประจำตัวของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง ไม่เหมือนกัน มีคุณสมบัติอย่างละ 4 ประการ จึงเรียกว่า ลักขณาทิจตุกะ แปลว่า คุณสมบัติ 4 ประการ มีลักษณะเป็นต้น ของปรมัตถธรรม กล่าวคือ
๑) ลักษณะ ได้แก่ เครื่องหมายที่เป็นไปโดยเฉพาะๆ ของปรมัตถธรรมแต่ละอย่างนั้น
๒) รส ได้แก่ กิจ คือ หน้าที่หรือความสำเร็จที่มีอยู่ในตัวของปรมัตถธรรมนั้นๆ
๓) ปัจจุบัฏฐาน ได้แก่ ผล หรือ อาการที่ปรากฏของปรมัตถธรรมทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่ปัญญาของบัณฑิตทั้งหลาย
๔) ปทัฏฐาน ได้แก่ ธรรมที่เป็นเหตุให้ปรมัตถธรรมนั้นเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุที่ใกล้ชิดที่สุด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๑๐. จิตเมื่อจำแนกโดยภูมิมีกี่ประเภท คืออะไรบ้าง ? จงยกหลักฐานแสดงด้วย

ตอบ จำแนกโดยภูมิมี ๔ ประเภท คือ
๑. กามวจรจิต ๕๔
๒. รูปาวจรจิต ๑๕
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒
๔. โลกุตรจิต ๘ หรือ ๔๐

ยกหลักฐานแสดงดังนี้
ตตฺถ จิตฺตํ ตาว จตุพฺพิธํ โหติ กามาวจรํ รูปาวจรํ อรูปาวจรํ โลกุตฺตรญฺเจติ
จิตปรมัตถ์ที่แสดงภูมิไว้เป็นอันดับแรกนี้ มี ๔ ประเภท คือ
กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และโลกุตรจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2020, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๑๑. จิตที่เป็นกุศลด้วย เป็นโลกียะด้วย เป็นอฌานจิตด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ มหากุศลจิต ๘
๑.โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๒.โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดี ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

๓.โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญาเป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๔.โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญาเป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

๕.อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยปัญญาเป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๖.อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ประกอบด้วยปัญญาเป็นจิตที่มีมีกำลัง (มีการชักชวน)

๗.อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

๘.อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกเฉยๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์) ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง (มีการชักชวน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2021, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๑๒. จิตที่เป็นอกุศลด้วย เป็นโสมนัสด้วย เป็นอสังขาริกด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒ ดวง คือ

๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)
๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ (แช่มชื่น) ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เป็นจิตที่มีกำลัง (ไม่มีการชักชวน)

ถามข้อที๑๓. จิตที่เป็นวิบากด้วย เป็นโสภณะด้วย เป็นโสมนัสด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๑๒ หรือพิสดาร ๒๔ ดวง

มหากุศลวิปากจิต โสม ๔
รูปาวจรวิปากจิต ๔ ปฐมา๑ ทุติยา๑ ตติยา๑ จตุตฺถี๑
โสดาปัตติผลจิต ๑ หรือ ๔
สกทาคามิผลจิต ๑ หรือ ๔
อนาคามิผลจิต ๑ หรือ ๔
อรหัตตผลจิต ๑ หรือ ๔

ถามข้อที๑๔. จิตที่เป็นกิริยาด้วย เป็นอุเบกขาด้วย เป็นสัมปยุตต์ด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๗ ดวง

มหากิริยาจิต ๒ ดวง
๑. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
๒. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

รูปาวจรกิริยาจิต ๑
อุเปกฺเขกคฺคตาสหิต ปญฺจมชฺฌานกิริยาจิตฺตํ

อรูปาวจรกิริยาจิต ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2021, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๑๕. จิตที่เป็นโสมนัสด้วย เป็นสัมปยุตต์ด้วย เป็นอสังขาริกด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๔ ดวง
โลภมูลจิต ๑ ดวง
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

มหากุศลจิต ๑ ดวง
๑.โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

กุศลวิบากจิต ๑ ดวง
๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ

มหากิริยาจิต ๑ ดวง
๑. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ



จงเขียนชื่อจิตพร้อมทั้งบาลีและคำแปลในหัวข้อดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๑๖. จิตที่ไม่มีคำว่า อสังขาริก หรือ สสังขาริก แต่สงเคราะห์เข้าในอสังขาริกจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒๐ ดวง
โมหมูลจิต ๒ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง

ถามข้อที๑๗. จิตที่ไม่มีคำว่า อสังขาริก หรือ สสังขาริก แต่สงเคราะห์เข้าในสสังขาริกจิต มีกี่ดวง
คืออะไรบ้าง ?


ตอบ 35 ดวง หรือโดยพิสดาร 67 ดวง
รูปาวจรจิต ๑๕
อรูปาวจรจิต ๑๒
โลกุตรจิต ๘ หรือ ๔๐

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2021, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๑๘. จิตที่ไม่มีคำว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์ แต่สงเคราะห์เข้าในวิปปยุตตจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๑๘ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘

ถามข้อที๑๙. จิตที่ไม่มีคำว่า สัมปยุตต์ หรือ วิปปยุตต์ แต่สงเคราะห์เข้าในสัมปยุตตจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ 35 ดวง หรือโดยพิสดาร 67 ดวง
รูปาวจรจิต ๑๕
อรูปาวจรจิต ๑๒
โลกุตรจิต ๘ หรือ ๔๐

ถามข้อที๒๐. จิตที่ไม่มีคำว่า โสมนสฺสสหคตํ แต่สงเคราะห์
ลลในโสมนัสสสหคตจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?


ตอบ ๔๔ ดวง
รูปาวจรจิต ๑๒
โลกุตรจิต ๓๒
(เว้นปัญจมฌาน หรือฌานที่ 5)

จงเขียนชื่อเจตสิกพร้อมทั้งความหมายในหัวข้อดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๒๑. เจตสิกที่ประกอบในอกุศลอสังขาริกจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒๕ ดวง
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ปกิณณกเจตสิก ๖
โมจตุกเจตสิก ๔
โลติกเจตสิก ๓
โทจตุกเจตสิก ๔
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2021, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๒๒. เจตสิกที่ประกอบในอกุศลสสังขาริกจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒๖ ดวง
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ปกิณณกเจตสิก ๖
โมจตุกเจตสิก ๔
โลติกเจตสิก ๓
โทจตุกเจตสิก ๔
ถีทุกเจตสิก ๒

ถามข้อที๒๓. เจตสิกที่ประกอบได้เฉพาะในโทสมูลจิตเท่านั้น มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๔ ดวง
โทจตุกเจตสิก ๔

ถามข้อที๒๔. อนิยตโยคีเจตสิกที่ประกอบในกิริยาจิตได้ มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง?
ประกอบในกิริยาจิตดวงไหนบ้าง?

ตอบ ๒ ดวง

คือ กรุณา, มุฑิตา,

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2021, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๒๕. นิยตโยคีเจตสิกที่ประกอบได้เฉพาะในสัมปยุตตจิต มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?
ประกอบในสัมปยุตตจิตดวงไหนบ้าง ?

ตอบ นิยตโยคีเจตสิกที่ประกอบได้เฉพาะในสัมปยุตตจิต มี ๔ ดวง
ทิฏฐิเจตสิก ๑ ดวง
โทสะเจตสิก ๑ ดวง
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ดวง
ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

ประกอบในสัมปยุตตจิตได้ 54 ดวง หรือโดยพิสดาร 86 ดวง

ทิฏฐิเจตสิก ๑ ดวง ประกอบกับจิต ๔ ดวง คือ
- ดวงที่ ๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- ดวงที่ ๒. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
- ดวงที่ ๕. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- ดวงที่ ๖. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

โทสะเจตสิก ๑ ดวง ประกอบกับจิต ๒ ดวง คือ
- ๑. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- ๒. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ดวง ประกอบกับจิต ๑ ดวง คือ
- ๑. อุเปกฺขาสหคต วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺต ๑ ดวง

ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง ประกอบกับจิต 47 ดวง หรือโดยพิสดาร 79 ดวง คือ
กามาวจรโสภณจิต ๑๒ ดวง (ฝ่ายสัมปยุต)
รูปวจรจิต ๑๕
อรูปาวจรจิต ๑๒
โลกุตรจิต ๘ หรือ ๔๐

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2021, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ครบบริบูรณ์
ถามข้อที๒๖. จงจำแนกเจตสิก ๕๒ โดยภูมิเภทนัย ?


ตอบ ภูมิ มี ๔ ภูมิ คือ

๑. กามาวจรภูมิ ๕๒ ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง
- อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
- โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง

๒. รูปาวจรภูมิ ๓๕ ได้แก่
- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
- ปกิณณกเจตสิก ๖
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
- อัปปมัญญาเจตสิก ๒
- ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑

๓. อรูปาวจรภูมิ ๓๐ ได้แก่
- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
- อธิโมกข์ ๑
- วิริยะ ๑
- ฉันทะ ๑
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑

๔. โลกุตตรภูมิ ๓๖ ได้แก่
- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
- ปกิณณกเจตสิก ๖
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
- วิรตีเจตสิก ๓
- ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2021, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8259


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๒๗. จงจำแนกเจตสิก ๕๒ โดยโลกเภทนัย ?

ตอบ โลกเภทนัยมี ๒

๑. โลกียะ ๕๒ ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง
- อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
- โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง

๒. โลกุตตระ ๓๖
- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
- ปกิณณกเจตสิก ๖
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙
- วิรตีเจตสิก ๓
- ปัญญินทรีย์เจตสิก ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร