วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 22:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2021, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




laksana.gif
laksana.gif [ 36.9 KiB | เปิดดู 1714 ครั้ง ]
เปรียบเทียบฐานะมนุษย์กับเทวดา

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องเทวดา ว่าโดยส่วนใหญ่
ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้ว ในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เพราะคนมัก
เข้าไปเกี่ยวข้องกับเทวดา เพื่อผลในการปฏิบัติ คือ หวังพึ่ง
และขออำนาจดลบันดาลต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่หวังและขอจากอิทธิฤทธิ์
และเทวดาก็เป็นผู้มีฤทธิ์

หลักการทั่วไปบรรยายแล้วในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เฉพาะอย่างยิ่ง
ส่วนที่เกี่ยวกับคุณและโทษ จึงนำมาใช้ในเทวดาได้ด้วย แต่ก็ยังมีเรื่องที่ควร
ทราบเพิ่มเติมบางอย่างดังนี้

ว่าโดยพื้นฐาน เทวดาทุกประเภท ตลอดจนถึงพรหมที่สูงสุด
ล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์
เช่นเดียวกันทั้งหมด กับมนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็นปุถุชน
ยังมี กิเลส ตัณหาคล้ายกับมนุษย์

แม้จะมีเทพที่เป็นพระอริยะบุคคลบ้าง ส่วนมากจะเป็นพระอริยะมาก่อน
ตั้งแต่ครั้งสมัยยังเป็นมนุษย์ แม้ว่าเมื่อเปรียบเทียบโดยเแลี่ยตามลำดับฐานะ
เทวดาจะเป็นผู้ที่คุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
จนพูดรวม ๆ ไปได้ว่า เป็นระดับสุคติด้วยกัน

ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบ บางอย่างเทวดาดีกว่า บางอย่างมนุษย์ก็ดีกว่า
เช่นท่านเปรียบเทียบว่าระหว่างมนุษย์ชาวชมภูทวีป กับเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
เทพชั้นดาวดึงส์ดีกว่ามนุษย์ ๓ อย่าง คือ อายุทิพย์ ผิวพรรณทิพย์ และความสุขทิพย์
แต่มนุษย์ในชมภูทวีปก็เหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓ ด้าน คือ กล้าหาญกว่า
มีสติดีกว่า และมีความประพฤติพรหมจรรย์หมายถึงปฏิบัติตามอริยมรรค(ดู องฺ.นวก.๒๓/๒๒๕๑๔๐๙)

แม้ว่าตามปติพวกมนุษย์จะถือว่าเทวดาจะสูงกว่าตน และพากันอยากไปเกิดในสวรรค์
แต่สำหรับเทวดา เขาถือว่าการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสุคติของพวกเขา ดังพุทธพจน์ที่ว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์นี่แล นับว่าเป็นสุคติของเทพทั้งหลาย"

เมื่อเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งจะจุติเพี่อนเทวดาชาวสวรรค์จะพากันมาอวยพรว่า ให้ไปสุคติ
คือไปเกอดในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะโลกมนุษย์ เป็นถิ่นที่มีโอกาสเลือกประกอบกุศลกรรม
ทำความดีงามต่าง ๆ และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่(ความชั่วหรืออกุศลต่างๆ
ก็เลือกทำได้เต็มที่เช่นกัน)

การเกิดเป็นเทวดาที่มีอายุยาว ท่านถือว่า เป็นการพลาดโอกาสอย่างในที่จะได้
ประพฤติพรหมจรรย์(ปฏิบัติตามอริยมรรค)เรียกอย่างสามัญว่า โชคไม่ดี

พวกชาวเทวดามีแต่ความสุุข ชวนให้เกิดความประมาทมัวเมา สติไม่มั่น
ส่วนโลกมนุษย์มีสุขบ้าง ทุกข์บ่าง เคล้าระคนกัน มีประสบการณ์หลากหลาย
เป็นบทเรียนได้มาก เมื่อรู้จักกำหนด ก็ทำให้เรียนรู้ ช่วยให้สติเจริญว่องไว ทำงานดี
เกื้อกูลแก่การฝึกตน และการที่จะก้าวหน้าในอารยธรรม

เมื่อพิจารณาในแง่ระดับแห่งคุณธรรมให้ละเอียดลงไปอีก มนุษย์ภูมินั้น
อยู่กลางระหว่างเทวภูมิหรือสวรรค์ กับ อบายภูมิ มีนรก เป็นต้น
พวกอบายเช่นนรกนั้น เป็นแดนของคนบาปด้อยคุณธรรม แม้ชาวอบายบางส่วน
จะจัดได้ว่าเป็นคนดีแต่ก็ตกไปอยู่ในนั้น เพราะความชั่วบางอย่างให้ผลถ่วงดึงลงไป
ส่วนสวรรค์ก็เป็นแดนของคนดี ค่อนข้างมีคุณธรรม แม้ว่าสวรรค์บางส่วนจะเป็นคนชั่ว
แต่ก็ได้ขึ้นไปอยู่ในแดนนั้นเพราะความดีบางอย่างที่ปะทุแรง ช่วยผลักดันหรือฉุดขึ้นไป

ส่วนโลกมนุษย์ ที่อยู่ระหว่างกลาง ก็เป็นชุมกลางระหว่างทางที่ผ่านหมุนเวียนกันไปมา
ทั้งสวรรค์ และชาวอบาย เป็นแหล่งสัตว์โลกทุกพวกทุกชนิดมาทำ มาหากรรม
เป็นที่คนชั่วมาสร้างตัวให้เป็นคนดี เตรียมไปสวรรค์ หรือคนดีมาสุมตัวให้เป็นคนชั่ว
เตรียมตัวไปนรก ตลอดจนเป็นที่ผู้รู้จะมาสะสางตัวให้เป็นคนอิสระ เลิกทำมาหากรรม
เปลี่ยนเป็นผู้หว่านธรรม ลอยพ้นเหนือการเดินทางหมุนเวียนต่อไป

พวกอบายมีหลายชั้น ชั้นเดียวกันก็มีบาปใกล้เคียงกัน พวกเทพก็มีหลายชั้น
ซอยละเอียดยิ่งกว่าอบายภูมิ มีคุณธรรมพื้นฐานปราณีตลดหลั่นกันไปตามลำดับ
ชั้นเดียวก็มีคุณธรรมใกล้เคียงกัน

ส่วนโลกมนุษย์แดนเดียวนี้ เป็นที่รวมของบาปธรรม
และคุณธรรมทุกอย่างทุกระดับ มีคนชั่ว ซึ่งมีบาปธรรม
หยาบหนา เหมือนดั่งนรกชั้นต่ำสุด และคนดี ซึ่งมีคุณธรรม
ปราณีตเท่ากับพรหมผู้สูงสุด ตลอดจนผู้พ้นแล้ว
จากภพภูมิทั้งหลาย ซึ่งแม้แต่เหล่าเทพมารพรหมก็เคารพบูชา

ภาวะเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของโลกมนุษย์
ที่เป็นวิสัยกว้างที่สุดแห่งบาปอกุศลและคุณธรรม
เพราะเป็นที่มาหากรรม และเป็นที่หว่านธรรม

เท่าที่กล่าวมานี้จะเห็นข้อเปรียบเทียบมนุษย์กับเทวดาได้ว่า
เมื่อเปรียบเทียมคุณธรรมความสามารถทั่วไปแล้ว
ทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็มิได้เท่าเทียม หรือใกล้เคียงกัน
เป็นระดับเดียวกัน แต่มนุษย์มีนิสัยสร้างเสริมปรับปรุงมากว่า
ข้อสำคัญอยู่ที่โอกาส กล่าวคือ มนุษย์มีโอกาสมากกว่าใน
การที่จะพัฒนาคุณธรรมและความสามารถของตน

ถ้ามองในแง่แข่งขัน(ทางธรรมไม่สนับสนุนให้มอง)ก็ว่าตามปกติ
ถ้าอยู่เฉยๆ เทวดาสูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่ามนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวเมื่อไหร่
ก็จะขึ้นไปเทียบเท่า หรือแม้แต่สูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่าเทวดา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2021, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1620177848090.jpg
FB_IMG_1620177848090.jpg [ 18.75 KiB | เปิดดู 1360 ครั้ง ]
มนุษย์กับเทวดา ความสัมพันธ์ใด ที่ล้าสมัย ควรเลิกเสีย

เมื่อทราบฐานะของเทวดาแล้วพึงทราบความสัมพันธ์ที่ควร และไม่ควร
ระหว่างเทวดาและมนุษย์ต่อไป ในลัทธิศาสนาที่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล
เขาเชื่อว่ามีเทวดาใหญ่น้อยมากมาย และมีเทพสูงสุดเป็นผู้สร้างโลก
และบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ไม่มีทางจะเจริญเลิศล้ำไปกว่าเทพนั้นได้

มนุษย์จึงสร้างความสัมพันธ์กับเทพด้วยวิธีการอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ
ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นสวดสรรเสริญ ยกย่อง สดุดี บวงทรวง สังเวย บูชายัญ
เป็นการปรนเปรอเอาอกเอาใจ หรือไม่ก็เรียกร้องความสนใจ
บีบบังคับให้ดห็นใจ เชิงเร้าให้ความร้อนใจ จนเทพนิ่งทนอยู่ไม่ได้
ต้องหันมาดูแลหาทางแก้ไข หรือสนองความต้องการให้ ทั้งนี้ โดยใช้วิธีข่มขี่
บีบคั้นลงโทษทรมานตนเอง ที่เรียกว่าประพฤติพรต และบำเพ็ญตบะต่างๆ

สรุปให้เห็นชัดถึงวิธีสัมพันธ์กับเทพเจ้าเป็น ๒ อย่างคือ

๑. วิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ..ด้วยการเซ่นบวงสรวง สังเวย บูชายัญ
ดังลูกอ้อนวอนขอต่อพ่อแม่ บางทีเลยไปเป็นดังประจบ และแม้ติดสินบนต่อผู้มีอำนาจเหนือ
๒. วิธีบีบบังคับ ให้ทำตามความประสงค์ ด้วยการบำเพ็ญพรตตบะ ดังลูกที่ตีอกชกตัว กัดทึ้งตนเอง
เรียกร้องเชิงบีบบังคับ ให้พ่อแม่หันมาใส่ใจความประสงค์ของตน

แต่จะเป็นวิธีใดก็ตามย่อมรวมลงในการมุ่งหวังผลประโยชน์แก่ตน ด้วยการพึ่งพาสิ่งภายนอกทั้งสิ่น
เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ได้สอนให้เลิกเสียทั้งสองวิธี และกาาเลิกวิธีที่ปฏิบัติทั้งสองนั่นแหละ
ที่เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ ในการสอนให้เลิกวิธีปฏิบัติเหล่านี้
พระพุทธศาสนาสามารถแสดงเหตุผล ชี้ให้เห็นคุณโทษ และวางวิธีปฏิบัติที่สมควรให้ใหม่ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2021, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1620193653710.jpg
FB_IMG_1620193653710.jpg [ 12.73 KiB | เปิดดู 1346 ครั้ง ]
หวังพึ่งเทวดา ได้ผลเพียงนิดหน่อย แต่เกิดโทษมาก

การหวังพึ่งเทวดา ย่อมมีผลในขอบเขตจำกัดหรือมีจุดติดตัน
อย่างเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ คือในทางปัญญา เทวดาทั่วๆไป
ก็ยังมีอวิชชา ไม่รู้สัจจธรรม เช่นเดียวกับมนุษย์ ดังเรื่องพระภิกษุที่เหาะไปถามปัญหากะเทวดา
จนแม้แต่พระพรหมก็ตอบไม่ได้ และเรื่องพระพุทธเจ้าทรมานพกพรหมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ส่วนในด้านจิตใจ เทวดาก็เหมือนกับมนุษย์ ส่วนใหญ่ก็เป็นปุถุชน ยังมีกิเลส
ยังมีเชื้อความทุกข์มากบ้างน้อยบ้าง ยังหมุนเวียนขึ้นๆลงๆ อยู่ในสังสารวัฏ
ดังเช่นพระพรหม แม้จะมีคุณธรรมสูง แต่ก็ยังประมาทเมาว่าตนอยู่เที่ยงแท้นิรันดร
พระอินทร์ประมาทในทิพย์สมบัตื คนอื่นหวังพึ่งพระอินทร์ แต่พระอินทร์เองยัง
ไม่หมด ราคะ โทสะ โมหะ ยังมีความหวาดกลัวสะดุ้งหวั่นไหว

การอ้อนวอนหวังพึ่งเทวดา นอกจากขาดความเพียรพยายามโดยหวังผลสำเร็จจากการกระทำ
ขัดกับหลักพึ่งตนเองและความหลุดพ้นเป็นอิสระ
ดังได้กล่าวในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์แล้วยังมีผลเสียที่ควรสังเกตอีกหลายอย่าง เช่น :-

ในเมื่อเทวดาเป็นปุถุชน การที่มนุษย์ไปประจบสอพลอ ยกยอ บนบานต่างๆ
ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่จะประสบผลเสีย เทวดาทั้งหลายก็เสียไปด้วย
เพราะจะเกิดหลงไหลมัวเมาในคำเยินยอสรรเสริญ ติดในลาภสักการะ คือ สิ่งเซ่นสรวงสังเวย
และปรารถนาจะได้ให้มากยิ่งขึ้นๆ โดยนัยนี้ ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างก็มัวเมาฝักใฝ่
วุ่นวายกับการมัวเมากับการบนบาน
และการให้ผลตามบนบาน ละทิ้งกิจหน้าที่ของตน หรือไม่ก็ปล่อยปละละเลยให้บกพร่องหย่อนยาน
เป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท แล้วทั้งมนุษย์และเทวดา ก็พากันเสื่อมลงไปด้วยกัน

เทวดาบางพวกเมื่อมัวเมาติดในลาภสักการะความยกย่องนับถือแล้ว
ก็จะหาทางผูกมัดหมู่ชนไว้กับตน โดยหาทางทำให้คนต้องพึ่งเขาอยู่เรื่อยไป
เพื่อผลนี้ เทวดาอาจใช้วิธีที่ต่างๆ กันเช่น ล่อด้วยการสำเร็จสมความปรารถนาเล็กๆน้อยๆ
เพื่อให้หวังผลมากยิ่งขึ้น และบนบาน เช่น บวงสรวงมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่แกล้งทำเหตุให้คน
มาติดต่อขอผลถลำตนเข้าสู่วงการ

เมิ่อเทวดาประเภทหวังลาภ มาวุ่นวายกันอยู่มาก เทวดาดีที่จะช่วยเหลือคนดีโดยไม่หวังผล
ประโยชน์ก็จะพากันเบื่อหน่ายหลบลี้ปลีกตัวออกไป คนที่ทำดี ก็ไม่มีใครช่วยเหลือให้กำลัง
ฝ่ายเทวดาใฝ่ลาภ ก็จะช่วยต่อเมื่อได้รับสิ่งบน หรืออย่างน้อยคำขอร้องอ้อนวอน
มนุษย์ก็รู้สึกกันมากขึ้นเหมือนว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำขั่วจึงจะได้ดี ก่อให้เกิด
ความสับสนระส่ำระสายในสังคมมนุษย์มากขึ้น

เมื่อเทวดาดีงามปลีกตัวไป ไม่เกี่ยวข้อง(ตามปกติธรรมเนียมของเทวดาก็ไม่ต้องการมาเกี่ยวข้อง
วุ่นวายหรือแทรกแซงในกิจการของมนุษย์อยู่แล้ว) ก็ยิ่งเป็นโอกาสสำหรับเทวดาร้ายใฝ่ลาภ
จะแสวงหาผลประโยขน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น เมื่อมนุษย์อ่อนวอนเรียกร้องเจาะจง
ต่อเทพบางท่านที่เขานับถือ เทพใฝ่ลาภพวกนี้ ก็จะลงมาสวมรอยรับสมอ้างหลอกมนัษย์
โดยมนุษย์ไม่อาจทราบ เพราะเป็นเรื่องเหลือวิสัยตนแล้วเทวดาสวมรอยก็ทำเรื่องให้
พวกมนุษย์มัวเมายิ่งขึ้น

โดยนัยนี้ จะเห็นได้ว่าคนที่ได้รับความช่วยเหลือจากเทวดาไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี
และคนดีก็ไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเทวดา ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งมนุษย์และเทวดา
ต่างก็เป็นปุถุชน ต่างก็ปฏิบัติผิด พากันทำให้ระบบต่างๆ ที่ดีงามในโลก คลาดเคลื่อนเสื่อมทรามลงไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2021, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ระหว่างมนุษย์กับเทวดา

อนึ่ง ขอกล่าวถึงข้อสังเกตบางอย่าง เพื่อจะได้มองเห็นแนวทาง
ในการปฏิบัติต่อไปชัดเจนขึ้น
ประการแรก เทวดาประกาศิต หรือกำหนดเหตุการณ์ หรือบันดาลชตากรรม
แก่มนุษย์โดยเด็ดขาด ฝ่ายเดียวไม่ได้ แม้ตามปกติจะถือกันว่า เทวดามีฤทธิ์
มีอำนาจเหนือกว่ามนุษย์ ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นว่า ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวดีขึ้นมาเมื่อไหร่
ก็สามารถเท่าเทียบหรือเหนือกว่าเทวดาได้ และสิ่งที่จะกำหนดว่าใครนะเหนือกว่าใคร
ก็อยู่ที่คุณธรรมและความเพียรพยายาม

ดังมีเรื่องมาในชาดก กษัตริย์สองเมืองจะทำสงครามกัน ฝ่ายหนึ่งไปถามพระฤษีมีฤทธิ์
ซึ่งติดต่อกับพระอินได้ ได้รับทราบคำแจ้งของพระอินทร์ว่าฝ่ายตนจะชนะ จึงประมาท
ปล่อยเหล่าทหารสนุกสนานบันเทิง ส่วนกษัตริย์อีกฝ่ายหนึ่งทราบข่าวทำนายตนว่าจะแพ้
ยิ่งตระเตรียมการให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ครั้นถึงเวลารบจริงฝ่ายหลังนี้ ก็เอาชนะกองทัพกษัตริย์
ฝ่ายที่มัวประมาทได้ พระอินทร์ถูกต่อว่า จึงกล่าวเทวคติออกมาว่า ความบากบั่นพากเพียรของคน
เทพทั้งหลายก็เกียดกันไม่ได้

เทวดาที่อยู่ตามบ้านเรือนนั้น ตามปกติมนุษย์ให้เกียรติและเอาใจมาก แต่ถ้ามองในแง่หนึ่งแล้ว
ก็เป็นผู้อาศัย ถ้าเจ้าบ้านมีคุณธรรมสูง เช่นเป็นอริยสาวก มีความมันใจในคุณธรรมของตน
หรือมั่นใจในธรรมตามหลักสรัทธาที่กล่าวแล้วในตอนก่อนเทวดาก็ต้องเคารพเชื่อฟัง
อยู่ในยังคับบัญชา มิใช่เป็นผู้มีอำนาจบังคับเจ้าของบ้าน

ดังเช่น เทวดาผู้อยู่ ณ ซุ้มประตูบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี(ท่านเจ้าของบ้านไม่ได้สร้างที่อยู่
ให้โดยเฉพาะ)เมื่อท่านเศรษฐียากจนลง ได้มาสั่งสอนให้เลิกถวายทาน ท่านเศรษฐีเห็นว่า
เป็นคำที่แนะนำไม่ชอบธรรมถึงกับไล่ออกจากบ้านทันทีเทวดาหาที่อยู่ไม่ได้ ในที่สุดไปหาพระอินทร์
จะให้ช่วยพามาขอขมาเศรษฐี ได้รับคำแนะนำวิธีที่จะขอขมาโทษเมื่อปฏิบัติตามนั้นแล้ว
จึงได้รับอนุญาตกลับเข้าอยู่ ณ ที่เดิมได้

ประการที่สอง เมื่อคนถูกเทวดาให้โทษ จะถือเอาเป็นเกณฑ์ว่าเขาทำผิดหรือเป็นคนชั่ว
ยังไม่ได้เพราะคนดีถูกเทวดาร้ายกลั่นแกล้ง ก็มีไม่น้อย ดังเช่นเทวดาซึ่งอยู่ ณ ซุ้ประตู
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่ได้กล่าวถึงแล้ว ท่านเรียกว่าเทวดามิจฉาทิฏฐิบ้าง เทวดาอันธพาลบ้าง
เทวดานั้นไม่พอใจว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกเสด็จมาบ้านเศรษฐี เขาจะต้องลงมาพื้นดิน
ครั้นนเศรษฐียากจนลงจึงได้โอกาใเข้าไปสั่งสอนเศรษฐี เพื่อยุให้เลิกเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
แต่ก็ไดผลตรงกันข้ามดังกล่าวแล้ว

เทวดาบางองค์แกล้งคนให้ระแวงกันเล่นเท่านั้นเอง แม้พวกเทวดาตามในป่าเมื่อพระไปอยู่อาศัย
เพื่อปฏิบัติธรรมบางพวกก็ไม่พอใจ เพราะคนดีมีคุณธรรมสูงกว่าตนเข้ามาอยู่ ทำให้เขาอึดอัด ทำอะไรๆ
ไม่สะดวกจึงหาทางแกล้งด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งพระพัทธเจ้าแนะนำให้แก้ไขด้วยการแผ่เมตตา เอาความดีเข้าตอบ

แต่ในกรณึที่พวกเทวดาแนะนำให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการที่ไม่
ถูกต้องตามธรรม พุทธสาวกผู้รู้หลัก ย่อมมีความเข้มแข็งมั่นคงในจริยธรรม และจะไม่ยอม
ปฏิบัติตามคำของเทวดานั้นเป็นอันขาด ไม่ว่าเทวดาจะขู่ หรือล่อด้วยรางวัลใดๆ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2021, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ประการที่สาม เทวดาบางองค์ก็มีพฤติการณ์ทางร้าย ชอบทำเป็นปฏิปักษ์
ขัดขวางความเจริญของมนุษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เทวดาอย่างนี้ มนุษย์ไม่เพียงแต่
มิควรอ้อนวอนขอร้องหรือหวังพึ่งเท่านั้น แต่ควรปราบหรือพิชิตให้ได้ทีเดียว และถ้าฝึกปรือ
และควมสามารถของตนให้ดี มนุษย์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยดังตัวอย่างสำคัญคือ "มาร"

มารนี้ เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุดของระดับกามาวจร ชั้นที่ ๖ ได้แก่ ปรนิมมิตวสวัตตี
แต่ชอบขัดขวางรังควาญผู้อี่น เมื่อเขาจะทำความดี เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใคร
จะเปลื้องตนให้เป็นอิสระจากกาม ถือว่าผู้นั้นจะข้ามออกนอกอำนาจของมาร
ก็เป็นอันจะต้องเผชิญหน้ากับมารเลยที่เดียว

มารมีฤทธิ์มีอิทธิพลยิ่งใหญ่มาก แม้แต่พระอินทร์ พอมารมาก็ไม่รอหน้า ไปหลบอยู่ขอบจักรวาล
พระพรหมก็หลีกเลี่ยง บางคราวมารก็ไปรังควานถึงพรหมโลก ซึ่งเป็ชั้นรูปาวจร สูงกว่าระดับ
ของตน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า"บรรดาผู้ยิ่งใหญ่มารเป็นเลิศ"

แม้มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่ถึงอย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้ว ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้ เทพทั้งปวง
ตลอดถึงพรหม ย่อมนบไหว้

เท่าที่เล่ามานี้ มิได้มุ่งหมายจะลบหลู่ หรือชักชวนให้มีจิตกระด้างต่อเทวดาทั้งหลาย
แม้แต่น้อย เพียงแต่จะสร้างความเข้าใจ เพื่อวางจิตให้ถูกต้อง สำหรับการดำเนินตามวิธี
ที่จะมากล่าวต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 80 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร