วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 20:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2021, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20190604_045628.jpg
20190604_045628.jpg [ 248.24 KiB | เปิดดู 1161 ครั้ง ]
คติพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับเทวดานี่ เมื่อปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยความเข้าใจ
ก็ทำให้ชาวพุทธอยู่ร่วมกันได้ดีกับผู้ที่ยังนับถือเทพเจ้า พร้อมทั้งสามารถรักษาหลักการของตนไว้ได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม บางส่วนสังเกตุว่า ท่าทีเช่นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาเสียเปรียบ
เพราะคนทั่วไปมีความโน้มเอียงในทางที่จะไม่มั่นใจตนเอง และคร้านที่จะคิดเหตุผล
จึงมักพากันดึงลงไปสู่ลัทธิไหว้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอฤทธิ์ดลบันดาลง่าย

ข้อนี้อาจเป็นจุดอ่อนที่พิจารณากันไปได้ต่าง ๆ และปัญหาอยู่ที่ว่า เราได้ยกเอาขอบเขต
ที่ท่านได้วางไว้ขึ้นมาปฏิบัติกันหรือเปล่า และคอยย้ำความเข้าใจที่ถูกต้องกันไว้หรือไม่
ถ้ายิ่งรู้ตัวว่ามีจุดอ่อนอยู่แล้ว ก็ยิ่งระมัดระวังรักษาหลักการให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

มองอย่างหนึ่ง เหมือนกับพูดว่า ชาวพุทธฝ่ายชาวบ้านจะไปนับถือกราบไหว้ยกย่อง
(แต่ไม่อ้อนวอนหรือมั่วสุม)เทพเจ้ากับเขาอย่างไรก็ได้ แต่อย่านับถือให้สูงกว่า
ความสามารถของมนุษย์ที่ตนมีอยู่ ก็แล้วกัน เทวดาจะสูงกว่าเท่าใดก็ได้
แต่ที่สูงสุดนั้นคือมนุษย์ คือท่านผู้เป็นศาสดาของเทวะและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เป็นต้นแบบของมวลมนุษย์

ถ้าไม่คล่องใจที่จะนึกถึงภาพเทพเจ้าที่ตนเคารพเทิดทูน มากกราบไหว้มนุษย์
ก็อาจจะมองมนุษย์ผู้สูงสุดอีกแนวหนึ่งว่า เป็นผู้ได้พัฒนาตนจนถึงภาวะสูงสุด พ้นไปแล้ว
ทั้งมากความเป็นเทพเจ้า และความเป็นมนุษย์ โดยขอให้พิจารณาพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
(ข้อความเป็นลักษณะเล่นถ้อยคำ จึงแปลรักษาสำนวน เพื่อผู้ศึกษามีโอกาสพิจารณา)

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จพุทธดำเนินทางไกล พราหมณ์ผู้หนึ่ง
ซึ่งเดินทางไกลเช่นเดียวกับพระองค์ มองเห็นรูปจักรที่รอยพระบาทแล้ว มีความอัศจรรย์ใจ
ครั้นพระองค์เสด็จลงไปประทับนั่งพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งข้างทาง พราหมณ์
เดินตามรอยพระบาทมา มองเห็นพุทธลักษณาการที่ประทับนั่งสงบลึกซึ้ง น่าเลื่อมใส จึงเข้าไปเฝ้าแล้ว:-

ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นเทพเจ้า

ตรัสตอบ: แน่ะ พราหมณ์เทพเจ้าเราก็จักไม่เป็น

ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นคนธรรพ์

ตรัสตอบ: คนธรรพ์เราก็จักไม่เป็น

ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นยักษ์

ตรัสตอบ: ยักษ์เราก็จักไม่เป็น

ทูลถาม: ท่านผู้เจริญคงจักเป็นมนุษย์

ตรัสตอบ: มนุษย์เราก็จักไม่เป็น

ทูลถาม: เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญคงจักเป็นเทพ ท่านก็กล่าวว่า เทพเราก็จักไม่เป็น
เมื่อถามว่า ท่านผู้เจริญคงจักเป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...เป็นมนุษยฺ ท่านก็กล่าวว่าจักไม่เป็น
ถ้าเช่นนั้น ท่านผู้เจริญจะเป็นใครกันเล่า

ตรัสตอบ: นี่แน่ะพราหมณ์ อาสวะเหล่าใด ที่เมื่อยังละไม่ได้ จะเป็นเหตุให้เป็นเทพเจ้า...คนธรรพ์
เป็นยักษ์...เป็นมนุษย์ อาสวะเหล่านั้น เราละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว...หมดสิ้นแล้ว
ไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีกต่อไป เปรียบเหมือนดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
แต่ตั้งอยํพ้นน้ำ ไม่ถูกน้ำฉาบติด ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดในโลก เติบโตขึ้นในโลก
แต่เป็นอยู่เหนือโลก ไม่ติดกลั้วด้วยโลก ฉันนั้น ;
นี่แน่ะพราหมณ์ จงถือว่าเราเป็น "พุทธะ"เถิด

(องฺ.จตุกฺก.๒๑/๓๖/๔๘).

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 83 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร