ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ความอยากที่มิใช่ตัณหาก็มี http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60254 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 08 พ.ค. 2021, 10:29 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | ความอยากที่มิใช่ตัณหาก็มี | ||
มีคำถามและคำกล่าวเชิงค่อนว่าพระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง ซึ่งน่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับเนื้อความในบทที่ผ่านมา ควรนำมาพิจารณาในที่นี้ คือพูดในทำนองว่า - พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้ ไม่ยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศได้อย่างไร? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดขวางต่อการพัฒนา - นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยากในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ก็จะกลายเป็นตัณหา กลายเป็นเดินทางผิด ปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้ว จะได้อย่างไร คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คำถามและคำตอบ ๒ ข้อนี้ ดูเหมือนว่าจะกระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสาย ตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน หรือระดับโลกีย์ จนถึงโลกุตระ แต่ที่จริง ความสงสัยหรือการว่าค่อนนั้น มิได้กระทบอะไร ต่อพระพุทธศาสนา แต่กลับสะท้อนให้เห็นว่าผู้สงสัยหรือค่อนว่าก็ตาม ไม่เข้าใจทั้งธรรมชาติ ของมนุษย์ และมองพระพุทธศาสนาไม่ออก ความเข้าใจพร่ามัวสับสน ที่เเป็นเหตุทำให้ความเข้าใจเกิดคำถามและค่อนว่าเช่นนี้ มีอยู่มาก แม้แต่ในหมู่ชาวพุทธเอง และปัญหาเกี่ยวกับถ้อยคำหรือในเรื่องทางภาษาด้วย จุดสำคัญ คือ คนที่ได้ยินมาว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา และตัณหานั้น แปลว่าความอยาก แล้วจะด้วยเหตุใดก็ตาม ต่อมาคนทั่วๆไปนั้น ก็ไม่รู้จักแยกแยะ รู้เข้าใจเพียงแค่ว่า ตัณหาคือความอยาก และความอยากคือตัณหา ไปๆ มาๆ เลยเข้าใจคำว่าตัณหาเป็นความอยากทั้งหมด และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนา สอนให้ละความอยาก สอนไม่ให้อยากใดๆ เลย นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่นที่มีตวามหมายทำนองเดียวกันนี้ แต่รังเกียจที่จะแปลความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอย่างอื่นไปเสีย เมื่อถึงคราวที่ จะพูดความอยาก จึงลืมนึกถึงคำพูดนั้น ถ้าจะศึกษาธรรม ถ้าจะเข้าใจพระพุทธศาสนา จะต้องแก้ไขเข้าใจผิดนี้ เบื้องแรก พูดไว้สั้นๆ ไว้ก่อนว่า ตัณหาเป็นความอยาก(ชนิดหนึ่ง) แต่ความอยากไม่ใช่คือตัณหา ความอยากเป็นตัณหาก็มี ไม่เป็นตัณหาก็มี ความอยากที่ดี จึงจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม และยังเป็นที่ต้องการใช้พัฒนามนุษย์ ความอยากนี้เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องเข้าใจกันให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะทำให้ไม่เข้าถึงพระพุทธศาสนา เรื่องนี้จะเป็นอย่างไร พูดนำไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวจะอธิบายในเรื่องนี้ในคราวต่อไป จะค่อยๆ เข้าใจไปเอง ก่อนที่จะพูดให้ละเอียด ติดตามตอนต่อไป
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 08 พ.ค. 2021, 13:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความอยากที่มิใช่ตัณหาก็มี |
มีข้อสงสัย คนทั้งหลายที่ทำอะไรต่างๆนี้ ก็ทำด้วยความอยากทั้งนั้น คือ มีความอยากจะทำ จึงทำ และอยากทำอะไรก็ทำอันนั้น ถ้าหมดตัณหา ไม่มีความอยากเสียแล้ว ไม่มีตัณหาอันแรงจูงใจ ให้ทำโน่นทำนี่แล้ว คงไม่ต้องเคลื่อนไหวอะไรเลย แล้วจะอยู่ได้อย่างไร มิกลายเป็นคนนิ่งเฉย ไม่กระตือรือร้น ไม่มีชีวิตชีวาไปหรือ คงเป็นอย่างที่ว่าหมดอาลัยตายอยาก ข้อสงสัยนี้ที่จริงไม่ควรตอบ เดี๋ยวก็เข้าใจเอง ตอนแรกขอให้มองง่ายๆ ว่า ที่ว่าทำอะไรๆ ทุกอย่างนั้น ก็รวมอยู่ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะทำอะไร ก็เคลื่อนไหวทั้งนั้น (แม้แต่ ทำการไม่เคลื่อนไหว ก็ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ในใจ) เป็นธรรมดาของธรรมชาติ การเคลื่อนไหวเป็นลักษณะที่สำคัญของชีวิต เมื่อเป็นชีวิต และยังมีชีวิต ก็มีการเคลื่อนไหว ถามว่าที่คนและสัตว์เคลื่อนไหวทำอะไรๆ นั้น เคลื่อนไหวไปได้อย่างไร หรือว่าชีวิตนี้ กลไกการทำงานอย่างไรในการเคลื่อนไหวทำการต่างๆ อย่างที่เคยพูดแล้ว คนสัตว์ไม่เหมือนกิ่งไม้ใบไม้ ที่สบัดแกว่งไปมาตามแรงลม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก แต่คนและสัตว์เคลื่อนไหวทำอะไรได้เองจากปัจจัยภายใน แล้วปัจจัยภายในมีอะไรบ้าง เมื่อด้านร่างกายอวัยวะยังดี พร้อมที่จะขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวแล้ว ในใจ เริ่มต้นต้องมีความรู้ ว่าข้างหน้าข้างหลัง ข้างบนข้างล่าง ที่ไกลที่ใกล้ ตรงไหนมีหรือไม่มีอะไร ฯลฯ พูดง่ายๆ ว่ารู้ที่ที่จะไปได้ คือมีความรู้ เมื่อรู้ที่ไปแล้ว ทีนี้ก็ต้องเลือก ตกลง ตัดสินใจว่าจะอะไรที่ไหน ทางไหน ตลอดจนจะทำอะไร อย่างไร ตัวการในใจที่ทำการตัดสินตกลงใจ หรือตัวเจ้าของอำนาจ ตัดสินใจนี่ ซึ่งเป็นตัวบงการ หรือสั่งการนั้น เรียกว่าตัวเจตนา ถามต่อไปว่า เมื่อรู้ที่ที่จะไป รู้เรื่องที่จะทำแล้ว เจตนาจะเลือกตัดสินใจว่าจะไปไหน จะทำอันใด ตรงนี้แหละ สำคัญ คือ เจตนาก็มีแรงจูงใจให้เลือกตัดสินใจ โดยทำตามแรงจูงใจนั้น ถ้าพูดง่ายๆ อย่างภาษาชาวบ้าน แรงจูงใจนี้ก็คือความอยาก เมื่ออยากไปไหน อยากได้ อยากทำอะไร เจตนาก็เลือกตัดสินใจเคลื่อนไหวไปนั่น ไปทำอันนั้น ก็ถามต่อไปว่า ความอยากนี้คืออะไร อย่างง่ายๆ ก็บอกว่า ความอยากนั้นมาจาก ความชอบใจและไม่ชอบใจ ตัวชอบอะไร อะไรถูกลิ้น ถูกหู ถูกตา ถูกใจ ก็อยากได้ อยากเอา อยากกิน อยากเสพ ฯลฯ ถ้าอะไรไม่ถูกลิ้นไม่ถูกหูไม่ถูกตาไม่ถูกใจ ตัองไม่ชอบ ก็อยากหนีไปเสีย อยากทิ้ง อยากทำลาย ฯลฯ แล้วเจตนาก็ตัดสินใจทำไปตามนั้น ความอยากที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจแล้วจะเอาหรือไม่เอานี้ เรียกว่า "ตัณหา" |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 08 พ.ค. 2021, 18:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความอยากที่มิใช่ตัณหาก็มี |
เป็นอันว่าเคลื่อนไหวทำอะไรๆ นี้ปัญญาช่วยบอก ช่วยส่องสว่าง ให้ความรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร แล้วตัณหาอยากจะเอาอะไรไม่เอาอะไร เจตนา ก็สั่งให้ชีวิตร่างกายเคลื่อนไหวทำอะไรๆไปตามนั้น แต่ตรงนี้ หยุดนิด คิดดูหน่อย การที่จะเคลื่อนไหวลทำหรือไม่ทำอะไรนี้ ที่จริงนั้น ชีวิตมีความประสงค์มีความต้องการ พูดง่ายๆว่า มีความอยากที่ลึกลงไปอีก คืออยากเป็นอยู่ อยากรอด อยากปลอดภัย อยากแข็งแรงสมบูรณ์ อยากมีความสุข อยากเป็นอยู่อย่างดีที่สุด พูดรวมๆว่า อยากมีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ ทีนี้ ก็ถามว่า ที่ปัญญารู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ไหน ตรงไหน ของกินได้หรือไม่ได้ อร่อยไหม ฯลฯ แล้วตัณหาชอบใจอยากกินอย่างไหนที่อร่อยถูกลิ้น ไม่ชอบไม่อยากกินที่เห็นว่าไม่อร่อย แล้วเจตนาก็ให้กินและไม่กินไปตามเสียงที่ชักจูงกระซิบบอกตัณหาเท่านั้น ถามว่า อย่างนี้แค่นี้พอไหม ที่จะให้มีชีวิตที่งามสุขสมบูรณ์ ตอนนี้ปัญญาเองนั้นแหละก็จะมาบอกว่า รู้แต่นั้นไม่พอหรอก จะไปพออะไรกัน มองเห็นรู้เห็นนั้นว่าอร่อยพร้อมแต่งสีเสียสวย น่ากิน ตัณหาบอกว่าอยากกิน ลองกินเข้าไปซิ ก็เหมือนใส่ยาพิษให้ทีละน้อย นานไปในระยะยาว จะแย่แน่ๆ ถึงอันนั้นก็เถอะไม่ถึงกับมียาเทียมพิษ ตัณหาว่าอร่อย ยากนักลองกินแป๊บเข้าไป ตามใจตัณหาซิ ไม่ช้าหรอก จะเป็นโรคอ้วน ฯลฯ รู้แค่นั้นไม่พอเลยความรู้แค่นั้นใช้ไม่ได้ แต่รู้สึกเท่านั้นเอง ก็เอาชื่อฉันไปใช้ แต่ที่จริงยังไม่ใช่ยังไม่เป็นปัญญา เป็นความรู้ที่โง่ๆ เป็นอัญญาณเท่านั้น ไม่ใช่ปัญญา ก็อวิชชานั่นแหละ รู้ไม่พอ แล้วก็ไว้ใจไม่ได้ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |