วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 10:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2021, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




d78e6x4-58dd7ae3-20ea-450d-85b2-3ebfb83563c4.png
d78e6x4-58dd7ae3-20ea-450d-85b2-3ebfb83563c4.png [ 123.1 KiB | เปิดดู 355 ครั้ง ]
เทวดา

มนุษย์ กับ เทวดา เปรียบเทียบฐานะกัน

ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องเทวดา ว่าโดยส่วนใหญ่ ก็เหมือนกับที่กล่าวแล้วในเรื่อง
อิทธิปาฏิหาริย์ เพราะคนมักเข้าไปเกี่ยวข้องกับเทวดา เพื่อผลในทางปฏิบัติ คือหวังพึ่ง
และขออำนาจดลบันดาลต่างๆ เช่นเดียวกับที่หวังและขอจากอิทธิฤทธิ์ และเทวดาก็เป็นผู้มีฤทธิ์

หลักการทั่วไปที่บรรยายแล้วในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนที่เกี่ยวกับคุณและโทษ
จึงนำมาใช้กับเรื่องเทวดาได้ด้วย แต่ก็ยังมีเรื่องที่ควรทราบเพิ่มเติมอีกบางอย่าง ดังนี้

ว่าโดยภาวะพื้นฐาน เทวดาทุกประเภท ตลอดจนถึงพรหมที่สูงสุด ล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
เกิดแก่เจ็บตาย เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลาย และส่วนใหญ่ก็เป็น
ปุถุชน ยังมีกิเลสคล้ายมนุษย์

แม้ว่าจะมีเทพเป็นอริยบุคคลบ้าง ส่วนมากก็เป็นอริยะมาก่อนตั้งแต่ครั้งยังเป็นมนุษย์ แม้ว่า
เมื่อเปรียบเทียบโดยเฉลี่ยตามลำดับฐานะ เทวดาจะเป็นผู้มีคุณธรรมสูงกว่า แต่ก็อยู่ในระดับ
ใกล้เคียงกัน จนพูดรวมๆ ไปได้ว่า เป็นระดับสุคติด้วยกัน

ในแง่ความได้เปรียบเสียเปรียบ บางอย่างเทวดาดีกว่า แต่บางอย่างมนุษย์ก็ดีกว่า เช่น ท่าน
เปรียบเทียบระหว่างมนุษย์ชาวชาวขมภูทวีป กับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า เทพชั้นดาวดึงส์เหนือ
กว่ามนุษย์ ๓ อย่าง คือ มีอายุทิพย์ ผิวพรรณทิพย์ และความสุขทิพย์ แต่มนุษย์ชาวชมพู
ทวีปก็เหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ๓ ด้าน คือ กล้าหาญกว่า มีสติดีกว่า และมีการประพฤติ
พรหมจรรย์ (หมายถึงการปฏิบัติตามอริยมรรค)

แม้ว่าตามปกติพวกมนุษย์จะถือว่าเทวดาสูงกว่าพวกตน และพากันอยากไปเกิดในสวรรค์
แต่สำหรับพวกเทวดา เขาถือกันว่า การเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสุคติของพวกเขา ดังพุทธพจน์
ยืนยันว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์นี่แล นับว่าเป็นการไปสุคติของเทพทั้งหลาย”

เมื่อเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งจะจุติ เพื่อนเทพชาวสวรรค์จะพากันอวยพรว่า ให้ไปสุคติ คือ
ไปเกิดในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เพราะโลกมนุษย์ เป็นถิ่นที่มีโอกาสเลือกประกอบกุศลกรรม
ทำความดีงามต่างๆ และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่๓ (ความชั่วหรืออกุศลกรรม
ต่างๆ ก็เลือกทำได้เต็มที่เช่นเดียวกัน)

การเกิดเป็นเทวดาที่มีอายุยืนยาว ท่านถือว่า เป็นการเสียหรือพลาดโอกาสอย่างหนึ่งใน
การที่จะได้ประพฤติพรหมจรรย์ (ปฏิบัติตามอริยมรรค) เรียกอย่างสามัญว่า เป็นโชคไม่ดี

พวกชาวสวรรค์มีแต่ความสุข ชวนให้เกิดความประมาทมัวเมา สติไม่มั่น ส่วนโลกมนุษย์
มีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง เคล้าระคน มีประสบการณ์หลากหลาย เป็นบทเรียนได้มาก เมื่อรู้จัก
กำหนด ก็ทำให้ได้เรียนรู้ ช่วยให้สติเจริญว่องไว ทำงานได้ดี เกื้อกูลแก่การฝึกตน และ
การที่จะก้าวหน้าในอารยธรรม

เมื่อพิจารณาในแง่ระดับแห่งคุณธรรมให้ละเอียดลงไปอีก จะเห็นว่า มนุษยภูมินั้น อยู่กลาง
ระหว่างเทว-ภูมิหรือสวรรค์ กับ อบายภูมิ มีนรก เป็นต้น

พวกอบายเช่นนรกนั้น เป็นแดนของคนบาปด้อยคุณธรรม แม้ชาวอบายบางส่วนจะจัดได้ว่า
เป็นคนดี แต่ก็ตกไปอยู่ในนั้น เพราะความชั่วบางอย่างให้ผลถ่วงดึงลงไป ส่วนสวรรค์ก็เป็น
แดนของคนดีค่อนข้างมีคุณธรรม แม้ว่าชาวสวรรค์บางส่วนจะเป็นคนชั่ว แต่ก็ได้ขึ้นไปอยู่
ในแดนนั้น เพราะมีความดีบางอย่างที่ปะทุแรงช่วยผลักดันหรือฉุดขึ้นไป

ส่วนโลกมนุษย์ ที่อยู่ระหว่างกลาง ก็เป็นประดุจชุมทางที่ผ่านหมุนเวียนกันไปมา ทั้งของ
ชาวสวรรค์ และชาวอบาย เป็นแหล่งที่สัตวโลกทุกพวกทุกชนิดมาทำมาหากรรม เป็นที่คน
ชั่วมาสร้างตัวให้เป็นคนดี เตรียมไปสวรรค์ หรือคนดีมาสุมตัวให้เป็นคนชั่ว เตรียมไปนรก
ตลอดจนเป็นที่ผู้รู้จะมาสะสางตัวให้เป็นคนอิสระ เลิกทำมาหากรรม เปลี่ยนเป็นผู้หว่านธรรม
ลอยพ้นเหนือการเดินทางหมุนเวียนต่อไป

พวกอบายมีหลายชั้น ชั้นเดียวกันก็มีบาปธรรมใกล้เคียงกัน พวกเทพก็มีหลายชั้นซอย
ละเอียดยิ่งกว่าอบาย มีคุณธรรมพื้นฐานประณีตลดหลั่นกันไปตามลำดับ ชั้นเดียวกัน
ก็มีคุณธรรมใกล้เคียงกัน

ส่วนโลกมนุษย์แดนเดียวนี้ เป็นที่รวมของบาปธรรมและคุณธรรมทุกอย่างทุกระดับ มีคนชั่ว
ซึ่งมีบาปธรรมหยาบหนาเหมือนดังชาวนรกชั้นต่ำสุด และมีคนดี ซึ่งมีคุณธรรมประณีตเท่า
กับพรหมผู้สูงสุด ตลอดจนท่านผู้พ้นแล้วจากภพภูมิทั้งหลาย ซึ่งแม้แต่เหล่าเทพมารพรหม
ก็เคารพบูชา ภาวะเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษของโลกมนุษย์ ที่เป็นวิสัยกว้างสุดแห่ง
บาปอกุศลและคุณธรรม เพราะเป็นที่ทำมาหากรรม และเป็นที่หว่านธรรม

เท่าที่กล่าวมานี้ จะเห็นข้อเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับเทวดาได้ว่า เมื่อเทียบโดยคุณธรรม
และความสามารถทั่วไปแล้ว ทั้งมนุษย์และเทวดาต่างก็มีได้เท่าเทียม หรือใกล้เคียงกัน เป็น
ระดับเดียวกัน แต่มนุษย์มีวิสัยแห่งการสร้างเสริมปรับปรุงมากกว่า ข้อแตกต่างสำคัญจึงอยู่ที่
โอกาส กล่าวคือ มนุษย์มีโอกาสมากกว่าในการที่จะพัฒนาคุณธรรมและความสามารถของตน

ถ้ามองในแง่แข่งขัน (ทางธรรมไม่สนับสนุนให้มอง) ก็ว่า ตามปกติ ถ้าอยู่กันเฉยๆ เทวดา
ทั่วไปสูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่ามนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวเมื่อไร ก็จะขึ้นไปเทียมเท่า หรือ
แม้แต่สูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่าเทวดา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2021, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




41.png
41.png [ 2.67 MiB | เปิดดู 355 ครั้ง ]
มนุษย์กับเทวดา ความสัมพันธ์ใด ที่ล้าสมัย ควรเลิกเสีย
เมื่อทราบฐานะของเทวดาแล้ว พึงทราบความสัมพันธ์ที่ควร และไม่ควร ระหว่างเทวดา
กับมนุษย์ต่อไป ในลัทธิศาสนาที่มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาล เขาเชื่อว่ามีเทวดาใหญ่น้อย
มากมาย และมีเทพสูงสุดเป็นผู้สร้างโลก และบันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ไม่มีทาง
จะเจริญเลิศล้ำกว่าเทพนั้นได้ มนุษย์จึงสร้างความสัมพันธ์กับเทพด้วยวิธีอ้อนวอนขอ
ความช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สวดสรรเสริญ ยกย่อง สดุดี บวงสรวง สังเวย บูชายัญ
เป็นการปรนเปรอเอาอกเอาใจ หรือไม่ก็ใช้วิธีเรียกร้องความสนใจ บีบบังคับให้เห็นใจ
เชิงเร้าให้เกิดความร้อนใจจนเทพทนนิ่งอยู่ไม่ได้ ต้องหันมาดูแลหาทางแก้ไข หรือสนอง
ความต้องการให้ ทั้งนี้ โดยใช้วิธีข่มขี่บีบคั้นลงโทษทรมานตนเอง ที่เรียกว่าประพฤติพรต
และบำเพ็ญตบะต่างๆ

สรุปให้เห็นชัดถึงวิธีสัมพันธ์กับเทพเจ้าเป็น ๒ อย่าง คือ

๑. วิธีอ้อนวอนขอความช่วยเหลือ ด้วยการเซ่นสรวง สังเวย บูชายัญ ดังลูกอ้อนวอนขอต่อ
พ่อแม่ บางทีเลยไปเป็นดังประจบ และแม้ติดสินบนต่อผู้มีอำนาจเหนือ

๒. วิธีบีบบังคับให้ทำตามความประสงค์ ด้วยการบำเพ็ญพรตทำตบะ ดังลูกที่ตีอกชกหัวกัด
ทึ้งตนเอง เรียกร้องเชิงบีบบังคับ ให้พ่อแม่หันมาใส่ใจความประสงค์ของตน

แต่จะเป็นวิธีใดก็ตาม ย่อมรวมลงในการมุ่งหวังผลประโยชน์แก่ตน ด้วยการพึ่งพาสิ่งภาย
นอกทั้งสิ้น เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ได้สอนให้เลิกเสียทั้งสองวิธี และการเลิกวิธี
ปฏิบัติทั้งสองนี้แหละ ที่เป็นลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้

ในการสอนให้เลิกวิธีปฏิบัติเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสามารถแสดงเหตุผล ชี้ให้เห็นคุณโทษ
และวางวิธีปฏิบัติที่สมควรให้ใหม่ด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร