วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2021, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




uV-BRpbUASuR4lyyhMvclA.png
uV-BRpbUASuR4lyyhMvclA.png [ 36.59 KiB | เปิดดู 400 ครั้ง ]
ความสัมพันธ์แบบชาวพุทธ ระหว่างมนุษย์กับเทวดา

อาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของเทวดา และเหตุผลเกี่ยวกับโทษของการสัมพันธ์
กับเทวดาด้วยท่าทีที่ผิดดังกล่าวมา พระพุทธศาสนาจึงสอนให้ละเลิกวิธีการแบบหวังพึ่ง
ขอผลเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการอ้อนวอนหรือการบีบบังคับก็ตาม แล้วชี้แนวทางใหม่
คือการวางท่าทีแห่งเมตตา มีไมตรีจิตอยู่ร่วมกันฉันมิตร เคารพนับถือซึ่งกันและกัน
ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ หรือเพื่อนร่วมสังสารวัฎ และในฐานะที่โดยเฉลี่ย เป็นผู้มี
คุณธรรมในระดับสูง พร้อมทั้งให้มีท่าทีแห่งการไม่วุ่นวาย ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงกัน
โดยต่างก็เพียรพยายามทำกิจของตนไปตามหน้าที่

ท่าทีแห่งการไม่รบกวน และไม่ชวนกันให้เสียเช่นนี้ ถ้าสังเกต ก็จะพบว่า เป็นสิ่งที่ปรากฏ
ชัดเจนในประเพณีความสัมพันธ์แบบชาวพุทธ ระหว่างมนุษย์กับเทวดา เพราะมีเรื่องราว
เล่ากันมามากมายในคัมภีร์ต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งอรรถกถาชาดก และอรรถกถาธรรมบท

ตามประเพณีนี้ เทวดาที่ช่วยเหลือมนุษย์ ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ลักษณะการช่วยเหลือ และเหตุ
ที่จะให้ช่วยเหลือ ต่างออกไปจากแบบก่อน คือ เทวดาที่ช่วยเหลือ มาช่วยเอง ด้วยคุณธรรม
คือความดีของเทวดาเอง มิใช่เพราะการเรียกร้องอ้อนวอนของมนุษย์ และเทวดาก็มิได้
เรียกร้องต้องการหรือรอการอ้อนวอนนั้น ทางฝ่ายมนุษย์ผู้ได้รับความช่วยเหลือ ก็ทำความดี
ไปตามปกติธรรมดา ด้วยคุณธรรมและความสำนึกเหตุผลของเขาเอง มิได้คำนึงว่าจะมี
ใครมาช่วยเหลือหรือไม่ และมิได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือใดๆ ส่วนตัวกลาง คือเหตุให้มี
การช่วยเหลือเกิดขึ้น ก็คือความดีหรือการทำความดีของมนุษย์ มิใช่การเรียกร้องอ้อน
วอน หรืออามิสสินวอนใดๆ

เทวดาองค์เด่น ที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ตามประเพณีนี้ ได้แก่ท้าวสักกะ ที่เรียกกันว่า
พระอินทร์ คติการช่วยเหลือของพระอินทร์อย่างนี้ นับว่าเป็นวิวัฒนาการช่วงต่อ ที่เชื่อม
จากคติแห่งเทวานุภาพของลัทธิศาสนาแบบเดิม เข้าสู่คติแห่งกรรมของพระพุทธศาสนา
แม้จะยังมิใช่เป็นตัวแท้บริสุทธิ์ตามหลักการของพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นคติที่วิวัฒน์
เข้าสู่ความเป็นพุทธ ถึงขั้นที่ยอมรับเป็นพุทธได้

สาระสำคัญของคตินี้ ก็คือ มนุษย์ที่ดี ย่อมทำความดีไปตามเหตุผลสามัญของมนุษย์เอง
และทำอย่างมั่นคงแน่วแน่เต็มสติปัญญา จนสุดความสามารถของตน ไม่คำนึงถึง ไม่รีรอ
ไม่เรียกร้องความช่วยเหลือจากเทวดาใดๆ เลย

เทวดาที่ดี ย่อมใส่ใจคอยดูแลช่วยเหลือมนุษย์ที่ดี ด้วยคุณธรรมของเทวดาเอง เมื่อ
มนุษย์ผู้ทำดีได้รับความเดือดร้อน หากเทวดายังมีความดีอยู่บ้าง เทวดาก็จะทนดูไม่ไหว
ต้องลงมาช่วยเอง

พูดง่ายๆ ว่า มนุษย์ก็ทำดี โดยไม่คำนึงถึงการช่วยเหลือของเทวดา เทวดาก็ช่วย โดย
ไม่คำนึงถึงการอ้อนวอนของมนุษย์

ถ้าใครยังห่วง ยังหวังเยื่อใยในทางเทวานุภาพอยู่ ก็อาจจะท่องคติต่อไปนี้ไว้ปลอบใจว่า :

การเพียรพยายามทำดี เป็นหน้าที่ของมนุษย์ การช่วยเหลือคนทำดี เป็นหน้าที่ของสวรรค์
เราทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน”

ถ้ามนุษย์ไม่เพียรทำดี มัวแต่อ้อนวอนเทวดา และถ้าเทวดาไม่ใส่ใจช่วยคนทำดี มัวแต่รอการ
อ้อนวอนหรือคอยช่วยคนที่อ้อนวอน ก็คือเป็นผู้ทำผิดต่อหน้าที่

เมื่อมนุษย์และเทวดาต่างขาดคุณธรรม ปฏิบัติผิดหน้าที่ ก็จะประสบความหายนะไปด้วยกัน
ตามกฎแห่งธรรมดา ที่ควบคุมทั้งมนุษย์และสวรรค์อยู่อีกชั้นหนึ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร