วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png
13736bb9db374a34e8799d6f7cf91217.png [ 184.95 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
ปัจจุบันนี้ ความเข้าใจและความรู้สึกของคนทั่วไปเกี่ยวกับนิพพาน และความเป็นพระอรหันต์
ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก การมองนิพพานโดยฐานเป็นเมืองแก้วแห่งบรมสุขนิรันดรอย่างในสมัย
โบราณ ได้กลายไปเป็นความรู้สึกว่าหมดสิ้นขาดสูญ ยิ่งมาเหินห่างจากคำสอนของพุทธศาสนา
และถูกความนิยมปรนเปรอทางวัตถุ ซ้ำเข้าอีก คนยุคปัจจุบันก็เลยมักมีความรู้สึกต่อนิพพานใน
ทางลบ เห็นเป็นภาวะที่พึงเบือนหรือผละหนี อย่างน้อยก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่อยู่ห่างไกลเหลือเกิน ซึ่ง
ไม่เห็นเหตุผลที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง

ในสภาพเช่นนี้ นอกจากจะต้องพยายามสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับนิพพานให้เกิด
ขึ้นแล้ว มีภูมิธรรมระดับหนึ่งที่ควรช่วยกันชักจูงคนให้หันมาสนใจ คือความเป็น โสดาบัน ซึ่ง
เป็นอริยบุคคลระดับต้นหรือสมาชิกกลุ่มแรกในชุมชนอารยะ

ความจริง ความเป็นโสดาบันนี้ เป็นสิ่งที่ควรสนใจ ไม่เฉพาะในระหว่างที่กำลังสร้างความเข้าใจ
เกี่ยวกับนิพพานและความเป็นพระอรหันต์เท่านั้น แม้ตามปกติก็เป็นข้อที่ควรเน้นเสมออยู่แล้ว แต่
มักถูกละเลยหรือมองข้ามกันไปเสีย

ที่กล่าวว่า ความเป็นโสดาบัน ก็ดี ภูมิธรรมและการดำเนินชีวิตระดับนี้ ก็ดี เป็นสิ่งที่ควรจะสนใจ
และเน้นกันให้มากนั้น แม้พระพุทธองค์เอง ก็ได้ตรัสแนะนำย้ำไว้ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เหล่าชน ทั้งคนที่พวกเธอพึงอนุเคราะห์ และคนที่พอจะรับฟังคำสอน ไม่ว่าจะเป็นมิตร
เป็นผู้ร่วมงาน เป็นญาติ หรือสาโลหิตก็ตาม พวกเธอพึงชักชวน พึงสอนให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงมั่น ในองค์
คุณของโสดาบัน ๔ ประการ”

ภาวะและชีวิตของพระโสดาบัน ไม่ห่างไกล และไม่น่ากลัวเลย สำหรับปุถุชนทั้งหลาย แม้ในสมัย
ปัจจุบัน กลับจะเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งสำหรับสาธุชนด้วยซ้ำ

พุทธสาวกโสดาบันจำนวนมากมายในพุทธกาล เป็นคฤหัสถ์ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ชอบด้วยศีล
ธรรม อยู่ท่ามกลางสังคมของชาวโลก มีชีวิตครอบครัวที่เป็นสุข บำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชน แก่พระ
ศาสนาและแก่บ้านเมือง มีชีวประวัติที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง

ท่านเหล่านี้ แม้จะได้บรรลุภูมิธรรมสูงแล้ว แต่ยังมีกิเลสละเอียดเหลืออยู่ เมื่อประสบความพลัดพราก
ยังโศกเศร้าร่ำไห้ ยังมีรักมีโกรธดังสามัญชน แต่ละเมียดเบาบางกว่า และจะไม่ทำความชั่วความ
ผิดที่เสียหายร้ายแรง และความทุกข์ที่เหลืออยู่ ก็มีเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับทุกข์ส่วนใหญ่ที่ละ
ได้แล้ว เป็นผู้มีพื้นฐานอันมั่นคง ที่จะนำชีวิตของตนเดินทางก้าวหน้าไป ในมรรคาแห่งความสุขที่
ไร้โทษ และกุศลธรรมที่ไพบูลย์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




segment_regular_ofmUR3loNC8.png
segment_regular_ofmUR3loNC8.png [ 46.57 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
พุทธสาวกโสดาบัน ที่พึงออกชื่อเป็นตัวอย่างแสดงหลักฐานไว้ ณ ที่นี้ เช่น

- พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ยิ่งใหญ่แห่งแคว้นมคธ ผู้ทรงถวายเวฬุวันเป็นสังฆารามแห่งแรกใน
พระพุทธศาสนา และทรงรักษาอุโบสถเดือนละ ๔ ครั้ง

- อนาถปิณฑิก เศรษฐี เจ้าของทุนสร้างวัดเชตวันที่มีชื่อเสียง ผู้บำรุงพระสงฆ์ และสงเคราะห์คน
อนาถาอย่างไม่มีใครอื่นเทียบเท่า

- นางวิสาขามหาอุบาสิกา เอตทัคคะ ฝ่าย ผู้แม้มีบุตรธิดามากถึง ๒๐ คน แต่สามารถบำเพ็ญประ
โยชน์ส่วนรวมได้เป็นอย่างดี มีบทบาทช่วยกิจการของสงฆ์อย่างสำคัญ เป็นผู้กว้างขวางและมี
เกียรติคุณสูงเด่นในสังคมแคว้นโกศล

- หมอชีวก โกมารภัจ แพทย์ใหญ่ประจำพระองค์ราชาแห่งมคธ ประจำพระองค์พระพุทธเจ้า
และคณะสงฆ์ ผู้มีเกียรติคุณยั่งยืนตลอดมาในวิชาแพทย์แผนโบราณ

- นกุลบิดาและนกุลมารดา คู่สามีภรรยาผู้ครองรักอันภักดีมั่นคงตราบชรา และยังปรารถนา
เกิดพบกันทุกชาติไป

คุณสมบัติของบุคคลโสดาบัน

คุณสมบัติของพระโสดาบันเท่าที่รู้กันดีโดยทั่วไป ก็คือ การละ ๓ ข้อต้น (สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา
และสีลัพพตปรามาส) ได้ ซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติฝ่ายลบ หรือฝ่ายหมดไป แต่ความจริง มีคุณ
สมบัติฝ่ายบวกหรือฝ่ายมีด้วย และตามหลักฐานปรากฏว่า ท่านเน้นคุณสมบัติฝ่ายมีเป็นอย่างมาก

คุณสมบัติฝ่ายมีนั้น มีหลายอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็รวมอยู่ในหลักธรรมสำคัญสำหรับตั้ง
เป็นเกณฑ์ได้ ๕ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ (ความเสียสละ) และปัญญา ในที่นี้ จะรวบ
รวมคุณสมบัติต่างๆ ทั้งฝ่ายหมดและฝ่ายมีมาเรียงไว้ โดยแสดงเฉพาะสาระสำคัญ ดังนี้

ก. คุณสมบัติฝ่ายมี
๑. ด้านศรัทธา: เชื่อมีเหตุผล เชื่อมั่นในความจริง ความดีงาม และกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล
มั่นใจในปัญญาของมนุษย์ที่จะดับทุกข์หรือแก้ไขปัญหาได้ตามทางแห่งเหตุผล และเชื่อใน
สังคมที่ดีงามของมนุษย์ซึ่งจะเจริญงอกงามขึ้นได้ตามแนวทางเช่นนั้น ความเชื่อมั่นนี้
แสดงออกด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระรัตนตรัย เป็นศรัทธาซึ่งแน่วแน่
มั่นคง ไม่มีทางผันแปร เพราะเกิดจากญาณ คือความรู้ ความเข้าใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 06:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dragon-5371427__480.png
dragon-5371427__480.png [ 342.07 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
๒. ด้านศีล: มีความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และการเลี้ยงชีพ สุจริต เป็นที่พอใจของอริยชน
มีศีลที่เป็นไท คือเป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของตัณหา ประพฤติตรงตามหลักการ ตามความหมาย
ที่แท้ เพื่อความดี ความงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขัดเกลาลดกิเลส ความสงบใจ
เป็นไปเพื่อสมาธิ โดยทั่วไปหมายถึงศีล ๕ ที่ประพฤติอย่างถูกต้อง จัดเป็นขั้นที่บำเพ็ญศีลได้
บริบูรณ์

๓. ด้านสุตะ: เป็นสุตวา อริยสาวก หรืออริยสาวกผู้มี สุตะ คือได้เรียนรู้อริยธรรม รู้จักอารยธรรม
นับว่าเป็นผู้มีการศึกษา

๔. ด้านจาคะ: อยู่ครองเรือนด้วยใจที่ปราศจากความตระหนี่ มีน้ำใจเผื่อแผ่เสียสละ ยินดีในการ
ให้ การเฉลี่ยเจือจานแบ่งปัน

๕. ด้านปัญญา: มีปัญญาอย่าง เสขะ คือรู้ชัดในอริยสัจ ๔ มองเห็นปฏิจสมุปบาท เข้าใจไตร
ลักษณ์ คือ อนิจจตา ทุกขตา และอนัตตา เป็นอย่างดี จนสลัดมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายในรูปแบบ
ต่างๆ ได้สิ้นเชิง หมดความสงสัยในอริยสัจทั้ง ๔ นั้น เรียกตามสำนวนธรรมว่า เป็นผู้รู้จักโลกแท้จริง

๖. ด้านสังคม: พระโสดาบันเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพ
ของหมู่ชน ที่เรียกว่า สาราณียธรรมได้ครบถ้วนบริบูรณ์ เพราะสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตาม
หลักข้อสุดท้ายที่ท่านถือว่าเป็นดุจยอดที่ยึดคุมหลักข้ออื่นๆ เข้าไว้ทั้งหมด กล่าวคือ ข้อว่าด้วย
ทิฏฐิสามัญญตา

สาราณียธรรม มี ๖ ข้อ คือ

๑) เมตตากายกรรม แสดงออกทางกายด้วยเมตตา เช่น ช่วยเหลือกัน และแสดงกิริยาสุภาพ
เคารพนับถือกัน

๒) เมตตาวจีกรรม แสดงออกทางวาจาด้วยเมตตา เช่น บอกแจ้งแนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี
กล่าววาจาสุภาพต่อกัน

๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา เช่น มองกันในแง่ดี คิดทำประโยชน์แก่กัน ยิ้มแย้มแจ่มใส

๔) สาธารณโภคี แบ่งปันลาภอันชอบธรรม เฉลี่ยเจือจานให้ได้มีส่วนร่วมทั่วกัน

๕) สีลสามัญญตา มีความประพฤติสุจริตเสมอกับผู้อื่น ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่

๖) ทิฏฐิสามัญญตา มีความเห็นชอบร่วมกับเพื่อนร่วมหมู่ ในอารยทฤษฎี ซึ่งนำไปสู่การกำจัดทุกข์

ในข้อความที่ชี้แจงความหมายของอารยทฤษฎี หรือทิฏฐิที่เป็นอริยะ ในข้อ ๖ นั้น มีลักษณะที่
เป็นธรรมดาของพระโสดาบัน ซึ่งควรนำมากล่าวในที่นี้ ๒ อย่าง คือ

๑) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า เมื่อต้อง (ละเมิดวินัย) ซึ่งแก้ไขได้ ก็จะรีบเปิดเผยแสดง
ให้พระศาสดาหรือเพื่อนร่วมหมู่คณะที่เป็นวิญญูได้ทราบทันที แล้วสังวรต่อไป เปรียบเหมือนเด็ก
อ่อนแบเบาะเหยียดมือหรือเท้าไปถูกถ่านไฟเข้าจะรีบชักกลับทันที

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Cactus-PNG-Photos.png
Cactus-PNG-Photos.png [ 538.4 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
๒) เป็นธรรมดาของบุคคลโสดาบันที่ว่า ทั้งที่เป็นผู้เอาใจใส่คอยขวนขวายช่วยเหลือกิจ
ธุระทั้งหลาย ทั้งงานสูงงานต่ำ ทั้งเรื่องใหญ่เรื่องย่อย ของเพื่อนร่วมหมู่คณะ แต่ในเวลา
เดียวกัน ก็มีความใฝ่ใจอย่างแรงกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
ไปด้วย เหมือนแม่โคลูกอ่อน เล็มหญ้ากินไป ก็คอยแลระวังลูกน้อยไปด้วย คือ ทั้งช่วยส่วน
รวม ทั้งคอยฝึกตนให้ก้าวต่อไปในมรรคา

๗. ด้านความสุข: เริ่มรู้จักโลกุตรสุข ที่ประณีตลึกซึ้ง ซึ่งไม่ต้องอาศัยอามิส (เพราะได้
บรรลุอริยวิมุตติแล้ว)

ข. คุณสมบัติฝ่ายหมด หรือฝ่ายละ
๑. ละสังโยชน์ คือกิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง คือ

๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่
ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้แรงๆ)

๒) วิจิกิจฉา (ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และ เป็นต้น
ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา)

๓) สีลัพพตปรามาส(ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีล กฎเกณฑ์ ระเบียบ
วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อ
ความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติ
ด้วยตัณหา และ ทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นต้น ตลอด
จนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆ กันมา)

๒. ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้ง ๕ อย่าง คือ

๑) อาวาสมัจฉริยะ (หวงที่อยู่อาศัย หวงถิ่น)

๒) กุลมัจฉริยะ (หวงตระกูล หวงพวก หวงสำนัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้
ว่าเล่นพวก)

๓) ลาภมัจฉริยะ (หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้)

๔) วรรณมัจฉริยะ (หวงกิตติคุณ หวงคำสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอ
ใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้ว ทนไม่ได้)

๕) ธรรมมัจฉริยะ (หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือ
ประสบผลสำเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน)

๓. ละอคติ คือความประพฤติผิดทาง หรือความลำเอียง ได้ทั้ง ๔ อย่าง คือ

๑) ฉนทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)

๒) โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Cactus-Plant-PNG.png
Cactus-Plant-PNG.png [ 201.44 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
๓) โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง หรือเขลา)

๔) ภยาคติ (สำเอียงเพราะกลัว)

๔. ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรง ที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำ
กรรมชั่วขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย

๕. ระงับภัยเวร โทมนัส และทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม เป็นผู้พ้นจาก
อบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อย
นิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้

ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมดและฝ่ายมีนี้ ว่าโดยสาระสำคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละ
สักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิด
ปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญา
ก็แน่นแฟ้น

พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ
ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น ก็หมดไป เมื่อราคะ
โทสะ โมหะ เบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ก็เพราะ
ปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง
ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

กล่าวโดยย่อว่า ความเป็น โสดาบัน เป็นชีวิตระดับที่ยอมรับได้ว่าน่าพอใจ และวางใจได้ ทั้งในด้าน
คุณธรรม และในด้านความสุข

ในด้านคุณธรรม ก็มีคุณความดีเพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่า จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความ
เดือดร้อนเสื่อมโทรมเสียหายเป็นภัยแก่สังคมหรือแก่ใครๆ ตรงข้าม จะมีแต่พฤติกรรมที่อำนวย
ประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำรงอยู่และดำเนินไปด้วยดีของชีวิตตนและสังคม และคุณธรรมนั้นก็มั่น
คง เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปเองตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน คือ เพราะมีปรีชาญาณที่ให้เกิด
ทัศนคติอย่างใหม่ต่อโลกและชีวิตเป็นฐานรองรับ

ส่วนในด้านความสุข พระโสดาบันก็ได้พบกับความสุขอย่างใหม่ทางจิต ที่ประณีตล้ำลึก อันประ
จักษ์เฉพาะตนว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าสูงล้ำ ซึ่งแม้ตนจะยังเสวยกามสุขและหรือโลกิยสุขอื่นๆ อยู่
ก็จะไม่ยอมให้ความสุขที่หยาบกว่าเหล่านั้นเกินเลยออกนอกขอบเขต ซึ่งจะเป็นเหตุบั่นรอน
ความสุขที่ประณีต คือจะไม่ยอมสละโลกุตรสุขอันประณีต เพื่อมาเติมส่วนขยายปริมาณให้แก่
โลกียสุขอันหยาบกว่าอีกต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งว่า กามสุข และโลกิยสุขอันหยาบ ถูกทำให้
สมดุลด้วยโลกุตรสุขอันประณีต

ความสุขนี้ เป็นทั้งผล และเป็นทั้งปัจจัยพันเนื่องอยู่ด้วยกันกับคุณธรรมที่ประพฤติ จึงเป็นหลัก
ยืนยันถึงความไม่ไหลเวียนกลับลงต่ำอีกต่อไป มีแต่จะช่วยค้ำชูส่งเสริมให้ก้าวสูงขึ้นไปในเบื้องหน้า

ความเป็นโสดาบัน มีคุณค่าเป็นที่น่าพอใจ ทั้งแก่ตัวบุคคลนั้นเองและแก่สังคมอย่างนี้ ท่านจึงจัด
ผู้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นสมาชิกชุดแรกเข้าใหม่ของชุมชนอารยะ เป็นจุดต้นที่ชีวิตอารยชน
เริ่มแรก นับเนื่องในอริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ที่แท้ อันเป็นสังคมแม่พิมพ์ที่พระพุทธศาสนามุ่งประสงค์
จะใช้เป็นแบบหล่อหลอมมนุษยชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




216-2163509_chinese-dragon-free-png-transparent-chinese-dragon-png.png
216-2163509_chinese-dragon-free-png-transparent-chinese-dragon-png.png [ 709.54 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเน้นถึงคุณค่าและความสำคัญของความเป็นโสดาบันอย่างมากมาย ดังจะทรง
เร่งเร้าให้เวไนยชนหันมาสนใจภูมิธรรม หรือระดับชีวิตขั้นนี้ อย่างจริงจัง และยึดเอาเป็นเป้า
หมายของการดำรงอยู่ในโลก เช่นตรัสว่า การบรรลุ โสดาปัตติผล ดีกว่าการได้ไปสวรรค์ ประ
เสริฐกว่าการได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประเสริฐกว่าการได้ฌานสมาบัติ ศาสดาผู้นำศาสนาที่มี
สาวกมากมาย เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยกำลัง เจโตวิมุติประกอบด้วยกรุณาคุณ สั่งสอนลัทธิเพื่อ
เข้ารวมกับพรหม ทำให้สาวกไปสวรรค์ได้มากมาย นับว่าเป็นผู้ประเสริฐมากอยู่แล้ว แต่บุคคล
ผู้เป็นโสดาบัน แม้ยังมีกามราคะอยู่ ก็ประเสริฐยิ่งกว่าศาสดาเหล่านั้น

ขอยกพุทธพจน์ในธรรมบทมาอ้าง เป็นตัวอย่าง

“เลิศล้ำ เหนือความเป็นเอกราชบนผืนปัฐพี ดีกว่าการไปสู่สรวงสวรรค์ ประเสริฐกว่าสรรพโลกา
ธิปัตย์ คือ ผลการตัดถึงกระแสแห่งโพธิธรรม (โสดาปัตติผล)”

หากยังรู้สึกว่านิพพานห่างไกล และยากเกินไปที่จะเข้าใจ ถ้าพูดถึงนิพพานแล้ว ยังให้เกิดความรู้
สึกอ้างว้างโหวงเหวง ก็พึงยึดเอาภาวะโสดาบันนี่แหละ เป็นสะพานทอดไปสู่ความเข้าใจ
นิพพาน เพราะความเป็นโสดาบัน เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงความรู้สึก และเข้าใจได้ง่ายกว่าสำหรับ
คนสมัยปัจจุบัน ในเวลาเดียวกัน ภาวะโสดาบันนั้นก็เกี่ยวข้องกับนิพพาน โดยฐานเป็นการเข้า
ถึงกระแสสู่นิพพาน หรือที่อรรถกถาเรียกว่าเป็น ปฐมทัศน์แห่งนิพพาน (เห็นนิพพานครั้งแรก)
นับว่าได้ผลทั้งสองด้าน และยังถูกต้องตามหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วย

เมื่อตกลงเช่นนี้แล้ว ก็ยกเอาภาวะโสดาบันเป็นเป้าหมายขั้นแรก ที่จะปฏิบัติ และชักชวนกันก้าว
ไปให้ถึง เป็นทั้งจุดหมายของชีวิต และจุดหมายของสังคม และในระหว่างนั้น แม้ยังก้าวไปไม่ถึง
ก็มีขั้นตอนที่แสดงถึงความก้าวหน้าในท่ามกลาง คือ ความเป็นสัทธานุสารี (ผู้แล่นรุดไปด้วย
ศรัทธา หรือผู้ก้าวหน้าไปด้วยความเชื่อ)และ ธัมมานุสารี หรือธรรมานุสารี (ผู้แล่นรุดไปด้วย
ความเข้าใจธรรม) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ได้ออกดำเนินไปแล้วสู่ความเป็นโสดาบัน
เป็นผู้เดินทางแล้วหรืออยู่ในมรรคา มีแต่เดินหน้าอย่างเดียว ไม่ถอยกลับ ซึ่งท่านจัดให้เข้า
อยู่ในชุมชนอารยะ หรือหมู่สาวกสงฆ์ด้วย

แม้หากว่า ถ้าโอ้เอ้ ห่วงหน้าห่วงหลัง ยังไม่แล่นรุดออกเดินทางจริง ก็ยังอาจก้าวมาอยู่ในขั้น
เตรียมพร้อมที่จะเดินทางได้ เรียกว่าเป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้มีศีล มีกัลยาธรรม เริ่มได้
ชื่อว่าเป็นอริย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




Ancient-Gold-Dragon-PNG-Clipart-Background.png
Ancient-Gold-Dragon-PNG-Clipart-Background.png [ 161.19 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
อริยสาวกผู้มีสุตะ (สุตวา อริยสาวก) คือผู้ได้เล่าเรียนอริยธรรม รู้จัก อารยธรรมหรือเป็น
ผู้ที่ได้ยินเสียงกู่เรียกแล้ว เป็นเบื้องต้นที่จะเรียกว่าผู้มีการศึกษา เป็นขั้นของผู้ที่รู้จุดตั้งต้น
ของทางแล้ว และมีอุปกรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยของการเดินทางเตรียมไว้แล้ว กำลังเดินมุ่งออก
จากบริเวณป่าที่หลง เพื่อมาเข้าสู่หนทาง แม้ยังอาจก้าวๆ ถอยๆ อยู่บ้าง แต่ก็พร้อมที่
จะเดินทางได้

สำหรับชีวิตขั้นต้น หรือกัลยาณปุถุชนนี้ ซึ่งมี ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ยังไม่มั่นคง
แน่นแฟ้นโดยลำพังตนเอง ก็จะมีสุตะ คือการเล่าเรียน การหาความรู้ หรือความรู้ที่ได้จาก
การสดับ เป็นคุณสมบัติสำคัญ ซึ่งอาจจะอบรมสั่งสมให้ถึงขั้นเป็นพาหุสัจจะ คือความเป็นพหูสูต
(ผู้มีสุตะมาก หรือคงแก่เรียน)

สุตะนี้แล คืออุปกรณ์สำคัญของการเดินทางในการพัฒนาชีวิต ที่จะก้าวไปในอริยมรรคา
เริ่มตั้งแต่ทำให้รู้จุดที่ทางตั้งต้น เป็นปัจจัยช่วยเสริมสร้างศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา
ต่อๆ ไป เพราะเมื่อมีความรู้ถูกต้องแล้ว ศรัทธาก็เกิดขึ้น และมีแรงที่จะปฏิบัติคุณธรรมอื่นๆ
เมื่อรวมสุตะเข้ากับศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เท่าที่มีอยู่ในระดับนี้ เรียกว่าเป็น สัมปทา
(ความถึงพร้อม, สมบัติ, คุณสมบัติที่มีอย่างเต็มที่) ๕ หรือทรัพย์ ๕ ระดับโลกีย์ เมื่อ
ก้าวหน้าไปเป็นโสดาบันแล้ว สัมปทา หรือทรัพย์ทั้ง ๕ เหล่านี้ ก็จะกลายเป็นระดับโลกุตระไปเอง

มีข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ในที่นี้ เกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคลโสดาบัน
ที่ปรากฏเด่นชัดออกมาภายนอก คือ การไม่มีความหวงแหนในทรัพย์สมบัติ ดังมีคำบรรยายในบาลีว่า

“(บุคคลโสดาบัน) ครองเรือนด้วยใจปราศจากความตระหนี่ มีความเสียสละเต็มที่...ยินดีใน
การให้ และการแบ่งปัน”

“สิ่งของที่ควรให้ได้ ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เท่าที่มีในสกุล บุคคลโสดาบันเฉลี่ยแบ่งปันกับ
คนมีศีลมี กัลยาธรรมได้ทั้งหมด”

ด้วยเหตุนี้ พฤติการณ์ของอริยสาวกเหล่านั้นจึงมีโอกาสอย่างมากที่จะเข้าลักษณะว่าศรัทธา
เพิ่ม แต่โภคะลด หรือคุณธรรมงอก แต่ทรัพย์หด ในทางวินัยสงฆ์ พระพุทธเจ้าถึงกับได้ทรง
บัญญัติสิกขาบทห้ามพระภิกษุ มิให้รับอาหารจากครอบครัว
ที่สงฆ์ประกาศตั้งให้เป็นเสขะ

ตามพุทธบัญญัตินี้ ครอบครัวใด ศรัทธาเข้มแข็งมากขึ้น แต่ทรัพย์สมบัติลดน้อยยากจนลง
สงฆ์อาจประชุมพิจารณาสมมติ คือตกลงกันแต่งตั้งครอบครัวนั้นเป็นเสขะ (เสกขสมมต, ไม่ว่า
เขาจะเป็นเสขะจริงหรือไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2021, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




dragon-2267989_960_720.png
dragon-2267989_960_720.png [ 261.07 KiB | เปิดดู 1004 ครั้ง ]
เพราะคุณธรรมภายในมองกันไม่เห็น แต่ถือเอาพฤติกรรมเป็นหลัก) ภิกษุใดไม่เจ็บไข้ และเขามิ
ได้นิมนต์ไว้ ไปรับเอาอาหารจากครอบครัวนั้นมาขบฉัน ย่อมต้องอาบัติ คือละเมิดวินัย มีความผิด

คติที่เห็นได้ในเรื่องนี้ที่สำคัญ มี ๒ อย่าง คือ

๑. เป็นวิธีการยกเอาคุณธรรมที่เป็นนามธรรมภายในตัว หรือคุณสมบัติของบุคคล ออกมา
ประกาศ หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์แก่สังคม โดยให้มีผลทางปฏิบัติระดับสังคมในกรณี
ที่สมควร

๒. แสดงให้เห็นว่า บุคคลผู้มีคุณธรรมถึงขั้นนี้ มีศรัทธาถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา หรือเข้า
ถึงธรรมแล้ว เมื่อทำความดี จะไม่ห่วงผลที่จะได้ตอบแทนแก่ตน พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ทำบุญโดย
ไม่หวังรอผล (หมายถึงอิฏฐารมณ์ต่างๆ ที่สนองความปรารถนาของตน) จะไม่มีปัญหาให้เกิด
ความคิดสงสัยว่า ทำไมทำดีไม่ได้ดี หรือทำบุญแล้วทำไมไม่รวย ไม่ได้ผลประโยชน์ที่หวัง เป็นต้น
ทั้งนี้ เพราะเขามองเห็นธรรมแล้ว เรียกว่า มีธรรมจักษุ หรือปัญญาจักขุ คือตาปัญญา ที่มอง
เห็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลายสว่างชัด มิใช่มีแต่มังสจักษุ หรือตาเนื้อหนัง ที่มองเห็นแต่สิ่งเสพเสวย
ของอินทรีย์ ๕

ควรย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บุคคลโสดาบันนี้ มีความมั่นคงในคุณธรรมโดยสมบูรณ์ แม้จะประสบสภาพ
ไม่เกื้อกูลทางวัตถุมากสักเท่าใด ความมั่นใจในคุณธรรมก็ไม่มีทางเสื่อมถอย เมื่อได้มองเห็นเหตุ
ผลแห่งธรรมประจักษ์แจ้งแล้ว เมื่อเดินอยู่ในทางแห่งความดีงามถูกต้องแล้ว ก็ไม่อาจมีผู้ใด แม้แต่
เทวดา จะมาชักจูงให้เขวออกไปได้ และไม่ว่าจะด้วยเครื่องล่ออย่างใด เรียกอย่างสมัยใหม่ก็คง
ว่า มีความเข้มแข็งทางจริยธรรมเต็มที่

ในหลักนี้ พระอรรถกถาจารย์ยกเรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐีขึ้นเป็นตัวอย่าง ให้เห็นว่า บุคคลระดับนี้
จะเดินแน่วอยู่ในทางของความดีงาม ไม่ยอมอยู่ใต้อิทธิพลแม้ของเทวดา เป็นผู้ที่เทพเจ้าไม่อาจล่อ
หรือบังคับข่มขี่ได้ แต่ตรงข้าม กลับเป็นผู้ที่เทพทั่วไปจะต้องยอมปราชัย และเคารพบูชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2023, 14:55 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร