ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ประเภทของพระอรหันต์
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=60322
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 พ.ค. 2021, 18:17 ]
หัวข้อกระทู้:  ประเภทของพระอรหันต์

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สมาธิภาวนา แปลว่า การเจริญสมาธิ หรือการบำเพ็ญสมาธิ ท่านแสดงไว้
ว่ามี ๔ อย่าง เช่นข้อที่ ๔ ว่า “สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย” นักศึกษาบางคนจึงงงและสงสัยว่า สมาธิ ก็คือองค์ธรรมแกนของ สมถะหรือ
ตัวสมถะนั่นเอง สมาธิหรือสมถะอย่างเดียว ไม่มีวิปัสสนา จะนำไปสู่ความสิ้นอาสวะได้อย่างไร
เป็นไปไม่ได้

ในกรณีนี้ จะต้องเข้าใจว่า ท่านกล่าวถึงสมาธิโดยฐานเป็นจุดรวม หรือเป็นเวทีของการปฏิ
บัติธรรม เป็นประดุจสนามที่องค์ธรรมต่างๆ มาชุมนุมกันทำงาน หรือสู้รบกับข้าศึกคือกิเลส ไม่ใช่
หมายความว่าฝึกหรือเจริญสมาธิขึ้นมาอย่างเดียว

ถ้าจะพูดให้เข้าใจกันอย่างง่าย สมาธิภาวนาในกรณีนี้ก็คือ การฝึกฝนปฏิบัติธรรมที่ใช้สมาธิ หรือ
การฝึกเอาสมาธิมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมวิธีต่างๆ

ประเภทของพระอรหันต์

ในบรรดาทักขิไณยบุคคล หรือพระอริยบุคคล ที่ได้จำแนกแยกประเภทให้ทราบทั้งหมด ซึ่งมีจำ
นวนมากนั้น ในฐานะที่พระอรหันต์เป็นบุคคลสูงสุด ผู้จบสิกขา เป็นอเสขะ เสร็จสิ้นภาวนา เป็น
ภาวิตแล้ว บรรลุจุดหมาย ไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อประโยชน์ตนอีกต่อไป เป็นผู้มุ่งบำเพ็ญปริตถะ
เพื่อประโยชน์สุขแห่งพหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก จึงควรแยกออกมาแสดงให้เห็นชัดเจน
จำเพาะเป็นหมวดหนึ่ง

พระอรหันต์ ซึ่งมีทั้งหมด ๒ ประเภทนั้น แยกออกไปโดยคุณสมบัติพิเศษ ที่ได้ และไม่ได้
พร้อมทั้งความหมายสรุปอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

๑. พระปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ท่านผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมถะ
เพียงใช้สมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ได้สมถะไม่
เกินรูปฌาน ๔ ไม่มีความสามารถพิเศษ เช่น เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ไม่ได้โลกิยอภิญญา ๕ เป็นต้น
จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌาน ต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค

ข. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌาน ๔ อย่างน้อยขั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาที่ให้บรรลุอรหัตผล

ค. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมถิทา ๔ คือ ได้ปัญญาแตกฉาน ๔ ประการ

๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 21 พ.ค. 2021, 18:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ประเภทของพระอรหันต์

๒. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วย อรูป
สมาบัติ และหลุดพ้นจาก นามกายด้วยมรรค เป็นการหลุดพ้น ๒ วาระ คือ ด้วยวิกขัมภนะ (ข่ม
กิเลสไว้ด้วยกำลังสมาธิของฌาน) หนหนึ่ง และด้วย สมุจเฉท (ตัดกิเลสถอนรากเหง้าด้วย
ปัญญา) อีกหนหนึ่ง จำแนกได้ ดังนี้

ก. พระอุภโตภาควิมุต คือพระอรหันต์ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยหนึ่งขั้น แต่ไม่ได้
โลกิยวิชชา โลกิยอภิญญา

ข. พระเตวิชชะ พระอรหันต์ผู้ได้ วิชชา ๓ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้วิชชา ๓ ด้วย คือ

๑) ปุพเพสานุสติญาน ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ได้ซึ่งที่เคยอยู่อาศัยในก่อน แปลกันง่ายๆ
ว่า ระลึกชาติได้

๒) จตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ถือ
กันว่าตรงกับทิพพจักขุ หรือทิพยจักขุ

๓) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หรือความรู้ที่ทำให้
สิ้นอาสวะ

ค. พระฉฬภิญญะ พระอรหันต์ผู้ได้ อภิญญา ๖ คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้อภิญญา ๖ ด้วย คือ

๑) อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๒) ทิพพยโสต ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์

๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือทายใจเขาได้

๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้

๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์

๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป

ง. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุต ผู้บรรลุ ปฏิสัมภิทา ๔ อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น

เมื่อรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน และเรียงลำดับตามชื่อที่ใช้เรียก มี ๖ นาม ดังนี้

๑. สุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน

๒. ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา (ที่นอกจากสุกขวิปัสสก)

๓. อุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน

๔. เตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓

๕. ฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖

๖. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุ ปฏิสัมภิทา ๔

พระอรหันต์องค์ใด เป็นทั้งฉฬภิญญะ และปฏิสัมภิทัปปัตตะ ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์
ครอบคลุมทั้งหมด.

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/