วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2024, 09:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจ กับ ปฏิจจสมุปบาท

ในหนังสือนี้ ได้กล่าวถึงปฏิจจสมุปบาทไว้มาก และหลายอย่าง ทั้งอริยสัจจ และปฏิจจสมุปบาท
ต่างก็เป็นหลักธรรมสำคัญ

เมื่อมีผู้ถามว่า “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?” อาจตอบว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรืออาจตอบว่า ตรัส
รู้ปฏิจจสมุปบาท ก็ได้ คำตอบทั้งสองนั้น ต่างก็มีพุทธพจน์เป็นที่อ้างยืนยันได้

ข้อควรทราบ ก็คือ คำตอบทั้งสองอย่างนั้น ตามที่จริงแล้ว ก็ถูกต้องด้วยกัน และมีความหมายลง
กันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียว กล่าวคือ ปฏิจจสมุปบาทก็เป็นเนื้อหาสำคัญของอริยสัจ และอริยสัจ
ก็มีความหมายครอบคลุมปฏิจจสมุปบาท เรื่องนี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาเริ่มตั้งแต่หลักฐาน
ที่มาในคัมภีร์

คัมภีร์วินัยปิฎก เล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ
หลังจาก เสวยเสวยวิมุตติสุข ๑ สัปดาห์ ได้เสด็จออกจากสมาธิ แล้วทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
ที่ได้ตรัสรู้นั้น ตลอดเวลา ๓ ยามแห่งราตรี โดย โดย และทั้งอนุโลม-ปฏิโลม ตามลําดับ

ต่อมา เมื่อสิ้นระยะเสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์แล้ว เมื่อปรารภการที่จะทรงประกาศธรรมแก่ผู้อื่นต่อ
ไป ทรงพระดําริว่า :

“ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นของลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก ฯลฯ สำหรับหมู่ประชา ผู้เริง
รมย์ รื่นระเริงอยู่ในอาลัย ฐานะอันนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ หลัก อิทัปปัจจยตาปฏิจจ
สมุปบาท; แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยากนัก กล่าวคือ..นิพพาน.”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนในพระสูตร เมื่อปรากฏข้อความเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนนี้ ก็จะเล่าความแนวเดียวกัน เริ่มแต่
พุทธดำริที่เป็นเหตุให้เสด็จออกผนวช การเสด็จออกผนวช การทรงศึกษาในสำนัก อาฬารดาบส
และอุทกดาบส การบำเพ็ญและการละเลิกทุกรกิริยา การทรงกลับเสวยพระกระยาหาร แล้วบรร
ลุ และตรัสรู้ วิชชา ๓

ในตอนตรัสรู้ มีข้อความที่ตรัสเล่าว่า

“ครั้นเราบริโภคอาหาร มีกำลังขึ้นแล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน... จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข...มีอุเบกขา เป็นเหตุให้
สติบริสุทธิ์อยู่”

“เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่งาน ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้น้อมจิตไปเพื่อปุพเพสานุสติญาน ก็ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก (วิชชาที่
๑)...ได้น้อมจิตไปเพื่อ จุตูปปาตญาน ก็มองเห็นหมู่สัตว์ ที่จุติอุบัติอยู่ (วิชชาที่ ๒)...ได้น้อมจิต
ไปเพื่อ อาสวักขยญาน ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข
โรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้
เห็นอย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้ว จาก กามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ (วิชชาที่ ๓)...”

ต่อจากนี้ ก็มีคำบรรยายพุทธดำริในการที่จะทรงประกาศธรรม ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับใน
วินัยปิฎก ที่ยกมาอ้างไว้แล้วข้างต้นนั้น

จะเห็นว่า วินัยปิฎกเล่าเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ ระยะเสวยวิมุตติสุข (ซึ่งอรรถกถาว่า ๗ สัป
ดาห์) เริ่มแต่พิจารณาทบทวน ปฏิจจสมปบาท จนถึงทรงพระดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะ
ความยากของปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ที่ได้ทรงตรัสรู้

ส่วนพระสูตรเล่าเหตุการณ์ก่อนตรัสรู้เป็นลำดับมา จนถึงตรัสรู้วิชชา ๓ แล้วข้ามระยะเสวยวิมุตติ
สุขทั้งหมดไป มาลงที่พุทธดำริที่จะไม่ประกาศธรรม เพราะความยากของปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน
เช่นเดียวกัน

ผู้ถือเอาความตอนทรงพิจารณาทบทวนปฏิจจสมุปบาท ในวินัยปิฎก และพุทธดำริปรารภการประ
กาศธรรม ทั้งในวินัยปิฎก และในพระสูตร ย่อมกล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท

ส่วนผู้พิจารณาความในพระสูตร เฉพาะเหตุการณ์ตอนตรัสรู้วิชชา ๓ และจับเฉพาะวิชชาที่ ๓
อันเป็นตัวการตรัสรู้แท้ๆ (เฉพาะวิชชา ๒ อย่างแรก ยังนับไม่ได้ว่าเป็นการตรัสรู้ และไม่จำเป็นสำ
หรับนิพพาน) ก็ได้ความหมายว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ จึงหลุดพ้นจากอาสวะ

อย่างไรก็ดี คำตอบทั้งสองนั้น แม้จะถูกต้องทั้งคู่ แต่ก็มีความหมายบางอย่างที่เป็นพิเศษกว่ากัน
และขอบเขตบางแง่ที่กว้างขวางกว่ากัน ซึ่งควรทำความเข้าใจ เพื่อมองเห็นเหตุผลในการแยกแสดง
เป็นคนละหลัก

ความหมายที่ตรงกันของหลักใหญ่ทั้งสองนี้ มองเห็นได้ง่าย เพื่อความรวบรัด ขอให้ดูหลัก เทียบกับ
หลักปฏิจจสมุปบาท ดังนี้

๑. สมุทยวาร: อวิชชาเกิด →สังขารเกิด → ฯลฯ → ชาติเกิด → ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาสะ เกิด

๒. นิโรธวาร: อวิชชาดับ → สังขารดับ → ฯลฯ → ชาติดับ → ชรามรณะ โสกะ ฯลฯ อุปายาส ดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อ ๑. คือ ปฏิจจสมุปบาทสมุทยวาร แสดง กระบวนการเกิดทุกข์ เท่ากับรวมอริยสัจข้อ ๑ (ทุกข์)
และ ๒ (สมุทัย) ไว้ในข้อเดียวกัน แต่ในอริยสัจ แยกเป็น ๒ ข้อ เพราะแยกเอาท่อนท้าย ( ชาติ
ชรา มรณะ ฯลฯ) ที่เป็นผลปรากฏ ออกไปตั้งต่างหาก เป็นอริยสัจข้อแรก ในฐานะเป็น
ปัญหาที่ประสบ ซึ่งจะต้องแก้ไข แล้วจึงย้อนกลับมาหาท่อนที่เป็นกระบวนการทั้งหมด ตั้ง
เป็นข้อที่ ๒ ในฐานะเป็นการสืบสาวหาต้นเหตุของปัญหา

ข้อ ๒. คือ ปฏิจจสมุปบาทนิโรธวาร แสดง กระบวนการดับทุกข์ เท่ากับ อริยสัจข้อที่ ๓ (นิโรธ)
แสดงให้เห็นว่า เมื่อแก้ปัญหาถูกต้องตรงสาเหตุแล้ว ปัญหานั้นจะดับไปได้อย่างไรตามแนว
ทางของเหตุปัจจัย

แม้ว่าโดยตรง ปฏิจจสมุปบาท นัยนี้ จะตรงกับอริยสัจข้อที่ ๓ แต่ก็ถือว่ากินความรวมถึงอริยสัจ
ข้อที่ ๔ ได้ด้วย เพราะกระบวนการดับสลายตัวของปัญหา ย่อมบ่งชี้แนวทางดำเนินการ หรือ
วิธีการทั่วไป ที่จะต้องลงมือปฏิบัติ ในการจัดการแก้ปัญหานั้นไปด้วยในตัว กล่าวคือชี้ให้เห็น
ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ณ จุดใดๆ

เมื่อสรุปอริยสัจ ให้เหลือน้อยลงอีก ก็ได้ ๒ ข้อ คือ

- ฝ่ายมีทุกข์ (ข้อ ๑ และ ๒) กับ

- ฝ่ายหมดทุกข์ (ข้อ ๓ และ ๔)

ปฏิจจสมุปบาท ๒ นัยนั้น ในที่บางแห่ง เป็นคำจำกัดความของอริยสัจข้อที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับ คือ

- ปฏิจจสมุปบาท สมุทยวาร ถือเป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๒ (สมุทัย)

- ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร เป็นคำจำกัดความของอริยสัจ ข้อที่ ๓ (นิโรธ)

แต่ในคำจำกัดความข้างต้น แสดงเฉพาะตัณหาอย่างเดียว ว่าเป็นสมุทัย และการดับตัณหา
ว่าเป็นนิโรธ ทั้งนี้เพราะตัณหาเป็นกิเลสตัวเด่น เป็นตัวแสดงที่ปรากฏชัด หรือเป็นขั้นออก
โรงแสดงบทบาท จึงจับเอาเป็นจุดที่พุ่งความสนใจ อย่างไรก็ดี กระบวนการที่พร้อมทั้งโรง
รวมถึงหลังฉาก หรือหลังเวทีด้วย ย่อมเป็นไปตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาทนั้นเอง

ส่วนแง่ที่ปฏิจจสมุปบาท กับอริยสัจ พิเศษ หรือแปลกจากกัน พอสรุปได้ ดังนี้

๑. หลักธรรมทั้งสอง เป็นการแสดงความจริงในรูปแบบที่ต่างกัน ด้วยวัตถุประสงค์คนละอย่าง

- ปฏิจสมุปบาท แสดงความจริง ตามกระบวนการของมันเอง ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติล้วนๆ

- อริยสัจ เป็นหลักความจริง ในรูปแบบที่เสนอตัวต่อปัญญามนุษย์ ในการที่จะสืบสวนค้น
คว้า และทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

โดยนัยนี้ อริยสัจ จึงเป็นหลักธรรมที่แสดงโดยสอดคล้องกับประวัติการแสวงหาสัจธรรม
ของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่การเผชิญความทุกข์ ที่ปรากฏเป็นปัญหา แล้วสืบสาวหาสาเหตุ
พบว่ามีทางแก้ไข ไม่หมดหวัง จึงกำหนดรายละเอียด หรือจุดที่ต้องแก้ไข และกำหนดเป้า
หมายให้ชัด แล้วดำเนินการแก้ไขตามวิธีการ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการนั้น

แล้วโดยนัยเดียวกัน จึงเป็นหลักธรรมที่ยกขึ้นมาใช้ในการสั่งสอน เพื่อให้ผู้รับคำสอนทำ
ความเข้าใจอย่างมีระเบียบ มุ่งให้เกิดผลสำเร็จทั้งการสั่งสอนของผู้สอน และการประพฤติ
ปฏิบัติของผู้รับคำสอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน ปฏิจจสมุปบาท เป็นตัวกระบวนธรรมแกนกลางของอริยสัจ และเป็นเนื้อหาทางวิชาการ ที่จะ
ต้องศึกษา ในเมื่อต้องการเข้าใจอริยสัจให้ชัดเจนถึงที่สุด จึงเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง
พิจารณาทบทวนหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ

๒. ข้อที่แปลก หรือพิเศษกว่ากัน อย่างสำคัญ อยู่ที่ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวาร ซึ่งตรงกับ
อริยสัจ ข้อที่ ๓ และ ๔ (นิโรธ และ มรรค) กล่าวคือ

ก. เมื่อเทียบกับอริยสัจ ข้อ ๓ (นิโรธ) จะเห็นว่า

ปฏิจจสมุปบาท นิโรธวาร กล่าวถึงนิโรธด้วยก็จริง แต่มุ่งแสดงเพียงกระบวนการเข้าถึงนิโรธ
ไม่ได้มุ่งแสดงสภาวะของตัวนิโรธ หรือนิพพานเอง ด้วยเหตุนี้ ในพุทธดำริ เมื่อจะทรงประกาศ
ธรรม จึงแยกธรรมที่ทรงพิจารณาเป็น ๒ ตอน คือ

- ตอนแรก กล่าวถึง ปฏิจจสมุปบาท อย่างข้างต้น

- ต่อจากนั้น มีพุทธดำริต่อไปอีกว่า “แม้ฐานะอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก กล่าวคือ ความสงบแห่ง
สังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน ”

นี้แสดงว่า ทรงแยกธรรมที่ตรัสรู้เป็น ๒ อย่าง คือ ปฏิจจสมุปบาท กับ นิโรธ (นิพพาน)

ส่วนอริยสัจ ข้อที่ ๓ คือ นิโรธ มุ่งแสดงตัวสภาวะของนิโรธเป็นสำคัญ แต่มีความหมายเล็งไปถึง
กระบวนการเข้าถึงนิโรธแฝงอยู่ด้วย

ข. แม้ว่าปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร จะกินความรวมถึงอริยสัจ ข้อ ๔ คือ มรรค ด้วย แต่ก็ยังไม่
ให้ผลในทางปฏิบัติชัดเจน เพราะ

- ปฏิจจสมุปบาทแสดงแต่ตัวกระบวนการล้วนๆ ตามที่เป็นไปโดยธรรมชาติเท่านั้น มิได้ระบุลงไปให้
ชัดเจนว่า สิ่งที่จะต้องทำมีรายละเอียดอะไรบ้าง จะต้องทำอย่างไร กระบวนการอย่างนั้นจึงจะ
เกิดขึ้น มีลำดับขั้นการปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะกลวิธีต่างๆ ในการกระทำ คือ ไม่ได้จัดวางระบบวิธี
การไว้โดยเฉพาะ เพื่อการปฏิบัติอย่างได้ผล เหมือนแพทย์รู้วิธีแก้ไขโรค แต่ไม่ได้สั่งยาและวิธีปฏิบัติ
ในการรักษาไว้ให้

- ส่วนในอริยสัจ มีหลักข้อที่ ๔ คือ มรรค ซึ่งจัดขึ้นไว้ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางปฏิบัติของมนุษย์
โดยเฉพาะ ให้เป็นสัจจะข้อหนึ่งต่างหาก ในฐานะข้อปฏิบัติที่พิสูจน์แล้ว ยืนยันได้ว่านำไปสู่จุด
หมายได้แน่นอน

อริยสัจข้อที่ ๔ คือ มรรค นี้ แสดงหลักความประพฤติปฏิบัติไว้อย่างละเอียดกว้างขวางพิสดาร ถือ
ว่าเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติ หรือระบบจริยธรรมทั้งหมด ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า มัชฌิมา
ปฏิปทา คือ ทางสายกลาง หรือข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ

เมื่อเทียบหลักอริยสัจ กับปฏิจจสมุปบาท ถือว่า

- ปฏิจจสมุปบาท เป็น มัชเฌนธรรมเทศนา คือ หลักธรรมที่แสดงเป็นกลางๆ หรือธรรมสายกลาง ตาม
ที่ธรรมชาติเป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน ครอบคลุมอริยสัจ ๓ ข้อแรก

- ส่วนอริยสัจ ข้อที่ ๔ มรรค เป็น มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง สำหรับมนุษย์ที่จะปฏิบัติ เพื่อให้
ผลเกิดขึ้นแก่ตนโดยเป็นไปตามธรรมดานั้น เป็นเรื่องส่วนพิเศษ ซึ่งท่านจัดแถมให้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ ที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ นัย คือ
ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน กับ อริยะสัจ ๔ ทั้งสองนัย ว่าโดยสาระแล้ว เป็นอันเดียวกัน
แต่พิจารณาต่างแง่กัน คือ

๑. ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน ตรัสในคราวปรารภที่จะทรงเริ่มประกาศธรรมว่า สิ่งที่ตรัสรู้
ลึกซึ้ง ยากยิ่งนักที่สัตว์ทั้งหลายจะเข้าใจ การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า ปฏิจจสมุปบาท
และนิพพาน เป็นส่วนเนื้อหาสาระของการตรัสรู้ หรือพูดให้สัมพันธ์กับนัยที่สองว่า เป็นส่วน
แก่นแท้ของอริยจสัจ เป็นด้านธรรมชาติและธรรมดาของมัน เป็นตัวแท้ๆ ล้วนๆ ของธรรม
ซึ่งเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง

๒. อริยสัจ ๔ ตรัสในคราวทรงเล่าลำดับแห่งการปฏิบัติจนตรัสรู้ของพระองค์เอง และใน
คราวทรงแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น เริ่มแต่ในปฐมเทศนา การตรัสในแง่นี้ หมายความว่า อริย
สัจ ๔ คือธรรมที่ได้ตรัสรู้ทั้งหมด ซึ่งปรากฏในรูปลักษณะที่จัดเข้าลำดับเป็นกระบวนการขั้น
ตอน โดยคำนึงถึงความสามารถที่จะเข้าใจและการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เพื่อมุ่งให้
สอนเข้าใจง่าย และปฏิบัติได้ผล

พูดอีกอย่างหนึ่ง ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน เป็นแต่ธรรมล้วนๆ ตามธรรมชาติ ส่วนอริย
สัจ ๔ คือธรรมในรูปที่มนุษย์จะเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือที่นำเสนอในเชิงที่เอื้อต่อความเข้า
ใจและการใช้ประโยชน์ของมนุษย์

พร้อมนั้นก็พูดได้ว่า อริยสัจ ๔ คือธรรมทั้งหมด มีจุดซึ่งเป็นแก่นแท้เข้าใจยากที่สุดอยู่ที่
ปฏิจจสมุปบาทและนิพพานเท่านั้น

ถ้าเข้าใจปฏิจสมุปบาทและนิพพานแล้ว ก็เป็นอันเข้าใจพุทธธรรมทั้งหมด (คือรวมทั้งอริยสัจ ๔ ด้วย)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร