วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 15:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 04:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเบื้องต้น
มักมีการสงสัย หรือถกเถียงกัน ในหมู่ผู้ศึกษาปฏิบัติธรรมว่า

- ผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว จะบรรลุนิพพาน หรือสำเร็จอรหันตผล
โดยไม่อาศัยสมถะเลย ได้หรือไม่?

- ผู้จะบรรลุนิพพาน จะต้องได้ฌานบ้างหรือไม่?

- การสำเร็จอภิญญา ๖ อาศัยแต่เพียงจตุตถฌานก็เพียงพอ ไม่ต้องได้ครบสมาบัติ ๘
(คือไม่ต้องได้อรูปฌานด้วย) ใช่หรือไม่?

- การจะได้อาสวักขยญาน (ญาณที่สิ้นอาสวะ) บรรลุนิพพาน จำเป็นต้องได้ปุพเพนิวาสานุสติ
ญาน (ญาณที่ระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในก่อน) และจตูปปาตญาน (ญาณหยั่งรู้การที่หมู่
สัตว์จุติและอุบัติไปตามกรรม) เป็นพื้นฐานก่อนหรือไม่?

- ในฌาน บำเพ็ญวิปัสสนาได้ หรือว่าต้องออกจากฌานก่อน จึงพิจารณาสังขารได้?

- ได้มรรคผลก่อนแล้ว จึงเจริญสมถะเพิ่มเติมจนได้ฌานสมาบัติ ได้หรือไม่?

บรรดาคำถามเหล่านี้ บางข้อเป็นเรื่องของหลักการสำคัญของการตรัสรู้ หรือการประจักษ์
แจ้งนิพพานโดยตรง บางข้อเป็นเพียงเกี่ยวพันบางแง่ บางข้อได้ตอบไปแล้วบางส่วน เฉพาะ
อย่างยิ่งข้อที่ว่าเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่อาศัยสมถะเลยได้หรือไม่ ได้ตอบแล้วใน
ตอนที่ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนาข้างต้น

ต่อไปนี้ จะมุ่งตอบข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักการสำคัญของการตรัสรู้เป็นหลัก และจะตอบ
ด้วยยกหลักฐานมาให้พิจารณาเอง จะอธิบายเท่าที่จำเป็น เพียงเพื่อเชื่อมความให้ต่อเนื่องกัน

ก) หลักทั่วไป
“ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ อาศัย
ทุติยฌานก็ได้ ตติยฌานก็ได้ จตุตถฌานก็ได้ อากาสานัญจายตนะฌานก็ได้ วิญญายตนะฌาน
ก็ได้ อากิญจัญญายตนะฌานก็ได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ได้ (สัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้)”

ความต่อจากนี้ในพระสูตรนี้ และความในพระสูตรอื่นอีก ๓ แห่ง บรรยายวิธีใช้ฌานสมาบัติแต่
ละขั้นๆ ในการพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งสังขารตามความเป็นจริง (คือที่เรียกว่าเจริญวิปัสสนา)
ดังตัวอย่างข้อความต่อไปในฌานสูตรข้างต้นนั้นว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


“ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสะทั้หลาย
เพราะอาศัยปฐมฌานก็ได้ ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว? (คือ) ภิกษุในธรรมวินัยนี้
...บรรลุปฐมฌาน, เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ สิ่งที่เป็นรูป สิ่งที่เป็น
เวทนา สิ่งที่เป็นสัญญา สิ่งที่เป็นสังขาร สิ่งที่เป็นวิญญาน อันมีอยู่ในปฐมฌาน
นั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์...โดยความเป็นของสูญ โดย
ความเป็นอนัตตา, เธอยังจิตให้ยั้งหยุด (หันกลับ คือคลายหรือไม่อยากได้ ไม่ติด)
จากธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วเธอย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต
กล่าวคือ...นิพพาน เธอดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน) นั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอา
สวะทั้งหลาย

“ถ้ายังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ, เพราะ (ยังมี) ธรรมราคะ...ก็จะเป็นโอปปาติกะ
เป็นผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา (คือเป็นพระอนาคามี)...”

ต่อจากนี้ บรรยายการอาศัยทุติยฌาน ตติยฌาน ฯลฯ เพื่อเจริญวิปัสสนาจนบรรลุอา
สวักขัย อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับ ทีละขั้นๆ จนถึงอากิญจัญญายตนะฌาน

ในมหามาลุงกโยวาทสูตร แสดงรายละเอียดน้อยกว่า แต่ก็กล่าวถึงการพิจารณา
ขันธ์ ๕ ที่มีในฌานแต่ละขั้นโดยไตรลักษณ์ จนบรรลุอาสวักขัยอย่างเดียวกันนี้
ตลอดขึ้นไปถึงอากิญจัญญายตนฌานเช่นเดียวกัน

ส่วนในอัฏฐกนาครสูตร และทสมสูตร มีข้อแตกต่างเล็กน้อย คือ ข้อความที่บรร
ยายการพิจารณาแปลกออกไปว่า

“ภิกษุ...บรรลุปฐมฌาน, เธอพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้ เป็นของปรุงแต่ง
เกิดจากความจำนงให้เป็น, เธอรู้ชัด (รู้เท่าทัน) ว่า สิ่งใดก็ตามเป็นของปรุงแต่ง
เกิดจากความจำนงให้เป็น สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา, เธอ
ดำรงอยู่ใน (ปฐมฌาน) นั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย...”

ที่นี่ เพิ่มเมตตาเจโตวิมุตติ กรุณาเจโตวิมุตติ มุทิตาเจโตวิมุตติ อุเบกขาเจโตวิมุตติ
เข้ามาแทรก ระหว่างรูปฌานกับอรูปฌานอีก ทำให้มีฌานสมาบัติสำหรับพิจารณา
เพิ่มขึ้นอีก ๔ ขั้น อย่างไรก็ตาม รวมความแล้ว พระสูตรทั้งสี่นี้ มีสาระสำคัญอย่าง
เดียวกัน ผิดแผกกันบ้าง ก็เพียงในส่วนรายละเอียดและวิธีบรรยายความเท่านั้น

พระสูตรทั้งสี่ แสดงการอาศัยฌานเจริญวิปัสสนาทำอาสวักขัย ตามลำดับ แต่ปฐมฌาน
ถึงอากิญจัญญายตนะ แล้วก็หยุดลงทั้งหมด มีพิเศษแต่ในฌานสูตร ซึ่งมีคำสรุปว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล สัญญาสมาบัติ (สมาบัติที่ประกอบด้วยสัญญา) มี
แค่ใด อัญญาปฏิเวธ (การตรัสรู้ หรือการบรรลุอรหัตตผล) ก็มีแค่นั้น”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อนี้ หมายความว่า ในฌาน ตั้งแต่อากิญญายตนะลงไป มีสัญญา (รวมทั้งขันธ์อื่นๆ
ที่ประกอบร่วม) สำหรับให้กำหนดพิจารณาได้ จึงทำวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขัยได้
ในฌานเหล่านั้น ส่วนเนวสัญญายตนะ มีสัญญา (รวมทั้งขันธ์อื่นๆ ที่ประกอบร่วม)
ซึ่งละเอียดเกินไป จนเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญา คือ จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มี
สัญญาก็ไม่ใช่ จึงไม่อยู่ในภาวะที่จะใช้งานในการกำหนดพิจารณาได้ ครั้นถึง สัญญา
เวทยิตนิโรธ ก็ดับสัญญาและเวทนาเสียเลย เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ดังนั้น สมาบัติ
ทั้งสองนี้จึงไม่เรียกว่าสัญญาสมาบัติ

เมื่อเป็นเช่นนี้ จะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะและสัญญาเวทยิตนิโรธ บรรลุอาส
วักขัยได้อย่างไร ตอบว่า สำหรับสมาบัติสูงสุดสองระดับนี้ ต้องออกมาก่อน จึงใช้ปัญ
ญาพิจารณาสังขารให้บรรลุอาสวักขัยได้ ข้อแรก คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ พึงดู
บาลีในอนุปทสูตร ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นต่อไปอีก สารีบุตรก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้ง
ปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เธอมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นออกจาก
สมาบัตินั้นอย่างมีสติแล้ว ธรรมเหล่าใดล่วงไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เธอ
พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นว่า ธรรมทั้งหลาย อย่างที่ทราบมา ก็เป็นอย่างนี้เอง ไม่
มีแล้ว ก็มีแก่เรา มีแล้ว ก็ดับหาย”

ส่วนข้อสุดท้าย คือสัญญาเวทยิตนิโรธ มีคำอธิบายทำนองเดียวกัน คือ เข้าสมาบัตินี้
ครั้นออกแล้ว จึงพิจารณารูปธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในสมาบัติ หรือพิจารณาธรรมทั้ง
หลายซึ่งเป็นไปในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ที่ผ่านมาก่อนแล้ว (หรือจะพิจารณาสัง
ขารธรรมทั่วไป ดังจะกล่าวข้างหน้าก็ได้) ให้เข้าใจสภาวะที่เป็นจริง ด้วยปัญญา จน
ถึงความสิ้นอาสวะ อย่างไรก็ตาม ข้อนี้จะได้กล่าวต่อไปอีกในฐานะที่เป็นหลักการขั้น
มาตรฐานสูงสุด

สำหรับฌานสมาบัติที่ต่ำลงมา คือ ตั้งแต่อากิญจัญญายตนะถึงปฐมฌาน จะออกจาก
ฌานสมาบัตินั้นๆ ก่อนแล้ว จึงพิจารณาสังขารธรรม คือ หรือองค์ฌานเป็นต้นที่มีใน
ฌานสมาบัตินั้นๆ ทำนองเดียวกับสมาบัติสูงสุดสองอย่างหลังนี้ก็ได้ แต่เท่าที่ยกหลัก
านข้างต้นนี้มาแสดง ก็เพื่อให้เห็นข้อพิเศษว่า ในฌานสมาบัติเหล่านั้น สามารถเจริญ
วิปัสสนาภายในโดยยังไม่ออกมาก่อนก็ได้ และจะบรรลุอรหัตต์โดยใช้ฌานระดับไหน
ก็ได้ แต่สมาบัติสูงสุด ๒ อย่าง คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
(นิโรธสมาบัติ) ต้องออกมาก่อน จึงได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 05:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อปฏิบัติอย่างที่กล่าวมานี้ เป็นปฏิปทาของผู้ปฏิบัติที่มีชื่อเรียกในสมัยอรรถ
กถาว่า “”สมถยานิก แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน คือบำเพ็ญสมถะจนได้ฌาน
ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนา และนับว่าเป็นวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งในบรรดาวิธี ๔
อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้ในบาลี คือ

๑. สมถปุพพังคมวิปัสสนา วิปัสสนามีสมถะนำหน้า (เรียกเต็มว่า สมถปุพพัง
คมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า)

๒. วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า (เรียกเต็มว่า วิปัสสนาปุพ
พังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า)

๓. ยุคนัทธสมถวิปัสสนา สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน (เรียกเต็มว่า สมถวิปัสส
นายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่ไปด้วยกัน)

๔. ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส วิธีปฏิบัติเมื่อจิตถูกชักให้เขวด้วยธรรมุธัจจ์ คือความ
ฟุ้งซ่านธรรม หรือตื่นธรรม (ความเข้าใจผิดยึดเอาผลที่ประสบในระหว่างว่าเป็น
มรรคผลนิพพาน)

วิธีทั้ง ๔ นี้ สรุปจากมรรค ๔ แบบ ซึ่งเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ๔ อย่าง ดังที่พระอา
นนท์ได้แสดงไว้ ดังนี้

“อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปหนึ่งรูปใดก็ตาม จะพยากรณ์อรหัตตผลในสำ
นักของข้าพเจ้า ก็ย่อม (พยากรณ์) ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่ง
บรรดามรรค ๔ เหล่านี้ กล่าวคือ:

“๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า, เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาอัน
มีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอ
เสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไป

“๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า, เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี
วิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอ
เสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไป

“๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กัน, เมื่อเธอเจริญสมถะและ
วิปัสสนาควบคู่กันอยู่ มรรคเกิดขึ้น, เธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอ
เสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลาย
ย่อมสิ้นไป

“๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุใจถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์, (แต่ครั้น) ถึงคราวเหมาะ
ที่จิตนั้นตั้งแน่ว สงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัดเป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ, เธอ
เสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น, เมื่อเธอเสพคุ้น เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น
สังโยชน์ทั้งหลายย่อมถูกละได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป”

ข้อที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า (เบื้อง
แรก) จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ซ่านส่าย มีสมาธิเกิดขึ้น ด้วยอำนาจเนกขัมมะ (ความ
คิดสลัดออก ไม่โลภ ไม่พัวพันในกาม) ก็ดี ด้วยอำนาจอพยาบาท (คิดเมตตา) อาโล
กสัญญา (ทำใจนึกถึงแสงสว่าง ไม่ให้ง่วงเหงา) อวิกเขปะ (ความไม่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟุ้งซ่าน ปราศจากอุทธัจจะ) ธรรมววัตถาน (การกำหนดข้อธรรม ซึ่งทำให้
ไม่มีวิจิกิจฉา) ญาน (ความรู้) ปราโมทย์ (ความแช่มชื่นใจ) ก็ดี ด้วยอำ
นาจ ปฐมฌาน ทุติยฌาน จตุตถฌาน ด้วยอำนาจอากาสานัญจายตนสมาบัติ
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญาย
ตนสมาบัติ ก็ดี ด้วยอำนาจ กสิณ ๑๐ ก็ดี อนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ หรือวิธีปฏิบัติ
ต่างๆ เกี่ยวกับอานาปานสติ ๓๒ รายการ ก็ดี ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม
(ครั้นแล้ว) เกิดปัญญามองเห็นแจ้งซึ่งธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วในสมาธินั้นๆ
ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อย่างนี้เรียกว่า สมถะ มาก่อนวิปัส
สนา มาหลัง คือเป็น สมถปุพพังคมวิปัสสนา

อรรถกถาอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกว่า ตามวิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ นี้ ผู้ปฏิบัติทำ
สมถะคือสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน จะเป็นอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิก็ได้ จาก
นั้นจึงพิจารณาสมถะหรือสมาธินั้น (ไม่ว่าจะเป็นอุปจารสมาธิหรือฌานสมาบัติ
ชั้นใดก็ตาม) กับทั้งธรรมอื่นๆ ทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับสมาธินั้น ให้เห็นสภา
วะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น จนอริยมรรคเกิดขึ้น

ข้อที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า คัมภีร์ ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า
(เบื้องแรก) วิปัสสนาใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะที่ไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา (ครั้นแล้ว) จิตเกิดความปล่อยวางธรรมทั้งหลายอันปรากฏใน
วิปัสสนานั้น และยึดเอาภาวะปล่อยวางนั้นเองเป็นอารมณ์ จิตจึงมีภาวะอารมณ์
หนึ่งเดียว ปราศจากความซัดส่าย มีสมาธิ อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนามาก่อน สมถะ
มาหลัง คือเป็น วิปัสสนาปุพพังคมสมถะ

ขยายความตามอรรถกถาว่า ผู้ปฏิบัติยังมิได้ทำสมถะให้เกิดขึ้นเลย แต่มาพิจารณา
เห็นแจ้งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามสามัญลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น อันนับว่า
เป็นวิปัสสนา พอวิปัสสนาเต็มเปี่ยมดี จิตก็จะเกิดภาวะมีอารมณ์หนึ่งเดียว (= เป็น
สมาธิ) ขึ้น โดยมีความปล่อยวางธรรมทั้งหลายที่เกิดในวิปัสสนานั้นเองเป็นอารมณ์
อันนับว่าเป็นสมถะ เมื่อปฏิบัติโดยวิธีนี้ อริยมรรคก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม อรรถกถาสรุปว่า ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า หรือเจริญสมถะ
โดยมีวิปัสสนานำหน้าก็ตาม เมื่อถึงขณะที่อริยมรรคเกิดขึ้น ทั้งสมถะและวิปัสสนาจะต้อง
เกิดขึ้นด้วยกันอย่างควบคู่เป็นการแน่นอนเสมอไป ที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าโดยหลักพื้นฐานแล้ว
สมถะและวิปัสสนาก็คือองค์ของมรรคนั่นเอง วิปัสสนา ได้แก่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ
สมถะ ได้แก่องค์มรรคที่เหลืออีก ๖ ข้อ ซึ่งเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่องค์มรรคเหล่านี้จะต้อง
เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะบรรลุอริยภูมิ

ข้อ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบายความหมายว่า ผู้ปฏิบัติ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปโดยอาการ ๑๖ เช่น โดยอรรถแห่งอารมณ์ เป็นต้น ยกตัว
อย่าง เมื่อละอุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ก็เกิดสมาธิ กล่าวคือภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่
พล่านส่าย ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ (พร้อมกันนั้น) เมื่อละอวิชชา ก็เกิดวิปัสสนา คือการตาม
ดูรู้เห็นแจ้ง ซึ่งมีนิโรธเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่าทั้งสมถะและวิปัสสนามีกิจเดียวกัน เป็นควบคู่
กัน ไม่เกินกัน โดยอรรถแห่งอารมณ์

สำหรับข้อที่ ๓ นี้ อรรถกถาทำคำอธิบายเป็นรูปแบบมากขึ้น โดยบรรยายว่า การเจริญสมถะ
วิปัสสนาควบคู่กัน มิใช่หมายความว่าทำทั้งสองอย่างพร้อมกันทีเดียว เพราะเราไม่สามารถ
พิจารณาสังขารด้วยจิตเดียวกันกับที่เข้าสมาบัติ คำว่า เจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน หมาย
ความว่า เข้าสมาบัติถึงไหน ก็พิจารณาสังขารถึงนั่น พิจารณาสังขารถึงไหน ก็เข้าสมาบัติถึงนั่น
กล่าวคือ เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ครั้นพิจารณาสังขารแล้ว
ก็เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว พิจารณาสังขารอีก ครั้นพิจารณาแล้ว เข้าตติย
ฌาน ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไปตามลำดับ จนเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจาก
เนวสัญญายตนะแล้ว ก็พิจารณาสังขารอีก อย่างนี้เรียกว่าเจริญสมถะวิปัสสนาควบคู่กัน
ไป ตัวอย่างสำคัญที่ท่านกล่าวถึงคือ พระสารีบุตร ซึ่งได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเข้าคู่
กันมา ตั้งแต่ปฐมฌานจนตลอดบรรลุมรรคผล

ข้อที่ ๔ ทางออกหรือวิธีปฏิบัติเมื่อจิตเขวเพราะธรรมุจจ์ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ อธิบาย
ความหมายว่า เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์
เกิดมีโอภาส (แสงสว่าง)ญาณ ปิติ ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น) สุข อธิโมกข์ (ความปลงใจ
หรือศรัทธาแก่กล้า) ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี) อุปัฏฐาน (สติชัดหรือสติกำกับอยู่)
อุเบกขา (จิตเรียบเสมอเป็นกลาง) หรือนิกันติ (ความติดใจ) ขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติ
นึกถึงโอภาสเป็นต้นนั้น ว่าเป็นธรรม (คือเข้าใจว่าเป็นมรรค ผลหรือนิพพาน) เพราะการนึก
ไปเช่นนั้น ก็

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


จะเกิดความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ผู้ปฏิบัติมีใจถูกชักให้เขวไปด้วยอุทธัจจะแล้ว ก็จะไม่รู้ชัด
ตามความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่ปรากฏอยู่ โดยภาวะเป็นของไม่เที่ยง โดยภาวะที่เป็นทุกข์ โดย
ภาวะที่เป็นอนัตตา ดังนั้นจึงเรียกว่ามีจิตถูกชักให้เขวไปด้วยธรรมุธัจจ์ แต่ครั้นมีเวลาเหมาะ
ที่จิตตั้งแน่วสงบสนิทลงได้ในภายใน เด่นชัด เป็นสมาธิ มรรคก็เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นได้

วิธีปฏิบัติที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ ก็คือกำหนดด้วยปัญญา รู้เท่าทันฐานะทั้ง ๑๐ มีโอภาส
เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตกวัดแกว่งหวั่นไหวเหล่านี้ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะเป็นผู้ฉลาดในธรรมุ
ธัจจ์ จะไม่ลุ่มหลงคล้อยไป จิตก็จะไม่หวั่นไหว จะบริสุทธิ์ ไม่หมองมัว จิตภาวนาก็จะไม่คลาด
ไม่เสื่อมเสีย

คัมภีร์ชั้นอรรถกถาเรียกธรรมุธัจจ์นี้ว่า วิปัสสนูปกิเลส คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา ๑๐ อย่าง
ซึ่งจะเกิดขึ้นแก่ผู้ได้วิปัสสนาญาณอ่อนๆ (ตรุณวิปัสสนา)

ภาวะทั้ง ๑๐ นี้ เป็นสิ่งน่าชื่นชมอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมี ไม่เคยประสบมาก่อน จึงชวนให้ผู้ปฏิ
บัติเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว ถ้าเข้าใจอย่างนั้น ก็เป็นอันคลาดออกนอกวิปัสสนาวิถี
คือพลาดทางวิปัสสนา แล้วก็จะทิ้งกรรมฐานเดิมเสีย นั่งชื่นชมอุปกิเลสของวิปัสสนาอยู่นั่นเอง

วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง คือให้รู้เท่าทัน เมื่อมันเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดพิจารณาด้วยปัญญาว่า โอภาสนี้
ญาณนี้ ฯลฯ หรือนิกันตินี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา แต่มันเป็นของไม่เที่ยง เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง เป็น
ปฏิจจสมุปบันธรรม จะต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ดังนี้เป็นต้น จนมองเห็นว่า สิ่งนี้ไม่ใช่
ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แล้วไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวไปกับวิปัสสนูปกิเลสเหล่านั้น เป็น
อันสางอุปกิเลสเสียได้ ดำเนินก้าวหน้าไปในมรรคาที่ถูกต้องต่อไป จนบรรลุมรรคผล

บรรดาวิธีทั้ง ๔ ที่กล่าวมานี้ ถ้าถือตามแนวอธิบายของอรรถกถาแล้ว ก็จัดได้ว่ามีวิธีที่เป็นหลัก
ใหญ่เพียง ๒ อย่าง คือ วิธีที่ ๑ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า และวิธีที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้า ส่วน
สองวิธีหลังเป็นเพียงวิธีการที่แทรกซ้อนเข้ามาในระหว่างการปฏิบัติ หรือเป็นส่วนเสริมขยาย
ออกไปจากสองวิธีแรก กล่าวคือ วิธีที่ ๓ สมถะและวิปัสสนาเข้าคู่กัน จัดได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติ
ส่วนที่ซับซ้อน ซึ่งซอยหรือขยายออกไปจากวิธีที่ ๑ นั่นเอง ส่วนวิธีที่ ๔ ทางออกเมื่อจิตเขว
ด้วยธรรมุธัจจ์ ก็เป็นเพียงวิธีปฏิบัติที่แทรกเข้ามาในระหว่าง ในเมื่อปฏิบัติตามวิธีการข้อต้นๆ
ไปบ้างแล้ว จนถึงขั้นตอนหนึ่งที่เกิดปัญหาจำเพาะอย่างนี้ขึ้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นข้อปฏิบัติ
พิเศษเฉพาะกรณี หรือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง สำหรับใช้แก้ปัญหาบางอย่างในระหว่างการ
ปฏิบัติธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีใหญ่ ๒ อย่างนี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นต้นแบบ หรือเป็นที่มาของวิธีบำเพ็ญกรรมฐาน ๒ อย่าง ที่มีชื่อเรียก
ในรุ่นอรรถกถา คือ สมถยาน ของพระสมถะยานิกอย่างหนึ่ง และวิปัสสนายาน ของพระวิปัสสนายา
นิก หรือสุทธวิปัสสนายานิก อย่างหนึ่ง

สมถะยานิก แปลว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถะก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาทีหลัง ตาม
ความหมายอย่างกว้าง สมถะที่บำเพ็ญก่อนนั้น อาจได้เพียง อุปจารสมาธิ หรือก้าวไปถึงอัปปนาสมาธิ
ได้ฌานสมาบัติ ก็ได้ แต่อรรถกถานิยมใช้ในความหมายที่จำกัดหรือจำเพาะกว่านั้น คือ มุ่งเอาเฉพาะ
ผู้ได้ฌานสมาบัติแล้ว ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า วิธีปฏิบัติตามแนวพุทธพจน์ที่นำมาอ้างไว้ในตอนต้น (เกี่ยวกับ
การบรรลุอาสวักขัยอาศัย ปฐมฌานก็ได้ ทุติยฌาน ก็ได้ ฯลฯ) เป็นปฏิปทาของพระสมถยานิก

วิปัสสนายานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน เรียกเต็มเพื่อย้ำความหมายให้หนักแน่นว่า สุทธวิปัสสนา
ยานิก แปลว่า ผู้มีวิปัสสนาล้วนๆ เป็นยาน หมายถึง ผู้ที่เริ่มปฏิบัติด้วยเจริญวิปัสสนาทีเดียว โดยไม่เคยฝึก
หัดเจริญสมาธิใดๆ มาก่อนเลย แต่เมื่อเจริญวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาความจริงเกี่ยวกับสิ่งทั้ง
หลายอย่างถูกทางแล้ว จิตก็จะสงบขึ้น เกิดมีสมาธิตามมาเอง

ในตอนแรก สมาธิที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพียงขณิกสมาธิ คือสมาธิชั่วขณะ ซึ่งเป็นสมาธิอย่างน้อยที่สุดเท่า
ที่จำเป็นเพื่อให้วิปัสสนาดำเนินต่อไปได้ ดังที่ท่านกล่าวว่า “ปราศจากขณิกสมาธิเสียแล้ว วิปัสสนาย่อมมีไม่ได้”

(แม้ผู้ได้ขณิกสมาธิอยู่แล้ว มาปฏิบัติวิปัสสนา ก็เรียกว่าวิปัสสนายานิกอยู่นั่นเอง เพราะตามปกติ ในชีวิต
ประจำวัน คนทั่วๆ ไป ย่อมได้ขณิกสมาธิกันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย ในโอกาสที่จิตใจสงบหรือแน่วแน่ด้วย
การงานหรือเหตุแวดล้อมบางอย่าง ดังนั้น แม้จะเคยได้ขณิกสมาธิมาแล้วด้วยเหตุอำนวยต่างๆ เช่น
พื้นจิตดี เป็นต้น ก็ถือว่ารวมอยู่ในจำพวกผู้ไม่เคยฝึกเจริญสมาธิมาก่อนเหมือนกัน)

เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆ ไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญ
วิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือสมาธิจวนจะถึงฌาน) ก็ได้ จนในที่สุด เมื่อถึงขณะที่
บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปนาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ หรือรูป
ฌานที่ ๑) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบ
ทั้งสอง ทั่วกันทุกบุคคล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2021, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสมถยานิก เมื่อสำเร็จอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านจัดแยกเป็น ๒ ประเภท คือ
พระปัญญาวิมุต และพระ อุภโตภาควิมุตท่านที่ได้ฌานสมาบัติเพียงชั้นรูปฌาน คือไม่
เกินจตุตถฌาน เป็นปัญญาวิมุต ท่านที่ได้อรูปฌานขั้นใดขั้นหนึ่ง ตลอดถึงได้สัญญาเวทยิต
นิโรธ เป็นอุภโตภาควิมุต

ส่วนพระวิปัสสนายานิก เป็นพระอรหันต์ได้แต่ประเภทปัญญาวิมุตอย่างเดียว และในชั้นอรรถ
กถา ท่านบัญญัติชื่อให้เป็นพิเศษ เรียกว่าพระสุกขวิปัสสก เป็นอันดับสุดท้ายในหมู่พระปัญ
ญาวิมุต โดยนัยนี้ พระอรรถกถาจารย์ จัดแบ่งพระอรหันต์ออกไปเป็น ๑๐ ประเภท เป็นพระ
อุภโตภาควิมุต ๕ พระปัญญาวิมุต ๕ จัดเรียงจากสูงลงไปดังนี้ (อันดับที่ ๑–๙ เป็นสมถยานิก อัน
ดับที่ ๑๐ เป็นวิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนายานิก)

ก. พระอุภโตภาควิมุต

๑. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สัญญาเวทยิตนิโรธ

๒. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

๓. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติ

๔. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติ

๕. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ

ข. พระปัญญาวิมุต

๖. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ จตุตถถฌาน

๗. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ ตติยฌาน

๘. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ ทุติยฌาน

๙. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ ปฐมฌาน(ได้ก่อนทำวิปัสสนา)

๑๐. พระปัญญาวิมุต ผู้เป็นสุกขวิปัสสนา (พระวิปัสสนายานิก)

เรื่องสมถยานิก และวิปัสสนายานิก ยังมีข้อควรทราบเพิ่มเติมอีก แต่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะพูดต่อ
ไป จึงจะกล่าวถึงในตอนถัดจากนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2021, 19:24 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร